วิสัย ทัศน์ กลุ่มส่งเสริมการ จัดการ ศึกษา

วิสัย ทัศน์ กลุ่มส่งเสริมการ จัดการ ศึกษา
วิสัยทัศน์

           ทิศทางการพัฒนาการศึกษา ของ สพป.สงขลา เขต ๓ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๔

              สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต ๓ เป็นต้นแบบการบริหารจัดการ   ที่มุ่งสู่คุณภาพ บนพื้นฐานสังคมพหุวัฒนธรรม อย่างทั่วถึงและเสมอภาค ยึดหลักธรรมาภิบาล สืบสานพระราชปณิธานตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

วิสัย ทัศน์ กลุ่มส่งเสริมการ จัดการ ศึกษา
พันธกิจ

        ๑. จัดการศึกษาเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงของสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม และการอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขในสังคมพหุวัฒนธรรม

        ๒. ส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพสู่ความเป็นเลิศทางวิชาการ และเพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน 

        ๓. ส่งเสริม สนับสนุนและพัฒนาผู้เรียนให้เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ และทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ ๒๑

        ๔. พัฒนาผู้บริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษาให้เป็นมืออาชีพ

        ๕. สร้างโอกาส ความเสมอภาค ลดความเหลื่อมล้ำ ให้ประชากรวัยเรียนได้รับบริการทางการศึกษาอย่างทั่วถึง เท่าเทียม และมีคุณภาพ

        ๖. จัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและเป้าหมาย การพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals : SDGs)

        ๗. พัฒนาระบบการบริหารจัดการศึกษา ยึดหลักธรรมาภิบาล โดยใช้นวัตกรรมที่สอดคล้องในการขับเคลื่อนเพื่อพัฒนาสู่ Thailand ๔.๐


วิสัย ทัศน์ กลุ่มส่งเสริมการ จัดการ ศึกษา
เป้าประสงค์หลัก

            ๑. ผู้เรียนมีความรักในสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ มีจิตสำนึกในความเป็นพลเมืองที่ดี มีคุณธรรม จริยธรรม และการอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขในสังคมพหุวัฒนธรรม

             ๒. ผู้เรียนมีคุณภาพ มีความเป็นเลิศทางวิชาการ และมีศักยภาพในการแข่งขัน 

             ๓. ผู้เรียนมีความรู้ มีสมรรถนะตามหลักสูตร มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ และทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ ๒๑

             ๔. ผู้บริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษาเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ ได้รับการพัฒนาศักยภาพตามสมรรถนะวิชาชีพ และสมรรถนะในศตวรรษที่ ๒๑ รวมทั้งมีจรรยาบรรณตามมาตรฐานวิชาชีพ

             ๕. ประชากรวัยเรียนได้รับการศึกษาอย่างทั่วถึง เท่าเทียม และมีคุณภาพ 

             ๖. สถานศึกษาจัดการศึกษาเพื่อการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development Goals : SDGs) และสร้างเสริมคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 

             ๗. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และสถานศึกษามีระบบการบริหารจัดการศึกษาที่เป็นต้นแบบ ตามหลักธรรมาภิบาล โดยใช้นวัตกรรมที่สอดคล้องในการขับเคลื่อนเพื่อพัฒนาสู่ Thailand ๔.๐

วิสัย ทัศน์ กลุ่มส่งเสริมการ จัดการ ศึกษา
ประเด็นกลยุทธ์

         ประเด็นกลยุทธ์ที่ ๑ การจัดการศึกษาเพื่อความมั่นคง
         ประเด็นกลยุทธ์ที่ ๒ การพัฒนาผู้เรียนสู่ความเป็นเลิศทางวิชาการ และเพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน
         ประเด็นกลยุทธ์ที่ ๓ การพัฒนาผู้บริหาร ครู บุคลากรทางการศึกษา และผู้เรียนสู่ศตวรรษที่ ๒๑
         ประเด็นกลยุทธ์ที่ ๔ การสร้างโอกาสในการเข้าถึงการศึกษาอย่างทั่วถึงและเสมอภาค 
         ประเด็นกลยุทธ์ที่ ๕ การจัดการศึกษาเพื่อเสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
         ประเด็นกลยุทธ์ที่ ๖ การพัฒนาระบบบริหารจัดการศึกษาเป็นต้นแบบตามหลักธรรมาภิบาล

วิสัย ทัศน์ กลุ่มส่งเสริมการ จัดการ ศึกษา
ประเด็นกลยุทธ์ที่ 1 จัดการศึกษาเพื่อความมั่นคง
แนวทางการพัฒนา

      ๑. เสริมสร้างความมั่นคงของสถาบันหลักและการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

      ๒. เสริมสร้างและพัฒนาการจัดการศึกษาโรงเรียนประชารัฐจังหวัดชายแดนภาคใต้ให้มีคุณภาพ

      ๓. เสริมสร้างการอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขในสังคมพหุวัฒนธรรม

      ๔. ปลูกฝังผู้เรียนด้านคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์

      ๕. พัฒนาการจัดการศึกษาของโรงเรียนในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดสงขลา และเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้

ตัวชี้วัดความสำเร็จ

      ๑. ร้อยละ ๑๐๐ ของสถานศึกษาปลูกฝังและเสริมสร้างวิถีประชาธิปไตยความสามัคคี  ความสมานฉันท์ สันติวิธี ต่อต้านการทุจริตคอรัปชั่นและยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

      ๒. ร้อยละ ๑๐๐ ของสถานศึกษาน้อมนำแนวพระราชดำริฯ สืบสานพระราชปณิธานและพระบรมราโชบาย ด้านการศึกษาหรือ "ศาสตร์พระราชา"  มาใช้ในการจัดการเรียนรู้อย่างยั่งยืน

      ๓. ร้อยละ ๑๐๐ ของสถานศึกษาที่จัดการเรียนรู้ให้ผู้เรียนมีค่านิยม "เกิดมาต้องตอบแทนบุญคุณแผ่นดิน"

      ๔. ร้อยละ ๑๐๐ ของสถานศึกษาเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับภัยคุกคามในรูปแบบใหม่ เช่น อาชญากรรม และความรุนแรงในรูปแบบต่างๆ สิ่งเสพติดภัยพิบัติทางธรรมชาติ ภัยจากโรคอุบัติใหม่ ภัยจากไซเบอร์ ฯลฯ

      ๕ ร้อยละ ๑๐๐ ของผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานและค่านิยมหลักของคนไทย ๑๒ ประการ

      ๖. ร้อยละ ๘๐ ความพึงพอใจของครู และบุคลากรทางการศึกษาที่มีต่อระบบการรักษาความปลอดภัย ในระดับมากที่สุด

      ๗. ร้อยละ ๑๐๐ ของสถานศึกษาที่เข้าร่วมโครงการในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษเฉพาะกิจได้รับการพัฒนาการจัดการศึกษาตามบริบท

      ๘. ร้อยละ ๑๐๐ ของสถานศึกษาที่อยู่ในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้  ที่จัดการศึกษาสอดคล้องกับบริบทพื้นที่

วิสัย ทัศน์ กลุ่มส่งเสริมการ จัดการ ศึกษา
ประเด็นกลยุทธ์ที่ 2.การพัฒนาผู้เรียนสู่ความเป็นเลิศทางวิชาการ และเพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน
แนวทางการพัฒนา
        ๑. เสริมสร้างความเข้มแข็งในการพัฒนาผู้เรียนอย่างมีคุณภาพ
        ๒. พัฒนากระบวนการเรียนรู้ให้ครอบคลุมผู้เรียนทุกกลุ่ม
        ๓. สร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน 
        ๔. ส่งเสริม สนับสนุนการทำโครงงาน วิจัย และพัฒนาเพื่อนำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา
ตัวชี้วัดความสำเร็จ   
        ๑. ร้อยละ ๓๐ ของผู้เรียนที่มีคะแนนผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ (O-NET)สูงกว่าร้อยละ ๕

        ๒. ร้อยละ ๕๐ ของผู้เรียนที่มีคะแนนผลการทดสอบขั้นพื้นฐานและด้านอิสลามศึกษา (I-NET)สูงกว่าร้อยละ ๕
        ๓. ร้อยละ ๑๐๐ ของผู้เรียนที่อ่านออกเขียนได้        
        ๔. ร้อยละ ๑๐๐ ของสถานศึกษาจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน
        ๕. ร้อยละ ๙๕ ของผู้เรียนผ่านเกณฑ์การประเมินความสามารถด้านการใช้ภาษาอังกฤษ
        ๖. ร้อยละ ๑๐๐ ของสถานศึกษาจัดการเรียนการสอนภาษาอาเซียนอย่างน้อย ๑ ภาษา
        ๗. ร้อยละ ๑๐๐ ของสถานศึกษาจัดการเรียนรู้สอดคล้องกับหลักสูตรตามความจำเป็นและความต้องการของผู้เรียน ชุมชน   
        ๘. ร้อยละ ๑๐๐ ของสถานศึกษามีระบบการวัดและประเมินผลที่มีคุณภาพและมาตรฐาน
        ๙. ร้อยละ ๙๗ ของผู้เรียนมีคุณลักษณะและทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ ๒๑
        ๑
. ร้อยละ ๑๐๐ ของผู้เรียนที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษได้รับการส่งเสริมพัฒนาเต็มศักยภาพด้วยรูปแบบที่เหมาะสม
        ๑๑. ร้อยละ ๙๐ ของสถานศึกษาที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้แสดงศักยภาพในระดับต่างๆ
วิสัย ทัศน์ กลุ่มส่งเสริมการ จัดการ ศึกษา
ประเด็นกลยุทธ์ที่ 3.การพัฒนาผู้บริหาร ครู บุคลากรทางการศึกษา และผู้เรียนสู่ศตวรรษที่ ๒๑
แนวทางการพัฒนา
       ๑. พัฒนาผู้บริหารสถานศึกษา ครูและบุคลากรทางการศึกษาให้สามารถจัดการเรียนรู้ได้อย่างมีคุณภาพในรูปแบบที่หลากหลายอย่างมืออาชีพที่สอดคล้องกับบริบทของพื้นที่
       ๒. พัฒนาระบบการบริหารงานบุคคลให้มีประสิทธิภาพ
       ๓. เสริมสร้างแรงจูงใจในการพัฒนางานของครูและบุคลากรทางการศึกษา
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
       ๑. ร้อยละ ๘๐ ของผู้บริหารสถานศึกษา ครูมีนวัตกรรมทางการศึกษาอย่างน้อย ๑ นวัตกรรม
       ๒. ร้อยละ ๑๐๐ ของผู้บริหารสถานศึกษา ครูและบุคลากรทางการศึกษาได้รับการพัฒนาความรู้ สมรรถนะและความสามารถในการปฏิบัติงานได้ตามมาตรฐานการศึกษา และมาตรฐานวิชาชีพ
       ๓. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต ๓ มีแผนอัตรากำลังในการสรรหาและบรรจุแต่งตั้งตรงตามความต้องการของสถานศึกษา
       ๔. ร้อยละ ๑๐๐ ของครูผู้ช่วย ได้รับการส่งเสริมและพัฒนา ตามมาตรฐานวิชาชีพครู 
       ๕. ร้อยละ ๑๐๐ ของผู้บริหารสถานศึกษา ครู และบุคลากรทางการศึกษา ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติในการบริหาร การจัดการเรียนรู้ และการปฏิบัติงาน      
       ๖. ร้อยละ ๑๐๐ ของผู้บริหารสถานศึกษา ครูและบุคลากรทางการศึกษามีขวัญกำลังใจและมีความสุขในการปฏิบัติงาน
วิสัย ทัศน์ กลุ่มส่งเสริมการ จัดการ ศึกษา
ประเด็นกลยุทธ์ที่ 4. การสร้างโอกาสในการเข้าถึงการศึกษาอย่างทั่วถึงและเสมอภาค
แนวทางการพัฒนา
       ๑. เพิ่มโอกาสการเข้าถึงบริการทางการศึกษาที่มีคุณภาพ อย่างเท่าเทียมและทั่วถึง
       ๒. ลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
       ๑. ร้อยละ ๑๐๐ ของประชากรวัยเรียนได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างทั่วถึงและมีคุณภาพได้มาตรฐานจนจบหลักสูตร
       ๒. ร้อยละ ๑๐๐ ของผู้เรียนได้รับการพัฒนาเต็มตามศักยภาพ
       ๓. ร้อยละ ๑๐๐ ของสถานศึกษาที่นำระบบการดูแลช่วยนักเรียนมาใช้การบริหารจัดการ
       ๔. ร้อยละ ๑๐๐ ของผู้เรียนได้รับการศึกษาในรูปแบบที่เหมาะสม
       ๕. ร้อยละ ๑๐๐ ของผู้ด้อยโอกาสทุกกลุ่ม ได้รับการสนับสนุนให้มีความพร้อมในการศึกษา 
       ๖. ร้อยละ ๑๐๐ ของสถานศึกษาที่นำเทคโนโลยีดิจิทัลมาเป็นเครื่องมือในจัดการเรียนรู้
วิสัย ทัศน์ กลุ่มส่งเสริมการ จัดการ ศึกษา
ประเด็นกลยุทธ์ที่ 5. การจัดการศึกษาเพื่อเสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
แนวทางการพัฒนา
       ๑. ส่งเสริม สนับสนุน โรงเรียนน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติและใช้ในการจัดการเรียนรู้อย่างยั่งยืน  
       ๒. ส่งเสริมการสร้างจิตสำนึก การจัดกระบวนการเรียนรู้ เพื่อสร้างเสริมคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม  
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
       ๑. ร้อยละ ๑๐๐ ของสถานศึกษาที่บริหารจัดการและจัดการเรียนการสอนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
       ๒. ร้อยละ ๑๐๐ ของสถานศึกษาที่มีหลักสูตร สื่อ และกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่เสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
       ๓. ร้อยละ ๑๐๐ ของสถานศึกษาที่มีสิ่งประดิษฐ์ ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติเกี่ยวกับการจัดการศึกษาเพื่อสร้างเสริมคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
วิสัย ทัศน์ กลุ่มส่งเสริมการ จัดการ ศึกษา
ประเด็นกลยุทธ์ที่ 6. การพัฒนาระบบบริหารจัดการศึกษาเป็นต้นแบบตามหลักธรรมาภิบาล
แนวทางการพัฒนา
        ๑. พัฒนาระบบบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพ
        ๒. สร้างความเข้มแข็งในการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วม
        ๓. ส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
        ๑. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต ๓ มีค่าคะแนนเฉลี่ยการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใส (ITA) ไม่น้อยกว่า ร้อยละ ๘๕   
        ๒. ร้อยละ ๑๐๐ ของสถานศึกษาที่ใช้สื่อเทคโนโลยีที่ทันสมัยเพื่อพัฒนาระบบบริหารและคุณภาพการศึกษา
        ๓. ร้อยละ ๙๐ ความพึงพอใจของผู้รับบริการในการบริหารจัดการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต ๓ และสถานศึกษา ในระดับ ดีขึ้นไป        
         ๔. ร้อยละ ๑๐๐ ของสถานศึกษาที่ได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในการบริหารจัดการองค์กร
         ๕. ร้อยละ ๑๐๐ ของสถานศึกษาที่ได้รับการกำกับ ติดตาม ตรวจสอบ ตามแผนปฏิบัติการตรวจสอบ เพื่อการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ
         ๖. ร้อยละ ๑๐๐ ของสถานศึกษาที่ได้รับการพัฒนาการดำเนินงานด้านการเงิน การบัญชี และพัสดุ
         ๗. ร้อยละ ๑๐๐ ของสถานศึกษาที่เข้าร่วมโครงการพิเศษตามนโยบาย ของ สพฐ. เช่น  โรงเรียนประชารัฐ โรงเรียนคุณธรรม โรงเรียนคุณภาพประจำตำบล ฯลฯ ได้รับการพัฒนาและยกระดับคุณภาพ
         ๘. ร้อยละ ๙๕ ของสถานศึกษาและบุคลากร ที่มีผลงานเชิงประจักษ์ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติ  
         ๙. ร้อยละของเครือข่ายสถานศึกษา ได้รับการส่งเสริมประสิทธิภาพ มีความเข้มแข็งในการจัดการศึกษาและขับเคลื่อนนโยบายสู่การปฏิบัติ
        ๑
. ร้อยละ ๑๐๐ ของสถานศึกษามีระบบประกันคุณภาพภายในที่มีประสิทธิภาพ
วิสัย ทัศน์ กลุ่มส่งเสริมการ จัดการ ศึกษา
จุดเน้น

จุดเน้นในการพัฒนาการศึกษา ของ นายธันวา  ลิ่มสถาพร
ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต ๓

  หลักการทำงานเพื่อสร้างองค์กรแห่งความร่วมมือ THUNWA MODEL

               T = Target  หมายถึง เป้าหมายเดียวกัน
               H = Happiness หมายถึง ความสุขในการทำงาน
               U = Unity  หมายถึง ความเป็นเอกภาพ สามัคคี ความกลมเกลียวเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
               N = Networking หมายถึง สร้างพันธมิตร / สร้างเครือข่าย
               W = Work Performance หมายถึง ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ
               A = Accountability หมายถึง ยึดติดความโปร่งใส ตรวจสอบได้