สุโขทัยธรรมาธิราช เรียนที่บ้าน ค่าเทอม

การเรียนต่อปริญญาตรี มสธ หรือมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช เป็นอีกสถาบันของรัฐ ที่เปิดทำการมานานหลายสิบปี เป็นหลักสูตรทางไกลที่มีผู้จบการศึกษามากมาย เป็นสถาบันที่รับนักศึกษาไม่จำกัด ผู้ที่เรียนที่ต้องการประหยัดค่าใช้จ่าย ไม่ติดใจเรื่องเวลา สามารถเรียนนานๆ  5-6 ปีค่อยจบก็ได้ สามารถควบคุมการเรียนการสอนด้วยตนเองได้ มีความมั่นใจในความสามารถของตนเองสามารถเรียนรู้ด้วยตนเองได้โดยไม่ต้องมีใครชีน้ำ หรือชี้แนะบ่อยๆ และไม่ต้องการเดินทางไปมาบ่อยๆ แนะนำให้เรียนที่สถาบัน มสธ. เลยครับ 

แต่หากวันนี้ท่านต้องการจบให้เร็วใน 2 ปีแบบชัวร์ ๆ การเรียนที่ มสธ. อาจไม่ใช่ทางเลือกที่ดีที่สุด ผุ้ที่จบ มสธ. ได้ต้องเป็นผู้ที่มีวินัย มีความมั่งมั่นสูงมาก ที่ต้องการจบ ต้องเรียนรู้ด้วยตัวเอง  แต่หากคำนวนถึงค่าเสียเวลาต่างๆ หากต้องการเรียนจบให้เร็วและชัวร์กว่า ในสถาบันเอกชน แต่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มอีกนิดหน่อย ต้องลองเปรียบเที่ยบกันดูครับว่าชอบแบบไหน และอาคตของท่านจะก้าวไปได้อย่างไร ...

หากวันนี้ท่านไม่สะดวกที่จะเรียนต่อที่ มสธ. ท่านสามารถมีทางเลือกใหม่ที่รอท่านอยู่  อีกทางเลือกของผู้ที่ทำงานประจำ ครูอาจารย์ ทหาร ตำรวจ พนักงานบริษัท นักธุรกิจ ที่จบ ม.6 ปวช. ปวส จากทุกๆ สถาบันในประเทศ  เรามีหลักสูตรพิเศษต้องการเรียน ปริญญาตรีให้จบใน  2 ปี หรือ ปริญญาโท ให้จบได้ใน 1  ปี  จบแล้วมีงานทำ สามารถอับเกรดหน้าที่การงานงาน หรือเพือพัฒนาธุรกิจของท่านได้ หากสนใจปรึกษาเราได้ทันที่ เป็นหลักสูตรพิเศษสาขาบริหารธุรกิจ การจัดการ รับนักศึกษาจำนวนจำกัดเพียง 30 อัตราเท่านั้น เต็มเมื่อใหร่..ปิดรับทันที่ 

"มสธ. ได้รับรางวัลมหาวิทยาลัยดีเด่นจากสภานานาชาติว่าด้วยการศึกษาทางไกล และองค์การจัดการศึกษาเพื่อเครือจักรภพ ในประเภทสถาบันที่มีความเป็นเลิศในด้านการจัดการการศึกษาทางไกลในปี 2538 โดยคัดเลือกจากสถาบันทั้งหมด 79 ประเทศทั่วโลก"

 ประวัติ
แนวคิดเกี่ยวกับมหาวิทยาลัยเปิด เป็นความพยายามของรัฐบาลที่จะขยายโอกาสเพื่อการศึกษาระดับอุดมศึกษาแก่ประชาชนให้มากที่สุด แนวคิดนี้ได้เคยนำมาใช้ในประเทศไทยแล้วโดยมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง ซึ่งตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2476 เป็นการศึกษาระบบ "ตลาดวิชา" รับนักศึกษาโดยไม่มีการสอบคัดเลือก ไม่บังคับให้ฟังบรรยาย แต่ภายหลังมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ก็ได้เปลี่ยนระบบมาจำกัดการรับนักศึกษาเช่นเดียวกับมหาวิทยาลัยอื่นๆ

ต่อมาในปี พ.ศ. 2514 มหาวิทยาลัยรามคำแหงได้เปิดตัวขึ้นมาเป็นมหาวิทยาลัยแบบตลาดวิชาขึ้นอีกแห่ง แต่ยังคงจัดการศึกษาโดยอาศัยระบบชั้นเรียนเป็นหลัก ทำให้มหาวิทยาลัยรามฯ ประสบปัญหาเรื่องอาคารสถานที่เรียนไม่เพียงพอกับจำนวนนักศึกษาที่เพิ่มขึ้นทุกๆ ปี

ดังนั้นเพื่อแก้ไขปัญหานี้ รัฐบาลจึงจัดตั้งมหาวิทยาลัยขึ้นมาอีกแห่ง มีลักษณะเป็นมหาวิทยาลัยเปิดดำเนินการสอนโดยใช้ระบบการสอนทางไกล ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อ "มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช" ตามพระนามเดิมของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 เมื่อครั้งทรงดำรงพระอิสริยยศ เป็น "กรมหลวงสุโขทัยธรรมราชา"

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นมหาวิทยาลัยเมื่อวันที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2521 นับเป็นมหาวิทยาลัยของรัฐแห่งที่ 11 สังกัดทบวงมหาวิทยาลัย และเป็นมหาวิทยาลัยเปิดแห่งแรกในภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ใช้ระบบการเรียนการสอนทางไกล คือมีการบรรยายทางโทรทัศน์และวิทยุผ่านดาวเทียม ซึ่งการใช้ระบบการเรียนการสอนทางไกลและเปิดรับนักศึกษาไม่จำกัดจำนวนนี้ เป็นการเปิดโอกาสให้ประชาชนชาวไทยได้ศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาเพิ่มมากขึ้น นับเป็นการกระจายการศึกษาสู่ภูมิภาคที่ดีเยี่ยม มสธ. จึวเหมาะที่จะเป็นทางเลือกสำหรับผู้ที่ต้องการเรียนต่อในระดับอุดมศึกษา แต่ไม่สามารถสอบเข้ามหาวิทยาลัยในระบบเอนทรานซ์ได้ หรือผู้ที่ต้องการเรียนด้วยตนเอง ไม่มีการบังคับเวลาเรียน

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช จัดการศึกษาเป็นระบบตลาดวิชา รับนักศึกษาโดยไม่มีการสอบคัดเลือก นักศึกษาที่นี่ไม่ต้องเข้าฟังบรรยายในชั้นเรียน ทุกอย่างตั้งแต่การลงทะเบียน การเรียน สามารถทำทางไกลผ่านทางไปรษณีย์ และสามารถรับบริการการสอนผ่านทางวิทยุและโทรทัศน์ เมื่อเรียนเสร็จก็จะมีวันนัดหมายให้ไปสอบตามศูนย์การสอบซึ่งอยู่ใกล้ๆ บ้านของนักศึกษา และหากมีข้อข้องใจเกี่ยวกับการเรียนจริงๆ ก็สามารถโทรศัพท์สอบถามอาจารย์ที่เข้าเวรอยู่ที่มหาวิทยาลัยได้

นอกจากได้รับการยอมรับและเชื่อถือจากประชาชนชาวไทยแล้ว มสธ. ยังได้รับการยอมรับจากต่างประเทศโดยเฉพาะ UNESCO ซึ่งยกย่องใหเป็นสถาบันนำทางด้านการศึกษาทางไกลในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก และในปี 2535 สถาบันการบริหารแห่งเอเชีย (Asian Instiute of Management) ประเทศฟิลิปปินส์ได้ตัดสินให้รางวัล The Asian Management Award in Development Management แก่ มสธ. ในฐานะที่เป็นองค์กรที่มีการพัฒนาการบริหารดีเยี่ยม และในปี 2538 มสธ. ยังได้รับรางวัลมหาวิทยาลัยเปิดดีเด่นของโลกแห่งปี 1995-1996 COL-ICDE Award of Excel-lence จากสภานานาชาติว่าด้วยการศึกษาทางไกล International Council for Distance Education (ICDE) และองค์การจัดการศึกษาเพื่อเครือจักรภพ Commonwealth of Learning (COL)

ปัจจุบันมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชได้จัดตั้ง ศูนย์วิทยพัฒนา ขึ้น 10 แห่ง ได้แก่ ที่ลำปาง สุโขทัย นครสวรรค์ อุดรธานี อุบลราชธานี นครนายก เพชรบุรี จันทบุรี นครศรีธรรมราช และยะลา ศูนย์วิทยพัฒนาแต่ละที่นี้จะให้บริการครอบคลุมจังหวัดใกล้เคียงด้วย และยังได้จัดตั้งศูนย์บริการการศึกษา ณ โรงเรียนประจำจังหวัดทุกจังหวัด เพื่อเป็นสถานที่ดำเนินกิจกรรมทางวิชาการของมหาวิทยาลัย เช่น การปฐมนิเทศนักศึกษา การสอนเสริม และการสอบ

นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ได้รับความร่มมือจากกรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ สำนักบริหารการศึกษานอกโรงเรียน กระทรวงศึกษาธิการ และกระทรวงแรงงาน ได้มีการจัดการศึกษาสำหรับคนไทยในต่างประเทศ เพื่อขยายโอกาสทางการศึกษาตลอดชีวิตให้กับคนไทยเหล่านั้น โดยมีการศึกษาสำหรับคนไทยในประเทศสิงคโปร์ มาเลเซีย ไต้หวัน ซาอุดิอาระเบีย บรูไน เมืองฮ่องกง และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (ดูไบ) ทั้งนี้นักศึกษาต้องเดินทางมาเข้ารับการฝึกอบรมชุดวิชาประสบการณ์วิชาชีพ หรือชุดวิชาที่มีการฝึกปฏิบัติ ณ สถานที่ที่มหาวิทยาลัยจัดให้

สัญลักษณ์
"ตราพระราชลัญจกรในรัชกาลที่ 7" ซึ่งเป็นรูปพระแสงศรสามองค์เรียงกัน ภายใต้พระมหามงกุฏนำมาประกอบกับส่วนยอดของ "เจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์" ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของกรุงสุโขทัย
สีประจำมหาวิทยาลัยคือ "สีเขียว-ทอง" ซึ่งสีเขียว เป็นสีประจำวันพุธ ซึ่งเป็นวันพระราชสมภพของรัชกาลที่ 7 ส่วนสีทอง เป็นสีของความเป็นสิริมงคล
ต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัยนั้นได้แก่ "ต้นปาริชาต" หรือ "ทองหลางลาย" เนื่องจากมีใบเป็นสีเขียว-ทอง ตามสีประจำมหาวิทยาลัย

มีอะไรเรียนบ้าง
มสธ. มีการเรียนการสอนระดับปริญญาตรีแบ่งออกได้เป็น 12 สาขาวิชา ดังนี้
1.สาขาวิชาศิลปะศาสตร์
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต
สารสนเทศศาสตร์
(ปกติ และต่อเนื่อง 2 ปี)
ไทยคดีศึกษา (ต่อเนื่อง 2 ปี)
2. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์
หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต (ต่อเนื่อง 2 ปี)
แขนงวิชาการแนะแนว
แขนงวิชาการศึกษานอกระบบ
แขนงวิชาการวัดและประเมินผลการศึกษา
แขนงวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา
3. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต
แขนงวิชาบริหารธุรกิจ วิชาเอกการจัดการทั่วไป (ปกติ และ(ต่อเนื่อง 2 ปี)
แขนงวิชาบริหารธุรกิจ วิชาเอกการเงินและการธนาคาร (ต่อเนื่อง 2 ปี)
แขนงวิชาบริหารธุรกิจ วิชาเอกการตลาด (ต่อเนื่อง 2 ปี)
แขนงวิชาบริหารธุรกิจ วิชาเอกการจัดการการท่องเที่ยว (ต่อเนื่อง 2 ปี)
แขนงการจัดการงานก่อสร้าง วิชาเอกการจัดการงานก่อสร้าง (ต่อเนื่อง 2 ปี)
หลักสูตรบัญชีบัณฑิต
(ปกติ และต่อเนื่อง 2 ปี)
หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต
(ปกติ และต่อเนื่อง 2 ปี)
แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ วิชาเอกรัฐประศาสนศาสตร์
4. สาขาวิชานิติศาสตร์
หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต
(ปกติ และต่อเนื่อง 2 ปี)
5. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุภาพ
หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต
- แขนงวิชาสาธารณสุขศาสตร์ วิชาเอกสาธารณสุขศาสตร์ (ปกติ และต่อเนื่อง 2 ปี)
- แขนงวิชาสาธารณสุขศาสตร์ วิชาเอกบริหารสาธารณสุข (ปกติ และต่อเนื่อง 2 ปี)
- แขนงวิชาสาธารณสุขศาสตร์ วิชาเอกอาชีวอนามัยและความปลอดภัย (ต่อเนื่อง 2 ปี)
หลักสูตรแพทย์แผนไทยบัณฑิต
(ต่อเนื่อง 2 ปี)
6. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์
หลักสูตรเศรษฐศาสตรบัณฑิต
แขนงวิชาเศรษฐศาสตร์ วิชาเอกเศรษฐศาสตร์ (ปกติ และต่อเนื่อง 2 ปี)
แขนงวิชาเศรษฐศาสตร์ วิชาเอกเศรษฐศาสตร์
7. สาขาวิชามนุษยนิเวศศาสตร์
หลักสูตรคหกรรมศาสตรบัณฑิต
วิชาเอกโภชนาการชุมชน
(ปกติ และต่อเนื่อง 2 ปี)
หลักสูตรคหกรรมศาสตรบัณฑิต
วิชาเอกพัฒนาการเด็กและครอบครัว
(ปกติ และต่อเนื่อง 2 ปี)
หลักสูตรคหกรรมศาสตรบัณฑิต
แขนงวิชาคหกรรมศาสตร์ วิชาเอกการโรงแรมและภัตตาคาร (ต่อเนื่อง 2 ปี)
แขนงวิชาคหกรรมศาสตร์ธุรกิจ วิชาเอกธุรกิจอาหาร (ต่อเนื่อง 2 ปี)
8. สาขาวิชารัฐศาสตร์
หลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต
แขนงวิชาทฤษฎีและเทคนิคทางรัฐศาสตร์
แขนงวิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศและการเมือง
9. สาขาวิชาส่งเสริมการเกษตรและสหกรณ์
หลักสูตรเกษตรศาสตรบัณฑิต
(ปกติ และต่อเนื่อง 2 ปี)
แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร วิชาเอกส่งเสริมการเกษตร
แขนงวิชาการจัดการการเกษตร วิชาเอกการจัดการการผลิตพืช การจัดการการผลิตสัตว์ การจัดการทรัพยากรป่าไม้และสิ่งแวดล้อม และธุรกิจการเกษตร
หลักสูตรส่งเสริมการเกษตรและสหกรณ์บัณฑิต
(ปกติ และต่อเนื่อง 2 ปี)
แขนงวิชาสหกรณ์ วิชาเอกสหกรณ์
10. สาขาวิชานิเทศศาสตร์
หลักสูตรนิเทศศาสตรบัณฑิต
11. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (ต่อเนื่อง 2 ปี)
แขนงวิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม วิชาเอกเทคโนโลยีการพิมพ์
หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต (ต่อเนื่อง 2 ปี)
แขนงวิชาเทคโนโลยีพณิชยกรรม วิชาเอกเทคโนโลยีสารสนเทศธุรกิจ
12. สาชาวิชาพยาบาลศาสตร์
หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต
(ต่อเนื่อง 2 ปี)


ค่าใช้จ่าย
ค่าธรรมเนียมการศึกษาและค่าลงทะเบียนเรียนของ มสธ. แตกต่างจากมหาวิทยาลัยอื่นๆ คือ มีเพียงค่าธรรมเนียมแรกเข้า 500 บาท ค่าบำรุงการศึกษา 300 บาท และค่าชุดวิชารวมค่าวัสดุการศึกษาอีก 700-3,200 บาท (แล้วแต่ชุดวิชา)

สิ่งอำนวยความสะดวกในการเรียน
เนื่องจากไม่มีการเปิดการเรียนการสอนเลย ทางมหาวิทยาลัยจึงมีบริการในด้านต่างๆ น้อย แต่ก็มีบุคลากรคอยรับเรื่องต่างๆ หรืออำนวยความสะดวกแก่ผู้เข้ามาติดต่อ อย่างไรก็ตามมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชก็ได้จัดให้มี

- บริการการเรียนการสอนทางไกลผ่านดาวเทียม โดยรับฟังได้ทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย เครือข่ายเพื่อการศึกษา ระบบ A.M ความถี่ 1467 Khz หรือไม่ก็รับบริการการสอนผ่านรายการโทรทัศน์เพื่อการศึกษา ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ช่อง 11 เวลา 05.00-06.00 น. รายการวิทยุโทรทัศน์ เพื่อการศึกษาทางไกล ออกอากาศทาง True Vision และ DLTV 8 ช่อง 88 เวลา 18.00-20.00 น. รายการวิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษา ออกอากาศทาง ETV ช่อง 96 (ดาวเทียม) เวลา 21.00-21.30 น.
- บริการจัดสอบในต่างประเทศ สำหรับนักศึกษาที่ลงทะเบียนในไทย แต่ในช่วงเวลาสอบมีภารกิจในต่างประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่สถานที่จัดสอบก็คือที่สถานกงสุล หรือสถานเอกอัครราชทูตประจำประเทศนั้นๆ สามารถติดต่อขอรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ฝ่ายจัดสอบ สำนักทะเบียนและวัดผล โทร. 0 2503 2681- e-Tutorials เป็นบริการสอนเสริมผ่านอินเทอร์เน็ต นักศึกษาสามารถดาวน์โหลดชุดวิชาที่ต้องการจากเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยได้ และรับชมการสอนเสริมด้วยโปรแกรม Windows Media Player Version 10 เป็นอย่างต่ำ ส่วนเอกสารประกอบการสอนต่างๆ จะจัดให้ในรูปแบบของไฟล์ PDF ทั้งหมดซึ่งสามารถเปิดอ่านได้ด้วยโปรแกรม Acrobat Readers นอกจากนี้ยังมีบริการสอนเสริมทางไกลผ่านดาวเทียมอีกด้วย

- ห้องสมุด เป็นแหล่งสารสนเทศต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นหนังสือ วารสาร สารคดี บทความทั่วไป สารสนเทศดิจิทัล สารสนเทศสาขาวิชา สารสนเทศเฉพาะด้าน
- ศูนย์บริการการศึกษา มสธ. ร่วมมือจากสถาบันการศึกษา และส่วนราชการที่เกี่ยวข้องทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค โดยแบ่งเป็นลักษณะต่างๆ ได้แก่ ศูนย์บริการการศึกษาภาค ศูนย์บริการการศึกษาจังหวัด ศูนย์บริการการศึกษาเฉพาะกิจ สาขาวิชา ศูนย์บริการการศึกษาเฉพาะกิจ มุม มสธ. ศูนย์วิทยพัฒนา และศูนย์วิทยบริการบัณฑิตศึกษา
- บริการแนะแนวการศึกษาและอาชีพ เพื่อช่วยให้นักศึกษาสามารถศึกษาสามารถศึกษาด้วยตนเองอย่างมีประสิทธิภาพ
- สหกรณ์ร้านค้า อยู่ที่ชั้นล่าง อาคารวิชาการ 2 จำหน่ายเครื่องใช้อุปโภคบริโภค และของที่ระลึก เปิดให้บริการจันทร์-ศุกร์ เวลา 07.30-18.00 น. และวันเสาร์เวลา 09.00-15.00 น. และในส่วนของด้านหน้าสหกรณ์ร้านค้า ยังมีบริการอาหารและเครื่องดื่มจำหน่ายด้วย
- สโมสร อยู่บริเวณอาคารสุโขสโมสร เป็นสถานที่ที่ให้นักศึกษาและข้าราชการได้มาออกกำลังกาย โดยมีบริการสระว่ายน้ำ สนามแบดมินตัน และอุปกรณ์อื่นๆ เสียค่าบริการตามที่สโมสรกำหนด นอกจากนี้ยังมีอาหารและเครื่องดื่มจำหน่ายในราคาย่อมเยา
- โรงอาหาร ภายในมหาวิทยาลัยมีโรงอาหาร 3 แห่ง และบริเวณรอบนอกของมหาวิทยาลัยเป็นหมู่บ้านจัดสรรเมืองทองธานี จึงมีร้านอาหารมากมายโดยรอบ

ทุนการศึกษา
ประกอบด้วย ทุนการศึกษามหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ซึ่งเป็นทุนการศึกษาที่นำดอกเบี้ยมาจัดสรรเป็นทุนการศึกษาให้กับนักศึกษาที่มีผลการเรียนดีแต่ขาดแคลนทุนทรัพย์ แต่ต้องเป็นผู้ที่ศึกษากับมหาวิทยาลัยมาแล้วอย่างน้อย 1 ภาคการศึกษา และยังมีทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษาของรัฐบาล (กยศ.)

ชีวิตนักศึกษา
การเรียนที่นี่เป็นแบบทางไกลล้วนๆ โดยเมื่อลงทะเบียนทางไปรษณีย์เสร็จ นักศึกษาก็จะได้รับหนังสือและตำราต่างๆ ทางไปรษณีย์ จากนั้นก็จะต้องอ่านคู่มือที่จัดส่งมาโดยละเอียด ทางมหาลัยจะมีคู่มือประเมินผลให้ หรือบางครั้งก็จะมีแนวข้อสอบให้ พอถึงเวลาสอบก็จะมีการแจ้งมาทางไปรษณีย์อีกเช่นกันว่าจะให้ไปสอบที่ศูนย์ใด ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับภูมิลำเนาของนักศึกษาว่าอาศัยอยู่ที่ไหน ดังนั้นที่นี่จึงเป็นการเรียนแบบไม่มีสังคมการเรียนเหมือนมหาวิทยาลัยอื่นๆ แต่มีข้อดีคือเหมาะสำหรับคนที่ต้องการจัดเวลาเรียนเอง หรือคนที่ไม่ค่อยมีเวลาว่างและสามารถหาความรู้จากตำราเพียงอย่างเดียวได้

มหาวิทยาลัย โดยความร่วมมือจากสถาบันการศึกษาและส่วนราชการที่เกี่ยวข้องทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาคได้ดำเนินการจัดตั้งศูนย์บริการการศึกษาในลักษณะต่างๆ ได้แก่ ศูนย์บริการการศึกษาภาค 7 ศูนย์ ศูนย์บริการการศึกษาจังหวัด 80 ศูนย์ ศูนย์บริการการศึกษาเฉพาะกิจ สาขาวิชา ศูนย์บริการการศึกษาเฉพาะกิจ มุม มสธ. ศูนย์วิทยพัฒนา และศูนย์วิทยบริการบัณฑิตศึกษา เพื่อให้บริการแก่นักศึกษาในด้านการปฐมนิเทศ การสอนเสริม การฝึกงาน การฝึกปฏิบัติ การจัดสอน รวมถึงบริการข่าวสารและสื่อการศึกษา
สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของมหาวิทยาลัยคือ พระรูปรัชกาลที่ 7 ซึ่งนักศึกษาจะบนขอให้เรียนจบ ส่วนใหญ่หากเข้ามาเรียนได้หนึ่งเทอมแล้วไม่ผ่าน ก็จะออกไปเรียนที่อื่นเลย เพราะที่นี่จะไม่มีแรงจูงใจในการเรียน ไม่มีการเข้าชั้นเรียน ไม่มีเพื่อน จึงทำให้หลายคนเบนเข็มไปเรียนมหาวิทยาลัยเอกชน หรือไม่ก็มหาวิทยาลัยราชภัฏต่างๆ

การสอบจะเป็นการสอบปลายภาคครั้งเดียวไม่มีคะแนนเก็บ และการจัดสอบก็จะจัดขึ้นตามศูนย์ต่างๆ ซึ่งแต่ละจังหวัดจะมีศูนย์สอบของตนเอง ในเขตกรุงเทพฯ ก็จะเปิดศูนย์สอบตามโรงเรียนต่างๆ

การพบอาจารย์ผู้สอนอาจจะยากสักนิด ถ้าต้องการพบหรือสอบถามข้อสงสัย ต้องโทรติดต่อทางคณะ อาจารย์ที่จัดสอนจะสลับกันอยู่เวรเพื่อตอบคำถามนักศึกษา แต่ถ้าคำถามนั้นเป็นส่วนที่อาจารย์ที่อยู่เวรไม่ได้ออก ก็ต้องโทรมาสอบถามอีกครั้ง

โหลดเพิ่ม

สุโขทัยธรรมาธิราช เรียนที่บ้าน ค่าเทอม

แท็กที่เกี่ยวข้อง

ข้อมูลมหาวิทยาลัยมสธ.มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช มสธ.มหาวิทยาลัยไทยสุโขทัยธรรมาธิราชเรียนต่อเรียนต่อสุโขทัยธรรมาธิราชEDUCATIONเรียนต่อในประเทศมหาวิทยาลัย