แนวคิด พุทธ ศาสนา มหายานในญี่ปุ่น

   ปัจจุบัน โซกะ กัคไค มีบทบาทสำคัญในการเมืองญี่ปุ่น เพราะมีบุคคลชั้นนำของนิกายนี้เป็นเลขาธิการพรรคการเมืองชื่อ พรรคโกเมอิโต โดยมีนโยบายที่เป็นประชาธิปไตยแบบพระพุทธศาสนา พรรคนี้ขยายตัวอย่างรวดเร็วจนมีอิทธิพลเป็นอันดับสามของประเทศ

When visiting temples or doing a Zen experience workshop or such, knowing what type of Buddhism that Japanese Buddhism belongs to and when it came to Japan would be helpful to understanding the explanation at the temple. This is because temples, Buddha statues, and Zen are all based on the teachings of the various types of Buddhism. Here, we will introduce the history, teachings, and temples of Buddhism in Japan.

What Kind of Religion is Buddhism? Buddhism in Japan

แนวคิด พุทธ ศาสนา มหายานในญี่ปุ่น

Buddhism is a religion that began in the 5th and 6th centuries BC, based on the teachings of the Indian Buddha (Siddatta Gautama). It was in the 6th century AD that Buddhism came to Japan from India through various parts of Asia. In Buddhism, there is a concept of reincarnation where people are reborn when they die, and that is repeated over and over. It is difficult to live in this cycle of reincarnation, but it is said that you can be freed from reincarnation by becoming enlightened, through training and controlling the desires that disturb the mind and heart.

Over many years, Buddhism was divided into several types, and Mahayana Buddhism is the type that came to Japan. In Mahayana Buddhism, the aim is not only for your own enlightenment, but to become a Buddha yourself by working for salvation for others. In Japan, there are various denominations such as Jodo Buddhism, Jodo Shinshu Buddhism, Nichiren Buddhism, and Rinzai Buddhism and Sotoshu Buddhism, whose main practice is Zazen (Zen).  

Why did Buddhism Spread in Japan? The Relationship Between Buddhism and Shinto 

แนวคิด พุทธ ศาสนา มหายานในญี่ปุ่น

In Japan, Shinto, a religion unique to Japan, was worshipped until Buddhism was introduced. In this situation, Buddhism was accepted in Japan because a Buddhist clan, the Soga, won a battle against the non-Buddhist objectors, the Mononobe. However, Shinto did not stop being believed, and since then, a culture of believing in both has become established in Japan.

แนวคิด พุทธ ศาสนา มหายานในญี่ปุ่น

This double belief system is also due to the fact that shrines and temples were often built on the same site. In the Meiji period, shrines and temples were separated due to the government's separation of Shinto and Buddhism, but Japanese customs did not change. For this reason, there are still many people who visit shrines at the milestones of child growth and the New Year, and perform funerals and memorial services in temples. If you are wondering why many Japanese believe in two religions, Shinto and Buddhism, you can understand better by remembering this separation of usage.

Japanese Buddhism and Temples Nowadays

แนวคิด พุทธ ศาสนา มหายานในญี่ปุ่น

The main halls of many temples are made of gold, and gorgeously decorated. This represents the endless world of Buddha's light and the Pure Land paradise. In Japan, there are nearly 30 temples which are registered as World Heritage Sites, including the world's oldest wooden building, Horyuji Temple. Shukubo, which is lodging offered for pilgrims where you can experience Zen, is also popular. When visiting Japan, we recommend you experience the world of Japanese Buddhism.

แนวคิด พุทธ ศาสนา มหายานในญี่ปุ่น

ดร.โฆษิต ทิพย์เทียมพงษ์
Tokyo University of Foreign Studies



ศาสนาพุทธแบบญี่ปุ่นคือมหายาน ซึ่งมีข้อแตกต่างกับของไทยที่คนไทยมักจะตกใจ คือ พระญี่ปุ่นมีภรรยาได้ ดื่มเหล้าได้ และคนญี่ปุ่นมองว่าพระคืออาชีพ อีกทั้งยังมีคนอีกมากที่มองเชิงตำหนิว่าพระรวยและวัดก็รวยเพราะไม่ต้องจ่ายภาษี เงินบริจาคกับเงินค่าบริการดูแลสุสานมียอดเท่าไรก็ไม่ต้องเปิดเผยให้เป็นที่กังขาถึงที่มา ลักษณะเหล่านี้เป็นสิ่งที่คนญี่ปุ่นทราบกันดี แต่ถ้าถามถึงคำสอนหรือประวัติของศาสนาพุทธแล้วละก็ อาจไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะได้คำตอบจากคนญี่ปุ่น

ญี่ปุ่นมีวัดตามขนบพุทธและมีศาลเจ้าตามขนบชินโตอยู่ทั่วประเทศ คนญี่ปุ่นส่วนใหญ่ก็ไปทั้งวัดและศาลเจ้า แต่ญี่ปุ่นไม่มีวันหยุดราชการที่เป็นวันทางศาสนาเลย และคนญี่ปุ่นทุกวันนี้รู้จักศาสนากันอย่างผิวเผิน ผมเคยถามลูกศิษย์หลายคน บางคนบอกว่า “ไม่ได้นับถือศาสนาอะไรเลย” พอถามอีกว่าไปวัดไหม? ก็ตอบว่าไป ไปศาลเจ้าไหม? ก็ตอบว่าไป แต่พอถามว่ารู้อะไรเกี่ยวกับพุทธและชินโตบ้าง ก็เงียบไป ซึ่งทำให้ตีความได้ว่าคงไม่ค่อยรู้ และยังมีคนญี่ปุ่นอีกไม่น้อยที่จะนิ่งคิดสองสามวินาทีเหมือนลังเล แล้วจึงตอบว่า “นับถือพุทธมั้ง”

ตั้งแต่อยู่ญี่ปุ่นมาเกือบยี่สิบปี พอถามคนญี่ปุ่นเรื่องศาสนา ก็แทบไม่มีใครอธิบายได้ละเอียดมากกว่าคำว่า “เกิดแบบชินโต แต่งงานแบบคริสต์ ตายแบบพุทธ” เพิ่งมาระยะหลังนี่ ผมถึงค่อยๆ หาหนังสือมาอ่านเองได้ (แรกๆ อ่านไม่ได้เพราะศัพท์ศาสนาใช้ตัวอักษรยากๆ มากมาย) แล้วก็เจออยู่คนเดียวที่ช่วยสาธยายให้ฟังได้ยาวมากจนถึงขั้นสวดมนต์แถมอีก ด้วยบังเอิญว่าเพื่อนคนนี้เป็นลูกชายของพระชินโตเจ้าของศาลเจ้าแห่งหนึ่ง ซึ่งชีวิตปกติก็เป็นฆราวาสทั่วไป แต่พอถึงฤดูกาล พ่อก็จะเรียกให้ไปช่วยงาน เช่น ไปทำพิธีปัดรังควานตามบ้านแล้วแต่จะมีใครมานิมนต์

แม้คนญี่ปุ่นที่ตระหนักว่าตัวเองนับถืออะไรและเข้าใจคำสอนของศาสนาโดยเฉพาะศาสนาพุทธนั้นจะมีไม่มาก แต่พุทธศาสนาก็ส่งอิทธิพลหลายด้านในสังคมญี่ปุ่นโดยที่คนญี่ปุ่นไม่รู้ตัวหรือไม่เคยสังเกต ศาสนาพุทธเริ่มแผ่เข้ามาสู่ญี่ปุ่นอย่างเป็นทางการเมื่อราวศตวรรษที่ 6 หรือประมาณ 1,500 ปีที่แล้ว โดยผ่านจากจีนมาทางคาบสมุทรเกาหลี เคยผ่านทั้งยุคที่รุ่งเรืองและยุคที่เสื่อมถอยโดยเฉพาะในช่วงปฏิวัติเมจิปลายทศวรรษ 1860 เมื่อเกิด “ความเคลื่อนไหวเพื่อขจัดพุทธศาสนา” (廃仏毀釈; haibutsu kishaku) และมีการเชิดชูศาสนาชินโตขึ้นแทน ในระยะนั้นวัดหลายแห่งถูกยุบ วัตถุอันเป็นพุทธบูชาถูกทำลาย พระสงฆ์ถูกบังคับให้กลายเป็นพระชินโต หลังจากนั้น สถานการณ์จึงค่อยๆ ซาลงในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งว่ากันว่าศาสนาพุทธมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับอดีตกองทัพญี่ปุ่น ช่วงนั้นเมื่อทหารเสียชีวิตในสงครามก็จะต้องทำพิธีศพและตั้งชื่อตามคติพุทธให้ใหม่ พระสงฆ์จึงเป็นที่ต้องการตัวมากขึ้น

นิกายย่อยในศาสนาพุทธของญี่ปุ่นมีไม่ต่ำกว่าสิบ ถ้าสายที่คนไทยคุ้นชื่อหน่อยก็คือ “เซ็ง” (禅;Zen) หรือมักเขียนว่า “เซน” ซึ่งแปลว่า “ฌาน” โดยมีต้นกำเนิดจากพระโพธิธรรม หรือ “โบะได-ดะรุมะ” (โพธิ-โบะได [菩提;bodai]; ธรรมะ-ดะรุมะ [達摩;daruma]) หรือ “ตั๊กม้อ” (แต้จิ๋ว) ผู้สถาปนาวัดเส้าหลินในจีนนั่นเอง ซึ่งว่ากันตามตำนานว่ามาจากอินเดีย มีชีวิตอยู่ในช่วงศตวรรษที่ 5 หรือ 6 และบำเพ็ญพรตโดยการนั่งสมาธิ (เข้าฌาน) ภาษาญี่ปุ่นเรียกว่า “ซะเซ็ง” (座禅;zazen)

อิทธิพลที่ศาสนาพุทธมีต่อคนญี่ปุ่นยังปรากฏให้เห็นมากมายในชีวิตประจำวันแม้คนญี่ปุ่นไม่ตระหนักก็ตาม สิ่งที่เห็นได้ง่ายก็เช่น โบราณวัตถุ พระพุทธรูป หรือตุ๊กตาดะรุมะตัวป้อมๆ ตาโตๆ คล้ายตุ๊กตาล้มลุก ซึ่งใช้ขอพรโดยเขียนตาสีดำข้างหนึ่งลงไปก่อน พอสมหวังก็เติมตาอีกข้างให้สมบูรณ์ ชื่อ “ดะรุมะ” ก็คือ “ธรรมะ” ซึ่งมาจากชื่อพระโพธิธรรม

ส่วนสิ่งที่เป็นนามธรรมกว่านั้นก็มี เช่น ความหมายของการไหว้ ปกติคนญี่ปุ่นทำความเคารพโดยการคำนับ แต่เมื่อไปวัดก็ยกมือไหว้พระ คติญี่ปุ่นบอกว่าการพนมมือสื่อความหมายว่า ตัวเรากับพระพุทธเจ้าผสานรวมกัน มือขวานั้นหมายถึงพระพุทธผู้ทรงไว้ซึ่งบริสุทธิคุณ ส่วนมือซ้ายหมายถึงกิเลสของตัวเรา เมื่อประกบเข้าหากันก็สื่อว่า เราจะชำระล้างกิเลสโดยดำเนินตามรอยพระศาสดา

เทศกาล “โอะบง” (お盆;O-bon) ซึ่งก็คือการไหว้วิญญาณบรรพบุรุษ ก็มีที่มาจากศาสนาพุทธเช่นกัน ในสมัยพุทธกาล พระโมคคัลลานะ (ภาษาญี่ปุ่นเรียกว่า “โมะกุเร็ง” [目連; Mokuren]) เข้าสู่สมาธิท่องไปในนรกและเห็นมารดาของตนในนั้น จึงไปถามพระพุทธเจ้าว่าควรทำประการใดเพื่อช่วยให้มารดาพ้นทุกข์ พระพุทธเจ้าตรัสแนะให้ทำบุญแก่เหล่าพระสงฆ์ที่เพิ่งจำพรรษาหน้าร้อนเสร็จสิ้นและอุทิศส่วนกุศลให้แก่มารดา จึงกลายเป็นที่มาของโอะบงในญี่ปุ่น ซึ่งตรงกับช่วงหน้าร้อนกลางเดือนสิงหาคม

นอกจากนี้ เมื่อมีคำสอนก็ต้องมีภาษา ภาษาสันสกฤตจึงหลั่งไหลเข้ามาด้วย คำบางคำใช้แพร่หลายจนไม่มีวี่แววให้คนญี่ปุ่นสงสัยเลยว่านี่เป็นคำที่มาจากศาสนาพุทธ อย่างเช่นคำว่า “สามี” ภาษาญี่ปุ่นพูดว่า “ดันนะ” (旦那;danna) ซึ่งก็คือคำสันสกฤต dāna หรือตามที่ภาษาไทยใช้คือ “ทาน” (ทา-นะ) ความหมายตามภาษาสันสกฤตคือ “การให้” เป็นรากเดียวกับคำว่า donor-ผู้บริจาค และด้วยนัยตามวัฒนธรรมญี่ปุ่น ผู้ที่ให้การเลี้ยงดูและคุ้มครองภรรยานั้นคือผู้ให้ ต่อมาคำนี้จึงมีความหมายว่า “สามี”

ส่วนคำอื่นๆ ในภาษาญี่ปุ่นก็มีอีกหลายคำที่เป็นการถ่ายเสียงภาษาสันสกฤตเข้ามาแบบนั้นเลยโดยไม่แปลเป็นญี่ปุ่น แต่หาตัวอักษรที่มีเสียงใกล้เคียงมาถ่ายทอดและให้สื่อความหมายทางศาสนา (ลำดับคำในวงเล็บคือ ตัวอักษรญี่ปุ่น-เสียงอ่านญี่ปุ่น-เสียงอ่านสันสกฤต) ดังตัวอย่างคำต่อไปนี้

อะ-ชุ-ระ (阿修羅; ashura; asura) – อสุร- (อสูร)
นะ-ระ-กุ (奈落; naraku; naraka) – นรก (คำญี่ปุ่นที่แพร่หลายกว่าคือ “จิโงะกุ” [地獄;jigoku])
บุด-ดะ (仏陀; budda; Budhda) – พุทธะ (พระพุทธเจ้า)
ยะ-ชะ (夜叉; yasha; yakṣa) – ยักษ์
อะ-จะ-ริ (阿闍梨 ; ajari; ācārya) – อาจารย์ทางศาสนา
บิ-กุ (比丘; biku; bhikṣu) – ภิกษุ

ขณะที่เมืองไทยอยู่ในสัปดาห์วิสาขบูชา หลายคนคงสงสัยว่าญี่ปุ่นมีเหมือนไทยหรือไม่ คำตอบคือ “มี” แต่ไม่ได้นับเหมือนเราและไม่เป็นที่รู้จักแพร่หลาย เทศกาลของญี่ปุ่นที่เทียบเคียงได้กับวิสาขบูชาของไทยคือ “คัมบุสึเอะ” (灌仏会;kanbutsue) กำหนดตายตัวทุกปีคือวันที่ 8 เมษายน โดยถือเป็นการฉลองวันประสูติของพระพุทธองค์ และไม่ได้ยึดถือขึ้น 15 ค่ำเดือน 6 แบบไทย ไม่มีประเพณีทำบุญตักบาตรเวียนเทียนเหมือนคนไทย แต่เป็นการสักการะด้วยดอกไม้อย่างที่ปฏิบัติกันเป็นประจำ แต่อาจจัดเป็นงานที่ใหญ่กว่า

คนญี่ปุ่นน้อยคนมากที่จะรู้ว่าศีลห้าประกอบด้วยอะไรหรือรู้ว่าอริยสัจสี่คืออะไร ศาสนาพุทธสำหรับคนญี่ปุ่นจึงเป็นเหมือนประเพณีด้านการประกอบพิธีมากกว่าการเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวทางใจ หากถือว่าศาสนาคือหลักยึดทางใจ ก็คงน่าเสียดายถ้าไม่นับถือศาสนาใดเลย แต่ถ้ามองอีกที หากมีหลักดำเนินชีวิตอันเหมาะสมอยู่แล้ว แม้ไม่ได้ถูกขนานนามว่าเป็นศาสนา แค่นั้นก็อาจจะเพียงพอสำหรับการอยู่ในสังคมดังแนวโน้มของคนญี่ปุ่นรุ่นใหม่ในปัจจุบัน

**********
คอลัมน์ญี่ปุ่นมุมลึก โดย ดร.โฆษิต ทิพย์เทียมพงษ์ แห่ง Tokyo University of Foreign Studies จะมาพบกับท่านผู้อ่านโต๊ะญี่ปุ่น ทุกๆ วันจันทร์ ทาง www.manager.co.th

แนวคิดพุทธศาสนามหายานในญี่ปุ่นเป็นอย่างไร

รับไตรส พุทธศาสนามหายานของญี่ปุ่น ยอมรับไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา ซึ่งตามหลักพุทธ ศาสนาฝ่ายเถรวาทอธิบายว่า ผู้บำเพ็ญตนให้มีศีล บำเพ็ญจิตใจให้เกิดสมาธิ แล้วจะเกิดปัญญา ความเห็นแจ้งแทงตลอด รู้อริยสัจธรรม ถึงแดนพระนิพพานได้ แต่ฝ่ายมหายานของญี่ปุ่นสอนศีล ความเห็นแจ้งแทงตลอด ไปถึงสมาธิเท่านั้น

ศาสนาพุทธในประเทศญี่ปุ่นอยู่ในพระพุทธศาสนาลัทธิใด

พระพุทธศาสนาที่แผ่เข้ามาในญี่ปุ่นยุคแรก ถือเป็นมหายานแบบเดิมที่ยึดมั่น ในรูปแบบมากกว่า ที่จะคำนึงถึงสภาพที่แท้จริงแห่งบริบททางสังคม ที่เจริญรุ่งเรืองอยู่ได้เพราะได้รับความอุปถัมภ์จากชนชั้นปกครอง

ปัจจุบันพระพุทธศาสนาในประเทศญี่ปุ่นแบ่งออกเป็น 5 นิกายได้แก่อะไรบ้าง

ศาสนาต่างๆในญี่ปุ่น.
การเผยแผ่พระพุทธศาสนาเข้าสู่ประเทศญี่ปุ่น.
พระพุทธศาสนาในญี่ปุ่นในปัจจุบัน.
๑.นิกายเทนได (เทียนไท้).
๒.นิกายชินงอน.
๓. นิกายโจโด (สุขาวดี).
๔. นิกายเซน (ชยาน หรือ ฌาน).
๕.นิกายนิชิเรน.

พระพุทธศาสนาเผยแผ่เข้าสู่ประเทศญี่ปุ่นอย่างไร

พระพุทธศาสนาเข้าสู่ประเทศญี่ปุ่นโดยเผยแผ่ขยายมาจากประเทศเกาหลี คือ ใน พ.ศ. ๑๐๙๕ ในสมัย พระเจ้ากิมเมจิ จักรพรรดิองค์ที่ ๑๙ ของประเทศญี่ปุ่น พระพุทธศาสนาได้เข้าสู่ญี่ปุ่น โดยพระเจ้าเซมาโว ของประเทศ เกาหลี ส่งราชทูตไปยังราชสำานักพระเจ้ากิมเมจิ พร้อมด้วยพระพุทธรูป คัมภีร์พุทธธรรมและพระราชสาสน์แสดง พระราชประสงค์ที่จะขอให้ ...