ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการสร้างสรรค์ภูมิปัญญาเเละวัฒนธรรมไทยมีอะไรบ้าง

แบบฝึกหัดพร้อมเฉลย ภูมิปัญญาไทย

ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทยมีความสำคัญต่อสังคมไทยอย่างไร

ตอบ ช่วยแก้ปัญหาในการดำเนินชีวิต และทำให้คนไทย เกิดความรักและความภาคภูมิใจใน   ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทยที่บรรพบุรุษสร้างสรรค์ไว้

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการสร้างสรรค์ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทยคืออะไร

ตอบ ปัจจัยทางภูมิศาสตร์และสภาพแวดล้อม ทำให้คนไทยคิดและแก้ปัญหาให้สอดคล้องกับสภาพภูมิศาสตร์ และปัจจัยลักษณะของสังคมและวัฒนธรรมไทย โดยมีวังและวัดเป็นศูนย์กลางการสร้างศรรค์ศิลปวัฒนธรรมของไทย

ตัวอย่างภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทยในสมัยรัตนโกสินทร์ที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาชาติไทย

ตอบ –การแพทย์แผนไทย ในสมัยรัชการที่ 1-3 เป็นองค์ความรู้ในการรักษาโรคภัยไข้เจ็บที่มีมาแต่โบราณและสืบทอดมาถึงปัจจุบัน

     วัดพระแก้ว เป็นที่ประดิษฐานของพระแก้วมรกต พระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของไทย และเป็นแหล่งรวมงานช่างชั้นสู.ที่มีแต่โบราณ


การเผยแผ่พระพุทธศาสนา อดีต-ปัจจุบัน

ข้อแตกต่างของพระพุทธศาสนา ระหว่างสมัยโบราณกับปัจจุบัน วิธีการเผยแผ่พระพุทธศาสนา โบราณ - ด้วยการแสดงธรรมหรือการเทศน์ โดยอาศัยพระสงฆ์หรือผู้รู้ เป็นผู้อบรมสั่งสอน -       การศึกษาแบบ “มุขปาฐะ” ถ่ายทอดกันโดยอาศัยการบอก หรือการท่องจำสืบต่อกันมา ปัจจุบัน - ด้วยการแสดงธรรมหรือการเทศน์ โดยอาศัยพระสงฆ์หรือผู้รู้ เป็นผู้อบรมสั่งสอน -       ผ่านสื่อเทคโนโลยีในรูปแบบต่างๆ เช่น สื่อสิ่งพิมพ์ประเภทต่างๆ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ อินเตอร์เน็ต ฯลฯ ศูนย์กลางการเผยแผ่พระพุทธศาสนา โบราณ – พระมหากษัตริย์ ผู้ปกครองและนักคิด ปัญญาชน เช่น พระเจ้าอโศกมหาราช ทรงทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา โดยส่งพระธรรมฑูต 9 สาย ออกไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาในแคว้นต่างๆ ของชมพูทวีป ปัจจุบัน – ศูนย์กลางการแผ่แผ่พระพุทธศาสนา คือ ผ่านองค์กรทางพระพุทธศาสนา ได้แก่ วัด พุทธศาสนสถาน สมาคม

ม.3 บทละครพูดเรื่องเห็นแก่ลูก

ภาษาไทย(สอบกลางภาค) บทละครพูดเรื่องเห็นแก่ลูก ประพันธ์โดย พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ใช้พระนามแฝง ว่า พระขรรค์เพชร (พระนามแฝงของท่านมีมากมาย เช่น บทละครพูด ทรงใช้ ศรีอยุธยา,พระขรรค์เพชร บันเทิงคดี ทรงใช้ พันแหลม,รามจิตติ,นายแก้ว นายขวัญ) ลักษณะคำประพันธ์ เป็นบทละครพูดขนาดสั้น มีลักษณะยาว ๑ องก์(ตอน) ระยะเวลาในการแต่ง ราวปี พ.ศ. ๒๔๕๓-๒๔๖๘ คุณค่าของบทละครพูดเรื่องเห็นแก่ลูก ๑.ข้อคิดคติธรรม      ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว ๒.ด้านความรู้      มาตราเงินไทยในสมัยนั้นมีหน่วยเป็นชั่งและบาท      รูปแบบของการเขียนบทละครพูด      การใช้บทสนทนาในการดำเนินเรื่อง      เทคโนโลยีในสมัยรัชกาลที่ ๖ มีการถ่ายภาพ ๓.ด้านสังคมและวัฒนธรรม      สะท้อนให้เห็นวัฒนธรรมการแต่งงาน การรดน้ำอวยพรและการให้ของรับไหว้      ค่านิยมให้ลูกสาวแต่งงานตั้งแต่อายุยังน้อย      สังคมไทยยกย่องคนที่ทำมาหากินอย่างสุจริต และไม่ยอมรับผู้ที่ไม่ซื่อสัตย์ ทำผิดกฎหมาย      ทำให้ทราบหน่วยเงินที่ใช้ในสมัยนั้น ๔.ด้านวรรณกรรม      มีการใช้คำทับศัพท์ภาษาอังกฤษ ทำให้เห็นอิทธิพ

วิดีโอ YouTube


ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการสร้างสรรค์ภูมิปัญญาเเละวัฒนธรรมไทยมีอะไรบ้าง
วัตถุประสงค์ทั่วไป 
     1. ทราบความหมาย ประเภท ลักษณะ และภูมิปัญญาไทย ของสังคมไทย 
     2. เข้าใจถึงแยกกแยะภูมิปัญญาไทยออกมาเป็นสาขาต่าง ๆ 
     3. เข้าใจคุณสมบัติผู้ทรงภูมิปัญญาไทยได้ 
     4. เข้าใจถึงคุณค่าและความสำคัญของภูมิปัญญาไทย 
     5. เข้าใจวิธีการส่งเสริมภูมิปัญญาไทย
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการสร้างสรรค์ภูมิปัญญาเเละวัฒนธรรมไทยมีอะไรบ้าง
วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม

     1. อธิบาย ความหมาย ประเภท ลักษณะ และภูมิปัญญาไทย ของสังคมไทยได้ 
     2. แยก แยะภูมิปัญญาไทยออกมาเป็นสาขาต่าง ๆได้ 
     3. อธิบายคุณสมบัติผู้ทรงภูมิปัญญาไทยได้ 
     4. อธิบาย คุณค่าและความสำคัญของภูมิปัญญาไทยได้ 
     5. อธิบายวิิธีการส่งเสริมภูมิปัญญาไทยได้

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการสร้างสรรค์ภูมิปัญญาเเละวัฒนธรรมไทยมีอะไรบ้าง
เนื้อหาสาระ 
    
 ความรู้ความคิด ความเชื่อที่กลมกลืนกับวิถีชีวิตแบบไทยนั้น ล้วนมาจากบรรพบุรุษไทยที่ท่านได้ถ่ายทอด
มาสู่ลูกหลานจนถึงปัจจุบัน เช่น การสร้างเรือนได้เหมาะสมกับสภาพภูมิอากาศ เครื่องมือ เครื่องใช้ อุปกรณ์
ตลอดจนอาหารไทย สมุนไพร การนวดแผนไทย อักษรไทย การร่ายรำ เพลงกล่ิอมเด็กที้เป็นเอกลักษณ์ ฯลฯ
สิ่งเหล่านีี้เป็นวัฒนธรรมสืบทอดมาจนปัจจุบัน เป็นที่รู้จักของชาวโลก อันเป็นความชาญฉลาดในการสร้างสรรค์งาน
ที่เราเรียกว่าภูมิปัญาไทย
 ภูมิปัญญาไทย

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการสร้างสรรค์ภูมิปัญญาเเละวัฒนธรรมไทยมีอะไรบ้าง
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการสร้างสรรค์ภูมิปัญญาเเละวัฒนธรรมไทยมีอะไรบ้าง
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการสร้างสรรค์ภูมิปัญญาเเละวัฒนธรรมไทยมีอะไรบ้าง

เสื้อผ้าไทย

เครื่องจักสาน

แสดงภาพผลิตภัณฑ์ต่างๆที่เกิดจากภูมิปัญญาของคนไทย

    มนุษย์ได้เลือสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมในการตั้งหลักแหล่งอยู่อาศัย ทำมาหากินมาเป็นเวลาช้านาน 
ได้เรียนรู้ พร้อมทั้งสร้างสรรค์วัฒนธรรมที่เหมาะสม อันนเนื่องมาจากการปรับตัว ได้สั่งสม ปรับเปลี่ยน
แลกเปลี่ยนวัฒนธรรมกัน สิ่งเหล่านี้เจึงเป็นภูมิปัญญาของไทยที่ได้สั่งสม สืบทอดเป็นมรดก เพื่อใช้ใน
การดำเนินชีวิตจนถึงทุกวันนี้

      ความหมายของคำว่า ภูมิปัญญา และคำที่เกี่ยวข้อง 
       ในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 ภูมิปัญญา (Wisdom) หมายถึง พื้นความรู้ความสามารถ
นอกจากนี้ ยังมีคำที่เกี่ยวข้องกับภูมิปัญญาหลากหลาย อาทิเช่นภูมิปัญญาไทย ภูมิปัญญาท้องถิ่น หรือภูมิปัญญา
ชาวบ้าน หรือภูมิปัญญาพื้นบ้าน ผู้ทรงคุณภูมิปัญาไทย และ ปราชญ์ชาวบ้าน เป็นต้น 
      ภูมิปัญญาไทย หมายถึง ความรู้ ความสามารถ วิธีการ ผลงานที่คนไทยได้ศึกษา เก็บรวบรวมความรู้
และจัดเป็นองค์ความรู้ ปรับปรุง พัฒนา ถ่ายทอดจากคนรุ่นหนึ่งไปสู่คนอีกรุ่นหนึ่ง จนเกิดผลดีงาม มีคุณค่า มีประโยชน์ นำไปแก้ปัญหาและพัฒนาชีวิตของคนไทยได้อย่างเหมาะสมกับยุคสมัย
      ภูมิปํญญาท้องถิ่นหรือภูมิปัญญษชาวบ้าน หรือภูมิปัญญาพื้นบ้าน หมายถึง สิ่งที่แสดงความรู้ 
ความคิด และการกระทำของบรรพบุรุษของเรา เพื่อที่จะดำรงชีวิตรอดอย่างมีความสุข
          ดังนั้น การศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่น จึงต้องศึกษาควบคู่ไปกับวัฒนธรรมพื้นบ้าน เพราะเป็นสิ่งที่เกี่ยวข้อง
สอดคล้องสัมพันธ์กัน ในขณะเดียวกัน การศึกษาวัฒนธรรมพื้นบ้านก็จะต้องเกี่ยวโยงกับงานที่ทำได้ง่าย ๆ 
คือ งานทำด้วยมือหรืองานหัตถกรรม และศิลปกรรมพื้นบ้าน 
       ผู้ทรงภูมิปัญญาไทย หมายถึง บุคคลทีเป็นเจ้าของภูมิปัญญาชาวบ้าน แล้วนำภูมิปัญญานนั้นไปใช้ั
ประโยชน์เพื่อดำรงชีวิตได้สำเร็จ มีผลงานดีเด่น ได้รับการยกย่อยเป็นผู้เชี่ยวชาญสามารถถ่ายทอดเชื่อมโยง
ภูมิปัญญาแต่ละสาขาให้แพร่หลาย            
       ปราชญ์ชาวบ้าน หมายถึง บุคคลที่เป็นเจ้าของภูมิปัญญาชาวบ้าน และนำภูมิปัญญาไปใช้ประโยชน์ใน
การ ดำรงชีวิตจนประสบความสำเร็จ สามารถถ่ายทอดเชื่อมโยงคุณค่าของอดีตกับปัจจุบันได้เหมาะสม

           ประเภทของภูมิปํญญา
         
ภูมิปัํญญาไทย แบ่งออกเป็น 2 ระดับ คือ ชาติ และระดับท้องถิ่น 
        1. ภูมิปัญญาระดับชาติ เป็นภูมิปัญญาที่พัฒนาสังคมไทยให้รอดพ้นจากวิกฤตการณ์ต่าง ๆ ในอดีต
เช่น การกอบกู้เอกราชโดยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช และการเสียแผ่นดินบางส่วนของประเทศไทย 
ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจึุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อรักษาเอกราชชาติไทย ทำให้ประเทศไทยไม่ตกเป็น
เมืองขึ้นของชาติตะวันตกในยุคล่าอณานิคม หรือจักรวรรดินิยม             
        2. ภูมิปัญญาท้องถิ่น หรือภูมิปัญญาชาวบ้าน คือสิ่งที่แสสดงความรู้ ความคิดและการกระทำของบรรพบุรุษของเรา เพื่อที่ดำรงชีวิตอย่างมีความสุข

ลักษณะของภูมิปัญญาไทย
         ลักษณะของภูมิปัญญาไทย มีดังนี้ 
         1. ภูมิปัญญาไทย เป็นเรื่องใช้ความรู้ (Knowledge) ทักษะ (Skill) ความเชื่อ (Belief) 
และพฤติกรรม (Behavior) 
         2. ภูมิปัญญาไทย แสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างคนกับคน คนกับธรรมชาติสิ่งแวดล้อมและคนกับ
สิ่งเหนือธรรมชาติ 
         3. ภูมิปัญญาไทย เป็นองค์รวมหรือกิจกรรมทุกอย่างในวิถีชีวิต 
         4. ภูมิปัญญาไทย เป็นเรื่องของการแก้ไขปัญหา การจัดการ การปรับตัว การเรียนรู้ เพื่อคงวามอยู่รอด
ของบุคคล ชุมชน และสังคม 
         5. ภูมิปัญญา เป็นแกนหลัก หรือกระบวนทัศน์ในการมองชีวิต เป็นพื้นความรู้ในเรื่องต่าง ๆ 
         6. ภูมิปัญญาไทยมีลักษณะเฉพาะหรือมีเอกลักษณ์ในตัวเอง
         7. ภูมิปัญญาไทยมีการเปลี่ยนแปลง เพื่อการปรับสมดุลในพัฒนาการทางสังคมตลอดเวลา

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการสร้างสรรค์ภูมิปัญญาเเละวัฒนธรรมไทยมีอะไรบ้าง
 คุณสมบัติของผู้ทรงภูมิปัญญาไทย 
          คุณสมบัติของผู้ทรงภูมิปัญาไทย สรุปได้ดังนี้
          1. เป็นผู้มีคุณธรรม ได้การยอมรับจากบุคคลทั่วไป มีความรู้ความสามารถทั้งด้านวิชาชีพ การพัฒนา
ท้องถิ่น และเป็นผู้ใช้หลักธรรมคำสั่งสอนทางศาสนาเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวในการดำรงชีวิต 
          2. ขยันหมั่นเพรียร ไฝ่หาความรู้อยู่เสมอ ได้ลงมือทอลองทำตามสิ่งที่ได้ศึกษา จนประสบความสำเร็จ
เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน แนะนำนวัตกรรมใหม่ ๆ ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ที่โดดเด่น ชัดเจน ไปปรับปรุงใช้ในชุมชนสังคมอยู่เสมอ 
          
3. เป็นผู้นำท้องถิ่น คนในสังคมให้การยอมรับยกย่องนับถือ ช่วยเหลือผู้อื่นเป็นอย่างดี สนใจแก้ไข
ปัญหาท้แองถิ่น หาทางช่วยเหลือผู้อื่นได้อย่างดี 
          4. เป็นนักปกครองและประสานประโยชน์ของท้องถิ่น ทำให้คนในท้องถิ่นเกิดความรัก ความเข้าใจ
ความเห็นอกเห็นใจ และมีความสามัคคี ซึ่งจะทำให้ท้องถิ่นหรือสังคมมีความเจริญ มีคุณภาพชีวิตที่ดี ส่งผลให้
คนในท้องถิ่นผลฃิตผลงานที่มีคุณค่า และเป็นที่ยอมรับ 
         5. มีความสามารถในการถ่ายทอดความรู้ เป็นวิทยากรรับเชิญไปภายนอก หรือมีประชาชนเข้ามาชม
ผลงาน และถ่ายทอดความรู้ให้เข้าใจเป็นอย่างดี 
         6. เป็นผู้มีความรอบรู้ เชี่ยวชาญ ได้รับการยกย่อง สามารถสร้างผลงานใหม่ ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม
จนได้รับการยอมรับจากสาธารณชน

สาขาภูมิปัญญาไทย 
        การกำหนดสาขาภูมิปัญญาไทย ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์และหลักเกณฑ์ต่าง ๆโดยภาพรวมภูมิปัญญา
ไทยสามารถแบ่งได้เป็น 10 สาขา ดังนี้ 
     
   1. สาขาเกษตร 
        2. สาขาอุตสาหกรรมและหัตถกรรม 
       
 3. สาขาแพทย์แผนไทย 
        4. สาขาการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 
        5. สาขาภาษาและวรรณกรรม 
        6. สาขาศิลปกรรม 
        7. ศาสนาและประเพณี 
        8. สาขาการจัดการองค์กร 
        9. สาขาสวัสดิการ
        10. สาขากองทุนและธุรกิจชุมชน

ความสำคัญของภูมิปัญญาไทย
          คุณค่าของภูมิปัญญาไทยสืบทอดมาอย่างต่อเนื่องจากบรรพบุรุษุที่ได้สร้างความเป็นปึกแผ่นมั่นคง
ให้ชาติบ้านเมือง มีการดำรงชีวิตที่อยู่อย่างร่มเย็นเป็นสุข ทำให้คนในชาติเกิดความรักและความภาคภูมิใจ
เพื่อสืบสานไปสู่อานาคต สรุปความสำคัญได้ดังนี้ 
        1. สร้างชาติให้เป็นปึกแผ่นมั่นคง พระมหากษัตริย์ไทยทรงใช้ภูมิปัญญาในการสร้างชาติ สร้างความเป็น
ปึกแผ่นของประเทศ ตั้งแต่สมัยสุโขทัย จนถึงปัจจุบัน 
        2. สร้างความภาคภูมิใจ และเกียรติภูมิศักดิ์ศรีของความเป็นไทย
         มวยไทย มีชื่อเสียงไปทั่วโลก ปัจจุบันมีค่ายมวยอยู่ในหลายประเทศทั่วโลก 
         ภาษาและวรรณกรรม ช่ไทยมีภาษาผูดและภาษาเขียนเป็นของตนเอง วรรณกรรมเป็นที่รู้จัก 
มีการแปลเป็นภาษาต่างประเทศ สุนทรภู่เป็นนักปราชญ์ทางวรรณกรรมบุคคลหนึ่งที่ได้รับการยกย่องจาก
องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒฯธรรมแห่งประชาชาติื (ยูเนสโก) เป็นกวีเอกของโลก 
         อาหารไทย เป็นอาหารที่ชาวต่างชาติชื่นชอบและรู้จักกันแพร่หลาย อาทิเช่น ต้มยำกุ้ง ต้มข่าไก่ เป็นต้น
         สมุนไพรไทย เป็นที่รู้จักและยอมรับจากนานาประเทศ จนบาง ประเทศนำสมุนไพรไทยไปจดเป็น
ลิขสิทธิ์ของตนเอง
         3. การนำหลักธรรมมาประยุกต์ใช้กับวิถีชีวิตอย่างเหมาะสม ทำให้รู้จักพึ่งพาอาศัยกัน ให้อภัยกัน 
         4. การนำธรรมชาติมาใช้ในการดำรงค์ชีวิต เช่น อาหารไทย มักเป็นอาาหาร หวาน มันมีกะทิเป็น
ส่วนประกอบ หากรัปทานมากก็จะทำให้เกิดท้องอืดได้ ดังนั้น จึงมีการนำพืชสมุนไพร เช่น ตะไคร้ ใบมะกูดมาใส่
เพื่อช่วยแก้ปัญหาดังกล่าว
       5. การพัฒนาชีวิตให้เหมาะสมกับยุคสมัย

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการสร้างสรรค์ภูมิปัญญาเเละวัฒนธรรมไทยมีอะไรบ้าง
ในยุคสมัย ได้มีการพัฒนาไปตามสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป  
ตัวอย่างเช่น คนในสมัยก่อนใช้เรือพาย เป็นพาหนะในการเดินทาง
แต่ปัจจุบันมีการพัฒนามาเป็นเรือที่ใช้เครื่องยนต์แทนทำให้
การเดินทางรวดเร็วยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังได้มีการพัฒนา
การเดินทาง
ให้หลากหลายวิธีมาก เช่นรถยนต์ เครื่องบิน รถไฟใต้ดิน เป็นต้น

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการสร้างสรรค์ภูมิปัญญาเเละวัฒนธรรมไทยมีอะไรบ้าง
 ภูมิปํํญญาไทยกับปัจจัยสี่ 
       
 1. ภูมิปัญญาไทยด้านอาหารเครื่องดื่ม (อาหาร)
        2. ภูมิปัญญาไทยด้านการแต่งกาย (เครื่องนุ่งห่ม)
        3. ภูมิปัญญาไทยด้านที่อยู่อาศัย (ที่อยู่อาศัย)
        4. ภูมิปัญญาไทยด้านสุขภาพอนามัย (ยารักษาโรค)

ภูมิปัญญาไทยด้านอาหาร เครื่องดื่ม 
        สังคมไทยมีความอุดมสมบรูณ์ บรรพบุรุษได้จัดรูปแบบอาหารได้อย่างเหมาะสมกับสภาพภูมิอากาศ
และสภาพของสังคมในแต่ละภาค ซึ่งมีสรรพคุณช่วยให้ระบบต่าง ๆ ของร่างกายทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ทำให้ร่างกายแข็งแรง ห่างไกลโรคภัยไข้เจ็บ

1. ภาคกลาง อาหารของงภาคกลางเช่นน้ำพริกปลาทู แกงเลียง ต้มโคล้ง ต้มส้ม เป็นต้น

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการสร้างสรรค์ภูมิปัญญาเเละวัฒนธรรมไทยมีอะไรบ้าง

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการสร้างสรรค์ภูมิปัญญาเเละวัฒนธรรมไทยมีอะไรบ้าง

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการสร้างสรรค์ภูมิปัญญาเเละวัฒนธรรมไทยมีอะไรบ้าง

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการสร้างสรรค์ภูมิปัญญาเเละวัฒนธรรมไทยมีอะไรบ้าง

นํ้าพริกปลาทู

แกงเลียง

ต้มโคล้งกุ้งสด

ต้มส้ม


2. ภาคเหนือ เช่น น้ำพริกอ่อง ขนมจจีนน้ำเงี้ยว ข้าวซอย แคบหมู ไส้อั่ว แกงโฮะ เป้นต้น

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการสร้างสรรค์ภูมิปัญญาเเละวัฒนธรรมไทยมีอะไรบ้าง

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการสร้างสรรค์ภูมิปัญญาเเละวัฒนธรรมไทยมีอะไรบ้าง

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการสร้างสรรค์ภูมิปัญญาเเละวัฒนธรรมไทยมีอะไรบ้าง

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการสร้างสรรค์ภูมิปัญญาเเละวัฒนธรรมไทยมีอะไรบ้าง

น้ำพริกอ่อง

ขนมจีนน้ำเงี้ยว

ข้าวซอย

แคบหมู


3. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (อีสาน) เช่นส้มตำ ปลาร้า น้ำตก ลาบ ก้อย ซุบหน่อไม้ ข้าวเหนียว เป็นต้น
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการสร้างสรรค์ภูมิปัญญาเเละวัฒนธรรมไทยมีอะไรบ้าง
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการสร้างสรรค์ภูมิปัญญาเเละวัฒนธรรมไทยมีอะไรบ้าง
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการสร้างสรรค์ภูมิปัญญาเเละวัฒนธรรมไทยมีอะไรบ้าง
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการสร้างสรรค์ภูมิปัญญาเเละวัฒนธรรมไทยมีอะไรบ้าง

ส้มตำ

ลาบ ก้อย

ไก่ย่าง นํ้าตก

ซุบหน่อไม้


 4. ภาคใต้ เช่นข้าวยำ แกงไตปลา แกงเหลือง ผัดสะตอ เป็นต้น
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการสร้างสรรค์ภูมิปัญญาเเละวัฒนธรรมไทยมีอะไรบ้าง

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการสร้างสรรค์ภูมิปัญญาเเละวัฒนธรรมไทยมีอะไรบ้าง

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการสร้างสรรค์ภูมิปัญญาเเละวัฒนธรรมไทยมีอะไรบ้าง

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการสร้างสรรค์ภูมิปัญญาเเละวัฒนธรรมไทยมีอะไรบ้าง

ข้าวยำ

แกงไตปลา

แกงเหลือง

ผัดสะตอ

        ด้านขนมไทย เป็นภูมิปัญญาไทย โดยคำว่า "ขนม" มาจากคำว่า "ข้าวหนม"

       

ข้าวหนม เป็นข้าวผสมกับน้ำอ้อยหรือน้ำตาล คำว่า "หนม" แปลว่า หวาน เมื่อรวมคำแล้ว ข้าวหนม 
จึงหมายถึงข้าวหวาน ต่อมาเสียงสั้นลงเป็น "ขนม"
       ขนมไทย ในสมัยโบราณ มีส่วนผสมมาจากแป้งและน้ำตาล ต่อมา ในสมัยพระสมเด้จพระนารายณ์มหาราช
จึงเริ่มมีการทำขนมที่มีส่วนผสมของไข่ เช่น ทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง เป็นต้น และในปัจจุบันได้มี
การประยุกต์ ดัดแปลงจนทำให้มีขนมไทยหลายหลายชนิด
      ผลไม้ มีตลอดทั้งปี ทานได้ทุกฤดูกาล
      สมุนไพร สมุนไพรของไทยหลายหลากชนิดสามารถนำมาทำเป็นเครื่องดื่มได้ เช่น ใบเตบ ตะไคร้ มะตูม
กระเจี๊ยบ ขิง ดอกคำฝอย เป็นต้น ซึ่งแต่ละชนิดจะให้สรรพคุณแตกต่างกันไป อาทิเช่น น้ำขิง ช่วยขับลม
น้ำกระเจี๊ยบช่วยขับปัสสาวะ น้ำมะตูมทำให้เจริญอาหาร และบำรุงธาตุ เป็นต้น
         ปัจจุบันมีปผู้นิยมดื่มน้ำสุนไพรกันมาก เพราะทำให้สุขภาพดี และมีราคาถูก ถ้านักศึกษาสนใจสรรพคุณ
ของสมุนไพรอื่น ๆ หาได้จากหนังสือความรู้ด้านสมุนไพรที่มีอยู่มากมายและหลากหลาย นอกจากนี้ อาจค้นคว้า
เพิ่มเติมได้จากอินเตอร์เน็ต

ภูมิปัญญาไทยด้านการแต่งกาย
       บรรพบุรุษไทยได้สั่งสมภูมิปัญญาจากกระบวนการเรียนรู้ ทดลองพัฒนาจากธรรมชาติจนสามารถผลิต
เส้นใยผ้า อุปกรณ์การทอผ้า ตลอดจนการย้อมผ้าให้มีสีสันที่สวยงามจากผลิตภัณฑ์ ธรรมชาติ จนกลายเป็น
เครื่องแต่งกายที่มีคุณค่ามาจนถึงปัจจุบัน เช่น
        ต้นคราม              ให้สีฟ้าอ่อน หรือสีคราม
        ขี้ครั่ง                  ให้สีแดง
        แก่นขนุน             ให้สีเหลือง ถึงเหลืองอมน้ำตาล
        ลูกมะเกลือ           ให้สีเทา น้ำตาล จนถึงดำ
        ยอป่า                  ให้สีแดง
        เข                       ให้สีเหลือง

ภูมิปัญญาไทยด้านที่อยู่อาศัย
       
บ้าน คือ ที่อยู่อาศัย ซึ่งนับเป็นความจำเป็นต่อการดำเนินชีวิต การสร้างที่อยู่อาศัยของไทย มีรูปแบบที่
หลากหลายตามสภาพแวดล้อมในแต่ละท้องถิ่น การสร้างบ้านจะสะท้อนให้เห็นถึงชีวิตของคนในท้องถิ่น
สภาพสังคม เศรษฐกิจ คติความเชื่อของผู้สร้าง แม้ว่าที่อยู่อาศัยของคนไทยทั้ง 4 ภาค จะไม่เหมือนกัน
ตัวอย่างเช่น ที่อยู่อาศัยของคนภาคกลาง ส่วนใหญ่จะเ็ป็นบ้านยกพื้นสูงใต้ถุนโล่ง มีหน้าต่าง และช่องลม
จำนวนมากเพื่อรับลม คลายความร้อน ส่วนหลังคาเป็นรูปจั่ว เพื่อปกป้องความร้อนจากดวงอาทิตย์ และให้ฝน
ไหลลงสู่พื้นได้รวดเร็วขึ้น และเก็บน้ำฝนไว้ใช้ดื่มกิน 
       ความแตกต่างของบ้านสี่ภาค แตกต่างและมีลักษณธดังนี้
      
     1. บ้านเรือนภาคกลาง    
 

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการสร้างสรรค์ภูมิปัญญาเเละวัฒนธรรมไทยมีอะไรบ้าง

           

แบ่งเป้น 2 ลักษณะคือ
             - เรือนเครื่องผูก เ้ป็นเรือนที่ใช้วัสดุก่อสร้างจากธรรมชาติ เช่นไม้ไผ่ จาก หญ้าคา ยึดโครงด้วยตอก 
รือเส้นหวาย ซึ่งมีอายุใช้งานไม่มากนัก
            - เรือนเครื่องสับ สร้างด้วยวัสดุไม้เนื้อแข็งยึดโครงด้วยการเข้าเดิอย บางส่วน บางส่วนอาจยึดด้วยโลหะ 
       ลักษณะโครงสร้างและสิ่งแวดล้อมของการปลูกเรือนไทยภาคกลาง
            1. มักเป็นชุมชนที่อยู่ริมน้ำและที่ราบ บ้านมีลักษณะใต้ถุนสูงเพื่อป้องกันน้ำท่วม
            2. หลังคาจั่วสูง ชายคายื่นยาว เพื่อบรรเทาอากาศร้อน ทำให้เย็นสบาย
            3. วัสดุที่ใช้มุงหลังคา ใช้หญ้าคา จาก ไม้ กระเบื้องดินเผา เพื่อกันความร้อน
            4. ลักษณะบ้านอยู่ในบริเวณเดียวกัน เป็นครอบครัวใหญ่

      2. บ้านเรือนภาคเหนือ
      เนื่องจากภาคเหนือมีอากาศหนาวเย็นารปลูกบ้านจึงต้องใช้ภูมิปัญญาเพื่อให้เกิดความอบอุ่นและความเชื่อดังนี้

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการสร้างสรรค์ภูมิปัญญาเเละวัฒนธรรมไทยมีอะไรบ้าง

 1. เพราะอากาศหนาวเย็น การปลูกเรือน จะวางตัวเรือนขวางตะวัน หันด้านกว้่างที่เป็น
 จั่วในแนวเหนือ-ใต้เพื่อให้บ้านได้รับแสงแดดเพื่อความอบอุ่น
 2. ความเชื่อผีบรรพบุรุษ จึงมีการแบ่งพื้นที่เรือนส่วนใน (ห้องนอน) ตั้งหิ้งบูชาผีปู่ย่า
และห้ามไม่ให้บุคคลภายนอกเข้า
 3. คนภายนอกเข้าออกได้เฉพาะส่วนนอกได้เฉพาะส่วนนอก เช่น   ชานครัว เพราะ
ถ้าละเมิดถือว่าเป็นการผิดผี

     3. บ้านเรือนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 
           เนื่องจากภาคเหนือมีอากาศหนาวเย็น การปลูกบ้านจึงต้องใช้ภูมิปัญญาเพื่อให้เกิดความอบอุ่น
และความเชื่อดังนี้

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการสร้างสรรค์ภูมิปัญญาเเละวัฒนธรรมไทยมีอะไรบ้าง

 1. ทำเลที่ตั้งของบ้านที่แตกต่างกัน เช่น ที่ราบลุ่ม ที่ดอน ไกล้ป่าละเมาะ หรือ
บางแห่งใกล้แหล่งน้ำบางพื้นที่แห้งแล้ง การปลูกเรือนจึงมีหลายตามพื้นที่
ที่สร้างบ้านและประโยชน์การใช้สอย
2. ความเชื่อ เช่น ห้ามถมหรือปลูกเรือนทับบ่อน้ำที่ขุดไว้เช่นใช้ร่วมกันห้ามปลูก
เรือน
ทับตอไม้หรือปลูกเรือนคร่อมจอมปลวก ทับหนองน้ำเพราะจะนำความล่มจม
มาสู่เจ้าของเรือน

    4. บ้านเรือนภาคใต้           
        เนื่องจากภาคใต้มีฝนตกชุก ทำให้ดินทรุดต้วง่าย ลักษณะบ้านจึงเป็นดังนี้

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการสร้างสรรค์ภูมิปัญญาเเละวัฒนธรรมไทยมีอะไรบ้าง

1. ภาคใต้ลักษระอากาสมีฝนตกชุก มีลมและลมแรงตลอดปี บ้านเรื้องจึง
มักมีหลังคา
 เตี้ยลาดชันเป็นการลดการประทะของแรงลม เมื่อฝนตกจะทำ
ให้น้ำไหลได้เร็วขึ้นจะทำให้หลังคาแห้งไวด้วย
2.ฝาเรือนเป็นไม้กระดานตีเกล็ดในแนวนอน เพื่อลดแรงต้านของลม
3.เป็นเรือนใต้ถุนสูงเสาบ้านไม่ฝังลงดินเพราะดินทรุดง่ายจึงใช้วิธีหล่อ
ซีเมนต์ เป็นรูปสี่เหลี่ยมขนาดโตกว่าเสาปกติความสูงประมาณ 3 ฟุต
เพื่อวางเสาเรียกว่า"ตีนเสา"นอกจากนี้ยังป้องกันปลวกและเชื้อราด้วย
4. ลักษณะพิเศษ เรือนภาคใต้สามารถเคลื่อนย้ายไปปลูกในพื้นที่อื่น ๆ
ได้โดย ไม่ต้องรื้อ หรือถอดส่วนประกอบของเรือนอก

    

ภูมิปัญญาไทยด้านสุขอนามัย 
         ประวัติการแพทย์แผนไทย พอสรุปเป็นลำดับได้ดังนี้
          - สมัยอยุธยา การแพทย์แผนไทยเริ่มในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช โดยมีการรวบรวมตำรับยาขึ้น
เป็นครั้งแรก
         - สมัยรัตนโกสินทร์ เริ่มตั้งแต่รัชกาลที่ 1 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงให้มี
การรวบรวมและ จารึกตำรายา ตำราการนวดตามศาลาราย มีรูปฤาษีดัดตนในบริเวณวัด
          พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย มีพระบรมราชโชองการให้ผู้มีความรู้เรื่องสรรพคุณยา และผู้ชำนาญการรักษาโรค และผู้มีตำรายาเข้ามาถวาย โดยให้หมอหลวงพิจารณาคัดเลือก
          พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้มีการจัดตั้งโรงเรียนแพทย์แผนโบราณแห่งแรก คือ
โรงเรียนแพทย์แผนโบราณวัดโพธิ์
         แนวทางการปฏิบัติ ภูมิปัญญา ภูมิปัญญาด้านสุขอนามัย มีอยู่ 3 แนวทาง คือ 
         1. ภูมิปัญญาด้านเภสัช
         2. ภูมิปัญญาด้านเวชกรรมไทย
         3. ภูมิปัญญาด้านการนวดแผนโบราณ

ภูมิปัญญาไทยเกี่ยวกับความคิดและความเชื่อ
         สังคมไทยมีความเชื่อในเรื่องของกฎแห่งกรรม จากหลักคำสอนทางศาสนาเชื่อหลักการเวียนว่ายตายเกิด 
อิทธิของดวงดาว จักรราศรี แม้ว่าในสังคมยึคใหม่จะเชื่อในเรื่องวิทยาศาสตร์มากขึ้น แต่ความเชื่อเก่า ๆ 
ก็ยังมีอิทธิพลของอยู่ ซึ่งสังคมไทยมีความเชื่ออยู่ 3 เรื่อง คือ

         1. ความคิด ความเชื่อเกี่ยวกับวันเกิด 
             คนไทยมีความเชื่อ วัน เดือน ปีเกิด เวลาตกฝาก มีอิทธิพลต่อการดำเนินชีวิตของคน ดังนี้
             คนเกิดวันอาทิตย์ มีอริยามธาตุราชสีห์ คือ มีความเป็นใหญ่ เข้มแข็ง รักความเป็นอิสระ รักเกียรติยศ ศักดิ์ศรี
            คนเกิดวันจันทร์ ได้รับอธิพลจากดวงจันทร์ มีลักษณะนิ่มนวล อ่อนหวาน ใจเย็น มีเสนห์ อารมณ์อ่อนไหว
            คนเกิดวันอังคาร มีความกล้าหาญ เข้มแข็ง เด็ดเดี่ยว ชอบต่อสู้
            คนเกิดวันพุธ เชื่องช้า ความจำดี อยู่ในโอวาท สุภาพ ช่างคิด
            คนเกิดวันพฤหัสบดี ชอบศึกษาหาความรู้ เฉลียวฉลาด มีเมตตา โอบอ้อมอารี
            คนเกิดวันศุกร์ เป็นคนรักสงบ รักหมู่คณะ ชอบความรื่นเริง ความสวยงาม รักศิลปะ
            คนเกิดวันเสาร์ เ็นคนอดทน รักสันโดษ ช่างสังเกต ระมัดระวัง เป็นต้น

         2. ความคิดเชื่อเรื่องการตั้งชื่อ 
            โดยทั่วไปมักนำวัน เดือน ปี เวลาตกฟากไปผูกดวงชะตาและตั้งชื่อ และนำไปให้พระภิกษุที่มีความรู้
ตั้งชื่อให้ เพราะเชื่อว่าชื่อมีอิทธิพลต่อการดำเนินชีวิต ชื่อที่ดีไม่มีลักษณะกาลกิณี จะทำให้มีชีวิตที่ดี 
ตรงกันข้าม ถ้าชื่อไม่เป็นมงคลกับวันเดือนปีเกิด จะทำให้ชีวิตมีอุปสรรค หรือพบกับความอัปมงคล

        3.  ความเชื่อเรื่องต้นไม้มงคล
       
      ประเทศไทยมีต้นไม้หลายชนิดที่มีชื่อและความหมายเป็นมงคล คนไทยส่วนใหญ่จึงมีความเชื่อว่า
ถ้านำมาปลูกไว้ในบริเวณบ้านจะเกิดความเป็นสิริมงคล ตัวอย่างเช่น
            ต้นขนุน หมายถึง หนุนให้ดีขึ้น สนับสนุนให้เจริญก้าวหน้า
            ต้นทองหลาง หมายถึง การมีเงินทอง มีความร่ำรวย
            ต้นไผ่สีสุก หมายถึง ความสุขความเจริญ ปราศจากความทุกข์
            ต้นสัก หมายถึง ความมีเกียรติ มียศถาบรรดาศักดิ์
            ต้นราชพฤกษ์ หมายถึง ความยิ่งใหญ่ การมีอำนาจวาสนา

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการสร้างสรรค์ภูมิปัญญาเเละวัฒนธรรมไทยมีอะไรบ้าง
กระบวนการถ่ายทอดภูมิปัญญาไทย 
          เนื่องจากภูมิปัญญาไทย และภูมิปัญญาทองถิ่นต่างมีความสัมพันธ์และมีความเชื่อมโยงกันลักษณะ
การถ่านทอดจึงมีลักษณธดังนี้
          1. การถ่ายทอดด้วยวิธีการผ่านทางกิจกรรมอย่างง่าย ๆ เช่น การละเล่น การเล่านิทาน การทายปริศนา
ซึ่งมักเป็นวิธีที่ใช้เด็ก มักมุ่งเน้นในเรื่องของจริยธรรม
          2. วิธีการบอกเล่าหรือเล่าผ่านทางพิธีกรรมต่าง ๆ เช่นพิธีกรรมทางศาสนา พิธีการแต่งงาน พิธีกรรม
ขนบธรรมเนียมของท้องถิ่นต่าง ๆ หรือการลงมือประกอบอาชีพตามแบบอย่างบรรพบุรุษ
          3. การถ่ายทอดในรูปแบบของการบันเทิง เป็นการสอดแทรกในเนื้อหาื คำร้องของการแสดงต่าง ๆ 
เช่น ลิเก โนรา หนังตะลุง หมอรำ ซึ่งมักกล่าวถึงประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ธรรมเนียม ประเพณี คติคำสอน อาชีพ
จารีตประเพณี เป็นต้น
          4. การถ่ายทอดเป้นลายลักษณ์อักษร ในอดีตมีการจารโลงบนใบลาน และเขียนลงในสมุดข่อย ส่วน
ในยุคปัจจุบันจะถ่ายทอดผ่านทางสื่อมวลชน เช่น วิทยุ โทรทัศน์ สื่อสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ

การส่งเสริมภูมิปัญญาไทย
         สรุปได้ดังนี้
         1. ให้ความยกย่องครูภูมิปัญญาไทย
         2. จัดให้มีแหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาไทย เพื่อเป็นศูนย์รวมแห่งการเรียนรู้ ถ่ายทอดภูมิปัญญาของชุมชน 
เช่น พิพิธภัณฑ์ควายไทย จังหวัดสุพรรณบุรี และพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านจ่าทวีจังหวัดพิษณุโลก
         3. จัดตั้งศูนย์แลกเปลี่ยนการเรียนรู้ และเป็นที่ถ่ายทอดความรู้ของผู้ทรงภูมิปัญญา
         4. จัดตั้งกองทุนส่งเสริมภูมิปัญญาไทย ทั้งภาครัฐและเอกชน
         5. ให้ความคุ้มครองลิขสิทธิ์ภูมิปัญญาไทย เพื่อเป็นการพิทักษ์ผลประโยชน์ของชาติ
         6. จัดตั้งสถาบันเกี่ยวกับภูมิปัญญาไทย ให้ภูมิปัญญาไทยเป็นสถาบันของชาติ เพื่อทำหน้าที่ประสานงาน
และเผยแพร่ภูมิปัญญาไทย ให้บุคคล ทั่วไปได้มีความรู้
         7. ยกย่องเชิดชูเกียรติผู้ทรงภูมิปัญญาทั้งระดับชาติและระดับโลก
           ระดับชาติ ประกาศการย่องย่อยเชิดชูเกียรติ เช่น ศิลปินแห่งชาติ คนดีศรีสังคม บุคคลตัวอย่าง ในสาขาอาชีพต่างเป็นต้น

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการสร้างสรรค์ภูมิปัญญาเเละวัฒนธรรมไทยมีอะไรบ้าง

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการสร้างสรรค์ภูมิปัญญาเเละวัฒนธรรมไทยมีอะไรบ้าง

นายเปลื้อง ฉายรัศมี

ศาสตราจารย์ ดร.ระวี ภาวิลัย

ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปการแสดง(ดนตรีพื้นบ้าน)

ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ (ของประเทศไทย)

     

 ระดับโลก โดยองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) ได้ประกาศ
ยกย่องเชิดชูเกียรตินักปราชญ์ไทย ให้เป็นผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรม เริ่มตั้งแต่ พ.ศ. 2505 
จนถึงปัจจุบัน ดังนี้
          - กรมพระยาดำรงราชานุภาพ (2505)
          - เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ (2506)
          - พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (2511)
          - พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (2524)
          - สุนทรภู่ (2529) 
          - พระยาอนุมานราชธน (2531)
          - กรมพระปรมานุชิตชิโนรส (2533)
          - กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ (2534) 
          - พระมหิดลลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรมพระบรมราชนก (2535)
          - สมเด็จพระศรีนครินราบรมราชชนนี (2543)
          - กุหลาบสายประดิษฐ์ (2548)
          - พระธรรมโกศาจารย์พุทธทาสภิกขุ (2549)

                ภาพตัวอย่างนักปราชญ์ไทย

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการสร้างสรรค์ภูมิปัญญาเเละวัฒนธรรมไทยมีอะไรบ้าง

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการสร้างสรรค์ภูมิปัญญาเเละวัฒนธรรมไทยมีอะไรบ้าง

พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย

พระบาทสมเด็จพรพะจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการสร้างสรรค์ภูมิปัญญาเเละวัฒนธรรมไทยมีอะไรบ้าง

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการสร้างสรรค์ภูมิปัญญาเเละวัฒนธรรมไทยมีอะไรบ้าง

สุนทรภู่

กรมพระยาดำรงราชานุภาพ


ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการสร้างสรรค์ภูมิปัญญาเเละวัฒนธรรมไทยมีอะไรบ้าง

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการสร้างสรรค์ภูมิปัญญาเเละวัฒนธรรมไทยมีอะไรบ้าง

เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์

พระยาอนุมานราชธน

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการสร้างสรรค์ภูมิปัญญาเเละวัฒนธรรมไทยมีอะไรบ้าง

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการสร้างสรรค์ภูมิปัญญาเเละวัฒนธรรมไทยมีอะไรบ้าง

กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์

กุหลาบสายประดิษฐ์

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการสร้างสรรค์ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมมีอะไรบ้าง

ปัจจัยใดบ้างที่ก่อให้เกิดการสร้างสรรค์ภูมิปัญญา และวัฒนธรรมไทย สภาพภูมิศาสตร์ลักษณะสังคม ความเชื่อ ความรู้ และประสบการณ์ของมนุษย์ก่อให้เกิดการสร้างสรรค์ ภูมิปัญญาเพื่อนามาใช้ในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึน ในชีวิตประจาวันได้ Page 35 ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทย มีความสาคัญต่อการดารงชีวิตของมนุษย์อย่างไร

ปัจจัยใดบ้างที่มีอิทธิพลต่อการสร้างสรรค์ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทยสมัยอยุธยา

1. สภาพแวดล้อมทางภูมิศาสตร์ 2. ลักษณะทางสังคมและวัฒนธรรม 3. การรับอิทธิพลจากภายนอก Page 8 กรุงศรีอยุธยาตั้งอยู่บริเวณที่ราบลุ่ม มีน้าไหลผ่าน 3 สาย คือ แม่น้า เจ้าพระยา แม่น้าป่าสัก และแม่น้าลพบุรี มีฝนตกเสมอทาให้เหมาะแก่ การเพาะปลูก การค้าขาย และการดาเนินชีวิต ของชาวอยุธยา จึงส่งเสริมให้มีการคิดค้นภูมิปัญญาต่าง ๆ ขึ้น ...

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการสร้างสรรค์ภูมิปัญญาไทยในสมัยสุโขทัยมีอะไรบ้าง

การสร้างสรรคฺ์ภูมิปัญญาสมัยสุโขทัย.
ความต้องการปัจจัยในการดำรงชีวิต เช่น เครื่องมือ เครื่องใช้ เป็นต้น.
ความต้องการแก้ไขปัญหาที่เกิดจากสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติ.
ความต้องการที่จะใช้ประโยชน์จากหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาเพื่อนำมาสร้าง ความสงบสุขให้กับสังคม.
ความต้องการให้เกิดความมั่นคงของอาณาจักร.

ปัจจัยทางภูมิศาสตร์ที่มีส่วนส่งเสริมการสร้างสรรค์วัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทยอย่างไร

ปัจจัยทางภูมิศาสตร์ ได้แก่ ลักษณะภูมิประเทศ ลักษณะภูมิอากาศ ทรัพยากรทางธรรมชาติ ในแต่ละภูมิภาคมีความแตกต่างกัน ส่งผลให้มีการสร้างสรรค์วัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทยด้านต่างๆ มีความแตกต่างกันไปด้วย เช่น การประกอบอาชีพ การแต่งกาย การสร้างที่อยู่อาศัย เช่น ภาคใต้ทำประมง ภาคเหนือทำอุตสาหกรรมแปรรูปไม้

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการสร้างสรรค์ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมมีอะไรบ้าง ปัจจัยใดบ้างที่มีอิทธิพลต่อการสร้างสรรค์ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทยสมัยอยุธยา ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการสร้างสรรค์ภูมิปัญญาไทยในสมัยสุโขทัยมีอะไรบ้าง ปัจจัยทางภูมิศาสตร์ที่มีส่วนส่งเสริมการสร้างสรรค์วัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทยอย่างไร สิ่งที่แสดงถึงภูมิปัญญาทางด้านการปกครองสมัยอยุธยา ได้แก่อะไรบ้าง การสร้างสรรค์วัฒนธรรมไทย สรุป ให้นักเรียนยกตัวอย่างภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทยสมัยรัตนโกสินทร์มาอย่างน้อย 3 ตัวอย่าง อิทธิพลภายนอกมีผลต่อการสร้างสรรค์วัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทยหรือไม่ อย่างไร