วิธีแก้ปัญหา นักเรียนเล่นโทรศัพท์ในห้องเรียน

กลุ่มเตตระปัททมะ   กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์   โรงเรียนปทุมคงคา   สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 2

จัดทำขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหานักเรียน ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 ที่คณะครูได้ทำการสอน และสังเกตได้ชัดเจนว่านักเรียนไม่สนใจในการเรียนเท่าที่ควร
และทำให้เกิดปัญหาทางการเรียนตามมา โดยสาเหตุของปัญหามาจากการเล่นโทรศัพท์มือถือในเวลาเรียน
ทางกลุ่มได้แก้ปัญหาโดยทำอุปกรณ์จัดเก็บโทรศัพท์มือถือให้เป็นระเบียบ และวางในห้องเรียนในตำแหน่งที่มองเห็นได้ชัดเจน เช่น หน้าชั้นเรียน
และเมื่อใช้อุปกรณ์จัดเก็บโทรศัพท์มือถือ ได้ทำการติดตามประเมินผลจากการทำแบบสอบถามออนไลน์

วิธีแก้ปัญหา นักเรียนเล่นโทรศัพท์ในห้องเรียน

ระยะเวลาที่ดำเนินการและจัดทำ PLC 
ปีการศึกษา 2560   (เดือนกันยายน 2560 - เดือนกุมภาพันธ์ 2561)

คณะผู้จัดทำ
1. ครูอโณทัย     ดาทอง   (ผู้นำ PLC)
2. ครูกฤษณา     คณิตบุญ   (ผู้ร่วม PLC)
3. ครูปาริชาติ     กิตติมาสกุล   (ผู้ร่วม PLC)
4. ครูสิโรธร     ศรีโชติ   (ผู้ร่วม PLC)

วิธีแก้ปัญหา นักเรียนเล่นโทรศัพท์ในห้องเรียน

วิธีแก้ปัญหา นักเรียนเล่นโทรศัพท์ในห้องเรียน

วิธีแก้ปัญหา นักเรียนเล่นโทรศัพท์ในห้องเรียน

วิธีแก้ปัญหา นักเรียนเล่นโทรศัพท์ในห้องเรียน

วิธีแก้ปัญหา นักเรียนเล่นโทรศัพท์ในห้องเรียน

วิธีแก้ปัญหา นักเรียนเล่นโทรศัพท์ในห้องเรียน

วิธีแก้ปัญหา นักเรียนเล่นโทรศัพท์ในห้องเรียน

วิธีแก้ปัญหา นักเรียนเล่นโทรศัพท์ในห้องเรียน

วิธีแก้ปัญหา นักเรียนเล่นโทรศัพท์ในห้องเรียน

วิธีแก้ปัญหา นักเรียนเล่นโทรศัพท์ในห้องเรียน

วิธีแก้ปัญหา นักเรียนเล่นโทรศัพท์ในห้องเรียน

วิธีแก้ปัญหา นักเรียนเล่นโทรศัพท์ในห้องเรียน

วิธีแก้ปัญหา นักเรียนเล่นโทรศัพท์ในห้องเรียน

วิธีแก้ปัญหา นักเรียนเล่นโทรศัพท์ในห้องเรียน

วิธีแก้ปัญหา นักเรียนเล่นโทรศัพท์ในห้องเรียน

วิธีแก้ปัญหา นักเรียนเล่นโทรศัพท์ในห้องเรียน

วิธีแก้ปัญหา นักเรียนเล่นโทรศัพท์ในห้องเรียน

วิธีแก้ปัญหา นักเรียนเล่นโทรศัพท์ในห้องเรียน

วิธีแก้ปัญหา นักเรียนเล่นโทรศัพท์ในห้องเรียน

วิธีแก้ปัญหา นักเรียนเล่นโทรศัพท์ในห้องเรียน

วิธีแก้ปัญหา นักเรียนเล่นโทรศัพท์ในห้องเรียน

วิธีแก้ปัญหา นักเรียนเล่นโทรศัพท์ในห้องเรียน

วิธีแก้ปัญหา นักเรียนเล่นโทรศัพท์ในห้องเรียน

วิธีแก้ปัญหา นักเรียนเล่นโทรศัพท์ในห้องเรียน

วิธีแก้ปัญหา นักเรียนเล่นโทรศัพท์ในห้องเรียน

วิธีแก้ปัญหา นักเรียนเล่นโทรศัพท์ในห้องเรียน

วิธีแก้ปัญหา นักเรียนเล่นโทรศัพท์ในห้องเรียน

วิธีแก้ปัญหา นักเรียนเล่นโทรศัพท์ในห้องเรียน

วิธีแก้ปัญหา นักเรียนเล่นโทรศัพท์ในห้องเรียน

           สวัสดีค่ะ ไม่รู้ว่าน้องๆ เคยมีประสบการณ์ตรง โดนครูยึดโทรศัพท์เพราะแอบเล่นในห้องเรียนบ้างรึเปล่านะคะ เรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่ถึงขนาดกระทรวงศึกษาธิการกำชับให้ทุกโรงเรียนออกกฎ “ห้ามใช้มือถือระหว่างชั่วโมงเรียน” เลย สาเหตุที่ต้องเริ่มมาตรการจริงจังขนาดนี้ เพราะเป็นห่วงว่าน้องๆ จะไม่มีสมาธิในการเรียน จนผลการเรียนแย่ลงนั่นเอง

           แต่รู้อะไรไหมคะ? ผลงานวิจัยชิ้นหนึ่งนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับการใช้สมาร์ทโฟนให้ถูกที่ถูกเวลาไว้อย่างน่าสนใจมาก มีประโยชน์ต่อน้องๆ วัยเรียนไม่แพ้การริบโทรศัพท์มือถือเลยค่ะ ตามไปดูกัน!

ห้ามใช้สมาร์ทโฟนเรียนดีขึ้น...จริงหรือ?
           ถ้าน้องๆ เคยอ่านบทความวิจัยเกี่ยวกับผลกระทบของการใช้สมาร์ทโฟนในห้องเรียน ที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับเรื่องเรียน เช่น แอบเล่นเกม แชทเฟซบุ๊ก เช็คทวิตเตอร์ ฯลฯ คงจะรู้ว่าเจ้านี่เป็นสิ่งรบกวนที่ทำให้ไม่ตั้งใจเรียน ผลการเรียนของนักเรียนแย่ลง คะแนนสอบต่ำกว่าเกณฑ์ ฯลฯ จนหลายๆ โรงเรียนถึงกับคิดนวัตกรรมขึ้นมาใหม่ เช่น ครูโรงเรียนนครสวรรค์ทำกล่องเก็บโทรศัพท์มือถือนักเรียนก่อนเริ่มเรียน ครูโรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัยทำแผงผ้าเก็บโทรศัพท์มือถือของนักเรียนระหว่างเรียน ฯลฯ

           วิธียึดโทรศัพท์นักเรียนชั่วคราวนี้  ที่ประเทศอังกฤษก็ทำแล้วได้ผลนะคะ จากงานวิจัยหลายชิ้นพบว่าคะแนนของนักเรียนดีขึ้น ส่วนที่ประเทศไทย แค่ลองเริ่มมา 2 สัปดาห์ นักเรียนก็มีความตั้งใจ และมีสมาธิในการเรียนมากขึ้น

ยิ่งห้าม...ยิ่งฝ่าฝืน
           แต่อย่าเพิ่งวางใจในนวัตกรรมของคุณครูค่ะ เพราะวิธีนี้ยังไม่สามารถควบคุมได้ทั้งหมด ยังคงมีนักเรียนฝ่าฝืนแอบนำโทรศัพท์เข้าไปใช้ในห้องเรียนอีก ซึ่งก็จะมีบทลงโทษตามมาอีกหลายข้อว่า ถ้ายังพบว่าแอบเล่นโทรศัพท์ระหว่างเรียนอีก จะยึดโทรศัพท์อย่างน้อย 1 เดือน มีการหักคะแนน หรือเชิญผู้ปกครองมารับทราบพฤติกรรมรวมถึงรับโทรศัพท์คืน จะเห็นได้ว่าต่อให้ครูมีมาตรการหรือบทลงโทษที่เข้มงวดเรื่องการห้ามใช้โทรศัพท์ในห้องเรียนมากแค่ไหน นักเรียนก็ยังฝ่าฝืนอยู่ดี

           งานวิจัยเรื่อง “การแอบใช้สมาร์ทโฟนระหว่างเรียนในชั้นเรียนของนักศึกษาระดับอุดมศึกษา และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา” ของคุณเบญจวรรณ ธนูวาศ และคณะ ได้สุ่มตัวอย่างจากนักศึกษาและนักเรียนมัธยมกว่า 480 คน แล้วพบว่านักเรียนส่วนใหญ่แอบใช้สมาร์ทโฟนในห้องเรียนทุกวัน ความถี่ในการแอบใช้มากกว่าพี่ๆ นักศึกษาด้วย โดย 1 ใน 3 ใช้มากกว่า 15 ครั้ง/วัน ยิ่งตอนบ่ายๆ ง่วงๆ ยิ่งชอบใช้มาก ซึ่งผลที่ตามมาคือทำให้ไม่เข้าใจเนื้อหาที่เรียนได้ทั้งหมด

ถ้าใช้สมาร์ทโฟนในห้องเรียนได้ จะดีขึ้นไหม?
           เมื่อยิ่งห้ามเหมือนยิ่งยุ หลายๆ งานวิจัยเลยได้เสนอทางออกให้กับเรื่องนี้ โดยสิ่งที่ไปในทิศทางเดียวกันคือครูผู้สอนควรปรับวิธีการสอนใหม่ๆ เพื่อดึงดูดความสนใจของนักเรียนค่ะ อาจจะเปลี่ยนห้องเรียนให้มีความสากล ด้วยการนำสมาร์ทโฟนมาลองค้นหาข้อมูล สอนให้เรียนรู้บทเรียนผ่านสมาร์ทโฟน หรือปรับแผนการสอนรายคาบโดยเพิ่มช่วง “Technology Breaks”

Tech Breaks คืออะไร?
           “Technology Breaks” คือการอนุญาตให้นักเรียน นักศึกษา ใช้สมาร์ทโฟนในระหว่างการเรียนเป็นช่วงระยะเวลาสั้นๆ ได้ อาจจะประมาณ 1 - 2 นาที เพื่อให้นักเรียนได้มีโอกาสตามโซเชียล หรือเล่นเกมคลายเครียดอย่างที่ตนต้องการ จากนั้นเมื่อครบเวลาก็กลับเข้าสู่เนื้อหาการเรียนต่อ วิธีนี้ทำเพื่อลดการแอบใช้สมาร์ทโฟนของนักเรียน และช่วยให้น้องๆ มีสมาธิในการเรียนมากขึ้น 

เรียน 15 นาที แชท 2 นาที ช่วยปรับโฟกัสสมอง!
           ศาสตราจารย์แลร์รี โรเซน นักจิตวิทยาจากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียสเตทได้เสนอแนวคิดที่น่าสนใจมากเกี่ยวกับ “technology breaks” ไว้ว่าหลังจากผ่านช่วงโฟกัสไทม์ไป 15 นาที ครูควรอนุญาตให้นักเรียนหยิบมือถือขึ้นมาเช็กข้อความในเฟซ แชททวิต เล่นเกม หรือท่องอินเตอร์เน็ตได้ตามอัธยาศัย โดยกำหนดช่วงเวลาพักนี้กับนักเรียนให้แน่นอน ช่วงเวลาเหมาะสมประมาณ 1 - 3 นาที พอครบเวลาก็เก็บมือถือลงใต้โต๊ะและตั้งใจเรียนต่อไป

                       ไม่น่าเชื่อว่าหลักการนี้ช่วยให้สมองของน้องๆ โฟกัสกับการเรียนได้มากขึ้น ไม่ต้องรู้สึกกังวล กระวนกระวายว่าจะพลาดประเด็นร้อนในโซเชียลไป หรือเล่นเกมฟาร์มหมูค้างไว้แล้วหมูจะตาย เพราะเราไม่ได้ฉีดภูมิคุ้มกันให้ตามเวลา T T

           อีกอย่างการพักไปทำสิ่งที่ชอบก็จะทำให้สมองของน้องๆ ได้รีเซ็ตข้อมูลด้วย จากปกติที่เราต้องเรียนติดๆ กันคาบละ 50 - 60 นาที เจอบทเรียนหนักๆ จนโอเวอร์โหลด หรือที่มักจะพูดกันเล่นๆ ว่าสมองไม่รับรู้อะไรแล้ว คราวนี้พอได้ผ่อนคลายสักนิดก็ทำให้สมองพร้อมกลับมารับข้อมูลต่างๆ ได้เต็มที่

สมองมีจุดโฟกัสดียังไง?
           เวลาสมองโฟกัสกับบทเรียนตรงหน้า กระบวนการรับความรู้ความคิดของน้องๆ จะทำงานดีขึ้น จากปกติเรามองโจทย์เลขที่ซับซ้อนบนกระดานดำแล้วตีความไม่ออก ก็จะสามารถทำความเข้าใจสิ่งที่ครูสอนได้ทีละสเต็ปจนแก้โจทย์ปัญหาได้ในที่สุด หรือบางครั้งเรียนวิชาที่ต้องอาศัยความจำ การมีสมาธิจดจ่ออยู่กับเรื่องที่เรียน ก็จะทำให้จดจำข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว ครบถ้วนทุกประเด็น

           ตอนพี่เมก้าอยู่มัธยมฯ โทรศัพท์พี่อินเตอร์เน็ตเพิ่งเข้าถึงเมื่อตอน ม.6 นี่เองค่ะ เลยไม่มีเหตุผลอะไรที่จะต้องแอบใช้โทรศัพท์ใต้โต๊ะเรียน (ของพี่แอบอ่านการ์ตูนอย่างเดียว O_O! ไม่ควรเอาเป็นแบบอย่างนะคะ) ไม่รู้ว่ารุ่นน้องๆ ตอนนี้ ทางโรงเรียนอยู่ในช่วงที่คุณครูไม่อนุญาตให้ใช้โทรศัพท์หรือเปล่า น้องบางคนอาจจะโอเคกับวิธีนี้ แต่บางคนก็อย่างที่มีงานวิจัยออกมานี่แหละค่ะ แอบเล่นซะเลย ซึ่งไม่ดีๆ เรียนไม่รู้เรื่องแน่ Tech Breaks ก็อาจจะช่วยรับมือกับปัญหานี้ได้ น้องๆ คิดยังไงกับตัวช่วยนี้ มาแชร์ไอเดียกันได้นะคะ

  • #Tech Breaks
  • #สมาร์ทโฟน
  • #โฟกัสสมอง
  • #แอบเล่นโทรศัพท์
  • #ฟิตเกรด
  • #การศึกษา
  • #การศึกษา

วิธีแก้ปัญหา นักเรียนเล่นโทรศัพท์ในห้องเรียน

พี่เมก้า - Columnist นักข่าวสายการศึกษา ที่มีความสุขกับการแต่งฟิค อ่านฟิค เพ้อถึงยัมมี่ฟู้ดไปวันๆ