การใช้เครื่องซักผ้าแทนการซักผ้าด้วยมือมีข้อดีอย่างไร

ถ้าบ้านคุณไม่มีเครื่องซักผ้า ซักเครื่องไม่ได้ แต่ก็อยากซักผ้าสกปรกเหม็นอับใจจะขาด หรือเสื้อผ้าบางชุดเป็นแบบซักมือเท่านั้น เพราะเนื้อผ้าบอบบางขาดง่าย ซักเครื่องไม่ได้ วันนี้คุณมาถูกที่แล้ว เพราะบทความวิกิฮาวนี้จะแนะนำวิธีการซักผ้าด้วยมือให้คุณเอง เริ่มจากเลือกน้ำยาซักผ้าที่ไม่แรงไปสำหรับเส้นใยผ้า จากนั้นใช้น้ำและน้ำยา ซักผ้าอย่างเบามือ ปิดท้ายด้วยการตากผ้าให้ถูกวิธี รับรองเสื้อผ้าไม่เสีย แถมหอมสะอาด

  1. การใช้เครื่องซักผ้าแทนการซักผ้าด้วยมือมีข้อดีอย่างไร

    1

    ถ้าผ้าบางขาดง่าย ให้เลือกน้ำยาสูตรถนอมผ้า. น้ำยาสูตรถนอมผ้าใช้ได้กับผ้าแทบทุกชนิด ขอแค่ไม่ต้องดูแลเป็นพิเศษ อย่างผ้าไหม ผ้าลูกไม้ ผ้าขนสัตว์ หรือผ้าทอ ให้เลือกน้ำยาซักผ้าที่เน้นถนอมผ้าบางขาดง่าย จะยี่ห้อไหนก็แล้วแต่ความชอบ[1]

    • ใช้น้ำยาซักผ้ายี่ห้อไหนก็ได้ ขอแค่เลือกที่ถนอมผ้า แต่ใช้กับผ้าที่ต้องดูแลเป็นพิเศษอย่างผ้าไหม ผ้าลูกไม้ หรือผ้าขนสัตว์ไม่ได้
    • แชมพูเด็กหรือสบู่เหลวสูตรถนอมผิวก็ใช้ได้เหมือนกัน

  2. การใช้เครื่องซักผ้าแทนการซักผ้าด้วยมือมีข้อดีอย่างไร

    2

    ลองใช้น้ำยาทำความสะอาดแบบไม่ต้องล้างออก กับผ้าไหมและผ้าลูกไม้. ถ้าเสื้อผ้าชิ้นไหนทำจากผ้าบางขาดง่าย อย่างผ้าไหมและผ้าลูกไม้ ให้เลือกน้ำยาที่ไม่ต้องล้างออกหลังแช่ผ้าในน้ำแล้ว จะทำให้ทำความสะอาดผ้าไหมกับผ้าลูกไม้ได้ง่ายขึ้น ไม่ต้องกลัวผ้าเสียหายเพราะซักและล้างน้ำมากไป[2]

    • คุณหาซื้อน้ำยาทำความสะอาดผ้าแบบไม่ต้องล้างออกได้ตามเน็ต หรือแผนกสเปรย์และน้ำยาทำความสะอาดในห้างสรรพสินค้าทั่วไป ถ้าสั่งซื้อทางเน็ต อาจจะมีคนหิ้วมาจากเมืองนอก ยี่ห้อที่ดังๆ ก็เช่น Eucalan และ Persil

  3. การใช้เครื่องซักผ้าแทนการซักผ้าด้วยมือมีข้อดีอย่างไร

    3

    ใช้น้ำยาที่มี lanolin กับผ้าขนสัตว์และผ้าทอ. lanolin เป็นน้ำมันตามธรรมชาติที่ได้จากแกะ ทำให้ขนแกะกันน้ำได้ จะทำให้ผ้าขนสัตว์และผ้าทอนุ่มขึ้น ให้ใช้น้ำยาซักผ้าที่มี lanolin กับผ้าขนสัตว์หรือผ้าทอ เพื่อคงความอ่อนนุ่มของเส้นใย ไม่เสียหายระหว่างซัก[3]

    • คุณหาซื้อน้ำยาที่มี lanolin ได้จากในเน็ต หรือแผนกน้ำยาซักผ้าในห้างสรรพสินค้าทั่วไป

    โฆษณา

  1. 1

    ซักผ้าสีอ่อนกับสีเข้มแยกกัน. เริ่มจากผ้าสีอ่อนที่สุดก่อนเสมอ เก็บผ้าสีเข้มไว้ซักทีหลัง แนะนำให้ซักผ้าทีละตัว เพื่อป้องกันสีตกใส่กัน[4]

    • ถ้าซื้อเสื้อผ้ามาใหม่ แล้วเป็นผ้าที่ผ่านการย้อมสีหรือมัดย้อมมา ต้องซักแยกอีกอ่างหรือกะละมังเลย สีจะได้ไม่ตกใส่ผ้าชิ้นอื่น

  2. 2

    เติมน้ำทั้ง 2 กะละมัง. ใช้กะละมังนี่แหละดี เพราะซักผ้าทีละชิ้นหรือหลายชิ้นได้สบายๆ แต่แนะนำให้ซักทีละชิ้นป้องกันสีตก แต่จะใช้อ่างล้างจาน อ่างล้างมือ หรืออ่างอาบน้ำก็ยังได้ ให้เปิดน้ำใส่ทั้ง 2 ภาชนะ ให้ได้ ¾ ของภาชนะ โดยใช้น้ำอุณหภูมิประมาณ 30 องศาเซลเซียส (85 องศาฟาเรนไฮต์) หรือแตะแล้วแค่พออุ่นๆ ถ้าน้ำร้อนไป เสื้อผ้าจะสีตกได้ แต่ถ้าน้ำเย็นไป ก็ขจัดคราบได้ไม่ดี[5]

    • ถ้ากลัวซักแล้วเสื้อผ้าหด ให้ใช้น้ำเย็นทั้ง 2 กะละมัง เพื่อป้องกันไม่ให้ผ้าหดเพราะน้ำอุ่น
    • จะใช้น้ำกะละมังเดียวกันก็ได้ ถ้าผ้าสีเดียวกัน เช่น แยกซักกะละมังผ้าสีเข้มกับสีอ่อน

  3. 3

    ใส่น้ำยาซักผ้าในกะละมังใบหนึ่ง. ให้ใส่น้ำยาซักผ้า 1 ช้อนชา (5 กรัม) ต่อผ้า 1 ชิ้น จากนั้นผสมให้ละลายไปกับน้ำ[6]

  4. 4

    ซักผ้าในน้ำ. เอาผ้าใส่กะละมังที่มีน้ำผสมน้ำยาซักผ้า กดผ้าลงไปในน้ำจนมิด แล้วใช้มือแกว่งผ้าไปมาในน้ำ ขจัดสิ่งสกปรก ให้แกว่งเร็วๆ เหมือนเครื่องซักผ้า ทำแบบนี้สัก 2 - 3 นาที หรือจนกว่าผ้าจะดูสะอาดแล้ว

    • อย่าขยี้ ถู หรือบิดผ้าในน้ำ เพราะเนื้อผ้าจะเสียหายได้
    • อย่าแช่ผ้าในน้ำนานเกิน 3 - 4 นาที เพราะผ้าอาจจะหดได้

  5. 5

    ล้างน้ำให้สะอาดในอีกกะละมัง. พอซักผ้าสะอาดแล้ว ให้เอาขึ้นจากกะละมังแรก แล้วค่อยๆ ใส่ในกะละมังที่มีน้ำสะอาด ล้างน้ำยาซักผ้าโดยแช่ผ้าในน้ำแล้วยกขึ้นจากกะละมัง สลับไปมาแบบนี้ 2 - 3 นาที เพื่อไม่ให้เหลือน้ำยาตกค้าง[7]

    • เช็คว่าผ้าสะอาดดีแล้ว ไม่เหลือฟอง หรือน้ำยา ถ้ายังไม่สะอาดดี ให้เทน้ำในกะละมังทิ้ง เติมน้ำใหม่ แล้วล้างจนผ้าสะอาด
    • ถ้าซักผ้าด้วยน้ำยาทำความสะอาดแบบไม่ต้องล้างออก ก็ไม่ต้องทำขั้นตอนนี้

    โฆษณา

  1. 1

    ห้ามบิดผ้าให้แห้งเด็ดขาด. พยายามอย่าบิดผ้าเป็นเกลียวเพื่อไล่น้ำให้ผ้าแห้ง เพราะทำผ้ายืดย้วย เนื้อผ้าเสียได้ แนะนำให้ยกผ้าเหนือน้ำ รอจนน้ำส่วนเกินไหลลงกะละมังไปหมด[8]

  2. 2

    ปูผ้าราบไปกับพื้นผิวสะอาดๆ ทิ้งไว้จนแห้ง. ปูผ้าเปียกบนพื้นผิวสะอาดๆ เช่น หน้าเคาน์เตอร์ หรือบนโต๊ะ พยายามรีดให้ผ้าเรียบไปกับพื้นผิวนั้น โดยที่คงรูปทรงที่เหมาะสมของผ้าชิ้นนั้น[9]

    • จะตากผ้ากับราว/เชือกก็ได้ แต่ให้ตากแนวราบ อย่าห้อยในแนวดิ่งลงมา เพราะจะทำให้เสื้อผ้าเสียทรงได้

  3. 3

    กลับด้านผ้าให้แห้งทั่วกัน. รอสัก 2 - 4 ชั่วโมงจนผ้าด้านนั้นแห้ง แล้วค่อยกลับด้านผ้า ตากให้อีกด้านแห้งสนิทบ้าง ตากผ้าไว้ข้ามคืน ตอนเช้าค่อยมาเช็คว่าผ้าแห้งทั้ง 2 ด้านหรือยัง

    โฆษณา

สิ่งของที่ใช้

  • น้ำยาสูตรถนอมผ้า หรือน้ำยาทำความสะอาดที่ไม่ต้องล้างออก
  • อ่างหรือกะละมังใหญ่ๆ 2 ใบ
  • น้ำสะอาด
  • ที่สะอาดสำหรับผึ่งหรือตากผ้า

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 139,181 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

การใช้เครื่องซักผ้าแทนการซักผ้าด้วยมือข้อดีอย่างไร

การซักผ้าด้วยมือมีข้อดี คือ 1. สามารถทำการซักให้มีประสิทธิภาพ โดยใช้น้ำยาที่ถนอมใยผ้า และสามารถแช่ผ้าค้างคืนได้สำหรับการขจัดคราบที่เก่าเก็บ 2. การซักผ้าด้วยมือ แม้จะเปลือแรง แต่สามารถแช่ผ้า และใช้น้ำยาที่เหมาะสมกับผ้าแต่ละชนิดเป็นตัวๆไปได้ โดยมีประสิทธิภาพดีกว่า กว่ารซักเครื่อง

การซักผ้าด้วยมือมีข้อดีข้อเสียอย่างไร

ข้อดี 1. ประหยัดน้าและไฟ 2. ประหยัดค่าใช้จ่ายในการซื้อ เครื่องซักผ้า 3. เสื้อผ้าสะอาด 4. ถนอมเนื้อผ้าให้ใช้ได้นาน ข้อดี 1. ประหยัดแรงงาน 2. ประหยัดเวลา 3. เสื้อผ้าแห้งเร็ว Page 6 การซักเสื้อผ้าด้วยมือ การซักเสื้อผ้าด้วยเครื่องซักผ้า ข้อเสีย 1. สิ้นเปลืองแรงงาน 2. สิ้นเปลืองเวลา 3. เสื้อผ้าแห้งช้า ข้อเสีย 1. สิ้นเปลือง ...

เครื่องซักผ้ามีข้อดีอย่างไร

เครื่องซักผ้าเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการทำความสะอาดเสื้อผ้า และเป็นที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายมากขึ้นทุกขณะ เพราะนอกจากจะช่วยผ่อนแรงของคุณที่ต้องเหน็ดเหนื่อยจากการทำงานหนักมาทั้งวันแล้ว ยังสามารถประหยัดเวลาของคุณเพื่อนำไปใช้ทำกิจกรรมอื่นฯ ที่สำคัญหรืองานอดิเรกในวันหยุดพักผ่อนได้อีกด้วย

การซักผ้าด้วยมือมีข้อเสียอย่างไร

ผ้าหักและยับ รีดยากและไม่เรียบ.
เนื้อผ้ามีโอกาสขึ้นขุยได้ง่าย เพราะเกิดจากการเสียดสี.
ทำให้ผ้าบิดตัวและพันกัน กระดุมอาจหลุดหายได้ง่าย.
ผ้ามีโอกาสยืดย้วยหรือหดตัว และเสียทรง.
สีผ้าอาจซีดเร็วกว่าปกติ.