งานในอุตสาหกรรมการบิน มีอะไรบ้าง

สาระดีๆมีมาฝากกันเป็นประจำ สำหรับสัปดาห์นี้ จะพามาทำความรู้จักกับ 5 อาชีพสุดปังในสายงานธุรกิจด้านการบิน ว่าแต่เคยสงสัยบ้างไหมว่า เมื่อเราเรียนการจัดการธุรกิจด้านการบิน จบมาแล้วทำงานอะไรได้บ้าง วันนี้จะพามาไขคำตอบกับ  อาจารย์รังสีจันท์ สุวรรณสทิศกร หัวหน้าสาขาวิชาการจัดการธุรกิจด้านการบิน คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยศรีปทุม กันนะครับ!!

งานในอุตสาหกรรมการบิน มีอะไรบ้าง
งานในอุตสาหกรรมการบิน มีอะไรบ้าง

อ.รังสีจันท์ สุวรรณสทิศกร กล่าวว่า สำหรับอาชีพของคนที่เรียนจบทางด้านการจัดการธุรกิจการบินนั้นมีมากมาย แต่วันนี้จะพามาทำความรู้จักกับ 5 อาชีพสุดปังในสายงานธุรกิจด้านการบิน!

  1. พนักงานต้อนรับภาคพื้นดิน (Ground/ Airport Station Attendant)

ต้อนรับและดูแลอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้โดยสารภายในสนามบิน ตั้งแต่เข้ามาใช้บริการของสายการบินจนส่งผู้โดยสารขึ้นเครื่องบิน อาจแบ่งหน้าที่ไปตามพื้นที่ต่างๆของสนามบินเช่น เคาน์เตอร์เช็คอิน ประตูขึ้นเครื่อง หรือ ห้องรับรองพิเศษ เป็นต้น

  1. พนักงานอำนวยการบิน (Flight Dispatcher)

การวางแผนเส้นทางการบิน คำนวณเชื้อเพลิง จุดพักระยะการบิน สภาพอากาศและการวางแผนเส้นทางสำรองเมื่อเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดเกิดขึ้น

  1. พนักงานหรือเจ้าหน้าที่สายบริหาร (Airline Administrative Support)

ทำหน้าที่สนับสนุการทำงานได้แก่ ฝ่ายการตลาดของสายการบินทำหน้าที่ออกโปรโมชั่น การส่งเสริมการขาย หรือ ฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ที่ทำหน้าที่ดูแลการจ้างงาน และผลประโยชน์/ผลตอบแทนของพนักงานทุกแผนกในสายการบิน

  1. เจ้าหน้าที่จำหน่ายบัตรโดยสารและสำรองที่นั่งเครื่องบิน (Ticketing and Reservation Agent)

ทำการขายตั๋วหรือเปลี่ยนแปลงเที่ยวบินและวันเดินทางให้แก่ผู้โดยสาร สำรองที่นั่งให้ผู้โดยสาร การระบุความช่วยเหลือพิเศษในวันเดินทาง เช่น การขอรถเข็น การขออาหารพิเศษตามหลักศาสนาหรือข้อจำกัดด้านสุขภาพ หรือแม้กระทั่งการขอคืนเงินกรณีเดินทางไม่ได้

  1. เจ้าหน้าที่ฝ่ายการพาณิชย์สินค้าและไปรษณียภัณฑ์ (Cargo Service)

คัดแยก บรรจุ และคัดเลือกเที่ยวบินในการจัดส่ง วางแผนการบรรจุหีบห่อให้ได้ขนาดของห้องโดยสาร เพื่อให้ขนส่งสินค้าได้มากที่สุด

ตอบ : จบมาทำงานเป็นพนักงานบริการและต้อนรับบนเครื่องบิน พนักงานบริการและต้อนรับภาคพื้นดิน, เจ้าหน้าที่ฝ่ายขนส่งสินค้าทางอากาศ, เจ้าหน้าที่แผนกคลังสินค้าทางอากาศกรมการขนส่งทางอากาศ, เจ้าหน้าที่ในองค์การ ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจสายการบิน เช่น บริษัทการท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย จำกัด (มหาชน), กรมศุลกากร สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย, เจ้าหน้าที่แผนกสำรองที่นั่งและจัดจำหน่ายบัตรโดยสารของบริษัทตัวแทนการท่องเที่ยว และอีกหลายอาชีพ

____________________________________________________________________________________________________________________________

ถาม : ต้องจบมัธยมปลายสายอะไรถึงเรียนคณะนี้ได้

ตอบ : จะต้องเรียนจบในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 และจบมาจากสายวิทย์-คณิต ศิลป์คำนวณ หรือศิลป์ภาษา  

____________________________________________________________________________________________________________________________

ถาม : ถ้าไม่ได้จบมัธยมปลายแต่จบสายอาชีพ ปวช. ปวส. เข้าเรียนได้ไหม

ตอบ : จบในสายอาชีพ ไม่ว่าจะเป็น ปวช. สาขาช่าง ปวส. ทุกสาขาอาชีพ หรือจะสำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรีแล้วก็ตาม ก็สามารถสมัครเรียนได้เช่นกัน

____________________________________________________________________________________________________________________________

ถาม : อยากเรียนคณะนี้ต้องเตรียมตัวยังไงบ้าง

 ตอบ : ก่อนอื่นเลยเตรียมตัวทางด้านภาษาฝึกฝนภาษาอังกฤษและเรียนรู้ศัพท์เฉพาะสำหรับการบินศึกษาเรื่องการสอบโทอิคและศึกษาคุณสมบัติการสมัครเป็นลูกเรือของแต่ละสายการบิน ดูแลผิวพรรณ รูปร่างให้สมส่วนตามที่สายการบินต้องการ ปรับบุคลิกภาพ ให้ดูดี ดูสง่า มีมารยาทและสุดท้ายตั้งเป้าหมายว่าอยากเข้าสายการบินอะไร
____________________________________________________________________________________________________________________________

ถาม : คณะธุรกิจการบินเรียนอะไรบ้าง?

ตอบ : ในการเรียนแขนงวิชานี้ หลัก ๆ เลยจะเป็นการเรียนธุรกิจเกี่ยวกับการบิน ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจอาหารของสายการบิน การบริการสายการบิน การขนส่งของสายการบิน กฎหมายทางการบิน เป็นต้น

____________________________________________________________________________________________________________________________

ถาม : คณะธุรกิจการบินต้องฝึกงานไหม

ตอบ : สำหรับสาขานี้น้องๆต้องฝึกงานด้วย

____________________________________________________________________________________________________________________________

ถาม : คณะธุรกิจการบินเรียนกี่ปี

ตอบ : น้อง ๆ จะใช้เวลาเรียนทั้งหมด 4 ปี

____________________________________________________________________________________________________________________________

ถาม : คณะนี้ต้องใช้เกดเฉลี่ยเท่าไหร่

ตอบ : แนะนำเป็น 2.75 ขึ้นไป ถ้า 3.00 ขึ้นไปจะยิ่งดีเลย

____________________________________________________________________________________________________________________________

สาขาของคณะธุรกิจการบินมีสาขาไหนบ้างที่น่าสนใจ ?

  สำหรับคณะธุรกิจการบินมีสาขาต่างๆ ดังนี้

1. การจัดการจราจรทางอากาศ


            สาขานี้จะศึกษาด้านการบริหารการจัดการทางจราจรทางอากาศ และสามารถที่จะปฏิบัติงานเป็นผู้ควบคุมการจราจรทางอากาศได้


2. การจัดการการขนส่งสินค้าทางอากาศ


            จะศึกษาด้านการบริหารจัดการ และทักษะการปฏิบัติงานขนส่งสินค้าทางอากาศได้อย่างมีประสิทธิภาพ

3. การจัดการท่าอากาศยาน


            สำหรับสาขานี้จะศึกษาเกี่ยวกับด้านการบริหารและการจัดการท่าอากาศยานสามารถที่จะปฏิบัติงานหรือเป็นผู้บริหารในท่าอากาศยานต่างๆรวมไปถึงการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ในการบริหารจัดการเทคนิคในการปฏิบัติงานเพื่อความปลอดภัยในการท่าอากาศยานและในการเดินอากาศ

4. นักบินพาณิชย์


            สาขานี้จะศึกษาเพื่อเป็นนักบินที่มีคุณภาพตามมาตรฐานสากล เพื่อไปประกอบอาชีพนักบินพาณิชย์ให้เป็นที่ยอมรับของสายการบินนานาชาติ

5. การจัดการเทคโนโลยีการบิน


            ศึกษาการปฏิบัติการ การวางแผน และบริหารจัดการเทคโนโลยีด้านการบิน เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ

6. การจัดการธุรกิจการบิน


            ศึกษาทักษะการประกอบการด้านอุตสาหกรรมการบินและธุรกิจที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ การบริการผู้โดยสารบนเครื่องบิน การบริการภาคพื้นในท่าอากาศยาน การบริการอาหารและเครื่องดื่ม การบริการขนส่งสินค้า ความปลอดภัยในการบิน รวมทั้งธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจการบินอื่น ๆ

คณะนี้เรียนอะไรในแต่ละปี ?

ปี 1

พื้นฐานวิชาชีพ

สำหรับปี 1 เป็นการเรียนพื้นฐานในวิชาชีพธุรกิจการบิน เช่นการจัดการ เศรษฐศาสตร์ การบริการการสื่อสารข้ามวัฒนธรรม ภาษาอังกฤษและพื้นฐานของการใช้ชีวิต เป็นต้นและก็มีไปดูงานบ้าง

ปี 2

วิชาด้านจัดการและบริการ

พอขึ้นปี 2 จะได้เรียนในเรื่องความรู้ด้านกฎหมายที่เกี่ยวกับการบินจะเป็นความรู้วิชาชีพและวิชาเสริม คือ คณิตศาสตร์ ความรู้ทั่วไปด้านการจัดการ เป็นต้น

ปี 3

วิชาด้านการบินลึกมากขึ้น + ฝึกงาน

ในปีนี้จะเจาะลึกเรื่องของความรู้ทางวิชาชีพด้านการบิน เช่น การรักษาความปลอดภัยในสนามบิน การจัดการขนส่งสินค้าบนเครื่องบิน นอกนั้นจะเป็นวิชาเลือกเรียนที่เราสามารถเลือกได้และสำหรับปีนี้น้องจะได้ออกไปฝึกงานด้วยการฝึกงานคณะนี้จะค่อนข้างสำคัญมาก

ปี 4

ปีสุดท้ายก่อนทำงานจริง

สำหรับปีนี้เป็นปีสุดท้ายจะมีวิชาเรียนไม่เยอะเท่าไรแต่วิชาเรียนจะเป็นวิชาขั้นสูง เช่น กลยุทธ์การจัดการสายการบิน วิชาพฤติกรรมของผู้โดยสารและการทำงานวิจัยหรือค้นคว้าเกี่ยวกับงานที่เราสนใจมีเรียนภาษาอังกฤษทุกปีและสำคัญมาก ๆ ในการหางานเรียกได้ว่าเป็นหนึ่งในส่วนที่สำคัญสุดๆ ของคณะนี้เลยคือภาษา

ในสนามบินมีงานอะไรบ้าง

เจ้าหน้าที่ควบคุมการจราจรทางอากาศ (Air Traffic Controller).
นักบินเครื่องบินพาณิชย์ (Airline Pilot).
พนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน (Flight Attendant/Cabin crew/Cabin attendant).
พนักงานบริการภาคพื้น (Ground Attendant/Ground Services/Airport Station Attendant).
วิศวกรซ่อมบำรุงอากาศยาน (Aircraft Maintenance Engineer).

งานภาคพื้นสนามบิน มีอะไรบ้าง

หน้าที่หลักๆ ของพนักงานบริการภาคพื้น (Ground Service Officer) คือ ให้บริการผู้โดยสารภาคพื้นดิน อำนวยความสะดวก ให้ความดูแลเอาใจใส่ ตั้งแต่ขั้นตอนการ Check-in การตรวจรับบัตรโดยสาร (Boarding Pass) และสัมภาระ ไปจนถึงการนำส่งผู้โดยสารขึ้นเครื่องได้ตรงตามเที่ยวบิน ถูกจุดหมายปลายทาง รวมไปถึงการรับ-ส่งเครื่องบิน การเดินเอกสาร ...

อุตสาหกรรมการบิน ทำงานอะไร

พนักงานต้อนรับภาคพื้นของสนามบิน พนักงานออกบัตรโดยสารเครื่องบิน ธุรกิจส่วนตัวด้านอุตสาหกรรมการบินและการบริการ เจ้าหน้าที่ในองค์กรภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจอุตสาหกรรมการบินและการบริการ เช่น เจ้าหน้าที่คลังสินค้า เจ้าหน้าที่ครัวการบิน เจ้าหน้าที่ประจำสำนักงานในสนามบิน เจ้าหน้าที่บริษัทการท่าอากาศยาน

งานสายการบิน คืออะไร

Flight Attendant หรือ พนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน เป็นอาชีพที่มีหน้าที่หลักดูแลรักษาความปลอดภัยบนเครื่องบิน เพื่อให้ผู้โดยสารเดินทางไปสู่จุดหมายปลายทางโดยปลอดภัย รองลงมาคือช่วยอำนวยความสะดวกให้ผู้โดยสารบนเครื่องบิน เช่น จัดแจงที่นั่งให้ผู้โดยสาร เสริฟอาหารและเครื่องดื่ม คอยดูแลเมื่อผู้โดยสารป่วยหรือต้องการความช่วยเหลือ ...