ยก ตัวอย่าง การพูดโน้มน้าวใจ ที่ พบเห็น ในชีวิต ประ จํา วัน

เคยไหมคะ ? ที่รู้สึกว่าทำไมเวลามีใครสักคนมาพูดอะไรกับเรา แล้วเรารู้สึกคล้อยตามได้ง่ายๆ เหมือนกับว่าคำพูดของเขามันช่างโน้มน้าวใจของเราได้ดีโดยไม่มีข้อโต้แย้ง ซึ่งวิธีพูดโน้มน้าวใจนั้น เป็นการใช้หลักจิตวิทยาอย่างหนึ่งเพื่อให้คนอื่นเชื่อหรือมอบบางสิ่งบางอย่างให้กับเราแบบมีเหตุผล โดยที่ไม่ใช่การพูดเพื่อหลอกลวงหรือใช้กลโกงแต่อย่างใด แต่เป็นการพูดให้เข้าไปถึงในจิตใจของคนฟัง เรามี 7 วิธีการพูดโน้มน้าวใจที่ทุกคนสามารถนำไปใช้ได้ และมีประโยชน์ในทางที่ดี เช่น สอบสัมภาษณ์งาน เสนอโปรเจ็กต์ในที่ประชุม เพื่อให้ได้มาในสิ่งที่เราต้องการได้อย่างมีแบบแผนมาแนะนำกันค่ะ

คลิกสมัครใช้ ShopBack         รับข่าวสารเงินคืน         แชร์โปร เก็บดีล
 

ShopBack ชวนฟัง : “Blog เล่า” ช่องที่จะพาคุณฟัง เรื่อง Unseen ครอบจักรวาล ที่คุณควรจะรู้ แต่ยังไม่รู้!

❤︎ ฟังสบาย Unseen ได้ทุกเดือนที่ Youtube : Blog เล่า
❤︎ อัปเดตเรื่องราว Unseen กันต่อได้อีกที่ twitter : @BlogLao_Unseen

7 วิธีการพูดโน้มน้าวใจ ให้คนคล้อยตามได้อย่างง่ายๆ

ยก ตัวอย่าง การพูดโน้มน้าวใจ ที่ พบเห็น ในชีวิต ประ จํา วัน

  1. มีความมั่นใจ

ยก ตัวอย่าง การพูดโน้มน้าวใจ ที่ พบเห็น ในชีวิต ประ จํา วัน

ขั้นตอนแรกของวิธีการพูดโน้มน้าวใจคือ เราต้องรักษาความมั่นใจไว้ตลอดการพูด ยิ่งเรามั่นใจมากเท่าไหร่การโต้แย้งของเราก็จะยิ่งน่าเชื่อมากขึ้นเท่านั้น และก็จะทำให้เราดูมีพลังมากขึ้นด้วย เพราะความมั่นใจจะบ่งบอกอย่างละเอียดว่าเรามั่นใจแล้วว่าเราจะได้รับสิ่งที่เราต้องการซึ่งมีอิทธิพลอย่างมากต่ออีกฝ่ายที่จะมอบสิ่งนั้นให้กับเรา อย่างเช่น เวลาเราไปสมัครงาน หากอยากได้งานนั้นไม่ใช่แค่ใช้วิธีการทำเรซูเม่ให้ออกมาดูดีน่าสนใจเท่านั้น แต่การพูดจาอย่างมั่นใจในระหว่างสัมภาษณ์จะทำให้เรามีโอกาสโน้มน้าวใจและได้งานนั้น แต่ระวังอย่าแสดงความมั่นใจมากจนเกินไป เพราะจะเสี่ยงต่อการทำให้คนอื่นไม่พอใจและมองเราว่าหยิ่งยโสได้

ยก ตัวอย่าง การพูดโน้มน้าวใจ ที่ พบเห็น ในชีวิต ประ จํา วัน

  1. ทำให้คำพูดมีพลัง

ยก ตัวอย่าง การพูดโน้มน้าวใจ ที่ พบเห็น ในชีวิต ประ จํา วัน

วิธีพูดโน้มน้าวใจให้ได้ผลดีนั้น ต้องกระตุ้นให้เกิดการตอบสนอง เราสามารถทำได้อย่างง่ายดายโดยจัดกรอบข้อความของคำพูดให้เป็นวลีสำคัญ เช่น คำว่า “อุบัติเหตุทางรถยนต์” เป็นวลีที่ทำให้ทุกคนนึกถึงการชนกันของรถยนต์ประเภทต่างๆ แต่ถ้าเราทำงานขายประกัน และพยายามชักชวนให้ใครบางคนซื้อประกันรถยนต์ เราจะไม่ใช้คำพูดว่ามีอุบัติเหตุทางรถยนต์หลายพันครั้งในแต่ละวัน แต่เราจะใช้คำว่า “มีผู้เสียชีวิต” จากรถยนต์หลายพันคนในทุกวัน เพราะการเสียชีวิตเป็นคำที่ฟังแล้วมีพลังมากกว่าคำว่าอุบัติเหตุ เป็นคำที่จะกระตุ้นความรู้สึกของคนฟังได้มากกว่า และเราสามารถใช้หลักการพูดนี้เพื่อโน้มน้าวให้ผู้คนซื้อสินค้าหรือบริการของเราได้

ShopBack Tips : โทนเสียงในการพูด หรือการแสดงออกทางกายเป็นสิ่งสำคัญ เลือกใช้น้ำเสียงที่ไพเราะและน่าฟัง มากกว่าการตะโกนหรือตะคอกใส่อีกฝ่าย เพราะในขณะที่เราพูดอะไรบางอย่างด้วยน้ำเสียงที่ราวกับว่ากำลังโกรธหรือมีอารมณ์ที่ไม่ดี จะกลายเป็นอุปสรรคในการรับรู้และการสื่อสาร เพราะอีกฝ่ายที่กำลังสนทนาด้วยนั้นจะไม่ได้โฟกัสไปที่เนื้อหาหรือประเด็นที่เรากำลังพูด ดังนั้น หากคุณเป็นคนที่มีน้ำเสียงกระโชกโฮกฮาก ให้ลองฝึกปรับวิธีการพูด พูดให้ช้าลงและเลือกโทนเสียงที่ฟังดูแล้วเป็นมิตร รวมถึงขณะที่พูดคุยควรยิ้มและมองอีกฝ่ายด้วยสายตาที่ยิ้มแย้ม ก็จะช่วยให้การสนทนานั้นน่าฟังและน่าสนใจยิ่งขึ้นค่ะ วิธีฝึกพูดที่ดีคือการลองฟังคนอื่นพูด เช่น ฟัง Podcast เลือกผู้พูดที่น้ำเสียงชวนฟังและฝึกพูดตาม สามารถฝึกได้ทุกที่ทุกเวลา แค่มีหูฟังดีๆ ติดตัวไปด้วยก็เพียงพอ สามารถช้อปได้เลยที่ เจดี เซ็นทรัล รับประกันของแท้ และช้อปผ่าน ShopBack ช่วยประหยัดได้อีกด้วยค่ะ

ช้อป JD Central ผ่าน ShopBack คลิก!

  1. มุ่งเน้นไปที่อนาคต

การใช้อนาคตเป็นวิธีที่ดีในการสร้างความมั่นใจ ช่วยให้อีกฝ่ายรู้ว่าเรากำลังก้าวไปข้างหน้าและพร้อมที่จะทำตามที่สัญญาไว้ เป็นวิธีการพูดโน้มน้าวใจที่เราสามารถทำได้ง่ายๆ โดยเน้นใช้คำว่า “เราจะ” หรือ “แล้วเราจะทำสิ่งนี้” สิ่งเหล่านี้จะทำให้คนฟังคุ้นเคยกับความคิดที่ว่าสิ่งนี้จะเกิดขึ้นจริง อย่างเช่น พูดโน้มน้าวให้คนรักลุกขึ้นมาออกกำลังกายด้วยการวิ่ง ก็ควรมุ่งเน้นไปถึงอนาคตของสิ่งที่ทำและได้รับ ว่าการวิ่งจะช่วยให้เรามีสุขภาพดีในระยะยาว และมีรูปร่างที่ดีขึ้น ลองช่วยคนรักจัดตารางซ้อมวิ่งมาราธอน และพูดให้เห็นภาพถึงผลลัพธ์ดีๆ ที่จะได้กลับมา ซึ่งการพูดให้โน้มน้าวใจนั้นพยายามอย่าตัดสินใจแทนอีกฝ่าย แต่ให้พูดถึงความเป็นไปได้และผลของการตัดสินใจที่สามารถทำได้แทน

  1. พูดภาษาเดียวกัน

ยก ตัวอย่าง การพูดโน้มน้าวใจ ที่ พบเห็น ในชีวิต ประ จํา วัน

การพูดแทรกเพื่อจบประโยคของอีกฝ่ายเป็นนิสัยที่ไม่ดีนัก แต่เราควรฟังความคิดที่เป็นอิสระของพวกเขาด้วย เพราะวิธีพูดโน้มน้าวใจนั้น ไม่ใช่แค่เราจะเป็นคนพูดฝ่ายเดียวโดยไม่สนใจอีกฝ่ายเลย ลองฟังอย่างใกล้ชิดว่าบุคคลนั้นพูดอย่างไรและดูว่าพวกเขาใช้วิธีการพูดอย่างไร เลือกแนวทางของเราตามนั้น เช่น ใช้คำพูดหรือคำศัพท์ต่างๆ เราก็ควรพูดอย่างเดียวกัน เพราะจะทำให้เหมือนกับว่าเราและเขาพูดภาษาเดียวกัน นอกจากจะทำให้คนฟังรู้สึกคล้อยตามได้ง่ายแล้ว ยังทำให้การพูดคุยผ่อนคลายและเป็นกันเอง ซึ่งวิธีนี้ยังสามารถใช้เป็นวิธีคุยปรับความเข้าใจได้อีกด้วยค่ะ

ShopBack Tips : อุปสรรคทางภาษาเป็นอุปสรรคที่พบบ่อยที่สุดในการสื่อสาร การใช้คำศัพท์เฉพาะทางเทคนิคมากเกินไปหรือแม้แต่การใช้ภาษาที่ไม่ถูกต้องในเวลาที่ไม่เหมาะสม อาจนำไปสู่การตีความการสื่อสารที่ผิดพลาดได้ เพราะฉะนั้น ลดความซับซ้อนของสิ่งต่างๆ ลง เพื่อให้อีกฝ่ายเข้าใจเราและเข้าใจสิ่งที่ต้องการจะสื่อได้ดีขึ้น เลือกใช้ภาษาที่ง่ายแต่สุภาพและเหมาะสม เราสามารถเรียนรู้เทคนิคในการพูดต่างๆ นี้ได้จากสื่อต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นหนัง ซีรีส์ หรือรายการต่างๆ ที่สามารถหาชมได้ทั่วไป และสะดวกในการชมผ่านอุปกรณ์ต่างๆ ได้ทั้งโทรทัศน์ แล็ปท็อป ไอแพด และสมาร์ทโฟน สามารถเลือกซื้ออุปกรณ์ดีๆ ไว้เป็นตัวช่วยได้เลยที่ ช้อปปี้ เพราะมีร้านค้าขายสินค้าอิเล็กทรอนิกส์มากมายให้เลือก แถมยังช่วยประหยัดได้อีกหากช้อปผ่าน ShopBack ค่ะ

ช้อป Shopee ผ่าน ShopBack คลิก!

  1. ทำให้ดูเหมือนเป็นประโยชน์ต่ออีกฝ่าย

วิธีการพูดโน้มน้าวใจที่ได้ผลอีกวิธีหนึ่งคือ การทำให้คำขอของคุณดูมีค่าสำหรับอีกฝ่ายหนึ่ง เช่น สมมติว่าคุณกำลังพยายามโน้มน้าวให้เพื่อนช่วยคุณย้ายบ้าน ซึ่งดูเหมือนจะเป็นงานหนักและเพื่อนของคุณอาจไม่เต็มใจที่จะไปด้วย แทนที่จะพูดถึงเกี่ยวกับเฟอร์นิเจอร์ทั้งหมดที่คุณต้องเคลื่อนย้าย ให้เปลี่ยนมาพูดคุยเกี่ยวกับความสนุกในการจัดเก็บเคลื่อนย้ายสิ่งของของคุณ หรือเกี่ยวกับวิธีที่คุณจะทำอาหารเลี้ยงตอบแทนสำหรับทุกคนในภายหลังแทนจะดีกว่าค่ะ

ยก ตัวอย่าง การพูดโน้มน้าวใจ ที่ พบเห็น ในชีวิต ประ จํา วัน

  1. เลือกคำพูดอย่างระมัดระวัง

คำบางคำมีค่าสูงกว่าคำอื่น และคำบางคำมีความสัมพันธ์เชิงบวกมากกว่าคำอื่นๆ เช่น เลือกใช้คำว่า “ไม่ค่อยมีฐานะ” แทนคำว่า “ยากจน” หรือใช้คำว่า “ไม่เป็นไร” เป็นคำที่มีพลังในทางบวกมากกว่าคำว่า “ไม่ชอบ” แม้ว่าเป้าหมายของวิธีการพูดโน้มน้าวใจไม่ใช่การใส่คำเข้าไปในประโยค แต่เป็นการจัดเรียงประโยคด้วยคำพูดที่เหมาะสมเพื่อให้แน่ใจว่าความหมายนั้นถูกต้อง และฟังดูให้ความรู้สึกที่ดีกว่า ซึ่งวิธีนี้จะทำให้เราเป็นนักสื่อสารที่ดีขึ้น และทำให้เราดูฉลาดรอบคอบมากขึ้น และมีความน่าเชื่อถือมากขึ้นอีกด้วย

  1. สร้างอารมณ์ระหว่างพูด

ยก ตัวอย่าง การพูดโน้มน้าวใจ ที่ พบเห็น ในชีวิต ประ จํา วัน

ให้การตอบสนองทางอารมณ์ของคุณ เช่น ความกระตือรือร้นและความตื่นเต้นแบบตามธรรมชาติในระหว่างการสนทนา เป็นหนึ่งในวิธีที่จะโน้มน้าวใจคนฟังได้ดี แต่อย่าพยายามทำหากอีกฝ่ายไม่รู้สึกร่วม ควรแสดงออกอย่างเป็นธรรมชาติเพื่อเติมเต็มอารมณ์และความหลงใหล สิ่งนี้จะช่วยให้มั่นใจได้ว่าสิ่งที่พูดไปนั้นจะเกิดขึ้นอย่างจริงใจและมีเหตุผล ซึ่งหลักการที่ดีของการพูดคือ การเริ่มต้นการสนทนาด้วยข้อความที่มีจังหวะแต่ผ่อนคลาย เมื่อเราเริ่มพูดคุยเกี่ยวกับหัวข้อที่ทำอยู่ให้ค่อยๆ เพิ่มความตื่นเต้นและหลงใหลในสิ่งที่กำลังพูดถึง วิธีนี้จะทำให้อีกฝ่ายให้ความสนใจในสิ่งที่เราพูดมากยิ่งขึ้นค่ะ

ShopBack Tips : อีกหนึ่งอุปสรรคในการพูดเพื่อโน้มน้าวจิตใจ คือ อุปสรรคทางอารมณ์ เพราะบางครั้งสภาพอารมณ์ของเราเปราะบางมากจนเราอาจจะเก็บมันไว้ไม่อยู่และกำลังรอการระเบิด ซึ่งอารมณ์ของเรานั้นจะกลายเป็นอุปสรรคในการสื่อสารที่สำคัญ เช่นว่า หากเราทะเลาะกับที่บ้านหรือคนรักมา เราก็จะมีแนวโน้มที่จะโอนถ่ายความทุกข์ใจหรือเดือดดาลไปสู่คู่สนทนาได้ และอาจทำให้อีกฝ่ายไม่พอใจว่าคุณหมายถึงอะไร เพราะฉะนั้น หากเราอยู่ในสภาวะอารมณ์ที่ไม่ปกติ หรืออารมณ์ไม่ดี ควรสงบจิตสงบใจให้ดีก่อนที่จะเริ่มต้นสนทนากับผู้อื่น เพราะนอกจากจะทำให้การโน้มน้าวใจเป็นผลดีแล้ว ยังช่วยสร้างบรรยากาศดีๆ ในการพูดคุยกันอีกด้วย วิธีที่จะช่วยได้อย่างง่ายๆ คือลองหาเพลงที่ฟังแล้วรู้สึกผ่อนคลายอารมณ์มาฟัง ก็จะช่วยได้มากเลยหล่ะค่ะ ที่ ลาซาด้า มีลำโพงและอุปกรณ์ในการฟังเพลงมากมายให้เลือก สามารถช้อปผ่าน ShopBack ได้เลยช่วยประหยัดได้มากกว่าด้วยค่ะ

ช้อป Lazada ผ่าน ShopBack คลิก! 

การพูดเพื่อโน้มน้าวใจคนนั้นเป็นทักษะที่สามารถฝึกฝนและปรับปรุงได้ตลอดเวลา เราอาจจะไม่ประสบความสำเร็จในครั้งแรกเมื่อเอาวิธีการพูดโน้มน้าวใจเหล่านี้ไปใช้ แต่ยิ่งเราใช้เทคนิคเหล่านี้บ่อยๆ ก็จะยิ่งทำให้เรามีทักษะและเป็นธรรมชาติมากขึ้นเรื่อยๆ ย่อมส่งผลให้การพูดของเราน่าเชื่อถือ น่าฟัง และสามารถโน้มน้าวใจคนได้ในที่สุดค่ะ

ที่มาอ้างอิง : lifehack.org