ที่มาของเรื่องลิลิตตะเลงพ่าย

194 กวีวัจน์วรรณนา ที่มาของวรรคทอง ลิลิตตะเลงพ่าย ผู้แต่ง สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรสทรงพระนิพนธ์ โดยมีพระองค์เจ้ากปิตถาขัตติยกุมาร พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จ พระพุทธเลิศหล้านภาลัยเป็นผู้ช่วยในการนิพนธ์ ปี/สมัยที่แต่ง ระหว่าง พ.ศ. ๒๓๗๔-๒๓๗๘ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระ นั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ประเภทของวรรณคดี ลิลิตตะเลงพ่ายจัดเป็นวรรณคดียอพระเกียรติ คือวรรณคดีที่มุ่ง สรรเสริญพระเกียรติพระมหากษัตริย์ซึ่งได้แก่สมเด็จพระนเรศวร มหาราช รูปแบบค� ำประพันธ์ ลิลิตตะเลงพ่ายแต่งเป็นลิลิตสุภาพ ประกอบด้วยร่ายสุภาพและ โคลงสุภาพที่มีทั้งโคลงสอง โคลงสาม และโคลงสี่ มีสัมผัสระหว่างร่าย กับโคลงหรือระหว่างโคลงกับร่ายที่เรียกว่า “เข้าลิลิต” วัตถุประสงค์/โอกาสในการแต่ง สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรสทรงพระนิพนธ์ ลิลิตตะเลงพ่ายเพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนเรศวรมหาราช วีรกษัตริย์ผู้กอบกู้เอกราชของชาติไทย ดังที่ทรงระบุไว้ในร่ายตอนต้น เรื่องว่า ...บรรหารเหตุแผ่นภู ชูพระยศเจ้าหล้า อยู่คุงฟ้าคุงดิน เฉกเพลงพิณ ไพเราะ ... เฉลิมพระเกียรติผ่านเผ้า เจ้าจักรพรรดิแผ่นสยามสมญานาม นฤเบศ นเรศวรนรินทร์... �������������� 5 of 5_140809_CC.indd 194 8/8/2557 BE 3:09 PM

Made with FlippingBook

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=

เมื่อได้ความแล้ว ก็รับสั่งให้พระมหาอุปราชาราชโอรสจัดเตรียมทัพพร้อมด้วยทัพเมืองเชียงใหม่ เป็นจำนวนห้าแสนคนยกไปตีกรุงศรีอยุธยา พระมหาอุปราชานั้นไม่อยากไป กราบบังคมทูลว่าโหรทำนายว่าพระองค์เคราะห์ร้ายชะตาถึงฆาต พระเจ้าหงสาวดีจึงตรัสเป็นเชิงประชดว่า “เจ้า อยุธยามีโอรสเก่งกล้าสามารถในการรบ ไม่ต้องให้พ่อสั่งก็จะไปรบเอง เผลอๆ ฝ่ายพ่อเนี่ยแหละที่จะห้าม แล้วดูเจ้าสิ เฮ้อออออ ถ้าเจ้าเกรงว่าเคราะห์ร้ายก็อย่าไปรบเลย เอาผ้าสตรีมานุ่งเถอะจะได้หมดเคราะห์” พระมหาอุปราชาทรงอับอายขุนนางข้าราชการเป็นอันมาก เวลาเช้าตรู่วันรุ่งขึ้นจึงยกทัพไปตามคำสั่ง (แต่ก่อนจะไป ก็มีสั่งลาพระสนมทั้งหลายด้วยความอาวรณ์จนถึงรุ่งเช้า) พระเจ้าหงสาวดี(นันทบุเรง)ก็พระราชทานพรให้ชนะศึกสยาม แล้วทรงชี้เรื่องที่โบราณสั่งสอนไว้ที่เป็นประโยชน์ต่อการรบ คือโอวาท 8 ประการ

1. อย่าเป็นคนหูเบา (จงพ่อย่ายินยล แต่ตื้น)

2. อย่าทำอะไรตามใจตนเอง ไม่นึกถึงใจผู้อื่น (อย่าลองคะนองตน ตามชอบ ทำนา)

3. รู้จักเอาใจทหารให้หึกเหิมอยู่เสมอ (เอาใจทหารหาญ เริงรื่น อยู่นา)

4. อย่าไว้ใจคนขี้ขลาดและคนโง่ (อย่าระคนปนใกล้ เกลือกกลั้วขลาดเขลา)

5. ควรรอบรู้ในการจัดกระบวนทัพทุกรูปแบบ (หนึ่งรู้พยุหเศิกไสร้ สบสถาน)

6. รู้หลักพิชัยสงคราม การตั้งค่าย (รู้เชิงพิชัยชาญ ชุมค่าย ควรนา)

7. รู้จักให้บำเหน็จความดีความชอบแก่แม่ทัพนายกองที่เก่งกล้า

(หนึ่งรู้บำเหน็จให้ ขุนพล

อันสมรรถมือผจญ จืดเสี้ยน)

8. อย่าลดความเพียรหรืออย่าเกียจคร้าน (อย่าหย่อนวิริยะยล อย่างเกียจ)

ครั้งทรงรับโอวาทและคำประสาทพรแล้ว ก็กราบบังคมลามาที่เกยประทับบนหลังช้างพระที่นั่งพลายพัทธกอ ยกกองทัพออกจากพระนครผ่านโขลนทวารเสด็จพระราชดำเนินไปโดยทางสถลมารคทันที

ลิลิตตะเลงพ่ายนี้ได้รับความบันดาลพระทัยมาจากวรรณคดีเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถเรื่องยวนพ่าย  ดังจะเห็นได้จากการที่ทรงเลือกวีรกรรมของสมเด็จพระนเรศวรในการทำสงครามยุทธหัตถีมีชัยต่อพระมหาอุปราชาแห่งหงสาวดีใน พ.ศ.2135 มาเป็นเนื้อเรื่อง เช่นเดียวกับยวนพ่ายซึ่งเป็นเรื่องวีรกรรมของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถที่ทรงทำสงครามมีชัยต่อพระเจ้าติโลกราชแห่งราชอาณาจักรล้านนา  และทรงตั้งชื่อเรื่องว่า “ตะเลงพ่าย” ซึ่งมีความหมายว่า “มอญแพ้”  เลียนแบบ ”ยวนพ่าย”  ซึ่งแปลว่า ชาวโยนกหรือล้านนาแพ้

ปรมานุชิตชิโนรส,  สมเด็จพระมหาสมณเจ้า  กรมพระ.  ลิลิตตะเลงพ่าย.  กรุงเทพฯ :  สำนักราชเลขาธิการ, 2539. (ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้พิมพ์พระราชทานในงานพระราชทานเพลิงศพศาสตราจารย์ นายแพทย์ หม่อมหลวงเกษตร  สนิทวงศ์ ป.จ., ม.ป.ช.,ม.ว.ม.  ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส  วันเสาร์ที่ 2 กันยายน พุทธศักราช 2538)

ฝ่ายสมเด็จพระนเรศวรปรารถจะไปตีเมืองเขมร ครั้นรู้ข่าวก็ทรงเตรียมการสู้ศึกพม่า ทรงตรวจแลัตระเตรียมกองทัพ พระมหาอุปราชาทรงปรึกษาการศึกแล้วยกเข้ามาปะทะทัพหน้าของไทย ส่วนสมเด็จพระนเรศวรก็ทรงปรึกษาเพื่อหาทางเอาชนะข้าศึก  เมื่อทัพหลวงเคลื่อนพลช้างทรงของสมเด็จพระนเรศวรและช้างของสมเด็จพระเอกาทศรถกำลังตกมัน ก็เตลิดเข้าไปในวงล้อมของข้าศึก ณ ตำบลตระพังตรุ สมเด็จพระนเรศวรทรงกระทำยุทธหัตถีกับพระมหาอุปราชา สมเด็จพระเอกาทศรถทรงทำยุทธหัตถีกับมางจาชโร และได้รับชัยชนะทั้งสองพระองค์ เมื่อพระมหาอุปราชาถูกฟันขาดคอช้าง กองทัพหงสาวดีก็แตกพ่ายกลับไป

สมเด็จพระนเศวรทรงปูนบำเหน็จทหารและปรึกษาโทษนายทัพนายกองที่ตามช้างทรงเข้าไปในกองทัพพม่าไม่ทัน สมเด็จพระวันรัตทูลขอพระราชทานอภัยโทษแทนแม่ทัพนายกองทั้งหมด สมเด็จพระนเรศวรก็โปรดพระราชทานอภัยโทษให้ โดยให้ยกทัพไปตีทวายและตะนาวศรีเป็นการแก้ตัว จากนั้ันได้ทรงจัดการทำนุบำรุงหัวเมืองทางเหนือ เจ้าเมืองเชียงใหม่มาสวามิภักดิ์ขอเป็นเมืองขึ้น สมเด็จพระนเรศวรทรงรับทูตเชียงใหม่และจบลงด้วยการยอพระเกียรติสมเด็จพระนเรศวร ตอนท้ายกล่าวถึงธรรมะสำหรับพระเจ้าแผ่นดิน และบอกจุดมุ่งหมายในการแต่งบอกชื่อผู้แต่ง สมัยที่แต่งและตำอธิษฐานของผู้ทรงนิพนธ์ คือ ขอให้บรรลุโลกุตรธรรม แต่ถ้ายังเวียนว่ายตายเกิดอยู่ก็ขอให้ได้เป็นกวีทุกชาติไป

           ลิลิตตะเลงพ่าย เป็นบทประพันธ์ประเภทลิลิต ประพันธ์ขึ้นโดยสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรม      พระปรมานุชิตชิโนรสและ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นภูบาลบริรักษ์ เพื่อสดุดีวีรกรรมของสมเด็จ     พระนเรศวรมหาราช ในวาระงานพระราชพิธีฉลองตึกวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามในรัชกาลที่ 3 

โดยตะเลงในที่นี้หมายถึง มอญ ที่มาของเรื่อง 

1.พระราชพงศาวดารฉบับพันจันทนุมาศ(เจิม) 

2.วรรณคดีเก่าเรื่อง ลิลิตยวนพ่าย ลิลิตพระลอ

3.จินตนาการของผู้แต่ง คือ ช่วงบทนิราศ 

จุดมุ่งหมายในการแต่ง

1.เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนเรศวรมหาราช 

2.ฉลองตึกวัดพระเชนตุพนฯ สมัย รัชกาลที่ 3 

3.สร้างสมบารมีของผู้แต่ง(เพราะผู้แต่งขอไว้ว่าถ้าแต่งเสร็จขอให้สำเร็จสู่พระนิพพาน )         

ที่มาของเรื่องลิลิตตะเลงพ่ายมีที่มาอย่างไร

ลิลิตตะเลงพ่ายนี้ได้รับความบันดาลพระทัยมาจากวรรณคดีเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถเรื่องยวนพ่าย ดังจะเห็นได้จากการที่ทรงเลือกวีรกรรมของสมเด็จพระนเรศวรในการทำสงครามยุทธหัตถีมีชัยต่อพระมหาอุปราชาแห่งหงสาวดีใน พ.ศ.2135 มาเป็นเนื้อเรื่อง เช่นเดียวกับยวนพ่ายซึ่งเป็นเรื่องวีรกรรมของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถที่ทรงทำสงครามมี ...

ลิลิตตะเลงพ่ายนำโครงเรื่องมาจากแหล่งใด

ที่มาของเรื่อง ผู้แต่งคงได้แรงบันดาลใจมาจาก 1.พระราชพงศาวดาร ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) 2.วรรณคดีเก่าบางเรื่อง เช่น ลิลิตยวนพ่าย ลิลิตพระลอ 3.จินตนาการของผู้แต่ง คือ ช่วงบทนิราศ บทชมโฉม บทรัก เป็นต้น

เรื่องลิลิตตะเลงพ่ายเกิดขึ้นในสมัยใด

194 กวีวัจน์วรรณนา ที่มาของวรรคทอง ลิลิตตะเลงพ่าย ผู้แต่ง สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรสทรงพระนิพนธ์ โดยมีพระองค์เจ้ากปิตถาขัตติยกุมาร พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จ พระพุทธเลิศหล้านภาลัยเป็นผู้ช่วยในการนิพนธ์ ปี/สมัยที่แต่ง ระหว่าง พ.ศ. ๒๓๗๔-๒๓๗๘ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระ นั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ประเภทของวรรณคดี ...

ลิลิตตะเลงพ่ายเป็นเรื่องเกี่ยวกับอะไร

ลิลิตตะเลงพ่าย เป็นวรรณคดีเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนเรศวรมหาราช โดยด าเนินเรื่องตาม พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา เรื่องตั้งแต่สมเด็จพระมหาธรรมราชาเสด็จสวรรคต จนถึงตอนที่พระ นเรศวรทรงกระทายุทธหัตถีกับพระมหาอุปราชาของพม่าและพระมหาอุปราชาสิ้นพระชนม์ใน พ.ศ. ๒๑๓๕ สาเหตุการนิพนธ์เพราะสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระปรมานุชิตชิโนรสทรง ...