พระ ราช กรณียกิจ ของ พ่อขุน ราม คํา แห่ง มี อะไร บ้าง

แบบทดสอบก่อน-หลังเรียน เรื่อง ๖ บุคคลตัวอย่างในประเทศไทยที่มีส่วนสร้างสรรค์และพัฒนาชาติไทย

หน่วยการเรียนรู้ที่ ๕ รายวิชาสังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม ชั้น ม.๔ เรื่อง บุคคลตัวอย่างในประเทศไทยที่มีส่วนสร้างสรรค์และพัฒนาชาติไทย รวบรวมโดย คุณครูประภาพร พลไชย

ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกที่สุดเพียงข้อเดียว

ชื่อเรื่อง:

พระราชกรณียกิจของพ่อขุนรามคำแหงในการก่อตั้งสถาบันการปกครองของชาติไทย

ผู้แต่ง:

สุทัศน์ สิริสวย

ผู้ควบคุมงานวิจัย:

ชุบ กาญจนประกร, อาจารย์ที่ปรึกษา

ชื่อปริญญา:

รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต

ระดับปริญญา:

ปริญญาโท

สาขาวิชา:

รัฐประศาสนศาสตร์

คณะ/หน่วยงาน:

คณะรัฐประศาสนศาสตร์

หน่วยงานที่ประสาทปริญญา:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

วันที่เผยแพร่:

2509

หน่วยงานที่เผยแพร่:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

บทคัดย่อ/เนื้อเรื่องย่อ:

วัตถุประสงค์ของวิทยานิพนธ์นี้เพื่อศึกษาพระราชกรณียกิจของพ่อขุนรามคำแหงในแง่ของการบริหารโดยศึกษาถึงกระบวนการต่าง ๆ ที่จะรักษาเอกราช ด้วยการสร้างสถาบันทางการปกครองขึ้นมาจนประชาชาติไทยมีลักษณะเป็นประเทศไทยโดยสมบูรณ์
จากการศึกษาวิเคราะห์ ผู้เขียนได้สรุปพระราชกรณียกิจของพ่อขุนรามคำแหงออกเป็น 4 ด้านด้วยกัน คือ ด้านการทหาร ด้านการปกครอง และการเมือง ด้านการเศรษฐกิจ และด้านการสังคมและวัฒนธรรม ในการปฏิบัติตามนโยบายการรักษาเอกราชของชาตินั้น ทางด้านการทหารนอกจากจะเตรียมเพื่อป้องกันประเทศแล้วยังต้องเตรียมเพื่อขยายอาณาเขตออกไปเพื่อความเป็นปึกแผ่นอีกด้วย พระองค์ได้จัดระบบเมืองหลวงและเมืองลูกหลวง วางระบบการปกครองทหารและพลเรือนเพื่อสะดวกในการคุมกำลัง ในด้านการก่อตั้งสถาบันทางการเมืองและทางสังคมพ่อขุนรามคำแหงได้สร้างรากฐานการปกครองระบอบประชาธิปไตยขึ้นในเมืองไทย เมื่อ พ.ศ.1836 อำนาจบัญญัติเป็นอำนาจในการออกกฎหมาย พระองค์มิได้ทรงออกกฎหมายเอง แต่ได้ทรงปรึกษาหารือกับประชาชน อำนาจในการบริหารพระองค์ก็ทรงบริหารผ่านลูกเจ้าลูกขุนหรือทั้งเชื้อพระวงศ์และขุนนาง อำนาจในทางตุลาการ พระองค์ทรงเป็นตุลาการหรือศาลสูงสุดใครจะมาเรียกไปชำระความเมื่อใดก็ได้ ด้านการเศรษฐกิจ พระองค์ทรงส่งเสริมการค้า ให้เสรีภาพ ใครจะค้าอะไรก็ได้ไม่ห้าม ทั้งยังไม่ต้องเสียภาษีจังกอบเมื่อผ่านด่านอีกด้วย ทรงส่งเสริมการเกษตร ผู้ใดไม่มีทุนก็ให้ขอรับพระราชทานทั้งเงินทองช้างม้าไปตั้งตัว ส่งเสริมการชลประทาน คมนาคม ในด้านสังคมและวัฒนธรรมได้ทรงสร้างความรู้สึกให้คนไทยรักคนไทย วางรากฐานตัวอักษรไทย ให้การศึกษาแก่ประชาชนทั่วไปตลอดจนส่งเสริมการศึกษาในด้านพุทธศาสนาไปด้วย.
ในด้านมรดกตกทอดของสถาบันทางการเมืองและสังคมในปัจจุบัน จะเห็นได้ว่าพระองค์ทรงใช้สติปัญญาก่อประโยชน์แก่ชาติไทยมากมายจนเจริญเป็นปึกแผ่นมาได้ทุกวันนี้ ทรงก่อตั้งราชอาณาจักรไทย ทรงช่วยให้ไทยรักษาเอกราชในทางเศรษฐกิจไว้ได้ ทรงเป็นปราชญ์ในทางอักษรศาสตร์ วรรณคดีไทย สร้างภาษาไทยให้คนไทยมีส่วนเป็นเจ้าของ ส่งเสริมการดนตรี วัฒนธรรม และศาสนา.

รายละเอียดเพิ่มเติม:

วิทยานิพนธ์ (รป.ม.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2509.

หัวเรื่องมาตรฐาน:

ไทย-- ประวัติศาสตร์-- กรุงสุโขทัย-- พ่อขุนรามคำแหงมหาราช, 1821-1860.

ประเภททรัพยากร:

วิทยานิพนธ์

ความยาว:

141 หน้า.

ชนิดของสื่อ:

Text

รูปแบบแฟ้มข้อมูล:

application/pdf

ภาษา:

tha

สิทธิในการใช้งาน:

ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)

URI:

http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/1168

พระราชประวัติ พ่อขุนรามคำแหงมหาราช

หมวดหมู่ : แฟ้มบุคคล Tags: พระมหากษัตริย์ อาณาจักรสุโขทัย

พระ ราช กรณียกิจ ของ พ่อขุน ราม คํา แห่ง มี อะไร บ้าง

พ่อขุนรามคำแหงมหาราช

พระราชประวัติ พ่อขุนรามคำแหงมหาราช พระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 3 แห่งอาณาจักรสุโขทัย

พระนามลำลอง / พระนามอื่น พระบาทกมรเตงอัญศรีรามราช, พระรามคำแหง, พญาร่วง
อาณาจักร/ราชวงศ์ สุโขทัย ราชวงศ์พระร่วง
พระราชสมภพ ไม่ปรากฏชัด แต่อยู่ระหว่าง พ.ศ. 1780-1790
พระราชบิดา พ่อขุนศรีอินทราทิตย์
พระราชมารดา พระนางเสือง
พระมเหสี ไม่ปรากฏพระนาม
พระราชโอรส/ธิดา พระยาเลอไทย
เสด็จขึ้นครองราชย์ พ.ศ. 1822
พระราชกรณียกิจ 1. ทรงประดิษฐ์อักษรไทย โดยใช้ชื่อว่า ลายสือไทย
2. พัฒนาการเมืองการปกครองในแบบพ่อปกครองลูก
3. พัฒนาระบบการค้าขายแบบเสรี
4. ทะนุบำรุงพุทธศาสนาให้รุ่งเรือง
5. ทรงขยายอาณาเขตของอาณาจักรสุโขทัยจนกว้างไกลรอบทิศ
6. ทรงขยายความสัมพันธ์ระหว่างอาณาจักรออกไป โดยพระองค์ทรงเป็นมิตรกับพ่อขุนเม็งรายมหาราชแห่งอาณาจักรล้านนา และพ่อขุนงำเมืองแห่งเมืองพะเยา
7. ทรงสร้างหลักศิลาจารึก เพื่อเก็บรวบรวมศิลปะและวิทยาการ รวมถึงเรื่องราวต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น
สวรรคต พ.ศ. 1841
ระยะเวลาครองราชย์ 19 ปี
รัชกาลก่อนหน้า พ่อขุนบานเมือง
รัชกาลถัดไป พระยาเลอไทย
เกร็ดความรู้ พ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงเป็นพระมหากษัตริย์ลำดับที่ 3 ของอาณาจักรสุโขทัย และในรัชสมัยของพระองค์นั้น อาณาจักรสุโขทัยมีความเจริญรุ่งเรืองในทุก ๆ ด้านจนถึงขีดสุด พระนาม “รามคำแหง” ได้มาเมื่อครั้งพระชามายุ 19 ชันษา ทรงกระทำยุทธหัตถีเอาชนะเจ้าสามชน เจ้าเมืองฉอด ได้ พระบิดา (พ่อขุนศรีอินทราทิตย์) จึงทรงตั้งพระนามนี้ให้ มีความหมายว่า พระรามผู้กล้าหาญ

-------------- advertisements --------------

-------------- advertisements --------------

Comments

พระราชกรณียกิจที่สำคัญของพ่อขุนรามคำแหงมีอะไรบ้าง

พระราชกรณียกิจ.
ราษฎรสามารถค้าขายได้โดยเสรี เจ้าเมืองไม่เรียกเก็บจังกอบหรือภาษีผ่านทาง.
ผู้ใดล้มตายลง ทรัพย์มรดกก็ตกแก่บุตร.
หากผู้ใดไม่ได้รับความเป็นธรรมในกรณีพิพาท ก็มีสิทธิไปสั่นกระดิ่งที่แขวนไว้หน้าประตูวังเพื่อถวายฎีกาต่อพระมหากษัตริย์ได้ พระองค์ก็จะทรงตัดสินด้วยพระองค์เอง.

พ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงประกอบพระราชกรณียกิจที่สำคัญกับประเทศชาติอย่างไร

พ่อขุนรามคำแหงมหาราช พระมหากษัตริย์แห่งราชวงศ์พระร่วง กรุงสุโขทัย ทรงทำนุบำรุงปกครองบ้านเมืองด้วยพระเมตตาธรรมต่อไพร่ฟ้า อาณาประชาราษฎร์ทรงสร้างสรรค์มรดกทางศิลปะและวัฒนธรรมที่สำคัญๆ ของชาติไว้อย่างอเนกอนันต์มรดกของชาติที่สำคัญที่สุดก็คือ พ่อขุนรามคำแหงมหาราชได้ทรงคิดประดิษฐ์อักษรไทยขึ้นเมื่อประมาณปีพุทธศักราช 1826 อัน ...

พ่อขุนรามคำแหงมีคุณธรรมในด้านใดบ้าง

- ใช้วิธีการปกครองแบบพ่อปกครองลูก ทรงเป็น “พ่อ” ที่มีคุณธรรม ใช้หลักการปกครองในปรัชญาพุทธศาสนา ทำให้เป็นที่รักของประชาชน - ทรงให้แขวนกระดิ่งไว้ที่หน้าประตูเมืองเพื่อให้พระชาชนสั่นกระดิ่งร้องทุกข์ - ทรงตัดสินคดีความด้วยพระองค์เองด้วยความสัตย์ ให้ความยุติธรรมเท่าเทียมกันทุกชนชั้น

พ่อขุนรามคำแหงมีความสำคัญอย่างไร

พ่อขุนรามคำแหงมหาราช ทรงรวมเป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงอัจฉริยภาพทั้งด้านการปกครอง เศรษฐกิจ ศาสนาและศิลปวิทยาต่างๆ ที่สำคัญยิ่งคือพระองค์ได้ทรงประดิษฐ์อักษรไทยขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ. ๑๘๒๖ ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของอักษรไทยที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน