แนวทางแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจชุมชน

ประเทศไทยเป็นประเทศกำลังพัฒนา มีหลายปัจจัยที่ใช้ชี้วัดสถานะดังกล่าวแต่สิ่งที่มักจะถูกหยิบยกขึ้นมาใช้เป็นตัววัด คือ รายได้ต่อหัว หรือ GDP (Gross Domestic Product) ซึ่งเป็นตัววัดที่ไม่ได้สะท้อนถึงความอยู่ดีกินดี และคุณภาพชีวิตที่แท้จริงของคนในประเทศเพราะ GDP นั้นเกิดในยุคอุตสาหกรรมที่เน้นการผลิตให้มากที่สุด โดยไม่คำนึงถึงคุณภาพของสินค้าหรือการทำลายทรัพยากรธรรมชาติ  (Environmental Degradation) ไม่นับกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่สร้างการเติบโตนอกระบบ (เช่น การทำงานอาสาสมัคร การขายบริการทางเพศ หวยใต้ดิน) และที่สำคัญไม่สามารถชี้วัดระดับความกินดีอยู่ดี (welbeing) ของประชนในยุคที่ความเหลื่อมล้ำสูงได้  ตลอดหลายสิบปีที่ผ่านมานั้น การพัฒนาทุ่มให้กับด้านเศรษฐกิจแบบทุนนิยมเพียงมิติเดียว ละเลยการพัฒนาด้านอื่น ๆ การส่งเสริมให้บริโภคเกินขีดจำกัดของความยั่งยืน (Overconsumption) การละเลยการพัฒนาด้านมนุษย์และสังคม และทวีความรุนแรงด้านความเหลื่อมล้ำ ซึ่งผู้ที่จะได้รับความเดือดร้อน มักจะเป็นชุมชนเล็ก ๆ คนรากหญ้า หรือคนจนที่มีช่องทางหารายได้จำกัดและมีจำนวนมาก  หนำซ้ำ การพัฒนาทางเศรษฐกิจแบบสุดโต่ง ยังเป็นเหตุให้หลายชุมชนชนบทล่มสลายและเกิดปัญหาสังคมตามมาอีกด้วย

Show

บทความนี้บอกเล่าถึง สถานการณ์และประเด็นความท้าทายที่สำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจระดับชุมชนที่เห็นว่าเป็นประเด็นน่าสนใจ ตั้งแต่ปัญหาการกระจายรายได้ในการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน ต่อด้วยผลกระทบที่ชุมชนกำลังเผชิญ  และความท้าทายการในพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนให้ยั่งยืน 

การกระจายรายได้ที่ไม่เท่าเทียม

การพัฒนาเศรษฐกิจแบบทุนนิยมมักจะเกิดความไม่เท่าเทียมกันทางเศรษฐกิจอยู่เสมอ สิ่งที่เห็นได้ชัดคือ การกระจายรายได้ของคนในชุมชนในทุกอุตสาหกรรม ตั้งแต่การท่องเที่ยว การเกษตร และอุตสาหกรรมแปรรูป ซึ่งทั้งหมดเป็นแหล่งรายได้หลักของประเทศไทยและมีชุมชนเกี่ยวข้องโดยตรง

การท่องเที่ยว

ประเทศไทยพึ่งพาการท่องเที่ยวกว่า 20% ของ GDP โดยในช่วงก่อนโควิด 19 รายได้จากการท่องเที่ยว คิดเป็น 17% ของ GDP โดยมี 10% มาจากนักท่องเที่ยวต่างชาติ  มีรายได้เข้าประเทศกว่า 2 ล้านล้านบาท ดังนั้น การท่องเที่ยวได้ช่วยสร้างอาชีพและการจ้างงาน ยกคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนให้ดีขึ้น กระตุ้นเศรษฐกิจ-การผลิต ช่วยลดปัญหาการอพยพเข้าไปในเมือง และช่วยอนุรักษ์ ฟื้นฟูวัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อม อย่างไรก็ดี รายจ่ายเหล่านั้นคิดเป็นมีเพียง 5% ที่กลับไปสู่คนในชุมชน อีก 15% หมุนเวียนอยู่ในมือนายทุนคนไทย และอีก 80% อยู่ในกระเป๋าสายการบิน โรงแรมและเอเจนซี่ท่องเที่ยวต่างประเทศ

การเกษตร

ในอดีต ประเทศไทยเคยมีข้าวหมื่นสายพันธุ์ ทว่าลดน้อยลงเรื่อยๆ จากปัจจัยสิ่งแวดล้อมและสังคมเกษตรที่เปลี่ยนแปลงไป ภาพจาก สวนผักคนเมือง

อุตสาหกรรมในชุมชน

อุตสาหกรรมในชุมชน คือ การผลิตง่าย ๆ โดยมีคนในครอบครัวหรือหมู่บ้านทำ เช่น หัตถกรรมจักสาน เซรามิก ไม้กวาดดอกหญ้า น้ำตาล เป็นต้น โดยที่แต่ละกลุ่มมีสินค้าของตัวเองทำให้ชุมชนมีเศรษฐกิจในชุมชน เงินหมุนเวียนอยู่ในชุมชน  อย่างไรก็ดี อุตสาหกรรมในชุมชนมักจะไม่มีกำไรมากเพราะมักผลิตไว้เพื่อบริโภคมากกว่าขาย และเมื่อต้องการขายจริงจังเพื่อตอบรับตลาดสินค้าท้องถิ่น ชาวบ้านก็มักขาดความรู้ เช่น การคิดต้นทุน การทำบัญชี การเข้าถึงลูกค้า ขาดนวัตกรรมและเทคโนโลยีในการผลิตและจัดการ ขาดโอกาสในการแข่งขัน และขาดเงินทุน  ทำให้คนในชุมชนไม่สามารถแข่งขันกับนายทุนเข้ามาแฝงตัวเล่นในตลาดนี้

นอกจากนี้ในช่วง 10 กว่าปีให้หลัง สินค้าอุตสาหกรรมในชุมชนได้กลายเป็นที่รู้จักในนาม สินค้า OTOP หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ คือ การเปลี่ยนการผลิตสินค้าหลากหลายในยุคก่อนหน้าให้กลายเป็น 1 ชุมชนผลิต 1 สินค้า มีข้อเสีย เช่น ชุมชนจะต้องพึ่งพารายได้จากคนนอกชุมชน และเพิ่มการพึ่งพาสินค้าจากนอกชุมชน เป็นต้น ซึ่งสินค้า OTOP ในปัจจุบัน มีมากกว่า 20,000 รายการ แต่เกือบครึ่งไม่สามารถก้าวสู่ตลาดโลกได้ เนื่องจาก ยังขาดการพัฒนาแบรนด์ที่มีสินค้าหลากหลายแต่มีเอกลักษณ์ร่วมกัน แตกต่างจากคู่แข่งตำบลอื่น ๆ  ขาดการพัฒนาต่อรากฐานจากภูมิปัญญา ขาดการปรับปรุงสินค้าให้มีมาตรฐานที่จะทำให้ลูกค้าซื้อซ้ำหรือบอกต่อ และขาดการตั้งราคาที่สอดคล้องกับต้นทุน

ควบสอง-ขอ-กู้ วิธีแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าจากพิษเศรษฐกิจชุมชนที่ไม่ยั่งยืน

ประเทศไทยเหลื่อมล้ำสูงเป็นอันดับต้นของโลก โดยมีคนเพียง 1% ที่ถือครองทรัพย์สิน 67% ของทรัพย์สินทั้งประเทศ ในขณะที่อีก 99 % ถือครองทรัพย์สิน 33% ที่เหลือ รวมถึงในระดับจุลภาพด้วย ชุมชนเองก็มีคนหลากหลายกลุ่มรายได้ และมีลักษณะ ‘รวยกระจุก จนกระจาย’ เช่นกัน  ชาวบ้านหาเช้ากินค่ำจึงต้องจัดการหารายได้ทางอื่น ยกตัวอย่างความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจชุมชนด้วยกรณีของชาวไร่ชาวนา กลุ่มที่มีปัญหาด้านเศรษฐกิจมากที่สุด พวกเขาต้องทำงานสองกะ/สองงาน (ชาวไร่ชาวนาได้รายได้ 40% มาจากผลิตผลทางการเกษตร อีก 60% ทำงานรับจ้างในเมือง หรือขับแท็กซี่นอกฤดูเกษตร) หรือจะขอความช่วยเหลือจากลูกหรือญาติที่ทำงานในเมือง หากไม่พอก็จำเป็นต้องขายทรัพย์สิน ซึ่งส่วนมากเป็นที่ดินมรดก โดยที่ชาวบ้านไม่สามารถแบ่งขายได้ เพราะนายทุนต้องการซื้อที่ดินแบบยกผืนแลกกับราคาที่ดี และสุดท้าย ก็ต้องเช่าที่ทำนา แถมยังต้องกู้ทั้งในและนอกระบบ เพื่อมาลงทุนในการเกษตร ทำให้ทุกวันนี้ 71% ของชาวนาทำนาบนที่ดินติดจำนองหรือเช่าจากนายทุน

ทางออกปัญหาเศรษฐกิจชุมชนคือคนรุ่นใหม่ (จริงหรือ) ?

ปัจจุบันชาวไร่ชาวนาคือคนส่วนน้อยในชุมชน ที่เห็นมากคือคนแก่และเด็ก เราจะสามารถพึ่งเด็กรุ่นใหม่ ให้เป็นความหวังในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและพัฒนาชุมชนได้หรือไม่ ในเมื่อพวกเขาได้เข้าไปเรียนและทำงานในเมือง เป็นผู้หารายได้มาจุนเจือครอบครัวที่อยู่ชุมชน ประกอบกับผลกระทบจากโควิด-19 ทำให้สถานที่ประกอบการ ต้องปรับการทำงาน ลดคน และวัยทำงานย้ายออกจากเมือง 8% ไปอยู่ชนบท จึงเป็นโอกาสที่น่าสนใจมาก 

แต่เมื่อลองพิจารณาสถานการณ์จริงในชุมชนดูแล้ว พบว่า บริบทชุมชนอาจยังไม่สามารถตอบโจทย์ของคนรุ่นใหม่ ในกลุ่มลูกหลานชาวไร่ชาวนาให้อยู่ในชุมชนได้ ทั้งในแง่ของรายได้ที่เพียงพอต่อภาระ ความต้องการด้านงานที่มีความท้าทาย ได้พัฒนาทักษะ เครือข่าย โอกาสในการเข้าถึงองค์ความรู้และการพัฒนาตัวเอง และมีเส้นทางความก้าวหน้าในอาชีพ (career path) ดังนั้น หากยังไม่มีโอกาสด้านการงาน ทางออกปัญหาเศรษฐกิจชุมชนอาจจะยังไม่ใช่คนรุ่นใหม่ในตอนนี้

ประเด็นที่น่าสนใจเรื่องความท้าทายในการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน

  1. การพัฒนาเศรษฐกิจหมุนเวียนและยั่งยืน หนทางหนึ่งคือการที่คนในชุมชนเป็นลูกค้าของกันและกันได้ มีสินค้าและบริการหลากหลาย และตอบโจทย์คนในชุมชน กระจายรายได้เข้าสู่ชุมชนทำให้ลดการพึ่งพาสินค้าจากภายนอก ไม่ใช่การที่ทุกคนในชุมชนมาพัฒนาสินค้าและบริการเดียว และต้องรอลูกค้าที่เป็นคนนอกชุมชน อย่างที่มีปัญหาในช่วงโควิดที่คนไม่สามารถเดินทางได้มากนัก  การพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนส่วนใหญ่ ยังขาดโมเดลที่เงินทุกบาทไหลและวนเวียนอยู่ในชุมชน
  2. จากการวิเคราะห์โอกาส ‘เศรษฐกิจชุมชน’ เทรนด์การตื่นรู้ของผู้บริโภคยังเปิดโอกาสใหม่ ๆ ในลักษณะ Local to Local Economy (สองชุมชนเป็นลูกค้าของกันและกัน) และเปิดโอกาส Local to Global Economy ในการเข้าตลาดโลกด้วย แต่จะไม่ได้เลยหากเรายังขาดความเป็นมืออาชีพ (การทำตามข้อตกลง การสร้างความเชื่อถือในคุณภาพ) การบริหารต้นทุน โดยใช้เครื่องมือทันสมัย และ การบริหารความสัมพันธ์กับลูกค้า การดูแลรักษาความเชื่อมั่นไว้วางใจเพื่อให้ลูกค้ากลับมาซื้อ และสุดท้ายเพื่อให้สามารถแข่งขันกับนายทุนได้
  3. ยังมีอีกโมเดลในการทำงาน โดยไม่ต้องแข่งขันกับนายทุน แต่เป็นการร่วมมือกับนายทุน และเรียนรู้จุดแข็งของเขา ตั้งแต่การจัดการ องค์ความรู้การตลาดและการค้าขายแบบปลีก ตัวอย่างเช่น การร่วมกันทำตลาด ‘Local Sourcing’ที่เปิดโอกาสให้ชาวบ้านได้พบและรับผลตอบรับจากลูกค้า โดยไม่ผ่านพ่อค้าคนกลาง (เป็นการลดการใช้สารพิษในสินค้าสด และลดการแพร่กระจายโรคในสัตว์) เพราะธุรกิจแบ่งปัน (Sharing Economy) คือทางรอดของธุรกิจ ที่เปิดโอกาสให้ทั้งชาวบ้านและนายทุนคิดนอกกรอบมากขึ้น โดยยังคงตัวตนและเสน่ห์ของตัวเองไว้ และหาทางใช้ประโยชน์จากทรัพยากรตัวเองให้มากที่สุด
  4. นักท่องเที่ยวภายในประเทศไทยกว่า 73% มีแนวโน้มที่จะเลือกการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน และต้องการใกล้ชิดกับธรรมชาติ พวกเขาต้องการมั่นใจว่า เงินที่ใช้จ่ายไป จะถูกกระจายไปสู่คนทุกระดับในสังคม และรู้สึกหงุดหงิดหากที่พักไม่เอื้อให้พวกเขาสร้างความยั่งยืน เช่น ไม่เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ อุปกรณ์ หรือสิ่งของอำนวยความสะดวกที่สามารถรีไซเคิลได้ ซึ่งการท่องเที่ยวเชิงชุมชนและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมนั้น ช่วยกระตุ้นการท่องเที่ยวเมืองรอง ลดจำนวนนักท่องเที่ยวที่มากเกินในเมืองหลัก และยังดึงดูดกลุ่มนักท่องเที่ยว ‘Work from Anywhere’ ที่มีศักยภาพในการจ่ายสูงและพักนาน

ตัวอย่างการพัฒนาเศรษฐกิจระดับชุมชนที่น่าสนใจ

  • สถาบันการเรียนรู้พังงาแห่งความสุข
ภาพจากสถาบันการเรียนรู้พังงาแห่งความสุข

สถาบันที่ต้องการถ่ายทอดวิธีการสร้างชุมชนที่คนมีความสุข จากบทเรียนการทำงานขับเคลื่อนมายาวนานกว่า 10 ปีของ ชุมชน ภาคประชาสังคม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สร้างชุมชนแข็งแกร่ง จนสามารถทำงานร่วมกับภาครัฐในการสร้างยุทธศาสตร์และทิศทางในการพัฒนาจังหวัดร่วมกันได้  โดยเน้นการสร้างความสุข สร้างพลังประชาชน ส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการรวมตัว ร่วมคิด ร่วมทำ ในทุกเรื่อง ทุกพื้นที่ทุกเครือข่ายประเด็น เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและขยายไปสู่พื้นที่อื่นไปพร้อมๆ กัน

  • สถาบันไทยเบิ้งโคกสลุงเพื่อการพัฒนา
ภาพจากสถาบันไทยเบิ้งโคกสลุงเพื่อการพัฒนา

สถาบันไทยเบิ้งโคกสลุงเพื่อการพัฒนาเป็นองค์กรในการขับเคลื่อนการทำงาน โดยมีเป้าหมายที่สำคัญคือ ความสุขร่วมของคนในชุมชนบนวิถีวัฒนธรรมไทยเบิ้ง เพื่อพัฒนาคนกระบวนการ ให้เท่าทันความเปลี่ยนแปลงของสังคม   พัฒนาความยั่งยืนของชุมชน ภายใต้วิถีวัฒนธรรมชุมชนภูมิปัญญาท้องถิ่น และ สร้างความร่วมมือเครือข่ายการทำงานทุกภาคส่วน

  • โครงการศึกษาอัตลักษณ์ของเมืองสกลนครและต่อยอดในรูปแบบเศรษฐกิจสร้างสรรค์ – The Cloud
  • โครงการต่อยอดมาเป็นการถ่ายทอดความรู้จากมหาวิทยาลัยไปสู่ผู้ประกอบการรายย่อย โดยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

อีก 2 เรื่องที่น่าสนใจในการพัฒนาชุมชน

ลิงก์แหล่งที่มาของข้อมูลและข้อมูลที่น่าสนใจ 

  • School of Changemakers – 8 Insights ถอดบทเรียนจากการทำงานชุมชน
  • School of Changemakers – ความท้าทายในการพัฒนาชุมชน
  • บทวิเคราะห์สถานการณ์ สาขาธุรกิจท่องเที่ยว ปี 2564 และแนวโน้มปี 2565 โดย นายณัฏฐกฤติ นิธิประภา ฝ่ายวิเคราะห์สถานการณ์และเตือนภัยทางเศรษฐกิจ กันยายน 2564
  • การศึกษาอิสระการกระจายผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจจากการท่องเที่ยว ในชุมชนท้องเนียน อ.ขนอม จ.นครศรีธรรมราช โดย ภคพร คงแก้ว
  • Bangkokbiznews – หนี้สินครัวเรือนไทยเป็นนิวนอร์มอล 
  • Marketingoops – 3 จุดอ่อน “OTOP ไทย” กับ 5 เคล็ดลับความสำเร็จ 20 แบรนด์ไทยไม่แพ้ชาติใดในโลก
  • OpenDevelopment – ผลกระทบทางสังคมและสิ่งแวดล้อมจากการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ
  • The 101 World (Politics) – แพงทั้งแผ่นดิน ถูกอย่างเดียวคือค่าแรง: เสียงจากคนขับรถ ชาวนา และชาวประมง
  • Workpoint Today – ท่องเที่ยววิถีชุมชนอย่างยั่งยืน ลดความเหลื่อมล้ำในยุคดิจิทัล 
  • สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ – เกษตรกรรมยั่งยืน (Sustainable Agriculture)
  • บทบาทอุตสาหกรรมต่อการบริโภคและการผลิตที่ยั่งยืน โดย รศ.ดร.ธภัทร ศิลาเลิศรักษา
  • สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม – สรุปผลสำรวจภาวะการทำงานของประชากร เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563

แนวทางการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจในชุมชนมีอะไรบ้าง

แนวทางในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจในชุมชน มีดังนี้ - การจัดตั้งสหกรณ์เพื่อร่วมแก้ปัญหาเศรษฐกิจในชุมชน เป็นการสร้างความร่วมมือทางเศรษฐกิจให้เกิดขึ้นภายในชุมชน ในรูปแบบของสหกรณ์ที่เปิดรับสมาชิก คือ คนในชุมชนเข้ามีส่วนร่วมในการดำเนินการทางเศรษฐกิจ

การแก้ปัญหาเศรษฐกิจชุมชนของภาครัฐมีแนวทางอย่างไรบ้าง

1. รัฐบาลจะเพิ่มเงินกองทุนของสถาบันการเงินในรูปของการถือหุ้น 2. รัฐบาลจะเข้าแทรกแซงสถาบันการเงินและบริษัทเงินทุนที่ด้อยคุณภาพ 2.1 โอนสินทรัพย์คุณภาพดี 2.2 รวมกิจกรรมเข้าด้วยกันและปรับโครงสร้างใหม่โดยขยายเครือข่ายสาขา

แนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจในชุมชนมีปัจจัยสำคัญอย่างใดบ้าง

ปัจจัยที่มีผลต่อพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน หมายถึง ด้านสภาพเศรษฐกิจ ด้านการประกอบ อาชีพเพื่อสร้างรายได้ และด้านสังคม ด้านสภาพเศรษฐกิจ หมายถึง การพิจารณา จาก (1) รายได้จากอาชีพหลัก (2) รายได้จาก อาชีพเสริม (3) รายได้เฉลี่ยต่อคนของครัวเรือน (4) รายจ่ายประเภทต้นทุน (5) รายจ่ายที่จ าเป็น และ (6) รายจ่ายเฉลี่ยต่อคนของครัวเรือน

ปัญหาทางด้านเศรษฐกิจมีอะไรบ้าง

ปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ (Basic Economics Problems) ✓ จะผลิตอะไร (What to produce) ✓ จะผลิตอย่างไร (How to produce) ✓ จะผลิตเพื่อใคร (Produce for whom) จัดสรรทรัพยากรเพื่อผลิต สินค้าและบริการให้ได้รับความพอใจสูงสุด ความต้องการมีไม่จ่ากัด ทรัพยากรมีจ่ากัด