สื่อการสอน รามเกียรติ์ ตอน นารายณ์ปราบ น นท ก

รามเกียรติ์

ตอน

นารายณ์ปราบนนทก
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒
ขอบคุณภาพจาก : Ink Brothers : สมุดวาดโขน

คำนำ

หนังสือเรียนเล่มนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชา 366307 ภาษาและเทคโนโลยีดิจิทัล
เพื่อการพัฒนานวัตกรรม มีเป้าหมายในการจัดทำเพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้และเข้าใจ
ตามมาตรฐานการเรียนรู้ตามตัวชี้ วัดของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน
พ.ศ. 2551 ซึ่ งส่งผลต่อการเรียนรู้ของนักเรียน สมรรถนะด้านต่าง ๆ รวมถึงผู้เรียนยัง
สามารถนำความรู้ ข้อคิดไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ โดยเนื้อหาของวรรณคดี
และวรรณกรรมถือเป็นสิ่งสำคัญ เนื่องจากเป็นภาพสะท้อนของมนุษย์ในอดีต สะท้อน
ความเป็นสังคม ขนบธรรมเนียมและประเพณี วัฒนธรรมต่าง ๆ ที่ดำเนินเรื่องราวได้
อย่างสมบูรณ์ ทำให้ผู้เรียนสามารถมองเห็นถึงความงามด้านวรรณศิลป์ได้อย่างลงตัว
ซึ่งการจัดทำหนังสือเล่มนี้ก็นำมาจากหนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐานภาษาไทยวรรณคดี
วิจักษ์ ชั้ นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ตามหลักสูตร แกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551
ของกระทรวงศึกษาธิการ ในหน่วยการเรียนรู้ที่ 4 บทละครเรื่องรามเกียรติ์ ตอน
นารายณ์ปราบนนทก เนื่องจากผู้จัดทำเห็นว่าเป็นเรื่องที่น่าสนใจและน่าติดตาม อีกทั้ง
เนื้อหายังมีความสอดคล้องกับตัวชี้ วัดของหลักสูตรแกนกลางการศึ กษาขั้นพื้นฐาน
พ.ศ. 2551

ผู้จัดทำขอขอบคุณ อาจารย์ราชการ สังขวดี เป็นอย่างยิ่ง ที่ได้ให้คำแนะนำและ
คำปรึกษา เพื่อเป็นแนวทางในการจัดทำหนังสือเล่มนี้ จนสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี
และหวังว่าหนังสือเล่มนี้จะเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่าน

คณะผู้จัดทำ

สารบัญ

คำนำ

สารบัญ

บทที่ 1 ประวัติความเป็นมา

ความเป็นมา
ผู้แต่ง
ลักษณะคำประพันธ์

บทที่ 2 รามเกียรติ์ ตอน นารายณ์ปราบนนทก

เรื่องย่อ รามเกียรติ์
เรื่องย่อ ตอน นารายณ์ปราบนนทก

บทที่ 3 บทละครน่ารู้

บทที่ 4 ตัวละครสำคัญ

สารบัญ

บทที่ 5 คุณค่าวรรณคดี

คุณค่าด้านวรรณศิลป์
คุณค่าด้านเนื้อหาเเละสังคม

บทที่ 6 เกร็ดความรู้และข้อคิด

เกร็ดความรู้
คำศัพท์ในบทเรียน
ข้อคิดที่ได้

แบบฝึกหัด

QR CODE Animation นารายณ์ปราบนนทก

บรรณานุกรม

คณะผู้จัดทำ

บทที่ 1
ประวัติความเป็นมา

ขอบคุณภาพจาก : WorawitNu PhotoBook

ความเป็นมา

รามเกียรติ์ของไทยได้รับเค้าเรื่องมาจาก "มหากาพย์รามายณะ"
ของอินเดีย ซึ่งเผยแพร่มายังประเทศไทยไม่ต่ำกว่า 900 ปี มีการ
สันนิษฐานว่า พ่อค้าชาวอินเดียเป็นผู้นำมาเผยแพร่ในประเทศไทย
โดยการถ่ายทอดรูปแบบมุขปาฐะ คือเป็นการเล่าเรื่อง "พระราม"

ภาพจิตรกรรมฝาผนังที่วัดพระแก้ว เรื่อง รามเกียรติ์
เรื่องรามเกียรติ์ของไทยมีมาตั้งแต่สมัยอยุธยา ในสมัยกรุงธนบุรี
สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีได้ทรงพระราชนิพนธ์สำหรับให้ละครหลวงเล่น
ต่อมาในสมัยรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก
มหาราช (รัชกาลที่ 1) ทรงเห็นว่าเป็นเรื่องที่ให้ความเพลิดเพลินและ
ยังให้คติธรรม จึงโปรดเกล้า ฯ ให้พระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชบริพาร
ช่วยกันแต่ง ส่วนพระองค์มีพระบรมราชานุเคราะห์ในการตรวจแก้ไข
บางตอนทรงพระราชนิพนธ์เอง ทรงพระราชนิพนธ์ครบถ้วนสมบูรณ์
เมื่อ พ.ศ. 2340 มีจำนวน 116 เล่มสมุดไทย

2

ผู้แต่ง

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช มีพระนามเดิมว่า
ด้วงหรือทองด้วง เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2279
พระองค์เป็นบุตรคนที่ 4 ของพระอักษรสุนทรศาสตร์หรือสมเด็จพระปฐม
บรมมหาชนก (ทองดี) กับพระอัครชายา (หยกหรือดาวเรือง)

พระองค์เป็นพระมหากษัตริย์ไทยรัชกาลที่ 1 ในราชวงศ์จักรี ทรงขึ้น
ครองราชย์เมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2325 ขณะพระชนมายุ 45 พรรษา
ถึง 7 กันยายน พ.ศ. 2352 ตลอดรัชกาลพระองค์ทรงทำสงครามทั้งกับ
พม่าและปราบหัวเมืองต่าง ๆ ทรงสร้างระเบียบการปกครอง ทรงฟื้นฟู
พระพุทธศาสนา ศิลปะศาสตร์ และอักษรศาสตร์ รวบรวมชำระกฎหมาย
ตราสามดวงจนสมบูรณ์ และพระองค์ยังเป็นกวี โดยทรงพระราชนิพนธ์
วรรณคดีไว้หลายเรื่อง ได้แก่ บทละคร เรื่องรามเกียรติ์ ดาหลัง อุณรุท
อิเหนา นิทานอิหร่านราชธรรม กฎหมายตราสามดวง และกลอนนิราศ
เรื่องรบพม่าที่ท่าดินแดง

3

จุดมุ่งหมายในการแต่ง

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นด้วย
เหตุผลหลายประการ ได้แก่
1. ใช้เป็นบทละครใน
2. ทรงเกรงว่าจะสูญหายไป
3. เพื่อปลุกให้ประชาราษฎรกล้าหาญ
4. เพื่อให้มีเรื่องรามเกียรติ์ฉบับสมบูรณ์
5. เพื่อแสดงให้เห็นว่าธรรมะย่อมชนะอธรรม
6. เพื่อให้มีความซื่อสัตย์ สุจริตต่อบิดามารดา
7. เพื่อให้เห็นตัวอย่างของความไม่เที่ยงแท้ของสิ่งต่าง ๆ ในโลก

ลักษณะคำประพันธ์

บทละครในเรื่องรามเกียรติ์แต่งด้วย กลอนบทละคร
กลอนบทละคร เป็นคำประพันธ์ชนิดหนึ่ง แต่งขึ้นเพื่อใช้ในการแสดง
ละคร หลักเกณฑ์ในการแต่งโดยทั่วไปเหมือนกับการแต่งกลอนสุภาพ
แต่ละวรรคมีคำตั้งแต่ 6-9 คำ การนับกลอนบทละครจะนับเป็นคำกลอน
คือ 2 วรรค เท่ากับ 1 คำกลอน โดยกลอนบทละครนี้ต้องอาศัยทำนอง
ขับร้องและเครื่องดนตรีประกอบ แต่งเสร็จต้องนำไปซักซ้อมปรับปรุง
ดังนั้นจำนวนคำของแต่ละวรรคจึงไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับจังหวะขับร้อง
เป็นสำคัญ

4

หลักในการแต่งกลอนบทละคร

1 คำ ในวรรคหนึ่ง มีได้ตั้งแต่ 6-9 คำ แต่ที่นิยมมักเป็น 6-7 คำ
เพราะเข้าจังหวะและทำนองร้องได้ดี

สัมผัส ให้ถือหลักเกณฑ์ของกลอนสุภาพเป็นหลัก เพราะกลอนบทละคร

2 เป็นกลอนผสม ในบทหนึ่งอาจจะมี กลอน6 กลอน7 กลอน8 หรือกลอน9
ผสมกันตามจังหวะ ถ้าวรรคไหนใช้กลอนอะไรก็ใช้สัมผัสตามหลักกลอนนั้น

3 เสียงวรรณยุกต์ท้ายวรรค ที่นิยมในกลอนสุภาพ ในกลอนบทละคร
ไม่เคร่งครัด เพราะต้องอาศัยทำนองร้องและเพลงปี่พาทย์เป็นสำคัญ

วรรคแรกหรือวรรคสดับของบทละคร นิยมใช้ คำนำหรือคำขึ้นต้น

4 เพื่อขึ้นความใหม่หรือเปลี่ยนทำนองร้องใหม่ คำนำใช้ตั้งแต่ 2-4พยางค์
แต่ต้องนับเป็นหนึ่งวรรคเต็ม เพราะเวลาร้องต้องเอื้อนเสียงร้องให้ยาว
มีจังหวะเท่ากับวรรคธรรมดา

5

ตัวอย่างแผนผังกลอนบทละคร

คำนำ

เมื่อนั้น พระตรีภพลบโลกเรืองศรี
ไสยาสน์เหนืออาสน์รูจี ยังที่สุวรรณพลับพลา
ตรึกไปในการรณยทธ์ พระทรงครุฑแสนโสมนัสสา
ด้วยได้ดวงใจอสุรา ทศพักตร์นั้นมาไว้กับกร

(รามเกียรติ์ : รัชกาลที่ 1)

6

การขึ้นต้นกลอนบทละคร

เมื่อนั้น ใช้สำหรับ ตัวละครเอกของเรื่อง เช่น ตัวเอกหรือกษัตริย์
บัดนั้น ใช้สำหรับ ตัวละครที่เป็นตัวรอง และเสนาเป็นกลอนผสม

คือ กลอน6, กลอน7, กลอน8, หรือกลอน9 ผสมกัน
ตามจังหวะ เช่น อำมาตย์หรือตัวละครธรรมดา
มาจะกล่าวบทไป ใช้สำหรับ ขึ้นความใหม่หรือตอนใหม่
นอกจากนั้นยังมีการขึ้นต้นด้วยวลี ตั้งแต่ 2 คำ ถึง 4 คำ หรืออาจมากกว่าก็ได้

ตัวอย่าง

เมื่อนั้น พระอิศวรบรมรังสรรค์
เห็นนนทกโศกาจาบัลย์ พระทรงธรรม์ให้คิดเมตตา

บัดนั้น คำแหงหนุมานชาญสมร
รับรองป้องกันประจันกร วานรโถมถีบด้วยฤทธา ฯ

มาจะกล่าวบทไป ถึงเทพไทเรืองศรี
อันสถิตถ้ำธารคีรี มีทิพยโสตนัยนา

7

การอ่านกลอนบทละคร

การอ่านกลอนบทละคร ควรอ่านเป็นจังหวะ โดยมีช่วงจังหวะหยุดสั้น ๆ
ภายในแต่ละวรรค ดังนี้

ถ้าคำในวรรคมี 7 คำ ควรอ่านเป็นจังหวะ ooo/oo/oo หรือ
oo/oo/ooo เช่น

พระอิศวร / บรม / รังสรรค์
รับรอง / ป้องกัน / ประจันกร
ถ้าในวรรคมี 8 คำ ควรอ่านเป็นจังหวะ ooo/oo/ooo เช่น
อันทหาร / ทั้งสอง / นัคเรศ
ถ้าคำในวรรคมี 9 คำ ควรอ่านเป็นจังหวะ ooo/ooo/ooo เช่น
นางมณโฑ / เยาวยอด / เสน่หา

8

บทที่ 2 รามเกียรติ์
ตอนนารายณ์ปราบนนทก

เรื่องย่อ รามเกียรติ์

1 เริ่มด้วยกล่าวสดุดีแนวพระราชดำริในการทรงพระราชนิพนธ์

รามเกียรติ์ แล้วจึงเข้าสู่เนื้อเรื่องตั้งแต่หิรันตยักษ์ม้วนแผ่นดิน
พระนารายณ์อวตารลงมาปราบ ต่อมาเป็นเรื่องกำเนิดวงศ์พระราม กำเนิด
ทศกัณฐ์ กำเนิดเหล่าวานร กำเนิดนางมณโฑ กำเนิดอินทรชิต นนทกาล
ถูกพระอิศวรสาปให้เป็นควายชื่อทรพา นางไกยเกษีใช้แขนสอดเพลารถ
ของท้าวทศรถคราวรบกับปทูตทันต์จนได้รับพร แล้วกล่าวถึงการประสูติ
พระราม พระพรต พระลักษมณ์ และพระสัตรุด ซึ่งเป็นอวตารของ
พระนารายณ์ ตลอดจนเทพอาวุธและบัลลังก์นาค ฝ่ายนางมณโฑก็ให้
กำเนิดสีดาซึ่งเป็นอวตารของพระลักษมี ครั้นพิเภกทำนายว่าสีดาจะเป็น
กาลกิณีแก่กรุงลงกา ทศกัณฐ์จึงให้ใส่ผอบลอยน้ำไป

ครั้นพระชนกฤๅษีเก็บผอบได้จึงเลี้ยงนางเป็นพระธิดา ภายหลัง
พระรามยกศรได้จึงได้อภิเษกกับนาง จากนั้นท้าวทศรถเตรียมจะ
ราชาภิเษกให้พระรามครองกรุงศรีอยุธยา แต่นางไกยเกษีกลับขอให้
พระพรตโอรสของนางขึ้นครองราชย์แทน และให้พระรามเดินป่า 14 ปี
พระราม พระลักษมณ์ และนางสีดาจึงออกเดินป่าไปด้วยกัน ครั้นนาง
สำมนักขามาพบพระรามก็หลงรัก เข้าทุบตีนางสีดา จึงถูกพระลักษมณ์ตัด
หูตัดจมูกเพื่อลงโทษ นางสำมนักขากลับไปฟ้องทศกัณฐ์ผู้เป็นพี่ชาย
แล้วแกล้งกล่าวชมความงามของนางสีดาจนทศกัณฐ์หลงใหล ออกอุบาย
ให้มารีศแปลงเป็นกวางทองล่อพระราม พระลักษมณ์ออกจากอาศรม แล้ว
ลั ก พ า สี ด า ไ ป ไ ว้ ที่ ก รุ ง ล ง ก า

10

เรื่องย่อ รามเกียรติ์

2
เมื่อพระราม พระลักษมณ์กลับมาไม่พบนางสีดาก็รู้ว่าเสียที จึง
ออกติดตาม ระหว่างทางพบนกสดายุแจ้งข่าวสีดาถูกทศกัณฐ์ลักพาไป
กรุงลงกา ต่อมาพระราม พระลักษมณ์ได้หนุมานและสุครีพมาเป็นทหาร
เอก จากนั้นต้องฆ่าพาลีตามคำสาบานที่พาลีให้ไว้กับพระอิศวร แล้วได้
กองทัพวานรมาช่วยพระรามสืบหาสีดา โดยส่งหนุมาน องคต ชมพูพาน
ไปยังกรุงลงกาก่อน เมื่อทหารเอกทั้งสามกลับมาแล้ว พระรามจึงยกทัพ
เ ค ลื่ อ น พ ล ไ ป

ฝ่ายทศกัณฐ์ฝันร้าย พิเภกแนะนำให้ส่งนางสีดาคืน ทศกัณฐ์กริ้ว
โกรธขับไล่พิเภกออกจากเมือง พิเภกจึงมาขอสวามิภักดิ์พระราม จากนั้น
พระรามให้จองถนนข้ามไปยังกรุงลงกา แล้วเกิดรบพุ่งกันหลายครั้ง ฝ่าย
พระรามมีพิเภกคอยทูลแก้ไขกลศึกของพวกยักษ์ ทศกัณฐ์จึงเป็นฝ่าย
พ่ า ย แ พ้ แ ล ะ ต้ อ ง สู ญ เ สี ย ชี วิ ต ไ ม ย ร า พ ผู้ เ ป็ น ห ล า น กั บ กุ ม ภ ก ร ร ณ น้ อ ง ช า ย
ทำให้ทศกัณฐ์เศร้าโศกเสียใจเป็นอันมาก อินทรชิตผู้เป็นโอรสรักจึง
อาสาออกรบ แต่ในที่สุดก็ต้องถูกพระลักษมณ์แผลงศรสิ้นชีวิต

11

เรื่องย่อ รามเกียรติ์

3
ท ศ กั ณ ฐ์ ข อ ร้ อ ง ใ ห้ บ ร ร ด า ญ า ติ มิ ต ร ย ก ทั พ อ อ ก ร บ กั บ ทั พ ข อ ง พ ร ะ ร า ม
หลายครั้ง แต่ก็กลับเป็นฝ่ายพ่ายแพ้และต้องสูญเสียชีวิตทหารยักษ์เป็นอัน
มาก แม้ในที่สุดทศกัณฐ์เชิญท้าวมาลีวราชซึ่งมีวาจาสิทธิ์มาตัดสินข้อพิพาท
ด้วยหวังว่าท้าวมาลีวราชจะเข้าข้างตนเอง ครั้นท้าวมาลีวราชพิพากษาให้ส่ง
นางสีดาคืน แต่ทศกัณฐ์ไม่ยินยอม ออกรบกับพระรามอีก พระรามแผลงศร
แต่ไม่สามารถสังหารทศกัณฐ์ให้ตายได้ จนหนุมานต้องลวงไปเอากล่อง
ดวงใจทศกัณฐ์ซึ่งฝากไว้ที่ฤๅษีโคบุตรมาทำลาย พระรามจึงแผลงศรสังหาร
ทศกัณฐ์สำเร็จ และได้นางสีดาคืน

จ า ก นั้ น สี ด า ข อ ลุ ย ไ ฟ เ พื่ อ พิ สู จ น์ ใ ห้ เ ห็ น ถึ ง ค ว า ม บ ริ สุ ท ธิ์ ข อ ง ต น เ อ ง
ต่อมาพระรามก็ได้ทำพิธีราชาภิเษกขึ้นครองราชสมบัติที่กรุงศรีอยุธยา และ
ปูนบำเหน็จให้เหล่าทหารหาญ โดยให้สุครีพครองเมืองขีดขิน หนุมานครอง
เมืองนพบุรี และพิเภกครองกรุงลงกาสืบต่อไป

ค รั้ น อ ยู่ ต่ อ ม า น า ง ม ณ โ ฑ ใ ห้ กำ เ นิ ด ไ พ น า สุ ริ ย ว ง ศ์ ซึ่ ง เ ป็ น ลู ก ข อ ง
ทศกัณฐ์ที่ติดท้องของนางมา แต่พิเภกเข้าใจผิดคิดว่าเป็นลูกของตน
ภ า ย ห ลั ง ว ร ณี สู ร พี่ เ ลี้ ย ง แ อ บ บ อ ก ไ พ น า สุ ริ ย ว ง ศ์ ใ ห้ รู้ ว่ า ใ ค ร คื อ พ่ อ ที่ แ ท้ จ ริ ง
ไ พ น า สุ ริ ย ว ง ศ์ จึ ง ล อ บ ไ ป ข อ ใ ห้ ส ห า ย ข อ ง พ่ อ ชื่ อ ท้ า ว จั ก ร ว ร ร ดิ ม า ช่ ว ย แ ก้ แ ค้ น
ท้าวจักรวรรดิยกทัพบุกลงกาและจะประหารชีวิตพิเภก แต่ไพนาสุริยวงศ์ขอ
ชีวิตไว้เพราะถือว่าพิเภกเคยเลี้ยงดูตนมา ท้าวจักรวรรดิจึงให้ขังพิเภกไว้

12

เรื่องย่อ รามเกียรติ์

4 ท้าวจักรวรรดิอุปภิเษกไพนาสุริยวงศ์ขึ้นครองกรุงลงกา ฝ่าย

อ สุ ร ผั ด ห ล า น พิ เ ภ ก อ อ ก ติ ด ต า ม ห า ห นุ ม า น ผู้ เ ป็ น พ่ อ เ พื่ อ ข อ ค ว า ม ช่ ว ย เ ห ลื อ
เมื่อพระรามทรงทราบเรื่องจึงให้พระพรต พระสัตรุดยกทัพไปช่วยพิเภก
จนสำเร็จ จากนั้นกล่าวถึงพระรามออกประพาสป่ากับพระลักษมณ์ นาง
อดูลปีศาจญาติทศกัณฐ์ปลอมมาเป็นนางกำนัลของนางสีดา ขอให้สีดา
เขียนรูปทศกัณฐ์ แล้วนางก็เข้าสิงในรูปทำให้ลบไม่ออก เมื่อพระรามกลับ
มาพบรูปซึ่งสีดาแอบซ่อนไว้ก็โกรธ ให้พระลักษมณ์นำสีดาไปประหาร
แต่พระลักษมณ์ฆ่านางไม่ตายจึงปล่อยไป สีดาไปอาศัยอยู่กับฤๅษีจน
ป ร ะ สู ติ พ ร ะ ม ง กุ ฎ

ต่อมาฤๅษีชุบพระลบให้นางอีกองค์หนึ่ง เมื่อเจริญวัยขึ้น คราว
หนึ่งพระมงกุฎพระลบประลองศรถูกต้นรังใหญ่เสียงดังสนั่น พระราม
ได้ยินเสียงนั้น จึงคิดกระทำพิธีปล่อยม้าอุปการ ให้พระพรต พระสัตรุด
และหนุมานตามม้าไป พระมงกุฎพระลบจับม้าอุปการได้จึงนำไปขี่เล่น
หนุมานจะจับสองกุมารแต่จับไม่ได้ พระพรต พระสัตรุดต้องมาช่วยจึง
สามารถจับพระมงกุฎได้ แล้วนำกลับไปกรุงศรีอยุธยา

ต่อมาพระลบมาช่วยพระมงกุฎหนี พระรามต้องยกทัพตามมาสู้
รบกัน จึงทราบว่าพระมงกุฎ พระลบเป็นโอรส แล้วงอนง้อขอคืนดีกับนาง
สีดา แต่นางไม่ยอม พระรามทำอุบายลวงทำให้นางยิ่งโกรธหนีไปอยู่เมือง
บาดาล พิเภกทูลขอให้พระรามออกเดินป่าเพื่อสะเดาะเคราะห์อีก 1 ปี

13

เรื่องย่อ รามเกียรติ์

5 ระหว่างเดินป่าก็ได้รบชนะยักษ์อีกหลายครั้งกว่าจะกลับคืนเมือง

สุ ด ท้ า ย พ ร ะ อิ ศ ว ร ต้ อ ง เ ก ลี้ ย ก ล่ อ ม ใ ห้ พ ร ะ ร า ม กั บ น า ง สี ด า คื น ดี กั น แ ล้ ว จึ ง
จัดพิธีอภิเษกให้อีกครั้งหนึ่ง กล่าวถึงท้าวคนธรรพ์นุราชยกทัพไปตีเมือง
ไกยเกษของพระอัยกาพระพรต พระรามจึงสั่งให้พระพรต พระสัตรุด
พระมงกุฎ และพระลบยกทัพไปปราบและสามารถตีเมืองไกยเกษคืนได้
ตอนท้ายจะเป็นการสรรเสริญพระราม กล่าวถึงพระราชประสงค์ในการ
ทรงพระราชนิพนธ์รามเกียรติ์ และเวลาที่ทรงพระราชนิพนธ์

14

เรื่องย่อ รามเกียรติ์ ตอน นารายณ์ปราบนนทก

นนทกเป็นยักษ์
มีหน้าที่ล้างเท้า
เทวดาซึ่งจะเข้าเฝ้า

พระอิศวร
อยู่ที่เชิงเขาไกรลาส

เทวดาเหล่านั้น
ชอบข่มเหงนนทก
เป็นประจำ บ้างลูบหัว

บ้างตบหัว
จนหัวของนนทก

โล้นเกลี้ยง

15

เรื่องย่อ รามเกียรติ์ ตอน นารายณ์ปราบนนทก

นนทกที่แค้นใจมาก
จึงไปทูลขอพรจาก
พระอิศวรให้ประทาน

นิ้วเพชรแก่ตน
มีฤทธิ์เมื่อชี้ผู้ใด

ผู้นั้นจะตาย

พระอิศวร
ก็ประทานพรให้
เพื่อเป็นรางวัล
ที่นนทกทำหน้าที่
ด้วยความรับผิดชอบ

16

เรื่องย่อ รามเกียรติ์ ตอน นารายณ์ปราบนนทก

เมื่อได้นิ้วเพชร
นนทกก็ชี้นิ้วสังหาร

เทวดาทุกตน
ที่มาแกล้งตน

เสียสิ้น

พระอินทร์จึง
นำความทูลพระอิศวร
พระอิศวรทรงทราบ

ก็กริ้วจึงขอให้
พระนารายณ์
ไปปราบนนทก

17

เรื่องย่อ รามเกียรติ์ ตอน นารายณ์ปราบนนทก

พระนารายณ์ได้
แปลงเป็นนางฟ้าผู้

งดงาม นามว่า
"สุวรรณอัปสร"

เมื่อนนทกเห็นเข้า
ก็คิดผูกพัน รักใคร่
นางฟ้า พระนารายณ์ที่
แปลงกายจึงออกอุบาย

ให้นนทกรำตาม
ท่าทางต่าง ๆ

18

เรื่องย่อ รามเกียรติ์ ตอน นารายณ์ปราบนนทก

ท่าสุดท้าย
เป็นท่านาคาม้วยหาง

คือต้องใช้นิ้วชี้ขา
ตนเอง เมื่อนนทกชี้

ไปถูกขา ขาของ
นนทกก็หัก
และล้มลง

นางสุวรรณอัปสร
จึงกลับร่างเป็น
พระนารายณ์
เหยียบนนทกไว้
เพื่อจะสังหาร

19

เรื่องย่อ รามเกียรติ์ ตอน นารายณ์ปราบนนทก

นนทกเห็นดังนั้น
จึงกล่าวว่า

ตนนั้นมีสองมือ
หรือจะสู้สี่มือได้

พระนารายณ์
จึงตรัสว่า
"ชาติหน้าให้
นนทกมีสิบหน้า
ยี่สิบมือ"

20

เรื่องย่อ รามเกียรติ์ ตอน นารายณ์ปราบนนทก

ส่วนพระองค์
จะเป็นเพียงมนุษย์

ที่มีสองมือ
สู้กับนนทก

เมื่อตรัสแล้ว
ก็ตัดเศียรนนทก
กระเด็นไป แล้ว
พระนารายณ์ก็เสด็จ
คืนยังเกษียรสมุทร
โดยประทับบนหลัง
พระยาอนันตนาคราช

21

บทที่ 3
บทละครน่ารู้

ตัวอย่าง 1
บทละคร
ชมความงามของ
นางสุวรรณอัปสร

เหลือบเห็นสตรีวิไลลักษณ์ พิศพักตร์ผ่องเพียงแขไข
งามโอษฐ์งามแก้มงามจุไร งามนัยน์เนตรงามกร
งามถันงามกรรณงามขนง งามองค์ยิ่งเทพอัปสร
งามจริตกิริยางามงอน งามเอวงามอ่อนทั้งกายา
ถึงโฉมองค์อัครลักษมี พระสุรัสวดีเสน่หา
สิ้นทั้งไตรภพจบโลกา จะเอามาเปรียบไม่เทียบทัน

เมื่อนนทกได้เห็นนางอัปสรที่มีรูปโฉมงามเกินกว่าใคร หน้าผ่องใสเหมือน

พระจันทร์ ปากสวย ผมสวย ตาสวย มือสวย สวยเหมือนนางฟ้า สวยอย่างที่หาใคร

เปรียบไม่ได้ ก็หลงรักหลงชอบนางอัปสรทันที 23

ตัวอย่าง 2
บทละคร
ท่ารำของนางสุวรรณอัปสร

เทพนมปฐมพรหมสี่หน้า สอดสร้อยมาลาเฉิดฉิน
ทั้งกวางเดินดงหงส์บิน กินรินเลียบถํ้าอำไพ
อีกช้านางนอนภมรเคล้า ทั้งแขกเต้าผาลาเพียงไหล่
เมขลาโยนแก้วแววไว มยุเรศฟ้อนในอัมพร
ลมพัดยอดตองพรหมนิมิต ทั้งพิสมัยเรียงหมอน
ย้ายท่ามัจฉาชมสาคร พระสี่กรขว้างจักรฤทธิรงค์
ฝ่ายว่านนทกก็รำตาม ด้วยความพิสมัยใหลหลง
ถึงท่านาคาม้วนหางวง ชี้ตรงถูกเพลาทันใด ฯ

นางอัปสรร่ายรำในท่าต่างๆ 18 ท่า ได้แก่ เทพนม ปฐม พรหมสี่หน้า สอดสร้อยมาลา
เฉิดฉิน กวางเดินดง หงส์บิน กินรินเลียบ ช้านางนอน ภมรเคล้า แขกเต้าเข้ารัง ผาลาเพียง
ไหล่ เมขลาล่อแก้ว มยุเรศฟ้อน ลมพัดยอดตอง พรหมนิมิต พิสมัยเรียงหมอน มัจฉาชม
สาครพระสี่กรขว้าง ถึงท่านาคาม้วนหางวง ด้วยฤทธิ์เดชนิ้วเพชรของนนทกทำให้นนทก
ขาหักล้มลง

24

ตัวอย่าง 3
บทละคร
ที่มาของนนทกนิ้วเพชร

บัดนั้น นนทกผู้มีอัชฌาสัย
น้อมเศียรบังคมแล้วทูลไป จะขอพรเจ้าไตรโลกา
ให้นิ้วข้าเป็นเพชรฤทธี จะชี้ใครจงม้วยสังขาร์
จะได้รองเบื้องบาทา ไปกว่าจะสิ้นชีวี ฯ
พระสยมภูวญาณเรืองศรี
เมื่อนั้น ภูมีนิ่งนึกตรึกไป
ได้ฟังนนทกพาที จำจะประทานพรให้
ไอ้นี่มีชอบมาช้านาน จงได้สำเร็จมโนรถ ฯ
คิดแล้วก็ประสิทธิ์พรชัย

นนทกอ้างว่า เพื่อป้องกันตนเองถูกรังแก จึงขอพรว่า “ให้นิ้วข้าเป็นเพชรมีฤทธิ์ที่สามารถชี้
ใครก็ตาย จะได้เป็นข้ารับใช้ ไปกว่าจะสิ้นชีวิต”

ครั้นพระอิศวรได้รับฟังความทุกข์ใจของนนทกและการถวายสัตย์ปฏิญาณต่อหน้าเบื้องพระพักตร์
ว่า “จะทำหน้าที่ด้วยความสัตย์สุจริตและด้วยความจงรักภักดีด้วยความเมตตาพระอิศวรจึงประทานพรให้”

25

ตัวอย่าง 4
บทละคร
ทศกัณฐ์ถือกำเนิด

เมื่อนั้น ฝ่ายนางรัชดามเหสี
องค์ท้าวลัสเตียนธิบดี เทวีมีราชบุตรา
คือว่านนทกมากำเนิด เกิดเป็นพระโอรสา
ชื่อทศกัณฐ์กุมารา สิบเศียรสิบหน้ายี่สิบกร
อันน้องซึ่งถัดมานั้น ชื่อกุมภกรรณชาญสมร
องค์พระบิตุเรศมารดร มิให้อนาทรสักนาที ฯ

- นนทกเกิดเป็นทศกัณฐ์ โอรสของท้าวลัสเลียนกับรางรัชดาแห่งกรุงลงกา
- ส่วนพระนารายณ์ตามอวตารมาเกิดพระราม โอรสของท้าวทศรถกับนางเกาสุริยา
แห่งกรุงอโยธยา

26

บทที่ 4
ตัวละครสำคัญ

พระอิศวร

พระอิศวร เป็นเทพเจ้าสำคัญองค์หนึ่ง มีพระกายสีขาว แต่พระศอมีสีนิลเพราะเคย
ดื่มยาพิษ มีพระเนตรถึง 3 ดวง ดวงที่สามอยู่กลางพระนลาฏ ซึ่งตามปกติจะหลับอยู่
เนื่องจากดวงที่ 3 นี้ มีอานุภาพร้ายแรงมาก หากลืมขึ้นเมื่อใดจะเผาผลาญทุกอย่างให้มอด
ไหม้ได้ และยังมีพระจันทร์ครึ่งซีกอยู่เหนือตาที่สาม อาวุธประจำพระองค์คือ ตรีศูล ธนู
คทา บางทีถือบ่วงบาศ บัณเฑาะว์ และสังข์ พาหนะประจำพระองค์ คือ โคอุสุภราช
มีพระอุมาเป็นพระมเหสี ทั้งสองพระองค์ประทับอยู่ในวิมาน ณ เขาไกรลาส

พระอิศวรมีพระนามเรียกต่างๆ เช่น มเหศวร พระตรีศุลี พระศุลี พระศิวะ พระอิศรา
พระสยมภู เจ้าภพไตร เจ้าสามภพ เจ้าจอมไกรลาส พระทรงโคอาสน์ พระทรงโคเผือก
เจ้าจอมผาเผือก พระตรีเนตร พระอิศโรโมลี เป็นต้น

28

พระนารายณ์

พระนารายณ์ เป็นเทพเจ้าฝ่ายปราบปราม มีพระกายสีดอกตะแบก(สีม่วง) และมี
4 กร อาวุธประจำพระองค์คือ ตรี คทา จักร สังข์ บางครั้งถือธนูและพระขรรค์ พาหนะ
ประจำพระองค์คือครุฑ ที่สถิตของพระนารายณ์เรียกว่า ไวกูณฐ์ อยู่ในเกษียรสมุทร
(ทะเลน้ำนม) และประทับบนบัลลังค์นาคชื่อพระยาอนันตนาคราช พระมเหสีคือ
พระลักษมี พระนารายณ์นั้นจะอวตารปราบยุคเข็ญอยู่เป็นนิจ เช่น อวตารเป็นพระราม
เพื่อปราบทศกัณฐ์

พระนารายณ์มีพระนามเรียกต่างๆ กัน เช่น พระสี่กร ศรีสังข์กร พระกฤษณะ
จตุรภุช จตุรหันถ์ วิษณุ ไกรสพ วาสุเทพ หริ พระทรงสังข์ พระธราธร พระสังขกร
เป็นต้น

29

นางสุวรรณอัปสร

นางสุวรรณอัปสร เป็นนางฟ้าจำแลงขององค์พระนารายณ์ เมื่อครั่งที่นนทกใช้นิ้วเพชร
ที่ได้พรจากพระอิศวรไล่ชี้เทวดาจนเทวดาล้มตาย พระอิศวรจึงให้พระนารายณ์มา
ปราบนนทก ซึ่งพระนารายณ์ได้แปลงร่างเป็นนางสุวรรณอัปสร นางฟ้าที่สวยที่สุด

นนทกพบนางสุวรรณอัปสรจึงหลงรักและรำท่าต่างๆ ตามนาง จนถึงท่า "นาคา
ม้วนหาง" นิ้วเพชรจึงชี้ใส่ขาตนเองจนล้มลง นางสุวรรณอัปสรจึงคืนร่างเป็น
พระนารายณ์ดังเดิม แล้วสังหารนนทกในที่สุด

30

นนทก

นนทก เป็นยักษ์ที่ทำหน้าที่ล้างเท้าเทวดาอยู่ที่เชิงบันไดเขาไกรลาส ถูกเหล่า
เทวดากลั่นแกล้งลูบหัว ตบหัวบ้าง ถนอมผมบ้าง จนหัวล้าน นนทกมีความโกรธ
แค้นมาก จึงเข้าเฝ้าพระอิศวรทูลขอพรให้มีนิ้วเป็นเพชร สามารถชี้ให้ผู้ใดตายก็ได้
จากนั้นนนทกก็ใช้นิ้วเพชรชี้เทวดาจนตายเกลื่อน พระนารายณ์จึงต้องไปปราบนทก

31

เหล่าเทวดา

เหล่าเทวดา กลั่นแกล้งลูบหัว ตบหัวบ้าง ถอนผมบ้าง จนหัวล้าน นนทกมีความ
โกรธแค้นมาก จึงเข้าเฝ้าพระอิศวรทูลขอพรให้มีนิ้วเป็นเพชร สามารถชี้ให้ผู้ใด
ตายก็ได้ จากนั้นนนทกก็ใช้นิ้วเพชรชี้เทวดาจนตายเกลื่อน พระนารายณ์จึงต้อง
ไปปราบนทก

32

บทที่ 5
คุณค่าวรรณคดี

1. คุณค่าด้านวรรณศิลป์

ลีลาในวรรณคดี

1. เสาวรจนี คือ (ชมโฉม ชมความงาม) การชมความงามทั้งของตัว
ละครเเละสิ่งต่าง ๆ เมื่อนนทกเห็นนางสุวรรณอัปสร ก็ตกตะลึงในความงาม
ถึงกับพรรณนาออกมา ดังความว่า

เหลือบเห็นสตรีวิไลลักษณ์ พิศพักตร์ผ่องเพียงเเขไข

งามโอษฐ์งามเเก้มงามจุไร งามนัยน์เนตรงามกร

งามถันงามกรรณงามขนง งามองค์ยิ่งเทพอัปสร

งามจริตกิริยางามงอน งามเอวงามอ่อนทั้งกายา

2. นารีปราโมทย์ คือ (บทเกี้ยวพาราสี) การเล้าโลมเกี้ยวพาราสีหรือพูด
ให้เพลิดเพลิน โดยนนทกเกี้ยวนางสุวรรณอัปสร ดังความว่า

อันซึ่งธุระของเจ้า หนักเบาจงเเจ้งให้ประจักษ์
ถ้าวาสนาเราเคยบำรุงรัก ก็จะเป็นภักษ์ผลสืบไป
ตัวพี่มิได้ลวนลาม จะถือความสิ่งนีี้นี่ไม่ได้
สาวสวรรค์ขวัญฟ้ายาใจ พี่ไร้คู่จะพึ่งเเต่ไมตรี

3.พิโรธวาทัง คือ (บทตัดพ้อต่อว่า หรือ บทโกรธ) ดังตอนที่นนทก
ต่อว่าเทวดาที่เเกล้งตน ดังความว่า

บัดนั้น นนทกน้ำใจเเกล้วกล้า
กริ้วโกรธร้องประกาศตวาดมา อนิจจาข่มเหงเล่นทุกวัน
จนหัวไม่มีผมติด สุดคิดที่เราจะอดกลั้น
วันนี้จะได้เห็นกัน ขบฟันเเล้วชี้นิ้วไป

34

4. สัลลาปังคพิสัย คือ (บทเศร้าโศก คร่ำครวญ พร่ำเพ้อ
อาลัยอาวรณ์) ในเรื่องกล่าวถึงตอนที่นนทกคร่ำครวญรำพึงรำพัน เมื่อเข้าเฝ้า
พระอิศวร ดังความว่า

พระองค์ผู้ทรงสักดาเดช ไม่โปรดเกศเเก่ข้าบทศรี

กรรมเวรสิ่งใดดังนี้ ทูลพลางโศกีรำพัน

ความงามด้านภาษา

1. การซ้ำคำ เช่น ตอนชมความงามของนางสุวรรณอัปสร
มีการซ้ำคำเพื่อเน้นความหมายให้ห็นว่างามทุกส่วน โดยมีการเล่นคำซ้ำ
คำว่า งาม ดังความว่า

เหลือบเห็นสตรีวิไลลักษณ์ พิศพักตร์ผ่องเพียงเเขไข

งามโอษฐ์งามเเก้มงามจุไร งามนัยน์เนตรงามกร

งามถันงามกรรณงามขนง งามองค์ยิ่งเทพอัปสร

งามจริตกิริยางามงอน งามเอวงามอ่อนทั้งกายา

2. การใช้คำให้เกิดจินตภาพ (อารมณ์สะเทือนใจ) ดังความว่า

อยู่บันไดไกรลาสเป็นนิจ สุราฤทธิ์ตบหัวเเล้วลูบหน้า
บ้างให้ตักน้ำล้างบาทา บ้างถอนเส้นเกศาวุ่นไป
จนผมโก๋นโล้นเกลี้ยงถึงเพียงหู ดูเงาในน้ำเเล้วร้องไห้
ฮึดอัดขัดเเค้นเเน่นใจ ตาเเเดงดั่งเเสงไฟฟ้า

35

3. การสรรคำที่สื่อความหมาย ถึงสิ่งเดียวกันมาใช้อย่างหลากหลาย
หรือที่เรียกว่า คำไวพจน์ เช่น

พระอิศวร พระสยมภูวญาณ พระอิศราธิบดี เจ้าไตรโลกา

พระนารายณ์ พระสี่กร พระจักรา พระหริวงศ์

โวหารภาพพจน์

อุปมาโวหาร การเปรียบเทียบให้เห็นภาพ เช่น

จนผมโก๋นโล้นเกลี้ยงถึงเพียงหู ดูเงาในน้ำเเล้วร้องไห้

ฮึดอัดขัดเเค้นเเน่นใจ ตาเเเดงดั่งเเสงไฟฟ้า

ต้องสุบรรณเทวานาคี ดั่งพิษอสุนีไม่ทนได้
ล้มฟาดกลาดเกลื่อน บรรลัยไม่ทันพริบตา

36

2. คุณค่าทางด้านเนื้อหาและสังคม

2.1 การให้ความรู้เกี่ยวกับท่ารำ
โดยสอดแทรกกับเนื้อเรื่องอย่างกลมกลืน ใช้ตัวละครในเรื่องอธิบาย

ลักษณะของท่ารำต่าง ๆ ที่เรียกว่า “รำแม่บท” หมายถึง ท่าที่เป็นหลักของการรำหรือ
แม่ท่าเป็นตำราท่ารำไทย

2.2 ความสัมพันธ์ระหว่างคนต่างฐานะ
โดยให้ยึดหลักที่ว่าสังคมจะสงบสุข อยู่ได้หากคนเรามีน้ำใจต่อกัน ช่วย

เหลือเกื้อกูล ไม่ข่มเหงน้ำใจกัน เรื่องระหว่างนนทกกับเหล่าเทวดา ก็จะไม่เกิดขึ้น

2.3 ความโกรธและความอาฆาตรุนแรง
ทำให้นนทกขอนิ้วเพชร แล้วนำมาใช้สังหารผู้ที่กลั่นแกล้งตน เป็นเหตุให้

เทวดาล้มตายเป็นจำนวนมาก สร้างความปั่นป่วนให้เทวสังคม พระอิศวรจึงต้อง
จัดการเรื่องราวให้คืนสู่สันติโดยเร็ว และนนทกต้องถูกสังหารเพราะความอาฆาตแค้น
ของตนซึ่งทำให้ผู้อ่านเห็นว่า ความโกรธและความอาฆาตแค้นไม่ได้ก่อให้เกิด
ประโยชน์แก่ผู้ใดเลย แต่สุดท้ายแล้วก็กลับมาทำร้ายตนเอง

2.4 สะท้อนให้เห็นถึงความเชื่อในเรื่องการกลับชาติมาเกิด ซึ่งเป็นความเชื่อ
ของคนไทยตั้งแต่สมัยโบราณจนถึงปัจจุบัน

2.5 พฤติกรรมของการจองเวร ก่อให้เกิดการล้างแค้นที่ไม่สิ้นสุด

2.6 คติธรรมจากเรื่องนี้สามารถนำไปใช้ในการดำรงชีวิตประจำวันได้
เช่น การถูกรังแกจากผู้อำนาจทำให้เกิดการแก้แค้น เมื่อผู้นั้น

หมดความอดทนหรือแก้แค้นเมื่อมีโอกาส ทั้งยัง สะท้อนให้เห็นว่าการลุ่มหลง
ในสตรีเพศอาจทำให้ขาดสติได้

37

บทที่ 6
เกร็ดความรู้และข้อคิด

ทำ ไ ม ต้ อ ง ใ ช้ นิ้ ว ชี้ ที่
ใ ช้ เ ป็ น นิ้ ว เ พ ช ร ไ ด้ ?

นิ้วชี้ เป็นนิ้วที่แสดงถึงอำนาจ
เมื่อเราจะสั่งใครเราก็จะใช้นิ้วชี้
ซึ่งนนทกนั้นไม่เคยได้สั่งผู้ใดมาก่อนเลยในชีวิตนี้
เพราะนนทกเป็นเพียงยักษ์ผู้ต่ำต้อย

ที่ทำหน้าที่ล้างเท้าเทวดา
เพราะฉะนั้นนนทกจึงเลือกขอให้นิ้วชี้ของตน

เป็นนิ้วเพชร เพื่อที่จะได้มีอำนาจ
อย่างเทวดาที่แกล้งตนบ้าง

39

พ ร ะ ลั ก ษ ณ์ คื อ ใ ค ร
ใ น ช า ติ ที่ แ ล้ ว ?

พระลักษณ์ คือ สังข์และบัลลังก์
ของพระนารายณ์

อวตารมาเกิดเป็นพระอนุชา
ต่างมารดาของพระราม

40

ท่ า รำ ข อ ง น า ง สุ ว ร ร ณ อั ป ส ร

ถือได้ว่ามีความสำคัญ
เนื่องจากมีการกำหนดให้เป็นรำแม่บทเล็ก
นั่นคือ ท่ารำมาตรฐานหรือแม่ท่า เพื่อเป็น
พื้นฐานในการรำเพลงอื่น ๆ โดยชื่อท่ารำ

ของนางสุวรรณอัปสร มีดังนี้

1. เทพนม 2. ปฐม 3. พรหมสี่หน้า 4. สอดสร้อยมาลา
5.กวางเดินดง 6.หงส์บิน 7.กินรินเลียบถ้ำ 8. ช้านางนอน
9. ภมรเคล้า 10.แขกเต้าเข้ารัง 11.ผาลาเพียงไหล่ 12.เมขลล่อแก้ว

13. มยุเรศฟ้อน 14. ลมพัดยอดตอง 15. พรหมนิมิต
16.พิสมัยเรียงหมอน 17. มัจฉาชมสาคร
18.พระสี่กรขว้างจักร 19.นาคาม้วนหาง

41

ข้ อ คิ ด ที่ ไ ด้

1. การใช้อำนาจอย่างมีคุณธรรม

2. การใช้สติปัญญาสำคัญกว่าการใช้กำลัง
3. รู้จักเอาใจเขามาใส่ใจเรา
4. ไม่ควรโอ้อวดว่าตนเอง มีความสามารถเหนือผู้อื่น

5. ควรมีเมตตาต่อผู้อื่น จึงจะทำให้สังคมร่มเย็นเป็นสุข
6. วรรณคดีเป็นบทวิจารณ์ชีวิตที่ทำให้คนเรา
เข้าใจชีวิตของเพื่อนมนุษย์ได้อีกทางหนึ่ง

42

คำศัพท์ท้ายบท

คำศัพท์ ความหมาย

กระเษียรวารี เกษียร สมุทรหรือทะเลน้ำนม
ไกรลาส ชื่อภูเขาที่เป็นที่ประทับของพระอิศวร
คนธรรพ์ ชาวสวรรค์พวกหนึ่ง มีความชำนาญในวิชา
คนตรีและขับร้อง
จุไร ผมที่เกล้าเป็นจุกและประดับอย่างสวยงาม
ตรัยตรึงศา ตรัยตรึงศ์หรื่อดาวดึงส์ แปลว่า ๓๓
ตรี คือตรีศูล เป็นอาวุธสามงาม ปกติเป็นเทพ
อาวุธของพระอิศวร
เทพอัปสร นางฟ้า
ธาตรี แผ่นดิน,โลก
นาคี นาค คืองูใหญ่มีหงอน เป็นสัตว์ในนิยาย
บท ใช้หมายถึงพระบาทของเทวดาหรือกษัตริย์
บงสุ์,บทศรี เป็นต้น
บังเหตุ ประมาท,ทำให้เป็นเหตุ
พระหริวงศ์ พระนารายณ์

43

คำศัพท์ท้ายบท

คำศัพท์ ความหมาย

พระองค์ทรงสังข์คทาธร พระนารายณ์ ตามคติอินเดียว่ามีสี่กรถือสังข์
จักรคทาและธรณี
ไฟกาล ไฟกัลป์ หรือ ไฟบรรลัยกัลป์
ภักษ์ผล ผลสำเร็จ
ลักษมี ชายาของพระนารายณ์
วิทยา ในที่นี้คือ วิทยาธร ชาวสวรรค์พวกหนึ่งมี
วิชาอาคม
สำเร็จมโนรถ ได้ตามต้องงการ
สิ้นท่า ครบทุกท่ารำ
สุบรรณ ครุฑ คือ พญานกในเทพนิยาย
สุรัสวดี ชายาของพระพรหม
โสมนัสา คือคำวา โสมนัยน์ หมายความว่า ยินดี
หัสนัยน์ ผู้มีพันตา หมายถึง พระอินทรเหป็นเทวราช
ผู้เป็นใหญ่ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
อสุนี หมายถึง ฟ้าผ่า
อัฒจันทร์ ในที่นี้หมายถึงขั้นบันได

44

คำศัพท์ท้ายบท

คำศัพท์ ความหมาย

พระกาย ร่างกาย
พระเนตร ตา
พระนลาฏ หน้าผาก
พระศอ คอ
กร มือ
เศียร ศีรษะ
อวตาร แบ่งภาคมาเกิดในโลก

45

แบบฝึกหัด