ชิ้นส่วนต่าง ๆ ของคอมพิวเตอร์จัดอยู่ในปัจจัยข้อใด

แบบฝึกหัดที่ 3 หลักการทำงานของคอมพิวเตอร์ ให้นักเรียนตอบคำถามต่อไปนี้ จากหน่วยการเรียนที่ 2 เรื่อง คอมพิวเตอร์  1.หลักการทำงานของคอมพิวเตอร์ มีส่วนประกอบอะไรบ้าง จงอธิบาย ?

ส่วนประกอบหลัก ๆ ของคอมพิวเตอร์ประกอบด้วย 1. ตัวเครื่อง (บางคนมักเรียกว่า ซีพียู) ภายในตัวเครื่องจะมีอุปกรณ์ที่สำคัญหลัก ๆ คือ   เมนบอร์ด หรือ มาสเตอร์บอร์ด คือแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์หลักของคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ทุกชนิดจะต่อเชื่อมกับอุปกรณ์ชิ้นนี้
  ซีพียู คือสมองของคอมพิวเตอร์ นำหน้าที่ประมวลผลข้อมูล ซีพียูเป็นส่วนประกอบหลักในการเลือกซื้อคอมพิวเตอร์ สำหรับแบรนด์ ของซีพียูที่ใช้ในปัจจุบันคือ Intel, AMD และ Cyrix
  การ์ดแสดงผล เป็นการ์ดขยายที่ทำหน้าที่แปลงคำสั่งที่ได้จาก CPU ในรูปแบบที่จอภาพเข้าใจ
  หม้อแปลงไฟฟ้า ทำหน้าที่แปลงไฟฟ้าบ้านมาเป็นไฟฟ้าที่ใช้ในเครื่องคอมฯ
  หน่วยความจำ หรือ แรม (RAM : Read Access Memory) เป็นพื้นที่ที่ใช้ในการประมวลผล ข้อมูลชั่วคราว เมื่อปิดเครื่องคอมฯ ข้อมูลที่มีการประมวลผลจะหายไปทันที
  ฮาร์ดดิสก์ คือ พื้นที่ในการจัดเก็บข้อมูลหลักของคอมฯ ฮาร์ดดิสก์ตัวแรกจะถูกกำหนดเป็น "ไดร์ฟ C" เสมอ
  ฟลอปปี้ไดรฟ์ คือช่องขับดิสก์ (ดิสก์เก็ต) ทำหน้าที่ในการอ่านและบันทึกข้อมูลในแผ่นดิสก์

2. จอภาพ ทำหน้าที่แสดงอักษร ข้อความและรูปภาพที่สร้างจากการ์ดแสดงผล ขนาดของจอภาพ วัดจาก ความยาวเส้นทแยงมุมของจอภาพ ขนาดมาตราฐานของจอภาพคือ 14 นิ้ว หรือ 15 นิ้ว สำหรับหน่วยที่ใช้วัด เรียกว่า ดอตพิตช์ (Dot Pitch) ยิ่งมีขนาดเล็กจะมีความคมชัดสูง สำหรับขนาดดอตพิตช์ มาตราฐานไม่ควรมากกว่า 0.28 มิลลิเมตร ปัจจุบันมีจอภาพที่กำลังเป็นที่สนใจมากคือ จอแบน (LCD) ซึ่งกินพื้นที่ในการติดตั้งน้อยมาก แต่ราคาปัจจุบันยังแพงมาก

ส่วนประกอบหลัก ๆ ของคอมพิวเตอร์ประกอบด้วย 1. ตัวเครื่อง (บางคนมักเรียกว่า ซีพียู) ภายในตัวเครื่องจะมีอุปกรณ์ที่สำคัญหลัก ๆ คือ   เมนบอร์ด หรือ มาสเตอร์บอร์ด คือแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์หลักของคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ทุกชนิดจะต่อเชื่อมกับอุปกรณ์ชิ้นนี้
  ซีพียู คือสมองของคอมพิวเตอร์ นำหน้าที่ประมวลผลข้อมูล ซีพียูเป็นส่วนประกอบหลักในการเลือกซื้อคอมพิวเตอร์ สำหรับแบรนด์ ของซีพียูที่ใช้ในปัจจุบันคือ Intel, AMD และ Cyrix
  การ์ดแสดงผล เป็นการ์ดขยายที่ทำหน้าที่แปลงคำสั่งที่ได้จาก CPU ในรูปแบบที่จอภาพเข้าใจ
  หม้อแปลงไฟฟ้า ทำหน้าที่แปลงไฟฟ้าบ้านมาเป็นไฟฟ้าที่ใช้ในเครื่องคอมฯ
  หน่วยความจำ หรือ แรม (RAM : Read Access Memory) เป็นพื้นที่ที่ใช้ในการประมวลผล ข้อมูลชั่วคราว เมื่อปิดเครื่องคอมฯ ข้อมูลที่มีการประมวลผลจะหายไปทันที
  ฮาร์ดดิสก์ คือ พื้นที่ในการจัดเก็บข้อมูลหลักของคอมฯ ฮาร์ดดิสก์ตัวแรกจะถูกกำหนดเป็น "ไดร์ฟ C" เสมอ
  ฟลอปปี้ไดรฟ์ คือช่องขับดิสก์ (ดิสก์เก็ต) ทำหน้าที่ในการอ่านและบันทึกข้อมูลในแผ่นดิสก์

2. จอภาพ ทำหน้าที่แสดงอักษร ข้อความและรูปภาพที่สร้างจากการ์ดแสดงผล ขนาดของจอภาพ วัดจาก ความยาวเส้นทแยงมุมของจอภาพ ขนาดมาตราฐานของจอภาพคือ 14 นิ้ว หรือ 15 นิ้ว สำหรับหน่วยที่ใช้วัด เรียกว่า ดอตพิตช์ (Dot Pitch) ยิ่งมีขนาดเล็กจะมีความคมชัดสูง สำหรับขนาดดอตพิตช์ มาตราฐานไม่ควรมากกว่า 0.28 มิลลิเมตร ปัจจุบันมีจอภาพที่กำลังเป็นที่สนใจมากคือ จอแบน (LCD) ซึ่งกินพื้นที่ในการติดตั้งน้อยมาก แต่ราคาปัจจุบันยังแพงมาก

3. คีย์บอร์ด และเม้าส์ เป็นอุปกรณ์ในการสั่งงานและป้อนข้อมูลเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์

การทำงานของของคอมพิวเตอร์เมื่อเรานึกถึงคำว่า Technology เชื่อได้เลยว่า สิ่งที่เราจะนึกถึง ในลำดับแรกๆ ก็คือคอมพิวเตอร์ ที่ดูเหมือน จะเป็นตัวแทน ซึ่งกันและกัน บางคน อาจจะคิดว่า คอมพิวเตอร์ เป็นเรื่องไกลตัว แต่เราเชื่อว่ามันไม่ใช่เรื่องยากจนเกินไป ที่จะสัมผัส และทำความคุ้นเคยกับมัน คำว่าคอมพิวเตอร์นั้น มีความหมาย ที่กว้างขวางมาก ดังนั้น เพื่อให้เราทำความเข้าใจ ได้ตรงกันมากขึ้น เราจึงขอพุ่งเป้ามาที่ Personal Computer หรือ PC เพื่ออธิบายให้คุณ รู้จักการทำงานของมัน      ภายใน PC นั้น จะประกอบไปด้วยชิ้นส่วนต่างๆมากมาย ที่ถูกประกอบขึ้นมา โดยมี microprocessor เป็นศูนย์กลางในการทำงาน ชิ้นส่วนต่างๆ ที่ประกอบกันขึ้นมา นอกจาก microprocessor แล้ว ยังมีตั้งแต่ หน่วยความจำ, ฮาร์ดดิสก์, โมเด็ม ฯลฯ ซึ่งต่างก็ประสาน การทำงานร่วมกัน และเรากล่าวได้ว่า เจ้าเครื่อง PC นี้ ถือเป็นเครื่องอเนกประสงค์ ก็ว่าได้ เพราะมันสามารถ ตอบสนอง ความต้องการของคุณ ได้อย่างหลากหลาย ตั้งแต่ การทำงานพื้นฐาน อย่างการพิมพ์งาน, ตาราง ทำบัญชี รวมไปถึง การสื่อสาร ผ่าน email, chat หรือเล่นอินเตอร์เน็ต ซึ่งด้วย บทความนี้ จะช่วยให้คุณ เข้าใจพื้นฐานการทำงานของมัน และเรียนรู้ได้มากขึ้นว่า ส่วนประกอบทั้งหลายนั้น ประสานการทำงานร่วมกัน ได้อย่างไรส่วนประกอบใน PCมาดูกันว่า ส่วนประกอบหลักๆ ภายใน PC นั้น มีอะไรกันบ้าง

Central processing unit (CPU) - ถือเป็นส่วนที่สำคัญที่สุด และเป็นศูนย์กลาง การทำงานของ PC ตัว CPU นั้น ถือว่าเป็น microprocessor ประเภทหนึ่ง ที่มีความสามารถ ในการจัดการคำสั่ง และการประมวลผลที่มีความซับซ้อน เป็นอย่างมาก ถ้าเราเปรียบ PC กับการทำงานของมนุษย์

แล้ว เราจะเปรียบ CPU ได้เท่ากับเป็นสมองของมนุษย์เลยทีเดียว คุณคงจะคุ้นเคยกันดี เวลาเลือกซื้อ PC ที่มักจะต้องคำนึงถึง CPU กันก่อน ว่าจะเลือกใช้ Pentium III, Celeron หรือ Athlon ซึ่งนี่ก็คือตัวอย่าง ที่แสดงให้เห็น ถึงความสำคัญของ CPU ได้เป็นอย่างดีMemory - หรือหน่วยความจำ ซึ่งถือว่า เป็นหน่วยจัดเก็บข้อมูล ที่ทำงานได้รวดเร็วที่สุด ส่วนใหญ่แล้ว เราจะคุ้นเคยกันดี กับ กับคำว่า RAM ที่เสมือนหนึ่ง เป็นตัวแทนของหน่วยความจำกันแล้ว การทำงานของมัน จะทำงานควบคู่ไปกับ CPU จึงจำเป็น ต้องมีความเร็ว ในการทำงาน และอัตราการส่งผ่านข้อมูลที่สูง ซึ่งหากคุณ ยังมองไม่เห็นภาพว่า Memory นั้น สำคัญอย่างไร เราก็อยากจะอธิบายว่า มันก็เปรียบเสมือนกับโต๊ะทำงานของคุณ หากคุณ ไม่มีโต๊ะทำงาน เอาไว้กองเอกสารต่างๆ คุณคงจะยุ่งยากไม่น้อย กับการจัดการ กับข้อมูลเหล่านั้น อย่างไรก็ตาม ประเภทของหน่วยความจำ ก็มีอยู่หลากหลาย ไม่ใช่แค่เพียง RAM เท่านั้น นั่นคือ
 • Random-access memory (RAM) - ถือเป็น หน่วยความจำ ที่เราคุ้นเคยกันมากที่สุด และเป็นเสมือนหนึ่ง ตัวแทนของหน่วยความจำ ก็ว่าได้ การทำงานของ RAM นั้น จะเป็นเสมือนมือขวา ของ CPU โดยที่ข้อมูลแทบทั้งหมด จะต้องถูกส่งผ่านมายัง RAM เสียก่อน แล้วจึงค่อยส่งต่อไปให้ CPU อีกต่อหนึ่ง
 • Read-only memory (ROM) - ถือเป็น หน่วยความจำถาวร ที่สามารถ เก็บข้อมูลเอาไว้ได้ภายใน แม้ว่าจะไม่มีประจุไฟฟ้า หล่อเลี้ยงอยู่ ( ต่างจาก RAM ที่เก็บข้อมูลได้ชั่วคราว เท่าที่มี ประจุไฟฟ้าอยู่เท่านั้น ) จุดประสงค์ ของ ROM นั่นคือ สำหรับ กักเก็บ ข้อมูลที่สำคัญๆ เอาไว้ อีกทั้ง ข้อมูลเหล่านี้ ยังไม่สามารถ ปรับเปลี่ยนได้ เพื่อป้องกัน ปัญหา การโดนไวรัสเล่นงาน หรือโดนผู้ไม่ประสงค์ดี จู่โจมเอาได้
 • Basic input/output system (BIOS) - BIOS ถือเป็นส่วนสำคัญ ที่อยู่บนเมนบอร์ด เพื่อทำการ ควบคุม ค่าการทำงานต่างๆ ของระบบ และคำสั่งการสื่อสารต่างๆ ที่จำเป็นต้องใช้ ในระหว่าง บูธเครื่อง ซึ่ง BIOS นั้น ก็ถือเป็น ROM อีกชนิดหนึ่ง
 • Caching - ถือเป็น หน่วยความจำ ที่ทำงาน ได้อย่างรวดเร็วที่สุด ซึ่งโดยตัวมันเอง ยังมีความสามารถ เหนือกว่า RAM ด้วยซ้ำ การทำงานของ Cache นั้น จะคอยประสานการทำงาน ระหว่าง RAM และ CPU อีกต่อหนึ่ง โดยทุกวันนี้ CPU รุ่นใหม่ๆ จะมาพร้อม Cache ในตัวด้วยกันทั้งสิ้น เพื่อลดปัญหา คอขวด ที่อาจเกิดขึ้น จากการสื่อสาร ระหว่าง CPU และ RAM

Mainboard - ถือเป็น อุปกรณ์ชิ้นใหญ่ที่สุด ที่อยู่ภายในเครื่อง PC โดยลักษณะของมันแล้ว จะเป็นแผ่น circuit board รูปร่างสีเหลี่ยมผืนผ้า ซึ่งเต็มไปด้วย วงจรอิเล็กทรอนิกส์ที่ซับซ้อน นอกจากนี้ ตัวเมนบอร์ดเอง ยังเต็มไปด้วย Slot มากมาย เพื่อการติดตั้ง ชิ้นส่วนต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น CPU, RAM, Graphic Card, Sound Card รวมไปถึง อุปกรณ์ชิ้นใหญ่ อย่างฮาร์ดดิสก์, CD ROM ก็ต้อง ทำการเชื่อมข้อมูล เข้ามายัง เมนบอร์ดผ่าน IDE Slot เช่นเดียวกัน ดังนั้น หากเราเปรียบเทียบ กับตัว Case เป็นเสมือนบ้าน แล้วล่ะก็ ตัวเมนบอร์ด

Power supply - ถือเป็น หม้อแปลงไฟฟ้าของระบบ เนื่องจาก อุปกรณ์ทุกชิ้น ที่ติดตั้งอยู่ภายใน PC นั้น จะต้องได้รับ ไฟฟ้าหล่อเลี้ยง มาจาก Power Supply ด้วยกันทั้งสิ้นHard disk - มันคือ คลังเก็บข้อมูลของระบบ คุณจะขาดฮาร์ดดิสก์ไปเสียไม่ได้ เพราะไม่เช่นนั้นแล้ว คุณจะไม่สามารถ จัดเก็บข้อมูลต่างๆ ลงไปใน PC ของคุณได้เลย โดยตัวมันแล้ว ถือว่าเป็น สื่อเก็บข้อมูลแบบถาวร ที่มีลักษณะเป็นจานแม่เหล็ก การทำงานของฮาร์ดดิสก์นั้น เปรียบเสมือน เป็นตู้ลิ้นชัก สำหรับเก็บเอกสารจำนวนมาก เพราะฉะนั้น หากเราเปรียบเทียบ กับการทำงานแบบปกติแล้ว เราจะเห็นได้ว่า เมื่อเรา จะเริ่มต้นทำงาน เราก็ต้อง หยิบเอกสารที่ต้องการ มาจากตู้ลิ้นชัก ( หรือ ฮาร์ดดิสก์ ) แล้วก็นำเอกสารเหล่านั้น มากางลงบนโต๊ะทำงาน ( เปรียบได้กับ RAM ) เพื่อเป็นพื้นที่ทำงานอีกทีหนึ่งOperating system - หรือระบบปฏิบัติการ ซึ่งถือเป็นส่วนของซอฟต์แวร์ ที่ถูกจัดเก็บอยู่บนฮาร์ดดิสก์ ความสำคัญของ ระบบปฏิบัติการก็คือ มันเป็นพื้นฐาน การทำงานของ PC หากคุณไม่มีตัวระบบปฏิบัติการ คุณก็ไม่สามารถ เปิดเครื่อง PC และบูธขึ้นมาเพื่อทำงานได้เลย ตัวอย่างของระบบปฏิบัติการ ที่คุ้นเคยกันดี ก็เล่น Windows, Mac OS หรือ Linux Chipset - ถือเป็นชิ้นส่วน ที่ควบคุมการทำงาน ของทั้งระบบ ตั้งแต่ CPU, หน่วยความจำ, IDE Drive หรือแม้แต่กราฟฟิคการ์ด อย่างไรก็ตาม ตัว Chipset ดูเหมือนจะห่างตัวเราสักหน่อย เนื่องจากว่า เวลาเลือกซื้อนั้น เราไม่ได้ซื้อ Chipset แยกมาต่างหาก แต่มันจะถูกรวมมาอยู่ในเมนบอร์ด ตั้งแต่โรงงานผลิตเลยระบบบัส และ Port ต่อเชื่อม - ภายในเมนบอร์ดนั้น จะประกอบไปด้วย ระบบบัส และ Port ต่อเชื่อมที่หลากหลาย ซึ่งถูกติดตั้งขึ้นมา เพื่อรองรับ อุปกรณ์ที่แตกต่างกันออกไป ตั้งแต่ IDE Interface ที่ใช้สำหรับต่อเชื่อมกับ ฮาร์ดดิสก์ และ CD-ROM ต่อมาก็เป็น PCI Slot ที่มีไว้ สำหรับการติดตั้ง อุปกรณ์อย่าง การ์ดเสียง และการ์ดเน็ตเวิร์ก สุดท้ายนั่นคือ AGP Slot สำหรับการติดตั้งกราฟฟิคการ์ด ซึ่งถือเป็น Port ความเร็วสูงที่สุดตัวหนึ่ง ในบรรดา ที่เรากล่าวถึงมาSound card - PC ของคุณ อาจกลายเป็นใบ้ขึ้นมา หากขาด Sound Card เนื่องจากว่า มันเป็นตัวกลาง ในการควบคุม การทำงานที่เกี่ยวข้องกับเสียง ตั้งแต่ การบันทึกเสียง ไปจนถึงการเล่นไฟล์เสียงต่างๆ ซึ่งถือได้ว่า เป็นอุปกรณ์พื้นฐาน เพื่อรองรับระบบมัลติมีเดียนั่นเอง อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบัน ด้วยวัตถุประสงค์เพื่อลดต้นทุนการผลิต ทำให้มีการพัฒนา Chipset ที่รวมเอาความสามารถของ sound Card มาด้วย แต่มันก็ให้ประสิทธิภาพที่ไม่ดีเท่าไหร่นัก เมื่อเทียบกับ การใช้งาน Sound Card แบบแยกชิ้นGraphic Card - ถือเป็นส่วนของการแสดงผล ซึ่งจะช่วยให้จอภาพของคุณ แสดงภาพต่างๆ ได้อย่างเต็มที่ และก็เช่นเดียวกับ Sound Card นั่นคือ มันถือเป็น อุปกรณ์พื้นฐาน เพื่อรองรับระบบมัลติมีเดีย และก็มีผู้ผลิตหลายราย ที่นำเอาคุณสมบัติของ Graphic Card มาไว้ใน Chipset แต่มันก็ให้คุณภาพที่ไม่ดีนัก สำหรับ Graphic Card นี้ ก็ยังมีอีกหลายประเภท ตั้งแต่ การรองรับ คุณภาพในระดับ 2 มิติ ไปจนถึง การรองรับคุณสมบัติแบบ 3 มิติ ซึ่งเหมาะสำหรับ นักเล่นเกมส์ และผู้ใช้งาน ในระดับ Graphic Design มืออาชีพ 2.อุปกรณ์รับข้อมูลเข้า (Input) มีอะไรบ้าง และมีขั้นตอนอย่างไร ?อุปกรณ์รับเข้า Input Unitคียบอร์ด หรือ แป้นพิมพ์ (ศัพท์บัญญัติใช้ว่า แผงแป้นอักขระ) เป็นอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่ทุกเครื่องจำเป็นต้องมี โดยปกติมักจะมีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าหรือใกล้เคียง มีแป้นต่างๆ ประมาณร้อยแป้นอยู่บนคีย์บอร์ด (ขึ้นอยู่กับผังแป้นพิมพ์) ซึ่งถอดแบบมาจากเครื่องพิมพ์ดีด ออกแบบมาเพื่อใช้สำหรับรับข้อมูลที่เป็นตัวอักขระ แล้วทำการเปลี่ยนเป็นรหัส 7 หรือ 8 บิต จากนั้นจึงส่งให้คอมพิวเตอร์ประมวลผล หรือใช้ควบคุมฟังก์ชันการทำงานบางอย่างของคอมพิวเตอร์ และเพื่อให้การป้อนข้อมูลที่เป็นอักขระและตัวเลขทำได้ง่ายและสะดวกขึ้น คีย์บอร์ดจึงแยกแผงที่เป็นแป้นอักขระกับแป้นตัวเลขแยกไว้ต่างหาก เมาส์ (mouse) คืออุปกรณ์ที่ใช้ในการควบคุมการใช้งานในคอมพิวเตอร์ชิ้นหนึ่ง ซึ่งออกแบบเพื่อให้พอดีกับการใช้งานโดยส่วนโค้งและส่วนเว้าโค้งเข้าตามกับอุ้งมือของผู้ใช้ โดยภายด้านใต้ของเมาส์จะมีอุปกรณ์ซึ่งตรวจจับการเคลื่อนไหวของเมาส์ โดยส่งสัญญาณไปที่คอมพิวเตอร์เพื่อแสดงผลของเคอร์เซอร์บนหน้าจอคอมพิวเตอร์ สแกนเนอร์ (Scanner) Scanner คือ อุปกรณ์ต่อเชื่อมคอมพิวเตอร์แบบกราฟิก ที่มีหน้าที่ ในการเปลี่ยนแปลงภาพต้นฉบับ (รูปถ่าย ตัวอักษรบนหน้ากระดาษ ภาพวาด) ให้เป็นข้อมูล เพื่อให้คอมพิวเตอร์ สามารถนำข้อมูลดังกล่าว มาใช้ประโยชน์ ในการแสดงผลที่หน้าจอ ทำให้สามารถแก้ไข ตกแต่งเพิ่มเติม และจัดเก็บข้อมูลได้ เครื่องอ่านรหัสแท่ง (Bar Code Reader) เป็นอุปกรณ์รับเข้าที่ใช้สำหรับอ่านรหัสแท่ง (Bar Code) ซึ่งเป็นแถบเส้นที่ประกอบด้วยเส้นขนาดแตกต่างกันใช้แทนรหัสข้อมูลต่าง ๆ การอ่านจะใช้แสงส่องแถบเส้นทำให้เกิดการสะท้อนเพื่อรับรหัสเข้ามาตีความหมาย     จอยสติก (Joystick) คืออุปกรณ์ที่มีลักษณะเป็นคันโยก มีปุ่มบังคับที่ด้ามคันโยก เพื่อควบคุมตำแหน่งบนจอภาพได้ทุกตำแหน่งและทุกทิศทาง มักใช้ควบคุมโปรแกรมประเภทเกม ที่เป็นภาพเคลื่อนไหว วิดีโอเกม หรือโปรแกรมประเภทการออกแบบทำให้ผู้ใช้ สามารถควบคุมและใช้งาน โปรแกรมคอมพิวเตอร์ได้ง่ายและสะดวก เวลาใช้งานให้นำจอยสติกต่อพ่วงกับพอร์ตจอยสติกที่อยู่ในซึ่งอยู่ในส่วน ของการ์ดเสียงด้านหลังเครื่องคอมพิวเตอร์    จอสัมผัส (touch screen) สามารถเป็นได้ทั้งหน่วยรับเข้าและหน่วยส่งออก จอภาพสามารถรับข้อมูลไปประมวลผลได้โดยการสัมผัสบนบริเวณจอภาพ บริเวณจอภาพของจอสัมผัสประกอบด้วยตาข่ายของลำแสงอินฟาเรด เมื่อมีวัตถุมาสัมผัสบนจอภาพ จะมีการส่งสัญญาณไฟฟ้า ซึ่งสามารถระบุตำแหน่งบนจอภาพให้กับโปรแกรมที่กำลังทำงานอยู่ได้ การใช้งานจอสัมผัสมีความสะดวก แต่อาจผิดพลาดจากการระบุตำแหน่งบนจอภาพ ถ้าตำแหน่งบนจอภาพมีขนาดเล็กเกินไป จอสัมผัสประยุกต์ใช้กับงานหลายอย่าง เช่น การจองตั๋วชมภาพยนตร์ การจองที่นั่งเพื่อรับประทานอาหาร 3.อุปกรณ์ประมวลผลข้อมูล มีอะไรบ้าง และมีขั้นตอนอย่างไร ?หน่วยประมวลผลกลาง(central processing unit) หรือที่นิยมเรียกสั้น ๆ ว่า ซีพียู (CPU)  เป็นวงจรอิเล็กทรอนิคที่ทำงาน หรือประมวลผล ตามชุดของคำสั่งเครื่องจากซอฟต์แวร์ คำนี้เริ่มใช้ในอุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ต้นศตวรรษ 1960s  หน่วยประมวลผลเปรียบเสมือนเป็นสมองของคอมพิวเตอร์ ในการทำหน้าที่ตัดสินใจหรือคำนวณ จากคำสั่งที่ได้รับมา เช่น การเปรียบเทียบ การกระทำการทางคณิตศาสตร์ ฯลฯโดยมีกระบวนการพื้นฐานคือ1. อ่านชุดคำสั่ง (fetch) Fetch - การอ่านชุดคำสั่งขึ้นมา 1 คำสั่งจากโปรแกรม ในรูปของระหัสเลขฐานสอง (Binary Code from on-off of BIT)2. ตีความชุดคำสั่ง (decode)Decode - การตีความ 1 คำสั่งนั้นด้วยวงจรถอดรหัส (Decoder circuit) ตามจำนวนหลัก (BIT) ว่ารหัสนี้จะให้วงจรอื่นใดทำงานด้วยข้อมูลที่ใด3. ประมวลผลชุดคำสั่ง (execute)Execute - การทำงานตาม 1 คำสั่งนั้น คือ วงจรใดในไมโครโปรเซสเซอร์ทำงาน เช่น วงจรบวก วงจรลบ วงจรเปรียบเทียบ วงจรย้ายข้อมูล ฯลฯ4. อ่านข้อมูลจากหน่วยความจำ (memory)Memory - การติดต่อกับหน่วยความจำ การใช้ข้อมูที่อยู่ในหน่วยจำชั่วคราว (RAM, Register) มาใช้ในคำสั่งนั้นโดยอ้างที่อยู่ (Address)5. เขียนข้อมูล/ส่งผลการประมวลกลับ (write back)Write Back - การเขียนข้อมูลกลับ โดยมีหน่วยจำ Register ช่วยเก็บที่อยู่ของคำสั่งต่อไป ภายหลังมีคำสั่งกระโดดบวกลบที่อยู่โปรเซสเซอร์ (Processor) หรือ ชิป (chip)
นับเป็นอุปกรณ์ ที่มีความสำคัญมากที่สุด ของฮาร์ดแวร์เพราะมีหน้าที่ในการประมวลผลข้อมูลที่ผู้ใช้ป้อน เข้ามาทางอุปกรณ์อินพุต ตามชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่ผู้ใช้ต้องการใช้งาน หน่วยประมวลผลกลาง ประกอบด้วยส่วนประสำคัญ 3 ส่วน คือ
1. หน่วยคำนวณและตรรกะ (Arithmetic & Logical Unit : ALU)
หน่วยคำนวณตรรกะ ทำหน้าที่เหมือนกับเครื่องคำนวณอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์โดยทำงานเกี่ยวข้องกับ การคำนวณทางคณิตศาสตร์ เช่น บวก ลบ คูณ หาร นอกจากนี้หน่วยคำนวณและตรรกะของคอมพิวเตอร์ ยังมีความสามารถอีกอย่างหนึ่งที่เครื่องคำนวณธรรมดาไม่มี คือ ความสามารถในเชิงตรรกะศาสตร์ หมายถึง ความสามารถในการเปรียบเทียบตามเงื่อนไข และกฎเกณฑ์ทางคณิตศาสตร์ เพื่อให้ได้คำตอบออกมาว่าเงื่อนไข นั้นเป็น จริง หรือ เท็จ เช่น เปรียบเทียบมากว่า น้อยกว่า เท่ากัน ไม่เท่ากัน ของจำนวน 2 จำนวน เป็นต้น ซึ่งการเปรียบเทียบนี้มักจะใช้ในการเลือกทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ จะทำตามคำสั่งใดของโปรแกรมเป็น คําสั่งต่อไป
2. หน่วยควบคุม (Control Unit)
หน่วยควบคุมทำหน้าที่ควบคุมลำดับขั้นตอนการการประมวลผลและการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ ภายใน หน่วยประมวลผลกลาง และรวมไปถึงการประสานงานในการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยประมวลผลกลาง กับอุปกรณ์นำเข้าข้อมูล อุปกรณ์แสดงผล และหน่วยความจำสำรองด้วย เมื่อผู้ใช้ต้องการประมวลผล ตามชุดคำสั่งใด ผู้ใช้จะต้องส่งข้อมูลและชุดคำสั่งนั้น ๆ เข้าสู่ระบบ คอมพิวเตอร์เสียก่อน โดยข้อมูล และชุดคำสั่งดังกล่าวจะถูกนำไปเก็บไว้ในหน่วยความจำหลักก่อน จากนั้นหน่วยควบคุมจะดึงคำสั่งจาก ชุดคำสั่งที่มีอยู่ในหน่วยความจำหลักออกมาทีละคำสั่งเพื่อทำการแปล ความหมายว่าคำสั่งดังกล่าวสั่งให้ ฮาร์ดแวร์ส่วนใด ทำงานอะไรกับข้อมูลตัวใด เมื่อทราบความหมายของ คำสั่งนั้นแล้ว หน่วยควบคุมก็จะส่ง สัญญาณคำสั่งไปยังฮาร์ดแวร์ ส่วนที่ทำหน้าที่ ในการประมวลผลดังกล่าว ให้ทำตามคำสั่งนั้น ๆ เช่น ถ้าคำสั่ง ที่เข้ามานั้นเป็นคำสั่งเกี่ยวกับการคำนวณ หน่วยควบคุมจะส่งสัญญาณ คำสั่งไปยังหน่วยคำนวณและตรรกะ ให้ทำงาน หน่วยคำนวณและตรรกะก็จะไปทำการดึงข้อมูลจาก หน่วยความจำหลักเข้ามาประมวลผล ตามคำสั่งแล้วนำผลลัพธ์ที่ได้ไปแสดงยังอุปกรณ์แสดงผล หน่วยควบคุมจึงจะส่งสัญญาณคำสั่งไปยัง อุปกรณ์แสดงผลลัพธ์ ที่กำหนดให้ดึงข้อมูลจากหน่วยความจำหลัก ออกไปแสดงให้เห็นผลลัพธ์ดังกล่าว อีกต่อหนึ่ง
3. หน่วยความจำหลัก (Main Memory)
คอมพิวเตอร์จะสามารถทำงานได้เมื่อมีข้อมูล และชุดคำสั่งที่ใช้ในการประมวลผลอยู่ในหน่วยความ จำหลักเรียบร้อยแล้วเท่านั้น และหลักจากทำการประมวลผลข้อมูลตามชุดคำสั่งเรียบร้อยแล้ว ผลลัพธ์ที่ได้ จะถูกนำไปเก็บไว้ที่หน่วยความจำหลัก และก่อนจะถูกนำออกไปแสดงที่อุปกรณ์แสดงผล
     4.อุปกรณ์แสดงผลข้อมูล มีอะไรบ้าง และมีขั้นตอนอย่างไร ?อุปกรณ์แสดงผล (Output Device)    Output:  คือผลลัพธ์ของข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลโดยหน่วยประมวลผลกลาง (CPU/Processor)  และนำผลลัพธ์นั้นส่งออกไปแสดงผลยังอุปกรณ์แสดงผล   ซึ่งอุปกรณ์แสดงผลมาตรฐาน  ได้แก่  Monitor  และ  PrinterScreen (monitor)  สามารถแสดงผลข้อความ (Text)   ตัวเลข (Number)  รูปภาพ (Image)  เสียง (Sound) และ VDO  แสดงผลในรูปแบบของสีหรือขาวดำ  การแสดงผลทาง  Screen output จะเรียกว่า  soft copy  สัมผัสไม่ได้และแสดงผลชั่วคราว  จอภาพที่ใช้ทั่วไปได้แก่Cathode ray tube (CRT)                        แสดงผลข้อความ (Text) และกราฟิก (Graphics)   ส่วนใหญ่แสดงผลเป็นสี   ส่วนจอ  monochrome จะแสดงผลเป็นสีเดียว (ขาว-ดำ)  ใช้  Graphics card ในการแปลงสัญญาณจากหน่วยควบคุมไปเป็นภาพให้  user  มองเห็น  ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพในการแสดงผลของจอภาพ1.  Scan rate:  อัตราความถี่ในการ refresh  ภาพ  ซึ่งอัตราการ Refresh บนหน้าจอ (Refresh Rate) จะใช้หน่วยวัดเป็น Hertz (Hz) คือ รอบต่อวินาที (cycles per second)  ซึ่งโดยปกติจอภาพจะมีการ Refresh   72 Hz / วินาที2.  Resolution  : ความละเอียดของจอภาพ  ซึ่งปกติจะใช้หน่วยวัดเป็น  pixels (จำนวนจุดในการเกิดภาพ)  ถ้ามีจำนวน  pixels มากก็จะมีความละเอียดในการแสดงผลสูง แต่ละ pixels บรรจุเม็ดสี 3 สี คือ แดง (Red)   เขียว (Green)   น้ำเงิน (Blue)  ซึ่งจอภาพมาตรฐานที่ใช้แสดงผลภาพกราฟิก (Graphics standards)  มี 2 แบบ ได้แก่                  - จอภาพ VGA (Video Graphics Array)  แสดงผล 256 สี (Color)ส่วนมากจะใช้ค่าความละเอียดบนหน้าจอ  640*480   มีความละเอียดน้อยกว่าจอภาพแบบ SVGA- จอภาพ  Super VGA  (SVGA: Super Video Graphics Array)  แสดงผล 16 ล้านสี (Color) ส่วนมากจะใช้ค่าความละเอียดบนหน้าจอ 800 * 600 [ (horizontal) * (vertical) pixels ]  หรือ 1024*768 หรือสูงกว่า   SVGA  ดีกว่าและได้รับความนิยมมากกว่า  VGA3.            Dot pitch :  คือจุดที่ประกอบกันเป็น Pixel  ซึ่งแต่ละ Pixel ประกอบด้วยจุด 3 จุด(three dots) ได้แก่ (red, green, blue)  แต่ละ dot pitch มีขนาดใหญ่ไม่เกิน 28 มิลลิเมตร (millimeter)   dot pitch  จะเล็กมากและทำให้ภาพมีความคมชัด4.            RAM-Card  memory  : หน่วยความจำ RAM สำหรับการ์ดจอ  ถ้ามี RAM-Card มาก (high-speed)  ก็จะส่งผลต่อประสิทธิภาพของภาพที่แสดง                                     ขนาดของจอภาพ (Monitor Size)การวัดขนาดของหน้าจอนั้น จะวัดเป็นนิ้ว (Inches)  ส่วนใหญ่นิยมใช้กัน 2 ขนาดได้แก่ 15(พื้นที่แสดงภาพ 13”) และขนาด 17” (พื้นที่แสดงภาพ 15”)  โดยวัดตามมุมทแยงของจอ   จอภาพที่มีขนาดใหญ่ ราคาก็จะสูงตามไปด้วย  และความละเอียดบนหน้าจอขนาด 17  มักเซตค่าความละเอียด  ตั้งแต่ 640*480  ถึง  1280*1024
  processor  ของตนเองใช้ Wireless เป็นตัวรับ-ส่ง สัญญาณ  โดยที่จอภาพอัจฉริยะ (Smart Displays) เป็นจอคอมพิวเตอร์พกพาที่เชื่อมต่อกับพีซีได้โดยไม่ต้องใช้สาย สามารถเข้าถึงอีเมล์ เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต และแอพพลิเคชั่นอื่นๆ ได้จากทุกที่ในบ้าน จุดที่น่าสนใจคือ สามารถใช้คุณสมบัติพีซีได้อย่างครบถ้วน โดยไม่ต้องอาศัยสาย แต่คำเตือน คือ ไม่ควรอยู่ห่างจากคอมพิวเตอร์มากนัก เนื่องจากจะขาดการติดต่อกับพีซีได้ง่าย ปัจจุบันมีให้เลือกไม่กี่รุ่น และราคาก็ยังแพงอยู่ เริ่มต้นที่ 42,957 บาท และอาจสูงถึง 64,457 บาท ในบางรุ่น ซึ่งด้วยจำนวนเงินดังกล่าว สามารถซื้อแล็บท็อประดับดีเยี่ยมได้หนึ่งเครื่อง ขณะที่นักวิเคราะห์บางราย คาดการณ์ว่า ราคาจะลดลงครึ่งหนึ่งในอีก 12-18 เดือนข้างหน้า พร้อมกับมีการปรับปรุงลักษณะของภาพบนจอให้ดียิ่งขึ้น  (http://www.nectec.or.th/bid/hotissue_5equip.htm) Printerใช้เมื่อต้องการแสดงผลในรูปของกระดาษ งานที่ Print ออกมาทางกระดาษจะเรียกว่า  “hard copy”  และสามารถกำหนดแนวของกระดาษได้ 2 แนวคือ  กระดาษแนวตั้ง (Portrait)  และกระดาษแนวนอน (Landscape)  สามารถจำแนกเครื่อง printer มี 2 ประเภท ได้แก่ 1. Impact printer2. None-impact printer Impact Printers            สร้างภาพออกทางกระดาษ  โดยมีการกระทบหัวเข็มหรือสัมผัสลงบนกระดาษ  มักใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ Mainframe Computers ที่มีการ Print  รายงานที่มีความยาวมาก ๆ โดยใช้กระดาษต่อเนื่อง  หรือใช้กับการ Print กระดาษต่อเนื่องที่ต้องการหลาย ๆ Copy   เครื่อง printer ที่จัดอยู่ในประเภทของ Impact Printer ได้แก่  Dot-matrix printer ระบบเสียง (Sound Systems)                       เครื่อง PC  ที่ต้องการใช้งานร่วมกับสื่อ Multimedia  จำเป็นต้องมีการ์ดแปลงสัญญาณเสียง (sound card)  ลำโพง (speakers) รวมถึง CD-ROM และ DVD drive  เพื่ออ่านข้อมูลออกจากแผ่น CD และ DVDsound card  จะทำหน้าที่ในการแปลงสัญญาณดิจิตอล (digital signals) ให้กลายเป็นสัญญาณอนาล๊อก (analog) ซึ่งก็คือสัญญาณคลื่นเสียงนั่นเองแล้วก็แสดงผลออกทางลำโพง   นอกจากนี้คุณยังสามารถใช้ software  ช่วยในการแก้ไข ดัดแปลง สร้างหรือแต่งเสียงเพลงต่าง ๆ  ได้ตามต้องการ 

5.ให้นักเรียน วาดแผนภาพ " หลักการทำงานของคอมพิวเตอร์ " Input  Process Output มาพอเข้าใจ

ชิ้นส่วนต่าง ๆ ของคอมพิวเตอร์จัดอยู่ในปัจจัยข้อใด

6.3 Peopleware=หมายถึง บุคลากรในงานด้านคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ สามารถใช้งาน สั่งงานเพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามที่ต้องการ แบ่งออกได้ 4 ระดับ ดังนี้1. ผู้จัดการระบบ (System Manager) คือ ผู้วางนโยบายการใช้คอมพิวเตอร์ให้เป็นไปตามเป้าหมายของหน่วยงาน2. นักวิเคราะห์ระบบ (System Analyst) คือ ผู้ที่ศึกษาระบบงานเดิมหรืองานใหม่และทำการวิเคราะห์ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ในการใช้คอมพิวเตอร์กับระบบงาน เพื่อให้โปรแกรมเมอร์เป็นผู่เขียนโปรแกรมให้กับระบบงาน3. โปรแกรมเมอร์ (Programmer) คือ ผู้เขียนโปรแกรมสั่งงานเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อให้ทำงานตามความต้องการของผู้ใช้ โดยเขียนตามแผนผังที่นักวิเคราะห์ระบบได้เขียนไว้4. ผู้ใช้ (User) คือ ผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ทั่วไป ซึ่งต้องเรียนรู้วิธีการใช้เครื่อง และวิธีการใช้งานโปรแกรม เพื่อให้โปรแกรมที่มีอยู่สามารถทำงานได้ตามที่ต้องการ 6.4 Input Unit= Input Unit หรือ หน่วยรับข้อมูล  ก็คืออุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ต่าง ๆ ที่ทำหน้าที่รับข้อมูล (Data) โปรแกรม (Programs) คำสั่ง(Commands) จากผู้ใช้ส่งไปยังคอมพิวเตอร์  ตลอดจนการโต้ตอบของผู้ใช้โปรแกรมกับเครื่องคอมพิวเตอร์ รวมถึงอุปกรณ์ซึ่งสามารถป้อนข้อมูล โปรแกรม หรือคำสั่งเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ได้  โดยการแปลงข้อมูล โปรแกรม หรือคำสั่งนั้นให้อยู่ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อทำการประมวลผลต่อไป ตัวอย่างของอุปกรณ์อินพุต เช่น คีย์บอร์ด เมาส์ สแกนเนอร์ เครื่องอ่านบาร์โค้ด จอยสติ๊ก ไมโครโฟน กล้องวีดีโอ เป็นต้น 6.5 Processing =  โปรเซส (Process)  หมายถึง  งานหรือโปรแกรมที่เข้ามาประมวลผลภายในระบบ (process  = job = task-“definition”: a process is a program in execution (an active entity))  โดยแต่ละโปรเซสจะมีความยาวของชุดคำสั่งโปรแกรมแตกต่างกัน มีลำดับการทำงานของแต่ละคำสั่ง และโปรเซสจะมีการเปลี่ยนสถานะอยู่ตลอดเวลาจากภาพด้านล่างแสดงตัวอย่างการประมวลผลชุดคำสั่งของโปรเซส   6.6 Main Memory =หน่วยความจำหลักที่นิยมใช้งานอยู่ในปัจจุบัน สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือหน่วยความจำหลักแบบอ่านได้อย่างเดียว (Read Only Memory)หน่วยความจำหลักแบบแก้ไขได้ (Random Access Memory)   6.7 Central Processing Unit : CPU=

 หน่วยประมวลผลกลาง หรือไมโครโพรเซสเซอร์ของไมโครคอมพิวเตอร์ มีหน้าที่นำคำสั่งและข้อมูลที่เก็บไว้ใน หน่วยความจำมาแปลความหมาย และกระทำตามคำสั่งพื้นฐานของไมโครโพรเซสเซอร์ ซึ่งแทนด้วยรหัสเลขฐานสอง
            การทำงานของคอมพิวเตอร์ ใช้หลักการเก็บคำสั่งไว้ที่หน่วยความจำ ซีพียูอ่านคำสั่งจากหน่วยความจำมาแปล ความหมาย และกระทำตามเรียงกันไปทีละคำสั่ง หน้าที่หลักของซีพียู คือควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ทั้งระบบ ตลอดจนทำการประมวลผล
            กลไกการทำงานของซีพียู มีความสลับซับซ้อน ผู้พัฒนาซีพียูได้สร้างกลไกให้ทำงานได้ดีขึ้น โดยแบ่งการทำงาน เป็นส่วน ๆ มีการทำงานแบบขนาน และทำงานเหลื่อมกันเพื่อให้ทำงานได้เร็วขึ้น

 6.8 Output Unit = คือ มีอุปกรณ์ส่งออก (output device) ทำหน้าที่แสดงผลจากการประมวลผล โดยนำผลที่ได้ออกจาก หน่วยความจำหลักแสดงให้ผู้ใช้ได้เห็นทางอุปกรณ์ส่งออก อุปกรณ์ส่งออกที่นิยมใช้ส่วนใหญ่คือ จอภาพ และเครื่องพิมพ์ 6.9 ROM : Read Only Memory=คือหน่วยความจำชนิดหนึ่ง ที่มีโปรแกรม หรือข้อมูลอยู่แล้ว และพร้อมที่จะนำมาต่อกับ ไมโครโปรเซสเซอร์ได้โดยตรง ซึ่งโปรแกรม หรือข้อมูลนั้นจะไม่สูญหายไป แม้ว่าจะไม่มีการจ่ายไฟเลี้ยงให้แก่ระบบ ข้อมูลที่เก็บอยู่ใน ROM จะสามารถอ่านออกมาได้ แต่ไม่สามารถเขียนข้อมูลเข้าไปได้ เว้นแต่จะใช้วิธีการพิเศษซึ่งขึ้นกับชนิดของ ROM 6.10 RAM : Random Access Memory=RAM ย่อมาจากคำว่า Random-Access Memory เป็นหน่วยความจำของระบบ มีหน้าที่รับข้อมูลเพื่อส่งไปให้ CPU ประมวลผลจะต้องมีไฟเข้า Module ของ RAM ตลอดเวลา ซึ่งจะเป็น chip ที่เป็น IC ตัวเล็กๆ ถูก pack อยู่บนแผงวงจร หรือ Circuit Board เป็น module เทคโนโลยีของหน่วยความจำมีหลักการที่แตกแยกกันอย่างชัดเจน 2 เทคโนโลยี คือหน่วยความจำแบบ DDR หรือ Double Data Rate (DDR-SDRAM, DDR-SGRAM) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่พัฒนาต่อเนื่องมาจากเทคโนโลยีของหน่วยความจำแบบ SDRAM และ SGRAM และอีกหนึ่งคือหน่วยความจำแบบ Rambus ซึ่งเป็นหน่วยความจำที่มีแนวคิดบางส่วนต่างออกไปจากแบบอื่น   6.11 Secondary Memory=ส่วนความจำรอง (secondary memory) ใช้เป็นส่วนเพิ่มความจำให้มีขนาดใหญ่มากขึ้น ทำงานติดต่อยู่กับส่วนความจำหลัก ส่วนความจำรองมีความจุมากและมีราคาถูก แต่เรียกหาข้อมูลได้ช้ากว่าส่วนความจำหลัก คือ ทำงานได้ในเวลาเศษหนึ่งส่วนพันวินาที
ข่าวสารหรือข้อมูลที่จะเก็บไว้ในส่วนความจำนั้นเป็นรหัสแทนเลขฐานสอง (
binary) คือ ๐ กับ ๑ ซึ่งต้องเก็บไว้เป็นกลุ่ม ๆ และมีแอดเดรสตามที่กำหนด เพื่อความสะดอกขอนิยามไว้ดังนี้
บิต (
bit) เป็นชื่อที่เขียนย่อจาก binary digit ซึ่งหมายถึงตัวเลขฐานสองคือ ๐ กับ ๑ ซึ่งเป็นส่วนประกอบที่เล็กที่สุดของหน่วยความจำ
ไบต์ (byte) เป็นชื่อที่ใช้เรียกกลุ่มของบิต ซึ่งขึ้นอยู่กับการเลือกใช้ เช่น ๖ บิต ๘ บิต…….ก็ได้ ซึ่งเรียกว่า ๖ บิตไบต์ ๘ บิตไบต์ ๑๖ บิตไบต์……..ตามลำดับ เป็นต้น
ตัวอักษร (
character) หมายถึงสัญลักษณ์ที่ใช้ในคอมพิวเตอร์ คือตัวเลข 0-9 ตัวอักษร A-Z และเครื่องหมายพิเศษบางอย่างที่จำเป็น เช่น ( ),<, +, = ,………. ฯลฯ เป็นต้น ซึ่งเราจะต้องแทนตัวอักษรหนึ่ง ๆ ด้วยรหัสของกลุ่มเลขฐานสอง 1 ไบต์ (ซึ่งอาจเป็น 7 หรือ 8 บิตไบต์)
คำ (
word) หมายถึงกลุ่มของเลขฐานสองตั้งแต่ 1 ไบต์ขึ้นไป ที่สามารถเก็บไว้ในส่วนความจำเพียง 1 แอดเดรส ขนาดของคำขึ้นอยู่กับการเลือกใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ บางเครื่องใช้คำหนึ่งประกอบขึ้นจาก 2 ไบต์ แต่ละไบต์เป็นชนิด 8 บิต ดังนั้นคำหนึ่งจึงมี 16 บิต บางเครื่องใช้คำหนึ่งประกอบขึ้นจาก 4 ไบต์ แต่ละไบต์เป็นชนิด 8 บิต ดังนั้นคำหนึ่งจึงมี 32 บิต เครื่องคอมพิวเตอร์บางเครื่องใช้คำหนึ่งประกอบขึ้นจาก 48 หรือ 64 บิตก็มี
             แบบทดสอบหลังเรียน หน่วยที่ 3 วิวัฒนาการของคอมพิวเตอร์
1. ข้อใดเรียงลำดับยุคของเครื่องคอมพิวเตอร์จากอดีตสู่ปัจจุบันได้ถูกต้อง
ทรานซิสเตอร์ หลอดสุญญากาศ วงจรรวม (IC) ไมโครโปรเซสเซอร์ ปัญญาประดิษฐ์
หลอดสุญญากาศ ทรานซิสเตอร์ วงจรรวม (IC) ไมโครโปรเซสเซอร์ ปัญญาประดิษฐ์
หลอดสุญญากาศ วงจรรวม (IC) ทรานซิสเตอร์ ไมโครโปรเซสเซอร์ ปัญญาประดิษฐ์
ทรานซิสเตอร์ วงจรรวม (IC) หลอดสุญญากาศ ไมโครโปรเซสเซอร์ ปัญญาประดิษฐ์

2. ในยุคใดที่เริ่มมีการคิดค้นภาษาระดับสูงที่ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์
ยุควงจรรวม
ยุคทรานซิสเตอร์
ยุคหลอดสุญญากาศ
ยุควีแอลเอสไอ (ไอซี)
3. ยุคแรกของคอมพิวเตอร์ ใช้อุปกรณ์ใดในวงจรประมวลผล
ไอซี
ทรานซิสเตอร์
หลอดสุญญากาศ
ไมโครโปรเซสเซอร์
4. บิดาของคอมพิวเตอร์ คือใคร
มอชลี
เอคเคิร์ท
เบลส ปาสคาล
ชาร์ลส์ แบบเบจ
 5. เครื่องคอมพิวเตอร์ประเภทใดมีวิวัฒนาการรวดเร็วที่สุด
Super Computer
Mini Computer
Personal Computer
MainFrame Computer
6. ปัจจุบันสังคมมนุษย์จัดอยู่ในยุคใด
ยุคเกษตรกรรม
ยุคอุตสาหกรรม
ยุคสารสนเทศ
ยุคสงครามเย็น
7. ในยุควีแอลเอสไอ (ไอซี) ใช้สารชนิดใดเป็นตัวรวมวงจรให้เป็นซิป
เงิน
ทองคำ
ทองแดง
ซิลิกอน
8. ปาล์มท็อปคอมพิวเตอร์เป็นไมโครคอมพิวเตอร์ที่เหมาะสมกับงานในด้านใด
สมุดจดบันทึกประจำวัน
การออกแบบงานกราฟิกต่าง
การคำนวณทางด้านวิทยาศาสตร์
ใช้ทำงานได้เหมือนเครื่องคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะทั่วไป
  9. การทำงานในข้อใดจำเป็นต้องใช้ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์เพื่อประมวลผล
งานควบคุมขีปนาวุธ
งานควบคุมทางอากาศ
งานประมวลผลภาพทางการแพทย์
ถูกทุกข้อ
10. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับ ซีพียู(CPU)
ซีพียูคือหน่วยความจำ
ซีพียูประกอบด้วยหน่วยควบคุม หน่วยคำนวณและตรรกะ
หน้าที่หลักของซีพียูคือ ควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์
ซีพียูมีหน้าที่อ่านคำสั่งจากหน่วยความจำมาแปลความหมายและทำตามกันเรียงทีละคำสั่ง