อาณาจักรสุโขทัยมีความสัมพันธ์กับ ดิน แดน ภายนอก อย่าง กว้างขวาง ใน รัช สมัย ใด

อาณาจักรสุโขทัย

อาณาจักรสุโขทัยมีความสัมพันธ์กับ ดิน แดน ภายนอก อย่าง กว้างขวาง ใน รัช สมัย ใด
  

    อาณาจักรสุโขทัยเป็นอาณาจักรที่มีความสำคัญเป็นอย่างมากในด้านประวัติศาสตร์  เพราะถือได้ว่าเป็นอาณาจักรที่สร้างความเป็นปึกแผ่นให้กับสยามประเทศ  ในสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช  ซึ่งถือได้ว่าเป็นยุคที่มีความรุ่งเรืองมากที่สุด 
เพราะความปรีชาสามารถของพระองค์ไม่ว่าจะเป็นในด้านการคิดค้นประดิษฐ์ตัวอักษร  การปกครองประชาชน  การทำศึกสงคราม  ทำให้เป็นชื่อที่เลื่องลือในแคว้นต่างๆ  รวมทั้งในด้านสถาปัตยกรรม  ประติมากรรม 
จิตรกรรม  และด้านอื่นๆ
ซึ่งเห็นได้จากพระพุทธรูป  เครื่องชามสังคโลก  ศิลาจารึก 
เป็นต้น 
แต่เมื่อได้สิ้นราชสมัยของพ่อขุนรามมหาราชแล้ว  อาณาจักรสุโขทัยก็ค่อยๆ เสื่อมลง  เป็นเพราะกษัตริย์องค์ต่อๆ
มาไม่มีความสามารถในด้านการดูแลปกครองเมือง 
จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้อาณาจักรสุโขทัยตกเป็นเมืองขึ้นของอยุธยา

ด้วยเหตุนี้ทำให้กลุ่มของพวกเราเกิดความสนใจที่อยากจะทำการศึกษาค้นคว้าอาณาจักรสุโขทัยว่าอาณาจักรแห่งนี้ว่ามีความเป็นมาอย่างไร  มีลักษณะด้านการเมืองการปกครอง  สังคมและเศรษฐกิจเป็นอย่างไร 
อะไรเป็นสาตุที่ทำให้อาณาจักรนี้ต้องล่มสลาย 
ตลอดจนร่องรอยที่สืบทอดมาให้เห็นในปัจจุบัน  เพราะจากการขุดพบวัตถุซากโบราณ
และโบราณสถานต่างๆ ทำให้เห็นว่าอาณาจักรแห่งนี้เคยรุ่งเรืองมาก 
เห็นได้จากซากของวัดวาอารามที่ตั้งในอาณาเขตของแคว้นสุโขทัยมีจำนวนมากมาย 
ซึ่งแต่ละแห่งก็มีความแตกต่างกันแสดงให้เห็นว่ามีการรับวัฒนธรรมของอาณาจักรใกล้เคียงเข้ามาผสมผสานกัน 
ศิลปและวัฒนธรรมเหล่านี้เองทำให้ร่องรอยของอาณาจักรสุโขทัยสืบทอดมาจนถึงทุกวันนี้ 
กลายเป็นสิ่งที่ควรอนุรักษ์อย่างยิ่งเพื่อให้คนรุ่นหลังได้เห็นความสำคัญของประวัติศาสตร์ว่า  กว่าที่จะมาเป็นประเทศไทยในปัจจุบันนี้  บรรพบุรุษได้สร้างสิ่งที่เป็นเอกลักษณ์ควรแก่การรักษาไว้ให้ยั่งยืน

ประวัติความเป็นมาของอาณาจักรสุโขทัย

อาณาจักรสุโขทัยมีความสัมพันธ์กับ ดิน แดน ภายนอก อย่าง กว้างขวาง ใน รัช สมัย ใด
 

1.1  สมัยก่อนประวัติศาสตร์

            ดินแดนไทยในปัจจุบัน
มีประวัติความเป็นมาของมนุษย์ที่อาศัยอยู่ในบริเวณนี้ย้อนหลังไปได้นับหมื่น ๆ ปี
ตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ซึ่งแบ่งเป็นสมัยหินเก่า สมัยหินกลางสมัยหินใหม่และสมัยโลหะ
สมัยโลหะนี้มนุษย์อยู่กันเป็นชุมชนหมู่บ้านแล้วก็ขยายเป็นเมืองและเป็นแคว้น
ดังนั้นเมื่อถึงสมัยประวัติศาสตร์จึงมีแคว้นต่าง ๆ ปรากฏขึ้น
แต่ละแคว้นมีวิวัฒนาการและการสิ้นสุดที่แตกต่างกันไป
บางแคว้นเจริญรุ่งเรืองขึ้นมาในระยะคาบเกี่ยวกันบ้าง
ระยะเดียวกันบ้างแล้วได้ผสมผสานรวมกันจนกลายเป็นแคว้นใหญ่
กระจายอยู่ทั่วไปทั้งภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคใต้ และภาคอีสาน

มนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ในดินแดนไทย

            ดินแดนประเทศไทยในปัจจุบัน
มีร่องรอยว่าในอดีตเคยเป็นแหล่งอารยะธรรมเก่าแก่ไม่แพ้ดินแดนอารยธรรมอื่นของโลกนักประวัติศาสตร์และนักโบราณคดีศึกษาค้นคว้าจนได้พบข้อมูลหลักฐานต่าง
ๆ มากมาย
หลักฐานเหล่านี้ได้นำมาศึกษาวิเคราะห์เพื่อนำมาศึกษาหาอายุโดยวิธีการต่างๆ เช่น
วิทยาการทางวิทยาศาสตร์ เรียกว่า
คาร์บอน 14
ซึ่งสามารถคำนวณหาอายุของสิ่งนั้นได้แม่นยำมากกว่าวิธีอื่น วิธีการต่อไปคือ
การนำสิ่งของที่ขุดพบไปเปรียบเทียบกับสิ่งที่ขุดพบก่อนแล้วเป็นการศึกษาโครงสร้างภายนอกเช่น
เครื่องปั้นดินเผาก็จะนำมาเปรียบเทียบเกี่ยวกับอายุ ลักษณะการผลิต รูปแบบ ลวดลาย
ซึ่งจะนำมาเป็นข้อมูลยืนยันว่า วัตถุโบราณชิ้นนั้นอยู่สมัยเดียวกันหรือไม่ ถ้าไม่ใช้ควรจะอยู่ในสมัยใด
ร่องรอยต่าง ๆ ทำให้นักประวัติศาสตร์แบ่งมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ออกเป็น 4
สมัยคือ

1.
สมัยหินเก่า
(Paleolithic Age)

อาณาจักรสุโขทัยมีความสัมพันธ์กับ ดิน แดน ภายนอก อย่าง กว้างขวาง ใน รัช สมัย ใด

ในสมัยสงครามโลกครั้งที่
2 ได้มีการขุดพบเครื่องมือหินของมนุษย์สมัยนี้ ได้แก่
หินกรวดกะเทาะหน้าเดียวบนเนินหินลูกรังข้างทางรถไฟ
ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของสถานีบ้านเก่า
นอกจากนี้ยังมีการขุดพบเครื่องมือหินบริเวณอื่น ๆ เช่น อ.เชียงแสน จ.เชียงราย
อ.แม่ทะ จ. ลำปาง อ.ร้องกวาง จ.แพร่ และบริเวณริมแม่น้ำโขง ริมแม่น้ำคำ
และแม่น้ำเมย ซึ่งสิ่งเหล่านี้แสดงให้เห็นถึงการกระจายอยู่ทั่ว ๆ
ไปของมนุษย์ยุคหินเก่า เพราะเครื่องมือเหล่านี้เป็นเครื่องมือรุ่นเดียวกันคือ
เป็นหินกรวดกะเทาะหน้าเดียว

2.
สมัยหินกลาง
(Mesolithic Age)

ในปี 2504
ได้ขุดค้นพบโครงกระดูกมนุษย์ที่ถ้ำพระ จ.กาญจนบุรี ซึ่งโครงกระดูกนี้มีลักษณะคือ
นอนหงายหนุนก้อนหิน หันหน้าไปทางขวามือ เข่างอ เท้าเหยียบพื้น มือขวาอยู่ใต้คาง
แขนซ้ายพาดอก เหนือหัวและทรวงอกมีแร่เหล็กโปรยอยู่
มีร่องรอยว่ามีการล่าสัตว์เป็นอาหารเพราะ พบซากกระดูกสัตว์ต่าง ๆ และสัตว์น้ำ
ในหลุมศพด้วย ซึ่งอาจหมายถึงมีความเชื่อในในเรื่องการบูชายัญสัตว์ในพิธีศพ
และยังพบเครื่องมือเครื่องใช้ทำจากหินและเครื่องปั้นดินเผารวมอยู่ด้วย
ต่อมาขุดที่ถ้ำผี จ.
แม่ฮ่องสอนพบโครงกระดูกมนุษย์สมัยหินกลางพร้อมทั้งเครื่องมือเครื่องใช้ทำจากหินเศษกระดูกและเครื่องปั้นดินเผาด้วย
สันนิษฐานว่ามนุษย์สมัยนี้อยู่กันเป็นชุมชนที่พัฒนาบ้างแล้วคือ มีลัทธิความเชื่อในเรื่องชีวิตหลังความตายดูได้จากมีพิธีฝังศพทั้งเครื่องมือเครื่องใช้และบริวาร
มีการทำการเกษตรอีกด้วย

3. สมัยหินใหม่ (Neolithic
Age)

ได้มีการขุดพบโครงกระดูกมนุษย์
และขวานหินขัดหรือที่เรียกกันว่า ขวานฟ้า ที่เป็นเครื่องมือของมนุษย์สมัยหินใหม่
ที่มีพัฒนาการและการตกแต่งให้มีประสิทธิภาพ
นอกจากนี้ยังขุดพบเครื่องปั้นดินเผาชนิดที่มีขาและไม่มีขาลักษณะผิวขัดมัน มีสีดำ
ทรงกลม เป็นลักษณะที่โดดเด่นเฉพาะของมนุษย์ยุคหินใหม่
มีทั้งชนิดที่ผลิตขึ้นใช้ในชีวิตประจำวัน และใช้ในพิธีศพ
โดยเชื่อว่าคนที่ตายไปนั้นจะได้ไปอยู่ในสถานที่ศักดิ์สิทธิ์อีกแห่ง
ดังนั้นเครื่องใช้ของคนตายจะสวยงามกว่าที่ใช้ในชีวิตประจำวัน

ในปี พ.ศ. 2510
ได้มีการขุดพบเครื่องปั้นดินเผาแบบที่มี 3 ขาที่บ้านเก่า จ.กาญจนบุรี
ซึ่งเป็นแบบเดียวกันกับที่ลุงชานประเทศจีน
แสดงให้เห็นว่ามีการติดต่อกันทั้งทางสังคมและวัฒนธรรม

ในถ้ำที่ภาคเหนือ
ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบภาพเขียนลายเส้นหลากหลายแบบ เช่น
ภาพเขียนสีที่ผาแต้ม เป็นภาพเขียน 2 มิติเขียนด้วยสีแดง แดงคล้ำแกมน้ำตาลและสีดำ
รูปวาดที่พบก็จะเป็นรูป คน รูปสัตว์ต่าง ๆ และโดยทั่ว ๆ ไปตามถ้ำต่างๆ
ก็จะพบรูปฝ่ามือประทับสี เพื่อแสดงอาณาเขตความเป็นเจ้าของ

มนุษย์ในยุคนี้เริ่มมีการเลี้ยงสัตว์และเพาะปลูก
ทราบได้จากการที่เราได้พบซากแกลบและเมล็ดข้าวที่อยู่อิฐที่พบที่โนนนกทา จ.ขอนแก่น
ซึ่งเป็นข้าวเม็ดกลม
แสดงว่าพัฒนาการของการปลูกข้าวเริ่มมาจากภาคอีสานที่ปลูกข้าวแบบนาดำ
 

4.
สมัยโลหะ 
(Metal
Age)

            มนุษย์สมัยนี้รู้จักทำเครื่องมือเครื่องใช้จากโลหะที่
อ.สวนผึ้ง จ.ราชบุรี ได้มีการขุดพบเครื่องมือง่าย ๆ สำหรับขุดหาแร่
เพราะที่นี่เป็นแหล่งแร่ดีบุกที่สำคัญมาตั้งแต่ 2,000 ปีมาแล้ว
และยังส่งดีบุกออกไปชุมชนอื่น ๆ วัตถุที่พบที่นี่มีลวดลายเหมือนวัตถุที่พบที่บ้านดอนตาเพชรซึ่งแสดงให้เห็นถึงการเดินทางแลกเปลี่ยนสิ่งของเครื่องมือเครื่องใช้ของจำเป็นอื่น

            การฝังศพในสมัยนี้มีลักษณะคือ
ศพนอนหงายเหยียด แขนชิดลำตัว หันหัวไปทางทิศเหนือ มีของฝั่งรวมกับศพ
บางแห่งมีการฝังศพถึง 2 ครั้ง โดยครั้งที่ 2 จะเอากระดูกบางส่วนของมนุษย์ไปฝังรวมกับสิ่งของ
ต่างจากครั้งที่ 1 ซึ่งเป็นการฝังรวมทั้งร่าง

            มนุษย์ในสมัยนี้เริ่มรู้จักการทอผ้าใช้
ทราบได้จากใยไหมที่โครงกระดูกที่บ้านเชียง รู้จักการปลูกข้าว โดยระบบชลประทาน
แทนการทำไร่เลื่อนลอยมีการใช้ควายไถนา

พัฒนาการทางด้านการเมือง การปกครอง สังคมและเศรษฐกิจ

2.1  ด้านการเมืองการปกครอง

ลักษณะการปกครองในสมัยกรุงสุโขทัย

อาณาจักรสุโขทัยมีความสัมพันธ์กับ ดิน แดน ภายนอก อย่าง กว้างขวาง ใน รัช สมัย ใด

     สมเด็จเจ้าบรมวงศ์เธอ
กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
ได้ทรงกล่าวไว้ในเรื่องลักษณะการปกครองประเทศสยามแต่โบราณว่า
วิธีการปกครองของไทยนั้น นับถือพระเจ้าแผ่นดิน เช่น บิดาของประชาชนทั้งปวง
วิธีการปกครองก็เอาลักษณะการปกครองสกุลมาเป็นคติ เป็นต้น
แต่ถือว่าบิดาเป็นผู้ปกครองครัวเรือนรวมกันเป็นบ้านอยู่ในปกครองของ
พ่อบ้านผู้อยู่ในปกครองเรียก ลูกบ้าน หลายบ้านรวมกันเป็นเมือง
ถ้าเป็นเมืองขึ้นอยู่ในปกครองของ
พ่อเมือง ถ้าเป็นประเทศราชเจ้าเมืองเป็น ขุน หลายเมืองรวมกันเป็นประเทศอยู่ในการปกครองของพระเจ้าแผ่นดิน
แต่โบราณเรียกว่า
พ่อขุนข้าราชการตำแหน่งต่างๆ
ได้นามว่า
ลูกขุน ดังนี้
จึงเห็นได้ว่าวิธีการปกครองไทยอย่างบิดา ว่าปกครองบุตร หรือเรียกตามภาษาอังกฤษว่า
Paternal
Government….”

ลักษณะการปกครองในสมัยกรุงสุโขทัย
พอจำแนกได้ ดังนี้

        1.  ลักษณะการปกครองแบบพ่อปกครองลูก  (ปิตุลาธิปไตย)  ในสมัยกรุงสุโขทัยพระเจ้าแผ่นดินคือ       “ พ่อขุน ทรงกระทำหน้าที่ดูแลทุกข์สุขของราษฎร ให้ความใกล้ชิด
รับฟังความเห็นซึ่งกันและกัน ขจัดความเดือดร้อนและให้ความเป็นธรรมแก่ราษฎร
ดังปรากฏในศิลาจารึกด้านที่
1 ว่า ในปากประตูมีกระดิ่งแขวนไว้หั้น
ไพร่ฟ้าหน้าปก กลางบ้านกลางเมือง มีถ้อยมีความเจ็บท้องข้องใจ
มันจักกล่าวถึงเจ้าถึงขุนบ่ไร้ ไปลั่นกระดิ่งอันท่านแขวนไว้
หรือบางครั้งในวันธรรมสวนะพ่อขุนรามคำแหงจะประทับบนพระแท่น ขะดารหิน หรือพระแท่น มนังคศิลาบาตร
เพื่อทรงอบรมสั่งสอนเหล่าพสกนิกรของพระองค์อย่างใกล้ชิด ปรากฏในศิลาจารึกด้านที่
๓ “มิใช่วัดสวดธรรมพ่อขุนรามคำแหง เจ้าเมืองสุโขทัยขึ้นนั่งเหนือขะด่านหิน
ให้ฝูงท่วยลูกเจ้าลูกขุนฝูงท่วยถือบ้านถือเมือง”

       การปกครองแบบพ่อปกครองลูก   เป็นลักษณะการปกครองภายในท้องถิ่น
ซึ่งแสดงลักษณะความสัมพันธ์ระหว่างเจ้าเมืองกับราษฎร (ไพร่)
ภายในเมืองหนึ่งภายในช่วงระยะเวลาหนึ่งว่ามีความใกล้ชิดกันเพราะจำนวนประชากรยังไม่มาก
การปกครองดังกล่าวนี้เป็นการปกครองเฉพาะรัชกาลแรกแห่งอาณาจักรสุโขทัยเท่านั้น

พระมหากษัตริย์ไทยสมัยสุโขทัยมีฐานะเป็นบุคคลเช่นเดียวกับราษฎรมิใช่เป็นสมมติเทพ  มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกันมาก
อันเป็นลักษณะเด่นของการปกครองบิดาปกครองบุตร นั่นคือ
ผู้ปกครองและผู้อยู่ใต้ปกครองมีความร่วมมือกัน
ต่างฝ่ายต่างรับฟังความคิดเห็นซึ่งกันและกัน

    
สำหรับแนวคิดทางการเมืองที่ยกย่องพระมหากษัตริย์เป็นสมมติเทพนั้นเข้าใจว่ากรุงสุโขทัยอาจได้รับอิทธิพลของลัทธิเทวราชจากเขมรมาบ้าง
ลัทธิเทวราชของเขมรถือว่าพระมหากษัตริย์คือ พระผู้เป็นเจ้า
ตามคติความเชื่อของชาวอินเดียที่นับถือศาสนาพราหมณ์หรือฮินดู
กษัตริย์กรุงสุโขทัยตั้งแต่แผ่นดินพระมหา
-ธรรมราชาที่ ๑ (ลิไท)
ทรงมีฐานะเป็น “สมมติเทพ”
ดังนั้นประเพณีเกี่ยวกับองค์พระมหากษัตริย์และพระราชวงศ์จะแตกต่างกับคนธรรมดาสามัญ
พ่อขุนหรือพระมหากษัตริย์มีอำนาจการปกครองอย่างเด็ดขาด
แต่ทรงใช้พระราชอำนาจอยู่ในขอบเขตของทศพิธราชธรรม และมีข้าราชการหรือลูกน้องทั้งปวงได้ดำเนินการต่างพระเนตรพระกรรณทั้งโดยตรงและโดยอ้อม

     2.  ลักษณะการปกครองแบบทหาร
การปกครองพระราชอาณาจักรในสมัยกรุงสุโขทัยนั้นถือเอาความมั่นคงปลอดภัยของชาติบ้านเมืองเป็นหลัก
ดังนั้นบรรดาพลเมืองที่เป็นชายทุกคนจึงต้องเป็นทหาร
แม้แต่พระเจ้าแผ่นดินก็ต้องทรงเป็นจอมทัพ
เวลาบ้านเมืองสงบเรียบร้อยบรรดาเจ้าขุนมูลนายต่างก็ทำมาหากินรับราชการมีการบังคับบัญชาว่ากล่าวแบบพลเมืองแต่ถ้าบ้านเมืองเกิดศึกสงครามขึ้นก็ต้องมีการบังคับบัญชากันแบบทหาร 
อำนาจการบังคับบัญชาได้กำหนดขึ้นตามเขตปกครองท้องที่เป็นหลัก 
คือภายในเขตมณฑลราชธานีกับหัวเมืองชั้นในรวมกันเป็นทัพหลวงอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของพ่อขุน
ส่วนหัวเมืองชั้นนอกหรือที่เรียกว่า เมืองพระยามหานคร นั้นก็เกณฑ์ผู้คนจากในเมืองของตนไปสมทบอีกกองพลหนึ่ง
มีเจ้าเมืองเป็นผู้บังคับบัญชา
ส่วนเมืองประเทศราชนั้นก็ต้องเกณฑ์ไพร่พลไปรบด้วยกองทัพหนึ่ง
เมื่อเสร็จศึกสงครามแล้วต่างก็กลับไปทำมาหากินตามปกติ

    3.  ลักษณะการปกครองแบบกระจายอำนาจ  ในทางทฤษฎีถือกันว่าอำนาจสูงสุดในการปกครองอยู่ที่พระมหากษัตริย์
แต่ในทางปฏิบัติน่าเชื่อว่า
กษัตริย์มิได้มีอำนาจเด็ดขาดต้องแบ่งปันการใช้อำนาจในหมู่เจ้าและขุนนางด้วยกัน
ทั้งนี้เพราะในยุคสมัยนั้นยังขาดปัจจัยหลายด้านที่จะเชื่อมให้เกิดการรวมอำนาจที่ศูนย์กลาง
ดังนั้นอาณาจักรสุโขทัยก็ไม่น่าจะมีอำนาจอย่างเต็มที่ที่จะควบคุมเมืองต่างๆได้โดยตรงและอย่างเข้มแข็ง
อาจจะคุมได้เฉพาะเมืองลูกหลวงที่อยู่ใกล้เมืองหลวง
ซึ่งคุมได้ด้วยการใช้ระบบเครือญาติ การแต่งงานและการเกี่ยวดองยอมรับนับถือกัน

     
ในสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราชการปกครองแบบกระจายอำนาจได้เกิดขึ้นอย่างเห็นได้ชัดเพราะบ้านเมืองสงบและมีอาณาเขตกว้างขวาง
พลเมืองเพิ่มมากขึ้น
พระองค์จึงใช้นโยบายแบบกระจายอำนาจโดยให้ความช่วยเหลือเกื้อกูลดูแลรักษาบ้านเมืองไปปกครองเมืองต่างๆหลายเมือง
เช่น เมืองพระบาง เมืองเชียงทอง เมืองคณฑี เป็นต้น

      4.  ลักษณะการปกครองคล้ายแบบประชาธิปไตย  ในสมัยกรุงสุโขทัยผู้มีอำนาจสูงสุดคือ
พระเจ้าแผ่นดิน แต่พระองค์ก็มิได้รวมอำนาจไว้ที่ศูนย์กลาง แต่กลับให้สิทธิเสรีภาพ
อย่างกว้างขวางแก่พลเมืองของพระองค์ท่าน 
จึงพอจะนับได้ว่าในสมัยกรุงสุโขทัยได้มีการปกครองคล้ายระบอบประชาธิปไตย

     

อาณาจักรสุโขทัยมีความสัมพันธ์กับ ดิน แดน ภายนอก อย่าง กว้างขวาง ใน รัช สมัย ใด

5.  ลักษณะการปกครองแบบธรรมราชา  หลังรัชกาลพ่อขุนรามคำแหงหาราช
ฐานะของพระมหากษัตริย์เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมบ้าง คำนำหน้าพระนามเปลี่ยนเป็น “พญา”
เช่น พญาเลอไท พญางั่วนำถม นับตั้งแต่สมัยพระมหาธรรมราชาที่ 1 (ลิไท)
จะเน้นความเป็นธรรมราชามากขึ้น คำนำหน้าพระมหากษัตริย์จะขึ้นต้นว่า “พระมหาธรรมราชา”
ทุกพระองค์

     
แนวคิดเรื่องธรรมราชาปรากฏอยู่ในวรรณกรรมเรื่อง ไตรภูมิพระร่วง ซึ่งพระมหาธรรมราชาที่
1 (ลิไท) พระราชนิพนธ์ขึ้น มีหลักสำคัญที่พระมหากษัตริย์จะต้องทรงยึดปฏิบัติคือ

1.           

ต้องเป็นนักปราชญ์และรู้ธรรมสั่งสอนพลเมืองได้

2.           

เอาใจใส่ทำนุบำรุงศาสนา
สร้างถาวรวัตถุในทางศาสนา ตลอดจนออกบวช

3.           

มีความสามารถในการปกครอง
สร้างความเป็นปึกแผ่นให้กับอาณาจักร

4.           

สร้างความร่มเย็นเป็นสุข
ความอยู่ดีกินดีให้เกิดขึ้นแก่ราษฎรในอาณาเขต

อาณาเขตของอาณาจักรสุโขทัย

อาณาจักรสุโขทัยมีความสัมพันธ์กับ ดิน แดน ภายนอก อย่าง กว้างขวาง ใน รัช สมัย ใด

      ในรัชกาลพ่อขุนรามคำแหงมหาราช
หลังจากที่ได้ทำสงครามขยายอาณาเขตแล้วปรากฏว่า
อาณาจักรสุโขทัยแผ่ขยายอาณาเขตกว้างขวางมาก จากหลักฐานเท่าที่ปรากฏในศิลาจารึก
หลักที่ 1 อาจกล่าวได้ว่า อาณาจักรในรัชกาลนี้เป็นดังนี้

       ทิศเหนือ อาณาเขตถึงเมืองหลวงพระบาง
โดยมีเมืองต่างๆ คือ เมืองแพร่ เมืองน่าน เมือง...เมืองปัวเข้ามาอยู่ในอำนาจด้วย

       ทิศใต้ อาณาเขตถึงฝั่งทะเลสุดแหลมมลายู
โดยมีเมืองต่างๆ คือ เมืองคณฑี เมืองพระบาง เมืองแพรก เมืองสุพรรณภูมิ
เมืองราชบุรี เมืองเพชรบุรี และเมืองนครศรีธรรมราชเข้ามาอยู่ในอำนาจ

       ทิศตะวันออก
อาณาเขตถึงเมืองเวียงจันทน์และเมืองเวียงคำ โดยมีเมืองสระหลวง เมืองสองแคว
เมืองลุมบาจาย และเมืองสระคาอยู่ในอำนาจ

       ทิศตะวันตก
อาณาเขตถึงเมืองหงสาวดีจดมหาสมุทร โดยมีเมืองฉอด เมือง...เข้ามาอยู่ในอำนาจ

        เมื่อสิ้นรัชกาลพ่อขุนรามคำแหงมหาราชแล้ว
หัวเมืองต่างๆที่เคยอ่อนน้อมต่างก็เป็นอิสระ กษัตริย์องค์ต่อมาไม่มีอำนาจปราบปรามการแตกแยกได้
ในสมัยพระมหาธรรมราชาที่ 1 (ลิไท) ทรงปกครองหัวเมืองต่างๆ
โดยมีสัมพันธไมตรีกับหัวเมืองทางภาคเหนือ
อาทิการให้อภิเษกสมรสกับเจ้าหญิงเมืองน่าน
หรือการส่งสมุนสมณะเถระอัญเชิญพระสารีริกธาตุไปบรรจุในพระเจดีย์เมืองเชียงใหม่
ทำให้ทั้งสองอาณาจักรมีความสัมพันธ์อันดีต่อกัน อาณาเขตในรัชกาลพระมหาธรรมราชาที่
1 (ลิไท) จากหลักฐานศิลาจารึกมีดังนี้       

ทิศเหนือ
จดเมืองแพร่

       ทิศใต้ จดเมืองพระบาง
(นครสวรรค์) ชากังราว ปากยม นครพระชุม สุพรรณภาว 
เมืองพาน

       ทิศตะวันออก จดอาณาจักรล้านช้าง
เมืองสระหลวง สองแคว เมืองราด สะคา

 ลุมบาจาย

       ทิศตะวันตก จดเมืองฉอด

          ถึงอย่างไรก็ตาม
อาณาเขตที่แท้จริงของอาณาจักรสุโขทัยดังกล่าวนั้น
ถ้าประชากรได้หาประโยชน์จากพื้นที่อันมีอยู่แล้วให้มากที่สุด
ก็สามารถรวมตัวกันอยู่ได้อย่างเข้มแข็ง
แต่เมื่อได้มีการขยายอาณาจักรออกไปกว้างมากเกินกำลังประชากร
การป้องกันอาณาเขตก็จะเป็นภาระหนักมากสำหรับประชากรในอาณาจักรนั้น
รวมทั้งไม่สามารถใช้ประโยชน์ในพื้นที่ จากรัชกาลพ่อขุนรามคำแหง มหาราชแล้ว
บ้านเมืองแตกแยกออกไปทั้งหมด การที่อาณาจักรเกิดการแตกแยกนี้เป็นผลร้ายที่ทำให้ประชากรไม่สามารถรวมตัวกันได้
กำลังกองทหารก็จะต้องอ่อนแอตามไปด้วย
ซึ่งชี้ให้เห็นว่าอาณาจักรที่อ่อนแอทางด้านเศรษฐกิจและกำลังทหารนั้น
มักจะดำเนินนโยบายของรัฐไปไม่ได้ดี
และมักจะเป็นเช่นนี้เสมอสำหรับอาณาจักรในแถบแหลมทองในพุทธศตวรรษที่ 18-20


 สรุป

        เมื่ออาณาจักรขอมเจริญรุ่งเรืองสูงสุดในพุทธศตวรรษที่  17  นั้น   อิทธิพลของขอมแผ่ขยายครอบคลุมดินแดนสุวรรณภูมิ  อารยธรรมหรือวัฒนธรรมของขอมจึงแทรกซึมไปในหมู่ประชากรของบริเวณนี้อย่างทั่วถึงและผสมตลุกเคล้าเป็นวัฒนธรรมสืบต่อมาจนถึงปัจจุบัน        ครั้นอาณาจักรขอมเสื่อมลงในตอนปลายพุทธศตวรรษที่  18  กลุ่มคนไทยหรืออาณาจักรต่างๆ
ของคนไทยที่เคยตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของขอมจึงต่างพยายามตั้งตนเป็นอิสระ

  แบบทดสอบ

1.               

อาณาจักรสุโขทัยที่รุ่งเรืองที่สุดในสมัยใด
1)
สมัยพ่อขุนศรีอินทราทิตย์

2) สมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช

3) สมัยพญาไสลือไท
4)
สมัยพ่อขุนบาลเมือง


2.
 อาณาจักรสุโขทัยเลื่อมลงและตกเป็นเมืองขึ้นของกรุงศรีอยุธยา
เมื่อสมัยใด

1) สมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช

       2) สมัยพ่อขุนบาลเมือง

       3) สมัยพญาไสลือไท

       4) สมัยพ่อขุนศรีอินทราทิตย์

3. ลักษณะการปกครองของกรุงสุโขทัย เป็นแบบใด
1) แบบบิดาปกครองบุตร

       2) แบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์

       3) ปกครองแบบเผด็จการคอมมิวนิสต์

       4) ไม่มีการปกครองแบบใดทั้งสิ้น

เมืองอาณาจักรใดมีความสัมพันธ์ที่ดีกับสุโขทัย

1.2 นครน่าน ในหลักฐานจารึกพ่อขุนรามคำแหงมหาราชระบุว่า น่านอยู่ใน ฐานะประเทศราชของสุโขทัย มีไมตรีจิตที่ดีต่อกัน นอกจากนี้พระราชโอรสของ พระมหาธรรมราชาที่ 1 (ลิไทย) ได้เสกสมรมกับธิดาของพระยาคำตัน เจ้าผู้ครองนคร น่าน ความสัมพันธ์จึงแน่นแฟ้นยิ่งขึ้น ให้ความช่วยเหลือกันและกันมาโดยตลอด

อาณาเขตการปกครองที่กว้างขวางที่สุดของอาณาจักรสุโขทัยอยู่ในสมัยใด

เนื่องจากในสมัยพ่อขุนรามคำแหงอาณาจักรสุโขทัยมีอาณาเขตกว้างขวางมากที่สุด จึงจำเป็นต้องมีการปกครองแบบกระจายอำนาจโดยแบ่งหัวเมืองออกเป็น ชั้น ๆเพื่อกระจายอำนาจในการปกครองออกไปให้ทั่วถึง เมืองต่าง ๆในสมัยสุโขทัยแบ่งออกเป็น 4 ชั้น แต่ละชั้นพระมหากษัตริย์ทรงใช้อำนาจในการปกครองดังนี้

อาณาจักรอยุธยาและอาณาจักรสุโขทัยมีความสัมพันธ์ในรูปแบบใด

อาณาจักรสุโขทัยกับอาณาจักรอยุธยา มีความสัมพันธ์เมื่อสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑(พระเจ้าอู่ทอง) แห่งอาณาจักรอยุธยา ทรงยกทัพมายึดเมืองพิษณุโลก ซึ่งเป็น เมืองลูกหลวงของอาณาจักรสุโขทัย ทำให้สุโขทัยต้องส่งเครื่องราชบรรณาการ และส่งคณะทูต เพื่อเจรจาขอเมืองพิษณุโลกคืน สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ ทรงพระราชทานเมืองพิษณุโลกคืนแก่อาณาจักร ...

อาณาจักรสุโขทัยกับลังกามีความสัมพันธ์กันในด้านใดสำคัญที่สุด

อาณาจักรสุโขทัยกับลังกาส่วนใหญ่มีความสัมพันธ์กันทางด้านพระพุทธศาสนา ในสมัยพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ สุโขทัยได้รับพระพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์มาจากเมืองนครศรีธรรมราช พระองค์ได้ทรงส่งราชทูตไปยังลังกาพร้อมกับราชทูตของเมืองนครศรีธรรมราช เพื่อขอพระพุทธสิหิงค์มาไว้สักการบูชาที่อาณาจักรสุโขทัย ทำให้อาณาจักรสุโขทัย ได้แบบอย่างพระพุทธ ...