ข้อใดเป็นประโยชน์ของการจัดหมวดหมู่ของสิ่งมีชีวิต

   นักวิทยาศาสตร์ได้จัดจำแนกหมวดหมู่ของสิ่งมีชีวิตจากใหญ่สุดไปหาย่อย

ดังนี้ อาณาจักร (kingdom) ไฟลัม (phylum) หรือดิวิชัน (division) คลาส (Class) ออเดอร์ (order) แฟมิลี (Family) จีนัส (genus) สปีชีส์ (species) การจัดหมวดหมู่ของสิ่งมีชีวิตจะจัดเป็นลำดับขั้นของสิ่งมีชีวิตแต่ละขั้น (taxon) และจะมีชื่อเรียกกำกับขั้นสูงสุดของสิ่งมีชีวิต ได้แก่ อาณาจักรรองลงมาเป็นไฟลัม (สำหรับพืชจะใช้ดิวิชัน) ในไฟลัมหนึ่ง ๆ แบ่งเป็นหลายคลาส แต่ละคลาสแบ่งออกเป็นออเดอร์ ในแต่ลออเดอร์ยังประกอบด้วยแฟมิลี แฟมิลีหนึ่ง ๆ มีหลายจีนส และในแต่ละจีนัสก็มีหลายสปีชีส์ ถ้าแต่ละขั้นของสิ่งมีชีวิตเป็นหมู่ใหญ่มากอาจจะแบ่งเป็นซูเปอร์ (super) หรือ (sub) ย่อยลงไปได้อีกตามความเหมาะสม

ข้อใดเป็นประโยชน์ของการจัดหมวดหมู่ของสิ่งมีชีวิต

ภาพที่ 4 การจัดลำดับหมวดหมู่ของสิ่งมีชีวิตในแต่ละระดับ
ที่มา: Reece & et al (2017)

  สิ่งมีชีวิตในโลกนี้ มีมากมายหลายชนิด ซึ่งแต่ละชนิดจะมีความแตกต่างกัน จึงจำเป็นที่จะต้องมีการ     จัดแบ่งหมวดหมู่เพื่อความสะดวกในการศึกษา และการนำมาใช้ประโยชน์ วิชาที่ว่าด้วยการจัดแบ่งหมวด   หมู่ของสิ่งมีชีวิต เรียกว่า อนุกรมวิธาน (Taxonomy) นักวิทยาศาสตร์ที่ได้รับการยกย่องให้เป็นบิดาแห่ง   วิชาอนุกรมวิธาน คือ คาโรลัส ลินเนียส (Carolus Linnaeus) ชาวสวีเดน

          การจัดลำดับหมวดหมู่ของสิ่งมีชีวิต (Taxonomic category) หมวดหมู่ที่ใหญ่ที่สุด คือ อาณาจักร (Kingdom) สิ่งมีชีวิตที่อยู่ในอาณาจักรเดียวกันจะมีลักษณะสำคัญบางอย่างเท่านั้นที่เหมือนกัน ซึ่งในแต่ละอาณาจักร   จะแบ่งย่อยออกเป็นหลายหมวด   และแบ่งย่อยลงไปเรื่อยๆ  จนถึงหน่วยที่เล็กที่สุด คือ ชนิด (Species)  โดยสิ่งมีชีวิตที่อยู่ในชนิดเดียวกันจะมีลักษณะคล้ายคลึงกันในด้านต่างๆ  มากที่สุด

            1. การจัดลำดับหมวดหมู่ของสิ่งมีชีวิต เรียงลำดับจากหมวดหมู่ใหญ่ไปจนถึงหมวดหมู่ย่อย ดังนี้

    อาณาจักร (Kingdom)

         หมวด (Division) หรือไฟลัม (Phylum)

                ชั้น (Class)

                    อันดับ (Order)

                           วงศ์ (Family)

                                สกุล (Genus)

                                    ชนิด (Species)

 

            2. หลักเกณฑ์ในการตั้งชื่อในทางวิทยาศาสตร์

        -ใช้ชื่อ ภาษาละติน เสมอ เพราะภาษาละตินเป็นภาษาที่ไม่มีการใช้เป็นภาษาพูดแล้ว โอกาสที่ความหมายจะเพี้ยนไปเมื่อเวลาผ่านไปนานๆ จึงมีน้อย

        -ชื่อทางวิทยาศาสตร์ของพืชและสัตว์จะเป็นอิสระไม่ขึ้นต่อกัน

        -ชื่อวิทยาศาสตร์ของพืชและสัตว์แต่ละหมวดหมู่จะมีชื่อที่ถูกต้องที่สุดเพียงชื่อเดียว

        -ชื่อหมวดหมู่ในลำดับขั้น Family ลงไป ต้องมีตัวอย่างต้นแบบของสิ่งมีชีวิตนั้นประกอบการพิจารณา เช่น ชื่อ Family ในพืช จะลงท้ายด้วย aceae แต่ในสัตว์ จะลงท้ายด้วย idae

        -ชื่อในลำดับขั้น Genus จะใช้ตัวอักษรตัวใหญ่นำหน้า และตามด้วยอักษรตัวเล็ก

        -ชื่อในลำดับขั้น Species จะประกอบด้วย 2 คำ โดยคำแรกจะดึงเอาชื่อ Genus มา แล้วคำที่สองจึงเป็นชื่อระบุชนิด หรือเรียกว่า Specific epithet ซึ่งจะขึ้นต้นด้วยอักษรตัวเล็ก

        -ชื่อในลำดับขั้น Species จะเขียนตัวเอน หรือ ขีดเส้นใต้เสมอ    

แหล่งที่มา

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ. (2554). หนังสือเรียน รายวิชาเพิ่มเติม ชีววิทยา เล่ม 5 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6.  กรุงเทพฯ: สกสค. ลาดพร้าว.

สุเทพ ดุษฎีวณิชยา. (2546). คู่มือเตรียมสอบเข้ามหาวิทยาลัย ชีววิทยา. กรุงเทพฯ: จิรรัชการพิมพ์.

Campbell, Neil A. & Reece, Jane B. (2002). Biology. 6th ed. San Fancisco: Pearson Education.

Reece, Jane B. Urry, Lisa A. Cain, Michael L. Wasserman,Steven A. & Minorsky, Peter V. (2017).Campbell Biology. 11th ed.  New York: Pearson Education.


           ปัจจุบันนี้คาดว่ามีสิ่งมีชีวิตชนิดต่างๆ ที่สามารถจำแนกชนิดได้อยู่ในโลกนี้ถึง 1.4 ล้านชนิด และคาดว่าจะมีจำนวนสิ่งมีชีวิตอีกประมาณ 4 - 30 ล้านชนิดที่ยังไม่ได้รับการค้นพบและจัดจำแนก การจัดหมวดหมู่ของสิ่งมีชีวิตจะอาศัยลักษณะต่างๆเป็นหลักโดยเปรียบเทียบความเหมือนหรือแตกต่าง ซึ่งความเหมือนของสิ่งมีชีวิตเกิดจากการที่สิ่งมีชีวิตเหล่านั้นผ่านขบวนการทางวิวัฒนาการที่เหมือนกัน ดังนั้นการจัดหมวดหมู่จึงเป็นการบอกว่าสิ่งมีชีวิตแต่ละกลุ่มมีความสัมพันธ์กับสิ่งมีชีวิตอีกกลุ่มหนึ่งหรือไม่ ลักษณะของสิ่งมีชีวิตที่นำมาใช้ในการจัดหมวดหมู่ เช่น ลักษณะทางสัณฐานวิทยา (morphological characteristics) นอกจากนี้ยังอาจใช้ลักษณะทางกายวิภาค (anatomy) และสรีรวิทยา (physiology) มาใช้ในการจัดจำแนกสิ่งมีชีวิตออกเป็นหมวดหมู่ได้

          การจัดจำแนกสิ่งมีชีวิตออกเป็นหมวดหมู่ไม่ใช่เพียงเป็นการบอกชื่อชนิดของสิ่งมีชีวิตเท่านั้น แต่จะต้องสามารถบ่งบอกถึงลำดับของสิ่งมีชีวิตและตำแหน่งในการเกิดขึ้นของชนิดในขบวนการวิวัฒนาการได้ด้วย การศึกษาชนิด ความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตและความสัมพันธ์ในเชิงวิวัฒนาการระหว่างสิ่งมีชีวิตต่างๆ เรียกว่า อนุกรมวิธาน taxonomy หรืออาจเรียกว่า Systematics แต่นักชีววิทยาบางส่วนอาจจะแยกทั้งสองศาสตร์นี้ออกจากกัน โดยถือว่า Taxonomy เป็นการศึกษาเพื่อให้คำอธิบายรายละเอียดเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตนั้นๆ (description of species) ส่วน systematics เป็นการศึกษาเพื่อจัดกลุ่มของสิ่งมีชีวิตที่มีวิวัฒนาการมาเหมือนกันให้อยู่ในกลุ่มเดียวกัน ซึ่งสามารถใช้ในการอธิบายความสัมพันธ์ของชาติวงศ์วานและนำมาจัดเป็นประวัติชาติพันธุ์ (phylogeny) ของสิ่งมีชีวิตกลุ่มต่างๆ ได้

          อนุกรมวิธาน (Taxonomy) จะทำการจัดจำแนกสิ่งมีชีวิต (Classification) โดยการจัดลำดับหมวดหมู่ของสิ่งมีชีวิตเริ่มจัด เป็นกลุ่มใหญ่ก่อน  แล้วจึงแบ่งแยกออกเป็นกลุ่มย่อย ๆอีกหลายระดับ  โดยพิจารณาจาก กลุ่มใหญ่สุดของสิ่งมีชีวิต คือ อาณาจักร(Kingdom)  กลุ่มย่อยรองลงมา สำหรับสัตว์เรียกไฟลัม (Phylum)  สำหรับพืชในอดีตเรียก ดิวิชัน (Division) ปัจจุบันใช้ไฟลัมเช่นเดียวกับสัตว์ ในดิวิชันหรือไฟลัมหนึ่ง ๆ  แยกออกเป็นคลาส หลายคลาส (Class)  หรือชั้น ในแต่ละคลาสแยกออกเป็นหลายออร์เดอร์ (Order) หรืออันดับแต่ละ ออร์เดอร์แยกออกเป็นหลายแฟมิลี (Family) หรือวงศ์  ในแต่ละแฟมิลียังแยกออกเป็นจีนัส (Genus) หรือสกุล  แต่ละจีนัสแบ่งย่อยออกเป็นหลายสปีชีส์ (species) หรือชนิด
                อาณาจักร (Kingdom)
                       ดิวิชัน (Division) หรือ ไฟลัม (Phylum)
                           คลาสหรือชั้น (Class)
                               ออร์เดอร์หรือ อันดับ (Order)
                                    แฟมิลี่หรือวงศ์ (Family)
                                           จีนัสหรือสกุล (Genus)
                                                  สปีชีส์หรือชนิด (species)

          ในระหว่างกลุ่ม  อาจมีกลุ่มย่อยอีก  เช่น Sub  Kingdom, Sub  division เป็นต้น  พืชแต่ละชนิด อาจมีลักษณะต่างกันเล็กน้อย เรียกว่า พันธุ์    สิ่งมีชีวิตที่จัดอยู่ในสปีชีส์ เดียวกันต้องมีความสัมพันธ์ ใกล้ชิดกันทางบรรพบุรุษสามารถสืบพันธุ์กันได้ ลูกที่ได้จะต้องไม่เป็นหมัน 

ตัวอย่างการจะเรียกมนุษย์สายพันธุ์ปัจจุบันโดยใช้หลักอนุกรมวิธาน จะเรียกได้ดังนี้
     Kingdom                Animalia
     Phylum                   Chordata
     Subphylum              Vertebrate
     Class                      Mammalia
     Subclass                Theria
     Order                     Primates
     Family                   Hominidae
     Genus                    Homo
     Species                  Homo sapiens