ผลงานของบาทหลวงปาลเลอกัวซ์ที่มีความสำคัญต่อการศึกษาประวัติศาสตร์ไทย คือ

บาทหลวงปาลเลอกัวซ์

บาทหลวงปาลเลอกัวซ์

สมัยรัตนโกสินทร์

ผลงานของบาทหลวงปาลเลอกัวซ์ที่มีความสำคัญต่อการศึกษาประวัติศาสตร์ไทย คือ

ประวัติ

จนปี พ.ศ. 2378 มุขนายก ฌ็อง-ปอล-อีแลร์-มีแชล กูร์เวอซี (Jean-Paul-Hilaire-Michel Courvezy) ประมุขมิสซังสยามในขณะนั้นได้แต่งตั้งท่านเป็นอุปมุขนายก (vicar general) แล้วให้ดูแลดินแดนสยามในช่วงที่ท่านไปดูแลมิสซังที่สิงคโปร์ เมื่อกลับมาก็ได้รับอนุญาตจากสันตะสำนักให้อภิเษกท่านปาเลอกัวเป็นมุขนายกรองประจำมิสซังสยาม (Coadjutor Vicar Apostolic of Siam) ในปี พ.ศ. 2381  พร้อมทั้งดำรงตำแหน่งมุขนายกเกียรตินามแห่งมาลลอส เมื่อมีการแบ่งมิสซังสยามออกเป็นสองมิสซัง ท่านจึงได้รับแต่งตั้งให้เป็นประมุขมิสซังสยามตะวันออกเป็นท่านแรก ในวันที่ 10 ก.ย. พ.ศ. 2384

ผลงานสำคัญ

            บาทหลวงปาลเลอกัวซ์  หรือฌอง  แบบตีสต์  ปาลเลอกัวซ์  (พ.ศ. 2348 - 2405)  ชาวฝรั่งเศส  เป็นบาทหลวงนิกายโรมันคาทอลิกเข้ามาเผยแผ่คริสต์ศาสนาที่เมืองไทยตั้งแต่ พ.ศ. 2373  ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว  เริ่มแรกท่านพำนักอยู่ที่วัดอัสสัมชัญ  ต่อมาได้ย้ายไปตามเมืองต่าง ๆ จนกระทั่งใน พ.ศ. 2381  ได้เป็นสังฆราช ณ วัดคอนเซ็ปชัญบาทหลวงปาลเลอกัวซ์ได้ศึกษาภาษาไทยและภาษาบาลีจนมีความรู้ดี  รวมทั้งมีความรู้ด้านดาราศาสตร์  ภูมิศาสตร์  และวิทยาศาสตร์  บาทหลวงปาลเลอกัวซ์ได้สร้างสรรค์ผลงานวิชาความรู้ที่มีคุณค่ายิ่งต่อการศึกษาและประวัติศาสตร์ไทย

          ผลงานสำคัญที่มีต่อการสร้างสรรค์ชาติไทยสามารถสรุปได้ดังนี้
                    1.  ด้านอักษรศาสตร์  บาทหลวงปาลเลอกัวซ์ศึกษาภาษาไทยและบาลีจนมีความรู้แตกฉาน  และได้ทำพจนานุกรมภาษาไทยขึ้น  โดยมีวชิรญาณเถระ    ได้ทรงช่วยจัดทำด้วย  และบาทหลวงปาลเลอกัวซ์ได้ถวายการสอนภาษาละตินให้พระองค์  ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญที่ทำให้พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงทราบความรู้และความคิดของชาวตะวันตก
                    นอกจากนี้  บาทหลวงปาลเลอกัวซ์ได้เขียนพจนานุกรมสี่ภาษา  คือ  ภาษาไทย  ละติน  ฝรั่งเศส  อังกฤษ หรือสัพพะ  พะจะนะ  พาสาไท  พิมพ์ขึ้นใน พ.ศ. 2397  เขียนหนังสือไวยากรณ์ภาษาไทยเป็นภาษาฝรั่งเศส  และแต่งหนังสือเรื่อง  "เล่าเรื่องเมืองสยาม"  ทำให้ชาวยุโรปรู้จักเมืองไทยดียิ่งขึ้น

                                     2.  ด้านวิทยาการตะวันตก  บาทหลวงปาลเลอกัวซ์มีความรู้ในด้านภูมิศาสตร์และวิทยาศาสตร์  โดยเฉพาะดาราศาสตร์  ฟิสิกส์  และเคมี  และมีความรู้ความชำนาญทางด้านวิชาการถ่ายรูป  รวมทั้งเป็นผู้นำวิทยาการถ่ายรูปเข้ามาในประเทศไทยเมื่อ พ.ศ. 2388  โดยสั่งซื้อกล้องถ่ายรูปมาจากฝรั่งเศส  และมีฝีมือในการชุบโลหะ  ซึ่งบุตรหลานข้าราชการบางคนได้เรียนรู้วิชาเหล่านี้จากท่าน  นอกจากนี้  บาทหลวงปาลเลอกัวซ์ได้สร้างโรงพิมพ์ภายในวัดคอนเซ็ปชัญและจัดพิมพ์หนังสือสวดมนต์

                    3.  ด้านศาสนา  บาทหลวงปาลเลอกัวซ์ได้สร้างความเจริญรุ่งเรืองให้แก่คริสตศาสนจักรคาทอลิกในประเทศไทย  เช่น  สร้างสำนักพระสังฆราชเพื่อเผยแผ่คริสต์ศาสนาที่วัดอัสสัมชัญบางรัก  และได้ย้ายจากวัดคอนเซ็ปชัญไปอยู่ที่วัดอัสสัมชัญจนกระทั่งมรณภาพ                  

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

หมอบรัดเลย์ (ดร.แดน บีช แบรดลีย์ )

ผลงานของบาทหลวงปาลเลอกัวซ์ที่มีความสำคัญต่อการศึกษาประวัติศาสตร์ไทย คือ

ประวัติ           หมอบรัดเลย์  หรือ  แดน บีช แบรดลีย์  (Dan Beach Bradley, M.D.) หรือบางคนเขียนเป็น  หมอบรัดเล หมอปลัดเล   หมอปรัดเล  หรือ  หมอปรัดเลย์  เป็นนายแพทย์ชาวอเมริกันที่เข้ามาเผยแพร่ศาสนาคริสต์ในประเทศไทยสมัยรัชกาลที่ 3 และยังเป็นผู้เริ่มต้นการพิมพ์อักษรไทยในประเทศไทยเป็นครั้งแรก และทำการผ่าตัดในประเทศไทยเป็นครั้งแรก แดน บีช บรัดเลย์ เป็นชาวเมืองมาร์เซลลัส (Marcellus) เกิดเมื่อ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2347 บุตรคนที่ห้าของนายแดน บรัดเลย์และนางยูนิช บีช บรัดเลย์ สำเร็จการแพทย์จาก มหาวิทยาลัยนิวยอร์ก สมรสกับภรรยาคนแรก เอมิลี รอยส์ บรัดเลย์ และภรรยาคนที่สอง ซาราห์ แบลคลี บรัดเลย์            คนไทยกับคนอเมริกันได้พบเห็นหน้าอย่างเป็นทางการครั้งแรกเมื่อในรัชกาลที่ ๓ ในครั้งนั้น ประธานาธิบดีแย็กสัน  (Andrew Jackson) ได้แต่งตั้งให้เอมินราบัดหรือ  เอดมันด์ รอเบิต  (Edmond Roberts) เป็นทูตขี่เรือกำปั่นเข้ามาทำหนังสือสัญญาทางพระราชไมตรีและการค้าขายเมื่อ พ.ศ. ๒๓๗๕ (ภายหลังประเทศอังกฤษ) และต่อจากนั้น ๓ ปี หมอบรัดเลย์ก็นั่งเรือใบเข้ามา              ผลงานสำคัญ ในด้

หม่อมราโชทัย หรือหม่อมราชวงศ์กระต่าย

ผลงานของบาทหลวงปาลเลอกัวซ์ที่มีความสำคัญต่อการศึกษาประวัติศาสตร์ไทย คือ

หม่อมราโชทัย หรือหม่อมราชวงศ์กระต่าย สมัยรัตนโกสินทร์ ประวัติ           หม่อมราโชทัย หรือหม่อมราชวงศ์กระต่าย เป็นโอรสกรมหมื่นเทวานุรักษ์ (หม่อมเจ้าชะอุ่ม) ซึ่งเป็นโอรสในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมขุนอิศรานุรักษ์ เกิดเมื่อ พ.ศ. ๒๓๖๒ ได้ถวายตัวเป็นข้าหลวงในสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ามงกุฎ ขณะยังทรงผนวช และได้เรียนภาษาอังกฤษจนสามารถพูด และเขียนภาษาอังกฤษได้เป็นอย่างดี จนได้ดำรงตำแหน่งล่ามหลวงประจำคณะทูตไทยไปเจริญสัมพันธไมตรีกับอังกฤษเป็นครั้งแรก ผลงานสำคัญ             หม่อมราโชทัย หรือหม่อมราชวงศ์กระต่าย อิสรางกรู เป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญเกี่ยวข้องกับกิจการด้านต่างประเทศในสมัยรัชกาลที่ ๔ โดยดำรงตำแหน่งล่ามหลวงประจำคณะทูตไทยที่ไปเจริญพระราชไมตรีกับประเทศอังกฤษเป็นครั้งแรก และดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาศาลต่างประเทศเป็นคนแรกอีกด้วย

บาทหลวงปาลเลอกัวซ์ได้นำวิทยาการด้านใดเข้ามาเผยแพร่ในไท

พระสังฆราชปัลเลอกัวซ์เป็นผู้นำวิทยาการถ่ายรูปเข้ามาในประเทศไทย เมื่อ พ.ศ. 2388 โดยได้สั่งบาทหลวงอัลบรันด์ซื้อกล้องถ่ายรูปมาจากฝรั่งเศสฝากมากับบาทหลวงลาร์นอดี (L'abbe Larnaudie) เดินทางมาถึงประเทศไทยเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2388.

บาทหลวงปาลเลอกัวซ์เป็นชาวต่างชาติอีกท่านหนึ่งที่ได้ช่วยสร้างสรรค์ชาติไทยในด้านใด

1. ด้านอักษรศาสตร์ บาทหลวงปาลเลอกัวซ์ศึกษาภาษาไทยและบาลีจนมีความรู้แตกฉาน และได้ทำพจนานุกรมภาษาไทยขึ้น โดยมีวชิรญาณเถระ ได้ทรงช่วยจัดทำด้วย และบาทหลวงปาลเลอกัวซ์ได้ถวายการสอนภาษาละตินให้พระองค์ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญที่ทำให้พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงทราบความรู้และความคิดของชาวตะวันตกนอกจากนี้ บาทหลวงปาลเลอ ...

บาทหลวงปาลเลอกัวซ์มีบทบาทเด่นชัดที่สุดในเรื่องใด

พระสังฆราชฌัง-บัปติสต์ ปัลเลอกัวซ์ (Bishop Jean-Baptiste Pallegoix) นับเป็นผู้มีคุณูปการอย่างมากต่อประเทศสยาม ด้วยเป็นผู้มีความรู้ทางด้านภาษาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ภูมิศาสตร์ ดาราศาสตร์ เคมี ฟิสิกส์ การชุบแร่โลหะ วิชาไฟฟ้าและวิชาถ่ายรูป โดยส่วนใหญ่เกิดจากการอ่านตำรับตำราและทดลองทำด้วยตนเองจนประสบผลสำเร็จ แล้วท่านได้นำเอา ...