บริษัทที่ กํา ไร มาก ที่สุดใน ไทย

โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากความต้องการใช้น้ำมันที่ปรับสูงขึ้นโดยเฉพาะในภูมิภาคเอเชีย จากนโยบายการเปิดประเทศมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ และการฉีดวัคซีนเป็นวงกว้าง และผลจากราคาก๊าซที่อยู่ในระดับสูงส่งผลให้เกิดการสลับมาใช้น้ำมันทดแทนก๊าซเพิ่มมากขึ้น อย่างไรก็ตามการแพร่ระบาดของ COVID-19 สายพันธุ์โอมิครอนเป็นปัจจัยกดดันความต้องการใช้น้ำมันในช่วงปลายไตรมาส 4 ปี 2564 รวมทั้งบริษัทในเครือยังสามารถทำกำไรเติบโตได้ค่อนข้างดี เนื่องจากได้รับประโยชน์จากราคาน้ำมันที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น

ขณะที่ บมจ. พีทีที โกลบอล เคมิคอล (PTTGC)มาเป็นอันดับ 4 ที่ทำกำไรสูงสุด เพราะนอกเหนือจากได้ประโยชน์จากราคาน้ำมันที่ทะยานขึ้นแล้ว ในปี 2564 ที่ผ่านมายังกำไรพิเศษจากการขายหุ้น บมจ.โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ (GPSC) จำนวน 11,834 ล้านบาท และมี บมจ.ปตท.สผ.(PTTEP) ที่คว้าอันดับ 5 ที่ทำกำไรสูงสุดของปีนี้ แน่นอนว่าปัจจัยหลักที่สนับสนุนกำไรคือ ราคาน้ำมันและเป็นผลมาจากการขยายการลงทุนในต่างประเทศ ทั้งในมาเลเซีย และภูมิภาคตะวันออกกลาง ซึ่งส่งผลให้การดำเนินงานเติบโตตามเป้าหมาย

แต่คงจะมีหลายคนสงสัยว่า บมจ.การบินไทย(THAI) ถึงเข้าติดเป็นอันดับ 2 ที่ทำกำไรได้สูงสุดได้ในปี 2564 เนื่องจากในปีที่แล้ว การบินไทย มีกำไรจากรายการพิเศษ โดยมีรายได้จำนวน 81,525 ล้านบาท ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผลจากการดำเนินการตามแผนฟื้นฟูกิจการ อาทิ การปรับโครงสร้างหนี้ การขายทรัพย์สินและเงินลงทุน การปรับโครงสร้างและขนาดองค์กร เป็นต้น ส่งผลให้บริษัทฯ และบริษัทย่อย มีกำไรสุทธิสิ้นสุด ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2564 จำนวน 55,113 ล้านบาท

ด้าน บมจ.ปูนซิเมนต์ไทย(SCC) อยู่อันดับ 3 ที่ทำกำไรสูงสุดมาจากผลการดำเนินงานที่ดีขึ้นของธุรกิจเคมิคอลส์ที่สามารถสร้างไรจากการดำเนินงานปี 2564 อยู่ที่ 48,979 ล้านบาท จากยอดขายที่เพิ่มขึ้น

สำหรับกลุ่มธนาคารพาณิชย์ในปี 2564 มีชื่อเข้ามาติดถึงจำนวน 4 แบงก์ที่สามารถกำไรสูงสุดในปี 2564 ของตลาดหลักทรัพย์ฯ เริ่มจากธนาคารกสิกรไทย ที่มาเป็นอันดับ 6, ธนาคารไทยพาณิชย์ เข้ามาเป็นอันดับ 7, ธนาคารกรุงศรีอยุธยา เข้ามาเป็นอันดับ 8 และธนาคารกรุงเทพ เข้ามาเป็นอันดับ 10 เนื่องจากความสามารถในการทำกำไรเพิ่มขึ้น สาเหตุหลักมาจากรายได้จากการดำเนินงานเพิ่มขึ้น ภาระการตั้งสำรองที่ลดลง

ด้าน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า จำนวน 757 บริษัทในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) ในปี 2564 กำไรสุทธิ 985,699 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 79.9% จากงวดเดียวกันของปีก่อน มี 3 ปัจจัยหลักที่เอื้อต่อการเติบโต ได้แก่ การปรับตัวของราคาน้ำมันส่งผลให้ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่ปรับสูงขึ้น การปรับรูปแบบธุรกิจไปสู่วิถีแบบใหม่ (New Normal) ให้รับมือสถานการณ์แพร่ระบาดโควิด-19 ได้เป็นอย่างดี และการผ่อนคลายมาตรการโควิดของไทย

ทั้ง 3 ปัจจัยดังกล่าวมีส่วนสนับสนุนให้ บจ. มีกำไรจากการดำเนินงานหลักดีขึ้นในธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับสินค้าโภคภัณฑ์ เช่น พลังงาน ผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี เหล็ก ขนส่ง (ทางเรือ) ธุรกิจการแพทย์และสินค้าที่เกี่ยวข้องกับการแพทย์ เช่น ถุงมือยาง และธุรกิจภาคการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมมีการฟื้นตัวอย่างมาก เช่น ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ วัสดุอุตสาหกรรม และชิ้นส่วนยานยนต์

"สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย" สำรวจบทวิเคราะห์บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) จาก IAA Consensus ช่วง 1 เดือนล่าสุด ที่ได้ประเมินกำไรสุทธิปี 65 ของบริษัทจดทะเบียน (บจ.) ไว้ โดยมี 10 บจ. ที่กำไรสุทธิปีนี้ มีแนวโน้มเติบโตตั้งแต่ 100% ขึ้นไป เมื่อเทียบกับปีก่อน และราคาหุ้นมีอัพไซด์สูงกว่า 20% ประกอบด้วย 

10 บจ. กำไรปี 65 จ่อโตเกิน 100%

ชื่อย่อหุ้น

บล.

กำไรปี 65 (ลบ.)

%chg YoY

ราคาเหมาะสม (บ.)

%อัพไซด์*

CRC

เอเชีย พลัส

6,603

11,092

44.75

20.18

บัวหลวง

5,554

9,314

44

20.02

PLANB

หยวนต้า

881

1,277

9.7

28.48

พาย

820

1,181

9

20.00

เอเชีย พลัส

819

1,180

9.7

28.48

PYLON

เอเชีย พลัส

250

525

6.45

37.23

โนมูระฯ

211

428

5.6

20.00

ฟินันเซียฯ

173

333

5.8

23.40

RS

หยวนต้า

707

457

24.7

54.38

เอเชีย พลัส

623

391

22.6

41.25

โนมูระฯ

455

258

19.5

21.88

TFG

บัวหลวง

2,296

309

6.7

31.37

เอเชีย พลัส

1,912

241

6

20.26

SABUY

บัวหลวง

787

268

50

101.61

BEM

บัวหลวง

3,336

230

10.2

20.10

หยวนต้า

2,820

179

11.3

25.56

เอเชีย พลัส

2,726

170

10.3

20.22

CHAYO

บัวหลวง

535

144

20.8

65.08

ฟินันเซียฯ

533

143

16.6

31.75

หยวนต้า

531

142

17.5

38.89

PORT

เคทีบีฯ

55

112

2.6

20.05

STEC

ฟินันเซียฯ

1,461

105

15.4

20.15

ที่มา : บทวิเคราะห์บริษัทหลักทรัพย์ (บล.)

*อัพไซด์เทียบราคาปิด 6 มิ.ย.65

*** CRC จ่อโตแรงสุด 11,092% หุ้นพาณิชย์ติดโผเพียบ 

10 บริษัทดังกล่าว เป็นหุ้นในดัชนี SET100 และ นอกดัชนี SET 100 จำนวน 5 บริษัท เท่ากัน โดยกลุ่มธุรกิจพาณิชย์ ติดโผสูงสุด จำนวน 3 บริษัท รองลงมา คือ กลุ่มธุรกิจบริการรับเหมาก่อสร้าง และขนส่งและโลจิสติกส์ ที่ติดโผ จำนวน 2 บริษัท เท่ากัน 

บมจ.เซ็นทรัล รีเทล คอร์ปอเรชั่น (CRC) เป็นบริษัทที่ถูกคาดว่ากำไรสุทธิปี 65 จะเติบโตสูงสุดในกลุ่มดังกล่าว โดย CRC ถูกประเมินกำไรสุทธิปี 65 ไว้ที่ 5.5 - 6.6 พันล้านบาท เติบโตขึ้น 9,314 - 11,092% เมื่อเทียบกับปีก่อน เนื่องจากฐานกำไรสุทธิปี 64 ต่ำกว่าปกติ หลังได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดโควิด-19 

ขณะที่ ผลการดำเนินงานปี 65 ส่งสัญญาณฟื้นตัวอย่างโดดเด่น สะท้อนจากอัตราการเติบโตสาขาเดิม (SSSG) ตั้งแต่ต้นปีส่งสัญญาณฟื้นตัวอย่างมีนัยสำคัญ โดยตั้งแต่ต้นไตรมาส 2/65 (QTD) อัตราส่วน SSSG ของ CRC กลับมาเป็นบวกมากกว่า 20% จากการฟื้นตัวของธุรกิจใน 3 ประเทศหลัก อย่าง ไทย, เวียดนาม และ อิตาลี่ 

นอกจากนี้ ยังได้รับปัจจัยหนุน จากการท่องเที่ยวฟื้นตัว หลังภาครัฐผ่อนคลายการเดินทางเข้าประเทศ (ยกเลิกระบบ Test&Go) ตั้งแต่ 1 พ.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งจะช่วยกระตุ้นการจับจ่ายใช้สอย อีกทั้งอัตรากำไรขั้นต้น (Gross Margin) มีแนวโน้มทำได้สูงขึ้น ตามสัดส่วนการขายสินค้ากลุ่มแฟชั่นได้มากขึ้น 

*** อีก 2 บจ.กลุ่มพาณิชย์ กำไรปีนี้ จ่อโต 268 - 457% 

ขณะที่ อีก 2 บริษัทในกลุ่มพาณิชย์ ถูกคาดว่ากำไรสุทธิปี 65 จะเติบโตราว 268 - 457% ประกอบด้วย บมจ.อาร์เอส (RS) ถูกคาดกำไรสุทธิไว้ที่ 455 - 707 ล้านบาท เติบโตขึ้น 258 - 457% จากปีก่อน มีปัจจัยหนุน จากการแพร่ระบาดโควิด-19 ลดความรุนแรงลง ประกอบกับ RS Mall มีการเปิดตัวสินค้าใหม่ และ เจาะกลุ่มเป้าหมายที่ Mass มากขึ้น 

นอกจากนี้ ยังคาดว่า หลัง RS เข้าซื้อกิจการ ULife จะสามารถสร้าง Synergy ให้กับบริษัทได้ และ คาดว่า ULife จะสร้างรายได้ราว 1.2 พันล้านบาท/ปี และ NPM ราว 10 - 12% ขณะที่ ธุรกิจทีวีดิจิทัล จะได้รับปัจจัยหนุนจากเม็ดเงินโฆษณาฟื้นตัว คาดว่าผู้ประกอบการจะกลับมาใช้เม็ดเงินโฆษณาสูงขึ้น ตามภาวะเศรษฐกิจฟื้นตัวจากปีก่อน

ด้าน บมจ.สบาย เทคโนโลยี (SABUY) ถูกคาดกำไรสุทธิไว้ที่ 787 ล้านบาท เติบโตขึ้น 268% จากปีก่อน โดยโบรกเกอร์มองว่า กำไรสุทธิของ SABUY จะปรับตัวขึ้นทุกไตรมาสในปีนี้ มีปัจจัยหนุน จากการซื้อธุรกิจใหม่ และ การขยายตัวเป็นวงกว้างของระบบ Ecosystem

อนึ่ง การเติบโตอย่างรวดเร็วของ SABUY Speed (เพิ่มขึ้น 20 - 25 ล้านบาท จากไตรมาส 1/65) ซึ่งมีสาขาราว 1.2 หมื่นแห่ง และ จะเพิ่มเป็น 1.5 หมื่นแห่ง ภายในสิ้นปีนี้ เช่นเดียวกับ ธุรกิจสินเชื่อ ที่ยังสามารถเติบโตได้โดดเด่น หลังมีการเข้าซื้อหลายบริษัทที่มีใบอนุญาติที่จำเป็น ขณะที่ ธุรกิจเดิม อย่าง ตู้เติมเงิน มีแนวโน้มฟื้นตัว จากมาตรการคลายล็อกดาวน์ 

*** พบอีก 2 บจ. กำไรปี 65 จ่อโตมากกว่า 500% 

ขณะเดียวกัน ยังมีอีก 2 บริษัท ที่กำไรสุทธิปี 65 มีแนวโน้มเติบโตมากกว่า 500% จากปีก่อน ประกอบด้วย บมจ.แพลน บี มีเดีย (PLANB) ที่ถูกประเมินกำไรสุทธิไว้ที่ 819 - 881 ล้านบาท เติบโตขึ้น 1,180 - 1,277% จากปีก่อน มีปัจจัยหนุน จากสื่อโฆษณานอกบ้านฟื้นตัว จากการแพร่ระบาดโควิด-19 

นอกจากนี้ PLANB ยังได้รับอานิสงส์ จากการรับรู้รายได้เต็มปีครั้งแรก ของธุรกิจป้ายโฆษณาร้านเซเว่น-อีเลฟเว่น ที่ติดตั้ง 2 พันสาขา ในปี 64 และ มีแผนจะติดตั้งอีก 1 พันสาขาในปี 65 ประกอบกับ PLANB ได้เพิ่มคอนเทนต์ผ่านจอ LED มากขึ้น เช่น การลุ้นสลากกินแบ่งรัฐบาล และ การอัพเดทดวงชะตา เป็นต้น 

ฟาก บมจ.ไพลอน (PYLON) ถูกประเมินกำไรสุทธิปี 65 ไว้ที่ 173 - 250 ล้านบาท เติบโตขึ้น 333 - 525% จากปีก่อน มีปัจจัยหนุนจากการได้รับงานใหม่ที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่องตลอดปี เช่น งานโรงพยาบาล BDMS Silver Wellness & Residence, Crown 11 และ ที่พักอาศัยตำรวจ เป็นต้น

งานทั้งหมดข้างต้น มีอัตรากำไรขั้นต้นอยู่ในระดับสูง ซึ่งคาดว่า จะทำให้อัตรากำไรขั้นต้นของ PYLON ในปี 65 ฟื้นตัวกลับไปอยู่ในระดับ 20 - 25% เทียบกับไตรมาส 1/65 อยู่ที่ระดับ 15.5% เท่านั้น 

*** 3 บจ. อัพไซด์มากกว่า 50% SABUY สูงลิ่ว 101% 

ทั้งนี้ 3 บริษัทในกลุ่มดังกล่าว ราคาหุ้น ณ ปัจจุบัน มีอัพไซด์สูงกว่า 50% ประกอบด้วย บมจ.สบาย เทคโนโลยี (SABUY) ที่มีอัพไซด์สูงสุดถึง 101.61% รองลงมา คือ บมจ.ชโย กรุ๊ป (CHAYO) ราคาหุ้นมีอัพไซด์ 38.89 - 65.08% และ บมจ.อาร์เอส (RS) ราคาหุ้น มีอัพไซด์ 21.88 - 54.38%