มาตรฐาน ที่ใช้ ใน เว็บ ประกอบ ไป ด้วย กี่ มาตรฐาน อะไร บ้าง

  • หน้าแรก

  • เทคนิคการทำเว็บไซต์

  • เว็บที่ดี ต้องมีองค์ประกอบอะไรบ้าง

ปัจจุบันทำเว็บไม่ใช่เรื่องยาก แต่จะทำเว็บอย่างไรให้ประสบความสำเร็จ (มีคนเข้าจำนวนมาก) ดังนั้น เราจึงมีความจำเป็นต้องเข้าใจองค์ประกอบในการทำเพื่อให้ได้เว็บที่มีคุณภาพ เปิดดูได้อย่างรวดเร็ว รวมทั้งสามารถเปิดใช้งานได้ทุกๆ เว็บบราวเซอร์อย่างไม่มีปัญหา

ส่วนประกอบของเว็บไซต์ที่ดี

มาตรฐาน ที่ใช้ ใน เว็บ ประกอบ ไป ด้วย กี่ มาตรฐาน อะไร บ้าง
 

       • ส่วนหัว (Header)

          สำหรับไว้แสดงโลโก้ หรือข้อความที่บ่งบอกว่า เว็บไซต์ของเรามีเนื้อหาอะไรบ้าง ในส่วนหัว อาจเป็นพื้นที่

          สำหรับใส่ป้ายโฆษณา สำหรับการหารายได้พิเศษ นอกจากนี้อาจมีคำนิยามของเว็บหรือสโลแกนต่อท้าย

          โลโก้ (อาจมีหรือไม่มีก็ได้) ถ้ามี อาจทำให้คุ้นเคยได้ง่ายขึ้น

       • ส่วนท้าย (Footer)

          สำหรับแสดงรายละเอียดพื้นฐาน เช่น ใส่คำพูด ส่วนลิขสิทธิ์ (copyright) หรือใส่ที่อยู่ในการติดต่อ)

       • เนื้อหา (Contents)

          หมายถึง ข้อมูลที่เราต้องการให้ผู้เยี่ยมชมรับทราบ? เนื้อหาที่ดีควรมีการจัดแบ่งเป็นหมวดหมู่ให้ชัดเจน

          เพื่อให้สะดวกในการติดตามอ่านข้อมูลอื่นๆ เพ่ิมเติม ส่วนประเภทเนื้อหา ประกอบด้วย

             • ข้อความที่เป็นตัวอักษร

             • รูปภาพ / ภาพเคลื่อนไหว

             • ไฟล์เสียง

             • วีดีโอ

       • เมนู (Navigator)

          ไม่หลงผิดไปทิศทางอื่นๆ การมีเมนู ช่วยให้การค้นหาข้อมูลได้สะดวกมากขึ้น การวางเมนู ส่วนใหญ่จะอยู่

          ด้านบน ด้านซ้ายหรือด้านขวา เป็นหลัก ส่วนหลายๆ เว็บในปัจจุบัน มีการเพิ่มเมนูในส่วนท้าย อาจเป็น

          เพราะเนื้อหามีความยาวเกินหนึ่งหน้าหรือเพื่อเป็นการเพิ่มความสะดวกในการเข้าถึงเนื้อหาในส่วนอื่นๆ

       • ช่องว่าง (Space)

          ไม่จำเป็นที่เว็บไซต์หนึ่งๆ จะมีเนื้อหาแบบเต็มหน้าจนเกินไป การมีช่องว่างบ้าง เพื่อให้ได้ผ่อนคลายเวลา

          เข้าเว็บของเราไม่รู้สึกอึดอัด นอกจากนี้ยังเกี่ยวเนื่องกับการออกแบบด้วย

เนื้อหาส่วนประกอบและการจัดวางองค์ประกอบของเว็บไซต์ จะมีมาตราฐานดังตัวอย่างข้่างต้น แต่ถ้าเรามีการปรับเปลี่ยนหรือย้ายตำแหน่ง อาจทำให้ผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์ของเราเกิดความสับสนได้ ดังนั้น เพื่อเป็นการเริ่มต้นการทำเว็บทีดี แนะนำให้ทำตามดังตัวอย่างมาตราฐานก่อน

อีกนิด การทำเว็บที่สามารถรองรับการการแสดงผลในทุกๆ อุปกรณ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับสมาร์ทโฟน และแท็บเล็ต ยิ่งจะเป็นส่วนช่วยให้เว็บประสบความสำเร็จมากขึ้น อยากทราบรายละเอียด พิมพ์คำว่า responsive web บนช่อง search ของเราได้เลยครับ..

ขอให้สนุกกับการทำเว็บน่ะครับ เอาใจช่วยอยู่ครับ..

Credit : Thamwebiseasy.com

มาตรฐานของระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

มาตรฐาน ที่ใช้ ใน เว็บ ประกอบ ไป ด้วย กี่ มาตรฐาน อะไร บ้าง
กระบวนการกำหนดมาตรฐาน

มาตรฐานของระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต หมายถึง กระบวนการกำหนดมาตรฐาน เพื่อแก่ไขปัญหาปัญหา พิจารณาตัดสินใจเลือกทางใดทางหนึ่งโดยจะอาศัยหลักการแก้ปัญหาที่ได้ผลที่ดีที่สุดเป็นสำคัญ และนำแนวทางแก้ไขปัญหาที่ได้เลือกแล้วไปรับรองมาตรฐานและประกาศใช้งาน

กระบวนการกำหนดมาตรฐาน มีอยู่ด้วยกัน 3 ข้อได้เเก่ 

  1. กำหนดรายละเอียดของปัญหา เพื่อพัฒนาตามแนวคิดวิทยาศาสตร์
  2. กำหนดทางเลือก เพื่อแก้ไขปัญหา พิจารณาตัดสินใจเลือกทางเลือกใดทางเลือกหนึ่ง โดยอาศัยหลักการแก้ปัญหาที่ได้ผลที่ดีที่สุดเป็นสำคัญ
  3. การยอมรับ นำแนวทางแก้ไขปัญหาที่ได้เลือกแล้วไปรับรองมาตรฐานและประกาศใช้งาน

มาตรฐานของระบบเครือข่าย การกำหนดมาตรฐานเกิดขึ้นได้ 2 ลักษณะคือ De Facto และ De Jure

  • มาตรฐาน De Facto : มาตรฐานโดยพฤตินัย หมายถึง มาตรฐานที่เกิดขึ้นโดยไม่มีการเตรียมการหรือวางแผนล่วงหน้า เช่น IBM PC, Unix
  • มาตรฐาน De Jure : มาตรฐานโดยนิตินัย หมายถึง มาตรฐานที่เกิดขึ้นโดยมีการเตรียมการหรือวางแผนอย่างเป็นทางการ มีการจัดตั้งคณะกรรมการรับผิดชอบและมีการยอมรับอย่างเป็นทางการ แบ่งออกเป็นในระดับภาคหรือระดับระหว่างประเทศ

International Telecommunications Union (ITU)

  • องค์กรที่ทำหน้าที่ในการกำหนดมาตรฐานด้านการสื่อสารโทรคมนาคม
  • ให้คำปรึกษาทางด้านเทคนิคเกี่ยวกับเทคโนโลยีโทรศัพท์ โทรเลข และอุปกรณ์สื่อสารข้อมูล
  • เดิมชื่อ Consultative Committee for International Telephone and Telegraph (CCITT)
  • กำหนดมาตรฐานการสื่อสารโทรคมนาคม เช่น 25 เป็นต้น

American National Standards Institute (ANSI)

  • สถาบันมาตรฐานแห่งชาติแห่งสหรัฐอเมริกา (American National Standards Institute : ANSI)
  • ทำหน้าที่ในการกำหนดมาตรฐานเกี่ยวกับ Fiber Optic Cable Transmissions
  • ANSI เป็นตัวแทนของ สหรัฐอเมริกาในองค์กรจัดการมาตรฐานระหว่างประเทศ (International Standard Organization)

Institute Of Electrical And Electronics Engineering (IEEE)

  • องค์กรมาตรฐานที่จัดการมาตรฐานทางด้านการสื่อสาร (Communication) ที่มีความเชียวชาญทางด้านวิศวกรรม
  • ทำหน้าที่ในการกำหนดทฤษฎีการสร้างและกำหนดผลิตภัณฑ์ ที่เกี่ยวกับทางวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อนำมาใช้กับ Software และอุปกรณ์ในชั้น Physical Layer และชั้น Data-Link Layer
  • กำหนดมาตรฐานเกี่ยวกับ LANs และมาจรฐานในโครงการ 802 เช่น 802.3,802.4,802.11 เป็นต้น

Electronics Industries Association (EIA)

  • ทำหน้าที่ในการกำหนดมาตรฐานสำหรับวงจรไฟฟ้า เช่น รูปแบบการเชื่อมต่อหรือ Interface รายละเอียดของสัญญาณที่ใช้ในการสื่อสาร ขนาดแรงดันไฟฟ้า เช่น มาตรฐาน EIA232 ที่เป็นการสื่อสารแบบอนุกรม (Serial Transmission) เพื่อใช้ติดต่อระหว่างอุปกรณ์เครือข่าย

International Standard Organization (ISO)

  • เป็นหน่วยงานอาสาสมัคร ไม่มีสนธิสัญญาใดบังคับ มีกรรมการด้านเทคนิคซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านสาขาต่าง ๆ ประมาณ 200 คน คณะทำงานอาสาสมัครประมาณ 1 แสนคน
  • มีองค์กรควบคุมมาตรฐานของประเทศต่าง ๆ เป็นสมาชิก 89 ประเทศ เช่น ANSI, BSI, AFNOR, DIN
  • วัตถุประสงค์การทำงาน เพื่อสนับสนุนการกำหนดมาตรฐานระหว่างชาติ
  • ออกมาตรฐานเกี่ยวกับเรื่องต่าง ๆ ไปแล้วมากกว่า 12000 มาตรฐาน
  • กำหนดมาตรฐานระบบเปิด Open System Interconnection : OSI ที่ใช้เป็นมาตรฐานสำหรับการสื่อสารบนเครือข่าย

มาตรฐานของระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เป็นการกำหนดมาตรฐานการเข้าถึงและสิทธิการใช้งานของระบบ โดยพัฒนาตามเเนวคิดวิทยาศาสตร์ เพื่อใช้ในการแก้ไขปัญหา ละการพิจารณาตัดสินใจเลือกทางใดทางหนึ่งโดยอาศัยหลักการแก้ปัญหาที่ได้ผลที่ที่ที่สุดเป็นสำคัญ

ช่องทางการศึกษาเพิ่มเติมข่าวสารที่น่าสนใจเกี่ยวกับ : บทความทั่วไป

  • บทความเกี่ยวกับความรู้ทั่วไป (114)  
  • ถาม - ตอบปัญหาเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์  (696)
  • บทความเกี่ยวกับความรู้ทั่วไป (84)  
  • บทความเกี่ยวกับ Google (210)
  • บทความเกี่ยวกับ Software License ใบอนุญาตซอฟต์แวร์ (9)