ข้อสมมติทางการบัญชีมีอะไรบ้าง

2 การดำเนินงานที่ต่อเนื่อง
โดยทั่วไปงบการเงินจะจัดทำขึ้นภายใต้ข้อสมมติว่ากิจการจะดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง และดำรงอยู่ต่อไปในอนาคต ซึ่งหมายถึง กิจการที่ตั้งขึ้นมาแล้ว ย่อมมีวัตถุประสงค์จะดำเนินงานต่อไปเรื่อยๆ โดยไม่มีกำหนดเวลา ว่าจะเลิกกิจการเมื่อไร หรือนานเพียงพอที่จะปฏิบัติตามแผนงาน และข้อผูกพันต่างๆ ที่ได้ผูกพันไว้จนกว่าจะเสร็จ
ลักษณะเชิงคุณภาพ ลักษณะเชิงคุณภาพ หมายถึง คุณสมบัติที่ทำให้ข้อมูลในงบการเงินมีประโยชน์ต่อผู้ใช้งบการเงิน ลักษณะเชิงคุณภาพหลักของงบการเงินมี 4 ประการได้แก่ ความเข้าใจได้ ความเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจ ความเชื่อถือได้ และการเปรียบเทียบกันไป
2.1 ความเข้าใจได้
หมายถึง งบการเงินนั้นจะต้องสามารถเข้าใจได้ทันที่ที่ผู้ใช้งบการเงินใช้ข้อมูล ทั้งนี้อยู่ภายใต้ข้อสมมติที่ว่าผู้ใช้งบการเงินนั้นจะต้องมีความรู้ในเรื่องของธุรกิจพอควร
2.2 ความเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจ
ข้อมูลที่ปรากฎในงบการเงินจะต้องเป็นข้อมูลที่มีประโยชน์ต่อการตัดสินใจของ ผู้ใช้งบการเงิน นั่นคือ สามารถทำให้ผู้ใช้งบการเงินประเมินเหตุการณ์ในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต รวมทั้งยืนยัน หรือชี้ข้อผิดพลาดของผลการประเมินที่ผ่านมาของผู้ใช้งบการเงินได้
2.3 ความเชื่อถือได้
ข้อมูลที่แสดงในงบการเงินจะต้องปราศจากความผิดพลาดที่มีนัยสำคัญ และความลำเอียง นั่นคือ จะต้องแสดงรายการ และเหตุการณ์ทางบัญชีอย่างเที่ยงธรรม ตามที่ต้องการให้แสดงหรือควรจะแสดง ตามเนื้อหา และความเป็นจริงเชิงเศรษฐกิจ เช่น กิจการอาจจะโอนรถยนต์ให้กับบุคคลอื่น โดยมีหลักฐานยืนยันการโอนกรรมสิทธิ์ตามกฎหมาย แต่ในสัญญายังระบุให้กิจการสามารถใช้ประโยชน์จากรถยนต์ดังกล่าวในอนาคตนั่นต่อไป กรณีเช่นนี้ การที่กิจการจะรายงานว่ามีการขายรถยนต์ จึงไม่สามารถถือได้ว่าเป็นตัวแทนอันเที่ยงธรรมของรายการที่เกิดขึ้น
ผู้จัดทำงบการเงินจะต้องใช้ความระมัดระวังในการรายงานเหตุการณ์ทางการเงิน เมื่อประสบกับความไม่แน่นอน อันหลีกเลี่ยงไม่ได้เกี่ยวกับเหตุการณ์บางอย่าง เช่น ความสามารถในการเก็บหนี้, การประมาณอายุการใช้งานของสินทรัพย์ ความไม่แน่นอนของหนี้สินที่อาจจะเกิดขึ้นจากสัญญารับประกัน, คดีฟ้องร้อง โดยจะต้องใช้ดุลยพินิจที่จำเป็นในการประมาณการรายได้ ความไม่แน่นอน เพื่องบการเงินแสดงจำนวนที่สูงหรือต่ำจนเกินไป นอกจากนี้ ข้อมูลในงบการเงินที่เชื่อถือได้ต้องครบถ้วน ภายใต้ข้อจำกัดของความมีนัยสำคัญ และต้อทุนในการจัดทำ
เหตุการณ์ที่มีนัยสำคัญ หมายถึง เหตุการณ์ซึ่งถ้าหากผู้ที่เกี่ยวข้องไม่มีโอกาสรับทราบแล้วอาจจะตัดสินผิดไปในกรณีที่รับทราบ ในทางปฏิบัติความมีนัยสำคัญของรายการมักจะกำหนดโดยคิดเทียบเป็นร้อยละของสินทรัพย์ หนี้สิน หรือกำไรสุทธิ แล้วแต่กรณี
2.4 การเปรียบเทียบกันได้
ผู้ใช้งบการเงินต้องสามารถเปรียบเทียบงบการเงินของกิจการในรอบระยะเวลาต่างกัน เพื่อคาดคะเนถึงแนวโน้มของฐานะการเงิน และผลการดำเนินงานของกิจการนั้น และต้องสามารถเปรียบเทียบงบการเงินระหว่างกิจการเพื่อประเมินฐานะการเงิน ผลการดำเนินงาน และการเปลี่ยนแปลงฐานะการเงิน โดยผู้ใช้งบการเงินต้องได้รับข้อมูลเกี่ยวกับนโยบายการบัญชีที่ใช้ในการจัดทำงบการเงิน รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชี และผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวด้วย
อย่างไรก็ตาม แม้มาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 1 จะถูกยกเลิกแล้ว แต่ในเนื้อหาบางส่วนโดยเฉพาะข้อสมมติขั้นมูลฐาน ยังเป็นสิ่งจำเป็นที่ผู้ศึกษาวิชาการบัญชีต้องทำความเข้าใจ

URL:http://knowledge.eduzones.com/knowledge-2-10-29462.html

ข้อสมมติฐานทางการบัญชี คือ สิ่งที่นักบัญชีกำหนดขึ้น เป็นเสมือนกติกาขั้นพื้นฐานในการพัฒนาหลักการบัญชี การทำความเข้าใจในข้อสมมติฐานต่างๆ จึงเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการตอบคำถามค่ะว่า “ทำไมนักบัญชีจึงมีแนวทางปฏิบัติทางบัญชีในแต่ละเรื่องดังที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบัน” ตัวอย่างของข้อสมมติฐานทางบัญชี เช่น

– หลักราคาต้นทุน

– หลักความระมัดระวัง

– หลักการจับคู่รายได้ และค่าใช้จ่าย

– หลักเกณฑ์เงินค้าง

ดังนั้นเมื่อเกิดปัญหาในวิธีปฎิบัติทางบัญขี จึงควรคำนึงถึงหลักเกณฑ์ต่างๆ

ดังกล่าวข้างต้นประกอบการพิจารณาก่อนกำหนดแนวทางการตัดสินใจต่อไป สิ่งที่ขัดแย้งกับข้อสมมติฐานดังกล่าวย่อมไม่ใช้วิธีปฎิบัติที่ถูกต้องตามหลักการบัญชี การทำความเข้าใจในข้อสมมติฐานทางบัญชีจึงเป็นเรื่องสำคัญต่อผู้มีหน้าที่ในการจัดทำบัญชี และผู้ใช้ข้อมูลทางบัญชีเพื่อการบริหารธุรกิจและการตัดสินใจ แม้หลักการบัญชีเช่น การคิดค่าเสื่อมราคาสินทรัพย์ถาวรจะมีวิธีการปฎิบัติซึ่งเป็นที่ยอมรับมากกว่าหนึ่งวิธี แต่เหตุผลเบื้องหลังแนวความคิดดังกล่าวย่อมพัฒนามาจากข้อสมมติฐานที่เกี่ยวข้อง เช่น หลักการจับคู่รายได้กับค่าใช้จ่าย เป็นต้น

เป็นประเด็นที่นักบัญชีหลายคนอาจมองข้ามไป โดยเน้นพุ่งประเด็น ด้วยการไปมองที่มาตรฐานการบัญชี และการรายงานทางการเงินเป็นหลัก ซึ่งหัวใจสำคัญของการจัดทำบัญชีที่นักบัญชีควรศึกษาก็คือ แม่บทการบัญชี ซึ่งถือได้ว่าการที่นักบัญชีเข้าใจถึงแม่บทการบัญชี ก็คือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีของการศึกษามาตรฐานการบัญชี และยังเป็นจุดเชื่อมโยงเรื่องราวของมาตรฐานการบัญชี เพื่อที่จะทำให้เกิดความเข้าใจ และปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้อง

ข้อสมมติฐานทางการบัญชี แม่บทการบัญชี ได้มีการปรับปรุงพร้อมกับมาตรฐานการบัญชี และมาตรฐานรายงานทางการเงิน จากที่ผ่านมาได้มีการปรับเปลี่ยน เพื่อให้การรายงานทางการเงินเกิดมีความน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น โดยข้อสมมติฐานที่ได้พูดถึงในแม่บทการบัญชีนั้น ประกอบไปด้วย เกณฑ์คงค้าง ซึ่งตามแม่บทการบัญชี คือ รายการ และเหตุการณ์ทางบัญชีที่จะรับรู้ได้ เมื่อเกิดเหตุ การณ์ที่มิใช่เมื่อมีการรับหรือจ่ายเงินสด หรือเป็นรายการเทียบเท่าเงินสด ซึ่งรายการทางบัญชีนั้น จะถูกบันทึกบัญชีไว้ตามงวดบัญชีที่เกี่ยวข้อง

ซึ่งอาจมีการสอดคล้องกับงบการเงินที่จะต้องจัดทำตามหลักเกณฑ์คงค้าง เมื่อนักบัญชีหลงลืมแม่บทการบัญชี นักบัญชีที่หลงลืมแม่บทการบัญชี อาจจะทำให้มีความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนเกี่ยวกับเกณฑ์คงค้าง และยังรวมถึงเกณฑ์สิทธิ โดยคิดว่ามันคือหลักเกณฑ์เดียวกัน เพราะอาจจะเห็นว่าภาษาอังกฤษที่ใช้ว่า Accrual Basis เหมือนกัน แต่ความจริงแล้วมันคนละตัว ซึ่งเกณฑ์คงค้าง เป็นหลักเกณฑ์รับรู้ทางบัญชีในการคำนวณเรื่องกำไรขาดทุนทางบัญชี ด้วยการคิดคำนวณตามวิธีการรับรู้รายได้ และค่าใช้จ่ายที่เป็นไปตามมาตรฐานการบัญชีที่เกี่ยวข้อง แต่การเกณฑ์สิทธิ เป็นเกณฑ์การรับรู้ทางภาษี ซึ่งสำหรับการคำนวณกำไรเพื่อเสียภาษีเงินได้หรือนิติบุคคล ส่วนใหญ่จะคิดคำนวณตามหลักเกณฑ์การยอมรับเป็นรายได้หรือรายจ่ายที่เกิดขึ้นตามประมวลรัษฎากร การดำเนินงานต่อเนื่อง การดำเนินงานต่อเนื่องหรือ Going Concern ซึ่งข้อสมมติฐานการบัญชีนี้เป็นหลักการทั่วไปที่สามารถเห็น หรือบอกได้ว่ารายการที่แสดงในงบการเงิน ได้ถูกจัดทำขึ้นตามข้อสมมติฐานที่ว่ากิจการนั้นจะดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง และดำรงอยู่ต่อไปในอนาคต

แต่ในกรณีที่กิจการมีเจตนาหรือความจำเป็นที่จะใช้หลักเกณฑ์อื่นแทนนั้น ก็สามารถทำได้ แต่จะต้องเปิดเผยหลักเกณฑ์นั้นในงบการเงินด้วย สิ่งสำคัญที่นักบัญชีควรต้องทำความเข้าใจ หลักการรับรู้รายการตามที่แม่บทการบัญชีกำหนด ซึ่งการรับรู้รายการของสินทรัพย์ ควรรับรู้ในงบแสดงฐานะการเงิน

โดยจะต้องมีเงื่อนไขว่า มีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่ ที่กิจการจะได้ประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคต และมีราคาทุน หรือมีมูลค่าที่สามารถวัดได้อย่างน่าเชื่อถือ ส่วนการรับรู้รายการของหนี้สิน คือ ควรรับรู้ในงบแสดงฐานะการเงิน โดจะต้องมีเงื่อน ไขว่า มีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่ที่กิจการจะสูญเสียประโยชน์เชิงเศรษฐกิจของทรัพยากร เพื่อเป็นการชำระภาระผูกพันในปัจจุบัน และจะต้องสามารถวัดได้อย่างน่าเชื่อถือ นอกจากนี้จะต้องรับรู้รายได้และการรับรู้ค่าใช้จ่าย เพื่อให้รับรู้ในงบกำไรขาดทุน เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของสินทรัพย์หรือลดลงของหนี้สินรวมถึงการรับรู้ในงบกำไรขาดทุนอีกด้วย

ข้อ สมมุติฐาน ทางการ บัญชี มี กี่ ข้อ

สมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทย ได้กำหนดข้อสมมุติทางการบัญชีไว้ในแม่บทการบัญชี 2 ข้อ คือ เกณฑ์คงค้าง

ข้อสมมติทางบัญชีที่กําหนดไว้ในข้อกําหนดสมมติของงบการเงินคืออะไร

ข้อสมมติในการจัดทํางบการเงินอีกข้อหนึ่ง คือ สมมติว่ากิจการที่ตั้งขึ้นมาแล้ว ย่อมมีวัตถุประสงค์ จะดําเนินงานต่อเนื่องไปเรื่อย ๆ โดยไม่สิ้นสุด ไม่มีความตั้งใจที่จะเลิกกิจการ และในการดําเนินงานนั้นนาน เพียงพอที่จะปฏิบัติตามแผนงาน และข้อผูกพันต่าง ๆ ที่ได้ผูกพันไว้จนกว่าจะเสร็จ

การบัญชีมีความหมายว่าอย่างไร

การบัญชี หมายถึง การจดบันทึกรายการค้าต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการรับ – จ่ายเงิน สิ่งของ และสิทธิที่มีมูลค่าเป็นเงินไว้ในสมุดบัญชีอย่างสม่ำเสมอ เป็นระเบียบถูกต้องตามหลักการ และสามารถแสดงผลการดำเนินงานและฐานะการเงินของกิจการในระยะเวลาหนึ่งได้

การบัญชีมีอะไรบ้าง

การบัญชี หมายถึง กระบวนการจัดการในส่วนของบันทึกรายการทางการค้า ได้แก่ การเขียนบันทึกรายการทางการค้า การจำแนกแยกประเภทหมวดหมู่ทางการค้า การสรุปผลการดำเนินงาน รวมไปถึงการวิเคราะห์และการแปลความหมายข้อมูลของนักบัญชี