วัดโพธิ์สร้างในสมัยรัชกาลใด

“วัดโพธิ์” มรดกล้ำค่าของไทยที่โด่งดังในระดับโลก

เผยแพร่: 9 เม.ย. 2565 20:38   ปรับปรุง: 9 เม.ย. 2565 20:38   โดย: ผู้จัดการออนไลน์


“วัดโพธิ์” หรือวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร หนึ่งในปูชนียสถานที่สำคัญแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ วัดแห่งนี้ไม่เพียงเป็นมรดกล้ำค่าของประเทศไทย แต่ได้รับการยอมรับว่าเป็นสถานที่สำคัญทรงคุณค่าในระดับโลก

วัดโพธิ์ได้รับการยกย่องจากองค์การยูเนสโกให้เป็น “มรดกความทรงจำแห่งโลก” นั่นคือ “จารึกวัดโพธิ์” ที่ว่าด้วยภูมิปัญญาไทย และสรรพศาสตร์แขนงต่างๆ

ต้นตำรับการนวดวัดโพธิ์ ก็ถือเป็นจุดกำเนิดการนวดแผนไทย ซึ่งนวดแผนไทย ได้รับการรับรองให้เป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของมนุษยชาติ

นอกจากนี้ วัดโพธิ์ ยังเป็นแหล่งรวบรวมศาสตร์ และศิลป์ที่สำคัญไว้หลากหลายแขนง วิจิตรงดงามไปด้วยสถาปัตยกรรมที่ดึงดูดให้มีผู้มาเยือนจากทั่วโลก

ประวัติโดยย่อของ “วัดโพธิ์" เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก และเป็นวัดประจำรัชกาลที่ ๑ แห่งราชวงศ์จักรี เดิมชื่อ “วัดโพธาราม" เป็นวัดโบราณที่ราษฎรสร้างไว้ ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (รัชกาลที่ ๑) เสวยพระราชสมบัติ และทรงย้ายเมืองหลวงมายังฝั่งพระนคร มีการสร้างพระบรมมหาราชวังขึ้นใหม่ จึงทรงปฎิสังขรณ์วัดโพธารามที่อยู่บริเวณเดียวกันไปด้วย

สำหรับการมาเยือนวัดโพธิ์ คงต้องใช้เวลาทั้งวันในการศึกษา ชื่นชมความวิจิตร และเรียนรู้สิ่งสำคัญต่างๆภายในพระอารามหลวงแห่งนี้ แต่หากมีเวลาจำกัด ผู้มาเยือนอาจเลือกชมสิ่งสำคัญที่เป็นจุดเด่นที่ไม่ควรพลาด ซึ่งหลายอย่างได้รับการยกย่องให้เป็นสิ่งมหัศจรรย์แห่งวัดโพธิ์

สิ่งแรกที่พลาดไม่ได้ คือ “พระพุทธไสยาส” ซึ่งเปรียบเสมือนภาพแทนสัญลักษณ์ของวัดโพธิ์ รวมทั้งเป็นความงามในรูปแบบ Amazing Thailand ที่ปรากฏออกสู่สายตาชาวโลก

พระพุทธไสยาส เป็นพระพุทธรูปปางโปรด อสุรินทราหู ประดิษฐานอยู่ในวิหารพระพุทธไสยาส เป็นพระพุทธรูปนอนที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในกรุงเทพมหานคร และใหญ่เป็นอันดับ 3 ของประเทศไทย

พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ เป็นผู้โปรดเกล้าฯให้สร้างขึ้นเมื่อครั้งปฏิสังขรณ์วัดครั้งใหญ่ ด้วยขนาดของพระพุทธรูปองค์ใหญ่ จึงต้องสร้างองค์พระพุทธรูปขึ้นก่อน แล้วจึงสร้างวิหารครอบองค์พระภายหลัง

พระบาทของพระพุทธรูป มีการประดับมุกเป็นภาพมงคล 108 ประการ ลายมงคล 108 ประการ ได้แก่ ปราสาท หอยสังข์ ช้างแก้ว นก หงส์ ภูเขา เมฆ ฯลฯ ตรงกลางเป็นรูปกงจักร แสดงถึงพระบุญญาบารมีอันแรงกล้า

วัดโพธิ์ยังได้ชื่อว่าเป็นวัดแห่งเจดีย์ เพราะมีเจดีย์มากถึง 99 องค์ องค์ใหญ่และโดดเด่นที่สุด คือ มหาเจดีย์ขนาดใหญ่ 4 องค์ เรียกว่า “มหาเจดีย์สี่รัชกาล” เพราะเป็นพระมหาเจดีย์ประจำรัชกาลที่ ๑ - รัชกาลที่ ๔ มีความงดงามด้วยการประดับกระเบื้องเคลือบ และเครื่องถ้วยลวดลายต่างๆ เป็นอีกหนึ่งจุดที่ผู้มาเยือนไม่ควรพลาดที่จะต้องเก็บภาพไว้

ใกล้กับมหาเจดีย์ ยังมี “พิพิธภัณฑ์นวดไทย มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม” ให้ความรู้ด้านศาสตร์วิชาการนวดแผนไทยอันเป็นหนึ่งในมรดกวัฒนธรรมของโลก

ดังที่ทราบกันว่า วัดโพธิ์ เป็นต้นตำรับนวดแผนไทย จึงมีรูปปั้นฤาษีดัดตน จำนวน 82 ตน ในท่วงท่าต่างๆ ประดับอยู่โดยรอบเขามอ หรือสวนหย่อม ซึ่งเป็นพระราชประสงค์ของรัชกาลที่ ๑ ที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้รวบรวมการแพทย์แผนโบราณ และศิลปวิทยาการครั้งกรุงศรีอยุธยาไว้ ใช้ท่าดัดตนอันเป็นการพักผ่อนอิริยาบถ แก้ปวดเมื่อยตามส่วนต่างๆของร่างกาย ประยุกต์รวมกับคติไทยที่ยกย่องฤาษีเป็นครูผู้ประสิทธิ์ประสาทศิลปวิทยาการ

ส่วนนักท่องเที่ยวคนไหน อยากลองนวดไทยต้นตำรับวัดโพธิ์ขนานแท้ ก็มีบริการทุกวันที่โรงเรียนแพทย์แผนโบราณ ที่ตั้งอยู่ภายในวัด

อีกสิ่งไม่ควรพลาด เมื่อมาเยือนวัดโพธิ์ คือ การตามหา “ยักษ์วัดโพธิ์”ซึ่งคนมักเข้าใจผิดว่า เป็นตุ๊กตาหินจีนขนาดใหญ่ที่ยืนตามประตูทางเข้าต่างๆ แต่ยักษ์วัดโพธิ์จริงๆแล้ว มีอยู่สองตน ยืนเฝ้าซุ้มประตูทางเข้าพระมณฑป

ปิดท้ายอย่าลืมไปสักการะพระประธาน “พระพุทธเทวปฏิมากร” พระพุทธรูปประธานภายในพระอุโบสถ เป็นพระพุทธรูปปางสมาธิที่งดงามวิจิตรมาก พระพุทธเทวปฏิมากรเป็นพระพุทธรูปโบราณ รัชกาลที่ ๑ ทรงอัญเชิญมาจากวัดศาลาสี่หน้า หรือวัดคูหาสวรรค์ ได้รับการกล่าวว่าเป็นพระพุทธรูปที่ราวกับเทวดามาสร้างไว้ เนื่องจากมีลักษณะอันงดงามยิ่งนัก

นอกจากสิ่งสำคัญเหล่านี้แล้ว วัดโพธิ์ ยังมีมรดกทรงคุณค่าให้ศึกษาเรียนรู้อีกเป็นจำนวนมาก นับเป็นสถานที่ที่พร้อมเปิดต้อนรับคนทุกเชื้อชาติ ทุกศาสนา เพราะพระอารามหลวงแห่งนี้ ไม่ได้เป็นเพียงสถานที่สำคัญทางพุทธศาสนาเท่านั้น แต่เปรียบเป็นมหาวิทยาลัยแห่งสรรพวิชาไทย หรือ มหาวิทยาลัยเปิดแห่งแรก ที่รวมเอาภูมิปัญญาไทยไว้เป็นมรดกให้คนรุ่นหลังได้เรียนรู้ต่อไปอย่างไม่สิ้นสุด

สนใจข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ "9 สิ่งมหัศจรรย์วัดโพธิ์” อ่านได้ที่นี่ https://mgronline.com/travel/detail/9600000012816


หากมีใครสักคนชวนคุณไปเที่ยววัดโพธิ์ หรือวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร นั้นเชื่อว่าสิ่งแรกที่ทุกคนคิดก็คือไปนวดแผนไทยอย่างแน่นอน แต่เราจะบอกว่าวัดโพธิ์นั้นมีอะไรที่มากกว่าการนวด ตั้งแต่ความสำคัญในฐานะวัดประจำรัชกาลที่ 1 เป็นแหล่งรวมสรรพวิชาในกาลก่อนที่น่าจะเปรียบได้ในระดับมหาวิทยาลัยในโลกปัจจุบัน และมีพระพุทธไสยาสน์ที่งดงามที่สุดแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ประดิษฐานอยู่ ณ ที่แห่งนี้

พระมหาเจดีย์ 4 รัชกาลกับจารึกศิลาแพทย์แผนโบราณ

วัดโพธิ์แห่งนี้เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก สร้างโดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงสถาปนาวัดโพธารามเดิม เป็นวัดหลวงข้างพระบรมมหาราชวัง ซึ่งในสมัยนั้นมีวัดเก่าที่ขนาบพระบรมมหาราชวังอยู่ 2 วัดก็คือ วัดสลัก ปัจจุบันคือวัดมหาธาตุ และวัดโพธาราม ปัจจุบันคือวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ทรงให้ขุนนางเจ้าทรงกรมช่างสิบหมู่ บูรณปฏิสังขรณ์ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2331 ใช้เวลาราว 7 ปีเศษ จึงโปรดเกล้าฯ ให้มีการเฉลิมฉลองเมื่อปี พ.ศ. 2344 พระราชทานนามใหม่ว่า “วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาวาศ” และเปลี่ยนมาเป็น “วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม” ในสมัยรัชกาลที่ 4

วัดโพธิ์สร้างในสมัยรัชกาลใด

ซึ่งมีบันทึกไว้ว่าในช่วงรัชสมัยรัชกาลที่ 1-4 ทรงให้กรมช่างสิบหมู่ ช่างวังหลวง วังหน้า ที่เชี่ยวชาญศาสตร์และศิลปกรรมต่างๆ ทุ่มเทผลงานทั้งหมดไปกับการบูรณปฏิสังขรณ์วัดโพธิ์ให้เป็นวัดพระอารามหลวงที่เต็มไปด้วยงานศิลปกรรมชั้นครู และให้จารึกวิชาความรู้ในศาสตร์การแพทย์แผนโบราณต่างๆ อยู่ทั่ววัด ซึ่งเราจะเห็นได้จากแผ่นป้ายศิลาจารึกข้อความตามเสาวิหารและอาคารต่างๆ ในบริเวณวัดที่เริ่มลบเลือนไปบ้าง

ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงรับสั่งให้แพทย์หลวงตรวจชำระแปลตำราแพทย์จากภาษาบาลี สันสกฤต เป็นภาษาไทยจัดเป็นหมวดหมู่และทำรูปเล่มอย่างเป็นทางการตามหลักสากล กลายเป็นตำราแพทยศาสตร์สงเคราะห์ ที่ยังคงมีการเรียนการสอนจนถึงปัจจุบัน และด้วยความที่พระเจ้าแผ่นดินทั้ง 4 พระองค์นั้นร่วมกันบูรณะวัดพระเชตุพน จึงทรงมีแนวคิดสร้างพระมหาเจดีย์เพื่อเป็นพุทธบูชา ภายในวัดโพธิ์จึงปรากฏพระมหาเจดีย์ 4 รัชกาล โดยองค์กระเบื้องเคลือบสีเขียวชื่อว่า พระมหาเจดีย์ศรีสรรเพชญดาญาณ ภายในมีพระศรีสรรเพชญ์ เป็นพระพุทธรูปยืน บรรจุพระบรมธาตุ เป็นพระมหาเจดีย์ประจำรัชกาลที่ 1

วัดโพธิ์สร้างในสมัยรัชกาลใด

พระมหาเจดีย์องค์กระเบื้องเคลือบสีขาว ชื่อว่า พระมหาเจดีย์ดิลกธรรมกรกนิทาน สร้างโดยรัชกาลที่ 3 ทรงพระราชอุทิศถวายแด่พระบรมราชชนก รัชกาลที่ 2 จึงนับเป็นมหาเจดีย์แห่งองค์รัชกาลที่ 2 และในรัชสมัยเดียวกันทรงสร้างพระมหาเจดีย์องค์กระเบื้องเคลือบสีเหลือง มีชื่อว่า พระมหาเจดีย์มุนีบัตบริขาร ถวายอุทิศเป็นพุทธบูชา นับเป็นพระมหาเจดีย์ประจำพระองค์ รัชกาลที่ 3

สุดท้ายคือพระมหาเจดีย์องค์กระเบื้องเคลือบสีน้ำเงินเข้ม** เป็นพระมหาเจดีย์ที่รัชกาลที่ 4 ทรงสร้างขึ้นตามแบบพระเจดีย์ศรีสุริโยทัย จึงมีชื่อว่า พระมหาเจดีย์ทรงพระศรีสุริโยทัยสร้างเพื่อถวายเป็นพุทธบูชา

วัดโพธิ์สร้างในสมัยรัชกาลใด

แต่พระมหาเจดีย์องค์นี้สร้างเสร็จไม่ทันในรัชสมัยของพระองค์ เมื่อครั้นใกล้จะเสด็จสวรรคตได้มีพระราชดำรัสเฉพาะกับพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ว่า “พระเจดีย์วัดพระเชตุพนฯ นั้นกลายเป็นใส่คะแนนพระเจ้าแผ่นดินไป ถ้าจะใส่คะแนนอยู่เสมอจะไม่มีที่สร้าง ควรจะถือว่าพระเจ้าแผ่นดินทั้ง 4 พระองค์นั้นท่านได้เคยเห็นกัน จึงควรมีพระเจดีย์อยู่ด้วยกัน ต่อไปอย่าให้ต้องสร้างทุกแผ่นดินเลย” นับแต่นั้นจึงไม่มีพระมหาเจดีย์ประจำรัชกาลต่อจากนั้นอีกเลย

มงคล 108 แห่งพระพุทธไสยาสน์ และตำนานยักษ์วัดโพธิ์

สำหรับคนที่มาครั้งแรกเราแนะนำว่าหลังจากเข้าวัดแล้วให้เดินเวียนขวา โดยเริ่มตั้งแต่สักการะพระวิหารพระพุทธไสยาสน์เป็นที่แรก พระพุทธไสยาสน์องค์นี้ เป็นพระนอนใหญ่ที่สุดในกรุงเทพมหานคร และใหญ่เป็นอันดับ 3 ของประเทศ สร้างในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ด้วยทรงมีพระราชดำริว่าที่วัดพระเชตุพนนี้ มีพระพุทธรูปครบทุกปางหลักแล้วขาดแต่ปางไสยาสน์ จึงทรงให้ช่างกรมช่างสิบหมู่หล่อพระพุทธรูปที่มีฝีมือที่สุดในยุคสมัยนั้นสร้างพระพุทธไสยาสน์ มีพุทธลักษณะงดงามอย่างหาที่เปรียบมิได้ในบรรดาพระพุทธรูปปางไสยาสน์ของประเทศไทย โดยเฉพาะศิลปะการประดับมุกภาพมงคล 108 ประการ ที่ฝ่าพระบาททั้งสองข้าง เป็นรูปมงคล 108 ภาพประดับอยู่บนฝ่าพระบาท ซึ่งโดยปกติมงคล 108 จะใช้กับรอยพระพุทธบาท แล้วจึงจารึกมงคล 108 ประการลงไป แต่ด้วยเป็นพระพุทธรูปปางไสยาสน์ที่เปิดฝ่าพระบาทอย่างชัดเจน ช่างจึงสามารถใส่มงคล 108 เพิ่มความเป็นสิริมงคลลงไปได้อย่างบริบูรณ์อย่างงดงามที่สุด 

วัดโพธิ์สร้างในสมัยรัชกาลใด

หลังเดินออกจากพระวิหารแล้วทางด้านขวามือเราจะเห็นสวนมิสกวัน และพระมหาเจดีย์ 4 รัชกาล ซึ่งเราสามารถแวะเข้าไปสักการะได้ตามสะดวก แต่ที่อยู่ใกล้กันก็คือ ยักษ์วัดโพธิ์ซึ่งหลายคนคงเคยได้ยินตำนานการสู้ระหว่างยักษ์วัดโพธิ์และยักษ์วัดแจ้งจนเกิดเป็นตำนานท่าเตียนกันบ้างแล้ว แต่เรื่องราวจริงๆ ก็คือ ยักษ์วัดโพธิ์นี้เพิ่งสร้างในสมัยรัชกาลที่ 3 เริ่มจากทรงรื้ออสูรเฝ้าประจำประตูทั้ง 4 แล้วนำตุ๊กตาศิลาจีนมาตั้งวางไว้แทน และได้โปรดให้หล่อรูปยักษ์ขนาดเล็ก สูงประมาณ 175 ซม. จำนวน 8 ตน ตั้งไว้ที่ทางเข้าหอไตร ที่ซุ้มประตูทั้ง 4 ด้าน ด้านละ 1 คู่ ทำหน้าที่พิทักษ์รักษาหอพระไตรปิฎก

ตามประวัติที่บันทึกไว้กับทางวัดก็คือเมื่อครั้งทำระเบียงพระมหาเจดีย์ในช่วงสมัยรัชกาลที่ 4 ได้มีการรื้อซุ้มประตูออกไป 2 ซุ้ม ปัจจุบันจึงปรากฏรูปยักษ์อยู่เพียง 2 คู่ คือ ไมยราพณ์กับแสงอาทิตย์ อยู่ที่ประตูด้านติดกับสวนจระเข้ และพญาขรกับสัทธาสูร อยู่ที่ประตูด้านติดกับพระวิหารพระพุทธไสยาสน์ โดยซุ้มเดิมที่ถูกรื้อไปคือ ทศกัณฐ์กับสหัสเดชะอยู่ที่ประตูด้านพระมหาเจดีย์ 4 รัชกาล และอินทรชิตกับสุริยภพอยู่ที่ประตูด้านศาลาราย จากเดิมที่เราคิดว่าเป็นยักษ์ตัวใหญ่ๆ จากหนังสือเรียนเมื่อได้มาเห็นของจริงก็ดูเล็กกว่าที่คิดไปเยอะเลยทีเดียว

วัดโพธิ์สร้างในสมัยรัชกาลใด

ถัดจากนั้นเมื่อเราเดินเวียนขวาไปเรื่อยๆ ก็ยังพบรูปปั้นฤาษีดัดตน และแผ่นศิลาจารึกโคลงสี่สุภาพ ประดับอยู่ตามศาลารายกระจายโดยทั่วไปเป็นจุดให้นักท่องเที่ยวได้ถ่ายภาพ ว่ากันว่าแต่เดิมรูปปั้นฤาษีดัดตนมีการปั้นประดับไว้ถึง 80 ท่า แต่ปัจจุบันเหลือเพียง 24 ท่าเท่านั้น

วัดโพธิ์ที่สุดแห่งการนวดแผนไทย

จากนั้นเดินไปทางทิศตะวันออกตามแนวกำแพงสีขาวขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นแนวกำแพงแก้วรายล้อมพระอุโบสถ ภายในพระอุโบสถมีพระพุทธเทวปฏิมากร ซึ่งใต้ฐานบรรจุพระบรมอัฐิพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชไว้ ให้ลูกหลานชาวไทยได้กราบไหว้ ความเป็นมาของพระพุทธเทวปฏิมากรนี้ แต่เดิมเป็นพระประธานอยู่ที่วัดคูหาสวรรค์ ฝั่งธนบุรี เมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงสร้างวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม พระองค์ได้ทรงเลือกหาพระพุทธรูป ที่มีพุทธลักษณะงามสมควรเป็นพระประธานในพระอุโบสถของวัด จึงได้พบและเลือกพระพุทธรูปองค์นี้มาประดิษฐานไว้ และมีพระราชประเพณีสืบมาว่า เมื่อมีการเสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนครโดยทางสถลมารค (ทางบก) ต้องเสด็จประทับ ณ พระอุโบสถวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม แล้วทรงกระทำสักการบูชาพระพุทธเทวปฏิมากรสืบมาทุกรัชกาล

วัดโพธิ์สร้างในสมัยรัชกาลใด

พอออกจากพระอุโบสถก็ปิดท้ายกันที่ส่วนของการนวดแผนไทยที่อยู่ตรงประตูพระอุโบสถด้านทิศตะวันออกหรือประตูพระโลกนาถพอดี

นวดแผนไทยนี้มีลูกค้าต่อคิวใช้บริการค่อนข้างมากถึงขนาดต้องรอรับบัตรคิวกันเลยทีเดียว ส่วนหมอนวดนั้นก็จะเป็นนักเรียนนวดแผนไทยของทางโรงเรียนแพทย์แผนโบราณ และการนวดแผนโบราณ ที่นิยมก็เห็นจะเป็นนวดฝ่าเท้าที่เหมาะสำหรับนักท่องเที่ยวที่เดินชมจนเมื่อยขา จึงเป็นการปิดท้ายการเที่ยวชมวัดโพธิ์อย่างสมบูรณ์แบบที่สุด

วัดโพธิ์สร้างในสมัยรัชกาลใด

วัดโพธิ์สร้างขึ้นในสมัยใดและมีชื่อเต็มว่าอย่างไร

วัดโพธิ์ หรือ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ตั้งอยู่ที่ถนนสนามไชย ข้างพระบรมมหา-ราชวังเป็นวัดเก่าแก่ ถือเป็นวัดประจำรัชกาลที่ 1 สร้างขึ้นเพื่อให้พระภิกษุสงฆ์ได้เล่าเรียนพระปริยัติธรรม เดิมเป็นวัดโบราณ ชื่อว่า โพธาราม สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยอยุธยา ราวรัชกาลสมเด็จพระเพทราชา และเป็นที่ประดิษฐานต้นพระศรีมหาโพธิ์ที่ได้มาจาก ...

วัดพระเชตุพนมีชื่อเสียงในด้านใด

วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหารถือได้ว่าเป็นวัดที่มีพระเจดีย์มากที่สุดในประเทศไทย โดยมีจำนวนประมาณ 99 องค์ พระเจดีย์ที่สำคัญ คือ พระมหาเจดีย์สี่รัชกาล ซึ่งเป็นพระมหาเจดีย์ประจำพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ...

วัดโพธิ์ มีอายุกี่ปี

ฟังเรื่องราวซึ่งหาชมที่อื่นไม่ได้ในห้องเรียนสรรพวิชายามราตรีที่ชื่อ 'วัดโพธิ์' ณ วันที่มีอายุครบ 230 ปี

วัดโพธิ์ตั้งอยู่ที่ใด

วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร (วัดโพธิ์) แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร วัดโพธิ์ เขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร