ศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกา คือ

รู้หรือไม่ คดีอาญา ศาลอุทธรณ์และศาลฎีกาตัดสินกลับคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ยกฟ้องจำเลยมากแค่ไหน ?

  • มิถุนายน 5, 2021

ศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกา คือ

รู้หรือไม่   ในคดีอาญา ศาลอุทธรณ์และศาลฎีกาตัดสินกลับคำพิพากษาศาลชั้นให้ยกฟ้องจำเลยมากแค่ไหน ?

จากข้อมูลรายงานการวิจัยเรื่องการใช้สิทธิฎีกา ของสำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ กระทรวงยุติธรรม พ.ศ. 2534 ซึ่งมุ่งวิจัยเกี่ยวกับเรื่องการยื่นอุทธรณ์และฎีกา โดยมีวิธีการวิจัยคือ เก็บตัวอย่างคดีที่สู้กันทั้ง 3 ศาล โดยนำคำพิพากษาของศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกา ในคดีดังกล่าวทั้ง 3 ยุคสมัยด้วยกันมาเปรียบเทียบ จะพบสถิติที่น่าสนใจหลายอย่าง ซึ่งเนื่องจากสถิติทั้ง 3 ช่วงทศวรรษ มีความใกล้เคียงกัน ผู้เขียนจึงขอยกตัวอย่างเฉพาะช่วงทศวรรษแรก เพื่อให้เข้าใจได้ง่าย ทั้งนี้การศึกษาวิจัยในช่วงทศวรรษแรกนั้น เป็นเก็บตัวอย่างจากคดีอาญาจำนวนรวม 2,657 คดี ในช่วง พ.ศ.2508-2518 ซึ่งเป็นคดีที่สู้กันถึง 3 ศาลทุกคดี จะพบสถิติที่น่าสนใจคือ

สถิติในเรื่องคำพิพากษาของศาลชั้นต้น พบว่า ศาลชั้นต้นจะพิพากษาลงโทษจำเลยเสียส่วนใหญ่ คือลงโทษจำคุกร้อยละ 50.5 ลงโทษจำคุกและริบทรัพย์สิน ร้อยละ 15.6 ส่วนที่เหลือพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดแต่ลงโทษอย่างอื่น เช่นโทษประหารชีวิต ปรับ จำคุกและปรับ คุมประพฤติ กักขัง จำคุกปรับและริบทรัพย์สิน กล่าวโดยสรุปแล้ว ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดจริงมากกว่า80 เปอร์เซ็นต์ โดยศาลชั้นต้นมีคำพิพากษายกฟ้องจำเลยแค่ 18.5 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น

สถิติในเรื่องการถูกกลับและแก้ของคำพิพากษาของศาลชั้นต้น พบว่าคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ส่วนใหญ่คือ 43.4 เปอร์เซ็นต์ จะพิพากษากลับคำพิพากษาศาลชั้นต้น นอกจากนั้น คำพิพากษาของศาลชั้นต้นยังถูกแก้ถึง 25.3 เปอร์เซ็นต์ โดยศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษายืนตามศาลชั้นต้นเพียง29.7 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น

สถิติในเรื่องผลของคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ พบว่าคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ส่วนใหญ่ คือร้อยละ 44.4 จะมีคำพิพากษาให้ยกฟ้องจำเลย ส่วนที่รองลงมาคือพิพากษาให้จำคุก คือร้อยละ 32.7 ส่วนที่เหลือเป็นโทษอย่างอื่น

สถิติในเรื่องการถูกกลับแก้ของคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ พบว่า คดีส่วนใหญ่ คือ 64.5 เปอร์เซ็นต์ ศาลฎีกาจะพิพากษายืนตามศาลชั้นอุทธรณ์ รองลงมาคือพิพากษาแก้ คือ 14.5 เปอร์เซ็นต์ และศาลฎีกาพิพากษากลับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เพียง 13.8 เปอร์เซ็นต์

สถิติคำพิพากษาของศาลฎีกา พบว่าใกล้เคียงกับศาลอุทธรณ์คือ คำพิพากษาส่วนใหญ่คือ41.5 เปอร์เซ็นต์ จะยกฟ้องจำเลย รองลงมาจะมีคำพิพากษาให้จำคุก 30.7 เปอร์เซ็นต์ ส่วนที่เหลือมีโทษอย่างอื่น

กล่าวโดยสรุปคือ จาก 2,657 คดีอาญาตัวอย่างที่สู้กันทั้งสามศาล พบว่า ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษายกฟ้องจำเลยเพียง 18.5 เปอร์เซ็นต์ แต่ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษายกฟ้องถึง 44.4 เปอร์เซ็นต์ และศาลฎีกามีคำพิพากษายกฟ้องถึง 41.5 เปอร์เซ็นต์จากสถิติดังกล่าว จึงอาจทำให้สรุปได้ว่า โอกาสยกฟ้องในศาลอุทธรณ์และศาลฎีกา มีมากกว่าศาลชั้นต้นเกินกว่า 1 เท่าตัว หรืออาจกล่าวได้ในอีกนัยว่า จำเลยที่ถูกศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษและยื่นอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้น เกินกว่าครึ่งศาลอุทธรณ์จะมีคำพิพากษากลับคำพิพากษาศาลชั้นต้นฟ้องจำเลยเหล่านั้น

ทั้งนี้ในปัจจุบันผู้เขียนก็ยังเห็นว่าสถิติก็คงยังไม่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมเท่าไหร่นัก ซึ่งทนายความทุกท่านที่ทำงานเกี่ยวกับคดีอาญาจริงๆก็คงจะเห็นพ้องกับผู้เขียน ทั้งนี้เฉพาะตัวผู้เขียนเอง มีคดีที่ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยและศาลอุทธรณ์พิพากษากลับให้ยกฟ้องเกินกว่า 10 คดี ซึ่งเหตุปัจจัยที่ทำให้เกิดผลคำพิพากษาเช่นนี้มีหลายประการด้วยกัน ซึ่งปัจจัยที่สำคัญที่สุดก็คือตัวผู้พิพากษาในศาลชั้นต้นนั่นเอง ผู้เขียนไม่อาจกล่าวในที่นี้ได้ เพราะอาจกลายเป็นดูหมิ่นผู้พิพากษาหรือเป็นการละเมิดอำนาจศาลไป

ซึ่งที่ผู้เขียนนำเสนอข้อมูลนี้ ก็เพราะมีความประสงค์อยากให้ทนายความจำเลยและจำเลยทั้งหลายมีกำลังใจต่อสู้คดีอาญา ถึงแม้ในศาลชั้นต้นท่านอาจจะ ถูกข่มขู่จากทุกฝ่ายให้ยอมรับสารภาพ ถูกเกลี้ยกล่อมว่าคดีไม่มีทางสู้อย่างแน่นอน และท้ายที่สุดหากท่านถูกลงโทษ ทั้งๆที่ท่านไม่ได้กระทำผิดขอให้หากท่านเชื่อมั่นในความบริสุทธิ์ของตัวท่านและตัวจำเลยของท่าน ขอให้ท่านมีความกำลังใจที่จะสู้คดีอย่างเต็มที่ ถึงท่านจะแพ้คดีในศาลชั้น แต่สถิติชี้ให้เห็นว่าในชั้นอุทธรณ์หรือฎีกา ท่านยังคงมีโอกาสเสมอ

ผู้สนใจสามารถดาวน์โหลดรายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ได้ที่ลิ๊งด้านล่างนี้ครับ

http://www.lawreform.go.th/lawreform/index.php…

อ่านบทความอื่นๆของสำนักงาน พิศิษฐ์ ศรีสังข์ ทนายความ

อ่าน บทความเกี่ยวกับกฎหมายแพ่งและวิธีพิจารณาความแพ่ง คลิก

อ่าน บทความเกี่ยวกับกฎหมายอาญาและวิธีพิจารณาความอาญา คลิก

อ่าน บทความน่ารู้เกี่ยวกับการว่าจ้างทนายความ คลิก

แสดงความเห็นเกี่ยวกับบทความนี้

comments

            ศาล เป็นองค์กรสาธารณะที่มีหน้าที่ในการวินิจฉัยข้อพิพาทเกี่ยวกับพลเมือง แรงงาน กิจการ และอาชญากรรมภายใต้กฎหมาย ในกฎหมายทั่วไปและกฎหมายพลเมือง ศาลนับว่าเป็นทางออกของข้อพิพาทต่างๆ เป็นที่ทราบกันอยู่แล้วว่า ทุกๆ คนมีสิทธิ์ที่จะนำข้อกล่าวหามาใช้ในศาลได้ ในขณะเดียวกัน ผู้ถูกกล่าวหาก็มีสิทธิ์ที่จะแก้ต่างในศาลได้เช่นกัน

ศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกา คือ

            ในประเทศไทย ศาลเป็นองค์กรซึ่งมีอำนาจพิจารณาพิพากษาอรรถคดี โดยดำเนินการตามรัฐธรรมนูญ ตามกฎหมาย และในพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์ บรรดาศาลทั้งหลายจะตั้งขึ้นได้ก็แต่โดยพระราชบัญญัติ
            การตั้งศาลขึ้นใหม่เพื่อพิจารณาพิพากษาคดีใดคดีหนึ่งหรือคดีที่มีข้อหาฐานใดฐานหนึ่ง โดยเฉพาะแทนศาลที่มีอยู่ตามกฎหมายสำหรับพิจารณาพิพากษาคดีนั้น จะกระทำมิได้
            ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พุทธศักราช ๒๕๔๐) ศาลมี 4 ประเภท คือ
            1. ศาลรัฐธรรมนูญ
            2. ศาลยุติธรรม
            3. ศาลปกครอง
            4. ศาลทหาร

ศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกา คือ

            ศาลรัฐธรรมนูญ (อังกฤษ: constitutional court) เป็นศาลสูงที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาเกี่ยวกับกฎหมายรัฐธรรมนูญ โดยมีอำนาจหลักที่จะวินิจฉัยว่า กฎหมายใดมีปัญหาเรื่องความชอบด้วยรัฐธรรมนูญหรือไม่ เช่น ขัดกับสิทธิและเสรีภาพตามที่รัฐธรรมนูญรับรองไว้หรือไม่
            ในหลาย ๆ ประเทศ ไม่จัดตั้งศาลรัฐธรรมนูญเป็นเอกเทศ และศาลยุติธรรมตามธรรมดาจะรับคดีดังกล่าวเอง นอกจากนี้ ในหลาย ๆ ประเทศก็ไม่เรียกองค์กรนี้ว่า "ศาลรัฐธรรมนูญ" และบางประเทศก็เรียกศาลยุติธรรมว่า ศาลรัฐธรรมนูญ เช่น ศาลสูงสุดแห่งสหรัฐอเมริกาได้ชื่อว่าเป็น "ศาลรัฐธรรมนูญที่เก่าแก่ที่สุดในโลก" เพราะเป็นศาลแรกในโลกที่วินิจฉัยความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของกฎหมายต่าง ๆ (คดีระหว่างมาร์บิวรีกับเมดิสัน) แม้ว่าในประเทศสหรัฐอเมริกาจะไม่จัดตั้งศาลรัฐธรรมนูญเป็นการเฉพาะก็ตาม ส่วนประเทศที่สถาปนาศาลรัฐธรรมนูญอย่างเอกเทศเป็นแห่งแรกของโลกนั้น คือ ประเทศออสเตรีย ซึ่งดำเนินการใน ค.ศ. 1920 แม้ว่าจะถูกเลื่อนไปในราว ๆ ค.ศ. 1934 ถึง 1945 ตามรัฐธรรมนูญที่จัดตั้งศาลนั้น อนึ่ง ก่อนหน้านี้ มีเพียงสหรัฐอเมริกาและออสเตรเลียเท่านั้นที่รับเอาทฤษฎีการทบทวนโดยฝ่ายตุลาการมาใช้ในศาลสูงสุดของประเทศตน

ศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกา คือ

            ศาลยุติธรรม (อังกฤษ: The Court of Justice) เป็นศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีทั้งปวง เว้นแต่คดีที่รัฐธรรมนูญหรือกฎหมายบัญญัติให้อยู่ในอำนาจของศาลอื่น
            ศาลยุติธรรมมี 3 ชั้น คือ ศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ และศาลฎีกา เว้นแต่ที่มีบัญญัติเป็นอย่างอื่นในรัฐธรรมนูญหรือตามกฎหมายอื่น
            1. ศาลชั้นต้น ได้แก่ ศาลแพ่ง ศาลแพ่งกรุงเทพใต้ ศาลแพ่งธนบุรี ศาลอาญา ศาลอาญากรุงเทพใต้ ศาลอาญาธนบุรี ศาลจังหวัด ศาลแขวง และศาลยุติธรรมอื่นที่พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลนั้นกำหนดให้เป็นศาลชั้นต้น เช่น ศาลเยาวชนและครอบครัว ศาลแรงงาน ศาลภาษีอากร ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ ศาลล้มละลาย
                     - ศาลแพ่ง เป็นศาลยุติธรรมชั้นต้นซึ่งมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีแพ่งทั้งปวงและคดีอื่นใดที่มิได้อยู่ในอำนาจของศาลยุติธรรมอื่น ศาลแพ่งมีเขตตลอดท้องที่กรุงเทพมหานคร นอกจากท้องที่ที่อยู่ในเขตของศาลแพ่งกรุงเทพใต้ ศาลแพ่งธนบุรี ศาลจังหวัดมีนบุรี และศาลยุติธรรมอื่นตามที่พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลนั้นกำหนดไว้ ในกรณีที่มีการยื่นฟ้องคดีต่อศาลแพ่ง และคดีนั้นเกิดขึ้นนอกเขตของศาลแพ่ง ศาลแพ่งอาจใช้ดุลพินิจยอมรับไว้พิจารณาพิพากษาหรือมีคำสั่งโอนคดีไปยังศาลยุติธรรมอื่นที่มีเขตอำนาจ
                     - ศาลอาญา เป็นศาลชั้นต้นซึ่งมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีอาญาทั้งปวงในเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร นอกจากท้องที่ที่อยู่ในเขตของศาลอาญากรุงเทพใต้ ศาลอาญาธนบุรี และศาลจังหวัดมีนบุรี แต่บรรดาคดีที่เกิดขึ้นนอกเขตอำนาจศาลอาญานั้นจะยื่นฟ้องต่อศาลอาญาก็ได้ ทั้งนี้อยู่ในดุลพินิจของศาลอาญาที่จะไม่ยอมรับพิจารณาพิพากษาคดีใดคดีหนึ่งที่ยื่นฟ้องเช่นนั้นก็ได้ เว้นแต่คดีนั้นจะโอนมาตามบทบัญญัติในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความ
            ที่ทำการศาลอาญา อยู่ที่ถนนรัชดาภิเษก แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร
            - ศาลอุทธรณ์ ได้แก่ ศาลอุทธรณ์ และศาลอุทธรณ์ภาค
            - ศาลฎีกาซึ่งเป็นศาลยุติธรรมสูงสุด ที่มีอยู่เพียงศาลเดียว

สำนักงานศาลยุติธรรม

            สำนักงานศาลยุติธรรม เป็นองค์กรอิสระที่ดูแลงานธุรการของศาลยุติธรรม มีฐานะเป็นนิติบุคคล มีอิสระในการบริหารงานบุคคลการงบประมาณและการดำเนินการอื่น ตามที่กฎหมายบัญญัติ โดยมีเลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรมเป็นผู้บังคับบัญชาขึ้นตรงต่อประธานศาลฎีกา
            การแต่งตั้งเลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรมต้องได้รับความเห็นชอบของคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม

ศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกา คือ

            ศาลปกครอง (อังกฤษ: administrative court) เป็นศาลชำนัญพิเศษด้านกฎหมายปกครอง โดยเฉพาะด้านข้อพิพาทเกี่ยวกับการใช้อำนาจรัฐ จัดตั้งขึ้นเพื่อสร้างความมั่นใจว่า ราชการเป็นไปตามกฎหมาย
            ศาลปกครองมักพบในประเทศทางยุโรปที่ใช้กฎหมายระบบซีวิลลอว์ บางประเทศจัดตั้งศาลปกครองขึ้นเป็นระบบต่างหากจากศาลปรกติ โดยที่แต่ละระบบไม่มีอำนาจเหนือกัน การจัดตั้งศาลปกครองลักษณะนี้มีในประเทศกรีซ ประเทศฝรั่งเศส ประเทศโปแลนด์ ประเทศฟินแลนด์ ประเทศเยอรมนี ประเทศสวีเดน และประเทศอียิปต์
            สำหรับประเทศกรีซ ประเทศฝรั่งเศส และประเทศสวีเดนนั้น ศาลปกครองมีสามชั้นดังศาลทั่วไป คือ ศาลปกครองชั้นต้น ศาลปกครองชั้นอุทธรณ์ และศาลปกครองชั้นสูงสุด ส่วนในประเทศโปแลนด์และประเทศฟินแลนด์ ศาลปกครองมีสองชั้น คือ ศาลปกครองชั้นต้น กับศาลปกครองชั้นสูงสุด
            ในประเทศเยอรมนี ศาลปกครองมีระบบซับซ้อนทั้งยังมีความชำนาญเฉพาะเรื่องยิ่งกว่าในประเทศอื่น นอกจากนี้ เมื่อ ค.ศ. 1952 รัฐบาลเยอรมันตะวันออกของพรรคคอมมิวนิสต์ยังเคยยุบศาลปกครองเพื่อไม่ให้ราษฎรโต้แย้งคำสั่งทางปกครองได้ แต่ศาลปกครองได้รับการสถาปนาขึ้นใหม่เมื่อ ค.ศ. 1989 ก่อนมีการผนวกเยอรมนีในอีกหนึ่งปีให้หลัง
            ในสหรัฐอเมริกา คณะตุลาการในส่วนราชการทั้งหลายทำหน้าที่พิจารณาคดีปกครองโดยไม่ขึ้นต่อศาล แต่คำวินิจฉัยของคณะตุลาการเหล่านี้สามารถอุทธรณ์ต่อไปยังศาลได้

ศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกา คือ

            ศาลทหาร ได้มีขึ้นเป็นของคู่กันมาตั้งแต่มีการทหารไว้ป้องกันประเทศ จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ระบบศาลทหารไทยปรากฏตามกฎหมายลักษณะขบฎศึก จุลศักราช 796 ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตั้งแต่รัชกาลที่ 1 ถึงรัชกาลที่ 5 มีศาลกลาโหม ชำระความที่เกี่ยวกับทหารและยังชำระความพลเรือนด้วย ทั้งนี้ เนื่องจากสมุหพระกลาโหมนั้นมิได้มีเพียงอำนาจหน้าที่เฉพาะการบังคับบัญชาทหารบก ทหารเรือ เท่านั้น แต่ยังมีหน้าที่จัดการปกครองหัวเมืองฝ่ายใต้ด้วย ศาลที่ขึ้นอยู่ในกระทรวงกลาโหมมีทั้งศาลที่ตั้งอยู่ในกรุงเทพ และศาลในหัวเมืองฝ่ายใต้ด้วย ศาลกลาโหมจึงมีลักษณะเป็นทั้งศาลทหารและศาลพลเรือน
            พ.ศ. 2434 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ปรับปรุงในเรื่องการศาลทั้งหมด โดยให้ตั้งกระทรวงยุติธรรมขึ้น และรวบรวมศาลซึ่งกระจัดกระจายสังกัดอยู่ในกระทรวง ทบวง กรม ต่าง ๆ เข้ามาสังกัดกระทรวงยุติธรรมจนหมดสิ้นทุกศาล ยกเว้นแต่เพียงศาลทหารเพียงศาลเดียวที่ยังคงให้สังกัดกระทรวงกลาโหมอยู่ตามเดิม ศาลในประเทศไทยจึงแบ่งได้เป็นศาลกระทรวงยุติธรรมกับศาลทหารนับแต่นั้นมา

ประเภทของศาลทหาร

            ศาลทหารสามารถแบ่งได้เป็น 3 ประเภท คือ
                   1. ศาลทหารในเวลาปกติ
                   2. ศาลทหารในเวลาไม่ปกติ
                   3. ศาลอาญาศึก

คดีที่อยู่ในอำนาจศาลทหาร

            ศาลทหาร มีอำนาจ พิจารณาพิพากษาลงโทษผู้กระทำความผิดอาญาซึ่งเป็นบุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหารในขณะกระทำผิด สั่งลงโทษบุคคลใดๆ ที่กระทำผิดฐานและละเมิดอำนาจศาล นอกจากนี้ยังกำหนดให้มีอำนาจในการพิจารณาคดีอย่างอื่นได้อีกตามที่จะมีกฎหมายบัญญัติเพิ่มเติม ที่เคยมีมาแล้วเช่น ความผิดฐานกระทำการอันเป็นคอมมูนิตส์ เป็นต้น สำหรับอำนาจในการรับฟ้องคดีของศาลทหารแบ่งได้ดังนี้ ศาลจังหวัดทหารจะรับฟ้องคดีที่จำเลยมีชั้นยศเป็นนายทหารประทวน ศาลมณฑลทหารจะรับฟ้องคดีที่จำเลยมีชั้นยศตั้งแต่ชั้นประทวนจนถึงชั้นยศสัญญาบัตรแต่ไม่เกินพันเอก ส่วนศาลทหารกรุงเทพจะรับฟ้องได้หมดทุกชั้นยศ นอกจากนี้ชั้นยศจำเลยมีผลต่อการแต่งตั้งองค์คณะตุลาการที่จะพิจารณาคดีด้วย โดยองค์คณะตุลาการที่จะแต่งตั้งนั้นอย่างน้อยต้องมีผู้ที่มียศเท่ากันหรือสูงกว่าจำเลย

คดีที่ไม่อยู่ในอำนาจศาลทหาร

            แยกเป็น 4 ประเภท คือ

                 ประเภทแรก ได้แก่บุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหารกับบุคคลที่ไม่อยู่ในอำนาจศาลทหารกระทำผิดด้วยกัน
                ประเภทที่สอง ได้แก่คดีที่เกี่ยวพันกับคดีที่อยู่ในอำนาจศาลพลเรือน
                ประเภทที่สาม ได้แก่คดีที่ต้องดำเนินในศาลเยาวชนและครอบครัว เนื่องจากอายุของผู้กระทำความผิด ซึ่งคงจะมีแต่เฉพาะนักเรียนทหาร
                ประเภทที่สี่ ได้แก่คดีที่ศาลทหารเห็นว่าไม่อยู่ในอำนาจศาลทหาร คดีประเภทนี้คงจะต้องประกอบด้วยหลักเกณฑ์ 2 ประการ ประการแรก คือ ได้มีการฟ้องคดียังศาลทหารแล้ว ประการที่สอง คือ เป็นคดีที่ไม่เข้าหลักเกณฑ์ในสามประเภทแรก

บุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหาร

ศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกา คือ
กลุ่มแรก ได้แก่ ทหาร แยกเป็น 2 ประเภท คือ

                1. ทหารประจำการ ได้แก่ ทหารที่ยึดเอาการรับราชการทหารเป็นอาชีพ ซึ่งมีทั้งทหารประจำการชั้นสัญญาบัตร ชั้นประทวน และทหารที่ไม่มียศที่เรียกกันว่า พลทหารอาสาสมัคร
                2. ทหารกองประจำการ คือ ทหารเกณฑ์ หรือทหารที่สมัครเข้ากองประจำการเพราะกฎหมายบังคับให้ต้องเป็นทหาร

ศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกา คือ
กลุ่มที่สอง ได้แก่ นักเรียนทหาร หมายถึง นักเรียนทหารที่กำหนดขึ้นโดยกระทรวงกลาโหม เช่น นักเรียนนายร้อย นักเรียนแพทย์ทหารวิทยาลัยแพทย์ศาสตร์พระมงกุฎเกล้า นักเรียนนายเรือ นักเรียนนายเรืออากาศ นักเรียนเตรียมทหาร นักเรียนทหารดังกล่าวหากมีอายุอยู่ในเกณฑ์ที่จะต้องดำเนินคดีในศาลเยาวชน และครอบครัว หากพ้นเกณฑ์อายุก็จะต้องถูกดำเนินคดีในศาลทหาร
ศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกา คือ
กลุ่มที่สาม คือบุคคลที่มิได้เป็นทหาร จำแนกได้เป็น 3 ประเภท คือ
                1. บุคคลที่เป็นข้าราชการกลาโหมพลเรือน เป็นลูกจ้างในสังกัดกระทรวงกลาโหม เมื่อกระทำความผิดต่อหน้าที่ราชการโดยมาจำกัดพื้นที่ หรือความผิดอาญาอื่นโดยจำกัดพื้นที่เฉพาะในบริเวณที่ตั้งหน่วยทหาร
                2. บุคคลที่อยู่ในความควบคุมของเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารโดยชอบด้วยกฎหมาย เช่น พยานที่ถูกศาลทหารออกหมายจับมาเพื่อเบิกความ
                3. บุคคลที่เป็นเชลยศึกหรือชนชาติศัตรูในช่วงเวลาที่มีศึกสงคราม

การแต่งตั้งตุลาการ

                - ตุลาการศาลทหารสูงสุด และตุลาการศาลทหารกลาง ให้นำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งและถอดถอน
                - ตุลาการศาลทหารชั้นต้น และศาลประจำหน่วยทหาร พระมหากษัตริย์ทรงมอบพระราชอำนาจแก่ผู้บังคับบัญชาทหาร และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นผู้แต่งตั้งและถอดถอน
                - ตุลาการในศาลทหารชั้นต้น ผู้มีอำนาจบังคับบัญชาจังหวัดทหาร เป็นผู้มีอำนาจแต่งตั้งตุลาการศาลจังหวัดทหาร ผู้มีอำนาจบังคับบัญชามณฑลทหาร เป็นผู้มีอำนาจแต่งตั้งตุลาการศาลมณฑลทหาร ผู้มีอำนาจบังคับบัญชาหน่วยทหาร เป็นผู้มีอำนาจแต่งตั้งตุลาการศาลประจำหน่วยทหารและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นผู้มีอำนาจแต่งตั้งตุลาการศาลทหารกรุงเทพ

ศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกา คือ

http://th.wikipedia.org/wiki/ศาล

ศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกา คือ

ศาลชั้นต้น คือ ศาล อะไร

ศาลชั้นต้น เป็นศาลซึ่งรับคาฟ้อง หรือคาร้องในชั้นเริ่มต้นคดีไม่ว่าเป็นคดีแพ่ง คดีผู้บริโภค คดี สิ่งแวดล้อม คดีนักท่องเที่ยว คดีแรงงาน คดีภาษีอากร คดีล้มละลาย คดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้า ระหว่างประเทศ หรือคดีอาญา โดยดาเนินกระบวนการตัดสินชี้ขาดเป็นชั้นศาลแรก ทั้งมีอานาจดาเนิน กระบวนพิจารณาแทนศาลอุทธรณ์และศาลฎีกาในบาง ...

ศาลชั้นต้นมีอะไรบ้าง

ศาลชั้นต้น ศาลชั้นต้น (Trialcourt) คือศาลที่พิจารณาคดีใน ชั้นแรก ได้แก่ (*ศาลชั้นต้นมีองค์คณะ2 คน) 1) ศาลแพ่ง 2) ศาลอาญา 3) ศาลแพ่งกรุงเทพใต้ 4) ศาลอาญากรุงเทพใต้ 5) ศาลแพ่งธนบุรี 6) ศาลอาญาธนบุรี Page 15 ศาลชั้นต้น (ต่อ) • 7) ศาลจังหวัด

ศาลอุทธรณ์เป็นศาลชั้นใด

เป็นศาลชั้นสูงมีอยู่ศาลเดียว ตั้งอยู่ที่กรุงเทพมหานคร มีอำนาจหน้าที่ในการพิจารณาพิพากษาคดี ซึ่งอุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลอุทธรณ์ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยฎีกา นอกจากนั้นหามีกฎหมายใดกำหนดในคดี บางประเภทยื่นฟ้องโดยตรงต่อศาลฎีกา โดยไม่ต้องผ่านศาลอื่นทุกชั้น หรือผ่านเพียงบางชั้นก็ต้องเป็นไปตามนั้น

ศาลชั้นต้นมีอำนาจหน้าที่อะไรบ้าง

หมายถึง ศาลซึ่งจะต้องเริ่มพิจารณาคดีหรือซึ่งจะต้องทำตามคำสั่งเป็นขั้นแรก หมายความว่า คู่ความจะนำไปฟ้องหรือร้อง ตรงไปยังศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกาไม่ได้ ศาลชั้นต้นแบ่งออกเป็นหลายประเภทด้วยกัน คือ ศาลชั้นต้นในกรุงเทพมหานคร แบ่งออกเป็น