คืนเงินประกันสังคมมาตรา 33

สปส.เปิดทางออกผู้ใช้แรงงาน ม.33 หลังการปรับแก้ร่าง พ.ร.บ.ประกันสังคม ฉบับใหม่ เพิ่มสิทธิประโยชน์ผู้ประกันตน “3 ขอ” สามารถ “ขอเลือก-ขอกู้-ขอคืน” เพื่อเป็นทางเลือกสิทธิประโยชน์ได้เองตามความต้องการ มั่นใจสถานะภาพกองทุนเพียงพอในการรองรับ

น.ส.ลัดดา แซ่ลี้ โฆษกสำนักงานประกันสังคม (สปส.) เปิดเผยผ่านรายการ “เคลียร์คัด ชัดเจน” ทางช่อง NBT 2HD เมื่อวันที่ 21 มิ.ย. 2565 ให้ข้อมูลถึงความเป็นไปได้ตามแนวทาง “3 ขอ” ใน ร่างพระราชบัญญัติประกันสังคม (ฉบับที่...) พ.ศ. ... ฉบับใหม่ ที่อยู่ระหว่างการแก้ไข ตามที่ผู้ใช้แรงงานได้ออกมาเรียกร้องยัง สปส. เพื่อให้ผู้ประกันตนมีโอกาสได้รับทางเลือกและหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาวิกฤตทางการเงินของตนเองได้

น.ส.ลัดดา กล่าวว่า เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้ผู้ประกันตนตามมาตรา 33 สามารถเข้าไปตรวจสอบเงินของประกันสังคมว่ามียอดเท่าไร และทำให้เกิดเสียงข้อเรียกร้องต่างๆ จนเกิดเป็นแนวทาง “3 ขอ” ขึ้นมา ซึ่งประกอบด้วย 1.ขอเลือก ตามกฎหมายประกันสังคมฉบับเดิม กำหนดว่าผู้ที่ส่งเงินสมทบครบ 180 เดือน และเป็นผู้ที่ลาออกจากการเป็นผู้ประกันตนในอายุ 55 ปี จะได้สิทธิรับเงินบำนาญชราภาพรายเดือนตลอดชีวิต ส่วนผู้ที่ลาออกจากการเป็นผู้ประกันตนในอายุ 55 ปี แต่ส่งเงินสมทบไม่ครบ 180 เดือน จะได้สิทธิชราภาพในการรับเงินบำเหน็จ

อย่างไรก็ตามในส่วนนี้ทำให้ผู้รับเงินบำนาญบางราย ซึ่งมีความต้องการที่จะรับเงินเป็นบำเหน็จตามเหตุผลส่วนตัวของแต่ละราย ทางกระทรวงแรงงานจึงได้ให้ สปส. หาทางออกให้ผู้ประกันตนที่ส่งเงินสมทบครบ 180 เดือน สามารถรับเป็นบำเหน็จได้ตามความต้องการ

“ตามเจตนารมณ์ของ สปส. คืออยากให้เป็นบำนาญมากกว่า เพราะจะได้มีเงินใช้ได้ตลอดทุกเดือนไม่เป็นภาระให้กับลูกหลาน แต่ด้วยความจำเป็นของแต่ละคนไม่เหมือนกัน เราจึงจะออกกฎหมายฉบับนี้เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ประกันตนสามารถเลือกได้ตามเจตนารมณ์ของตนเอง” น.ส.ลัดดา กล่าว

2. ขอกู้ มาจากการที่ผู้ประกันตนเกิดความเดือดร้อน และมีคำถามถึงความต้องการกู้เงินของตนเองที่อยู่ในระบบประกันสังคมจะสามารถทำได้หรือไม่ แต่เนื่องจากประกันสังคมไม่มีการปล่อยกู้ ฉะนั้นในส่วนนี้จึงจะต้องทำ MOU กับธนาคารทั้งหมด ซึ่งหากมีธนาคารใดตอบรับข้อเสนอและมีข้อตกลงร่วมกันได้ ก็สามารถทำได้เลย โดยที่ธนาคารก็ต้องไม่คิดดอกเบี้ยแพง เพราะผู้ประกันตนสามารถกู้ได้โดยที่ สปส. เข้าไปสนับสนุนในเรื่องของการค้ำเงินกู้

“ตามกฎหมายลูกที่กำลังอยู่ในช่วงระหว่างการดำเนินการนี้ คาดว่าจะสามารถกู้ได้ไม่เกิน 30% ของเงินสมทบของผู้ประกันตน หรือไม่เกิน 3 ล้านบาท ซึ่งหากเกิดการผิดนัดชำระ จนธนาคารยืนยันว่าผู้ประกันตนไม่ชำระแล้ว และลาออกจากงาน ทางประกันสังคมก็จะส่งเงินให้ธนาคารตามยอดที่เหลือ ซึ่งก็จะทำให้เงินชราภาพของเขาต้องถูกหักในส่วนนี้ไปด้วย” น.ส.ลัดดา กล่าว

3. ขอคืน (บางส่วน) เป็นการขอคืนเงินบางส่วนจากเงินสมทบที่ส่งมายังประกันสังคมทุกเดือน ซึ่งจะต้องเป็นผู้ประกันตนที่ส่งเงินสมทบมาแล้วไม่ต่ำกว่า 60 เดือน และมีเงื่อนไขว่าต้องเกิดเหตุการณ์วิกฤตในประเทศ หรือพื้นที่นั้นๆ ออกมาประกาศชัดเจน เช่น วิกฤตทางเศรษฐกิจ วิกฤตภัยพิบัติ หรือโรคระบาด ที่ทำให้ผู้ประกันตนไม่สามารถออกมาทำงานได้อย่างปกติ แต่หากเป็นวิกฤติเรื่องส่วนตัวจะไม่สามารถขอคืนได้

น.ส.ลัดดา กล่าวว่า ปัจจุบันมีแรงงานที่ใช้ ม.33 ประมาณ 11 ล้านคน ซึ่งประกันสังคมจะรวมเงินไว้อยู่ในถังเดียวกัน ดังนั้นการขอคืนไปบางส่วนจะทำให้ สปส. เสียโอกาสในการนำเงินไปลงทุน ฉะนั้นหากจะต้องคืนเงิน ก็ต้องคืนค่าเสียโอกาสนั้นให้ สปส. ด้วยเช่นกัน เพราะผู้ที่ไม่ได้กู้หรือขอคืนเงินจะได้รับเงินที่นำไปลงทุนกลับมา เพื่อเป็นสิทธิประโยชน์ของพวกเขาบวกจากในส่วนนี้ไปด้วย

“การแก้กฎหมายไม่ใช่เป็นการเปลี่ยนเจตนารมณ์ พ.ร.บ.ประกันสังคม แต่อย่างใด แต่เป็นการเพิ่มช่องทางเลือกให้กับผู้ประกันตน เปิดโอกาสให้ผู้ที่มีความจำเป็นต่างๆ หรือมีความเดือดร้อน สามารถจัดการตัวเองได้” น.ส.ลัดดา กล่าว

น.ส.ลัดดา กล่าวอีกว่า ทั้งนี้ ทางกระทรวงการคลังได้ให้ สปส. เข้าไปชี้แจงถึงสถานภาพทางกองทุน ว่าการออกกฎหมาย “3 ขอ” นี้จะทำให้กองทุนมีปัญหาหรือไม่ ซึ่งทาง สปส. มีกฎหมายรองที่คอยดูแลอยู่แล้วว่าจะสนับสนุนตนเองอย่างไรไม่ให้เสียศูนย์ มีข้อระเบียบและข้อบังคับจากผู้ประกันตนที่ชัดเจน จึงมั่นใจได้ว่าจะไม่มีปัญหาเรื่องกองทุนอย่างแน่นอน

ช่องทางการให้บริการ

เวลาในการดำเนินการ

เอกสารหลักฐาน

1.

แบบคำขอรับคืนเงิน (แบบ สปส.1-23/2)

2.

สมุดบัญชีเงินฝากธนาคาร

รายละเอียดเอกสาร: สมุดบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์หน้าแรกที่มีชื่อ และเลขที่บัญชีของผู้ประกันตน โดยสามารถเลือกรับได้ที่ ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด มหาชน) ธนาคารกรุงเทพจำกัด (มหาชน) ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) ธนาคารธนชาติ จำกัด (มหาชน) ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย จำกัด (มหาชน) และธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย

หมายเหตุ: เอกสารที่เป็นสำเนาให้รับรองสำเนาถูกต้องทุกฉบับ

3.

เอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการขอรับคืนเงิน

รายละเอียดเอกสาร: เช่น หลักฐานการจ่ายเงินค่าจ้าง เป็นต้น

ค่าธรรมเนียม

หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข

1. ผู้ประกันตนมาตรา33 ที่ทำงานกับนายจ้างหลายรายและนำส่งเงินสมทบเกินจำนวนตามที่กฎหมายกำหนดให้ผู้ประกันตนยื่นแบบคำขอรับเงินได้ตามระเบียบที่กำหนด ถ้าผู้ประกันตนมิได้เรียกเอาเงินดังกล่าวคืนภายในหนึ่งปี นับแต่วันที่นำส่งเงินสมทบหรือไม่มารับเงินคืนภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ได้รับแจ้งให้มารับเงิน ให้เงินนั้นตกเป็นของกองทุน 2. ผู้ประกันตนตามมาตรา 39 ความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลงเมื่อผู้ประกันตนนั้น (1) ตาย (2) ได้กลับเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 อีก (3) ลาออกจากความเป็นผู้ประกันตนโดยการแสดงความจำนง ต่อสำนักงาน หากผู้ประกันตนตามมาตรา 39 มีการนำส่งเงินสมทบหลังความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุด ให้ยื่นแบบขอรับคืนเงินได้ตามระเบียบที่กำหนด ถ้าผู้ประกันตนมิได้เรียกเอาเงินดังกล่าวคืนภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่นำส่งเงินสมทบหรือ ไม่มารับเงินคืนภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ได้รับแจ้งให้มารับเงิน ให้เงินนั้นตกเป็นของกองทุน ตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 และแก้ไขเพิ่มเติม 3. การรับเงินมี 3 วิธี ดังนี้ 1) กรณีรับเงินสด/เช็ค (ผู้ประกันตนขอรับด้วยตนเองให้นำบัตรประจำตัวประชาชนไปแสดง หรือกรณีมอบอำนาจให้บุคคลอื่นมารับแทน ต้องทำเป็นหนังสือและนำบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจไปแสดงด้วย) 2) กรณีรับเช็คทางไปรษณีย์ จะส่งให้ภายใน 3 วันทำการ นับถัดจากวันที่อนุมัติคำสั่งจ่าย 3) กรณีรับเงินผ่านทางธนาคาร ต้องแนบสำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์ ที่มีชื่อและ เลขที่บัญชีของผู้มีสิทธิเท่านั้น 4) กรณีโอนเงินเข้าบัญชีธนาคารขึ้นอยู่กับรอบการตัดจ่ายและเงื่อนไขการขอคืนเงินสมทบ ทั้งนี้ สำนักงานฯ จะโอนเงินเข้าบัญชีของผู้ประกันตนภายใน 4 วันทำการ นับจากวันที่อนุมัติคำสั่งจ่าย หมายเหตุ : 1.กรณีคำขอฯ หรือรายการเอกสารประกอบการพิจารณาไม่ถูกต้องหรือไม่ครบถ้วน หรือไม่อาจแก้ไข/เพิ่มเติม ได้ในขณะนั้น ผู้รับคำขอฯและผู้ยื่นคำขอฯจะต้องลงนามในแบบรับเรื่องและตรวจสอบเอกสาร/หลักฐานที่เจ้าหน้าที่แจ้งให้ทราบร่วมกัน พร้อมกำหนดระยะเวลาให้ผู้ยื่นคำขอฯ ดำเนินการแก้ไข/เพิ่มเติม หากผู้ยื่นคำขอฯ ไม่ดำเนินการแก้ไข/เพิ่มเติมได้ ภายในระยะเวลาที่กำหนดผู้รับคำขอฯ จะดำเนินการคืนคำขอฯ และเอกสารประกอบการพิจารณา 2.ในกรณีที่ผู้ยื่นคำขอฯ ไม่ได้มายื่นด้วยตนเอง ณ สำนักงานประกันสังคม เช่น ทางไปรษณีย์ ฝากผู้อื่นส่ง เมื่อตรวจสอบแล้ว พบว่า เอกสารไม่ครบถ้วนตามที่ระบุไว้ในคู่มือประชาชน สำนักงานประกันสังคมจะแจ้ง ให้ผู้ยื่นคำขอฯหรือผู้แทนส่งเอกสารให้สำนักงานประกันสังคมภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้ง 3.พนักงานเจ้าหน้าที่จะยังไม่พิจารณาคำขอฯ และยังไม่นับระยะเวลาดำเนินงาน จนกว่าผู้ยื่นคำขอฯ จะดำเนินการแก้ไขคำขอฯ หรือยื่นเอกสารเพิ่มเติมครบถ้วนตามแบบรับเรื่องและตรวจสอบเอกสาร/หลักฐานที่ เจ้าหน้าที่แจ้งให้ทราบนั้นเรียบร้อยแล้ว 4. ขั้นตอนการดำเนินงานตามคู่มือจะเริ่มนับระยะเวลาตั้งแต่เจ้าหน้าที่ตรวจสอบเอกสารครบถ้วนตามที่ระบุไว้ ในคู่มือประชาชนเรียบร้อยแล้ว

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

1. พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533

ขั้นตอน ระยะเวลา

1.

การตรวจสอบความครบถ้วนของเอกสาร

รายละเอียด: ผู้ประกันตน ยื่นแบบคำขอรับเงินคืน (สปส.1-23/2) ณ สำนักงานประกันสังคม เจ้าหน้าที่รับแบบตรวจสอบเอกสารและบันทึกเข้าระบบคืนเงิน

หน่วยงานที่รับผิดชอบ: สำนักงานประกันสังคม

รายละเอียด: เจ้าหน้าที่พิจารณาและตรวจสอบข้อมูล การขอรับเงินคืนของสถานประกอบการ เสนอแบบคำขอรับเงินคืน เพื่อให้ผู้มีอำนาจลงนามอนุมัติ/ไม่อนุมัติ บันทึกผลการพิจารณาในระบบคืนเงินและหนังสือแจ้งผล

หน่วยงานที่รับผิดชอบ: สำนักงานประกันสังคม

3.

การลงนาม/คณะกรรมการมีมติ

รายละเอียด: เจ้าหน้าที่การเงินอนุมัติและบันทึกจ่ายเงินตามคำสั่งคืนเงินสมทบนายจ้างในระบบสารสนเทศ

หน่วยงานที่รับผิดชอบ: สำนักงานประกันสังคม

ใบอนุญาต

ช่องทางการร้องเรียน

1.

ศูนย์บริการประชาชน สำนักงานปลัด สำนักนายกรัฐมนตรี

เลขที่ 1 ถ.พิษณุโลก เขตดุสิต กทม. 10300 / สายด่วน 1111 / www.1111.go.th / ตู้ ปณ.1111 เลขที่ 1 ถ.พิษณุโลก เขตดุสิต กทม. 10300

2.

ศูนย์รับเรื่องร้องเรียนการทุจริตในภาครัฐ

สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (สำนักงาน ป.ป.ท.)

- 99 หมู่ 4 อาคารซอฟต์แวร์ปาร์ค ชั้น 2 ถนนแจ้งวัฒนะ ตำบลคลองเกลือ อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี 11120

- สายด่วน 1206 / โทรศัพท์ 0 2502 6670-80 ต่อ 1900 , 1904- 7 / โทรสาร 0 2502 6132

- www.pacc.go.th

คำค้นหาที่เกี่ยวข้อง :

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก