ประเภทของกิจกรรมโลจิสติกส์

หากคุณคือผู้ประกอบการธุรกิจ เป็นผู้ผลิตสินค้า กระจายสินค้า ขนส่งสินค้า หรืออะไรก็ตามที่เกี่ยวกับสินค้า สิ่งสำคัญที่จะช่วยให้คุณได้เปรียบคู่แข่งคือ การที่เลือกใช้บริการโลจิสติกส์หรือ รถขนส่ง สินค้าที่เหมาะสมกับกิจการของคุณ

โลจิสติกส์ (Logistic) หมายถึง กิจกรรมที่มีการขนส่งเคลื่อนย้าย จัดเก็บสินค้า วัสดุ วัตถุดิบ จากที่หนึ่งไปสู่อีกที่หนึ่ง ในระยะเวลาชั่วคราวหรือระยะเวลายาวนาน โดยมีความพยายามในการจัดการกิจกรรมต่างๆ เหล่านี้ ให้เกิดค่าใช้จ่ายโดยรวมต่ำที่สุด กระบวนการส่วนหนึ่งของ โลจิสติกส์ ในการขนส่งของการจัดการเท่านั้น ยังมีกิจกรรมอื่น ๆ อีกมากมาย เช่น การจัดการคลังสินค้า, การกระจายขนส่งสินค้า, การจัดการสินค้าคงคลัง, การบรรจุภัณฑ์, การรับส่งข้อมูลและระบบสารสนเทศต่างๆ เป็นต้น

โลจิกติกส์คืออะไร

สำหรับธุรกิจ การบริหารต้นทุนโลจิสติกส์มีความสำคัญเป็นอย่างมาก เนื่องจาก ต้นทุนโลจิสติกส์ไม่สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มใดๆ ให้กับธุรกิจ ดังนั้น ยิ่งต้นทุนโลจิสติกส์ต่ำมากเท่าไหร่ก็ยิ่งมีผลดีอย่างมากต่อธุรกิจ

1. Warehousing Service – บริการคลังสินค้า

หน้าที่หลักของคลังสินค้าคือ เป็นสถานที่ในการจัดเก็บสินค้าคงคลัง (Inventory) เพื่อขนส่งให้ลูกค้าในเวลาที่เหมาะสม โดยคลังสินค้าที่ดีจะต้องจัดเก็บสินค้าอยู่ในสภาพสมบูรณ์ ในบางคลังสินค้าอาจจะมีฟังก์ชั่นเพิ่มเติมเรียกกระบวนการนี้ว่า Cross-Docking หรือระบบการนำสินค้ามาคัดแยก คลังสินค้ารับสินค้าเข้ามาทำการคัดแยก แล้วกระจายขนส่งออกไปยังจุดหมายปลายทาง จัดส่งสินค้าตรงวันที่กำหนดและส่งสินค้าครบจำนวนที่สั่ง

ทำไมเราจึงควรใช้ผู้ให้บริการคลังสินค้าภายนอก?

การสร้างคลังสินค้าเป็นของตัวเองคือการลงทุนระยะยาวที่มีต้นทุนสูงมากสำหรับธุรกิจ หากธุรกิจมีการจัดการคลังสินค้าให้เกิดการใช้ประโยชน์สูงสุดได้ตลอดเวลา การลงทุนสร้างคลังสินค้าก็ถือเป็นการลงทุนที่คุ้มค่า

แต่หากธุรกิจของคุณมีสถานะทางการเงินที่ไม่คงที่ การพยากรณ์ยอดขายมักไม่เป็นไปตามที่คาดไว้ ทำให้การบริหารจัดการสินค้าคงคลังหรือสต๊อกสินค้าอาจไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร ปัญหาที่จะตามมาคือปัญหาของการบริหารจัดการพื้นที่ว่างเปล่า ซึ่งพื้นที่ว่างเปล่าในคลังสินค้าถือเป็นค่าใช้จ่ายทางธุรกิจ

การใช้บริการคลังสินค้าภายนอกจะทำให้สามารถเพิ่มหรือลดพื้นที่เช่าได้ตามความจำเป็นและนอกจากนี้ยังมีทีมงานที่เชี่ยวชาญคอยดูแลสินค้าให้คุณอีกด้วย

ตัวอย่างผู้ให้บริการ

  • SCG Logistics
  • WHA Logistics

2. Courier Service – บริการรถขนส่งสินค้าเร่งด่วน (คูเรียร์)

คูเรียร์เป็นบริการขนส่งที่มีความรวดเร็วสูงที่สุด และมีการติดตามสถานะการขนส่งอย่างละเอียด การขนส่งประเภทนี้จึงนิยมใช้สำหรับการขนส่งสินค้าข้ามประเทศสำหรับสินค้าที่มีความจำเป็นเร่งด่วน โดยปกติสินค้าหรือพัสดุ มักจะถูกจัดส่งทางอากาศโดยเครื่องบินไปยังสถานที่หรือประเทศปลายทาง แล้วกระจายไปยังจุดหมายด้วยรถขนส่ง

เรามักจะใช้ Courier สำหรับ . . .

การจัดส่งเอกสารสำคัญทางกฎหมายหรือการขนส่งสินค้าตัวอย่างให้กับลูกค้าในต่างประเทศ โดยต้องการการจัดส่งที่มีความรวดเร็ว

ตัวอย่างผู้ให้บริการ

  • DHL
  • FedEx

3. Customs Brokerage Service – บริการดำเนินพิธีการศุลกากร (คัสต้อมส์ โบรคเคอร์เรจ)

การนำเข้าหรือการส่งออกสินค้าที่ต้องผ่านพิธีการศุลกากรก่อน ไม่ว่าสินค้านั้นจะถูกขนส่งทางน้ำ ทางอากาศ หรือทางบนด้วย รถขนส่ง โดยกิจกรรมพิธีการศุลกากรต้องอาศัยผู้ชำนาญ ซึ่งต้องมีความรู้ ความเข้าใจกฎระเบียบเกี่ยวกับการนำเข้าส่งออก ตัวแทนจะดำเนินการและให้คำแนะนำเกี่ยวกับเอกสาร สิทธิประโยชน์ และข้อบังคับที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา

เราจำเป็นต้องจ้างตัวแทนนำเข้าส่งออกหรือไม่?

ไม่จำเป็น หากบริษัทของคุณมีเจ้าหน้าที่ ที่ได้รับใบอนุญาตการนำเข้าและส่งออก(ออกโดยกรมศุลกากร) ในบริษัทยักษ์ใหญ่ที่มีการนำเข้าและส่งออกเป็นประจำ มักจะมีแผนกที่ดำเนินการกิจกรรมนี้โดยเฉพาะ แต่หากบริษัทของคุณไม่ได้มีการนำเข้าและส่งออกบ่อยครั้ง การใช้บริการตัวแทนจึงเป็นตัวเลือกที่ดี

ตัวอย่างผู้ให้บริการ

  • Yusen Logistics
  • Wice Logistics

4. Transportation Service – บริการขนส่ง

ประเภทของกิจกรรมโลจิสติกส์
Photo from ISUZU

การบริการขนส่งหรือเรียกง่ายๆว่า การขนย้ายสินค้า จากที่หนึ่งไปสู่อีกที่หนึ่ง ด้วยรถขนส่ง เรือบรรทุกสินค้า รวมไปถึงเครื่องบิน ซึ่งระยะทาง ความรวดเร็วและค่าใช้จ่ายเป็นตัวกำหนดรูปแบบที่เหมาะสมกับธุรกิจของคุณ

การขนส่งทางบก

ประเภทรถบรรทุกที่นิยมในประเทศไทย ได้แก่ รถบรรทุก 4 ล้อ 6 ล้อ 10 ล้อ เทรลเลอร์ และรถพ่วง

ขนส่งทางบกมี 2 รูปแบบคือ

  1. Full Truckload (FTL) การส่งสินค้าโดยตรงแบบเหมาคัน ส่งตรงไปให้ลูกค้าแต่ละราย โดยทั้งคันรถจะมีสินค้าของลูกค้าเพียงรายเดียว เหมาะสำหรับลูกค้าที่ต้องการประหยัดเวลาในการขนส่ง
  2. Less Truck Load (LTL) การจัดส่งสินค้าแบบไม่เหมาคัน เหมาะสำหรับธุรกิจขนาดเล็กที่ไม่มีจำนวนสินค้าในการจัดส่งมากนัก จึงทำให้ต้องจัดส่งสินค้ารวมกับสินค้าของผู้อื่นและค่าจัดส่งมีราคาถูก

ตัวอย่างผู้ให้บริการ

  • PanTruck

การขนส่งทางน้ำ

ขนส่งสินค้าด้วยเรือ เหมาะสำหรับการขนส่งระยะทางไกล การขนส่งทางน้ำคือการขนส่งที่ใช้เวลานานที่สุด แต่ก็เป็นการขนส่งที่ถูกที่สุด

ขนส่งทางน้ำมี 2 รูปแบบ

  1. Full Container Load (FCL) การขนส่งสินค้าแบบบรรจุเต็มตู้ ใช้พื้นที่คอนเทนเนอร์โดยไม่ต้องแชร์กับผู้อื่น ต้องติดต่อกับ Ocean Liner/Ocean Carrier เพื่อขอซื้อพื้นที่ในการวางตู้คอนเทนเนอร์
  2. Less than Container Load (LCL) การขนส่งสินค้าแบบแบ่งพื้นที่ในตู้กับผู้อื่น เหมาะสำหรับธุรกิจที่มีสินค้าจำนวนน้อยและยังสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายในการจัดส่งได้อีกด้วย เนื่องจากไม่ต้องเสียค่าระวางเต็มตู้

ตัวอย่างผู้ให้บริการ

  • Cargo Pacific Oversea
  • AEC Logistics