เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน sdgs ประกอบด้วย

การพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development: SD) เริ่มต้นจากการประชุมสหประชาชาติ ครั้งที่ 2 ณ กรุงริโอ เดอ จาเนโร ประเทศบราซิล ในปี 1992 (2535) ประเทศสมาชิกต่างๆ ประชุมร่วมกันในหัวข้อว่าด้วยสิ่งแวดล้อมและการพัฒนา (Environment and Development) และได้เห็นชอบให้ประกาศหลักการแห่งสิ่งแวดล้อม และแผนปฏิบัติการ 21 (Agenda 21) สำหรับทศวรรษ 1991–1999 และศตวรรษที่ 21 เพื่อเป็นแผนแม่บทของโลกสำหรับการดำเนินงานที่จะทำให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนทั้งในด้านสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม และในเวลาต่อมาได้มีการจัดทำเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ (Millennium Development Goals: MDGs) จำนวน 8 เป้าหมาย ครอบคลุมระยะเวลา 15 ปี (พ.ศ. 2543 -2558) อาทิ การขจัดความยากจนและความหิวโหย การส่งเสริมความเท่าเทียมทางเพศและบทบาทสตรี และการรักษาและจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน เป็นต้น

ปัจจุบัน MDGs ได้สิ้นสุดลงแล้ว โดยประสบความสำเร็จเป็นอย่างดีในหลายประเทศ เช่นเดียวกับประเทศไทย และเพื่อให้เกิดความต่อเนื่องของการพัฒนา องค์การสหประชาชาติจึงได้กำหนดเป้าหมายการพัฒนาขึ้นใหม่โดยอาศัยกรอบความคิดที่มองการพัฒนาเป็นมิติ (Dimensions) ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ให้มีความเชื่อมโยงกัน เรียกว่า เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน หรือ Sustainable Development Goals (SDGs) ทั้งนี้ เมื่อเดือนกันยายน 2558 นายกรัฐมนตรีของไทยพร้อมคณะ เข้าร่วมประชุมสมัชชาสหประชาชาติสมัยสามัญ ครั้งที่ 70 พร้อมกับผู้นำจากประเทศสมาชิก 193 ประเทศ หัวข้อการประชุมในครั้งนั้นคือ การพัฒนาที่ยั่งยืน พร้อมกันนี้ผู้นำจากประเทศสมาชิกเหล่านี้ได้ร่วมรับรอง ร่างเอกสารเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนหลังปี 2015 Sustainable Development Goals ที่เรียกว่า Transforming Our World: the 2030 Agenda for Sustainable Development (การปรับเปลี่ยนโลกของเรา: วาระ 2030 เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน)

สถาบันจัดอันดับมหาวิทยาลัยจากประเทศอังกฤษ “THE” หรือ Times Higher Education ได้จัดประเมินการจัดอันดับมหาวิทยาลัย THE Impact Ranking หรือมหาวิทยาลัยที่ดำเนินพันธกิจเพื่อสังคม และชุมชน ตามเกณฑ์การพัฒนาความยั่งยืนขององค์กรเพื่อสังคมของสหประชาชาติ Sustainable Development Goals (SDGs) หรือ “เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน”  และมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรีได้เข้าร่วมการจัดอันดับ THE Impact Ranking เมื่อปี 2021

สำหรับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของโลก (Sustainable Development Goals: SDGs) ใน 15 ปีข้างหน้าที่จะใช้เป็นทิศทางการพัฒนาของประชาคมโลก ตั้งแต่เดือนกันยายน ปี 2558 ถึงเดือนสิงหาคม 2573 ครอบคลุมระยะเวลา 15 ปี โดยประกอบไปด้วย 17 เป้าหมาย (Goals) 169 เป้าประสงค์ (Targets) โดยเป้าหมายต่างๆ ประกอบด้วย

คนทั้งโลกให้ความสนใจคำว่า SDGs มาซักระยะหนึ่งแล้ว คนไทยเองก็อาจจะได้สัมผัสกับคำว่า SDGs มาบ้างแล้ว แต่อาจจะอยู่ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น โครงการการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ การศึกษาแบบยั่งยืน หรือ การส่งเสริมการท่องเที่ยวสำหรับคนพิการ เป็นต้น

แล้ว SDG คืออะไร?

SDGs ย่อมาจากคำว่า Sustainable Development Goals หรือ “เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน” ที่สมดุลกันในด้าน สังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็น 3 เสาหลักของความยั่งยืน (Three Pillars of Sustainability) จัดทำโดยองค์การสหประชาชาติ (United Nations – UN) และประเทศสมาชิก เป็นกรอบการพัฒนาของโลกเพื่อร่วมกันบรรลุการพัฒนาทางสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนภายในปี ค.ศ. 2030 โดยกำหนดให้มีเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals) เป็นแนวทางให้แต่ละประเทศดำเนินการร่วมกันภายใต้หลักการ ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง (Leave No One Behind)  ซึ่งแสดงถึงความมุ่งมั่นอย่างชัดเจนของประเทศสมาชิกสหประชาชาติในการขจัดความยากจนในทุกรูปแบบ ยุติการเลือกปฏิบัติและการกีดกัน ลดความเหลื่อมล้ำและบ่อนทำลายศักยภาพของบุคคล และมนุษยชาติในภาพรวม

ความเป็นมา

ในปี พ.ศ. 2558 ประเทศสมาชิกขององค์การสหประชาชาติได้ร่วมลงนามรับรองวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน ค.ศ. 2030 จัดทำพิมพ์เขียวร่วมกันเพื่อสันติภาพ และความเจริญรุ่งเรืองสำหรับผู้คน และโลกทั้งในปัจจุบันและอนาคต (การดำเนินการทุกเป้าหมายต้องสำเร็จภายในปี ค.ศ. 2030 หรือ พ.ศ. 2573 หรือกรอบเวลา 15 ปี) หัวใจสำคัญของเป้าหมายคือ 17 เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals) ซึ่งเป็นการเรียกร้องให้ทุกประเทศ ทั้งประเทศที่พัฒนาแล้วและกำลังพัฒนาในการเป็นหุ้นส่วนระดับโลกดำเนินการอย่างเร่งด่วน โดยอาศัยพื้นฐานการเข้าใจที่ตรงกันว่า การยุติความยากจน และการกีดกันอื่น ๆ จะต้องดำเนินไปควบคู่ไปกับกลยุทธ์ที่ช่วยพัฒนาด้านสุขภาพ และการศึกษา ลดความเหลื่อมล้ำ และกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจ ในขณะเดียวกันต้องใส่ใจในเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) และการอนุรักษ์ รักษามหาสมุทร และป่าไม้ของโลก

17 SDGs

ในปัจจุบัน SDGs มีเป้าหมายทั้งหมด 17 เป้าหมาย โดยแบ่งออกเป็น 5 มิติ ได้แก่ มิติสังคม (People) มิติเศรษฐกิจ (Prosperity) มิติสิ่งแวดล้อม (Planet) มิติสันติภาพและสถาบัน (Peace) และมิติหุ้นส่วนการพัฒนา (Partnership) ประกอบด้วย

เป้าหมายที่ 1: No Poverty ขจัดความยากจนทกุรูปแบบในทุกพื้นที่ (End poverty in all its forms everywhere)
เป้าหมายที่ 2: Zero Hunger ยุติความหิวโหย บรรลุความมั่นคงทางอาหาร และยกระดับโภชนาการ และส่งเสริมเกษตรกรรมที่ยั่งยืน (End hunger, achieve food security and improved nutrition and promote sustainable agriculture)
เป้าหมายที่ 3: Good Health and Wellbeing สร้างหลักประกันว่าชีวิตมีสุขภาพที่ดีและส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีของคนทุกวัย (Ensure healthy lives and promote well-being for all at all ages)
เป้าหมายที่ 4: Quality Education สร้างหลักประกันว่าทุกคนมีการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างครอบคลุม และเท่าเทียม และสนับสนุนโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Ensure inclusive and equitable quality education and promote lifelong learning opportunities for all) 
เป้าหมายที่ 5: Gender Equality บรรลุความเท่าเทียมทางเพศ และเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่สตรี และเด็กผู้หญิง (Achieve gender equality and empower all women and girls)
เป้าหมายที่ 6: Clean Water and Sanitation สร้างหลักประกันว่าจะมีการบริหารจัดการที่ยั่งยืน มีการจัดให้มีน้ำ และการสุขาภิบาลสำหรับทุกคน (Ensure availability and sustainable management of water and sanitation for all)
เป้าหมายที่ 7: Affordable and Clean Energy สร้างหลักประกันในการเข้าถึงพลังงานสมัยใหม่ ราคาไม่แพง เชื่อถือได้ และมีความยั่งยืนสำหรับทุกคน (Ensure access to affordable, reliable, sustainable and modern energy for all)
เป้าหมายที่ 8: Decent Work and Economic Growth ส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ต่อเนื่อง ครอบคลุม และยั่งยืน การจ้างงานเต็มที่ มีผลิตภาพ และการมีงานที่เหมาะสมสำหรับทุกคน (Promote sustained, inclusive and sustainable economic growth, full and productive employment and decent work for all)
เป้าหมายที่ 9:  Industry, Innovation and Infrastructure สร้างโครงสร้างพื้นฐานที่มีความทนทาน ส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมที่ครอบคลุมและยั่งยืน และส่งเสริมนวัตกรรม (Build resilient infrastructure, promote inclusive and sustainable industrialization and foster innovation)
เป้าหมายที่ 10: Reduced Inequality ลดความไม่เสมอภาค ความเหลื่อมล้ำภายในประเทศ และระหว่างประเทศ (Reduce inequality within and among countries) 

เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน sdgs ประกอบด้วย

เป้าหมายที่  11: Sustainable Cities and Communities ทำให้เมืองและการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์มีความครอบคลุม ปลอดภัย มีภูมิต้านทานและยั่งยืน (Make cities and human settlements inclusive, safe, resilient and sustainable) 
เป้าหมายที่ 12: Responsible Consumption and Production สร้างหลักประกันให้มีรูปแบบการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน (Ensure sustainable consumption and production patterns)
เป้าหมายที่ 13: Climate Action ปฏิบัติการอย่างเร่งด่วนเพื่อต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และผลกระทบที่เกิดขึ้น (Take urgent action to combat climate change and its impacts)
เป้าหมายที่ 14:  Life Below Water อนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากมหาสมุทร ทะเล และทรัพยากรทางทะเลอย่างยั่งยืนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (Conserve and sustainably use the oceans, seas and marine resources for sustainable development)
เป้าหมายที่ 15:  Life on Land ปกป้อง ฟื้นฟู และสนับสนุนการใช้ระบบนิเวศบนบกอย่างยั่งยืน จัดการป่าไม้อย่างยั่งยืน ต่อสู้กับการกลายสภาพเป็นทะเลทราย หยุดการเสื่อมโทรมของที่ดินและฟิ้นสภาพกลับมาใหม่ และหยุดการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ (Protect, restore and promote sustainable use of terrestrial ecosystems, sustainably manage forests, combat desertification, and halt and reverse land degradation and halt biodiversity loss)
เป้าหมายที่ 16: Peace, Justice and Strong Institution ส่งเสริมสังคมที่สงบสุขและครอบคลุมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ให้ทุกคนเข้าถึงความยุติธรรมและสร้างสถาบันที่มีประสิทธิผลรับผิดชอบและครอบคลุมในทุกระดับ (Promote peaceful and inclusive societies for sustainable development, provide access to justice for all and build effective, accountable and inclusive institutions at all levels)
เป้าหมายที่ 17: Partnerships for the Goals เสริมสร้างวิธีการดำเนินการ และฟื้นฟูความเป็นหุ้นส่วนระดับโลก เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (Strengthen the means of implementation and revitalize the global partnership for sustainable development) เป้าหมายนี้มุ่งมั่นที่จะเพิ่มความร่วมมือระหว่างประเทศพัฒนาแล้วกับประเทศกำลังพัฒนา (North-South) และความร่วมมือระหว่างประเทศกำลังพัฒนา (South-South) โดยการสนับสนุนแผนระดับชาติเพื่อการบรรลุเป้าหมาย ส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศและช่วยเหลือประเทศกำลังพัฒนาเพิ่มอัตราการส่งออก ซึ่งนี่คือส่วนประกอบทั้งหมดที่จะช่วยให้ประสบผลสำเร็จในหลักเกณฑ์สากลและระบบการค้าที่เสมอภาค ซึ่งเป็นสิ่งที่ยุติธรรม เปิดกว้างและเป็นประโยชน์ต่อทุกฝ่าย

เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน sdgs ประกอบด้วย

กรณีตัวอย่าง (Case Study)

ในปัจจุบันไม่ว่าองค์กรใหญ่ ๆ เช่น Starbucks ก็มีนโยบายการดำเนินการเพื่อตอบโจทย์การพัฒนาอย่างยั่งยืน ไม่ว่าจะเป็นด้านการส่งเสริมอาชีพ การลดปริมาณขยะ และการสนับสนุนด้านการศึกษา เป็นต้น

อีกตัวอย่างที่น่าสนใจคือการตั้งเป้าหมายในการปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ (net-zero) ของวง Coldplay ซึ่งประกาศว่าทัวร์คอนเสิร์ตรอบโลกครั้งถัดไปจะมีการดำเนินงานด้วยแผนงานด้านความยั่งยืน (ตอบโจทย์เป้าหมายข้อ 7, 12, 13) เช่น จะมีการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ทั้งบนพื้น บนเวที และพื้นที่กลางแจ้งโดยรอบเพื่อใช้พลังงานแสงอาทิตย์ ตัวเวทีจะถูกสร้างขึ้นจากวัสดุที่นำกลับมาใช้ใหม่ และเป็นตัวเลือกที่ยั่งยืนกว่า เช่น ไม้ไผ่ เหล็กรีไซเคิล และวัสดุท้องถิ่น รวมทั้งจะมีการติดตั้ง “พื้นพลังงานจลน์” (kinetic floor) ที่จะกักเก็บพลังงานจากการเคลื่อนไหวของผู้ชมระหว่างการแสดง มีจักรยานผลิตกระแสไฟฟ้าที่ด้วยแรงของผู้เข้าร่วมและใช้แบตเตอรี่แบบชาร์จไฟได้ที่พัฒนามาจากแบตเตอรี่ BMW i3 ที่นำกลับมาใช้ใหม่ (อ่านต่อ…)

The Mom Project ที่ตอบโจทย์เป้าหมายข้อ 5 และ 8 ได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2016 โดย Allison Robinson ที่ตระหนักมีผู้หญิงที่มีทักษะความสามารถถึงประมาณ 43% ในสหรัฐอเมริกาที่ลาออกจากงานหลังจากมีลูก นี่หมายถึงการสูญเสียทรัพยากรบุคคลที่มีคุณภาพเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจ และเมื่อถึงเวลาหนึ่ง การที่คุณแม่เหล่านี้จะกลับเข้าสู่ตลาดแรงงานก็เป็นเรื่องท้าทายอย่างมาก จึงเป็นช่องว่างที่เป็นจุดกำเนิดของแพล็ตฟอร์มที่จะจับคู่งานที่ดีและเหมาะสมกับเงื่อนไขของเหล่าแม่ ๆ (อ่านต่อ…)

เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs)ประกอบด้วยอะไรบ้าง

สำหรับ SDGs หรือ เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน มีทั้งหมด 17 เป้าหมาย โดยองค์การสหประชาชาติแบ่งทั้ง 17 ข้อ ออกเป็น 5 มิติ ได้แก่ มิติสังคม (People) มิติเศรษฐกิจ (Prosperity) มิติสิ่งแวดล้อม (Planet) มิติสันติภาพและสถาบัน (Peace) และมิติหุ้นส่วนการพัฒนา (Partnership)

การพัฒนาที่ยั่งยืนมีเป้าหมายอย่างไร

ให้ความยุติธรรมและลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม เสริมสร้างความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันอย่างยั่งยืน ส่งเสริมการเติบโตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน เสริมสร้างเสถียรภาพของชาติเพื่อการพัฒนาประเทศสู่ความมั่งคั่งและความยั่งยืน

Sustainability Development มีองค์ประกอบใดบ้าง

การพัฒนาที่ยั่งยืนจึงมีส่วนประกอบพื้นฐานที่สำคัญ 3 องค์ประกอบ ได้แก่ องค์ประกอบทางด้านเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม ส่วนประกอบทั้งสามนี้จะเชื่อมโยงสัมพันธ์กัน วัตถุประสงค์ของการพัฒนาที่ยั่งยืน ตามแนวคิดของ Edward Barbier.

SDGs เป้าหมายที่ 4 คืออะไร

เป้าหมายที่ 4 มุ่งสร้างหลักประกันว่าเด็กทั้งชายและหญิงสามารถเข้าถึงการจัดการศึกษาในระดับปฐมวัยและระดับมัธยมศึกษาโดยไม่มีค่าใช้จ่ายภายในปี 2573. รวมทั้งให้มีการเข้าถึงการฝึกอบรมทักษะอาชีพในราคาที่เหมาะสมอย่างเท่าเทียมกัน และขจัดความไม่เสมอภาคทางเพศและความเหลื่อมล้ำ