ลักษณะทางพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิต มีอะไรบ้าง

ลักษณะทางพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิต มีอะไรบ้าง

ลักษณะต่างๆ ของสิ่งมีชีวิต จะถูกถ่ายทอดจากบรรพบุรุษไปสู่รุ่นลูกหลาน โดยหน่วยพันธุกรรมในเซลล์ที่เรียกว่า ยีน
สิ่งมีชีวิตสปีชีส์เดียวกันย่อมมีลักษณะทางพันธุกรรมคล้ายคลึงกันมากกว่าสิ่งมีชีวิตต่างสปีชีส์กัน

ลักษณะทางพันธุกรรม หมายถึงลักษณะบางอย่างที่มีปรากฏอยู่ในรุ่นบรรพบุรุษ แล้วถ่ายทอดลักษณะนั้นๆ ให้กับรุ่นลูกหลานต่อๆมา

ลักษณะทางพันธุกรรมได้แก่  ลักษณะสีนัยน์ตา สีผม สีผิว ความสูง น้ำหนักตัว สติปัญญา สีของดอกไม้ ความถนัด ฯลฯ ในการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมมียีน(gene) เป็นหน่วยควบคุมลักษณะในทางพันธุกรรมทำหน้าที่ ถ่ายทอดลักษณะจากพ่อแม่ไปสู่ลูกหลานยีน(gene)มีตำแหน่งอยู่บนโครโมโซม

ลักษณะต่างๆ ของสิ่งมีชีวิต จะถูกถ่ายทอดจากบรรพบุรุษไปสู่รุ่นลูกหลาน โดยหน่วยพันธุกรรมในเซลล์ที่เรียกว่า ยีนซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของดีเอ็นเอ แต่ดีเอ็นเอมีทั้งส่วนที่อยู่ในนิวเคลียส และส่วนที่อยู่ใน ไซโทพลาซึม ซึ่งดีเอ็นเอทั้งสองส่วนนี้จะควบคุมและถ่ายทอดลักษณะต่าง ๆ ทางพันธุกรรมด้วยแบบแผนที่ต่างกัน

 ลักษณะพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิต นอกจากจะถูกควบคุมด้วยดีเอ็นเอหรือยีนในนิวเคลียสแล้วยังถูกควบคุมด้วยยีนที่อยู่นอกนิวเคลียสอีกด้วย นั่นคือดีเอ็นเอในไมโทคอนเดรียและพลาสติดซึ่งอยู่ในไซโทพลาซึม ออร์แกเนลล์ทั้งสองสามารถแบ่งตัวได้ไม่อยู่ในการควบคุมของนิวเคลียส เซลล์ไข่ของสิ่งมีชีวิตเพศเมียจะมีขนาดใหญ่ มีไซโทพลาซึมมาก สเปิร์มที่เข้ามาผสมจะมีแต่นิวเคลียส แทบจะไม่มีไซโทพลาซึมเลย ดังนั้นลักษณะต่าง ๆ ที่ถูกควบคุมด้วยยีนที่อยู่ในไซโทพลาซึมจึงมักมาจากทางฝ่ายแม่ ลักษณะที่ถูกควบคุมด้วยยีนในนิวเคลียส จะเป็นไปตามกฎของเมนเดล

 เมื่อมีการผสมระหว่างพ่อแม่ทั้งสายผสมตรง (direct cross) และสายผสมกลับสลับพ่อแม่ (reciprocal cross) ลูกผสมที่ได้ของทั้ง 2 สาย จะมีอัตราส่วนเท่ากัน แต่ลักษณะที่ควบคุมด้วยยีนนอกนิวเคลียสจะไม่เป็นไปตามกฎของเมนเดล

ลักษณะทางพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิต มีอะไรบ้าง

ลักษณะทางพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิต มีอะไรบ้าง

สิ่งมีชีวิตสปีชีส์เดียวกันย่อมมีลักษณะทางพันธุกรรมคล้ายคลึงกันมากกว่าสิ่งมีชีวิตต่างสปีชีส์กัน หรือสิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกันจะมีลักษณะคล้ายกันมีความแตกต่างกันน้อยกว่าสิ่งมีชีวิตต่างชนิดกัน ความแตกต่างเหล่านี้เนื่อจากพันธุกรรมที่แตกต่างกัน ลักษณะทางพันธุกรรม จำแนกได้ 2 ประเภท
1. ลักษณะทางพันธุกรรมที่มีความแปรผันต่อเนื่อง (CONTINUOUS VARIATION) เป็นลักษณะทางพันธุกรรมที่มีความลดหลั่นกันทีละน้อย สามารถนำมาเรียงลำดับกันได้ เช่น ความสูง น้ำหนัก สีผิว เป็นต้น เป็นลักษณะทางปริมาณ
2. ลักษณะทางพันธุกรรมที่มีความแปรผันไม่ต่อเนื่อง (DISCONTINUOUS VARIATION) เป็นลักษณะที่แบ่งเป็นกลุ่ม ได้อย่างชัดเจน เช่นหมู่เลือดของคน ลักษณะผิวเผือก ลักยิ้ม ติ่งหู การห่อลิ้น เป็นต้น เป็นลักษณะทางคุณภาพ

ข้อสังเกต โดยทั่วไป ลักษณะที่มีความแปรผันแบบต่อเนื่อง เช่น สีผิว นั้นสิ่งแวดล้อมจะมีอิทธิพลต่อการ แสดงลักษณะในสัดส่วนที่มากกว่าลักษณะที่มีความแปรผันแบบไม่ต่อเนื่อง เช่น หมู่เลือด

ลักษณะทางพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิต มีอะไรบ้าง

 ความแตกต่างของลักษณะสิ่งมีชีวิตไม่ใช่ขึ้นอยู่กับพันธุกรรมที่ต่างกันเท่านั้น ส่วนหนึ่งขึ้นอยู่กับอิทธิพลของสิ่งแวดล้อม
สิ่งแวดล้อมมีอิทธิพลต่อลักษณะทางพันธุกรรม แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ
 1. อิทธิพลจากสิ่งแวดล้อมภายนอก ได้แก่ อุณหภูมิ,แสงสว่าง อาหาร สารเคมี รังสีต่างๆ
 2. อิทธิพลจากสิ่งแวดล้อมภายใน ได้แก่ อายุ เพศ และฮอร์โมน

ลักษณะทางพันธุกรรมกับสิ่งแวดล้อม
ลักษณะที่ถูกควบคุมด้วยยีน 1 หรือ 2 คู่ ภายในนิวเคลียสจะแสดงออกตามกฎของเมนเดล ส่วนลักษณะที่ถูกควบคุมด้วยยีนที่อยู่นอกนิวเคลียส คือยีนที่อยู่ในไซโทพลาซึม จะไม่แสดงออกตามกฎของเมนเดล นอกจากนี้ยังมียีนบางกลุ่มในนิวเคลียส แต่ไม่แสดงออกตามกฎของเมนเดล กลับแสดงลักษณะปรากฏไปตามอิทธิพลของสิ่งแวดล้อม ทำให้เป็นที่สับสนว่า ลักษณะที่ปรากฏให้เห็นนั้น เป็นลักษณะที่ถูกควบคุมด้วยยีนในนิวเคลียสหรือยีนนอกนิวเคลียสกันแน่ บางลักษณะที่ปรากฏเหล่านี้ เป็นความผิดปกติทางฟีโนไทป์ ที่เกิดจากอิทธิพลของสภาวะแวดล้อม เรียกว่า ฟีโนโคปี (phenocopy) โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าสภาวะแวดล้อมเปลี่ยนไปในช่วงระยะที่เป็นเอ็มบริโอ จะทำให้มีลักษณะผิดไปมาก แต่ถ้าสภาวะแวดล้อมเปลี่ยนไปในช่วงระยะอื่นของการเจริญเติบโตก็จะไม่มีผลต่อการเจริญของสิ่งมีชีวิตนั้นเท่าใดนัก

ความผิดปกติของฟีโนไทป์ที่เกิดขึ้นเนื่องจากสิ่งแวดล้อมนี้จะเป็นลักษณะเฉพาะตัวของสิ่งมีชีวิตนั้น และไม่สามารถถ่ายทอดไปสู่ลูกหลานได้

ลักษณะพันธุกรรมที่ควบคุมด้วยยีนน้อยคู่ ซึ่งอาจเป็นเพียง 1 หรือ 2 คู่ การแสดงออกของยีนไม่ผันแปรไปตามอิทธิพลของสิ่งแวดล้อม ฟีโนไทป์ที่ปรากฏให้เห็นเป็นอิทธิพลของยีน และแสดงความแตกต่างอย่างชัดเจน สามารถจัดเป็นหมวดหมู่ได้ ลักษณะพันธุกรรมเช่นนี้ เรียกว่า ลักษณะทางคุณภาพ (qualitative trait) ได้แก่ ลักษณะถั่วลันเตาที่เมนเดลศึกษาซึ่งความสูง มี 2ลักษณะ คือ ต้นสูงกับต้นเตี้ย ลักษณะเมล็ดเรียบและเมล็ดย่น และลักษณะหมู่เลือด ABO ในมนุษย์ เป็นต้น ส่วนลักษณะพันธุกรรมอีกประเภทหนึ่งที่ถูกควบคุมด้วยยีนหลายคู่ที่เรียกว่า โพลียีน ซึ่งยีนแต่ละคู่จะแสดงผลออกมาน้อย และผันแปรไปตามอิทธิพลของสิ่งแวดล้อม ฟีโนไทป์ที่ปรากฏให้เห็นมีการกระจายตัวของลักษณะเป็นแบบต่อเนื่องไม่สามารถจัดเป็นหมวดหมู่ได้ลักษณะของพันธุกรรมประเภทนี้ เรียกว่า ลักษณะทางปริมาณ (quantitative trait) ได้แก่ น้ำหนักตัว ความสูง เชาวน์ปัญญาในมนุษย์ ผลผลิตต่อไร่ของพืช การออกไข่และการให้น้ำนมในสัตว์ เป็นต้น

นอกจากนี้ยังมีอีกลักษณะหนึ่ง ที่ถูกควบคุมด้วยยีนหลายคู่ การแสดงออกของยีนไม่เป็นไปตามอิทธิพลของสิ่งแวดล้อม แต่ฟีโนไทป์ยังสามารถจัดเป็นหมวดหมู่ได้ ยีนแต่ละคู่แสดงผลแบบบวกสะสม (additive effect หรือ cumulative effect) เรียกลักษณะพันธุกรรมเช่นนี้ว่า ลักษณะกึ่งปริมาณ ได้แก่ ลักษณะสีของเมล็ดข้าวสาลี

ลักษณะทางพันธุกรรมได้แก่อะไรบ้าง

ลักษณะทางพันธุกรรมได้แก่ ลักษณะสีนัยน์ตา สีผม สีผิว ความสูง น้ำหนักตัว สติปัญญา สีของดอกไม้ ความถนัด ฯลฯ ในการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมมียีน(gene) เป็นหน่วยควบคุมลักษณะในทางพันธุกรรมทำหน้าที่ ถ่ายทอดลักษณะจากพ่อแม่ไปสู่ลูกหลานยีน(gene)มีตำแหน่งอยู่บนโครโมโซม

ลักษณะที่ปรากฏของสิ่งมีชีวิต เรียกว่าอะไร

ในสิ่งมีชีวิต ลักษณะปรากฏ หรือ ฟีโนไทป์ หรือ ลักษณะสืบสายพันธุ์ (อังกฤษ: phenotypic trait, trait) เป็นรูปแบบฟิโนไทป์หนึ่งโดยเฉพาะที่สามารถสังเกตเห็นได้ ซึ่งกำหนดโดยปฏิสัมพันธ์ที่ซับซ้อนระหว่างยีนกับสิ่งแวดล้อมของสิ่งมีชีวิต ยกตัวอย่างเช่น สีตาเป็นลักษณะหนึ่ง (character) ของสิ่งมีชีวิต ในขณะที่ตาสีดำ สีฟ้า สีน้ำตาล ...

สารพันธุกรรมมีความสําคัญอย่างไร

พันธุศาสตร์คือวิชาที่ว่าด้วยพันธุกรรม (ยีน) และการทำงานของพันธุกรรม ซึ่งทำให้สิ่งมีชีวิตสามารถถ่ายทอดลักษณะต่างๆ จากรุ่นสู่รุ่นได้ เช่น เด็กมักมีหน้าตาเหมือนพ่อแม่ เนื่องจากได้รับพันธุกรรมมาจากพ่อแม่ วิชาพันธุศาสตร์จะพยายามค้นหาว่าลักษณะใดบ้างที่มีการถ่ายทอด และการถ่ายทอดลักษณะนั้นๆ เกิดขึ้นได้อย่างไร

หน่วยพันธุกรรมที่ทำหน้าที่ควบคุมลักษณะต่าง ๆ ของสิ่งมีชีวิต คืออะไร

ยีนคือหน่วยที่ควบคุมลักษณะทางพันธุกรรมต่าง ๆ ในร่างกายของสิ่งมีชีวิต ที่ถ่ายทอดจากพ่อแม่ไปสู่ลูกหลาน ปรากฏอยู่บนโครโมโซม โดยโครโมโซมประกอบด้วยดีเอ็นเอ (DNA) ซึ่งใน ดีเอ็นเอ(DNA)นั้นมียีนอยู่ โดยทำหน้าที่กำหนดลักษณะทางพันธุกรรมต่าง ๆ ของสิ่งมีชีวิต สิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดจะมีจำนวนยีนแตกต่างกัน