ลูกคนโต เรียก ร้อง ความสนใจ

บทความจาก https://www.parentsone.com/how-to-solve-spoiled-child-problems/

“ลูกเอาแต่ใจ” อาจเป็นปัญหาที่คุณพ่อคุณแม่หลายๆ คนกำลังเผชิญหน้าอยู่ ซึ่งในช่วงแรกอาจเกิดจากช่วงอายุอย่างวัย 2 ขวบที่ถือเป็นช่วง ‘Terrible Two’ แต่ถ้าลูกเลยวัยช่วงนั้นมาแล้ว อาการเอาแต่ใจยังไม่หายไป ก็อาจจะสร้างความหนักใจให้แก่คุณแพ่อคุณแม่ไม่น้อย วันนี้เรามาทำความเข้าใจกับการที่ลูกเป็นเด็กเอาแต่ใจ รวมไปถึงวิธีการแก้กันดีกว่าค่ะ

เด็กเอาแต่ใจเป็นยังไง ?

เด็กเอาแต่ใจ (Spoiled Child Problems) คือ เด็กที่มีอารมณ์โกรธรุนแรงเมื่อไม่ได้สิ่งที่ตนต้องการ มีพฤติกรรมการไม่ยอมทำตาม อาจได้รับการวินิจฉัยเกินจริงว่าเป็นโรคสมาธิสั้น (Attention Deficit Hyperactivity Disorder – ADHD) และ โรคอารมณ์สองขั้ว (Bipolar Disorder) ได้

ลูกคนโต เรียก ร้อง ความสนใจ

ลักษณะของเด็กเอาแต่ใจ

  • มีอารมณ์โกรธที่รุนแรงมากๆ
  • ยึดตัวเองเป็นศูนย์กลาง เชื่อว่าความต้องการของตนเองสำคัญสุด
  • ไม่ประนีประนอมและโต้เถียงอย่างไม่เลิกรา
  • แสดงพฤติกรรมการกรีดร้องอาละวาด แม้จะเข้าวัยเรียนแล้ว
  • ปฏิบัติกับผู้อื่นเหมือนเป็นสิ่งของ ไม่ใช่คน
  • ไม่มีความเคารพต่อกฎเกณฑ์
  • ก้าวร้าว หยาบคาย
  • มักบ่นว่าเบื่ออยู่เสมอ

ระดับความรุนแรงของเด็กเอาแต่ใจ

  • ระดับร้ายแรง (Grandiose/malignant type) มีอารมณ์โกรธอย่างรุนแรง ไม่สามารถระงับได้ พยายามบีบบังคับให้คนอื่นทำตามที่ตนเองต้องการ คิดว่าตนเองสำคัญมากและอยู่เหนือคนอื่น จึงขาดความเห็นอกเห็นใจและมีแนวโน้มที่จะโทษคนอื่น
  • ระดับเปราะบาง (Fragile type) มีความพยายามที่จะระงับความไม่พอใจ แต่จะรู้สึกวิตกกังวลและโดดเดี่ยว รวมถึงไขว่คว้าถึงความรู้สึกของการเป็นคนสำคัญหรือคนพิเศษ
  • ระดับเรียกร้องความสนใจ (Exhibitionistic) เด็กจะรู้สึกว่าตนเองมีความสำคัญมาก แต่ระดับนี้อาจจะช่วยผลักดันให้เด็กมีความสามารถที่หลากหลาย เช่น การพูดการเขียน การเข้าสังคม โดยอาจทำให้เด็กมีความกระตือรือร้นและมีพลังงานมาก

สาเหตุของเด็กเอาแต่ใจ

จริงๆ แล้วไม่มีสาเหตุใดสาเหตุหนึ่งที่นำไปสู่พฤติกรรมโดยตรง แต่ต้องเกิดจากเหตุการณ์บางอย่างที่ส่งผลต่อทัศนคติและการแสดงออกของเด็ก เช่น เป็นลูกคนเดียวเมื่อไปเข้าโรงเรียนก็ไม่พอใจที่ต้องแบ่งปันของให้คนอื่น หรือเป็นพี่คนโตที่พ่อแม่ให้ความสำคัญกับน้องมากกว่า จนสร้างพฤติกรรมเรียกร้องความสนใจ

  • เด็กมีความพอใจในความรู้สึกที่ได้รับเพียงชั่วครู่จากการที่พ่อแม่หรือคนรอบข้างตามใจ
  • ผู้ปกครองเป็นต้นแบบของความเอาแต่ใจ
  • พ่อแม่ช่างเอาใจ (Permissive parents)
  • ความรู้สึกว่าอยากโดดเด่นและแตกต่าง
  • ความล้มเหลวของพ่อแม่ผู้ปกครองในการเปลี่ยนแปลงความคิดและพฤติกรรมของลูก

วิธีการแก้ไขปัญหาเด็กเอาแต่ใจ

พ่อแม่ต้องช่วยเหลือให้เด็กเรียนรู้จากให้โดยไม่หวังผลตอบแทน การเสียสละโดยไม่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตน และการให้ความสำคัญแก่ผู้อื่นโดยเอาใจเขามาใส่ใจเรา

  • เป็นตัวอย่างที่ดีให้แก่ลูก แสดงให้เห็นถึงความเสียสละ ความอดทน หรือการควบคุมตัวเอง
  • ไม่ปกป้องลูกมากเกินไป ไม่อำนวยความสะดวกให้เกินความจำเป็น ลองให้ลูกเรียนรู้ที่จะรับมือกับสถานการณ์บางอย่างด้วยตัวเอง
  • ไม่ควรชมลูกเกินควร เพราะลูกอาจทำบางอย่างเพื่อเรียกร้องความสนใจและคำชมเชย
  • สอนให้ลูกมีความอดทน ลูกควรเรียนรู้ที่จะรอคอย เพื่อป้องกันตัวเองจากอารมณ์โกรธ
  • พ่อแม่ไม่ควรใจอ่อนหรือยอมให้พฤติกรรมกรีดร้องอาละวาด (Temper tantrums) ของลูก
  • จดจำไว้ว่า “การรักลูก” แตกต่างจาก “การตามใจลูก” โดยสิ้นเชิง

เทคนิคง่าย ๆ แก้ปัญหาพี่อิจฉาน้อง

ลูกคนโต เรียก ร้อง ความสนใจ

เทคนิคง่าย ๆ แก้ปัญหาพี่อิจฉาน้อง

“ตอนนี้หนูกำลังจะได้เป็นพี่คนโตแล้ว เพราะมีน้องเล็กอีกคนอยู่ในท้องคุณแม่” ความรู้สึกหนึ่งของพี่คนโตก็ดีใจ แต่อีกใจกลัวว่าจะตกกระป๋อง และอาจเลยเถิดไปถึงขั้นอิจฉาน้องได้ แบบนี้มาช่วยส่งเสริมให้พี่คนโตสวมบทพี่ตัวจริงด้วยความมั่นใจ ภูมิใจ และไม่อิจฉาน้องกันค่ะ

เข้าใจพี่ก่อนมีน้อง

สำหรับน้องหนูวัย 4-5 ขวบ การมีสมาชิกเพิ่มเป็นเรื่องใหญ่สำหรับเขา เด็กรู้สึกว่าทุกคนในบ้านเปลี่ยนไปเทคะแนนให้เจ้าตัวเล็กอีกคนกันหมด พอจะเข้าไปดูน้องหรือร่วมวงสนทนาด้วย ก็ถูกกีดกันออกมาเพราะกลัวว่าเขาจะไปทำให้น้องร้องไห้ สุดท้ายเลยต้องอยู่หัวเดียวกระเทียมลีบ แล้วก็นึกโทษว่าเป็นเพราะน้องที่แย่งทุกอย่างจากเราไป

หลังจากนั้นน้องหนูจะเริ่มเรียกร้องความสนใจ ทำพฤติกรรมเหมือนเด็กทารก เช่น ขอดูดนมแม่ ไม่ได้ดังใจก็ร้องไห้โวยวายหรือร้องให้อุ้ม ร้องไห้แข่งกับน้อง แต่ถ้าคุณเริ่มวางแผนรับมือเสียแต่เนิ่นๆ เหตุการณ์ทั้งหมดข้างต้นจะไม่เกิดขึ้น เพียงคุณลองนำเทคนิคต่างๆ นี้ไปลองใช้ดู

เทคนิคสอนพี่คนโตให้รักน้อง
  1. ยิ่งบอกเร็วยิ่งดี

เนื่องจากลูกวัยนี้มีพัฒนาการทางอารมณ์ซับซ้อนขึ้น เช่น โกรธ น้อยใจ โมโห เหงา จึงต้องการระยะเวลาในการปรับตัวและปรับอารมณ์ เพราะฉะนั้นถ้าคุณวางแผนจะมีน้องอยู่แล้ว ลองเริ่มถามลูกดูว่า อยากมีน้องไหม ถ้ามีแล้วใครจะช่วยเลี้ยงน้อง

  1. หน้าที่ดูแลน้องเป็นของทุกคน

คุณพ่อและทุกคนในบ้านควรมีบทบาทตั้งแต่คุณแม่เริ่มท้องค่ะ เพื่อให้ลูกเห็นว่าทุกคนในบ้านช่วยกันดูแลเจ้าตัวเล็กอีกคน และควรเปิดโอกาสให้เขาร่วมกิจกรรมต่างๆ ด้วย เช่น เตรียมของ ดูแลคุณแม่ ดูแลกิจวัตรของตัวเอง

  1. ไปโรงพยาบาลด้วยกัน

น้องหนูจะได้เห็นและรับรู้ว่าน้องอยู่ในท้องแม่ และครั้งหนึ่งน้องหนูก็เคยอยู่ในท้องแม่เหมือนกัน กว่าจะโตแม่ต้องคอยดูแลหนู แต่ตอนนี้แม่มีหนูมาช่วยดูแลน้องเพิ่มขึ้นอีกคน

  1. ครั้งแรกที่เจอหน้ากัน

ลองคุยกับลูกคนเล็กว่านี่คือพี่หนูนะ เขารักหนูและจะช่วยแม่ดูแลหนู ลูกคนโตจะภูมิใจกับความเป็นพี่สุดๆ เลยค่ะ

  1. ให้ของขวัญพี่คนโต

คุณควรจะให้ญาติสนิทที่มาเยี่ยมให้ซื้อของสัก 1-2 ชิ้น ฝากลูกคนโตด้วย แล้วบอกว่านี่คือรางวัลที่หนูช่วยแม่ดูแลน้อง จังหวะนี้คุณก็เล่าให้ญาติฟังว่าพี่คนโตช่วยดูแลคุณและน้องก่อนคลอดอย่างไรบ้าง เท่าที่วัยอย่างเขาทำได้

  1. อย่าเบื่อที่จะอธิบาย

ถ้าเกิดอาการอิจฉาขึ้นมาจริงๆ หรือเรียกร้องความสนใจเป็นครั้งคราว เช่น ตีน้อง ให้รีบจับแยกทันทีแล้วบอกให้ลูกรู้ว่าน้องเจ็บ แต่ต้องดูด้วยว่าเกิดจากน้องคว้าผมหรือดึงผมให้พี่เจ็บหรือเปล่า ถ้าเป็นอย่างนั้นอธิบายให้ลูกรู้ว่าน้องเล่นด้วยแต่ยังไม่รู้กำลังของตัวเอง และบอกด้วยว่าถ้าจะเล่นกับน้องทำอย่างไรจึงจะไม่ถูกดึงผม เช่น รัดผมให้เรียบร้อย

  1. มีส่วนร่วม

ถ้าพี่คนโตมาป้วนเปี้ยนอยากเล่นกับน้อง ก็ให้เขามีส่วนร่วมกับการดูแลน้อง เช่น หยิบของใช้ ดูน้องระหว่างคุณแม่เข้าห้องน้ำ ใช้เพลงจากที่โรงเรียนมากล่อมน้อง แต่ข้อควรระวังสำหรับเรื่องแบบนี้คือ อย่าบังคับจนพี่คนโตรู้สึกว่าน้องเป็นภาระ จนอดไปวาดรูปหรือเล่นกับเพื่อน

  1. พูดคุยกับพี่คนโตบ่อยๆ

ระหว่างให้นมลูก ให้พี่ช่วยลูบเท้าหรือขาน้อง คุณอาจจะคุยและถามเรื่องทั่วๆ ไป หรือให้เขาทำกิจกรรมที่ตัวเองชอบ อย่าปล่อยให้ลูกนั่งทำตาปริบๆ อยู่ข้างๆ เพราะทำตัวไม่ถูก

  1. ตามใจพี่คนโตบ้าง

ลูกคนโตอ้อนอยากกินนม ก็ปั๊มนมของคุณนั่นแหละ ให้เขาชิม รับรองเขาจะไม่อ้อนขออีกเลย เพราะมันจืดและไม่อร่อยสำหรับเด็กโต แต่หากรสชาติถูกใจวัยอนุบาลขึ้นมา ให้บอกลูกว่า แม่แค่ให้ชิมและมีนมน้อยสำหรับน้องตัวเล็กๆ เท่านั้น เพราะน้องตัวเล็กกินนมทีละน้อย แต่หนูเป็นพี่ต้องดื่มนมจากแก้ว ถ้าน้องโตกว่านี้แม่ก็ให้น้องดื่มนมจากแก้วเหมือนกัน เพราะแม่ไม่มีน้ำนม

  1. หาเพื่อนใหม่ให้ลูก

เช่น คุณปู่ คุณย่า หรือเพื่อนวัยเดียวกัน เพื่อทำกิจกรรมอย่างอื่น น้องหนูจะได้ไม่รู้สึกว่าถูกทิ้ง อีกอย่างเด็กวัยนี้เริ่มมีช่วงเวลาส่วนตัวที่เขาอยากเล่นคนเดียวแล้วค่ะ

  1. อย่าพูดกับพี่คนโตแบบนี้

ประโยคทำนองนี้ อย่าเผลอพูดไปนะ เพราะน้องหนูจะเกิดการเปรียบเทียบค่ะ "แล้วก็ห้ามดื้อ ห้ามซนด้วย เพราะแม่เหนื่อย ดูซิ น้องยังไม่ดื้อเลยนะ สู้น้องก็ไม่ได้"

ทั้งหมดนี้เป็นแค่หนทางรับมือกับบางสถานการณ์เท่านั้นค่ะ แต่เชื่อแน่ว่าความเป็นพ่อเป็นแม่ของคุณ จะทำให้ผ่านไปได้ด้วยดีค่ะ เด็กบางคนปรับตัวเร็ว บางคนปรับตัวช้า จึงต้องให้เวลาและโอกาสลูกในการปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมใหม่ๆ ด้วยค่ะ