ผู้บริโภค ที่ เพิ่ม มา คือ สิ่ง ใด สายใย อาหารจะ เปลี่ยน ไป โดย ซับซ้อน ขึ้น หรือ ไม่ อย่างไร

ห่วงโซ่อาหารในระบบนิเวศ (Food chain)

เมื่อสิ่งมีชีวิตหนึ่งกินสิ่งมีชีวิตหนึ่งเป็นอาหารแล้ว ก็อาจถูกสัตว์อื่นๆ กินเป็นอาหารต่อไปอีก ทำให้เกิดการถ่ายทอดพลังงาน จากธาตุอาหาร ผ่านจากชีวิตหนึ่ง ไปสู่อีกชีวิตหนึ่ง การถ่ายทอดนี้ก็คือ ระบบของห่วงโซ่อาหาร ที่เกิดขึ้นในระบบนิเวศ ซึ่งเป็นการถ่ายทอดพลังงาน และการหมุนเวียนธาตุอาหาร ไปตามลำดับ ขั้นตอนของการบริโภค

ห่วงโซ่อาหารในระบบนิเวศนั้นแบ่งออกได้เป็น ๓ รูปแบบด้วยกัน คือ

๑. โซ่อาหารแบบการล่าเหยื่อ

เป็น ขั้นตอนของโซ่อาหารจากพืชต่ำสุด และจากสัตว์เล็กไปยังสัตว์ที่ใหญ่กว่า เป็นลักษณะของผู้บริโภคที่เป็นสัตว์กินเหยื่อแบบกัดกิน หรือฆ่ากิน ซึ่งผู้ล่าจะมีขนาดใหญ่กว่าเหยื่อเสมอ และหากผู้ล่าเหยื่อมีขนาดเล็กกว่า เหยื่อก็จะมีเขี้ยวเล็บแหลมคม ที่ช่วยให้มีความสามารถในการตะปบ กัด หรือออกล่าเหยื่อเป็นกลุ่ม

ผู้บริโภค ที่ เพิ่ม มา คือ สิ่ง ใด สายใย อาหารจะ เปลี่ยน ไป โดย ซับซ้อน ขึ้น หรือ ไม่ อย่างไร

๒. โซ่อาหารแบบปรสิต

เป็นโซ่อาหาร ที่เริ่มต้นจากสัตว์ใหญ่ไปหาสัตว์เล็กตามลำดับ

ผู้บริโภค ที่ เพิ่ม มา คือ สิ่ง ใด สายใย อาหารจะ เปลี่ยน ไป โดย ซับซ้อน ขึ้น หรือ ไม่ อย่างไร

๓. โซ่อาหารแบบซากอินทรีย์

เป็นโซ่อาหารที่เริ่มต้นจากซากชีวิตที่ตายแล้ว ไปยังสิ่งมีชีวิตเล็กๆ

ผู้บริโภค ที่ เพิ่ม มา คือ สิ่ง ใด สายใย อาหารจะ เปลี่ยน ไป โดย ซับซ้อน ขึ้น หรือ ไม่ อย่างไร

แต่เนื่องจากในระบบของห่วงโซ่อาหาร ในระบบของการถ่ายทอด จะถ่ายทอดโดยตรง จากชีวิตหนึ่งไปสู่อีกชีวิตหนึ่ง เนื่องจากสิ่งมีชีวิตหนึ่งอาจกินอาหารหลายชนิด หลายระดับ และเหยื่อชนิดเดียวกัน ก็อาจถูกสิ่งมีชีวิตหลายชนิดกิน จนไม่อยู่ในลำดับ และขั้นตอนของห่วงโซ่อาหาร ลักษณะดังกล่าว โดยที่ได้เกิดความซับซ้อนกันในระบบของห่วงโซ่อาหาร ซึ่งเรียกว่า สายใยของห่วงโซ่อาหาร (Food web) ซึ่งสายใยของห่วงโซ่อาหาร จะประกอบด้วย ห่วงโซ่อาหารหลายสายที่เชื่อมโยงกัน อันแสดงถึงความสัมพันธ์อันสลับซับซ้อนของสิ่งมีชีวิต ในชุมชนของระบบนิเวศ ซึ่งยิ่งสายใยของห่วงโซ่อาหารมีความสลับซ้บซ้อนมากเพียง ใด ก็ได้แสดงให้เห็นถึงระบบนิเวศ ที่มีระบบความสมดุลสูง อันเนื่องมาจากมีความหลากหลายของชีวิตในระบบ

ผู้บริโภค ที่ เพิ่ม มา คือ สิ่ง ใด สายใย อาหารจะ เปลี่ยน ไป โดย ซับซ้อน ขึ้น หรือ ไม่ อย่างไร

โซ่อาหารในทะเลสาบสวีเดนแห่งหนึ่ง เหยี่ยวออสเปรกินปลาไพก์เหนือ (northern pike) ปลาไพก์เหนือกินเพิร์ช (perch) เพิร์ชกินบลีก (bleak) บลีกกินกุ้งน้ำจืดตามลำดับ

ดวงอาทิตย์เป็นแหล่งพลังงาน ของทุกระบบนิเวศบนโลก พลังงานแสงจะมีการเปลี่ยนรูปเป็นพลังงานศักย์ ทำให้พืชเกิดกระบวนการสังเคราะห์แสงและมีการสะสมสารอาหารไว้ เพื่อที่จะถ่ายทอดไปยังผู้บริโภคลำดับต่อไป การถ่ายทอดพลังงานเป็นลำดับแบบเส้นตรงหรือวงกลมจะเรียกว่า โซ่อาหาร (Food chain) จะมีความสัมพันธ์กันแบบไม่ซับซ้อน และยังเป็นเส้นตรงส่วนหนึ่งในสายใยอาหาร การที่พลังงานถูกถ่ายทอดจากสิ่งมีชีวิตหนึ่งไปสู้อีกชีวิตหนึ่ง โดยเริ่มจากพืชได้รับแสงจากดวงอาทิตย์ทำให้เกิดกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงและสะสมสารอาหารพืชถือเป็นผู้ผลิต (Producers) ในลำดับโซ่อาหาร หลังจากนั้นจะมีผู้บริโภคปฐมภูมิหรืออันดับแรก (Primary consumers) กินพืชเป็นอาหารโดยตรง ดังนั้นจะเรียกสัตว์พวกนี้ว่าสัตว์กินพืช (Herbivores) เช่น กวาง ม้า วัว และยีราฟ และต่อมาก็จะมีผู้บริโภคทุติยภูมิหรือสัตว์ที่กินผู้บริโภคอันดับแรกเป็นอาหาร (Secondary consumer) จะมีได้ทั้งสัตว์ที่กินเนื้ออย่างเดียว(Carnivores) และสัตว์ที่กินทั้งเนื้อและพืช (Omnivores) จะได้รับการถ่ายทอดพลังงานเป็นทอดๆอย่างนี้ไปเรื่อยๆ เกิดเป็นโซ่อาหารในระบบนิเวศและการถ่ายทอดพลังงานในรูปของสารอาหารตามขั้นของผู้บริโภค [1]หน้า 71

ห่วงโซ่อาหาร เป็นการกินต่อกันเป็นทอดๆของสิ่งมีชีวิต พืชและสัตว์จำเป็นต้องได้รับพลังงานเพื่อใช้ในการดำรงชีวิต โดยพืชจะได้รับพลังงานจากแสงของดวงอาทิตย์โดยใช้รงควัตถุสีเขียวที่เรียกว่า คลอโรฟิลล์ (Chlorophyll) เป็นตัวดูดกลืนพลังงานแสงเพื่อนำมาใช้ในการสร้างอาหาร เช่น กลูโคส แป้ง ไขมัน โปรตีน สำหรับสัตว์เป็นสิ่งมีชีวิตที่ไม่สามารถสร้างอาหารเองได้ จำเป็นต้องได้รับพลังงานจากการบริโภคสิ่งมีชีวิตอื่นเป็นอาหารในกลุ่มสิ่งมีชีวิตหนึ่งๆ ห่วงโซ่อาหารไม่ได้ดำเนินไปอย่างอิสระแต่ละห่วงโซ่อาหาร อาจมีความสัมพันธ์กับห่วงโซ่อื่นอีก โดยเป็นความสัมพันธ์ที่สลับซับซ้อน เช่น สิ่งมีชีวิตหนึ่ง ในห่วงโซ่อาหารหนึ่ง อาจเป็นอาหารของสิ่งมีชีวิตอีกชนิดหนึ่งในห่วงโซ่อาหารอื่นก็ได้ มีผลทำให้กลุ่มสิ่งมีชีวิตนั้นมีความมั่นคงในการดำรงชีวิตมากตามไปด้วย

องค์ประกอบภายในโซ่อาหาร[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

ภายในโซ่อาหาร ประกอบด้วย

Producer[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

ผู้ผลิต เป็นส่วนแรกของการถ่ายทอดพลังงานในระบบนิเวศหรือห่วงโซ่อาหารต่างๆ ซึ่งเกิดจากแสงอาทิตย์จะมีการเปลี่ยนเปลี่ยนรูปเป็นพลังงานศักย์ ทำให้เกิดการสังเคราะห์แสงของพืช และพืชเหล่านี้สร้างอาหารได้จากพลังแสงอาทิตย์และอนินทรีสารต่างๆ เช่น ไนโตรเจน คาร์บอนไดออกไซด์ ออกซิเจน คาร์บอน เกลือแร่จากดิน และน้ำ นำไปสร้างอาหารทำให้เกิดเนื้อเยื่อต่างๆ นอกจากพืชแล้วยังมีพวกแพลงค์ตอนพืช และ แบคทีเรียบางชนิด ยังสามารถสร้างอาหารจากแสงอาทิตย์ได้เช่นกัน เพราะฉะนั้นจึงกล่าวได้ว่าพืชเป็นผู้ผลิตอาหารของโลก[2]

Consumer[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

ผู้บริโภค คือ สิ่งมีชีวิตที่สร้างอาหารเองไม่ได้ แต่มีการได้รับพลังงานมาจากการกินสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นพืชหรือสัตว์ ผู้บริโภคอาจมีทั้งผู้บริโภคลำดับหนึ่ง และผู้บริโภคลำดับสอง ซึ่งสามารถแบ่งได้ 3 ประเภท คือ

  • Herbivore เป็นสิ่งมีชีวิตที่กินพืชเป็นอาหาร ซึ่งเป็นสิ่งมีชีวิตที่สามาถนำเนื้อเยื่อของพืชมาสร้างเป็นเนื้อเยื่อของตัวเองได้ เช่น วัว ควาย ตั๊กแตน เต่า เป็นต้น รวมถึงปลาเล็กๆที่กินพืชเป็นอาหาร
  • Carnivore เป็นสิ่งมีชีวิตที่กินสัตว์เป็นอาหาร ซึ้งสิ่งมีชีวิตพวกนี้จะมีระบบประสาท มีกล้ามเนื้อ และมีรูปร่างใหญ่ และแข็งแรงกว่าสัตว์กินพืช เช่น เหนี่ยว งู สุนัขจิ้งจอก ปลากินเนื้อบางชนิด เป็นต้น
  • Omnivore เป็นสิ่งมีชีวิตที่กินทั้งพืชและสัตว์ เช่น หนู ไก่ และนอกจากนี้ยังได้แก่สิ่งมีชีวิตอื่นๆ ที่ไม่ถูกกินโดยสัตว์อื่นๆต่อไป เป็นสัตว์ที่อยู่ในอันดับสุดท้ายของการถูกกินเป็นอาหาร เช่น มนุษย์ เป็นต้น

Decomposer[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

ผู้ย่อยสลาย หมายถึง สิ่งมีชีวิตที่สร้างอาหารเองไม่ได้ ดำรงชีวิตโดยการปล่อยเอนไซม์ออกมาย่อยอินทรีย์สารที่อยู่ในซากพืชซากสัตว์ให้เป็นอนินทรีย์สารแล้วดูดซึมส่วนที่เป็นอนินทรีย์สารเข้าไปใช้ เป็นอาหาร บางส่วนจะเหลือไว้ให้ผู้ผลิตนำไปใช้ เช่น เห็ด รา แบคทีเรีย เป็นต้น ซึ่งถ้าในห่วงโซ่อาหารไม่มีผู้ย่อยสลายอินทรียสาร ซากพืชซากสัตว์จะไม่เน่าเปื่อยและกองทับถมกันจนล้นโลก[3]

ประเภทของโซ่อาหาร[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

โซ่อาหารมี 2 ประเภท ได้แก่

  • Grazing food chain

หมายถึง โซ่อาหารชนิดที่มีการกินอาหารโดยตรง เป็นโซ่อาหารที่เริ่มต้นมาจากพืชเล็กๆ ที่ยังมีชีวิต โดยที่จะมีสัตว์ทั้งขนาดเล็กและใหญ่มากินพืชนั้น และมีสัตว์กินเนื้อมากินสัตว์นั้นต่อไปตามลำดับ จะเป็นผู้บริโภคที่มีขนาดใหญ่ขึ้น ซึ่งเป็นโซ่อาหารที่มีการกินอาหารโดยตรง เช่น หญ้าเป็นผู้ผลิต แกะมากินหญ้า และเสือมากินแกะต่ออีกครั้งหนึ่ง

  • Detritus food chain หรือ Saprophytic food chain

หมายถึง โซ่อาหารแบบเศษอินทรีย์ หรือการสลายอินทรียวัตถุ โดยเริ่มต้นมาจากซากอินทรีย์ถูกจุลินทรีย์ย่อยแล้วจึงถูกสัตว์อื่นกิน และสัตว์นี้ก็จะเป็นอาหารของสัตว์อื่นต่อไป ส่วนมากโซ่อาหารชนิดนี้จะเกิดขึ้นในแหล่งน้ำ[4][5]

ชนิดของโซ่อาหาร[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

ลักษณะการกินต่อกันของสิ่งมีชีวิตนั้น สามารถจำแนกได้ ดังนี้

  • Parasitism food chain

ห่วงโซ่อาหารแบบปรสิต เป็นห่วงโซ่อาหารที่เริ่มจากผู้ถูกอาศัยไปยังผู้อาศัยอันดับหนึ่ง แล้วไปยังผู้อาศัยลำดับต่อๆ ไปเรื่อยๆ หรือห่วงโซ่อาหารที่อยู่ในสิ่งมีชีวิตแต่ละตัว หรือขนาดผู้บริโภคระดับสูงขึ้นไปของโซ่อาหารจะเล็กลงไป เช่น

หนอนในต้นพืช → แบคทีเรียในหนอน → ไวรัสในแบคทีเรีย
  • Predation food chain

ห่วงโซ่อาหารแบบผู้ล่า เป็นลักษณะของลูกโซ่อาหารที่สิ่งมีชีวิตขนาดใหญ่กินสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กโดยตรง เริ่มจากผู้ผลิตคือพืช ตามด้วยผู้บริโภคอันดับต่างๆ การถ่ายทอดพลังงานจึงประกอบด้วย ผู้ล่า (Predator) และเหยื่อ (Prey) โดยการกินกันของสัตว์ผู้ล่า[6] (สัตว์กินพืช สัตว์กินเนื้อ) อาจเป็นพวกขูดกิน (Grazing food chain) ซึ่งห่วงโซ่เริ่มต้นที่สัตว์พวกขูดกินอาหาร เช่น หอยทาก และสัตว์กินพืชอื่นๆ เช่น

สาหร่าย → ลูกปลา → ปลาใหญ่ → แมว
  • Decomposition food chain

ห่วงโซ่อาหารแบบย่อยสลาย เป็นห่วงโซ่อาหารที่เริ่มต้นจากซากอินทรีย์ถูกย่อยสลายโดยพวกจุลินทรีย์ ได้แก่ เห็ดรา แบคทีเรีย และ Detritivorous animals เป็นระบบนิเวศที่มีห่วงโซ่อาหารอาหารของผู้ย่อยสลายมากกว่าผู้ผลิตและผู้บริโภค แล้วจึงถูกกินต่อไปโดยสัตว์ที่กินเศษอินทรีย์ และผู้ล่าต่อไป ตามลำดับเช่น

ซากพืชซากสัตว์ → ไส้เดือนดิน→ นก→ งู

กระบวนการที่จะย่อยสลายซากพืชและสัตว์ให้กลับคืนสู่สภาพที่ผู้ผลิตจะใช้ได้เกิดได้จากทั้งจาก abiotic (เช่น ไฟป่า) และ biotic เช่น แบคทีเรียและราต่างๆ ขันตอนของการย่อยสลายมี 3 ขั้นตอนคือ

  • การย่อยสลายเพื่อให้เกิดสารอินทรีย์เดไตรตัส (formation of particulate detritus)
  • การย่อยสลายเพื่อให้เกิดฮิวมัส (formation of humus)
  • การย่อยสลายฮิวมัสเป็นแร่ธาตุ (mineralization of humus)
  • Mix food chain

ห่วงโซ่อาหารแบบผสม เป็นห่วงโซ่อาหารที่มีการถ่ายทอด พลังงานระหว่างสิ่งมีชีวิตหลายๆ ประเภท ซึ่งในแต่ละห่วงโซ่อาหาร อาจมีทั้งผู้ล่า และแบบปรสิต เช่น เริ่มต้นจากผู้ผลิตจะถ่ายทอด พลังงานไปยังผู้บริโภคพืช ผู้บริโภค พืชถ่ายทอดพลังงานไปยังปรสิต เช่น

สาหร่าย → ปลา → พยาธิใบไม้หญ้า → กระต่าย → ยุงก้นปล่อง → เชื้อมาเลเรีย

อ้างอิง[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

ดูเพิ่ม[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

  • หมวดหมู่:วิทยาศาสตร์สุขภาพ
  1. http://kanchanapisek.or.th/kp6/Ebook/BOOK17/book17_3/Default.html
  2. http://www.enchantedlearning.com/subjects/foodchain/glossary.shtml
  3. http://www.scimath.org/socialnetwork/groups/viewbulletin/1181-%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%A7%E0%B8%A8+(ecosystem)?groupid=248
  4. http://www.il.mahidol.ac.th/e-media/ap-biology2/chapter5/eco4.htm
  5. http://www.majordifferences.com/2013/02/difference-between-grazing-and-detritus.html#.VryJTliLTIU
  6. http://www.livescience.com/4171-top-predators-key-ecosystem-survival-study-shows.html