พนักงานบริษัทมีหน้าที่อะไรบ้าง

บทบาทและความรับผิดชอบของประธานคณะกรรมการบริษัท

บทบาทที่สำคัญของประธานกรรมการบริษัทคือ การจัดให้เกิดประสิทธิภาพในการกำหนดภารกิจและกำหนดทิศทางและกลยุทธ์ของบริษัทให้เกิดผลสำเร็จ

ประธานกรรมการคือผู้นำและมีบทบาทที่สำคัญในการที่จะทำให้คณะกรรมการบริษัททำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งบทบาทหลักที่สำคัญของประธานกรรมการ มีดังนี้

  • กำหนดให้มีการจัดองค์ประกอบ ขนาด และโครงสร้างของคณะกรรมการบริษัทเพื่อก่อให้เกิดความสมดุลระหว่างกรรมการที่เป็นผู้บริหารและกรรมการอิสระ
  • กำหนดให้คณะกรรมการบริษัท มีการจัดตั้งรวมถึงมีองค์ประกอบและปฏิบัติงานได้อย่างเหมาะสม
  • จัดให้มีการปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพในคณะกรรมการบริษัทเพื่อให้สอดคล้องกับมาตรฐานสูงสุดของหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี
  • จัดให้เกิดการมีส่วนร่วมกันของกรรมการที่เป็นผู้บริหาร กรรมการที่ไม่เป็นผู้บริหารและกรรมการอิสระในกิจกรรมและกระบวนการทางการตัดสินในของคณะกรรมการบริษัท
  • จัดให้คณะกรรมการบริษัทมีการพัฒนาโครงสร้างที่ดีขึ้นและกำหนดกลยุทธ์และวัตถุประสงค์ของบริษัท
  • จัดให้มีเข้ารับโครงการที่เหมาะสมสำหรับกรรมการที่เข้ารับตำแหน่งใหม่
  • ปฏิบัติตามบทบาทที่สำคัญในการควบคุมคณะกรรมการบริษัทและส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือและร่วมกันอุทิศตนเพื่อให้เกิดความสำเร็จขององค์กรอย่างยั่งยืน
  • จัดให้มีการประเมินและพัฒนาผลงานของคณะกรรมการบริษัทอย่างสม่ำเสมอและความมุ่งหวังในการร่วมมือกันของกรรมการและผลการปฏิบัติงานของกรรมการ
  • จัดให้มีแผนงานความสำเร็จของบริษัทเพื่อให้แก่ผู้บริหารอาวุโส
  • เป็นประธานในการประชุมคณะกรรมการบริษัทและการประชุมผู้ถือหุ้นรวมทั้งกำหนดวาระการประชุมร่วมกับกรรมการ ฝ่ายจัดการ และเลขานุการบริษัท
  • จัดให้คณะกรรมการบริษัทได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง ตรงเวลา และเพียงพอสำหรับการประชุมคณะกรรมการบริษัท
  • จัดให้มีช่องทางที่มีประสิทธิภาพในการติดต่อระหว่างคณะกรรมการบริษัท ฝ่ายบริหารและผู้ถือหุ้น
  • จัดให้มีที่ปรึกษาอิสระแก่ฝ่ายบริหารและคณะกรรมการบริษัท
  • แต่งตั้งเลขานุการบริษัทเพื่อสนับสนุนกิจกรรมของคณะกรรมการบริษัท

บทบาทและความรับผิดชอบของประธานกรรมการอิสระ (Lead Independent Director)

บทบาทหน้าที่หลักของประธานกรรมกาอิสระมีดังนี้

  • ประสานงานระหว่างกรรมการอิสระและฝ่ายจัดการ
  • มีอำนาจเรียกประชุมกรรมการอิสระ
  • จัดประชุมและกำหนดวาระของการประชุมเป็นการภายในของกรรมการที่ไม่ใช่ผู้บริหารและกรรมการอิสระ (executive sessions) รวมถึงสื่อสารข้อเสนอแนะจากการประชุมให้แก่ฝ่ายบริหาร
  • สื่อสารกับกรรมการอิสระอื่นๆ เพื่อสอบถามว่ากรรมการอิสระมีหัวข้อที่ต้องการนรวมเข้าในวาระการประชุมหรือไม่
  • ประสานงานกับประธานกรรมการบริษัทและฝ่ายจัดการเพื่อจัดทำหัวข้อการประชุมคณะกรรมการและให้แน่ใจว่าคณะกรรมการได้รับข้อมูลที่ถูกต้องในเวลาที่เหมะสม
  • แนะนำที่ปรึกษาจากภายนอกให้แก่คณะกรรมการหากจำเป็นหรือสมควร
  • เป็นที่ปรึกษาและตัวแทนในการสื่อสารกับผู้ถือหุ้นใหญ่ตามได้รับแจ้ง

ประธานกรรมการอิสระจะทำหน้าที่ประธานกรรมการเมื่อประธานกรรมการไม่สามรถเข้าร่วมประชุมกรรมการได้ ตามหลักการการกำกับดูแลกิจการที่ดี

บทบาทและหน้าที่ของคณะกรรมการบริษัท

  • ปฏิบัติหน้าที่ของตนให้เป็นไปตามกฎหมาย วัตถุประสงค์ ข้อบังคับของบริษัท ตามมติคณะกรรมการบริษัทและมติที่ประชุมผู้ถือหุ้น ด้วยความรับผิดชอบ ระมัดระวังและด้วยความซื่อสัตย์สุจริต
  • กําหนดและให้ความเห็นชอบในเรื่องวิสัยทัศน์ กลยทธุ์ ทิศทางของธุรกิจ นโยบาย เป้าหมาย แนวทางของแผนการดําเนินงานและงบประมาณของบริษัทฯ และบริษัทย่อย ตามที่ฝ่ายจัดการได้จัดทำขึ้น และกํากับดูแลการบริหารงานและผลการปฏิบัติงานของฝ่ายจัดการ หรือบุคคลใดๆ ซึ่งได้รับมอบหมายให้ทําหน้าที่ดังกล่าว และให้เป็นไปตามนโยบายที่คณะกรรมการบริษัทกําหนดไว้
  • ติดตามผลการปฏิบ้ติหน้าที่อย่างต่อเนื่องเพื่อให้เป็นไปตามแผนงานและงบประมาณ
  • ดําเนินการให้บริษัทฯ และบริษัทย่อยนําระบบงานบัญชีที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพมาใช้ รวมทั้งจัดให้มีระบบควบคุมภายในและระบบการตรวจสอบภายใน
  • สอบทานกระบวนการและนโยบายในการบริหารความเสี่ยงและติดตามผลการปฏิบัติงาน
  • จ้ดให้มีนโยบายเกี่ยวกับการกำกับดูแลกิจการและจัดให้มีการปฏิบัติตามนโยบายอย่างมีประสิทธิภาพ
  • แต่งตั้งคณะกรรมการชุดย่อย เช่น คณะกรรมการตรวจสอบ คณะกรรมการสรรหา พิจารณาค่าตอบแทน และกํากับดูแลกิจการ หรือคณะกรรมการชุดย่อยอื่นใด เพื่อช่วยเหลือและสนับสนุนการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการบริษัท
  • แต่งตั้งผู้บริหารระดับอาวุโสของบริษัท เช่น ประธานคณะกรรมการบริหาร (Chairman of Executive Committee) ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (Chief Executive Officer) ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ (Chief Operating Officer) และประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงิน (Chief Financial Officer) และเจ้าหน้าที่อาวุโสอื่นใด ตามที่คณะกรรมการบริษัทเห็นว่าจำเป็นและสมควร
  • แต่งตั้งเลขานุการบริษัทเพื่อช่วยเหลือคณะกรรมการบริษัทในการปฏิบัติงานต่างๆ เพื่อให้การดําเนินธุรกิจของบริษัทเป็นไปตามกฎหมายและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง
  • ขอความเห็นทางวิชาชีพจากองค์กรภายนอก หากมีความจําเป็นเพื่อประกอบการตัดสินใจที่เหมาะสม
  • ส่งเสริมให้กรรมการและผู้บริหารของบริษัทเข้าร่วมสัมมนาหลักสูตรต่างๆ ของสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทยในหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติหน้าที่และความรับผิดชอบของกรรมการและผู้บริหาร

ทั้งนี้ การมอบหมายอำนาจหน้าที่และความรับ ผิดชอบของคณะกรรมการบริษัทนั้นจะไม่มี ลักษณะเป็นการมอบอำนาจ หรือมอบอำนาจช่วง ที่ทำให้คณะกรรมการบริษัท หรือผู้รับมอบอำนาจ จากคณะกรรมการบริษัทสามารถอนุมัติรายการ ที่ตนเองหรือบุคคลที่อาจมีความขัดแย้ง (ตาม ที่นิยามไว้ในประกาศคณะกรรมการกำกับ หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือประกาศ คณะกรรมการกำกับตลาดทุน) มีส่วนได้เสีย หรืออาจได้รับประโยชน์ในลักษณะใดๆ หรืออาจ มีความขัดแย้งทางผลประโยชน์อื่นใดกับบริษัทฯ หรือบริษัทย่อย ยกเว้นเป็นการอนุมัติรายการ ที่เป็นไปตามนโยบายและหลักเกณฑ์ที่ที่ประชุม ผู้ถือหุ้นหรือคณะกรรมการบริษัทได้มีการ พิจารณา อนุมัติไว้ เพื่อเป็นการถ่วงดุลอำนาจ ตำแหน่งประธานกรรมการและตำแหน่งประธาน เจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มบริษัทฯ จะไม่ใช่บุคคล คนเดียวกันโดยที่ประธานกรรมการบริษัทมาจาก กรรมการที่ไม่เป็นผู้บริหาร

บทบาทและความรับผิดชอบของประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มบริษัทฯ

  • กำหนดให้เป็นบุคคลที่มีอำนาจในการบริหารจัดการกิจการของบริษัท และ/หรือการบริหารในแต่ละวันเพื่อให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ ข้อบังคับ นโยบาย กฎ ระเบียบ คำสั่ง และมติที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทและ/หรือมติที่ประชุมผู้ถือหุ้น
  • จัดให้มีการจัดทำนโยบายธุรกิจของบริษัท แผนงานทางธุรกิจ และงบประมาณ เพื่อนำเสนอต่อคณะกรรมการบริษัทเพื่อพิจารณาอนุมัติ และมีหน้าที่ในการรายงานความคืบหน้าของแผนงานธุรกิจที่ได้รับอนุมัติ ตลอดจนงบประมาณที่ได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการบริษัทตามช่วงระยะเวลาที่ได้กำหนดไว้
  • บริหารจัดการการดำเนินธุรกิจของบริษัทเพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายธุรกิจของบริษัท แผนงานทางธุรกิจและงบประมาณเพื่อบรรลุจุดมุ่งหมายทางการเงินที่ได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการบริษัท
  • กำหนดเป้าหมายการดำเนินงาน การจัดสรรทรัพยากร เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายในการบริหารจัดการ
  • เพื่อให้มั่นใจว่าการเติบโตทางธุรกิจโดยรวมของบริษัทเป็นไปตามวัตถุประสงค์และแผนงานทางธุรกิจของบริษัท
  • รักษาความสัมพันธ์อันดีกับผู้มีส่วนได้เสียของบริษัท
  • เพื่อให้มั่นใจว่าบริษัทได้มีการปฏิบัติตามกฎหมาย มาตรฐานด้านจรรยาบรรณและความโปร่งใส
  • เพื่อให้มั่นใจว่าบริษัทได้มีการกำหนดจุดยืนการเป็นองค์กรมหาชน
  • เป็นผู้นำด้านกลยุทธ์ทางการตลาด
  • กำหนด ตรวจสอบ และเสริมสร้างมาตรฐานขององค์กรให้มีความแข็งแกร่ง ซึ่งเป็นสิ่งที่จำเป็นต่อการแข่งขันและการสร้างมูลค่าแก่องค์กร โดยมีการทำงานอย่างต่อเนื่องกับบุคคลากรและผลิตภัณฑ์
  • วิเคราะห์สถานการณ์ปัจจุบันและสถานการณ์ที่อาจจะเกิดขึน้ ของสภาวะอุตสาหกรรมทั่วโลก เพื่อคาดการณ์ถึงการเปลี่ยนแปลงในอนาคตภายในอุตสาหกรรมและปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ของบริษัท
  • เพื่อให้มั่นใจว่ามีผลตอบแทนต่อผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มอย่างเหมาะสม
  • ปฏิบัติงานอย่างใกล้ชิดกับประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายการเงิน และเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายปฏิบัติการ ในทุกกลุ่มธุรกิจที่หลากหลาย เพื่อส่งผลให้เกิดมูลค่าต่อองค์กร
  • จัดให้มีมาตรฐานการประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงานและทบทวนมาตรฐานดังกล่าวเป็นประจำ
  • จัดให้มีการปฏิบัติที่มีประสิทธิภาพตามมติที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท สรรหา แต่งตัง้ ถอดถอน โยกย้าย ปรับเปลี่ยน ลดหรือหักเงินเดือนหรือค่าจ้าง กำหนดบทลงโทษทางวินัยของพนักงานและลูกจ้าง รวมถึงการให้ออกจากตำแหน่งของพนักงานและลูกจ้างตามกฎระเบียบที่ได้กำหนดไว้ โดยคณะกรรมการบริษัท ยกเว้น ตำแหน่งเจ้าหน้าที่บริหารหรือเทียบเท่า หรือตำแหน่งที่สูงกว่า ซึ่งอาจจำเป็นที่จะต้องได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการบริษัท
  • อนุมัติรายการปกติทางการเงินของบริษัท และรายการปรับโครงสร้างหนีข้ องหนีร้ ะยะสัน้ จำนวนไม่เกิน 500 ล้านบาท หรือหนีร้ ะยะยาว จำนวนไม่เกิน 250 ล้านบาท
  • มีอำนาจในการมอบอำนาจช่วง และ/หรือมอบหมายให้บุคคลอื่นมีอำนาจในการปฏิบัติหน้าที่เรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยเฉพาะเจาะจงในฐานะตัวแทน การมอบอำนาจช่วง และ/หรือมอบหมายให้บุคคลอื่น จะต้องอยู่ภายใต้ขอบเขตของอำนาจตามหนังสือมอบอำนาจ และ/หรือภายใต้กฎระเบียบภายใน หรือคำสั่งที่ได้รับจากคณะกรรมการบริษัท และ/หรือบริษัท การ มอบอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบของประธานเจ้าหน้าที่บริหารอาจไม่สามารถกระทำได้ ในกรณีที่เป็นการอนุมัติรายการที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ (ตามคำนิยามของประกาศคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน) โดยอาจมีส่วนได้เสีย หรือได้รับผลประโยชน์ในทุกรูปแบบ หรืออาจมี ความขัดแย้งทางผลประโยชน์กับบริษัท หรือบริษัทย่อย เว้นแต่รายการดังกล่าว สอดคล้องกับนโยบายและหลักเกณฑ์ที่ได้รับการอนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นหรือที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท

บทบาทและความรับผิดชอบของเลขานุการบริษัท

เลขานุการบริษัทจะต้องปฏิบัติหน้าที่ตามที่กำหนดในมาตรา 89/15 และมาตรา 89/16 ของพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2551 ซึ่งมีผลใช้บังคับในวันที่ 31 สิงหาคม 2551 ด้วยความ รับผิดชอบ ความระมัดระวัง และความซื่อสัตย์สุจริต รวมทั้งต้องปฏิบัติให้ เป็นไปตามกฎหมาย วัตถุประสงค์ ข้อบังคับบริษัท มติคณะกรรมการบริษัท ตลอดจนมติที่ประชุมผู้ถือหุ้น ทั้งนี้ หน้าที่ตามกฎหมายของเลขานุการ บริษัทมีดังนี้

  1. จัดทำและเก็บรักษาเอกสารดังต่อไปนี้
           ก. ทะเบียนกรรมการ
           ข. หนังสือนัดประชุมคณะกรรมการ รายงานการประชุมคณะกรรมการ และรายงานประจำปีของบริษัท
           ค. หนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้นและรายงานการประชุมผู้ถือหุ้น
  2. เก็บรักษารายงานการมีส่วนได้เสียที่รายงานโดยกรรมการหรือผู้บริหาร และจัดส่งสำเนารายงานการมีส่วนได้เสียตามมาตรา 89/14 ให้ประธาน คณะกรรมการ และประธานกรรมการตรวจสอบ ทราบภายใน 7 วัน ทำการนับแต่วันที่บริษัทได้รับรายงานนั้น
  3. ดำเนินการอื่นๆตามที่คณะกรรมการกำกับตลาดทุนประกาศกำหนด นอกจากนี้ เลขานุการบริษัทยังมีหน้าที่อื่นตามที่บริษัทฯมอบหมาย ดังนี้
    • ให้คำแนะนำเบื้องต้นแก่กรรมการ ในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับข้อกฎหมาย และกฎระเบียบด้านหลักทรัพย์ ตลอดจนข้อบังคับบริษัทและติดตาม ให้มีการปฏิบัติอย่างถูกต้องและสม่ำเสมอ รวมถึงรายงานการเปลี่ยน แปลงที่มีนัยสำคัญต่อคณะกรรมการ
    • จัดให้มีการประชุมผู้ถือหุ้นและประชุมคณะกรรมการบริษัท ให้เป็นไปตาม กฎหมาย ข้อบังคับบริษัท และหลักการปฏิบัติที่ดี
    • จัดทำรายงานการประชุมผู้ถือหุ้นและรายงานการประชุมคณะกรรมการ บริษัท และติดตามให้มีการปฏิบัติอย่างถูกต้องตามมติที่ประชุม
    • จัดทำและเก็บรักษาทะเบียนกรรมการ รายงานประจำปีบริษัท หนังสือเชิญ ประชุมผู้ถือหุ้น หนังสือเชิญประชุมกรรมการบริษัท รายงานการประชุม ผู้ถือหุ้น และรายงานการประชุมคณะกรรมการบริษัท
    • เก็บรักษารายงานการมีส่วนได้เสีย ซึ่งจัดทำโดยกรรมการและผู้บริหาร และรายงานการตามที่กฎหมายกำหนด
    • ดูแลให้บริษัทย่อยมีการปฏิบัติตามกฎหมายและกฎระเบียบ
    • ดูแลให้มีการเปิดเผยข้อมูลและรายงานสารสนเทศต่อหน่วยงานที่กำกับ ดูแลให้เป็นไปตามกฎหมายและกฎระเบียบ
    • จัดให้มีการเปิดเผยให้ทันเวลาในการรายงานสารสนเทศที่จำเป็นต่อ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
    • ช่วยเหลือการปฏิบัติงานของคณะกรรมการบริษัท โดยรวมถึงให้คำ ปรึกษาเบื้องต้นและข้อเสนอแนะ ที่เกี่ยวข้องกับข้อกฎหมาย กฎระเบียบ การกำกับดูแลกิจการ และหลักปฏิบัติที่ดีที่เกี่ยวข้องกับคณะกรรมการ บริษัทและคณะกรรมการชุดย่อย