ผู้บริโภคปฐมภูมิ มีอะไรบ้าง

     ฐานของพีระมิดมวลชีวภาพ ซึ่งเป็นทุ่งหญ้านั้นมีประมาณหญ้าหลาย 1,000 กิโลกรัม เมื่อขยับขั้นมาในระดับผู้บริโภคขั้นที่ 1 (กระต่าย) มวลชีวภาพของกระต่ายซึ่งมีหลาย 100 กิโลกรัม จะมีปริมาณน้อยกว่าหญ้า แต่เมื่อขยับขั้นสูงขึ้นมาอีกเป็นระดับผู้บริโภคขั้นที่ 2 (งู) มวลชีวภาพของงูก็น้อยลงไปอีก ซึ่งอาจมีประมาณ 150 กิโลกรัม และมวลชีวภาพขั้นสุดท้าย ซึ่งเป็นเหยี่ยวนั้น มีเพียงประมาณ 5 กิโลกรัม ดังนั้นการถ่ายทอดพลังงานในแต่ละขั้นของลำดับขั้นอาหารนั้น จะพบว่าจากผู้ผลิตไปยังผู้บริโภคแต่ละขั้นนั้น พลังงานจะถูกถ่ายทอดไปเพียงประมาณ 10 % หมายความว่า ถ้ากระต่ายกินหญ้าไป 100 กิโลกรัม กระต่ายจะมีน้ำหนักเพิ่มเพียง 10 กิโลกรัม เท่านั้น โดยพลังงานส่วนที่เหลือประมาณ 90% จะถูกใช้ไปในการดำรงชีวิตของกระต่าย และบางส่วนจะถูกเปลี่ยนเป็นพลังงานความร้อน

สิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศต้องการอาหารเพื่อการดำรงชีวิต บางชนิดมีบทบาทในการสร้างอาหาร บางชนิดกินสิ่งมีชีวิตอื่นเป็นอาหาร และบางชนิดเป็นผู้ย่อยสลายซากสิ่งมีชีวิต บทบาทของสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศจะมีอะไรบ้างนั้น มาดูกันเลย!!

ผู้บริโภคปฐมภูมิ มีอะไรบ้าง

1) ผู้ผลิต (producer) => สิ่งมีชีวิตที่สามารถสร้างอาหารได้เอง โดยใช้กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง ได้แก่ พืช สาหร่าย และแบคทีเรียบางชนิด

2) ผู้บริโภค (consumer) => สิ่งมีชีวิตที่ไม่สามารถสร้างอาหารได้เอง ต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นเป็นอาหาร เช่น มนุษย์ สัตว์ต่าง ๆ ซึ่งถ้าพิจารณาอาหารที่ผู้บริโภคกิน จะสามารถแบ่งกลุ่มผู้บริโภคออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่
2.1 สิ่งมีชีวิตกินพืช (herbivore) เช่น วัว ช้าง
2.2 สิ่งมีชีวิตกินสัตว์ (carnivore) เช่น เสือดาว สิงโต
2.3 สิ่งมีชีวิตกินพืชและสัตว์ (omnivore) เช่น ไก่ มนุษย์
2.4 สัตว์กินซาก (scavenger) เช่น แร้ง

3) ผู้ย่อยสลายสารอินทรีย์ (decomposer) => ดำรงชีวิตโดยผลิตเอนไซม์ออกมาย่อยสลายซากสิ่งมีชีวิตให้เป็นสารอาหารที่มีขนาดโมเลกุลเล็กลง แล้วดูดซึมสารอาหารไปใช้เพียงบางส่วน ส่วนที่เหลือจะอยู่ในสิ่งแวดล้อม ซึ่งผู้ผลิตสามารถนำไปใช้ในการดำรงชีวิตต่อไป เช่น เห็ดรา แบคทีเรีย


รู้หรือไม่? ผู้ย่อยสลายสารอินทรีย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีบทบาทสำคัญในการทำให้เกิดการหมุนเวียนของสารเป็นวัฏจักรได้ เช่น วัฏจักรคาร์บอน

เริ่มจากพืชใช้แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์จากบรรยากาศในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงเพื่อสร้างสารประกอบอินทรีย์ซึ่งมีคาร์บอนเป็นองค์ประกอบ เช่น คาร์โบไฮเดรต ไขมัน โปรตีน เก็บไว้ในส่วนต่าง ๆ ของพืช

เมื่อสิ่งมีชีวิตอื่นมากินพืช สารประกอบอินทรีย์ที่มีคาร์บอนนี้จะถูกถ่ายทอดไปตามลำดับขั้นของการบริโภค หลังจากสิ่งมีชีวิตตายลง บางส่วนจะถูกย่อยสลายโดยผู้ย่อยสลายสารอินทรีย์ ส่วนที่ไม่ถูกย่อยสลายจะทับถมกันเป็นเวลานานภายใต้สภาวะที่เหมาะสมและเปลี่ยนเป็นเชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์ เช่น ถ่านหิน ปิโตรเลียม

การหายใจของสิ่งมีชีวิตและการเผาไหม้ของเชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์ทำให้เกิดแก๊สคาร์บอนไดออกไชด์กลับคืนสู่บรรยากาศ ซึ่งพืชจะนำไปใช้ในการสังเคราะห์ด้วยแสง จึงเกิดการหมุนเวียนต่อเนื่องเป็นวัฏจักร นอกจากวัฏจักรคาร์บอนแล้ว ยังมีวัฏจักรสารที่สำคัญอื่น ๆ อีก เช่น วัฏจักรน้ำ วัฏจักรไนโตรเจน วัฏจักรฟอสฟอรัส


เรียนรู้เพิ่มเติมเรื่องระบบนิเวศ
1) สื่อการเรียนรู้ออนไลน์ Project 14
– องค์ประกอบของระบบนิเวศ https://www.youtube.com/watch?v=6oMFy18U6Gg
– การถ่ายทอดพลังงานในระบบนิเวศ https://www.youtube.com/watch?v=vgDwaxck7tc
2) รายการเรียนสอนออนไลน์
– องค์ประกอบของระบบนิเวศ https://www.facebook.com/watch/?v=121234103188733
– การถ่ายทอดพลังงานในระบบนิเวศ https://www.facebook.com/watch/?v=3631700100281645
– การสะสมสารพิษในสิ่งมีชีวิต https://www.facebook.com/ipst.thai/posts/3763855883650772
– รูปแบบความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิต https://www.facebook.com/ipst.thai/posts/3779773525392341

  • Facebook iconFacebook
  • Twitter iconTwitter
  • LINE iconLine

บทบาทของสิ่งมีชีวิต ระบบนิเวศ

ระบบนิเวศทุก ๆ ระบบจะมีโครงสร้างที่กำหนดโดยชนิดของสิ่งมีชีวิตเฉพาะอย่าง ที่อยู่ในระบบนั้น ๆ โครงสร้างประกอบด้วยจำนวนและชนิดของสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ เหล่านี้ และการกระจายตัวของมันถึงแม้ว่าระบบนิเวศบนโลกจะมีความหลากหลายแต่มีโครงสร้างที่คล้ายคลึงกันคือ ประกอบไปด้วยส่วนสำคัญ 2 ส่วนคือ

  1. ส่วนประกอบที่ไม่มีชีวิต (Abiotic component) แบ่งได้เป็น 3 ประเภท คือ
  2. 1.1 อนินทรียสาร เช่น คาร์บอนไนโตรเจน คาร์บอนไดออกไซด์ น้ำและออกซิเจน เป็นต้น1.2 อินทรียสาร เช่น โปรตีน คาร์โบไฮเดรต และฮิวมัส เป็นต้น1.3 สภาพแวดล้อมทางกายภาพ เช่น แสง อุณหภูมิ ความเป็นกรดเป็นด่าง ความ เค็มและความชื้น เป็นต้น
  3. ส่วนประกอบที่มีชีวิต (Biotic component) แบ่งออกได้เป็น
  4. 2.1 ผู้ผลิต (producer) คือ พวกที่สามารถนำเอาพลังงานจากแสงอาทิตย์มาสังเคราะห์ อาหารขึ้นได้เอง จากแร่ธาตุและสารที่มีอยู่ตามธรรมชาติ ได้แก่ พืชสีเขียว แพลงค์ตอนพืช และแบคทีเรียบางชนิด พวกผู้ผลิตนี้มีความสำคัญมาก เพราะเป็นส่วนเริ่มต้นและเชื่อมต่อระหว่างส่วนประกอบที่ไม่มีชีวิตกับส่วนที่มีชีวิตอื่น ๆ ในระบบนิเวศ2.2 ผู้บริโภค (consumer) คือ พวกที่ได้รับอาหารจากการกินสิ่งที่มีชีวิตอื่น ๆ อีกทอด หนึ่งได้แก่พวกสัตว์ต่าง ๆ แบ่งได้เป็น
    ผู้บริโภคปฐมภูมิ มีอะไรบ้าง
     ผู้บริโภคปฐมภูมิ (primary consumer) เป็นสิ่งมีชีวิตที่กินพืชเป็นอาหาร เช่น กระต่าย วัว ควาย และปลาที่กินพืชเล็ก ๆ ฯลฯ
    ผู้บริโภคปฐมภูมิ มีอะไรบ้าง
     ผู้บริโภคทุติยภูมิ (secondary consumer) เป็นสัตว์ที่ได้รับอาหารจากการกินเนื้อสัตว์ที่ กินพืชเป็นอาหาร เช่น เสือ สุนัขจิ้งจอก ปลากินเนื้อ ฯลฯ
    ผู้บริโภคปฐมภูมิ มีอะไรบ้าง
     ผู้บริโภคตติยภูมิ (tertiauy consumer) เป็นพวกที่กินทั้งสัตว์กินพืช และสัตว์กินสัตว์ นอกจากนี้ยังได้แก่สิ่งมีชีวิตที่อยู่ในระดับขั้นการกินสูงสุดซึ่งหมายถึงสัตว์ที่ไม่ถูกกินโดยสัตว์อื่น ๆ ต่อไป เป็นสัตว์ที่อยู่ในอันดับสุดท้ายของการถูกกินเป็นอาหาร เช่น มนุษย์2.3 ผู้ย่อยสลาย (decomposer) เป็นพวกไม่สามารถปรุงอาหารได้ แต่จะกินอาหารโดย การผลิตเอนไซน์ออกมาย่อยสลายแร่ธาตุต่าง ๆ ในส่วนประกอบของสิ่งที่มีชีวิตให้เป็นสารโมเลกุลเล็กแล้วจึงดูดซึมไปใช้เป็นสารอาหารบางส่วน ส่วนที่เหลือปลดปล่อยออกไปสู่ระบบนิเวศ ซึ่งผู้ผลิตจะสามารถเอาไปใช้ต่อไป จึงนับว่าผู้ย่อยสลายเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้สารอาหารสามารถหมุนเวียนเป็นวัฏจักรได้

ข้อใดจัดเป็นผู้บริโภคตติยภูมิ (Tertiary Consumer)

- ผู้บริโภคตติยภูมิ (tertiary consumers) เป็นสิ่งมีชีวิตที่กินทั้งสัตว์กินพืชและสัตว์กินสัตว์หรือพวกที่กินทั้งพืชและสัตว์เป็นอาหาร (omnivore) เช่น ปลาฉลาม เต่า เสือ คน เป็นต้น

เสือเป็นผู้บริโภคขั้นใด

- ผู้บริโภคทุติยภูมิ (secondary consumer) เป็นสัตว์ที่ได้รับอาหารจากการกินเนื้อสัตว์ ที่กินพืชเป็นอาหาร เช่น เสือ สุนัขจิ้งจอก ปลากินเนื้อ ฯลฯ รูปที่ 5.12 ผู้บริโภคทุติภูมิ - ผู้บริโภคตติยภูมิ (tertiary consumer) เป็นพวกที่กินทั้งสัตว์กินพืช และสัตว์กินสัตว์

สิ่งมีชีวิตที่เป็นผู้บริโภคขั้นที่ 1 มีกี่ชนิด อะไรบ้าง

- ผู้บริโภคพืช (herbivore) ถือเป็นผู้บริโภคลำดับที่หนึ่ง เช่น กระต่าย วัว ควาย ม้า กวาง ช้าง เป็นต้น - ผู้บริโภคสัตว์ (carnivore) ถือเป็นผู้บริโภคลำดับที่สอง เช่น เหยี่ยว เสือ งู เป็นต้น - ผู้กินทั้งพืชและสัตว์ (omnivore) ถือเป็นผู้บริโภคลำดับที่สาม เช่น ไก่ นก แมว สุนัข คน เป็นต้น

Consumer มีอะไรบ้าง

2) ผู้บริโภค (consumer) => สิ่งมีชีวิตที่ไม่สามารถสร้างอาหารได้เอง ต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นเป็นอาหาร เช่น มนุษย์ สัตว์ต่าง ๆ ซึ่งถ้าพิจารณาอาหารที่ผู้บริโภคกิน จะสามารถแบ่งกลุ่มผู้บริโภคออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่ 2.1 สิ่งมีชีวิตกินพืช (herbivore) เช่น วัว ช้าง 2.2 สิ่งมีชีวิตกินสัตว์ (carnivore) เช่น เสือดาว สิงโต