ปัญหาดินอินทรีย์ หรือดินพรุ เกิดขึ้นที่ภาคใดของประเทศไทยมากที่สุด

8. ปัญหาของดินและการใช้ที่ดิน

ในความคิดของคนทั่วไป ดินอาจเป็นตัวก่อให้เกิดมลพิษในอากาศได้ เช่น ฝุ่นดินที่เกิดจากบริเวณที่มี การก่อสร้างต่าง ๆ หรือการเกิดตะกอนดินในแหล่งน้ำจากการชะล้างพังทลายของดินบริเวณต้นน้ำลำธาร ทำให้น้ำขุ่นและเกิดการทับถมบริเวณปากแม่น้ำกลายเป็นสันดอนปากแม่น้ำ ขัดขวางการคมนาคมทางน้ำ เป็นต้น ในบางกรณีมนุษย์เองก็เป็นปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาวะแวดล้อมของดิน ลำให้เกิด มลพิษกับดินได้ เช่น การทำเหมืองแร่ การเกษตรสมัยใหม่ การขยายเมือง การอุตสาหกรรม ซึ่งพอจะสรุป ปัญหาเกี่ยวกับการใช้ดินและที่ดินได้ ดังต่อไปนี้

     8.1 ปัญหาที่เกิดจากสภาพธรรมชาติของดินเอง

         1) ดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ จากการสำรวจและรายงานของกรมพัฒนาที่ดินพบว่า ดินส่วนใหญ่ ของประเทศไทยมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำโดยธรรมชาติ สาเหตุเพราะประเทศไทยตั้งอยู่ในเขตศูนย์สูตร อุณหภูมิ สูง มีฝนตกชุก แร่ธาตุในดินจึงเกิดการสลายตัว เปลี่ยนสภาพและสูญหายไปกับน้ำได้รวดเร็วเป็นจำนวนมาก นอกจากนั้นดินบางแห่งที่มีวัตถุต้นกำเนิดจากหินทรายทำให้เกิดการชะล้างพังทลายได้ง่าย ก่อให้เกิด ดินเสื่อมโทรม โดยเฉพาะบริเวณที่มีความลาดชันสูง พื้นที่ดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ ประมาณ 98.7 ล้านไร่ หรือประมาณร้อยละ 30.7 ของประเทศ

         2) ปัญหาดินเค็ม เป็นดินที่มีเกลือละลายน้ำได้เป็นองค์ประกอบอยู่สูง จนเป็นอันตรายต่อพืชที่ปลูก ดินเค็มในประเทศไทยพบมากที่สุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือกระจัดกระจายกันอยู่ถึง 37 ล้านไร่ แบ่งเป็น ดินเค็มจัดและเค็มปานกลาง 5.2 ล้านไร่ ซึ่งไม่สามารถปลูกพืชทางเกษตรได้ และดินเค็มน้อยมีเนื้อที่ 12.6 ล้านไร่ ส่วนอีก 19.2 ล้านไร่ เป็นบริเวณที่มีศักยภาพในการแพร่กระจายดินเค็มสูงและรวดเร็วมาก นอกจากนั้นยังพบ ดินเค็มบริเวณชายฝั่งทะเล มีเนื้อที่รวมกันประมาณ 3 ล้านไร่ สามารถใช้ประโยชน์ในการทำนาเกลือ ปลูกพืช ได้บางชนิด เช่น มะพร้าว และใช้ประโยชน์ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง เช่น กุ้ง หอย ปู และปลา เป็นต้น

         3) ดินเปรี้ยวจัดหรือดินกรดกำมะถัน คือ ดินที่มีสภาพเป็นกรดกำมะถันอยู่ในชั้นหน้าดิน มีลักษณะนำขังและมีฝ้าสีเหลืองฟางข้าว ดินมักจะมีการระบายน้ำไม่ดี สภาพดินเป็นกรดจัด มีค่า pH อยู่ใน ระดับต่ำกว่า 5.5 ลงไป ทำให้พืชขาดธาตุไนโตรเจนและฟอสฟอรัสในรูปที่พืชสามารถนำไปใช้ได้ พื้นที่ดินเปรี้ยว มีประมาณ 9 ล้านไร่ หรือร้อยละ 2.81 ของพื้นที่ประเทศ พบในที่ราบลุ่มภาคกลางประมาณ 5.2 ล้านไร่ น่าน ที่เหลือกระจัดกระจายอยู่ตามบริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออกและตะวันออกเฉียงใต้ของคาบสมุทรภาคใต้

         4) ดินเป็นทรายจัด เป็นดินที่มีเนื้อทรายมากกว่าร้อยละ 95 โดยปริมาตร 6.9 ล้านไร่ หรือร้อยละ 2.15 ของพื้นที่ประเทศ ส่วนใหญ่อยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นอก ภาคเหนือและพื้นที่ริมฝั่งทะเล

         5) ดินดาน เป็นดินที่มีชั้นดานจับตัวกันแข็ง เกิดจากการสะสมผนึกแน่นของอินทรียวัตถุและ ออกไซด์ของแร่ธาตุบางชนิด แผ่เป็นชั้นลึกประมาณ 1 เมตร ในชั้นดินดานนี้น้ำซึมผ่านไม่ได้ มีเนื้อที่ประมาณ 0.6 ล้านไร่ หรือร้อยละ 0.18 ของพื้นที่ประเทศ พบที่บริเวณภาคใต้ของประเทศเป็นส่วนใหญ่

         6) ดินเป็นกรวด เป็นดินที่มีชั้นลูกรัง เศษหิน กรวดมนเล็กที่มีขนาดโตกว่า 2 มม. ขึ้นไปปะปน อยู่มากกว่าร้อยละ 25 โดยปริมาตร ดินจำพวกนี้มีมากในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือ ประมาณ 52.3 ล้านไร่ หรือร้อยละ 16.3 ของพื้นที่ประเทศ

         7) ดินอินทรีย์ เป็นดินที่มีอินทรียวัตถุสะสมอยู่ที่ผิวชั้นบนในปริมาณสูง เป็นชั้นหนาตั้งแต่ 2-3 เซนติเมตร ถึงเกือบ 10 เมตร มักพบบริเวณที่เป็นแอ่งมีน้ำท่วมขัง บางครั้งเรียกพื้นที่นี้ว่า ป่าพรุ มีพื้นที่ประมาณ 0.5 ล้านไร่ ส่วนใหญ่พบในจังหวัดนราธิวาส พัทลุง 

     8.2 ปัญหาที่เกิดจากการใช้ที่ดิน

         1) การพังทลายและการสูญเสียหน้าดิน (Soil Erosion) หรือ กษัยการของดิน คือ การที่ส่วนใด ส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดของดินมีการถูกพัดพาให้เคลื่อนที่ไป โดยปกติจะเป็นไปโดยธรรมชาติอยู่แล้วในลักษณะ ค่อยเป็นค่อยไป แต่ในปัจจุบันมีปัญหามาจากการที่เกษตรกรเตรียมดินเพื่อการเพาะปลูกบนที่ลาดชันไม่ถูกต้อง ตามหลักวิชาการ หรือหลักการอนุรักษ์ดินและน้ำ เช่น ไถพื้นที่และปลูกพืชตามแนวขึ้นลง เปิดหน้าดินโล่ง ไม่มี สิ่งปกคลุมดิน เมื่อฝนตกจึงเกิดการชะล้างพังทลายขึ้น ช่วยเร่งให้ดินเสื่อมโทรมเร็วขึ้นและเกิดผลกระทบต่อ สิ่งแวดล้อมอื่น ๆ เช่น ในด้านคุณภาพน้ำ ทั่วประเทศไทยมีพื้นที่การพังทลาย 134.5 ล้านไร่ หรือร้อยละ 41.94 ของเนื้อที่ประเทศ ในจำนวนดังกล่าวจัดเป็นพื้นที่ประสบปัญหาที่มีการสูญเสียดินในระดับปานกลางถึง ขั้นรุนแรงที่สุด ประมาณ 109 ล้านไร่ หรือร้อยละ 34 ของเนื้อที่ประเทศ เป็นต้น การสูญเสียหน้าดินของ ประเทศไทยสามารถแบ่งความรุนแรงออกได้เป็น 5 ระดับ

ตาราง การสูญเสียดินจากการชะล้างพังทลายหรือกษัยการของดินในประเทศไทย (ข้อมูลจาก กรมพัฒนาที่ดิน)

ระดับความ
รุนแรง 
 ปริมาณดินที่สูญเสีย
(ต้น/ไร่/ปี)
ร้อยละของพื้นที่
ทั้งประเทศ 
สภาพการใช้ดิน 
 น้อยมาก  0.01-1.00 37.07  ป่าไม้ นาข้าว
 น้อย  1.01-5.00 28.03   ป่าไม้ สวนยาง สวนผลไม้ นาข้าว
 ปานกลาง  5.01-20.00 8.09   สวนยาง สวนผลไม้ พืชไร่ ป่า
 รุนแรง  20.01-100.00 13.27  สวนยาง สวนผลไม้ พืชไรา นา ไร่เลื่อยลอย
 รุนแรงมาก  100.01-966.65 12.15   พืชไร่ ป่า และไร่เลื่อนลอย
 อื่น ๆ   1.39   พื้นที่ที่ไม่มีนัยสำคัญในการวิเคราะห์ เนื่องจาก
 มีน้อยมาก เช่น นากุ้ง ป่าชายเลน 

         2) การใช้ที่ดินผิดประเภท หมายถึง การใช้ที่ดินไม่ตรงตามสมรรถนะของดิน ว่ามีความเหมาะสม มากน้อยเพียงใด โดยพิจารณาจากผลตอบแทนทางเศรษฐกิจในระยะสั้น ได้แก่ การทาการเกษตรบนพื้นที่สูง แทนการทำเป็นพื้นที่ต้นน้ำ หรือการสร้างเมืองในพื้นที่ที่มีดินอุดมสมบูรณ์ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมในระยะยาว เช่น ทำให้เกิดความเสื่อมโทรมของดิน คุณภาพของนำเลวลง เกิดตะกอนในแม่น้ำลำธาร ทำให้แม่น้ำลำธารตื้นเขิน เป็นต้น จากการศึกษาของนักวิชาการด้านการใช้ที่ดิน พบว่า ในประเทศไทยมี ไร่ การใช้ที่ดินไม่ตรงตามสมรรถนะของดินถึงร้อยละ 34.7 ของพื้นที่ประเทศไทย

         3) ปัญหาความขัดแย้งในการใช้ที่ดิน เกิดขึ้นเมื่อที่ดินมีสมรรถนะสูง สามารถนำไปใช้ประโยชน์ ได้หลายรูปแบบ เช่น สามารถพัฒนาเป็นพื้นที่เกษตร พื้นที่ป่าไม้ หรือพื้นที่เมืองก็ได้ ประกอบกับความกดดัน จากประชากรที่มีความต้องการใช้ที่ดินมากขึ้น จึงเกิดปัญหาการขัดแย้งเกิดขึ้น เช่น บริเวณพื้นที่ป่าสงวน ที่เสื่อมโทรมแล้ว ประชาชนเข้าไปบุกรุกจับจองที่ดินทำกิน ในขณะที่กรมป่าไม้มีความประสงค์เข้าไปปลูกสร้าง สวนป่า ปัญหาความขัดแย้งเหล่านี้จะสามารถแก้ไขได้โดยการประเมินศักยภาพของที่ดิน ว่าเหมาะสมจะใช้ ประโยชน์ด้านใดมากที่สุด

         4) ปัญหากรรมสิทธิ์ในที่ดิน ประเทศไทยมีผู้ประกอบอาชีพทางเกษตรกรถึงร้อยละ 70 ของประเทศ ส่วนใหญ่เป็นผู้อาศัยอยู่ในชนบทและไม่มีที่ดินเป็นกรรมสิทธิ์ของตนเอง ผู้ที่มีที่ดินทำกิน จากการสำรวจทางราชการพบว่ามีเกษตรกรที่ไม่มีที่ดินทำกินเป็นของตนเองประมาณ 9 แสน

กรรมสิทธิ์ของตนเองจะต้องเช่าที่ดินและขายแรงงานให้แก่ ครอบครัว ซึ่งเป็นปัญหาต่อสภาพทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศเป็นอย่างมาก

บริเวณใดของประเทศไทยมีปัญหาเรื่องดินเป็นกรดแหล่งใหญ่ที่สุดในประเทศ

ดินเปรี้ยวจัด หรือ ดินกรดจัด ในประเทศไทย มีอยู่ประมาณ 9 ล้านไร่ โดย 5 ล้านไร่ หรือ กว่าครึ่งหนึ่งของดินเปรี้ยวทั้งหมด อยู่บริเวณที่ราบลุ่มภาคกลาง โดยเฉพาะบริเวณที่เรียกกันว่า ที่ราบลุ่มกรุงเทพฯ โดยมีพื้นที่ราวร้อยละ 35 ของพื้นที่ราบลุ่มนี้ ที่เหลือพบกระจัดกระจายอยู่ตามชายฝั่งทะเลตะวันออกเฉียงใต้ บริเวณลุ่มน้ำจันทบุรี ...

ดินอินทรีย์พบในบริเวณใด

ดินอินทรีย์ พบในพื้นที่ลุ่มต่ำ มีน้ำขังหรือชื้นแฉะเกือบตลอดปี เช่น ที่ลุ่มชื้นแฉะ ที่ลุ่มต่ำระหว่างสันทรายชายฝั่งทะเลที่เรียกว่า พรุ ในพื้นที่เหล่านี้กิจกรรมการย่อยสลายอินทรียวัตถุโดยจุลินทรีย์เกิดขึ้นได้ไม่ดี ทำให้มีกระบวนการสะสมของอินทรียวัตถุมากกว่ากระบวนการย่อยสลาย

ข้อใดเป็นสาเหตุสำคัญที่สุดที่ทำให้ประเทศไทยประสบปัญหาการเสื่อมโทรมของทรัพยากรดิน

ความเสื่อมโทรมของทรัพยากรดิน มีสาเหตุทั้งที่เกิดจากธรรมชาติและเกิดจากการใช้ที่ดินที่ไม่ถูกต้องตามหลักวิชาการ ตัวอย่างของปัญหา เช่น การชะล้างพังทลายของดิน ดินขาดอินทรีย์ และปัญหาที่เกิดจากสภาพธรรมชาติของดินร่วมกับการกระทำของมนุษย์ เช่น ดินเค็ม ดินเปรี้ยว ดินอินทรีย์ (พรุ) ดินทรายจัด และดินตื้น พื้นที่ดินที่มีปัญหาต่อการ ...

ปัญหาที่เกิดกับดินมีอะไรบ้าง

ปัญหาดินทราย ดินระบายน้ำดีเกินไป อุ้มน้ำได้น้อย มีความสามารถในการจับหรือแลกเปลี่ยนประจุธาตุอาหารต่ำ ความอุดมสมบูรณ์ต่ำมาก มีธาตุอาหารน้อย เกิดการชะล้างพังทลายได้ง่าย