หน่วย วิทยาศาสตร์การกีฬาและการ ฟื้นฟู ทางการ กีฬา

ศูนย์วิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์การกีฬา มีภาระกิจหลักในด้านการสนับสนุนการวิจัยและพัฒนางานสร้างสรรค์ด้านวิทยาศาสตร์การกีฬาและสุขภาพ และนอกจากนี้ยังมีบริการวิชาการต่าง ๆ โดยมีหน่วยบริการ 7 หน่วยบริการ

หน่วย วิทยาศาสตร์การกีฬาและการ ฟื้นฟู ทางการ กีฬา

กนกวรรณ ขัดโพธิ์ผู้จัดการศูนย์วิจัยฯ

ศศิร์ภัทร กสิกุลเจ้าหน้าที่บริหารงานศูนย์วิจัยฯ

กภ.อรนุช พรหมชนะนักกายภาพบำบัด

บริการของเรา

เรามีบริการที่ตอบโจทย์ความต้องการหลากหลายด้านด้วยผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านทางวิทยาศาสตร์การกีฬาและสุขภาพ เลือกบริการต่าง ๆ ของเราและสัมผัสกับประสบการณ์ที่ดีกับเรา

บริการที่ผ่านมา

ผลงานวิจัยและนวัตกรรมของเรา

ประชาสัมพันธ์

1. สภาพแวดล้อมในการทำงาน

สถานที่ทำงาน

นักวิทยาศาสตวร์การกีฬาจะแบ่งการทำงานออกเป็น 2 ส่วน ส่วนแรกคือส่วนของงานเอกสาร การหาข้อมูล และจัดทำข้อมูล จดบันทึกความคืบหน้าของงานต่างๆ เราก็จะทำกันที่ออฟฟิศ ซึ่งแล้วแต่หน่วยงานของเราว่าเราประจำอยู่ที่หน่วยงานไหน ออฟฟิศเป็นอย่างไร  

ในส่วนที่สอง การทำงานกลางแจ้ง คือการฝึกและให้ความรู้กับนักกีฬา สถานที่ก็จะแล้วแต่กีฬานั้นๆ จะมีห้องฟิตเนส ที่ไว้ใช้สำหรับการฝึกโดยเฉพาะ วิธีการฝึกในห้องฟิตเนสจะแตกต่างจากการเล่นฟิตเนสของคนทั่วไป เพราะปกติการเข้าฟิตเนสของคนทั่วไปคือการทำให้ร่ายการแข็งแรง เสริมสร้างกล้ามเนื้อ และลดไขมันส่วนเกิน แต่สำหรับนักกีฬาจะฝึกเรื่อง Movement  เน้นที่การเคลื่อนไหวร่างกาย รักษาระดับความเร็ว การวิ่ง การจัดท่าวิ่ง เมื่อจบโปรแกรมของฟิตเนสเราจะซ้อมกันที่สนามจริงของกีฬานั้นๆ แล้วแต่ความเหมาะสมในการฝึก ในร่มบ้าง กลางแจ้งบ้าง

สภาพการทำงาน

นอกเหนือจากการฝึกซ้อมนักกีฬาให้มีศักยภาพในการแข่งขันแล้ว ยังมีเรื่อง จิตวิทยา โภชนาการ การรักษาฟื้นฟูด้วยการบริหารกล้ามเนื้อ  การออกแบบโปรแกรมการออกกำลังกายเพื่อเพิ่มสมรรถภาพการทำงานของระบบหัวใจและหลอดเลือด  การบริหารกล้ามเนื้อที่เหมาะสมกับนักกีฬา หรือผู้ป่วยที่มีความเจ็บป่วย หรือบกพร่องของระบบกระดูก กล้ามเนื้อหรือที่มีความบกพร่องด้านการเคลื่อนไหว  ให้คำแนะนำการบริหารกล้ามเนื้อ   ยืดเหยียดกล้ามเนื้อ  เพิ่มสมรรถภาพร่างกายแก่ผู้ที่มาใช้บริการธาราบำบัด ลู่เดินในน้ำ และอุปกรณ์การออกกำลังกาย หรืออุปกรณ์ช่วยพยุงตัวได้อย่างเหมาะสม  ศึกษาสังเกตอาการของนักกีฬา หรือผู้ป่วยเพื่อดำเนินการรักษาฟื้นฟู    บันทึกอุปสรรค ปัญหาในการปฏิบัติงานและจัดทำรายงาน  รวมทั้งการให้คำแนะนำแก่นักกีฬา หรือผู้ป่วย และญาติเพื่อฟื้นฟูสมรรถภาพของส่วนของร่างกายที่เสื่อมสภาพให้กลับ คืนดีทั้งทางรูปลักษณะและทางหน้าที่  และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง ส่วนงานของพี่คือด้าน สรีรวิทยา การเสริมสร้างร่างกาย ที่ต้อง Treatment กับนักกีฬาโดยตรง 

ประเภทของลูกค้า

ประเภทของลูกค้าที่ตรงกับสายงานของเราที่สุด คือ นักกีฬา แต่นักกีฬาก็แบ่งออกเป็นหลายประเภท ซึ่งการฝึกซ้อมก็จะมีความแตกต่างกัน เพราะเป้าหมายที่แตกต่างกัน 

  1. นักกีฬาทีมชาติ เป้าหมายคือฝึกซ้อมเพื่อการแข่งขัน มีความเป็นเลิศและต้องการชัยชนะซึ่งก็จะเน้นไปที่เทคนิคการแข่งขัน กลยุทธ์ของคู่แข่ง วิธีการที่จะได้ชัยชนะมาโดยใช้ความสามารถทางร่างกายจากการฝึกซ้อมแบบวิทยาศาสตร์การกีฬา 
  2. นักกีฬาอาชีพ เป้าหมายคือ ต้องการไต่เต้าไปให้ถึงจุดสูงสุดของอาชีพ ได้รับค่าตอบแทนที่เพิ่มมากขึ้น จะฝีกในเรื่องของศักยภาพร่างกายในการเล่นกีฬานั้นๆอย่างเต็มประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ฝึกความอดทนของร่างกายและกล้ามเนื้อให้สามารถใช้งานได้ดี และไม่บาดเจ็บง่าย 
  3. นักกีฬาเยาวชน หรือ นักกีฬาฝึกหัด เป้าหมายคือ ต้องการได้รับความรู้พื้นฐานเพื่อนำไปใช้ในเป็นนักกีฬาในอนาคต

อาชีพนี้ต้องทำงานร่วมกับอาชีพ/ตำแหน่งงานใดบ้าง

เนื่องจากงานของเราเกี่ยวข้องกับการใช้ร่างกายเป็นหลัก ทำให้อาชีพที่ต้องทำงานด้วยจึงเป็นผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวของกับการใช้ร่ายกายทั้งสิ้น 

  1. นักโภชนาการ  นักกีฬาจะต้องการสารอาหารที่ต่างขจากคนทั่วไป เพื่อนำไปเสริมสร้างกล้ามเนื้อและความแข็งแรง และนำพลังงานไปใช้ในการแข่งขัน จึงต้องควบคุมอาหารและเลือกรับประทานอย่างเหมาะสม นักวิทยาศาสตร์การกีฬาจึงต้องปรึกษากับนักโภชนาการเพื่อเลือกอาหารที่เหมาะสมกับการใช้งานของนักกีฬาแต่ละประเภท 
  2. แพทย์ เมื่อนักกีฬาเกิดการบาดเจ็บจากการฝึกซ้อมและการแข่งขัน จะต้องมีการปรึกษากับแพทย์เพื่อได้รับการรักษาทางการแพทย์ควบคู่ไปกับวิทยาศาสตร์การกีฬา มีการตรวจเช็คอาการและกายภาพบำบัดอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้หายจากอาการบาดเจ็บโดยไว้ นอกเหนือจากการรักษาอาการบาดเจ็บแล้ว ยังมีการค้นหาวิธีการเพื่อป้องกันการบาดเจ็บของนักกีฬาอีกด้วย 
  3. นักจิตวิทยา นักกีฬานอกจากจะต้องมีสุขภาพกายที่แข็งแรงแล้วยังจะต้องมีสุขภาพใจที่แข็งแรงด้วย ในการแข่งขันมีความกดดันทั้งในเรื่องของคู่ต่อสู้และด้านกำลังใจของตัวเอง ซึ่งต้องมีนักจิตวิทยาคอยให้คำแนะนำควบคู่กับการฝึกซ้อม  ฝึกฝนให้นักกีฬามีสมาธิกับเกมและมีใจจดจ่อกับตัวเองระหว่างการแข่งขันให้มากที่สุด โดยการฝึกฝนจิตใจตัวเองจะไม่ทำให้ประหม่าในการลงแข่งจนสร้างผลงานได้ไม่ดีเหมือนระหว่างการฝึกซ้อม
  4. นักชีวกลศาสตร์การกีฬา มีบทบาทที่สำคัญต่อการพัฒนาศักยภาพของนักกีฬาให้สูงขึ้น เป็นเรื่องของการเคลื่อนไหวที่เกี่ยวข้องกับลักษณะท่าทางการเคลื่อนไหว ตำแหน่ง ระยะทาง มุม ความเร็ว และความเร่งกับเรื่องของแรงที่ทำให้เกิดการเคลื่อนไหว โดยอาศัยความรู้ทฤษฎีและหลักการทางฟิสิกส์ แคลคูลัส สรีรวิทยาและกายวิภาคศาสตร์ ตลอดจนความรู้ทางด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์มาใช้ในการศึกษาวิเคราะห์มนุษย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเคลื่อนไหวในเชิงกีฬาให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
  5. นักเทคโนโลยีทางการกีฬา คือคนที่จะให้ความรู้เกี่ยวกับประดิษฐ์การใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ช่วยสนับสนุนในการพัฒนาส่งเสริมตลอดจนการแก้ไขปัญหา ข้อบกพร่องให้กับนักกีฬาเพื่อเพิ่มศักยภาพและประสิทธิภาพให้กับผู้ฝึกสอนกีฬาและนักกีฬารวมทั้งการวิเคราะห์ ข้อมูลการเคลื่อนไหวทางด้านเทคนิคทักษะ การประเมินผลและรายงานผลการแข่งขันที่เป็นประโยชน์ถูกต้องรวดเร็วให้กับผู้ ฝึกสอนกีฬา นักกีฬา และผู้ชม

2. คุณลักษณะของงาน

เป้าหมายของงาน/โจทย์ใหญ่ของงาน/ความท้าทายของงาน

เป้าหมายหลักคือการดูแลและทำให้ศักยภาพร่างกายของนักกีฬามีขีดความสามารถสูงขึ้น ด้วยเทคนิคต่างๆที่จะนำไปสู่เรื่องของการฝึกทักษะได้สมบูรณ์แบบมากขึ้น เมื่อศักยภาพดีก็ทำให้นักกีฬาโชว์ทักษะด้านการกีฬาของเขาได้เต็มที่  ส่วนโจทย์ใหญ่ที่สุดของการทำงานคือ การฝึกนักกีฬาที่ได้รับการบาดเจ็บให้หายและสามารถกลับมาแข่งขันได้ตามเดิม    มีอยู่เคสนึง ที่นักกีฬาได้เข้ารับการผ่าตัดที่หัวเข่า โดยที่เอนไขว้ขาด โดยเอนส่วนนี้มีคุณสมบัติพิเศษที่ทั้งร่างกายไม่มี การเทรนนิ่งก่อนการแข่งขันเป็นสิ่งที่สำคัญมาก เราต้องหาวิธีการที่เหมาะกับเขา ปรับเปลี่ยนท่าจากเดิมที่จะทำให้นักกีฬาสามารถกลับมาเล่นต่อได้โดยที่ไม่กลับไปบาดเจ็บซ้ำที่เดิมอีก และทำอย่างไรให้เมื่อหายแล้วสามารถกลับไปแข่งได้ด้วย อย่างเร็วที่สุดที่เคยทำได้คือ  6 เดือน และอย่างช้าที่สุดคือ 9 เดือน ซึ่งอยู่ที่ความสม่ำเสมอของเราในการฝึกซ้อมควบคู่ไปกับการรักษา เทคนิคของแต่ละคนจะคล้ายกันแต่วิธีการจะแตกต่างกันตามอาการ 

Work process

เวลาของการทำงานนั้น ถ้าเป็นนักวิทยาศาสตร์การกีฬาที่ทำงานในหน่วยงานราชกาล ก็จะทำงานแบบ routine เข้างานเช้าเลิกเย็น แต่หากทำงานกับนักกีฬาโดยตรง โดยเฉพาะนักกีฬาทีมชาติ อาจจะต้องมาทำงานแต่เช้าเลือกดึก หน้าที่หลักคือการฝึกซ้อมและให้ความรู้แก่นักกีฬาในเรื่องเทคนิคและวิธีการต่างๆ   นอกเหนือจากนั้นยังต้องทำงานเอกสาร เพื่อค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติม จนสถิติ ควาเปลี่ยนแปลงไป งานวิจัยต่างๆ ไม่มีเวลาที่แน่นอนขึ้นอยู่กับวันที่จะแข่ง ยิ่งใกล้เข้าวันแข่งการฝึกซ้อมยิ่งเข็มข้นและทำงานหนัก และอาจจะต้องทำงานในวันเสาร์อาทิตย์ด้วย 

Career path/ความก้าวหน้าของสายอาชีพ

ความก้าวหน้าเกิดจากการสั่งสมประสบการณ์ และการใฝ่รู้ในเทคโนโลยีใหม่ๆ เพราะวิทยาศาสตร์การกีฬาว่าด้วยเรื่องของเทคโนโลยีที่นำมาใช้ควบคู่ไปกับการฝึกซ้อม ของบางอย่างไม่นานก็ล่าหลังถ้าเราไม่ค้นคว้าเพิ่มเติม นอกจากนั้นยังขึ้นอยู่กับการพัฒนาตัวเองให้มีความสามารถในการแก้ไขโจทย์ที่ยากขึ้นให้ก้าวไปถึงจุดสูงสุดของอาชีพนั้นคือนักวิทยาศาสตร์การกีฬาระดับประเทศและระดับโลกต่อไป 

บุคลิก นิสัยของคนที่เหมาะจะทำอาชีพนี้

  1. เป็นนักปฏิบัติ มีความอดทน และรอบคอบ
  2. สนใจและเอาใจใส่ต่อสุขภาพ และชอบค้นคว้าเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์สุขภาพและการกีฬา
  3. มีใจรักในการกีฬา
  4. ยอมรับฟังความคิดเห็นคนอื่น รับในข้อบกพร่องเพื่อพัฒนาตัวเอง
  5. เป็นคนชอบติดตามวิธีการใหม่ๆ ขวนขวาย ความรู้และเทคโนโลยีที่นำมาใช้ประกอบกับการทำงาน
  6. ต้องมีมนุษยพันธ์ที่ดี รู้จักพูดอธิบายสิ่งที่ต้องการจะสื่อให้นักกีฬาฟังและอยากทำตามได้
  7. สามารถนำความรู้ที่มีมาประยุกต์ใช้ในการทำงานได้

3. คุณค่าและผลตอบแทน

ผลตอบแทน

เรื่องผลตอบแทนขึ้นอยู่กับประสบการณ์การทำงานและโอกาสที่เราได้ทำงาน งานราชกาล เอกชน ก็จะมีค่าตอบแทนและสวัสดิการที่แตกต่างกัน ยิ่งถ้าได้ทำงานเป็นนักวิทยาศาสตร์การกีฬาให้กับนักกีฬาทีมชาติแล้วยิ่งได้ผลตอบแทนสูง  ถ้ามีประสบการณ์เยอะ สามารถรับงานเป็นวิทยากรในการบรรยายตามที่ต่างๆ เก็บเกี่ยวประสบการณ์เยอะๆจนมีชื่อเสียง สามารถมีผลตอบแทนได้ถึง 40,000 บาท   

คุณค่าของอาชีพนี้ต่อคนรอบข้างและสังคม 

คุณค่าของงานคือการได้ถ่ายทอดความรู้ของเรากับคนอื่น ปัจจุบันคนนิยมออกกำลังกายกันมากขึ้น แต่ยังมีการออกกำลังกายที่ผิดวิธี บางคนออกกำลังกายทุกวันแต่ก็ยังเจ็บป่วยไม่แข็งแรง บาดเจ็บง่าย เพราะยังไม่มีความรู้เรื่องการออกกำลังกายที่เหมาะกับตัวเอง วิธีการ ความหนัก ความนาน ความเหมาะสมต่อสภาพร่างกายต่างๆ ถ้าเราได้ถ่ายทอดความรู้กับคนในสังคม แล้วทุกคนรู้วิธีการที่ถูกต้องก็จะทำให้ไม่บาดเจ็บจากการออกกำลังกาย และสุขภาพร่างกายแข็งแรง กายออกกำลังกายก็เป็นเรื่องสนุก และจะกลายเป็นสิ่งที่ทุกคนทำอย่างเป็นเรื่องปกติ 

4. ทักษะ ความรู้ ความสามารถ

วิทยาศาสตร์การกีฬา คือ กระบวนการในการพัฒนาศักยภาพและความสามารถของนักกีฬาให้ก้าวไปสู่ความพร้อมและความสมบูรณ์สูงสุด ทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจและเทคนิคทักษะกีฬาในช่วงการแข่งขันตลอดจนพัฒนาไปสู่ความสามารถสูงสุดแต่ละบุคคลอย่างเป็นระบบ ซึ่งประกอบด้วยองค์รวมของศาสตร์สาขาต่างๆ แบ่งประเภทการทำงานตามสาขาที่น้องๆจะเลือกเรียน ซึ่งจะแบ่งทักษะ ความรู้ ความสามารถออกเป็น  

  1. กายวิภาคศาสตร์   คือ ศาสตร์ที่ให้ความรู้รายละเอียดเกี่ยวกับโครงสร้างของร่างกาย ที่ประกอบขึ้นเป็น รูปร่างสัดส่วนของร่างกายนักกีฬาแต่ละคน ได้แก่ กระดูก กล้ามเนื้อ เอ็น ข้อต่อ หัวใจ ปอด หลอดเลือด เม็ดเลือดแดง เซลล์ประสาท เป็นต้น
  2. สรีรวิทยา คือ ศาสตร์ที่ให้ความรู้เกี่ยวกับการทำงานหรือการทำหน้าที่ของอวัยวะระบบต่างๆของร่างกายซึ่งสามารถกระตุ้นและพัฒนาศักยภาพให้ดีขึ้น ได้ด้วยระบบการฝึกที่ถูกต้องเหมาะสมกับประเภทกีฬาและนักกีฬาแต่ละบุคคล เช่น ความสามารถในการทำงานของระบบประสาทและกล้ามเนื้อ ความอดทนของระบบหายใจและไหลเวียนเลือดและระบบพลังงานที่ใช้ในการแข่งขัน แต่ละประเภทกีฬา เป็นต้น รวมทั้งสาเหตุที่นำไปสู่การเสื่อมสภาพของระบบการทำงานของอวัยวะต่างๆภายในร่างกาย
  3. ชีวกลศาสตร์ คือ ศาสตร์ที่ว่าด้วยการทำงานของกล้ามเนื้อ กระดูก เอ็น และข้อต่อ เพื่อนำไปสู่การใช้แรง ในการเคลื่อนไหวหรือปฏิบัติทักษะ อย่างไรให้มีประสิทธิภาพสูงสุด ในแต่ละชนิดหรือประเภทกีฬา ซึ่งนำไปสู่การพัฒนาหรือปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่องทางด้านเทคนิคทักษะกีฬาแต่ละบุคคลได้อย่างกลมกลืนกับระดับความสามารถที่เป็นจริงของนักกีฬาผู้นั้นมิใช้ต้องทำตามหรือเลียนแบบแช้มป์ โดยที่มิได้เรียนรู้สภาพพื้นฐาน การฝึกซ้อมและความแตกต่างของร่างกายในแต่ละบุคคล
  4. ทักษะและการฝึกซ้อมกีฬา คือ ศาสตร์ที่ให้ความรู้หลักการในการในการกำหนดความหนักเบา รูปแบบวิธีการฝึก เข้าไว้ในโปรแกรมการฝึกซ้อมได้อย่างถูกต้องเหมาะสมกับนักกีฬาแต่ละบุคคล โดยจะต้องพิจารณาและคำนึงถึงอายุ เพศ วัย ประสบการณ์ ความแตกต่างระหว่างบุคคล รวมทั้งระบบพลังงานสมรรถภาพทางกาย เฉพาะประเภทกีฬา ความสามารถในการเรียนรู้รับรู้ของนักกีฬาแต่ละบุคคล เพื่อนำไปสู่การวางแผนการฝึกซ้อมในแต่ละช่วงเวลาได้อย่างถูกต้องเหมาะสมกับนักกีฬาแต่ละบุคคล
  5. โภชนาการทางกีฬา คือ ศาสตร์ที่ให้ความรู้รายละเอียดเกี่ยวกับคุณค่าของอาหารแต่ละชนิด และรู้จักเลือกรับประทานอาหารให้ถูกต้อง ได้สัดส่วนทั้งในด้านปริมาตร และคุณภาพในแต่ละช่วงของการฝึกซ้อมและแข่งขันซึ่งจะมีผลต่อการใช้พลังงานในการเคลื่อนไหวการเก็บสำรองพลังงานไว้ในกล้ามเนื้อ การชดเชยพลังงานในระหว่างการฝึกซ้อมและแข่งขันและภายหลังการฝึกซ้อมแข่งขันซึ่งจะช่วยเสริมโครงร่างและความสามารถของร่างกายให้คงสภาพแข่งแกร่งยิ่งขึ้น
  6. จิตวิทยาการกีฬา คือ ศาสตร์ที่ให้ความรู้เกี่ยวกับกระบวนการคิดการควบคุมทักษะการเคลื่อนไหวและทักษะกีฬารวมถึงการตัดสินใจในแต่ละสถาณการณ์ ของการฝึกซ้อมและแข่งขันได้อย่างถูกต้องเป็นผลดีต่อเกมส์การแข่งขันและการแสดงออกซึ่งทักษะและความสามารถของนักกีฬาได้อย่างสอดคล้อง สัมพันธ์กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
  7. เวชศาสตร์การกีฬา คือ ศาสตร์ที่ให้ความรู้เกี่ยวกับการป้องกัน บำบัดรักษา และฟื้นฟู สภาพร่างกายให้กับนักกีฬาทั้งในสภาวะปกติและในระหว่างการฝึกซ้อมเพื่อช่วยเสริมให้สมรรถภาพทางกายอยู่ในสภาวะที่สมบูรณ์และพร้อมที่จะใช้งานได้ดีที่สุด
  8. เทคโนโลยีทางการกีฬา คือ ศาสตร์ที่ให้ความรู้เกี่ยวกับประดิษฐ์การใช้เครื่งมือและอุปกรณ์ช่วยสนับสนุนในการพัฒนาส่งเสริมตลอดจนการแก้ไขปัญหา ข้อบกพร่องให้กับนักกีฬาเพื่อเพิ่ม

5. เครื่องมือที่ใช้ในอาชีพนั้น

สิ่งที่สำคัญที่สุดในอาชีพนักวิทยาศาสตร์การกีฬา ก็คือร่างกายที่ต้องมีความพร้อมอยู่เสมอ เราเป็นผู้ที่ฝึกฝนนักกีฬาให้มีความพร้อมก่อนที่จะลงแข่ง เพราะฉะนั้นผู้ฝึกควรจะต้องมีร่างกายที่พร้อมด้วย นอกเหนือจากนั้นจะเป็นความรู้และความสามารถที่เราจะเลือกเสริมสร้างให้นักกีฬาตามความเหมาะสม  ดูว่านักกีฬายังขาดในส่วนไหน และเราควรจะเติมเต็มในส่วนใดเข้าไป ก็จะมีเครื่องมือที่แตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล

*ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ ในปี พ.ศ. 2557