พรมแดนธรรมชาติระหว่างไทยกับลาว

การลากเส้นพรมแดนระหว่างประเทศ และผ่านลุ่มน้ำ มักจะทิ้งปัญหาตามมาให้กับคนในชุมชน หนึ่งในปัญหาคือการอ้างกรรมสิทธิบริเวณลำน้ำ ซึ่งเกิดขึ้นที่ที่เกาะกลางน้ำบนลุ่มน้ำโขง ระหว่างไทย และลาว จนนำไปสู่ข้อพิพาทระดับประเทศ

เราต้องยกดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงให้รัฐบาลฝรั่งเศสต้องการให้มีพื้นที่แบ่งปันอาณาเขต ฝรั่งเศสกับเกรทบริเตน ฝรั่งเศสกับอังกฤษ แต่ใช้สยามเป็นกันชน ปักปันดินแดน

เสียงปืนใหญ่จากการปะทะบริเวณปากแม่น้ำเจ้าพระยาในวิกฤตการณ์ ร.ศ.112 ที่ส่งผลให้สยาม สูญเสียกรรมสิทธิ์ทางฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง และบรรดาเกาะต่าง ๆ ยังคงถูกย้ำเตือนผ่านปรากฏในหนังสือแบบเรียนและภาพยนตร์ของไทย

เส้นเขตแดนของไทยในลุ่มแม่น้ำโขงเริ่มมีความชัดเจนขึ้น ข้อความแบ่งเขตแดนปรากฎชัดใน “อนุสัญญาระหว่างสยามและฝรั่งเศส เพื่อวางระเบียบความเกี่ยวพันระหว่างสยามกับอินโดจีน ปี 2469” ให้ถือร่องน้ำลึกของแม่น้ำเป็นเส้นแบ่งเขตแดน

จากเอกสารของกรมโยธาธิการและผังเมือง ระบุว่า ธรรมชาติของลำน้ำมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา หากร่องน้ำลึกเคลื่อนย้ายและเปลี่ยนแปลงแนวเขตแดน อาจเป็นสาเหตุให้เกิดกรณีพิพาทในเรื่องเขตแดนได้

ในบางกรณีที่เกิดสันดอนทรายขึ้นใหม่ ก็อาจเป็นเหตุให้เกิดการแย่งกรรมสิทธิ์เกาะกลางน้ำที่เกิดขึ้นใหม่และนำไปสู่ ข้อพิพาทด้านเขตแดนได้เช่นกัน อย่างที่เกาะแห่งนี้ บริเวณหมู่บ้านสบกก จ.เชียงราย

ชาวบ้านเล่าว่า เกาะทางด้านซ้ายเคยเป็นพื้นที่ของหมู่บ้านสบกก อ.เชียงแสน จ.เชียงราย แต่ในช่วงปีที่ผ่านมา เกาะดอนนี้ถูกเปลี่ยนผ่านไปเป็นพื้นที่ทำการเกษตรของคนลาว ท่ามกลางความสงสัยของชาวบ้าน

สมเดช สิงห์ทอง ชาวบ้านหมู่บ้านสบกก เล่าว่า เมื่อประมาณ 20 ปีก่อน เคยมีเกาะดอนขนาด 76 ไร่เกิดขึ้นกลางแม่น้ำโขง เกาะนั้นเป็นพื้นที่ทำไร่ข้าวโพด เพื่อหาเลี้ยงชีพ

พรมแดนธรรมชาติระหว่างไทยกับลาว

ในปี 2551 หน่วยงานของรัฐไทยเข้าไปศึกษาพื้นที่ เพื่อสร้างท่าเทียบเรือและสร้างตลิ่ง ส่งผลให้ร่องน้ำลึกเกิดการเคลื่อนย้ายจนเกาะล้ม เกาะแห่งใหม่เกิดขึ้นใกล้หมู่บ้านสบกก แต่ถูกทิ้งร้างไว้เป็นเวลากว่าสิบปี ชาวบ้านจากฝั่งลาวที่เดิมเลี้ยงสัตว์อยู่ในเกาะของฝั่งลาว เริ่มขึ้นมาใช้พื้นที่เกาะแห่งนี้

สมเดช เล่าต่อว่า เมื่อก่อนนี้เขาก็เอาแพะเอาวัวมาปล่อยให้กินหญ้า เมื่อก่อนเกาะของเขาอยู่ฝั่งหนึ่ง แต่ตอนนี้เขาข้ามมาอยู่อีกฝั่งหนึ่ง เจ้าหน้าที่ทางเราก็ไม่พูดอะไร ก็เลยเอามาเลี้ยง ตอนนี้ลามมาอีกแล้ว มาทำไร่ทำสวนอีกแล้ว

ฐนพงศ์ ลือขจรชัย นักวิชาการอิสระ / นักเขียน กล่าวว่า ทุกครั้งที่มีการเจรจากัน ฝ่ายไทยก็มีแนวโน้มอยากจะให้ช่วยแก้ไขสนธิสัญญาที่ไม่เป็นธรรมที่สยามลงนามกับฝรั่งเศสไว้ในยุคนั้นให้เป็นธรรมมากขึ้น แต่ฝ่ายลาวก็จะมีท่าทีที่อยากให้ยึดตามสนธิสัญญาเดิม

การเจรจาในแม่น้ำโขงจึงยังไม่ได้คืบหน้ามาก และมีความละเอียดอ่อนสูงมาก เพราะผูกพันกับแนวคิดการเสียดินแดนของทั้งชาติไทยและชาติลาว การเจรจาเขตแดนจึงไม่สามารถระบุได้อย่างชัดเจน ทั้งไทยและลาวไม่ยอมกัน ยังอยู่ในขั้นตอนของการเจรจา

พรมแดนธรรมชาติระหว่างไทยกับลาว

เสียงปืนยิงปะทะกันระหว่างทหารไทยและลาว เกิดขึ้นในเดือนธันวาคมปี 2530 เมื่อทหารไทยชักธงไทยขึ้นในพื้นที่บ้านร่มเกล้า ตรงชายแดนไทยและลาว ที่มีข้อพิพาทยืดเยื้อมาจากสนธิสัญญาอินโดจีนปี 2469 จนนำมาซึ่งการต่อสู้อย่างรุนแรง

แต่ในที่สุดรัฐบาลไทยและลาว ตัดสินใจยุติความขัดแย้งด้วยการหยุดยิง รัฐบาลไทยและลาว จึงร่วมกันแก้ไขปัญหาเขตแดนผ่านคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-ลาว เวลาล่วงเลยมานานกว่า 30 ปี การเจรจาของทั้งสองประเทศยังคงไม่ลงตัว

อีกด้านหนึ่ง เจ้าหน้าที่จากกระทรวงการต่างประเทศ จึงการจัดทำคู่มือและการอบรมสำหรับผู้นำชุมชนและเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองในพื้นที่ เพื่ออธิบายวิธีการรับมือกับความขัดแย้งที่อาจเกิดขึ้น

ฐนพงศ์ กล่าวว่า ถ้าไม่อยากมีปัญหาก็คุยกับเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองในพื้นที่ กำนันผู้ใหญ่บ้านว่า เกาะดอนนี้ ฝ่ายไทยมีท่าทีอย่างไร หรือถ้ามีในสนธิสัญญา ว่าเป็นของไทยแน่ ๆ ก็สนับสนุนให้ขึ้นไป แล้วเจ้าหน้าที่จะกล้า take action

ถ้าเป็นเกาะดอนที่เป็นของลาวหรืออยู่ในระหว่างการเจรจาทางการต่างประเทศ เขาก็พยายามลดความขัดแย้งกันคือ จะพยายามไม่ให้ขึ้นไปกันทั้งสองฝ่าย

สมเดช กล่าวอีกว่า เมื่อก่อนผมไปกับผู้ใหญ่บ้าน ไปวิ่งไปหาเจ้าหน้าที่ทางอำเภอก็เงียบไป ไม่เห็นเขาพูดอะไร แต่อยากจะขอให้ดูแลหน่อยว่า เกาะนี้ชื่อของมันคือเกาะช้างตาย เมื่อก่อนนี้เป็นของคนไทย คนบ้านเรา บ้านสบกก บอกว่าเป็นเกาะของเรา แต่ตอนหลังพวกลาวก็บอกว่าเป็นของลาว แล้วก็อยากจะให้ทางราชการมาดูแลหน่อย

แนวคิดแบบรัฐชาติสมัยใหม่ตีเส้นแผ่นดินผ่านปลายปากกา เพื่อแบ่งแยกดินแดนออกเป็นสัดส่วน แต่สิ่งหนึ่งที่ยังไม่เปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลาคือภาพของชาวบ้านทั้งฝั่งไทยและลาวที่พายเรือข้ามฝั่งไปมาหาสู่กันอย่างคุ้นเคย เพื่อแสดงให้เห็นว่ามิตรภาพและวัฒนธรรมของทั้งสองประเทศยังคงเชื่อมต่อกันอยู่ดังเดิม

กัญญาณัฐ์ เตโชติอัศนีย์ รายงาน

ภูเขา หรือเทือกเขาหมายถึง ลักษณะภูมิประเทศ ที่มีความสูงตั้งแต่ 600 เมตรขึ้นไปจากพื้นที่บริเวณรอบ ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับเนินเขา แต่ว่าเนินเขานั้น จะมีพื้นที่สูงจากบริเวณรอบ ๆ ประมาณ 150 แต่ไม่เกิน 600 เมตร
ภูเขาสามารถแบ่ง เป็นประเภทต่างๆ ดังนี้ 
ภูเขาโก่งตัว เกิดจากการบีบอัดตัวของหินหนืด ในแนวขนาน 
ภูเขาเลื่อนตัวหรือหักตัว เกิดจากการเลื่อนของหินทำให้มีการยกตัวและการทรุดตัวเกิดเป็นภูเขา 
ภูเขาโดม เกิดจากการที่หินหนืดดันตัว แต่ว่ายังไม่ทันพ้นพื้นผิวของโลก ก็เย็นตัวก่อน 
ภูเขาไฟ เกิดจากการที่หินละลาย ก่อตัวและทับถมกัน 

ภูเขาที่สำคัญในประเทศไทย

ภูเขาหรือเทือกเขาเป็นแหล่งทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญ เพราะไม่เพียงอุดมไปด้วยป่าไม้ สัตว์ป่า และแร่ธาตุต่าง ๆ เท่านั้น แต่ยังเป็นแหล่งกำเนิดของต้นน้ำลำธารสายสำคัญที่ใช้หล่อเลี้ยงชีวิตของผู้คน พืชพรรณ และนานาชนิดอีกด้วยผลประโยชน์ทางอ้อมอีกอย่างหนึ่งก็คือ สามารถใช้เป็นแนวพรมแดนธรรมชาติกั้นระหว่างประเทศหรือใช้เป็นแนวแบ่งเขตระหว่างภูมิภาคได้อีกด้วย เทือกเขาสำคัญในแต่ละภูมิภาคของไทยเรามีดังนี้

ภาคเหนือ

1. เทือกเขาแดนลาว : เป็นแนวพรมแดนกั้นระหว่างประเทศไทยกับสหภาพเมียนมาร์ ตัวเทือกเขาทอดยาวจากทิศตะวันออกเฉียงเหนือมายังตะวันตกเฉียงใต้ครอบคลุมพื้นที่ทางตะวันตกของจังหวัดเชียงรายและตอนเหนือของจังหวัดเชียงใหม่มีความยาวทั้งสิ้น 1,330 กิโลเมตร แต่ส่วนที่อยู่ในเขตประเทศไทยมีความยาวเพียง 120 กิโลเมตร ส่วนที่สูงที่สุดคือ ?ดอยผ้าห่มปก? ซึ่งมีความสูงประมาณ 2,146 เมตร

2. เทือกเขาจอมทอง : เป็นแนวเขาที่อยู่ต่อเนื่องมาจากเทือกเขาถนนธงชัยไปทางตะวันตกของจังหวัดเชียงใหม่โดยมีส่วนที่สูงที่สุดอยู่ที่ ?ดอกอินทนนท์? ซึ่งสูงถึง 2,565 เมตร นับเป็นยอดเขาที่สูงที่สุดของไทยด้วย

3. เทือกเขาถนนธงชัย : เป็นแนวพรมแดนระหว่างประเทศไทยกับสหภาพเมียนมาร์เช่นกัน โดยตั้งอยู่ในแนวตะวันตกเฉียงเหนือ มายังตะวันออกเฉียงใต้ ไล่ลงมาตั้งแต่จังหวัดแม่ฮ่องสอน ตาก อุทัยธานี จนถึงจังหวัดกาญจนบุรี นับเป็นเทือกเขาที่ยาวที่สุดของไทย คือมีความยาวถึง 880 กิโลเมตร ส่วนที่สูงที่สุดคือ ?เขาใหญ่? มีความสูงประมาณ 2,152 เมตร

4. เทือกเขาผีปันน้ำ : ตั้งอยู่ตามแนวเหนือ-ใต้ ตั้งแต่ตอนใต้ของจังหวัดเชียงราย ไล่ลงมาทางตะวันตกของจังหวัดพะเยา ผ่านจังหวัดแพร่ และสิ้นสุดที่จังหวัดลำปาง มีความยาวประมาณ 412 กิโลเมตร โดยมีส่วนที่สูงที่สุดอยู่ในเขตจังหวัดพะเยา ซึ่งมีความสูงราว 1,697 เมตร

5. เทือกเขาขุนดาล : เป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาผีปันน้ำ ตั้งอยู่ตามแนวเหนือ-ใต้ ตั้งแต่จังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ ลงมาจนถึงจังหวัดลำปาง เป็นเทือกเขาที่มีอุโมงค์รถไฟความยาว 1,326.05 เมตรลอดผ่าน ส่วนที่สูงที่สุดของเทือกเขานี้อยู่ที่ ?ดอยลังกา? ซึ่งมีความสูง 2,031 เมตร สำหรับ ?ดอยขุนดาล? ที่รู้จักกันทั่วไปมีความสูงประมาณ 1,374 เมตรเท่านั้น

6. เทือกเขาหลวงพระบาง : เป็นแนวพรมแดนกั้นระหว่างประเทศไทยกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ตั้งอยู่ในแนวเหนือ-ใต้ ตั้งแต่ตอนเหนือของจังหวัดน่าน และจังหวัดพะเยาเลื่อนลงมาจนถึงจังหวัดพิษณุโลก มีความยาวทั้งสิ้นประมาณ 590 กิโลเมตร ส่วนที่สูงที่สุดคือ ?ดอยขุนดาล"ว

7. เทือกเขาเพชรบูรณ์ : เป็นเทือกเขาที่อยู่ต่อเนื่องจากเทือกเขาหลวงพระบางครอบคลุมตั้งแต่ภาคเหนือตอนล่างลงมาถึงภาคกลางตอนบน มีความยาวรวม 586 กิโลเมตร สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ส่วน คือ ส่วนแรกตั้งแต่ทางตะวันออกของแม่น้ำป่าสัก ผ่านจังหวัดเลย เพชรบูรณ์ ขอนแก่น และชัยภูมิ มีความยาว 236 กิโลเมตรและส่วนที่สองเริ่มจากฝั่งตะวันตกของแม่น้ำป่าสักผ่านจังหวัดเลย พิษณุโลก เพชรบูรณ์ นครสวรรค์ และลพบุรี มีความยาว 350 กิโลเมตร

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

1. เทือกเขาพนมดงรัก : เป็นแนวพรมแดนระหว่างประเทศไทยกับประเทศกัมพูชาประชาธิปไตย ทอดตัวตามแนวตะวันออก-ตะวันตก ตั้งแต่จังหวัดบุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ ถึงอุบลราชธานี รวมความยาวทั้งสิ้น 544 กิโลเมตร

2. เทือกเขาสันกำแพง : อยู่ต่อเนื่องจากเทือกเขาดงพญาเย็น ทอดเป็นแนวยาวตั้งแต่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของจังหวัดนครราชสีมา และทางเหนือของจังหวัดนครนายก ผ่านจังหวัดปราจีนบุรีและสระแก้ว มีความยาวทั้งสิ้น 185 กิโลเมตร

3.เทือกเขาภูพาน : เป็นเทือกเขาที่ทอดตัวในแนวตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ เริ่มจากจังหวัดอุดรธานี ผ่านกาฬสินธุ์ สกลนคร นครพนม และมุกดาหาร

ภาคกลาง

1. เทือกเขาดงพญาเย็น : ทอดตัวต่อเนื่องจากเทือกเขาเพชรบูรณ์ เป็นแนวกั้นเขตระหว่างภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เริ่มจากจังหวัดลพบุรี ผ่านบางส่วนของนครราชสีมาจนถึงนครนายก รวมความยาวประมาณ 129 กิโลเมตรนอกจากนี้ยังมีบางส่วนของเทือกเขาเพชรบูรณ์ที่ยอดยาวลงมาจากภาคเหนือซึ่งใช้เป็นแนวเขตระหว่างภาคเหนือและภาคกลางของไทยด้วย

ภาคตะวันออก

1. เทือกเขาจันทบุรี : ตั้งอยู่ในแนวตะวันตก-ตะวันออก เริ่มจากจังหวัดชลบุรี ฉะเชิงเทรา ระยอง ตราด จนจังหวัดจันทบุรี มีความยาวทั้งสิ้น 281 กิโลเมตร ส่วนที่สูงที่สุด คือ ?เขาสอยดาวใต้? ซึ่งมีความสูง 1,670 เมตร

2 .เทือกเขาบรรทัด : เป็นเทือกเขาที่อยู่ทางตอนกลางของภาค ทำหน้าที่กั้นพรมแดนระหว่างไทยกับกัมพูชาประชาธิปไตย ตั้งแต่ทางตอนเหนือของจังหวัดตราดไปจนถึงเขตอำเภอคลองใหญ่ของจังหวัดตราดเช่นเดียวกัน รวมความยาวได้ประมาณ 144 กิโลเมตร ส่วนที่สูงที่สุดอยู่ตรง ?เขาตะแบงใหญ่? ซึ่งสูง 914 เมตร

ภาคตะวันตก

1 เทือกเขาตะนาวศรี : เป็นแนวต่อเนื่องจากเทือกเขาถนนธงชัย เป็นพรมแดนกั้นระหว่างไทยกับสหภาพเมียนมาร์ เริ่มตั้งแต่จังหวัดกาญจนบุรีลงไปทางใต้ ผ่านจังหวัดราชบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ และชุมพร มีความยาวประมาณ 834 กิโลเมตรนอกจากนี้ยังมีทิวเขาถนนธงชัยตอนกลางและตอนใต้เป็นแนวพรมแดนระหว่างไทยกับสหภาพเมียนมาร์ที่ทอดยาวมาตั้งแต่ภาคเหนือลงมาจนถึงพื้นที่ในเขตภาคตะวันตกอีกด้วย

ภาคใต้

1. เทือกเขาภูเก็ต : เป็นแนวเทือกเขาต่อเนื่องมาจากเทือกเขาตะนาวศรีเริ่มจากจังหวัดชุมพรทอดขนานไปกันชายฝั่งทะเลของชุมพร พังงา กระบี่ จนถึงจังหวัดนครราชสีธรรมราช รวมความยาวประมาณ 517 กิโลเมตร ส่วนที่สูงที่สุด คือ ?เขาพนมเบญจา? ซึ่งสูง 1,397 เมตร

2. เทือกเขานครศรีธรรมราช : เป็นเทือกเขาที่ต่อเนื่องมาจากเทือกเขาภูเก็ตโดยเริ่มจากจังหวัดสุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ตรัง พัทลุง แล้วไปสิ้นสุดที่จังหวัดสตูล รวมความยาวได้ประมาณ 319 กิโลเมตร ?เขาหลวง? คือส่วนที่สูงที่สุดมีความสูงราว 1,835 เมตร

3. เทือกเขาสันกาลาคีรี : เป็นพรมแดนกั้นระหว่างไทยกับสหพันธรัฐมาเลเซียตั้งแต่บริเวณจังหวัดสตูล สงขลา ยะลา และนราธิวาส รวมความยาว 428 กิโลเมตร ส่วนที่สูงที่สุดอยู่ที่ ?ฮูลูติติปาซา? มีความสูง 1,535 เมตร

ขอขอบคุณข้อมูลจาก http://thailand.igetweb.com/index.php?mo=3&art=257639

พรมแดนธรรมชาติระหว่างประเทศไทยกับลาวข้อใดมีความยาวที่สุด

เส้นแบ่งเขตแดนไทย - ลาว.

แม่น้ำอะไรที่กั้นพรมแดนระหว่างประเทศไทยกับประเทศลาว

เขตแดนไทย-ลาว จังหวัดชายแดนไทยที่มีพื้นที่ติดกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ได้แก่ จังหวัดเชียงราย พะเยา น่าน อุตรดิตถ์ พิษณุโลก เลย หนองคาย บึงกาฬ นครพนม มุกดาหาร อำนาจเจริญ และอุบลราชธานี เขต-โขง : วิวัฒนาการตลอดระยะเวลา 128 ปี ของเขตแดนไทย-ลาว ตามแนวแม่น้ำโขง และการขับเคลื่อนภารกิจงานด้านพรมแดนที่ไม่เคยหยุดนิ่ง

แนวเทือกเขาใดเป็นพรมแดนธรรมชาติระหว่างประเทสไทยกับประเทสกัมพูชา

1. เทือกเขาพนมดงรัก : เป็นแนวพรมแดนระหว่างประเทศไทยกับประเทศกัมพูชาประชาธิปไตย ทอดตัวตามแนวตะวันออก-ตะวันตก ตั้งแต่จังหวัดบุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ ถึงอุบลราชธานี รวมความยาวทั้งสิ้น 544 กิโลเมตร

พรมแดนธรรมชาติคืออะไร

ช่องทางธรรมชาติ (Natural Border Path) หมายถึง ช่องทางบริเวณชายแดนเพื่อการเดินทางเข้า-ออก ของประชาชนที่เดินทางไปมาหาสู่กัน ซึ่งไม่มีการประกาศเป็นจุดผ่านแดนใด ๆ หรืออาจเคยประกาศเป็นจุดผ่านแดนชั่วคราวหรือจุดผ่อนปรนเพื่อการค้าที่ประกาศยกเลิกไปแล้ว แต่ยังคงมีการเดินทางเข้า-ออก ของประชาชนอยู่