ขนาด แผง โซ ล่า เซลล์ 400W

แผงโซล่าเซลล์มีหลากหลายขนาด แต่โดยมากแล้วเราจะสามารถกะขนาดคร่าวๆจากกำลังของแผงได้ เช่น แผงไม่เกิน 200W ขนาดจะอยู่ประมาณ 150 x 70 x 4 เซนติเมตร (กว้าง x ยาว x หนา) น้ำหนักแผงขนาดนี้จะอยู่ประมาณ 10 กิโลกรัม ในขณะที่แผง 300 – 400W ขนาด จะอยู่ราวๆ 200 x 100 x 4 เซนติเมตร และน้ำหนักอยู่ที่ 20-25 กิโลกรัม

แต่ปัจจุบันด้วยเทคโนโลยีใหม่ๆ ทำให้กำลังของแผงสูงขึ้นเรื่อยๆ ในปัจจุบันเราจะเห็นแผงขนาด 500-550W ออกมาขายให้เราเห็นอยู่ในตลาด ซึ่งมีขนาดและน้ำหนักที่ใหญ่ขึ้นไปอีก โดยจะมีขนาดอยู่ที่ประมาณ 230 x 115 x 4 เซนติเมตร น้ำหนักประมาณ 30 กิโลกรัม 

สารบัญ

  • ดูคลิป “ขนาดแผงโซล่าเซลล์ กว้าง ยาว เท่าไหร่ เลือกอย่างไรให้เหมาะกับระบบ”
  • วิธีเลือกใช้แผงโซล่าเซลล์ จากขนาด และน้ำหนัก
  • Volt และ Amp ของแผงโซล่าร์และระบบต้องสัมพันธ์กัน
  • ประเภทของแผง และแผง Tier1 เลือกอย่างไร
  • สรุป

บทความต่อไปนี้ ผมสรุปมาจากคลิปด้านล่างครับ ใครขี้เกียจอ่านก็ฟังในคลิปเอานะ ใครอยากฟังใน Youtube เข้าไปฟังได้ที่ “ขนาดแผงโซล่าเซลล์ กว้าง ยาว เท่าไหร่ เลือกอย่างไรให้เหมาะกับระบบ”

ถ้าใครคิดว่ามีประโยชน์ อยากสนับสนุน ฟังสาระดีๆ ช่วยกด Like กด Share กด Subscribe

“Energy for Dummies” ให้ผมด้วยนะ

วิธีเลือกใช้แผงโซล่าเซลล์ จากขนาด และน้ำหนัก

ด้วยความที่เรามีแผงโซล่าเซลล์ ให้เลือกอยู่หลายขนาด ทำให้มือใหม่หลายท่านเกิดความ มึนงง ว่าเราจะเลือกแผงอย่างไรดี ให้เหมาะกับการใช้งาน

มือใหม่ควรรู้ก่อนว่าแผงที่เราจะเอาไปใช้นั้น เราจะเอาไปใช้ทำอะไร เช่น ติดบนหลังคา ติดตั้งบนพื้นดิน เอาไปใช้กับรถบ้าน หรือเอาไปใช้กับแคมป์ปิ้งต่างๆ

ซึ่งสิ่งที่มีความสำคัญต่อความเหมาะสมในการใช้งานคือ ขนาด และ น้ำหนักของแผงโซล่าเซลล์  แน่นอนว่า ยิ่งแผงโซล่าเซลล์มีกำลังสูง ก็จะทำให้ขนาดและน้ำหนักเพิ่มขึ้นด้วย

ขนาด แผง โซ ล่า เซลล์ 400W

หากใครต้องใช้กับรถบ้าน รถตู้ หรือการใช้งานที่ต้องมีการเคลื่อนที่อยู่ตลอดเวลา หรือมีพื้นที่น้อย และต้องขนย้ายด้วยคนๆเดียว แบบนี้แผงขนาดไม่เกิน 200W อาจจะเป็นตัวเลือกที่เหมาะสมกว่า ด้วยขนาด กว้าง ยาว ประมาณ 150 x 70 เซนติเมตร และน้ำหนัก 10 กิโลกรัม ทำให้สามารถขนย้ายด้วยคนเดียวไหว

ในขณะที่ใครใช้กับการใช้งานที่อยู่กับที่ มีพื้นที่กว้าง ตั้งบนพื้นดิน หรือพื้นที่หลังคามีเหลือเฟือ แบบนี้ผมอาจจะแนะนำให้ใช้แผงขนาดใหญ่สุดไปเลย เนื่องจากจะได้ประสิทธิภาพที่ดีกว่า ราคาต่อ Wp ก็จะถูกตามไปด้วย พวกนี้จะเป็นแผง 300W ขึ้นไป ขนาด 60 – 72 เซลล์ หรือจะเป็น Half cell (72 x 2) ก็ได้

Volt และ Amp ของแผงโซล่าร์และระบบต้องสัมพันธ์กัน

อีกสิ่งนึงที่ไม่ควรละเลยคือ การเลือก Volt และ Amp ของแผงให้เหมาะกับระบบ เช่น ถ้าเราใช้ระบบ 24V แต่ใช้แผง 18V แบบนี้มันจะชาร์จเข้าระบบเราไม่ได้ (อันนี้พูดถึงระบบ off-grid นะครับ) เราต้องลด volt ของระบบลงมาเป็น 12V หรือ เลือกต่ออนุกรม 2 แผงแทน

เช่นเดียวกันกับ Amp หรือ กระแสก็ต้องดูให้สัมพันธ์กับอุปกรณ์เราเช่นกัน เช่น ปัจจุบันแผงขนาด 500W กระแสสูงสุดจะอยู่ที่ 13-15A แต่ solar charge controller ของเรารับได้แค่ 10A แบบนี้ก็ไม่ควรใช้เช่นกัน อย่าลืมดูทั้งสองตัวแปรให้เหมาะกันด้วย

นอกจากเราจะดู volt และ amp จากสเปคของแผงแล้ว จริงๆเรามีวิธีการประมาณด้วยตาได้ เช่น หากแผงที่มีเซลล์ขนาดใหญ่ (ดูในรูปด้านล่าง) มักจะมี Amp สูงตาม ในขณะที่แผงโซล่าร์ที่มีจำนวนเซลล์มากจะทำให้ Volt สูง (1 เซลล์จะอยู่ราวๆ 0.5-0.7 volt)

ขนาด แผง โซ ล่า เซลล์ 400W

ประเภทแผง และแผง Tier 1

สำหรับประเภทของแผง ไม่มีผลกับการเลือกของผมซักเท่าไหร่ อันไหนราคาต่อ Wp ถูกกว่าก็เลือกอันนั้นครับ ใครอยากรู้รายละเอียดเกี่ยวกับประเภทของแผง ดูได้ที่ “ประเภทของแผงโซล่าเซลล์”

สำหรับว่าใครถามว่า ควรจะเลือกแผงที่อยู่ใน Tier1 หรือไม่ ถ้าสามารถหาได้ในราคาไม่แพงก็ดีครับ ขอแค่ให้มั่นใจว่าเป็นแผงแท้ เกรด A โดยพยายามเลือกจากผู้ขายที่น่าเชื่อถือ ลองดูบทความนี้นะ “วิธีดูแผงโซล่าเซลล์ จริงหรือปลอม เกรด A หรือ B ดูอย่างไร”

แต่ความเห็นส่วนตัว หากไม่ได้ติดบนหลังคาบ้าน แบบนี้ผมไม่เน้นแผง Tier1 เท่าไหร่ ขอแค่ที่มีรีวิวโอเค แล้วราคาไม่แพงถือว่าเป็นอันใช้ได้

ขนาด แผง โซ ล่า เซลล์ 400W

แต่สำหรับคนที่ต้องการติดบนหลังคา ให้เน้นแผงที่มียี่ห้อที่ดีหน่อย หากเป็นแผง Tier1 ที่ซื้อจากผู้จำหน่ายอย่างเป็นทางการได้ก็จะดีมาก โดยเฉพาะหลังคาบ้านไหนที่ไม่สามารถมองเห็นหลังคาได้ตลอด หรืออยู่สูงมากๆ แบบนี้พยายามเลือกใช้แผงดีๆไปเลย

แต่ถ้าใครพอมีความรู้ แผงที่ไม่ได้อยู่ใน Tier1 และมีความน่าเชื่อถือก็มีอยู่เยอะเช่นกัน ยังไงลองหารีวิวก่อนซื้อดีๆครับ

สรุป

โซล่าเซลล์มีหลากหลายขนาดด้วยกัน ขึ้นอยู่กับกำลังวัตต์ของแผง โดยมากความยาวจะอยู่ที่ 150-200 เซนติเมตร ในขณะที่ความกว้างอยู่ที่ 70-120 เซนติเมตร ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการเลือกซื้อแผง โดยดูจากการใช้งานของเราเป็นหลัก

หากเป็นใช้งานอยู่กับที่ เราสามารถเลือกแผงที่มีขนาดใหญ่ได้ หากต้องเคลื่อนย้ายบ่อยๆด้วยตัวคนเดียวให้เลือกแผงที่มีขนาดเล็กหน่อย ซึ่งไม่เกิน 200W โดยจะเลือกเป็นแผงโมโน หรือโพลีก็ได้ให้ดูที่ราคาต่อ Wp เป็นหลักครับ

เข้าสู่ระบบ