สํา เนียง ไทยใน สายตา ต่างชาติ

          สวัสดีค่ะน้องๆ ชาว Dek-D.com .... เวลาที่น้องๆ ได้ยินชาวต่างชาติคุยกัน น้องๆ เคยรู้สึกอะไรบ้างมั้ยคะ ? ยกตัวอย่างเช่น เวลาได้ยินคนฝรั่งเศสคุยกัน พี่เป้ จะรู้สึกว่า โอ้โห ภาษาเพราะดีจังแฮะ แต่ทำไมถึงออกเสียงเขิกๆๆๆ กันตลอดเวลา 5555 หรือเวลาได้ยินคนญี่ปุ่นคุยกัน ก็จะรู้สึกว่า คุยอะไรกันเนี่ย มีแต่โตะๆ โอะๆ คิๆ มิๆ งงไปหมด = ="

          ทีนี้ พี่เป้ ก็เลยเกิดสงสัยขึ้นมาว่า เอ๊ะ แล้วเวลาที่เราพูดภาษาไทยกันเนี่ย ชาวต่างชาติเค้าได้ยินแล้วคิดว่าภาษาไทยของเราเป็นยังไงบ้าง ???? น่าสงสัยใช่มั้ยล่ะ พี่เป้ เลยลองไปแอบถามน้องๆ เด็กนอกที่มีเพื่อนสนิทเป็นชาวต่างชาติ ลองดูดีกว่าว่าเค้าตอบกันมาว่ายังไง

สํา เนียง ไทยใน สายตา ต่างชาติ


อลิต้า , สเปน , 22 ปี
 
         "ฉันรู้สึกว่าภาษาไทยยากมาก รูมเมทของฉันเคยลองสอนนิดๆ หน่อยๆ แล้วก็เลิกไป  ปัญหาหลักๆ ที่ทำให้เรียนแล้วไม่เข้าใจคือ ภาษาไทยไม่ค่อยมีเว้นวรรคเลย ไม่เข้าใจว่าทำไมถึงอ่านกันได้ จุดนี้เชื่อว่าเป็นปัญหาหลักของคนต่างชาติที่เรียนภาษาไทยมากๆ ไม่รู้ต้องตัดคำตรงไหน"

          จริงแฮะ มาลองนึกอีกทีก็พบว่า ภาษาไทยของเราไม่ค่อยมีเว้นวรรคเลย ยาวติดกันเป็นพรืดเลยเนาะ บางทีเขียนจนจบ 1 บรรทัด แต่ก็ไม่มีเว้นวรรคเลย (ทำไปได้)

รอฟ , อเมริกา , 25 ปี

           "เพื่อนที่เป็นคนไทยเค้าจะเล่นสไกป์กับเพื่อนที่ไทยบ่อยมาก เลยจะได้ยินเพื่อนพูดเป็นภาษาไทยบ่อยๆ ตอนแรกได้ยินแล้วไม่ได้สนใจเพราะนึกว่าเพื่อนร้องเพลง (ขำ) เพราะเสียงภาษาไทยฟังดูมีโทนสูงๆ ต่ำๆ ขึ้นๆ ลง ก็เลยนึกว่าเพื่อนร้องเพลง เลยแยกไม่ค่อยออกว่าตอนไหนร้องเพลงหรือตอนไหนกำลังพูดคุยทั่วไปอยู่กันแน่ แต่คิดว่าเสียงภาษาไทยเพราะดี "

          อ่านแล้วขำอะ 5555555 จริงด้วยเนาะ เพราะภาษาไทยเรามีเสียงวรรณยุต์ ตั้งแต่สามัญ เอก โท ตรี จัตวา ลองดูประโยคนี่สิ "เฮ้ย เมื่อวานนะ  เจอพี่คนนั้นที่เป็นแฟนเก่าแกด้วย ใส่เสื้อสีแดงแป๊ดเลย แสบตาได้อีก" แค่ประโยคธรรมดาๆ นี่ก็มีครบทุกเสียงแล้ว จึงไม่น่าแปลกใจที่ฝรั่งเค้าจะคิดว่าพวกเรากำลังร้องเพลง ฮ่าๆ

สํา เนียง ไทยใน สายตา ต่างชาติ


แอนดี้ , ฝรั่งเศส , 19 ปี

          "ภาษาไทยจะว่าง่ายก็ง่าย จะว่ายากก็ยาก ถ้าเป็นพูดกับฟังจะไม่ยากเท่าไหร่ แต่อ่านกับเขียนนี่ยากมากๆๆ อาจเพราะภาษาไทยมีพยัญชนะหลายตัว และที่สำคัญเลย ชาวต่างชาติน่าจะออกเสียงตัวงองูไม่ได้ เพราะภาษาของพวกเราไม่มีการออกเสียงงองูเป็นพยัญชนะต้น เลยเป็นปัญหาใหญ่เหมือนกัน "

          พี่เป้ เห็นด้วยเลยว่า ภาษาไทยนี่อ่านกับเขียนยากจริงๆ เพราะนอกจากจะไม่ค่อยมีเว้นวรรคแล้ว ยังมีพยัญชนะตั้ง 44 ตัว สระอีกตั้ง 21 ตัว จะเยอะไปไหนเนี่ย - -" คือถ้าชาวต่างชาติคนไหนไม่ตั้งใจเรียนจริงๆ ล่ะก็ คงมีท้อกันแน่ๆ เลย เพราะขนาดพวกเราซึ่งเป็นคนไทยแท้ๆ บางคนยังท่อง ก-ฮ ไม่ได้เลยใช่มั้ยล่ะคะ 5555

           นั่นก็คือความเห็นของชาวต่างชาติที่ พี่เป้ แอบไปสืบมา ได้อ่านอย่างนี้ก็ได้รู้ซะทีว่าชาวต่างชาติเค้าคิดยังไงกับภาษาของพวกเราบ้าง ^^ แล้วน้องๆ ล่ะคะ มีเพื่อนเป็นชาวต่างชาติบ้างมั้ย ถ้ามีก็ลองไปแอบถามให้หน่อยนะว่าพวกเค้าคิดยังไงกับภาษาไทยบ้าง ??

สํา เนียง ไทยใน สายตา ต่างชาติ

ภาพประกอบ : cfs6.tistory.com/ , chiangmaicity.olxthailand.com

  • #ภาษาไทย
  • #thai
  • #เรียนต่อนอก

สํา เนียง ไทยใน สายตา ต่างชาติ

พี่เป้ - Columnist มนุษย์บ้างานและบ้านวด ผู้ตกหลุมรักปลาแซลมอน การนอน และและออฟฟิศ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

บทความนี้เกี่ยวกับสำหรับวิธีการออกเสียงพูด สำหรับสำนวนและลักษณะการใช้คำทางภาษา ดูที่ ภาษาย่อย

ในทางภาษาศาสตร์สังคม สำเนียง (อังกฤษ: accent) คือวีธีการออกเสียงที่มีลักษณะเฉพาะของแต่ละบุคคล ท้องที่ หรือชาติหนึ่ง ๆ[1] สำเนียงอาจผูกพันกับถิ่นที่อยู่ของผู้พูด (สำเนียงภูมิภาคหรือภูมิศาสตร์) สถานะทางเศรษฐกิจสังคม ชาติพันธุ์ วรรณะหรือชนชั้นทางสังคม (สำเนียงทางสังคม) หรืออิทธิพลจากภาษาแม่ของพวกเขา (สำเนียงต่างประเทศ)[2]

โดยปกติสำเนียงจะมีความแตกต่างกันในด้านคุณลักษณะของเสียง การออกเสียง และการบ่งความต่างของเสียงสระและพยัญชนะ การเน้นน้ำหนักพยางค์ (stress) และสัทสัมพันธ์ (prosody)[3] แม้ว่าบ่อยครั้งไวยากรณ์ ความหมาย วงศัพท์ และลักษณะทางภาษาอื่น ๆ จะแปรควบคู่กันไปกับสำเนียง แต่คำว่า "สำเนียง" ก็อาจหมายถึงความแตกต่างด้านการออกเสียงโดยเฉพาะ ในขณะที่คำว่า "ภาษาย่อย" หรือ "ภาษาถิ่น" นั้นครอบคลุมความแตกต่างทางภาษาศาสตร์ในวงกว้างกว่า และบ่อยครั้งที่ "สำเนียง" กลายเป็นหน่วยย่อยของ "ภาษาย่อย" หรือ "ภาษาถิ่น"[1]

พัฒนาการ[แก้]

เด็ก ๆ รับสำเนียงมาใช้ได้ค่อนข้างเร็ว เด็ก ๆ จากครอบครัวผู้อพยพเข้าเมืองมักออกเสียงเลียนเจ้าของสำเนียงได้ดีกว่าพ่อแม่ แต่ทั้งเด็กและพ่อแม่ก็อาจมีสำเนียงที่ไม่เหมือนเจ้าของภาษาอย่างสังเกตได้ชัด[4] ดูเหมือนว่าสำเนียงของบุคคลหนึ่ง ๆ จะถูกหล่อหลอมดัดแปลงได้จนกระทั่งบุคคลนั้นมีอายุยี่สิบปีต้น ๆ หลังจากนั้นสำเนียงก็จะเริ่มหยั่งรากลึกมากขึ้น[5]

ถึงกระนั้น สำเนียงอาจจะไม่ได้คงที่อย่างสมบูรณ์แม้ในวัยผู้ใหญ่ การวิเคราะห์ทางกลสัทศาสตร์ของถ้อยคำอวยพรวันคริสต์มาสจากสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 โดยจอนาทัน แฮร์ริงตัน เปิดเผยว่า แม้กระทั่งรูปแบบการพูดของบุคคลแนวอนุรักษนิยมอย่างกษัตริย์หรือกษัตรีย์พระองค์หนึ่ง ๆ ก็ยังสามารถเปลี่ยนแปลงไปได้เรื่อย ๆ ตลอดช่วงชีวิต[6]

สำเนียงที่ไม่เหมือนเจ้าของภาษา[แก้]

ปัจจัยสำคัญในการคาดคะเนระดับสำเนียงว่าจะมีความเด่นชัด (หรือความแปร่ง) เพียงใดคืออายุขณะเรียนรู้ภาษาที่ไม่ใช่เจ้าของภาษา[7][8] ทฤษฎีช่วงอายุเอื้อการเรียนภาษาระบุว่า หากการเรียนรู้ภาษาที่ไม่ใช่ภาษาแม่เกิดขึ้นหลังช่วงอายุเอื้อการเรียนภาษา (โดยทั่วไปจัดว่าอยู่ในวัยแรกเกิดจนถึงวัยแรกรุ่น) บุคคลหนึ่ง ๆ ไม่น่าจะได้สำเนียงเหมือนเจ้าของภาษา อย่างไรก็ตาม ทฤษฎีนี้ค่อนข้างเป็นที่โต้เถียงในหมู่นักวิจัย[9] แม้ว่านักวิจัยหลายคนจะเห็นพ้องกับทฤษฎีนี้ในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง พวกเขาก็กำหนดช่วงอายุเอื้อการเรียนภาษาไว้ก่อนวัยแรกรุ่น หรือไม่ก็พิจารณาว่ามันมีลักษณะเป็น "ช่วงโอกาส" ที่สำคัญมากกว่า ซึ่งอาจแตกต่างกันไปตามแต่ละบุคคลและยังขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่น ๆ นอกเหนือจากอายุ เช่น ระยะเวลาพำนักอาศัย ความคล้ายคลึงกันระหว่างภาษาแม่กับภาษาที่ไม่ใช่ภาษาแม่ ความถี่ในการใช้ภาษาทั้งสอง เป็นต้น[8]

อย่างไรก็ตาม เด็ก ๆ ที่มีอายุน้อยเพียง 6 ปีในขณะย้ายไปอยู่ประเทศอื่นมักพูดสำเนียงที่ไม่เหมือนเจ้าของภาษาอย่างสังเกตได้ชัดเมื่อโตเป็นผู้ใหญ่ นอกจากนี้ยังมีกรณีที่พบได้ยากของบุคคลที่เข้าถึงสำเนียงระดับเจ้าของภาษาได้แม้พวกเขาจะเรียนรู้ภาษาที่ไม่ใช่ภาษาแม่ในวัยผู้ใหญ่ตอนต้น[10] อย่างไรก็ตาม ดูเหมือนว่าเงื่อนไขทางระบบประสาทที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาสมองจะจำกัดความสามารถของผู้พูดส่วนใหญ่ที่ไม่ใช่เจ้าของภาษา[11] นักวิจัยส่วนใหญ่เห็นพ้องว่า สำหรับผู้ใหญ่แล้ว การได้สำเนียงเหมือนเจ้าของภาษาในภาษาที่ไม่ใช่ภาษาแม่นั้นแทบจะเป็นไปไม่ได้เลย[7]

ปัจจัยทางสังคม[แก้]

เมื่อกลุ่มหนึ่ง ๆ ได้กำหนดการออกเสียงมาตรฐานในภาษา ผู้พูดที่ออกเสียงต่างออกไปมักถูกเรียกว่า "พูดติดสำเนียง"[9] อย่างไรก็ตาม ทุกคนย่อมพูดติดสำเนียงใดสำเนียงหนึ่ง[2][12] ชาวอเมริกันพูด "ติดสำเนียง" ในสายตาของชาวออสเตรเลีย และชาวออสเตรเลียก็ "พูดติดสำเนียง" ในสายตาของชาวอเมริกัน สำเนียงอย่างสำเนียงบีบีซีอังกฤษหรือสำเนียงมาตรฐานอเมริกันบางครั้งอาจถูกระบุอย่างผิดพลาดในประเทศต้นกำเนิดว่า "ไม่มีสำเนียง" เพื่อบ่งชี้ว่าสำเนียงเหล่านี้ไม่ได้ให้เงื่อนงำที่ชัดเจนเกี่ยวกับภูมิหลังทางภูมิภาคหรือสังคมของผู้พูด[2]

อ้างอิง[แก้]

  1. ↑ 1.0 1.1 The New Oxford American Dictionary. Second Edition. Oxford University Press. 2005. ISBN 978-0-19-517077-1.
  2. ↑ 2.0 2.1 2.2 Lippi-Green, R. (1997). English with an Accent: Language, Ideology, and Discrimination in the United States. New York: Routledge. ISBN 978-0-415-11476-9.
  3. Crystal, David (2008). A Dictionary of Language and Linguistics. Malden-Oxford: Blackwell.
  4. Flege, James Emil; David Birdsong; Ellen Bialystok; Molly Mack; Hyekyung Sung; Kimiko Tsukada (2006). "Degree of foreign accent in English sentences produced by Korean children and adults". Journal of Phonetics. 34 (2): 153–175. doi:10.1016/j.wocn.2005.05.001.
  5. "Ask a Linguist FAQ: Accents". LINGUIST List. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-10-08. สืบค้นเมื่อ 2016-04-10.
  6. Harrington, Jonathan (2006). "An Acoustic Analysis of 'Happy Tensing' in the Queen's Christmas Broadcasts". Journal of Phonetics. 34 (4): 439–57. CiteSeerX 10.1.1.71.8910. doi:10.1016/j.wocn.2005.08.001.
  7. ↑ 7.0 7.1 Scovel, T. (2000). "A critical review of the critical period research." Annual Review of Applied Linguistics, 20, 213–223.
  8. ↑ 8.0 8.1 Piske, T., MacKay, I. R. A., & Flege, J. E. (2001). "Factors affecting degree of foreign accent in an L2: A review." Journal of Phonetics, 29, 191–215.
  9. ↑ 9.0 9.1 Mahdi, Rahimian (2018). "Accent, intelligibility, and identity in international teaching assistants and internationally-educated instructors". hdl:1993/33028.
  10. Bongaerts, T., van Summeren, C., Planken, B., & Schils, E. (1997). "Age and ultimate attainment in the pronunciation of a foreign language." Studies in Second Language Acquisition, 19, 447–465.
  11. Long, M. H. (1990). "Maturational constraints on language development." Studies in Second Language Acquisition, 12, 251–285.
  12. Matsuda, M. J. (1991). "Voices of America: Accent, antidiscrimination law, and a jurisprudence for the last reconstruction." Yale Law Journal, 100, 1329–1407.