ลําดับการเกิดของมนุษย์ วิทยาศาสตร์

การศึกษาสิ่งมีชีวิต

โดย :

อติโรจน์ ปพัฒน์เปรมสิริ

เมื่อ :

วันอาทิตย์, 21 พฤษภาคม 2560

สิ่งมีชีวิตมีการจัดลำดับ ( Life's Hierarchical Order ) 

สิ่งมีชีวิตมีการจัดระบบ

มนุษย์ได้จัดระบบของสิ่งชีวิตเพื่อให้ง่ายต่อการศึกษา โดยอาศัยลักษณะเฉพาะต่างๆที่โดดเด่นมาช่วยในการจำเเนก ตัวอย่างเช่นหากเรานำเซลล์มาศึกษาเพื่อช่วยในการจัดระบบหรือจัดลำดับขั้นในทางชีวภาพก็จะพบว่าเซลล์เป็นโครงสร้างพื้นฐานของสิ่งมีชีวิตที่สามารถสืบพันธุ์ได้ ภายในเซลล์จะมีโครงสร้างที่ถูกจัดอยู่ในระดับโมเลกุลเช่น โมเลกุลของคลอโรฟิลล์ น้ำ หรือ โปรตีนเป็นต้นโครงสร้างระดับโมเลกุลที่สำคัญที่สุดได้แก่ DNA ภายในประกอบด้วยยีน (gene) ซึ่งเป็นหน่วยควบคุมลักษณะทางพันธุกรรมคอยควบคุมการ่างกายให้ทำงานอย่างเป็นปกติ เเละยังสามารถถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมไปยังลูกหลานได้ในปัจจุบันโครงสร้างระดับ DNA ได้ถูกจัดให้เป็นส่วนหนึ่งที่นำมาใช้แยกความเเตกต่างของสิ่งมีชีวิตในปัจจุบัน

The living world is a hierarchy.

ลําดับการเกิดของมนุษย์ วิทยาศาสตร์

ภาพที่1 เเสดงการจัดลำดับขั้นของสิ่งมีชีวิตเริ่มจากระดับโครงสร้างที่ไม่มีชีวิต (non-living) ตั้งเเต่ระดับ อะตอม (atom)โมเลกุล (molecule)ออร์เเกเนลล์ (organelle) เเละระดับโครงสร้างที่จัดว่าเป็นสิ่งมีชีวิตได้แก่เซลล์ (cell)อวัยวะ (organ) ระบบอวัยวะ (organ system) สิ่งมีชีวิต (organism) ประชากร (population) กลุ่มสิ่งมีชีวิต (community) ระบบนิเวศ (ecosystem) เเละชีวาลัยหรือโลกของสิ่งมีชีวิต (biosphere)

คุณลักษณะของลำดับขั้นต่างๆ (Each level of biological structure has emergent properties)

1.อะตอม (atom)หน่วยพื้นฐานของธาตุที่ประกอบด้วยอิเล็กตรอนโปรตอน และนิวตรอน ซึ่งสามารถเเสดงคุณสมบัติเฉพาะตัวออกมาได้ 

2.โมเลกุล (molecule)โมเลกุลประกอบด้วยอะตอมของธาตุเดียวกัน หรือต่างชนิดกันมาเชื่อมต่อกัน โมเลกุลที่สำคัญในการดำรงชีวิตได้แก่ ได้แก่ คาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน ลิพิด โปรตีน ดีเอ็นเอ อาร์เอ็นเอ น้ำ วิตามิน เกลือเเร่

3.เซลล์ (cell)เซลล์ถูกจัดให้อยู่ในอันดับขั้นล่างสุดที่เริ่มจัดเป็นสิ่งมีชีวิต เนื่องจากเป็นหน่วยพื้นฐานที่เล็กที่สุดที่แสดงคุณสมบัติของชีวิต และสามารถสืบพันธุ์ได้ ดังนั้นสิ่งมีชีวิตอาจจะประกอบด้วยเซลล์เพียงเซลล์เดียว หรือหลายเซลล์ เซลล์ประกอบด้วยเยื่อหุ้มเซลล์ ดีเอ็นเอ และองค์ประกอบอื่นๆ ภายในเซลล์

4.เนื้อเยื่อ (tissue)เกิดจากเซลล์ชนิดเดียวกันหรือต่างชนิดกันมาร่วมกันกลายเป็นเนื่อเยื้อเพื่อทำหน้าที่อย่างใดอย่างหนึ่งร่วมกัน เช่น เนื้อเยื่อพาเรงคิมาเกิดจากเซลล์ชนิดเดียวกันมารวมกัน หรือ เนื้อเยือไซเลมเกิดจากเซลล์หลายชนิดมารวมกัน

5.อวัยวะ (organ) โครงสร้างที่ประกอบด้วยเนื้อเยื่อมากกว่าหนึ่งชนิดมารวมกันเพื่อทำหน้าที่ร่วมกัน

6.ระบบอวัยวะ (organ system)ประกอบด้วยอวัยวะหลายอวัยวะที่มีปฏิสัมพันธ์กันในด้านกายภาพ และ/หรือด้านเคมี เพื่อทำหน้าที่บางอย่างให้ร่างกายเกิดการทำงานที่เป็นระบบ

7.สิ่งมีชีวิตที่ประกอบด้วยหลายเซลล์ (multicellular organism) ประกอบด้วยเซลล์หลายชนิด ซึ่งประกอบขึ้นมาจากเนื้อเยื่อ อวัยวะ และระบบอวัยวะต่างๆ

8.ประชากร (population) กลุ่มของสิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกัน อาศัยอยู่บริเวณเดียวกัน ณช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง ซึ่งอาจจะเป็นสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวหรือหลายเซลล์

9.กลุ่ม(สังคม)สิ่งมีชีวิต (community) ประชากรของสิ่งมีชีวิตทุกชนิดที่อาศัยอยู่ในพื้นที่หนึ่งๆ

10.ระบบนิเวศ (ecosystem) ชุมชนของสิ่งมีชีวิตที่มีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม ระบบนิเวศมีการแลกเปลี่ยนพลังงานและสสารกับสิ่งแวดล้อม

11.ชีวาลัยหรือโลกของสิ่งมีชีวิต (biosphere)เป็นส่วนหนึ่งของโลก ที่สิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ได้ ได้แก่ บริเวณที่เป็นมหาสมุทรน้ำจืด บรรยากาศและชั้นดินบางส่วน 

Return to contents


 

ลําดับการเกิดของมนุษย์ วิทยาศาสตร์

สิ่งมีชีวิตในโลกนี้ มีมากมายหลายชนิด ซึ่งแต่ละชนิดจะมีความแตกต่างกัน จึงจำเป็นที่จะต้องมีการจัดแบ่งหมวดหมู่เพื่อความสะดวกในการศึกษา และการนำมาใช้ประโยชน์ วิชาที่ว่าด้วยการจัดแบ่งหมวดหมู่ของสิ่งมีชีวิต เรียกว่า อนุกรมวิธาน (Taxonomy) นักวิทยาศาสตร์ที่ได้รับการยกย่องให้เป็นบิดาแห่งวิชาอนุกรมวิธาน คือ คาโรลัส ลินเนียส (Carolus Linnaeus) ชาวสวีเดน

การจัดลำดับหมวดหมู่ของสิ่งมีชีวิต (Taxonomic category) หมวดหมู่ที่ใหญ่ที่สุด คือ อาณาจักร (Kingdom) สิ่งมีชีวิตที่อยู่ในอาณาจักรเดียวกันจะมีลักษณะสำคัญบางอย่างเท่านั้นที่เหมือนกัน ซึ่งในแต่ละอาณาจักร จะแบ่งย่อยออกเป็นหลายหมวด และแบ่งย่อยลงไปเรื่อยๆ จนถึงหน่วยที่เล็กที่สุด คือ ชนิด (Species) โดยสิ่งมีชีวิตที่อยู่ในชนิดเดียวกันจะมีลักษณะคล้ายคลึงกันในด้านต่างๆ มากที่สุด

การจัดลำดับหมวดหมู่ของสิ่งมีชีวิต เรียงลำดับจากหมวดหมู่ใหญ่ไปจนถึงหมวดหมู่ย่อย ดังนี้

อาณาจักร (Kingdom)

หมวด (pision) หรือไฟลัม (Phylum)

ชั้น (Class)

อันดับ (Order)

วงศ์ (Family)

สกุล (Genus)

ชนิด (Species)

ตัวอย่างเช่น

ลําดับการเกิดของมนุษย์ วิทยาศาสตร์

ในลำดับชั้นสปีชีส์ อาจจะแบ่งย่อยลงไปได้อีก โดยมีลำดับชั้นย่อยที่มีคำว่า sub เติมข้างหน้า เช่น subkingdom, subpision, suborder เป็นต้น ระดับต่ำกว่า Species ลงมา อาจจะแบ่งย่อยออกไปอีกเป็น Subspecies, Variety นอกจากนี้ยังมี clone, line, forma (f.), cultivar (cv.), inpidual เป็นต้น ส่วนรูปแบบในการเขียนชื่อวิทยาศาสตร์ ประกอบด้วย ชื่อสกุล ชื่อชนิด Variety และ/หรือcultivar (cv.)

Return to contents


การเรียกชื่อของสิ่งมีชีวิต มี 2 ชนิด

1. ชื่อสามัญ (common name)คือ ชื่อที่เรียกกันทั่วๆไป อาจเรียกตามลักษณะรูปร่าง ถิ่นกำเนิดหรือสถานที่อยู่ก็ได้เช่น ปากกาทะเล หอยมุก เป็นต้น ซึ่งชื่อดังกล่าวอาจเรียกต่างกัน ในแต่ละที่ทำให้เกิดความเข้าใจผิดได้

2. ชื่อวิทยาศาสตร์ (Scientific name)เป็นชื่อเรียกสากลที่มีกฎเกณฑ์เฉพาะ ตั้งขึ้นโดย Carolus Linnaeus (1753) นักชีววิทยาชาวสวีเดน บิดาแห่งอนุกรมวิธาน กำหนดให้สิ่งมีชีวิต มีชื่อประกอบด้วยคำ 2 คำ คำแรกเป็นชื่อสกุลหรือจีนัส (Generic name or genus) คำหลังเป็นคำระบุชนิด (Specific epithet) แล้วนำคำ ทั้งสองมาเขียนเรียงกัน เรียกระบบการตั้งชื่อแแบบนี้ว่า การตั้งชื่อคู่ (Binomial nomenclature) เช่นOpisthorchis viverrini

นอกจากชื่ออ้างอิงทั้งสองชนิดที่กล่าวข้างต้นยังมีชื่อเรียกชนิดอื่นๆที่นิยมใช้ในปัจจุบัน เช่น

ชื่อตั้งทางการค้า (Commercial name) เป็นชื่อเรียกที่ตั้งขึ้นเพื่อประโยชน์ในการติดต่อซื้อ-ขาย และเพื่อความเข้าใจตรงกันของผู้ซื้อ-ขาย เช่น Sassy เป็นชื่อของ Heliconia psittacorum ‘Sassy’

ชื่อตั้งประจำท้องถิ่น (Local name) เป็นชื่อเรียกที่ตั้งขึ้นตามแต่ละท้องที่นั้นๆ เช่น นมพิจิตร เป็นชื่อเรียกของ Hoya parasitica ในภาคกลาง

ชื่อตั้งตามสมัยนิยม (Popular name)เป็นชื่อที่ตั้งขึ้นในช่วงที่สิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น บุคคล สถานที่ กำลังได้รับความนิยมในขณะนั้น เช่น Mussaenda ‘Queen Sirikit’ (ดอนญ่า ‘ควีน สิริกิติ์’ ) รัฐบาลฟิลิปปินส์ได้ขอพระราชทานพระนามเป็นชื่อดอนญ่าพันธุ์ใหม่ เมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จฯเยือนประเทศฟิลิปปินส์ในปี พ.ศ. 2506

หลักเกณฑ์การตั้งชื่อวิทยาศาสตร์

1. ชื่อวิทยาศาสตร์ของสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิด ต้องแยกจากกันอย่างเด่นชัด เป็นอิสระไม่ขึ้นต่อกัน

2. ชื่อพ้อง (Synonym)

3. ชื่อวิทยาศาสตร์ต้องเป็นภาษาละติน เนื่องจากภาษาละตินเป็นต้นกำเนิดของหลายๆภาษาในประเทศแถบยุโรปเป็นส่วนใหญ่ และภาษาละตินถือเป็นภาษาที่ตายแล้ว กล่าวคือจะไม่เกิดการเปลี่ยนแปลงอีกในภายหลัง

4. การตั้งชื่อวิทยาศาสตร์ถือตามระบบการตั้งชื่อคู่ คือประกอบด้วยคำ 2 คำเสมอ คำแรกเป็นชื่อสกุล อักษรตัวแรกของสกุล ให้ใช้อักษรตัวพิมพ์ใหญ่ ส่วนคำหลังเป็นคำระบุชนิด ควรเป็นคำเดียวหรือคำผสมเพื่อระบุให้ชัดเจนลงไปและขึ้นต้นด้วยอักษรตัวพิมพ์เล็ก

5. การเขียนชื่อวิทยาศาสตร์ต้องให้มีลักษณะแตกต่างจากอักษรอื่นโดยอาจเขียนเป็นตัวเอนหรือขีดเส้นใต้ชื่อทั้งสอง โดยเส้นที่ขีดต้องไม่ติดกัน

ข้อ 4-5 นี้น้องๆต้องจำให้ดีนะครับ เพราะเจอบ่อยมากในข้อสอบต่างๆ พี่ขอเน้นตัวเเดงให้นะครับ
ย้ำอีกนิดนะครับ ประกอบด้วยคำ 2 คำ คำแรกเป็นชื่อสกุลหรือจีนัส (Generic name or genus) คำหลังเป็นคำระบุชนิด

เช่นPlasmodium pacificumเขียนเเบบเอียง หรือPlasmodiumpacificumเขียนเเบบขีดเส้นใต้นะครับ ข้อนี้ทำเเต้มง่ายๆนะครับ จำกันให้ได้นะ ^^

6.ผู้ตั้งชื่อวิทยาศาสตร์ให้เขียนไว้ข้างหลัง โดยนำด้วยอักษรตัวใหญ่ ไม่ต้องเขียนด้วยตัวเอนหรือขีดเส้นใต้ โดยปกติอาจจะเขียนเป็นชื่อเต็มหรือชื่อย่อก็ได้ เช่น Linn. เป็นชื่อย่อของ Linnaeus เป็นต้น ซึ่งในบางครั้งชื่อผู้ตั้งอาจจะมีมากกว่า 1 ชื่อก็ได้ เช่น

Heliconia mathiasiaeDanials & Stiles หมายความว่า ชื่อวิทยาศาสตร์นี้ร่วมกันตั้งโดย Danials และ Stiles

Hibiscus acetosellaWelw. ex Hiern. หมายความว่า ชื่อวิทยาศาสตร์นี้ตั้งขึ้นโดย Welw. โดยมี Hiern. เป็นคนอธิบายลักษณะเพิ่มเติมในภายหลัง

Polyscias guilfoylei(Bull) L.H. Bail หมายความว่า ชื่อวิทยาศาสตร์นี้ตั้งขึ้นโดย L.H. Bail ส่วน Bull นั้นเป็นผู้ค้นพบพืชชนิดนี้ แต่ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์อีกชื่อหนึ่ง ซึ่งถือว่าเป็นชื่อพ้อง ชื่อที่ถูกต้องคือชื่อที่ตั้งขึ้นครั้งแรกเพียงชื่อเดียวเท่านั้น

ชื่อของชนิดนั้นโดยปกตินิยมตั้งตามลักษณะ 4 ประการอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ

1. ถิ่นกำเนิด (origin) เช่นSchistosoma japonicumคำว่าjaponicumหมายถึงประเทศญี่ปุ่น

2. ถิ่นที่อยู่ (habitat) เช่นFasciola hepaticaคำว่าhepatica หมายถึง อยู่ในตับ

3. ลักษณะเฉพาะตัว เช่นGnathostoma spinigerumคำว่าspinigerum หมายถึง ลักษณะหนามบริเวณลำตัว

4. ตั้งขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแก่คนหรือสถานที่ เช่นPhuwiangosaurus sirindhornaeคำว่า sirindhornaeมาจากพระนามของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี

Return to contents

หัวเรื่อง และคำสำคัญ

การศึกษาสิ่งมีชีวิต

ลิขสิทธิ์

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)

สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา

ชีววิทยา

ดูเพิ่มเติม