ศิลา จารึก หลัก ที่ 1 ด้าน ที่ 1 มี ลักษณะ อย่างไร

ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงมหาราช หรือศิลาจารึกสุโขทัยหลักที่ 1 เป็นจารึกหลักแรกที่ใช้ภาษาไทย และตัวอักษรไทย ซึ่งพ่อขุนรามคำแหงมหาราชได้ทรงประดิษฐ์ขึ้นในปี พุทธศักราช 1826 นับต่อเนื่องมาถึงในปีปัจจุบัน พุทธศักราช 2546 รวมระยเวลา 720 ปี

ลักษณะของศิลาจารึก เป็นแท่นหินชนวนสีขาว รูปทรงสี่เหลี่ยม ออกกลมมนมีความสูง 1 เมตร 11 เซนติเมตร ความหนา 35 เซนติเมตร มีจารึกทั้ง 4 ด้าน

ด้านที่ 1 มีอักษรจารึก 35 บรรทัด ด้านที่ 2 มีอักษรจารึก 35 บรรทัด ด้านที่ 3 มีอักษรจารึก 27 บรรทัด และด้านที่ 4 มีอักษรจารึก 27 บรรทัด ทุกหน้ามีรอยชำรุด ขีดข่วนและร่องรอยถูกกระเทาะ

มรดกแห่งความทรงจำ (Memorial of the World Project)

คณะกรรมการที่ปรึกษานานาชาติขององค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) ได้ประชุมเมื่อวันที่ 28-30 สิงหาคม (พ.ศ. 2546) ที่ผ่านมา ณ เมือง กแดนซค์ (Gdansk) ประเทศโปแลนด์ มีมติเห็นชอบให้องค์การยูเนสโกจดทะเบียนระดับโลก ศิลาจารึก หลักที่ 1 ของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ภายใต้โครงการมรดกแห่งความทรงจำของโลก ทั้งนี้ถือว่าศิลาจารึกหลักที่ 1 เป็นหลักฐานที่มีความสำคัญทางด้านประวัติศาสตร์ การปกครอง การค้า และวัฒนธรรมของอาณาจักรสุโขทัย ที่มีความสำคัญกับนานาชาติซึ่งโครงการมรดกความทรงจำของโลกนี้เป็นโครงการเพื่ออนุรักษ์และเผยแพร่มรดกแห่งความทรงจำทีเป็นเอกสาร วัสดุหรือข้อมูลข่าวสารอื่น ๆ เช่น กระดาษ สื่อทัศนูปกรณ์ และสื่ออีเล็กทรอนิกส์ด้วย โดยที่สิ่งต่าง ๆ ดังกล่าวจะต้องมีความสำคัญ มีการเก็บรักษาให้อยู่ในความทรงจำในระดับนานาชาติและระดับภูมิภาค เมื่อองค์การยูเนสโก ได้ประกาศจดทะเบียนแล้ว ประเทศเจ้าของมรดก จะมีพันธกรณีทางปัญญาและทางศีลธรรม ที่จักต้องอนุรักษ์ให้อยู่ในสภาพที่ดี สามารถเผยแพร่ให้ความรู้แก่มหาชน อนุชนคนรุ่นหลังทั่วโลกให้กว้างขวางเพื่อให้มรดกดังกล่าวอยู่ในความทรงจำของโลกตลอดไป

ในปีนี้ (พ.ศ. 2546) กระทรวงศึกษาธิการมีแผนงานที่จะร่วมกับหน่วยงานทางการศึกษา สื่อสารมวลชน กระทรวงวัฒนธรรม และหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง จัดงานสมโภชในวาระครบ 720 ปี

ส่วนรูปแบบนั้นจะเน้นเรื่องการพิมพ์และการเผยแพร่ การจัดแปลเป็นภาษาต่างประเทศ การจัดนิทรรศการ การประชุม สัมมนาทางวิชาการ และกิจกรรมสำคัญอื่น ๆ เพื่อส่งเสริมให้ความรู้ ความเข้าใจในความสำคัญของหลักศิลาจารึก ที่เป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ด้านการเมือง การปกครอง การค้า และวัฒนธรรมทุกด้านของไทยที่สืบทอดจากสมัยโบราณจนถึงปัจจุบัน

สำนักหอสมุดกลางมหาวิทยาลัยรามคำแหงได้ตระหนักถึงคุณค่า ความรู้ ความเข้าใจ ในเรื่องศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ซึ่งเป็นเอกสารมรดกวัฒนธรรมอันล้ำค่าของไทย ภาคภูมิใจในประวัติ และเรื่องราวของสุโขทัย ภาคภูมิใจ ตระหนักถึงคุณค่าของภาษาไทย และความร่วมใจอนุรักษ์ภาษาไทย จึงได้จัดนิทรรศการ “720 ปีลายสือไทย” ขึ้น ณ บริเวณชั้น 1 อาคาร 1

และใคร่ขอเชิญชวนผู้สนใจ ชมนิทรรศการดังกล่าว หากท่านผู้ใดสนใจต้องการศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม สำนักหอสมุดกลางมีหนังสือเกี่ยวกับสมัยสุโขทัยและหลักศิลาจารึกให้บริการที่ชั้น 2 และชั้น 4 อาคาร 1 หรือติดต่อสอบถามได้ที่ ประชาสัมพันธ์ สำนักหอสมุดกลาง โทร. 0-2310-8653 (ปี พ.ศ. 2560 เปลี่ยนเป็น โทร. 02-310-8661)

ศิลา จารึก หลัก ที่ 1 ด้าน ที่ 1 มี ลักษณะ อย่างไร

ผู้แต่ง

          พ่อขุนรามคำแหงมหาราชเป็นราชโอรสของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์และนางเสือง มีพระเชษฐาธิราชคือ พ่อขุนบ้านเมือง พ่อขุนรามคำแหงมีความเข็มแข็งกล้าหาญในการสงคราม สามารถชนช้างชนะขุนสามชนเจ้าเมืองฉอด เมื่อพ่อขุนบานเมืองสวรรคต พ่อขุนรามคำแหงได้ครองราชย์ และได้ทรงขยายอาณาเขตไปอย่างกว้างขวาง ทรงปกครองสุโขทัยให้สงบสุขตลอดรัชกาล

ที่มาของเรื่อง

          เมื่อ พ.ศ. ๒๓๗๖ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวขณะทรงผนวชแต่ยังมิได้เสด็จขึ้นครองราชย์ ได้เสด็จไปธุดงค์ทางภาคเหนือ ทรงพบหลักศิลาจาลึกและพระแท่นมนังคศิลาที่เนอนปราสาทเก่าเมืองสุโขทัย จึงโปรดให้นำมาไว้ที่กรุงเทพฯ นักโบราณคดีสันนิษฐานว่าเป็นศิลาจารึกที่พ่อขุนรามคำแหงโปรดให้จารึกเมื่อประมาณ พ.ศ. ๑๘๒๖

จุดมุ่งหมายในการแต่ง

          เพื่อเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์และอักษรศาสตร์

ลักษณะคำประพันธ์

          ร้อยแก้วบรรยายโวหาร

เรื่องย่อ

          ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงมีเนื้อหาที่แบ่งเป็น ๓ ตอนใหญ่ ๆ คือ

          ตอนที่ ๑ ตั้งแต่บรรทัดที่ ๑ ถึงบรรทัดที่ ๑๘ ของด้านที่ ๑ เป็นพระราชประวัติของพ่อขุนรามคำแหงมหาราชที่เกี่ยวกับพระราชจริยาวัตรตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์จนกระทั่งเสด็จขึ้นเสวยราชสมบัติ ณ กรุงสุโขทัย ซึ่งเล่าไว้ด้วยพระองค์เอง โดยทรงใช้สรรพนามแทนพระองค์ว่า “กู”

          ตอนที่ ๒ ตั้งแต่บรรทัดที่ ๑๘ ของด้านที่ ๑ ถึงบรรทัดที่ ๑๑ ของด้านที่ ๔ มีผู้อื่นเป็นผู้เล่าเกี่ยวกับสภาพบ้านเมืองของกรุงสุโขทัย สภาพสังคม การเมือง การปกครอง ศิลปวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี และชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนในรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราชกล่าวถึงความเจริญรุ่งเรืองทางพุทธศาสนา การสร้างพระแท่นมนังคศิลายาต การสร้างพระธาตุในเมืองศรีสัชนาลัย การประดิษฐ์ตัวอักษรไทย

          ตอนที่ ๓ ตั้งแต่บรรทัดที่ ๑๑ ของด้านที่ ๔ ไปจนจบ มีเนื้อหาสดุดีพระเกียรติพ่อขุนรามคำแหงมหาราช และกล่าวถึงอานาเขตอันกวางใหญ่ของกรุงสุโขทัยในรัชสมัยของพระองค์

คุณค่าที่ได้รับจากเรื่อง

          ๑.ด้านประวัติศาสตร์ ได้ให้ความรู้เกี่ยวกับพระราชประวัติพ่อขุนรามคำแหง ความรู้ทางโบราณคดี พระปรีชาสามารถของพ่อขุนรามคำแหง ความเจริญรุ่งเรือง สภาพสังคมสมัยกรุงสุโขทัย

          ๒.ด้านสังคม ให้ความรู้ด้านกฎหมายและการปกครองสมัยกรุงสุโขทัย

          ๓.ด้านวัฒนธรรม ให้ความรู้เกี่ยวกับขนบธรรมเนียมวัฒนธรรม ประเพณีของสมัยกรุงสุโขทัย

          ๔.ด้านภาษา ได้ทราบถึงการกำเนิดอักษรไทยและวรรณคดีไทย

แนวคิด

          ความกตัญญูต่อบิดามารดาเป็นที่น่ายกย่อง

          ประเทศอยู่ได้เพราะผู้นำที่กล้าหาญและเสียสละ

          ภาษาและวรรณคดีย่อมสะท้อนสภาพสังคมและวัฒนธรรม

คุณค่างานประพันธ์

          ๑.คุณค่าด้านเนื้อหา

เมื่ออ่านและพิจารณาวรรณกรรมเรื่องนี้ จะเห็นว่ามีเนื้อหาสำคัญอยู่ ๒ ส่วนคือ

ส่วนที่เป็นพระราชประวัติและพระราชจริยาวัตรของพ่อขุนรามคำแหงมหาราชตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์จนกระทั่งเสด็จขึ้นเสวยราชย์ เมื่อพระองค์ดำรงอยู่ในสถานภาพใด คือ ลูก น้อง และผู้นำประเทศ ก็ทรงประพฤติปฏิบัติพระองค์ได้สอดคล้องเหมาะสมกับสภาพนั้น ๆ ในตอนที่ทรงเล่าถึงพระราชประวัติของพระองค์เองนั้น สะท้อนให้เห็นถึงลักษณะครอบครัวไทยสมัยโบราณที่สมาชิกในครอบครัวมีความรักความสามัคคีกัน มีค่านิยมที่ควรแก่การยกย่อง ซึ่งเป็นค่านิยม ด้านคุณธรรม คือลูกมีความกตัญญูกตเวทีต่อผู้ที่เป็นพ่อแม่ และเคารพผู้เป็นพี่ เป็นต้น

ส่วนที่เล่าถึงสภาพสังคมและความเป็นอยู่ของไพร่ฟ้าข้าแผ่นดิน ไม่ว่าจะเป็นด้านอาชีพ กฎหมาย การศาล การทำสงคราม การปกครองก็ตาม ได้สะท้อนให้เห็นถึงพระปรีชาสามารถและบุคลิกภาพของพ่อขุนรามคำแหงในฐานะพระมหากษัตริย์ผู้ยึดธรรมะในการปกครองประเทศ 

          ๒.คุณค่าด้านวรรณศิลป์

          ศิลปะการใช้ถ้อยคำและสำนวนโวหาร ก่อให้เกิดอารมณ์และความรู้สึกได้ตามคำบรรยายและพรรณนา จะสังเกตได้ว่า คำส่วนใหญ่เป็นคำไทยโดด ๆ บางครั้งใช้คำไทยโบราณ เช่น กู พี่ น้อง เตียมแต่ แสกว้าง ฯลฯ ประโยคส่วนใหญ่เป็นประโยคความเดียวสั้น ๆ มีความหมายชัดเจนตรงไปตรงมา เช่น แม่กูชื่อนางเสือง กูบำเรอแก่พ่อกู ฯลฯ ส่วนลีลาสำนวนโวหารจะมีเอกลักษณ์ คือ กล่าวสั้นๆ ตรง ๆ ซ้ำ ๆ เช่น ได้ช้างได้งวง ได้ปั่วได้นาง ได้เงือนได้ทอง ฯลฯ บางครั้งจะซ้ำคำเป็นคู่ ๆ เช่น หมากส้มหมากหวาน กินอร่อยกินดี เป็นต้น

          ๓.คุณค่าด้านสังคม

          กล่าวถึงสภาพชีวิตและสภาพสังคมของชาวสุโขทัย ทำให้เกิดความภาคภูมิใจในบรรพบุรุษของไทยและเกียรติภูมิของประเทศเป็นอย่างมาก แสดงให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างกษัตริย์กับประชาชนได้ความรู้เรื่องการปกครอง แสดงให้เห็นค่านิยมเกี่ยวกับการเป็นผู้นำของประเทศว่า ผู้นำประเทศจะต้ององอาจ

กล้าหาญ รับผิดชอบ และเสียสละเพื่อประโยชน์สุขของคนในชาติ แสดงให้เห็นค่านิยมเกี่ยวกับความกตัญญูต่อบุพการีและญาติพี่น้อง เมื่อพระองค์ได้สิ่งใดมาก็จะนำมาถวายแด่พระราชบิดา พระราชมารดา เมื่อพระราชบิดาสวรรคตก็ทรงดูแลพระเชษฐาตราบจนสิ้นรัชกาล พระองค์จึงได้ทรงขึ้นครองราชย์ต่อมา

เป็นวรรณคดีเล่มแรกของไทยที่เป็นหลักฐานทางอักษรศาสตร์ ประวัติศาสตร์ และ โบราณคดี ทำให้ทราบประวัติศาสตร์สมัยสุโขทัยอย่างชัดเจน ได้ศึกษาวิวัฒนาการทางภาษา ได้ความรู้เรื่องการประดิษฐ์อักษรไทยและลักษณะการเรียบเรียงถ้อยคำ

          ประวัติการค้นพบศิลาจารึก

          เมื่อ พ.ศ. ๒๓๗๖ ขณะที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวผนวชอยู่ ยังไม่ได้ขึ้นครองราชย์ ได้เสด็จธุดงค์ไปทางเหนือได้พบหลักศิลาจารึกหลักที่ ๑ ที่ปราสาทเก่าเมืองสุโขทัย มีลักษณะเป็นแท่งสี่เหลี่ยมปลายมน สูง ๑ เมตร ๑๑ เซนติเมตร จารึกถ้อยคำ ๔ด้าน ด้านที่ ๑ และด้านที่ ๒ มีจารึกด้านละ ๓๕ บรรทัด ด้านที่ ๓ และด้านที่ ๔ จารึกด้านละ ๒๗ บรรทัด เป็นอักษรที่พ่อขุนรามคำแหงทรงประดิษฐ์ขึ้นจากอักษรขอม เมื่อ พ.ศ.๑๘๒๖ 

ความรู้ประกอบ

เปรียบเทียบลายสือไทยกับอักษรไทยในปัจจุบัน

ลายสือไทย

ตัวอักษรไทยในปัจจุบัน

๑.                  เอาสระไว้หน้าพยัญชนะ ยกเว้น สระอา ไว้หลังพยัญชนะ

๒.                  สระและพยัญชนะอยู่บนบรรทัดเดียวกันและสูงเสมอกัน

๓.                  วรรณยุกต์มี ๒ รูป คือ เอก ( ) และโท (  )

๔.                  ใช้ตัวสะกดซ้อนกัน ๒ ตัวแทนไม้หันอากาศ

๕.                  สระเอียใช้ ย เช่น พยง

๖.                  สระอือและสระออ ไม่ใช้ อ เช่น ซี่ พ่

๗.                  สระอัวเมื่อไม่มีตัวสะกดใช้ –วว เช่น ตวว (ตัว)

๘.                  สระอึ ใช้ อึ หรือ อื เช่น จง (จึ่ง)

๙.                  นฤคหิต ใช้แทน ม ได้ เช่น ทงงกล์ (ทั้งกลม)

๑.                  สระอยู่รอบพยัญชนะ คือ บน ล่าง หน้า และหลัง

๒.                  สระและพยัญชนะไม่ได้อยู่บนบรรทัดเดียวกันทุกตัวและไม่สูงเสมอกันทุกตัว

๓.                  มีวรรณยุกต์ ๔ รูป คือ

๔.                  ใช้ไม้หันอากาศแทนอักษรหัน

๕.                  สระเอียใช้ เ-ย เช่น เมีย

๖.                  ใช้ อ ทั้งสระอือ และสระออ เช่น ชื่อ พ่อ

๗.                  สระอัวใช้ –ว

๘.                  มีทั้ง อี อึ อื

๙.                  นฤคหิต ใช้แทน ง ม ญ เช่น สังคม (สํ + คม) สัญจร (สํ + จร) อัมรินทร์ (อํ + รินทร์)

          ๑.ความรู้ที่ได้รับจากศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง

พระราชประวัติพ่อขุนรามคำแหงมหาราช

“พ่อกูชื่อศรีอินทราทิตย์ แม่กูชื่อนางเสือง พี่กูชื่อบานเมือง......”

ประวัติศาสตร์การทำสงครามกับเพื่อนบ้าน

“เมื่อกูขึ้นใหญ่ได้สิบเก้าเข้า ขุนสามชนเจ้าเมืองฉอดมาตีเมืองตาก พ่อกูไปรบขุนสามชน.......”

วัฒนธรรมทางกฎหมาย ได้กำหนดกฎหมายมรดกไว้ว่า

“ลูกเจ้าลูกขุนผู้ใดแล้ ล้มตายหายกว่า เหย้าเรือน...พ่อเชื้อมัน ไว้แก่ลูกมันสิ้น”

ศีลธรรมของประชาชน ประชาชนมีศรัทธาในพระพุทธศาสนา

“ทั้งสิ้นทั้งหลาย ทั้งผู้ชายผู้หญิง ฝูงทวยมีศรัทธาในพระพุทธศาสนา ทรงศีลเมื่อ พรรษาทุกคน”

          ๒.ประโยชน์จากการศึกษาศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง

ด้านภาษาศาสตร์ ทำให้ทราบลักษณะภาษาไทยและสำนวนโวหารในสมัยนั้นว่า มีลักษณะดังนี้

          ๑.ใช้คำไทยแท้เป็นส่วนมาก คำบาลี คำสันสกฤต และคำเขมร มีน้อย

          ๒.เขียนประโยคสั้น ๆ แต่มีความหมายลึกซึ้ง ไม่นิยมคำขยายและคำสันธาน

          ๓.ไม่มีราชาศัพท์ ใช้คำธรรมดาสามัญแก่คนทุกชนชั้น

          ๔.นิยมพูดคำคู่ และมีสัมผัสคล้องจอง เช่น หมากส้มหมากหวานในน้ำมีปลาในนามีข้าว

          ๕.เขียนหนังสือจากซ้ายไปขวา สระและพยัญชนะอยู่บนบรรทัดเดียวกัน วรรณยุกต์ มี ๒ รูป คือ  (ไม้เอก)   (จัดวา – ใช้แทนไม้โท)

ความรู้ประกอบ

          ๑.พระมหากษัตริย์ในสมัยสุโขทัย

          แต่เดิมไทยตั้งอาณาจักรขึ้น ณ ดินแดนสุวรรณภูมิ ซึ่งเป็นประเทศราชของขอม ผู้ปกครองเมืองสุโขทัยคือ “ขอมสมาดโขลญลำพง” พ่อขุนบางกลางหาว เจ้าเมืองบางยาง กับพ่อขุนผาเมืองเจ้าเมืองราดได้รวมกำลังกันไปตีเมืองสุโขทัยจากขอม พ่อขุนบางกลางหาวได้ปราบดาภิเษกขึ้นครองเมืองสุโขทัย ทรงพระนามว่า “พ่อขุนศรีอินนทราทิตย์” เมื่อ พ.ศ.1800 เป็นปฐมกษัตริย์แห่งกรุงสุโขทัย

พ่อขุนศรีอินนทราทิตย์มีมเหสีชื่อนางเสือง มีพระราชโอรสธิดารวมกัน 5 พระองค์ พระราชโอรสองค์โตสิ้นพระชนม์ตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ ส่วนองค์เล็กมีนามว่า “พระรามคำแหง” เมื่อพ่อขุนศรีอินนทราทิตย์เสด็จสวรรคตแล้ว พ่อขุนบานเมืองได้ขึ้นครองราชย์ พ่อขุนรามคำแหงทรงเป็นอุปราชครองเมืองชะเลียง พ่อขุนบานเมืองได้ครองราชย์อยู่จนถึงปี พ.ศ.1822 ก็สวรรคต พ่อขุรามคำแหงจึงได้ขึ้นครองกรุงสุโขทัยสืบต่อมา

คำว่า “พระร่วง” หมายถึง พระมหากษัตริย์ทุกพระองค์ที่ครองกรุงสุโขทัย เพราะไม่หลักฐานแสดงว่าเป็นกษัตริย์องค์หนึ่งองค์ใดอย่างแน่ชัด

ลำดับกษัตริย์ที่ครองอาณาจักรสุโขทัย

          ๑.พ่อขุนศรีอินนทราทิตย์

          ๒.พ่อขุนบานเมือง

          ๓.พ่อขุนรามคำแหงมหาราช

          ๔.พระยาเลอไทย (พญาเลอไท)

          ๕.พระยางั่วนำถม

          ๖.พระมหาธรรมราชาที่ ๑ (พระยาลิไทยหรือพญาลิไท)

          ๗.พระมหาธรรมราชาที่ ๒

          ๘.พระมหาธรรมราชาที่ ๓ (ไสยลือไทย)

          ๙.พระมหาธรรมราชาที่ ๔ (บรมปาล)

ศิลา จารึก หลัก ที่ 1 ด้าน ที่ 1 มี ลักษณะ อย่างไร

ให้นักเรียนทำเครื่องหมาย  X  ทับตัวอักษรที่เป็นคำตอบที่ถูกต้องที่สุด

๑.ใครเป็นผู้ค้นพบศิลาจารึก

          ก.พ่อขุนรามคำแหงมหาราช

          ข.พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

          ค.พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

          ง.พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช

๒.นักโบราณคดีสันนิษฐานว่าพ่อขุนรามคำแหงมหาราชโปรดให้จารึกศิลานี้เมื่อใด

          ก.พ.ศ. ๑๖๘๒            ข.พ.ศ. ๑๖๒๘            ค.พ.ศ. ๑๘๒๖            ง.พ.ศ. ๑๘๖๒

๓พราะเหตุใดจึงทราบว่าตอนที่ ๑ เป็นพระราชประวัติของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช

          ก.ใช้ภาษาง่าย ๆ                                     ข.มีสรรพนามหลายแห่ง         

          ค.มีคำไทยโบราณปรากฎอยู่มาก                   ง.ใช้คำแทนพระนามพระองค์ว่า “กู”

๔.ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงมีคุณค่าทางวรรณคดีอย่างไร

          ก.ใช้ภาษาไพเราะ                           ข.เป็นหลักฐานทางภาษาเรื่องแรก

          ค.ใช้สำนวนภาษาสั้น ๆ เข้าใจง่าย        ง.ให้ข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์

๕.ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงนับว่ามีคุณค่าด้านใดเด่นชัดที่สุด

          ก.วรรณคดี                ข.เศรษฐศาสตร์          ค.อักษรศษสตร์          ง.สังคมศาสตร์

๖.“พ่อกูตาย ยังพี่กู กูพร่ำบำเรอแก่พี่กู” ข้อความนี้แสดงคุณธรรมข้อใดของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช

          ก.การเชื่อฟังคำพ่อ                          ข.ความกตัญญูกตเวที  

          ค.ความเสียสละและอดทน                 ง.ความมีน้ำใจเอื้เฟื้อต่อพี่

๗.ท่บ้านท่เมือง แปลว่าอะไร

          ก.ที่บ้านที่เมือง           ข.ทั่วบ้านทั่วเมือง        ค.ตีบ้านตีเมือง           ง.ทิ้งบ้านทิ้งเมือง

๘.ทั้งกลม หมายถึงอะไร

          ก.ทั้งหมด                  ข.ทั้งหลาย                ค.ทั้งชายและหญิง       ง.ทั้งเด็กและผู้ใหญ่

๙.ข้อใดมิใช่ลักษณะของภาษาสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช

          ก.ใช้ประโยคสั้น ๆ                                      ข.ไม่ใช้คำเชื่อมประโยค          

          ค.ใช้คำสัมผัสในบางตอน                            ง.ใช้คำไทยแท้เป็นส่วนมาก 

๑๐.ข้อใดมีคำเชื่อมความหรือประโยค

          ก.กูพร่ำบำเรอแก่พี่กู ดั่งบำเรอแก่พ่อกู  

          ข.พ่อกูไปรบขุนสามซนหัวซ้าย ขุนสามซนขับมาหัวขวา

          ค.กูขี่ช้างเบกพล กูขับเข้าก่อนพ่อกู กูต่อช้างด้วยขุนสามชน

          ง.ขุนสามซนเกลื่อนเข้า ไพร่ฟ้าหน้าใสพ่อกู หนีญญ่ายพายจแจ้น

๑๑.คำว่า “หมากส้มหมากหวาน” หมายถึงอะไร

          ก.ผลมะขาม                                  ข.ผลไม้จำพวกส้ม       

          ค.ผลไม้มะพร้าวน้ำหวาน                   ง.ผลไม้รสเปรี้ยวรสหวาน

๑๒.ลักษณะสำคัญที่สุดของตัวอักษรสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราชคือข้อใด

          ก.มีรูปวรรณยุกต์        

          ข.วางสระส่วนมากไว้หน้าพยัญชนะ

          ค.สระและพยัญชนะอยู่บนบรรทัดเดียวกัน

          ง.ใช้พยัญชนะเรียงกันแทนพยัญชนะสังโยคหรือตัวซ้อน

๑๓.เพราะเหตุใดพ่อขุนรามคำแหงมหาราชจึงทรงขับช้างเข้าซนกับช้างของขุนสามชน

          ก.เห็นทหารตายกันเกลื่อนกลาด

          ข.เกรงจะเสียเมืองให้แก่ขุนสามชน

          ค.ทรงเกรงว่าพ่อขุนศรีอินทราทิตย์จะเสียที

          ง.ถ้าชนะจะได้รับรางวัลจากพ่อขุนศรีอินทราทิตย์

๑๔ตีหนังวังช้าง หมายความว่าอะไร

          ก.ล้อมช้างเข้าไว้                              ข.จับช้างป่าด้วยเชือกหนัง      

          ค.การจับช้างต้องตีด้วยเชือก               ง.ตีหนังช้างเพื่อให้ช้างเขื่อง

๑๕.พระรามคำแหง ได้ชื่อเช่นนี้เพราะเหตุใด

          ก.ชนช้างชนะขุนสามซน

          ข.มีความกตัญญูต่อบิดามารดา

          ค.ปกครองประเทศเหมือนพ่อปกครองลูก

          ง.ปกครองบ้านเมืองด้วยความกล้าหาญ 

๑๕.ศิลาจารึกตอนที่ใช้เป็นบทเรียนนี้ แสดงให้เห็นพระลักษณะของพ่อขุนรามคำแหงมหาราชในข้อใดเด่นชัดที่สุด

          ก.ความรักชาติ

          ข.ความกล้าหาญ

          ค.ความกตัญญูกตเวที

          ง.ความสามารถในการทำศึก

๑๖.“กูไปท่บ้านท่เมือง ได้ช้างได้งวง ได้ปั่วได้นาง ได้เงือนได้ทอง กูเอามาเวนแก่พ่อกู พ่อกูตาย ยังพี่กู กูพร่ำบำเรอแก่พี่กู ดั่งบำเรอแก่พ่อกู” ข้อความนี้กล่าวถึงเรื่องใด

          ก.คุณธรรม

          ข.หลักปฏิบัติ

          ค.การสืบสันติวงศ์

          ง.การขยายอาณาเขต

๑๗.ข้อใดแสดงให้เห็นถึงความเป็นประชาธิปไตย

          ก.จักกล่าวถึงเจ้าขุนบ่ไร้

          ข.เจ้าเมืองบ่เอาจกอบในไพร่ลู่ทาง

          ค.คนใดขี่ช้างมาหา พาเมืองมาสู่ ช่วยเหนือเฟื้อกู้

          ง.ใครจักใคร่ค้าช้างค้า ใครจักใคร่ค้าม้าค้า ใครจักใคร่ค้าเงือนค้าทองค้า

๑๘.คำภาษาต่างประเทศในข้อใดที่มีปรากฏในศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง

          ก.ภาษาบาลี สันสกฤต

          ข.ภาษาบาลี เขมร

          ค.ภาษาบาลี สันสกฤต เขมร

          ง.ภาษาบาลี สันสกฤต มอญ เขมร

๑๙.ข้อใดเป็นข้อสันนิษฐานที่สมเหตุสมผล สำหรับความแตกต่างในการเขียนสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ซึ่งเขียนคำว่า "หิน กดิ่ง ปตู” ตรงกับคำว่า “หิน กระดิ่ง ประตู” ในสมัยปัจจุบัน ตามลำดับ

          ก.ในสมัยสุโขทัยยังไม่มีการกำหนดภาษาไทยมาตราฐาน

          ข.สมัยสุโขทัยไม่มีพจนานุกรม ทำให้เขียนสะกดผิด

          ค.คนสมัยสุโขทัยออกเสียงคำต่างจากคนสมัยปัจจุบัน จึงเขียนต่างกัน

          ง.การจารึกอักษรบนหินยากกว่าการเขียน จึงต้องสะกดคำให้ง่ายที่สุด เพื่อจะได้จารึกง่าย

ตอนที่ ๒ เขียนเครื่องหมาย / หน้าข้อความที่ถูกต้องและเครื่องหมาย X หน้าข้อความที่ผิด

........... ๑. ศิลาจารึกตอนที่ ๓ เล่าขนบธรรมเนียมและกฎหมายต่าง ๆ ในสมัยสุโขทัย

........... ๒. ศิลาจารึกหลักที่ ๑ ให้คุณค่าในด้านประวัติศาสตร์ สังคม วัฒนธรรม และภาษา

........... ๔. ศิลาจารึกหลักที่ ๑ มีคุณค่าทางด้านภาษาให้เห็นการกำเนิดอักษรไทยและการกำเนิดวรรณคดี 

             ไทย

........... ๔. พ่อขุนบานเมืองขึ้นครองราชย์ทรงพระนามว่า “พ่อขุนรามคำแหง”

........... ๕. พ่อเชื้อเสื้อคำมัน หมายถึง พ่อที่ล่วงลับไปแล้ว

ตอนที่ ๓ ให้นักเรียนบอกประโยชน์ที่ได้จากการเรียน เรื่องศิลาจารึก

....................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................

ศิลาจารึกหลักที่ 1 มีลักษณะการแต่งอย่างไร

ศิลาจารึก หลักที่ 1 (พ่อขุนรามคำแหงมหาราช).
ผู้แต่ง ศิลาจารึกหลักที่ 1 นี้สันนิษฐานว่าพ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงพระราชนิพนธ์เอง โดยเฉพาะตอนต้นที่เป็นการเล่าพระราชประวัติของพระองค์เอง ... .
ทำนองแต่ง แต่งเป็นความเรียงร้อยแก้วแต่บางตอนมีสัมผัส.
ความมุ่งหมาย ... .
เรื่องย่อ ... .
คุณค่าของวรรณคดี.

ศิลาจารึกหลักที่ 1 มีคุณค่าในด้านใดบ้าง

ศิลาจารึกหลักนี้ช่วยให้เราได้ทราบถึงประวัติความรุ่งเรืองชองชาติไทยในยุคสุโขทัย และประวัติเรื่องราวอื่นๆ เช่น ประวัติราชวงศ์สุโขทัย ประวัติการรวบรวมอาณาจักรไทยให้เป็นปึกแผ่น ประวัติการค้าโดยเสรี ประวัติการสืบสร้างพระพุทธศาสนา และการประดิษฐ์ลายสือไทย ด้านภูมิศาสตร์

ศิลาจารึกหลักที่ 1 มีลักษณะรูปทรงอย่างไร

ลักษณะของศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงเป็นหินชนวนสี่เหลี่ยมมียอดแหลมปลายมน สูง ๑ เมตร ๑๑ เซนติเมตร มีข้อความจารึกทั้ง ๔ ด้าน สูง ๕๙ เซนติเมตรกว้าง ๓๕ เซนติเมตร ด้านที่ ๑และ๒ มี ๓๕ บรรทัด ด้านที่ ๓และด้านที่มี ๒๗ บรรทัด

ศิลาจารึกหลักที่ 1 มีอะไรบ้าง

เนื้อหาของจารึกแบ่งได้เป็นสามตอน ตอนที่หนึ่ง บรรทัดที่ 1 ถึง 18 เป็นการเล่าพระราชประวัติพ่อขุนรามคำแหงมหาราชตั้งแต่ประสูติจนเสวยราชย์ ใช้คำว่า "กู" เป็นหลัก ตอนที่ 2 ไม่ใช้คำว่า "กู" แต่ใช้ว่า "พ่อขุนรามคำแหง" เล่าถึงเหตุการณ์และธรรมเนียมในกรุงสุโขทัย และตอนที่สาม ตั้งแต่ด้านที่ 4 บรรทัดที่ 12 ถึงบรรทัดสุดท้าย มี ...