สาเหตุ ที่ ทําให้ แอฟริกา พัฒนา ช้า กว่า ทวีปอื่น

ทวีปแอฟริกาเป็นทวีปที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ ๒ ของโลกรองจากทวีปเอเชีย และมีความเกี่ยวพันกับมนุษย์มานาน เพราะจากหลักฐานทางโบราณคดีพบว่า มนุษย์รุ่นแรกสุดถือกำเนิดขึ้นในดินแดนฝั่งตะวันออกของทวีปแอฟริกาเมื่อประมาณ ๓,๕๐๐,๐๐๐ ปีมาแล้วในบริเวณที่เป็นประเทศเคนยาแลประเทศเอธิโอเปียปัจจุบัน แม้แอฟริกาจะเป็นถิ่นกำเนิดของมนุษย์ที่เก่าแก่ที่สุด แต่กลับเป็นทวีปที่มีผู้คนรู้จักน้อยที่สุดและเป็นทวีปที่มีระดับการพัฒนาล้าหลังที่สุด มีทะเลทรายกว้างใหญ่ ป่าดงดิบ และที่ราบสูงเป็นอุปสรรคที่สำคัญมากต่อการพัฒนาและการคมนาคมติดต่อระหว่างกัน

๔.๑ ที่ตั้งและสภาพภูมิศาสตร์ที่มีผลต่อพัฒนาการของทวีป

ทวีปแอฟริกาเป็นทวีปที่มีเส้นศูนย์สูตรพาดผ่านเกือบกลางทวีป ตั้งอยู่ทางใต้ของทวีปยุโรปทวีปแอฟริกามีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ ๓๐ ล้านตารางกิโลเมตร มีประชากรมากกว่า ๑,๐๐๐ ล้านคน (ค.ศ. ๒๐๐๙) กระจายอยู่ใน ๕๔ ประเทศ มีอยู่ ๑๕ ประเทศที่ไม่มีพรมแดนติดทะเลประชากรกระจุกตัวตั้งถิ่นฐานกันมากในบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำ ที่ราบแคบๆ ชายฝั่งทะเล และบริเวณที่มีภูมิอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียนทางเหนือและทางใต้ของทวีป ซึ่งเหมาะแก่การทำเกษตรกรรม อันเป็นอาชีพหลักของคนส่วนใหญ่

ประชากรอาศัยอยู่แบบเบาบางมากในบริเวณที่เป็นทะเลทรายและบริเวณป่าดงดิบในลุ่มแม่น้ำคองโก ซึ่งเป็นป่าฝนร้อนชื้นแถบศูนย์สูตรที่เต็มไปด้วยบึง ที่ลุ่ม และต้นไม้สูงใหญ่ขึ้นเบียดกันทึบจนร่มครึ้มและมีฝนตกชุก

ทวีปแอฟริกานี้ได้ชื่อว่าเป็น ทวีปแห่งที่ราบลุ่ม (Plateau Continent) กล่าวคือ พื้นที่ส่วนใหญ่อยู่เหนือระดับน้ำทะเลตั้งแต่ ๑๕๐-๑,๔๐๐ เมตร มีเทือกเขาแอตลาส (Atles) ทางเหนือ เทือกเขาดราเคนส์เบิร์ก (Drakensberg) ทางใต้ และที่ราบสูงแอฟริกาตะวันออก เป็นต้น มีภูเขาสูงสุด คือ ภูเขาคิริมันจาโร (Kilimanjaro)

การที่ทวีปแอฟริกาล้าหลังและค่อนข้างอยู่โดดเดี่ยวจากผู้คนในทวีปอื่นก็เพราะปัจจัยทางด้านภูมิศาสตร์เป็นสำคัญ กล่าวคือ

๑. มีทะเลทรายสะฮาราครอบคลุมอาณาบริเวณกว้างใหญ่ทางตอนเหนือ จึงขีดคั่นดินแดนแอฟริกาเหนือซึ่งมีภูมิอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียนกับดินแดนส่วนอื่นของทวีป พัฒนาการของปะเทศแถบทางเหนือ เช่น อียิปต์ ลิเบีย ตูนิเซีย จึงแตกต่างจากส่วนอื่นๆ และมีระดับการพัฒนาที่สูงกว่า

๒. มีพื้นที่ขนาดใหญ่ตอนกลางประเทศเป็นป่าฝนร้อนชื้นหรือป่าดิบชื้นที่ทำให้การคมนาคมสัญจรลำบาก และมีโรคภัยเขตร้อนชุกชุมโดยเฉพะโรคมาลาเรีย

๓. แม่น้ำในทวีปแม้จะเป็นสายยาวแต่ไม่ไหลลงทะเลหรือมหาสมุทร อาจลงทะเลสาบหรือไหลผ่านเกาะแก่งและกลายเป็นน้ำตก ทำให้ชาวแอฟริกันไม่สามารถใช้แม่น้ำเพื่อการคมนาคมขนส่งจากชายฝั่งเข้าไปตอนในของทวีป

๔. การขนส่งสินค้าทางทะเลไม่สะดวก เพราะขาดแคลนทั้งเมืองท่า และท่าเรือดีๆ เนื่องจากชายฝั่งของทวีปเว้าแหว่งน้อย เป็นที่ราบสูงชันโดยเฉพาะทางภาคตะวันออก จึงไม่อำนวยต่อการสร้างท่าเทียบเรือหรือทำการประมง

๔.๒ พัฒนาการและการสร้างสรรค์ด้านต่างๆ

สำหรับพัฒนาการและสร้างสรรค์ด้านต่างๆ ของทวีปแอฟริกาสามารถสรุปได้ ดังนี้

๑) พัฒนาการด้านการเมืองการปกครอง นับตั้งแต่โปรตุเกสจัดตั้งสถานีการค้าตามชายฝั่งแอฟริกาและส่งชาวแอฟริกันพื้นเมืองไปเป็นแรงงานให้ผู้ประกอบการโพ้นทะเลชาวยุโรปในทวีปอเมริกา ชาติตะวันตกอื่นๆก็พากันเข้าไปหาประโยชน์จากดินแดนในทวีปแอฟริกาโดยเฉพาะเมื่อเกิดการปฏิวัติอุตสาหกรรมในคริสต์ศตวรรษที่ ๑๙ จนก่อให้เกิดการแย่งกันจับจองดินแดนแอฟริกาเป็นอาณานิคม การเรียกร้องเอกราชของดินแดนในแอฟริกาประสบความสำเร็จครั้งแรกในปลายทศวรรษ ๑๙๕๐ เมื่อโกลด์โคสต์ (Gold Coast) เป็นอิสระจากอังกฤษใน ค.ศ. ๑๙๕๗ และใช้ชื่อประเทศว่า กานา มีดินแดนไม่กี่แห่งที่ต้องต่อสู้เพื่ออิสรภาพอย่างรุนแรง ได้แก่ แอลจีเรีย โมซัมบิก และแองโกลา ส่วนอาณานิคมบางแห่ง เช่น คองโก (ซาอีร์) ไนจีเรีย เมื่อได้รับเอกราชแล้วได้เกิดสงครามกลางเมืองตามมาเพราะความแตกแยกขัดแย้งกันเองในหมู่ชาวพื้นเมือง กระบวนการได้รับเอกราชของอาณานิคมในแอฟริกาสิ้นสุดลงเมื่อนามิเบียแยกตัวออกจากแอฟริกาใต้สำเร็จใน ค.ศ. ๑๙๘๙ ภายหลังได้เอกราชบรรดาผู้คนเชื้อสายของประเทศผู้ปกครองเดิมส่วนใหญ่อพยพกลับถิ่นฐาน และเกิดปัญหาความขัดแย้งภายในประเทศใหม่ขึ้นหลายแห่ง เช่น ที่ไนจีเรีย ยูกันดา เพราะพลเมืองมาจากต่างเผ่า (tribes) และมีความภักดีต่อเผ่าดั้งเดิมของตน

สำหรับรูปแบบการปกครองมักจะดำเนินตามเมืองแม่เดิมของแต่ละแห่ง แต่ระบอบประชาธิปไตยที่สถาปนาขึ้นขาดเสถียรภาพ ทำให้บางแห่งเปลี่ยนแปลงไปสู่ระบอบเผด็จการและการทำรัฐประหารของฝ่ายทหาร การปราบปรามผู้ต่อต้านทำให้เกิดการโค่นล้มผู้นำตามมา

ความไม่มั่นคงทางการเมืองนั้นยังเป็นการเปิดโอกาสให้เป็นเวทีของการแข่งขันอำนาจระหว่างสหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียตในช่วงสงครามเย็น (Cold War) มีหลายดินแดนหรือหลายกลุ่มที่ได้รับความช่วยเหลือด้านกำลังและอาวุธเพื่อมาสู้รบกับคนในแอฟริกาด้วยกันเอง ตั้งแต่ ค.ศ. ๒๐๑๑ได้เกิดเหตุการณ์ขับไล่ผู้นำชาติในแอฟริกาที่บริหารประเทศมานาน ซึ่งมีปัญหาคอร์รัปชั่น การรอนสิทธิเสรีภาพของพลเมือง ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ โดยเริ่มจากตูนิเซีย อียิปต์ ลิเบีย

๒) พัฒนาการด้านเศรษฐกิจ คนส่วนใหญ่มักจะนึกถึงสภาพความอดอยากและความแร้นแค้นในการครองชีพของชาวแอฟริกันมากกว่าที่จะนึกว่าทวีปนี้เป็นแหล่งผลิตเพชร (Johannesburg) ได้ชื่อว่าเป็น นครแห่งทองคำและเมืองคิมเบอร์ลีย์(Kimberley) ได้ชื่อว่า นครแห่งเพชรส่วนประเทศกานาเมื่อครั้งเป็นอาณานิคมของอังกฤษก็ได้ชื่อว่า ชายฝั่งทองคำหรือโกลด์โคสต์ (Gold Coast) ทั้งนี้เพราะเขตความเจริญทางเศรษฐกิจของทวีปปรากฏเป็นเพียงจุดเล็กๆ บนแผนที่เท่านั้น ประชากรร้อยละ ๗๐ ยังคงอาศัยอยู่ในหมู่บ้านหรือเมืองขนาดเล็ก หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง ชาวแอฟริกันยังคงเป็นชาวชนบท ซึ่งส่วนใหญ่ดำรงชีพด้วยการเพาะปลูก จากรายงานการพัฒนามนุษย์ของสหประชาชาติ ค.ศ. ๒๐๐๓ ประเทศที่อยู่ในลำดับที่ ๑๕๑-๑๗๕ ล้วนอยู่ในทวีปแอฟริกาทั้งสิ้น

สำหรับมูลเหตุแห่งความล้าหลังทางเศรษฐกิจของทวีปแอฟริกาสามารถสรุปได้ ดังนี้

๒.๑) การตกอยู่ภายใต้การชี้นำทางเศรษฐกิจของประเทศตะวันตกที่เข้ามาตั้งอาณานิคม เมื่อได้รับเอกราชใหม่ๆ เศรษฐกิจของประเทศต่างๆ มักขึ้นอยู่กับการส่งออกผลิตผลทางการเกษตรหรือแร่ธาตุเพียงชนิดเดียว การพึ่งพิงการผลิตสินค้าประเภทเดียวจะถูกกระทบอย่างรุนแรงจากอัตราการขึ้นลงของราคาในตลาดโลก ประเทศต่างๆ ในปัจจุบันจึงพยายามขยายประเภทของสินค้าและกระจายสินค้าสู่วงกว้าง ไม่ได้ตลาดที่รองรับมีเพียงผู้ซื้อไม่กี่ราย

๒.๒) ความลำบากในการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและการคมนาคมขนส่งสินค้าและวัตถุดิบในทวีป เพราะมีอุปสรรคที่เกิดจากสภาพภูมิศาสตร์ โดยเฉพาะจากแม่น้ำสายหลัก ๔ สาย ได้แก่ แม่น้ำไนล์ แม่น้ำคองโก แม่น้ำไนเจอร์ และแม่น้ำแซมบีซี แม่น้ำทั้ง ๔ สายมีกำเนิดมาจากบริเวณที่สูงตอนกลางของทวีป บางตอนไหลผ่านที่สูงชันเป็นหน้าผาหรือเกาะแก่ง น้ำจะไหลเชี่ยวมาก ทำให้ไม่สามารถเดินเรือไก้ตลอด พื้นที่ที่เป็นทะเลทราย ป่าร้อนชื้น น้ำตก และที่ราบสูง ก็ทำให้ยากต่อการตัดเส้นทางรถไฟผ่านทวีป บริการรถไฟจึงมักเป็นเพียงสายสั้นๆ เชื่อมเขตไร่ขนาดใหญ่หรือเขตเหมืองแร่กับเมืองท่าริมฝั่งทะเล นอกจากนี้ การเกิดกรณีพิพาทระหว่างประเทศหรือกลุ่มชนก็กระทบกระเทือนการเชื่อมต่อดินแดนต่างๆ ด้วย

๒.๓) การทำเกษตรกรรมไม่ได้ผลดี นอกจากเพราะขาดแคลนเทคโนโลยีแล้วยังเนื่องมาจากพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศแห้งแล้ง บริเวณที่เพาะปลูกอยู่ในเขตฝนตกน้อยและอากาศร้อน การระเหยของน้ำเป็นไปอย่างรวดเร็ว การเกษตรที่ได้ผลดีจะอยู่ในเขตที่ชาวยุโรปเข้าไปบุกเบิกด้วยการทำไร่ขนาดใหญ่ มีเทคโนโลยีทันสมัย เช่น ในเคนยามีการทำไร่กาแฟขนาดใหญ่ ไนจีเรียทำไร่ปาล์มน้ำมัน เป็นต้น

บางประเทศพยายามหารายได้โดยการนำจุดเด่นของทวีมาใช้ประโยชน์ เช่น การกำหนดเขตอุทยานสัตว์ป่าและให้นักท่องเที่ยวเข้าชมสัตว์ในสภาพธรรมชาติ เช่น ในประเทศแอฟริกาใต้ ซิมบับเว แคเมอรูน เคนยา แทนซาเนีย บูร์กินาฟาโซ เป็นต้น อย่างไรก็ดี การที่ประชากรแอฟริกันเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้พลเมืองบางส่วนโดยเฉพาะชาวไร่และผู้เลี้ยงสัตว์ไม่เห็นด้วยกับการใช้ที่ดินในลักษณะนี้โดยเฉพาะที่เคนยา รัฐบาลจึงต้องแก้ปัญหาโดยนำเงินที่ได้จากอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวมาจ่ายให้แก่ชาวบ้านที่ดำรงชีพอยู่ใกล้ๆ เขตอุทยาน

๓) พัฒนาการด้านสังคมและศิลปวัฒนธรรม พลเมืองในทวีปแอฟริกาแบ่งออกเป็น ๒กลุ่มใหญ่ คือพวกแอฟริกาผิวดำและพวกคอเคเซียน พวกแรกจะมีจำนวนมากกว่าและดำรงชีพอยู่ทั่วไป ส่วนทางเหนือมักจะเป็นพวกเชื้อสายคอเคเซียน ซึ่งเป็นพวกอาหรับผสมกับชนพื้นเมือง เช่น พวกเบอร์เบอร์ (Berbers) ชาวแอฟริกันเขตนี้จะมีความสัมพันธ์ด้านวัฒนธรรมและเชื้อชาติกับกลุ่มชาวอาหรับในตะวันออกกลาง ในแอฟริกาตะวันออกก็มีการผสมผสานระหว่างชาวอาหรับกับชนพื้นเมืองเผ่าบันตู (Bantu) ก็ให้เกิดวัฒนธรรมเฉพาะ ที่เรียกว่าแบบ สวาฮิลี นอกจากนี้ ยังมีพวกคอเคเซียนจากยุโรปเข้าเข้าไปตั้งถิ่นฐานจำนวนมากทางภาคใต้โดยเฉพาะในสาธารณรัฐแอฟริกาใต้ ได้แก่ พวกที่มีเชื้อสายดัตช์ และอังกฤษ

ส่วนพวกแอฟริกันผิวดำซึ่งเป็นชนส่วนใหญ่ของทวีปแบ่งเป็นกลุ่มย่อยได้หลายกลุ่ม เช่น พวกทุตซี (Tutsi) ในแอฟริกากลางค่อนไปทางตะวันออก จะมีรูปร่างสูง พวกปิกมี (Pygmies) อาศัยอยู่เขตร้อนชื้นแถบศูนย์สูตรเป็นพวกที่มีรูปร่างเล็ก พวกบุชเมน (Bushmen) พวกฮอตเทนทอต (Hottentot) อาศัยอยู่ทางตอนใต้ เป็นต้น นักมานุษยวิทยาคาดว่าพวกแอฟริกันผิวดำมีมากกว่า ๓,๐๐๐ กลุ่ม

ภาษาที่ใช้พูดในแอฟริกามีมากกว่า ๑,๐๐๐ ภาษา เช่น ทางเหนือพูดภาษาอารบิก ทางตะวันตกพูดภาษาโยรูบา (Yoruba) ทางตะวันออกพูดภาษากิสวาฮิลี (Kiswahili) ใต้เส้นศูนย์สูตรพูดภาษาที่รวมเรียกว่า ภาษาบันตู (Bantu) เป็นต้น ปัญหาของการใช้ภาษาแตกต่างกันทำให้หลายประเทศภายหลังได้รับเอกราชยังคงใช้ภาษาอังกฤษและภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาราชการ

ส่วนทางด้านศาสนานั้น ชาวแอฟริกันนับถือทั้งคริสต์ศาสนา ศาสนาอิสลาม และความเชื่อดั้งเดิมในท้องถิ่นซึ่งเชื่อในวิญญาณ (Animism) คริสต์ศาสนาเข้ามาเผยแผ่ประมาณคริสต์ศตวรรษต้นๆ ในอียิปต์และเอธิโอเปีย และเข้ามารุ่นหลังโดยมิชชันนารีทั้งคาทอลิกและโปรเตสแตนต์ส่วนศาสนาอิสลามมีผู้นับถือมากกว่าร้อยละ ๒๕ ชาวมุสลิมส่วนใหญ่นับถือนิกายซุนนี (Sunni) โดยอยู่ในอียิปต์ ไนจีเรีย แอลจีเรีย ซูตาน และโมร็อกโก

๔.๓ อิทธิพลของทวีปแอฟริกาต่อสังคมโลก

แอฟริกาเป็นภูมิภาคที่ประชากรหลายล้านคนขาดแคลนทั้งอาหารและสุขอนามัยต่างๆ เพราะระดับการพัฒนาล้าหลังที่สุดในโลก ขณะที่อัตราการเกิดเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วง ๔๐ ปีที่ผ่านมาจนประชากรเพิ่มจาก ๒๒๑ ล้านคนใน ค.ศ. ๑๙๕๐ เป็น ๑,๐๐๐ ล้านคนใน ค.ศ. ๒๐๐๙ นอกจากนี้ ยังเป็นดินแดนที่มีปัญหารุนแรงเรื่องการแพร่ระบาดของโลกเอดส์ (AIDS) และโรคมาลมเรีย รวมถึงปัญหาทางด้านนิเวศวิทยาที่ส่งผลกระทบต่อสภาวะแวดล้อมของโลก เช่น การขยายตัวของพื้นที่ทะเลทราย การที่ป่าถูกทำลายกว่า ๔ ล้านเฮกตาร์ต่อปี และเขตทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์เสื่อมโทรมถึงกว่าร้อยละ ๓๐ นอกจากนี้ ยังมีปัญหาความขัดแย้งภายในของหลายประเทศ

อย่างไรก็ดี หลายประเทศสนใจเข้าไปลงทุนในแอฟริกาเพราะยังมีทรัพยากรธรรมชาติจำนวนมหาศาลและแรงงานราคาถูก เช่น ใน ค.ศ.๒๐๐๗ จึงลงทุนในแอฟริกามูลค่ารวม ๑,๐๐๐ ล้านดอลลาร์สหรัฐ แต่ความไม่เป็นประชาธิปไตยและขาดความโปร่งใสของผู้ปกครองก็อาจทำให้รายได้ของประเทศไม่กระจายทั่วถึงซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของสงครามกลางเมืองในแอฟริกา

ทำไมแอฟริกาถึงพัฒนาช้ากว่าทวีปอื่น

ระดับการพัฒนาของทวีปแอฟริกาล้าหลังกว่าที่อื่นๆ ของโลก โดยมักอ้างถึงสาเหตุสองประการ หนึ่งคือเป็นเพราะผู้ล่าอาณานิคมแบ่งเส้นเขตแดนประเทศจากผลประโยชน์ของประเทศตนเอง และสองเพราะโครงสร้างสถาบันที่มีอยู่เดิมของแอฟริกาไม่มีประสิทธิภาพ ซึ่งถกเถียงกันตลอดมา เครื่องมือเศรษฐมิติจะช่วยตอบคำถามนี้ให้กับเรา ……

เพราะเหตุใดทวีปแอฟริกาจึงมีการพัฒนาอุตสาหกรรมเป็นไปด้วยความยากลำบาก

มีทะเลทรายสะฮารา ซึ่งเป็นทะเลทรายขนาดใหญ่ที่สุดของโลก ขณะที่บางพื้นที่ก็เป็นป่าดิบชื้น ซึ่งนับเป็นปัญหาทางด้านการคมนาคมขนส่งระหว่างประเทศต่างๆ ในทวีปแห่งนี้ ทั้งยังมีปัญหาเรื่องการมีโรคระบาดร้ายแรงหลายชนิด เช่น โรคเอดส์ มาลาเรีย

ลักษณะทางภูมิศาสตร์ใดที่ทำให้ทวีปแอฟริกาล้าหลังจากทวีปอื่น

1. ลักษณะทางภูมิศาสตร์ใดที่ทำให้ทวีปแอฟริกาล้าหลังและโดดเดี่ยวจากทวีปอื่น ภูฒฺประเทศเป็นที่สูงและเป็นทะเลทราย ไม่มีชายฝั่งเว้าแหว่งในการจอดเรือ และอยู่ในเขตป่าฝนร้อนชื้นมีแม่น้ำสายยาวที่ใช้ประโยชน์น้อย

ปัจจัยทางภูมิศาสตร์มีผลต่อการพัฒนาของทวีปแอฟริกาอย่างไร

๑. เพราะมีภูมิศาสตร์ที่เส้นทางติดต่อกับทวีปยุโรปและ ทวีปเอเชีย ทาให้เกิดการแลกเปลี่ยนวิทยาการต่าง ๆ จึงทาให้มีความเจริญกว่าภูมิภาคอื่นในแอฟริกาที่ไม่ได้ ๒. มีทะเลทรายซาฮารา ที่กั้นระหว่างแอฟริกาตอนเหนือ กับแอฟริกาตอนใต้จึงทาให้ความเจริญไม่ลงไปสู่แอฟริกา ตอนใต้เกิดความแตกต่างทางสังคมวัฒนธรรมอย่างชัดเจน