ประโยชน์ของการดําเนินชีวิตตามแนวทางพระพุทธศาสนา6ข้อ

ประโยชน์ของการดําเนินชีวิตตามแนวทางพระพุทธศาสนา6ข้อ
 วัตถุประสงค์ทั่วไป 
    1. ทราบถึงความหมาย ความสำคัญ และสาเหตุของการมีศาสนา
    2. เข้าใจหน้าที่และองค์ประกอบของศาสนา
    3. เข้าใจศาสนา แสดงอิทธิพลของศาสนาที่มีต่อการดำเนินชีวิต
    4. เข้าใจแหล่งที่มาของ ศาสนาที่คนไทยนับถือ
    5. เข้าใจศาสนาที่สำคัญในสังคมไทย และเลือกปฏิบัติตามหลักธรรมที่สำคัญขิงศาสนาต่าง ๆ
     ในประเทศไทย
    6. เข้าใจความสำคัญขององค์กรทางศาสนา
    7. เข้าใจถึงคุณค่าของศาสนาที่มีอิทธิพลต่อการดำเนินชีวิตในสังคมไทย

ประโยชน์ของการดําเนินชีวิตตามแนวทางพระพุทธศาสนา6ข้อ
 วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม
    1. อธิบายความหมาย ความสำคัญ และสาเหตุของการมีศาสนา
    2. อธิบาย หน้าที่และองค์ประกอบของศาสนา
    3. อธิบาย จศาสนา แสดงอิทธิพลของศาสนาที่มีต่อการดำเนินชีวิต
    4. อธิบาย แหล่งที่มาของ ศาสนาที่คนไทยนับถือ
    5. อธิบาย ศาสนาที่สำคัญในสังคมไทย และเลือกปฏิบัติตามหลักธรรมที่สำคัญขิงศาสนาต่าง ๆ
     ในประเทศไทย
    6. อธิบาย ความสำคัญขององค์กรทางศาสนา
    7. อธิบาย ถึงคุณค่าของศาสนาที่มีอิทธิพลต่อการดำเนินชีวิตในสังคมไทย 

ประโยชน์ของการดําเนินชีวิตตามแนวทางพระพุทธศาสนา6ข้อ
 เนื้อหาสาระ 
       ศาสนาเป็รสถาบันทางสังคมที่สำคัญ สังคมไทยมีความผูกพันธ์กับสถาบันทางศาสนา เพราะเป็นศูนย์กลาง
แห่งการเรียนรู้ในหลายสาขา อีกทั้งหลักธรรมคำสั่วสอนของทุกศาสนาก็ล้วนแต่สอนให้คนเป็นคนดี และ
มีอิทิืพลต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์ ทั่งยังเป็นสิ่งที่สร้างสันติสุขให้เกิดขึ้นในโลกนี้ด้วย

ประโยชน์ของการดําเนินชีวิตตามแนวทางพระพุทธศาสนา6ข้อ

ประโยชน์ของการดําเนินชีวิตตามแนวทางพระพุทธศาสนา6ข้อ
ศาสนากับชีวิตคนไทย 
         ศาสนาเป็นสถาบันที่สำคัญในสังคมไทย คนไทยมีความผูกพันกับสถาบันศาสนา เพราะศาสนาเป็นเครื่อง
ยึดเหนี่วยจิตใจ คนไทยมีจิตใจเอื้อเฟื้อกับศาสนาทุกศาสนา คนไทยส่วนใหญ่ ยอมรับศาสนาพุทธเป็นศาสนา
ประจำชาติ แต่ในขณะเดียวกันก็ยอมให้ศาสนาอื่น ๆ ตั้งอยู่ในประเทศไทยได้ ซึ่งศาสนาก็เป็นบ่อเกิดที่สำคัญ
ของขนบธรรมเนียมประเพณี กฎเกณฑ์ ค่านิยม และวิถีชีวิตของคนไทยอีกครั้ง

ความหมายของศาสนา 
       ความหมายของพจนานุกรม ฉบับบราชบัณฑิตยสถาน พุทธศักราช 2542 คำว่า ศาสนา (Religion) หมายถึง
ลัทธิความเชื่อถือของมนุษย์อันมีหลัก คือ แสดงกำเนิดและสิ้นสุดของโลก อันเป็นไปในฝ่ายปรมัตถ์ประการหนึ่ง
แสดงหลักธรรมเกี่ยวกับบาปบุญอันไปในฝ่ายศีลธรรมประการหนึ่ง พร้อมทั้งลัทธิที่กระทำตามความคิดเห็นหรือ
ตามคำสั่งสอนในความ เชื่อถือนั้น ๆ

ความสำคัญของศาสนา
ศาสนาทุกศาสนามีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิตของบุคคลในสังคม และอิทธิพลต่อสังคมดังนี้
         1. เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจและเป็นที่พึงทางใจ
         2. เป็นแหล่งกำเนิดของจริยธรรม คือ การทำคุณงามความดี งดเว้นการทำความชั่ว รู้ว่าจะ
ปฏิบัติอย่างไรจึงจะเกิดความสุขทั้งต่อตนเองและสังคม
       
        3. เป็นบรรทัดฐานในการดำเนินชีวิต ศษสนาเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต การประพฤติ
ปฏิบัติของสมาชิกในสังคม
        4.  เป็นกลไกลการควบคุมสังคม ศาสนาเป็นเครื่องควบคุมการกระทำผิดทั้งทางกาย วาจา
และใจ ด้วยหลักธรรมคำสั่งสอน ซึ่งกฎหมายไม่อาจทำได้ เพราะกฎหมายควบคุมการทำผิดทางกาย
แต่คงไม่สามารถควบคุมจิตใจคนได้
       5. เป็นแหล่งกำเนิดของศิลปวัฒนธรรม คนไทยมีความผูกพันกับวัดมาแต่สมัยโบราณจะเห็นว่า
ไม่ว่าศาสนาใดงานทางด้านสถาปัตยกรรม วรรณกรรม จิตรกรรม ประติมากรรม ล้วนมาจากศาสนา
ทั้งสิ้น ส่วนใหญ่จะได้แรงบันดาลใจจากหลักธรรมะ เรื่อง นรก สวรรค์ ตลอดจนประเพณีต่าง ๆ
ของศาสนานั้น ๆ ด้วย
      6. ทำให้คนเป็นมนุษย์ที่สมบรูณ์ คุณธรรม จริยธรรม จะช่วยหล่อหลอมให้คนเป็นคนที่ สมบรูณ์
ปฏิบัติดีทั้งกาย วาจา และใจ
      7. เป็นมรดกทางสังคม ศาสนาเป็นมรดกทางวัฒนธรรม เพราะหลักธรรม ศาสนาสถาน
ตลอดจนพิธีกรรมต่าง ๆ บ่งชี้ถึงความเจริญหรือความเสื่อมของสังคมนั้น ๆ ได้

สาเหตุการมีศาสนา
      1. ความต้องการทางหลักจิตใจ เพื่อให้มีสิ่งยึดเหนี่ยว เพื่อเป็นเป้าหมายในการกระทำต่าง ๆ เช่น
เพื่อให้มีกำลังใจในการดำเนินชีวิต
      2.เกิดจากความกลัวมนุษย์ในสังคมดังเดิมหรือสังคมที่ยังไม่เจริญ จะกลัวปรากฎการณ์ธรรมชาติ หรือสิ่ง
        ลึกลับที่ตนหาคำตอบไม่ได้ จึงต้งหาทางขจัดความกลัว ด้วยการบูชาเทพเจ้า การนับถือผี เป็นต้น
      3. ความต้องการรู้แจ้งเห็นจริง เพื่อให้เกิดการหลุดพ้นทุกข์
      4. เพื่อผลประโยชน์ของชุมชน โดยทุกคนปฏิบัติจากบรรทัดฐานเดียวกัน เพื่อจะได้อยู่อย่างเป็นสุข

หน้าที่ของศาสนา
     
 หน้าที่ของศาสนาสรุปได้ดังนี้
      1. สร้างแบบของความประพฤติในแนวเดียวกัน เพราะทุกคนต้องปฏิบัติตามบรรทัดฐานที่คำสอนได้กำหนด
      2. สร้างความสามัคคี ศษสนาช่วยทำให้บุคคลมีความรู้สึกเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน หรือมีความสามัคคี
ในการทำกิจกรรมต่าง ๆ
      3. ให้ประพฤติอยู่ในขอบเขตของศีลธรรม ทุกศาสนาสอนให้คนเป็นคนดี มีศีลธรรม มีความเมตตาต่อกัน
      4. ห้ขวัญและกำลังใจ เป็นการให้กำลังใจในยามที่ต้องประสบความไม่แน่นนอน ยากไร้หรือผิดหวังในชีวิต
      5. ช่ายรักษาระเบียบ บรรทัดฐานที่ต้องปฏิบัติ มักจะสอดคล้องกับกฏเกณฑ์ของสังคมนั้น ๆ ทำให้คนมี
        จุดมุ่งหมายปลายทางตามที่สังคมได้กำหนด

ประโยชน์ของการดําเนินชีวิตตามแนวทางพระพุทธศาสนา6ข้อ
 องค์ประกอบของศาสนา 
     
 องค์ประกอบที่สำคัญของศาสนามี 6 ประการดังนี้
      1. ศาสดา 
คือ ผู้สถาปนา หรือผู้ประกาศศาสนา มีตัวตนอยู่จริง
          - พระพุทธศาสนา มีพระพุทธเจ้าเป็นศาสดา
          - ศาสนาคริสต์ มีพระเยซูเป็นศาสดา
          - ศาสนาอิสลาม มีท่านบีมูฮัมหมัดเป็นศาสดา
      2. ศาสนธรรม คือ คำสั่งสอนหรือคัมภีร์ที่รวยรวมไว้เป็นหลักของความเชื่อ เช่น 
          - 
พระพุทธศาสนา มี คัมภีร์พระไตรปิฎก
          - ศาสนาคริสต์     มี คัมภีร์ไบเบิล
          - ศาสนาอิสลาม   มี คัมภีร์อัลกุรอาน
     3. ศาสนบุคคล คือ สาวกผู้ปฏิบัติตามศาสนากิจสืบทอดศาสนา เช่น
         -
 พระพุทธศาสนา  มี พระภิกษุ และสามเณร
         - ศาสนาคริสต์      มี บาทหลวง
         - ศาสนาอิสลาม    มี โต๊ะอีหม่าม 
      4. ศาสนพิธี 
คือ พิธีกรรมที่เป็นแนวในการประพฤติปฏิบัติของผู้ที่นับถือศาสนานั้น ๆ
      5. ศาสนสถาน คือ สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ทางศาสนา เพื่อใช้ประกอบพิธีกรรม นอกจากนั้นยังเป็นศูนย์กลาง
        เผยแผ่ศาสนา
      6. สัญลักษณ์ คือ เครื่องหมายหรือสิ่งแทนศาสนา

ประเภทของศาสนา
       
การจัดประเภทของศาสนา จัดตามความเชื่อเกี่ยวกับพระเจ้าและเทพเจ้า มี 5 ประการ ดังนี้
       1. เทวนิยม (Theism) นับถือพระเจ้า เช่น ศาสนาโซโรอัสเตอร์ ลัทธิเต๋า เป็นต้น
       2. เอกเทวนิยม (Monotheism) นับถือพระเจ้าองค์เดียว เช่น ศาสนายูดาห์ ศาสนาคริสต์ ศาสนาอิสลาม
       3. พหุเทวนิยม (Polytheism) นับถือพระเจ้าหลายพระองค์ เช่นศาสนาชินโต ศาสนาพราหมณ์
        ลัทธิขงจื๊อ เป็นต้น
       4. อเทวนิยม (Atheism) ไม่สอนให้เชื่อในเรื่องพระเจ้าสร้างโลก หรือการให้คุณให้โทษแก่มนุษย์
        แต่สอนให้เชื่อในเรื่องกฎแห่งกรรม และพึ่งต้นเอง เช่น ศาสนาพุทธ

ประโยชน์ของการดําเนินชีวิตตามแนวทางพระพุทธศาสนา6ข้อ
 อิทธิพลของศาสนากับชีวิตคนไทย

ประโยชน์ของการดําเนินชีวิตตามแนวทางพระพุทธศาสนา6ข้อ

       
       1. พุทธศาสนาเป็นศูนย์รวมจิตใจและเป็นที่พึ่งของคนไทยเป็นส่วนใหญ่ พระพุทธศาสนาเป็นศาสนา
        ที่คนไทยนับถือมากที่สุด โดยมีวัดเป็นศษสนาสถานที่สำคัญดังนี้
           - เป็นศูนย์กลางการทำกิจกรรมของประชาชน
           - เป็นสถานสงเคราะห์เด็ก เช่น วัดสระแก้ว
           - เป็นสถาที่บำบัดโรคในระยะสุดท้าย เช่นวัดพระบาทน้ำพุ
           - เป็นที่ประกอบพิธีต่าง ๆ เช่น บวชนาค พิธีศพ ฯลฯ
        2. วัดเป็นเสมือนโรงเรียนของคนไทยตั้งแต่โบราณมา ซึ่งสอนทั้งวิชาความรู้ และหลักธรรม
        3. เป็นแหล่งความรู้และวิทยาการต่าง ๆ เช่น
            
- สถาปัตยกรรม คือ การก่อสร้าง เช่นโปสถ์ วิหาร ฯลฯ
            - ประติมากรรม คือ การปั้น - หล่อพระพุทธรูป ฯลฯ
            - วรรณกรรม คือ งานเขียน เช่นมหาชาติคำหลวง ไตรภูมิพระร่วง ฯลฯ
            - อธิพลต่อวิถีชีวิต เช่น การทำบุญ เวียนเทียน การตักบาตร ฯลฯ
            - กำหนดแบบแผน มาตรฐานความประพฤติ ทำให้คนอยู่ในระเบียบแบบแผนที่ดีงาม
        นอกจากนี้ อิทธิพลที่เกี่ยวกับความเชื่อ มีส่วนสำคัยทำให้คนประพฤติดี มีเมตตา ไม่ทำบาป เพราะคนไทย
เชื่อ เรื่องบาป บุญ คุณโทษ เชื่อเรื่องกฎแห่งกรรม และเรื่องกรรมที่ทำในชาตินี้จะมีผลไปสู่ชาติหน้าจึงทำให้คน
ไม่กล้า ทำบาปเพราะกลัวว่าถ้าเกิดในชาติต่อไปจะมีผล ต่อความทุกข์ ความสุข

ประโยชน์ของการดําเนินชีวิตตามแนวทางพระพุทธศาสนา6ข้อ
 ศาสนากับสังคมไทย
       สังคมไทยมีความผูกพันกับพระพุทธศาสนามานานตั้งแต่สุโขทัยจนถึงปัจจุบัน เพราะมีส่วนสำคัญในการ
       กำหนดวิถีการดำเนินชีวิต นอกจากพระพุทธศาสนาแล้ว ประเทศไทยยังให้อิสระทางด้านศาสนา สังคมไทย
       จึงมีคนนับถือศาสนาอย่างหลากหลาย ส่วนใหญ่จะนับถือตามบรรพบุรุษ ศาสนาที่สำคัญของไทยมีดังนี้

       ศาสนาสำคัญของไทย
     
  ศาสนาที่สำคัญที่คนไทยนับถือ พอสรุปได้ดังนี้
       1. พระพุทธศาสนา
       
2. ศาสนาพราหมร์ - ฮินดู 
       
3.ศาสนาคริสต์
       4. ศาสนาอิสลาม

         พระพุทธศาสนา

ประโยชน์ของการดําเนินชีวิตตามแนวทางพระพุทธศาสนา6ข้อ

       
      ประมาณ พ.ศ. 300 พระพุทธศาสนา นิกายหินยาน ลัทธิลังกาวงศ์ เริ่มเข้ามาในอาณาจักรทราวดี
สรุปสาระสำคัญดังนี้
      1. พระศาสดา คือ พระพุทธเจ้า
      2. ทรงตรัสรู้ อริยสัจ 4 ประกอบด้วย ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค
      3. หลักธรรมที่สำคัญ คือ เรื่องของการดับแห่งทุกข์ บอกให้รู้ถึงหนทางดับทุกข์ คือ มีเกิดมีดับ แสดงถึง
ความไม่เที่ยง
      4. ทำดีไำด้ดี ทำชั่วได้ชั่วเป็นหลักธรรมขั้นพื้นฐานที่มนุษย์ทุกคนสามารถปฏิบัติได้ ถ้าใช้ธรรมะเป็น
สิ่งประจำใจ 

              5. ศีลธรรมของพระพุทธศาสนา
                  - โลกุตรธรรม ขึ้นอยู่กับอริยสัจ เป็นการสอนให้เห็นเหตุแห่งทุกข์ และบอกให้รู้ทางดับ
"ไม่มีอะไรเป็น
ตัวเรา ไม่มีอะไรเป็นของเรา" เมื่อมีเกิดก็มีดับ นี่คือความไม่เที่ยง
          - โลกิยธรรม เป็นการสอนให้ทำใจให้บริสุทธิ์ เว้นจากการทำบาป ให้ถึงพร้อมซึ่งความดีทั้งปวง
เป็นธรรมของฆาราวาส ได้แก่ ศีล 5 ธรรม 5

ศีล 5 (ศีล = ข้อห้าม) คือ

ธรรม 5 (ธรรม = การปฏิบัติ)คือ

1. ไม่ฆ่าสัตว์
2. ไม่ลักษทรัพย์
3. ไม่ผิดลูกผิดเมียผู้อื่น
4. ไม่กล่าวคำเป็นเท็จ
5.ไม่ดิ่มน้ำเมา
1. มีเมตตา 
2. มีอาชีพสุจริต
3. พึงพอใจในสามีหรือภาายาตน
4. อยู่ในสัจ
5. ให้ตั้งมั่นมีสติ

  หลักสำคัญบางประการของพระพุทธศาสนา              

ประโยชน์ของการดําเนินชีวิตตามแนวทางพระพุทธศาสนา6ข้อ
1. การพึ่งตนเอง พระพุทธเจ้าสอนให้มนุษย์ช่วยตนเอง
ไม่ให้หวังพึ่งใคร
2. ฤกษ์ยาม  พุทธศาสนาไม่ปฏิเสธเรื่องโหราศาสตร์ ดาราศาสตร์ พระพุทธเจ้า ถือว่าเวลาใด เป็น ฤกษ์ดีทั้งสิ้น แต่ถ้าทำชั่ว ไม่ว่า
ทำเวลาไหนเป็นฤกษ์ ชั่วร้ายทั้งนั้น
 3. ความเสมอภาคและเสรีภาพ บุคคลทุกคนไม่ว่าเกิดมาใน
ตระกูลใดก็เป็นคนเท่าเทียมกันทั้งสิ้น ที่เป็นเช่นนี้เพราะพระองค
์ท่านได้ทรงกำเนิดในช่วงที่มีการแบ่ง เยกกันอยู่เสมอ พระองค์จึง
ไม่เห็น ด้วยกับ ความเชื่อ ในเรื่องการแบ่งชนชั้นและวรรณะมาแต่กำเนิด

        4. ยกย่องฐานะของหญิง พระองค์ตรัสว่า หญิงเ็นภรรยานั้น คือเพื่ออัน ประเสริฐสุดของสามีสามีไม่ควร
ปฏิบัติกับภาายาเหมือนทาส เหตุเป็นเพราะ ในสมัย ของพระองค์หญิงไม่ได้รับการยกย่อง และการยอมรับ
ในความสามารถ 
        5. เชื่อด้วยเหตุผลหรือปัญญา 
คือ มีเหคุในการเชื่อ และให้ถือธรรมเป็นใหญ่
        6.ปฏิเสธการล้างบาป พระพุทธเจ้าทรงเชื่อว่า ความดีไม่ได้หมายถึงความสะอาดภายนอกแต่เป็น
เรื่อง ของความประพฤติภายใน ถ้าใครทำบาปหรือผิดด้วยเหตุใด ก็ไม่อาจล้างบาปให้พ้นมนทินได้เพราะกรรม
เป็นเครื่องชี้เจตนา  

          ศาสนาพราหมณ์ - ฮินดู

ประโยชน์ของการดําเนินชีวิตตามแนวทางพระพุทธศาสนา6ข้อ
เป็นศาสนาเก่าแก่ เชื่อว่าเกิดก่อนพุทธกาลไม่น้อยกว่า 5000 ปี ตลอดจน
เป็นต้นตำรับของพระพุทธ
ศาสนา คริสต์ อิสลาม และอื่น ๆ ศาสนาพราหมณ
์เป็นศาสนา ที่ไม่มีศาสดาโดยคำสอนต่าง ๆที่เกิดขึ้นนั้น ได้มีผู้รวบรวมลัทธ
ิดั้งเดิมของชาวชมพูทวีป (อินเดีย - เนปาบ) ร้อยกรองมาเป็นพุทธศาสนา มีการดัดแปลง แก้ไขอยู่เสมอ เพื่อให้เข้ากับความเชื่อถือของประชาชน

  ศาสนาพราหมณ์ - ฮินดูเป็นศาสนาธรรมชาติ มีบางสิ่งบางอย่างที่มีอิทธิพล
เหนือ ธรรมชาติจึงเกิดสิ่ง ศักดิ์สิทธิ์ เช่น เวลากลางคืนมืดมองไม่เห็นเกิด
ความกลัว พอสว่าง พระอาทิตย์ขึ้นก็หายความหวาดกลัว     

        จึงนับถือพระอาทิตย์ (สุริยเทพ) ศาสนาพราหมณ์สอนว่า "ในโลกนี้พระพรหมเป็นผู้สร้างโลกและสัตว์ต่าง ๆ
มีอำนาจ ที่จะให้ คุณ ให้โทษกับมนุษย์ ด้วยเหตุนี้ ชีวิตมนุษย์และสัตว์จะต้องเป็นไปตามบัญชาการพระพรหม
ทั้งสิ้น เรียกว่า พรหมลิขิตพอสรุปลักษณะสำคัญของศาสนาพราหมณ์ได้ดังนี้
        1. ศาสนาพราหมณ์ - ฮินดู ถือเป็นคัมภีร์พระเวทเป็นหลัก ขาดไม่ได้ เผยแพร่แก่ใครไม่ได้นอกจาก
ผู้อยู่ใรวรรณะพราหมณ์ กษัตริย์ และแพทย์
        2. คัมภีร์พระเวทที่นนับถือเก่าแก่ที่สุด คือ ฤคเวท และรุ่นหลังสุด คือ อุปนิษัท
บทสวด ได้กล่าวถึงเรื่องต่อไปนี้
           - ฤคเวท เป็นบทสวดสรรเสริญพระเป้นเจ้า
           - ยชุรเวท กล่าวถึง การบูชาและวิธีบูชาเทพต่าง ๆ (การบูชายัญ)
           - สามเวท กล่าวถึง คำสวด บูชา สรรเสริยเทพเจ้าทั้งหลาย
           - อถรรพเวท กล่าวถึง บทสวดที่ว่าด้วยคาถาอาคม
        3. หลักธรรมของศาสนาพราหมณ์ - ฮินดูเป็นลักษณะปรัชญา
        4. กำหนดให้โลกและชีวิตมีการเวียนว่ายตายเกิด
        5. เทพเจ้าผู้ยิ่งงใหญ่ที่เกี่ยวข้องกับสังสารวัฎ (เวียนวา่ายตายเกิด)
           - พระพรหม ผู้สร้างมนุษย์ สรรพสิ่งและจักรวาล
           - วิษณุหรือนารายณ์ ผู้รักษา
           - ศิวะหรืออิศวร ผู้ทำลายล้างสิ่งชั่วร้าย
        เทพเจ้า 3 นี้ รวมเรียกว่า ตรีมูรติ
        6. พระพรหมได้ลิขิตให้มนุษยืมี 4 ประการ คือ
            - วรรณะพราหมณื คือ นักบวช
            - วรรณกษัตริย์ คือ นักรบ
            - วรรณะแพศย์ คือ พ่อค้า
            - วรรณศุทร คือ กรรมกร
        7. ผู้ที่บวชเป็นพราหมณ์ได้ มีดังนี้
            - ต้องมีเชื้อสายพราหมณ์โดยกำเนิด เนื่องจากเกรงว่าจะไม่รักษาประเพณีที่ดีไว้
            - พราหมณ์มีภรรยาได้คนเดียว จุดประสงค์เพื่อปฏิบัติหน้าที่ให้มีบุตรสืบตระกลูมิใช่เกิดจาก กิเลส หรือราคะ

       อิทธิพลของศาสนาพราหมณ์ - ฮินดู

ประโยชน์ของการดําเนินชีวิตตามแนวทางพระพุทธศาสนา6ข้อ

         พราหมณ์มีอำนาจในอาณาจักรขอม เมื่อไทยมีอำนาจเหนือขอม ศาสนาพราหมณ์ขยายต่อมาด้วย
ไทยได้ศาสนาพราหมณ์มาทางนี้
        ศาสนาพราหมณ์กับพระพุทธศาสนามีอิทธิพลในสังคมไทยไม่น้อย พิธีกรรมหลายอย่าง มีพิธีพราหมรณ์
เข้าไปร่วมด้วยเสมอ จนยากที่จะแยกออกจากกันได้

        ศาสนาคริสต์

      
        ลักษณะของศาสนาคริสตต์
        เป็นศาสนาที่มีคนนิยมบับถือเกลือบจะทั่วโลก ศษสนาคริสตร์มีที่มาจากศาสนายิว โดยมีแหล่งกำเนิดที่
ปาเลสไตน์ (Palestine) เกิดหลังศาสนาพุทธ 543 ปี คำสอนที่สำคัญคือ เรื่องความรัก ให้รักพระเจ้า
รักครอบครัว รักเพื่อมนุษย์ ให้เมตตาต่อผู้กระทำผิดโดยไม่ตั้งใจให้ระลึกถึงผู้อยู่ในที่คุมขัง เห็นใจผุ้มีความทุกข์
ให้ทำความความดีและว่านอนสอนง่าย ออดทน

ประโยชน์ของการดําเนินชีวิตตามแนวทางพระพุทธศาสนา6ข้อ

1. มีพระเยซูเป็นศาสดาของศาสนา โดยพระองค์เกิดที่แคว้นกาลิเล (Galilee)
เมืองเบธเลเฮมประเทศปาเลสไตน์
        2. มารดาของพระเยซู คือ พระนางมารีอา บิดาชื่อนักบุญยอแซฟ
        3. พระเยซูประสูติเมื่อ 25 ธันวาคม พ.ศ. 453 (ขณะนั้นตกอยู่ใต้การปกครอง-
ของจักวรรดิโรมัน) ชาวคริสต์ถือเป็นวันเริ่มคริสต์ศักราชใหม่
       4. พระพเยซูออกสั่งสอนให้คนประพฤติดี มีศีลธรรม เมื่ออายุได้ 30 ปี
       5. พระเยซูสามารถรักษาคนตาบอด ง่อย ใบ้ ให้กลับคืนได้โดยใช้อำนาจจิต
       6. ศาสนาคริสต์บูชาในองค์ 2 คือ
          - พระบิดา หมายถึง พระยะโฮวา
          - พระบุตร คือพระเยซู
         - พระจิต คือ ทั้งพระบิดาและพระบุตร

       7. นักประวัติศาสตร์มองว่าพระเยซูช่วยเหลือคนจน หลายคนจึงมองคำสั่งสอนของพระเยซูเป็นคำสอน
ของ นักปฏิรูปสังคม
       8. พระเยซูชี้แจงขณะอบรมศิษย์ว่า พระองค์คือพระบบุตรของพระยะโฮวา ทรงนำเทวประสงค์ของ
พระยะโฮวามาแจ้งแก่มนุษย์
       9. ให้มนุษย์ประกอบกรรมดี ซึ่งจุดมุ่งหมายสูงสุด คือ สวรรค์ ได้แก่ การได้อยู่ใกล้ชิดพระผู้เป็นเจ้า
และโทษร้ายแรงของผู้ฝ่าฝืน คือ นรก
       10. พระเยซูสอนว่าพระผู้เป็นเจ้าไม่ประสงค์ให้ผู้ใดไปเคารพนับถือพระเจ้าอื่น หรือรูปเคารพอื่นใด
คำสอน ของพระองค์ทำให้นักบวชในศาสนาโรมันที่นับถือเทวรูปไม่สบายใจ เพราะเกรงว่าศาสนาคริสเตียน
จะรวมพลังต่อต้าน
       11. พระยิวกระพือข่าวว่าพระเยซูเป็นกบฏต่อต้านอาณาจักรโรมัน และตั้งเป็นกษัตริย์ยิว พระเยซูปฏิเสธ
ที่จะจับอาวุธต่อสู้ พระองคืขอให้สู้อย่างสันติวิธี
       12. เมื่อพระชนมายุ 13 พรรษา ทรงถูกฆ่าด้วยวิธีตรึงไม้กางเขน เหนือเมืองเยซูซาเล็ม หลังจากเผยแผ่
ศาสนาได้เพียง 3 ปี
       13. มีวัด (Church) เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์สำหรับประกอบศาสนพิธี

       14. ปูชนียสถาน (Shrine) เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งมีพระสังฆราชผู้ปกครองอนุญาติให้คริสต์ศานิกชน
ไปแสวงบุญ
       15. อาสนวิหาร (Cathedral) หมายถึง วัดที่พระสังฆราชพำนักหรือประทับอยู่
       16. นิกายในศาสนาคริสต์มี 3 นิกาย
            - นิกายโรมันคาทอลิก (Roman Catholic)
            - นิกายกรีกออร์ธอดอกซ์ (Greek Orthodox)
            - นิกายโปรเตสแดนส์ (Protesstant)
      17. พิธีกรรม 7 อย่าง กระทำตั้งแต่เกิดจนตาย
            - ศีลล้างบาปหรือศีลจุ่ม หรือเรียกว่า แบบดิสต์ เพราะมีความเชื่อว่ามนุษย์มรบาปติดตัวมาแต่กำเนิด
            - ศีลมหาสนิท คือ การับประทานขนมกับเหล้าองุ่น ซึ่งเป็นกระยาหารมื้อสุดท้ายของพระเยซู ขนมปัง

คือพระกาย เหล้าองุ่นคือ พระโลหิต
            - ศีลแก้บาป เป็นการสารภาพบาป พระจะยกโทษให้และอบรมสั่งสอน
            - ศีลกำลัง เป็นพิธีเจิมน้ำมันหลังล้างบาป ทารูปไม้กางเขนที่ตัวและแก้ม เพื่อเป็นการเพิ่มพละกำลัง
ทางด้านจิตใจ
            - ศีลสมรส เป็นการปรพกาศความรัก และความซื่อสัตย์ระหว่างตนกับพระผู้เป้นเจ้า
            - ศีลอนุกรม เป็นศีลบวชที่ให้กับบุคคลที่เป็นพระเท่านั้น
            - ศีลเจิม เป็นศีลทางสุดท้าย เพื่อล้างบาปแก่คนเจ็บหนักใกล้ตาย

    

           คัมภีร์

ประโยชน์ของการดําเนินชีวิตตามแนวทางพระพุทธศาสนา6ข้อ

         คัมภีร์คริสต์ศาสนาเรียกว่าไบเบิล (Bible) แบ่งเป็น 2 คัมภีร์คือ
             1. คัมภีร์เก่า(Old Testament)
                 เป็นลัทธิยิวโบราณ นับถือพระยะโฮวาว่าเป็นพระเจ้าองค์เดียว ซึ่งเป็นต้นคัมภีร์ ของคริสต์ศาสนา
ที่ว่าด้วยการสร้างโลก บัญญัติ 10 ประการ ที่พระเจ้าประทานแก่โมเสส
             2. พระคัมภีร์ใหม่ (New Testament)
                เป็นหนังสือสาวกรุ่นแรกและรุ่นหลังของพระเยซู ที่ได้รวบรวมคำสอนของพระองค์ เป็นพระประวัติ
และเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดในสมัยพระองค์ยังมีพระชนม์ และหลังสิ้นพระชนม์แล้ว

                บัญญัติ 10 ประการ
             1. ห้ามเคารพพระเจ้าอื่นใดนอกจากพระยะโฮวา
             2. ห้ามนับถือรูปบูชาใด ๆ
             3. ห้ามเอ่ยนามพระยะโฮวาโดยไม่เคารพ
             4. หยุดพักผ่อนวันที่ 7 ของสัปดาห์ (วันอาทิตย์) เรียกว่า วันพระ ให้ทำงานเพียง 6 วัน
ในหนึ่งสัปดาห์ เริ่มแต่ค่ำวันศุกร์ไปจนถึงวันเสาร์
             5. จงเคารพยกย่องบิดามารดา
             6. ห้ามฆ่ามนุษย์

             7. ห้ามผิดลูกผิดเมีย
             8 ห้ามลักทรัพย์
             9. ห้ามเป็นพยานเท็จ
             10. ห้ามโลภของท่าน

         ศาสนาอิสลาม

ประโยชน์ของการดําเนินชีวิตตามแนวทางพระพุทธศาสนา6ข้อ

         เป็นศาสนาที่มีผู้นับถือมากไม่แพ้ศาสนาอื่น พระศาสดาของศาสนามีพระนามว่าพระมะหะหมัด
หรือ มูฮัมหมัด (นบีมูฮัมหมัด) แหล่งกำเนิดอยู่ที่ซาอุอาระเบีย ในประเทศไทยมี ผู้นับถือศาสนานี้ไม่น้อย โดยเฉพาะในภาคใต้
            ลักษณะของศาสนาอิสลาม
            1. เป็นศาสนาที่นับถือพระเจ้าองค์เดียว
            2. พระมะหะหมัด เป็นศาสนา เมื่ออายุ 40 ปี
            3. พระมะหะหมัดและกาหลิบ เป็นผู้ปกป้องรักษาศาสนาและผู้เป็นนำ
            4. พระมะหะหมัดและวารกา ญาติของภรรยา ได้พยายามรวบรวมหลักสำคัญของลัทธิ
ทีวารการวบรวม คือ ลัทธิโมเสส และกฤษณะ ผู้ตั้งตนเป็นองค์วิษณูอวตารมาเกิด ร้อยกรองขึ้น
เป็นคัมภีร์หนึ่ง ให้ชื่อว่า กุรอาน หรือโกราน โดยตั้งพิธีการอยู่ 6 เดือน จึงสำเร็จในเดือนรอมฎอน
(เดือน 2 เดือน 3 )
            5. อิสลามิกชนจึงนับถือเดือนราอฎอนเป็นเดือนบวชสืบตต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน
            6. พระผู้เป็นเจ้าที่แท้จริงมีองค์เดียว คือ พระอัลล่าห์เจ้า
            7. ไม่เคารพเทวดาหรือบูชารูปปั้นทั้งปวง
            8. เทพบุตรยิมราอิลหรือกาเบรียล มาปรากฏตัวสอนพระมะหะหมัดให้เคารพพระอัลล่าห์
            9. นครเมดินาห์ (ยาถริน) เป็นเมืองที่พระมะหะหมัดหนีภัยมาจากเมกกะ และมาอยู่ที่นี้
ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 622 นับว่าเป็นวันเริ่มศักราชอิสลาม เรียกว่า ทิชรียะห์ ซึ่งแปลว่า หนีภัย
            10. พระมะหะหมัดเสด็จเข้าตีเมืองเมกะ มีชัยชนะ ให้ทำลายรูปปั้นทั้งปวงในวิหารกาบาเสีย
คงเหลือแต่หินภาษา หินดำอันศักดิ์สิทธ์ไว้จนถึงปัจจุบัน
            11. พระนบีเนผู้แทนขององค์อัลล่าห์
            12. เชื่อในเทพบริวารของพระอัลล่าห์ และเชื่อว่าเทพบุตรกาเบรียลสำคัญที่สุด
            13. เชื่อในคัมภีร์อัลกุรอานอันศักดิ์สิทธ์ ซึ่งจารึกเป็นภาษาอาหรับ
            14. เชื่อพระนบีมูหะหมัด ซึ่งเนนบีองค์สุดท้ายที่พระอัลล่าห์เจ้าทรงส่งมายังโลกมนุษย์
            15. ศรัทธาในความสิ้นสุดของโลก ว่าวันหนึ่งพระเจ้าจะบัญชาให้โลกนี้แตกสลายไป
            16. เมื่อวันสิ้นโลก พระมะหะหมัดจะทรงชุบคนตายให้ฟื้นมาฟังคำพิพากษา ใครภักดีต่อ พระมะหะหมัด
ก็จะไปสวรรค์ ใครไม่ภักดีต่อต้านก็จะต้องตกนรก

ประโยชน์ของการดําเนินชีวิตตามแนวทางพระพุทธศาสนา6ข้อ

           นิกายอิสลาม
           1. นิกายสุหนี่ (The Sunnis)
           2. นิกายชีอะฮ์ (The Shia)
          การปฏิบัติศาสนากิจ
           ชาวมุสลิมจะต้องปฏิบัติต่อดังนี้
            1. ประกาศความศรัทธา
            2. การสวดมนต์ (ละหมาด)
            3. ถือศีลอดหรือศีลบวช
            4. การให้ทาน
            5. เดินทางไปนมัสการสถานที่ศักดิ์สิทธ์ (วิหารกาบา)

           หลักสำคัญของศาสนาอิสลาม


           1. ไม่แบ่งชั้นวรรณะ
           2. เชื่อว่าเคราะห์ดีหรือเคราะห์ร้าย เป็นพระบัญชาของพระมะหะหมัด
           3. ไม่เสพสุรา
           4. ชายมีภรรยาได้ 4 คน โดยทุกคนต้องมีความสุขและสิทธิเท่าเทียมกัน
           5. มีศีลอด
องค์กรศาสนา
             คณะกรรมการประสานงานขององค์กรศาสนาแห่งประเทศไทย(กปส.) ประกอบด้วยผู้แทน
ของศาสนาทั้ง 4 มีดังนี้

             พระพุทธศาสนา
             ก. กรรมการศาสนา
             ข. องค์การพุทธศาสนิกชนสัมพันธ์แห่งโลก
             ค.  พุทธสมาสคมแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูถัมภ์
             ง. ยุวพุทธิสมาคมแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์

                ศาสนาพราหมณ์ – ฮินดู
             ก. เทวสถาน
             ข. สมาคมฮินดูธรรมสภา
             ศาสนาคริสต์
             ก. สภาพระสังฆราชาคาทอลิก และสมาคมคาทอลิกแห่งประเทศไทย
             ข. สภาคริสตจักรในประเทศไทย
             ค. สหกิจคริสเตียนแห่งประเทศไทย
             ง. คริสตจักรวันเสาร์แห่งประเทศไทย

             ศาสนาอิสลาม
              ก. นักจุฬาราชมนตรี
              ข. คณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย
              ค. คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด
              ง. คณะกรรมการมัสยิด

คุณค่าของศาสนาที่มีต่อสังคมไทย

ประโยชน์ของการดําเนินชีวิตตามแนวทางพระพุทธศาสนา6ข้อ

             ศาสนาเป็นเรื่องของความศรัทธา ความเชื่อ เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ โดยเฉพาะสังคมไทย มีความผูกพันทางศาสนามาช้านาน
เป็นศูนย์รวมจิตใจ และศิลปะวิทยาการกลายเป็นวัฒฯธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณีที่เรายอมรับปฏิบัติจน
เป็นเอกลักษณ์ของชาติมาทุกวันนี้
 จุดมุ่งหมายของศาสนา
         แต่ละศาสนาจึงมีความเชื่อในสิ่งสูงสุด อันเป็นคุณค่าแก่การปฏิบัติ เพื่อให้มนุษย์ได้มีความสุขที่แท้จริง
และความสุขที่แท้จริงของแต่ละศาสนาก็มีแนวทาง ความคิดและการปฏิบัติที่ต่างกัน แม้ว่า
ที่สุดแล้ว คือ ความสุขที่มนุษย์ทุกคนต้องการ ความแตกต่างนั้นเป็นดังนี้
          พระพุทธศาสนา      :   ความมุ่งหวัง คือ พระนิพพาน ถือว่าเป็นที่สุดแห่งการประพฤติ ปฏิบัติ
          ศาสนาคริสต์          :   ความมุ่งหวัง คือ การได้ไปอยู่ในอาณาจักรของพระเจ้า หรือการเข้า
                                         ถึงพระเจ้า
            ศาสนาอิสลาม                  :   มุ่งหวังยังองค์พระอัลเลาะห์ว่าเป็นสิ่งสูงสุด
            ศาสนาพราหมณ์ – ฮินดู      :  มุ่งหวัง คือการได้อยู่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับพระพรหม
            ด้วยเหตุดังกล่าว สังคมไทยจึงมิได้ปิดกั้นในเรื่องศาสนา เพราะดินแดนไทยให้เสรีภาพการ นับถือศาสนา
ด้วยทุกศาสนาสอนคนให้เป็นคนทำดี แม้ว่าการไปสู่ความมุ่งหวังในความสุขอัน แท้จริง

การใช้หลักธรรมของศาสนาในการดำเนินชีวิต
        ดังทำได้กล่าวมาแล้วว่า  ศาสนาทุกศาสนาสอนคนทำความดี ละเว้นความชั่ว ถ้าศึกษา หลักธรรมของ
ศาสนา แล้วจะเห็นได้ว่าศาสนาที่นับถือในสังคมไทย จะมีทั้งพระพุทธศาสนา คริสต์อิสลามพราหมณ์ - ฮินดู ล้วนมีความสอดคล้องกันในการปลูกฝังแนวทาง ปฏิบัติให้แก่ศาสนิกชนเพื่ิอความเ็นพลเมืองดี ของสังคมไทย

การทำความดี ละเว้นความชั่ว

พระพุทธศาสนา

ศาสนาคริสต์

ศาสนาอิสลาม

ศาสนาพราหมณ์ - ฮินดู

- โอวาทปาฎิโมกข์
ประกอบด้วยการละ
ความชั่วทั้งปวง
ทำจิตใจให้บริสุทธิ์
- หลักธรรมที่เน้นเกี่ยว
กับศีลธรรม เรียกว่า
เบญจศีล-เบญจธรรม
เบญจศีล (ข้อห้าม) 1. เว้นจากการฆ่าสัตว์
2. เว้นจากการลักทรัพย์
3. เว้นจากการประพฤติ
ผิดในกาม
4. เว้นจากการผูดเท็จ
5. เว้นจาการเสพของ
มึนเมา
เบญจธรรม(ข้อปฏิบัติ)
1. ความมีเมตตากรุณา
2. ประกอบอาชีพด้วย
ความสุจริต
3. ให้มีความสำรวม
ในกาม
4. ความมีสัจจะ
5. มีสติสัมปชัญญะ
หลักการทำความด
ละเว้นความชั่วคือ
หลักบํญญัติ 10 ประการ
1.มนัสการพระเจ้าเพียง
องค์เดียว
2. ไม่ออกนามพระเจ้า
โดยไม่สมเหตุ
3. จงถือวันพระเจ้าเป็น
วันศักดิ์สิทธิ์
4. จงนับถือบิดามารดา
5. อย่าฆ่าคน
6. อย่าทำผิดประเวณ๊
7. อย่าลักขโมยทรัพย์
8. อย่านินทาว่าร้ายผู้อื่น
9. จงมีความซื่อสัตย์
ต่อกัน
10. ความเป็นคนไม่โกรธ
ตัวอย่างของการ
กระทำความดี

1. ไม่ทำบุญเอาหน้า
เพื่อ หวังชื่อเสียง
2. ไม่เป็นคนหลงใน
ชาติ ตระกูล
3. พูดความจริงต่อหน้า
ผู้ปกครอง
4. บอกทางที่ถูกให้แก่
ผู้หลงทาง
ตัวอย่างการทำความชั่ว1. เล่นการพนนัน
2. กักตุนสินค้า
3. การผิดประเวณี แม้ว่า
จะยินยอมทั้ง 2 ฝ่าย
4. กินสัตว์ที่ตายเอง กิน
หมู หรือสัตว์เชือด
โดยไม่กล่าวนาม
อัลเลาะห์
5. กราบไหว้ผีสางเทวดา
รูปบูชาอื่น ๆ ก้อนหิน
ต้นไม้ ฯลฯ 
หลักจริยธรรมหลักศีลธรรม
ที่ควรปฏิบัติ
1. จงพอใจในสิ่งที่ตนมีอยู่
2. ความอดกลั้น อดทน
3. ข่มใจ ระงับจิต มีสติ
อยู่เสมอ
4. ไม่ลักขโมย
5. ใช้ปัญญาในการตัดสิน
6. เป็นผู้มีความรู้
7. จงเป็นผู้ไม่โกรธ
8. มีความซื่อสัตย์ต่อกัน
และกัน
9. ทำตนให้เป็นผู้มีความ
บริสุทธิ์ ทั้งกายและใจ
10. การอดกลั้นอินทรีย์