เบิกค่ารักษาพยาบาล ประกันสังคม กี่วันได้

เมื่อติดโควิด-19 ประกันสังคมเป็นสิทธิพื้นฐานของแรงงานที่สามารถเบิกเงินค่ารักษาพยาบาล และเงินชดเชยรายได้ แต่ทางผู้ประกันตนจะต้องเข้ารักษาตัวในระบบ สปสช. เพื่อขอใบรับรองแพทย์มาเบิกประกันสังคม

วิธีเบิกค่าชดเชยค่ารักษาหยุดงานติดโควิด จากประกันสังคม

1. เข้ารักษาตัวตามระบบที่ สปสช. กำหนด
2. ทำเรื่องขอใบรับรองแพทย์ ยืนยันการติดเชื้อโควิด-19 ระบุการติดเชื้อ ระบุวันหยุดงาน
3. เตรียมเอกสารเบิกค่ารักษาพยาบาล และค่าชดเชยรายได้จากสำนักงานประกันสังคม ดังนี้

เบิกประกันสังคมโควิดใช้อะไรบ้าง

1. แบบคำขอประโยชน์ทดแทน (สปส.2-01) (คลิกที่นี่)

ดาวน์โหลดหรือขอแบบฟอร์ม “แบบคำขอประโยชน์ทดแทน (สปส.2-01)” จากสำนักงานประกันสังคม กรอกข้อมูลส่วนบุคคล และเลือกขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย

  • เลือก ค่ารักษาพยาบาล จำนวนเงินตามใบเสร็จรับเงิน
  • เลือก เงินทดแทนการขาดรายได้ ตั้งแต่วันที่ …….ถึงวันที่….. กลับเข้าทำงานวันที่….

2. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือ สำเนาหนังสือเดินทาง (Passport) หรือ สำเนาหนังสือเดินทางชั่วคราว หรือเอกสารรับรองบุคคลที่ทางราชการออกให้ (ต่างชาติ/ต่างด้าว)
3. สำเนาบัตรประกันสังคม
4. ใบรับรองแพทย์ตัวจริง (ระบุวันหยุดงาน)
5. ใบเสร็จค่ารักษาพยาบาล (กรณีเบิกค่ารักษา)
6. หนังสือรับรองการหยุดงานจากนายจ้าง
7. สำเนาสมุดบัญชีธนาคารออมทรัพย์ หน้าแรก
8. กรณีเปลี่ยนชื่อ สกุล แนบสำเนาเอกสารใบเปลี่ยนชื่อสกุลด้วย

วิธีเบิกประกันสังคมโควิด 2565/2022 ทุกมาตรา ม.33, 39, 40

เงินชดเชยรายได้ แต่ละมาตรา

เบิกประกันสังคมโควิด ม.40 ได้เท่าไร

ผู้ประกันตนมาตรา 40 จะต้องส่งสมทบมาอย่างน้อย 3 เดือนในระยะเวลา 4 เดือนจนเกิดสิทธิ์ก่อน จึงจะเบิกเงินชดเชยรายได้กับประกันสังคมได้

  • เงินทดแทนวันละ 300 บาท กรณีเข้ารับการรักษาเป็นผู้ป่วยในตั้งแต่ 1 วันขึ้นไป แต่ไม่ถึง 30 วันต่อปี (สำหรับทางเลือก 1 และ 2) และไม่เกิน 90 วันต่อปี (สำหรับทางเลือกที่ 3)
  • เงินทดแทนวันละ 200 บาท กรณีแพทย์ให้รักษาตัวที่บ้าน ตั้งแต่ 3 วันขึ้นไป แต่ไม่เกิน 30 วันต่อปี (สำหรับทางเลือก 1 และ 2) และไม่เกิน 90 วันต่อปี (สำหรับทางเลือกที่ 3)
  • เงินทดแทนวันละ 50 บาท ไม่เกิน 3 ครั้งต่อปี กรณีไม่ได้เข้ารับการรักษาแบบผู้ป่วยใน หรือไม่ได้กักตัว มีใบรับรองแพทย์มาแสดงต่อสำนักงาน (เฉพาะทางเลือกที่ 1 และ 2 เท่านั้น สำหรับทางเลือกที่ 3 ไม่คุ้มครอง)

เบิกประกันสังคมโควิด ม.39 ได้เท่าไร

  • ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ร้อยละ 50 โดยคำนวณจากฐานค่าจ้างอยู่ที่จำนวน 4,800 บาท ตามใบรับรองแพทย์ ครั้งละไม่เกิน 90 วันปีละไม่เกิน 180 วัน ยกเว้นได้รับวินิจฉัยว่าเป็นโรคเรื้อรัง จะสามารถได้เงินทดแทน ไม่เกิน 365 วัน
  • ต้องมีการส่งเงินสมทบ 3 เดือน ภายใน 15 เดือน ก่อนวันเข้ารับการบริการทางการแพทย์

เบิกประกันสังคมโควิด ม.33 ได้เท่าไร

  • กรณีลาป่วย 30 วันแรกจะได้รับค่าจ้างจากนายจ้างตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน
  • กรณีจำเป็นต้องหยุดพักรักษาตัวนานเกินกว่า 30 วัน สามารถเบิกสิทธิประโยชน์กรณีขาดรายได้จากสำนักงานประกันสังคมตั้งแต่วันที่ 31 ของการลาป่วย โดยรับเงินทดแทนร้อยละ 50 ของค่าจ้าง แต่ไม่เกิน 15,000 บาท ตามใบรับรองแพทย์ ครั้งละไม่เกิน 90 วัน ปีละไม่เกิน 180 วัน หากป่วยเรื้อรังได้รับไม่เกิน 365 วัน

ค่ารักษาพยาบาลสำหรับผู้ประกันตนมาตรา 33 และ 39

จะได้รับการช่วยเหลือครอบคลุมค่ารักษาพยาบาลทางการแพทย์ประเภทผู้ป่วยใน ดังนี้

  • ค่าตรวจทางห้องปฏิบัติการ
  • ค่าดูแลการให้บริการผู้ประกันตน (ค่าอาหาร 3 มื้อ การติดตามอาการ และการให้คำปรึกษา)
  • ค่าอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่จำเป็น เช่น ปรอทวัดไข้ เครื่องวัดออกซิเจนในเลือด และอุปกรณ์อื่นๆ
  • ค่ายาที่ใช้รักษา
  • ค่าพาหนะเพื่อรับหรือส่งต่อผู้ป่วยระหว่างที่พัก โรงพยาบาลสนาม และสถานพยาบาล
  • ค่าบริการ X-ray
  • ค่า oxygen ตามดุลยพินิจของแพทย์

โดย สปส.จะจ่ายค่ารักษาพยาบาลกับทางโรงพยาบาลตามหลักเกณฑ์เงื่อนไขฯ

เบิกประกันสังคมโควิดกี่วันได้เงิน

การเบิกเงินชดเชยต่างๆ จากประกันสังคม ขึ้นอยู่กับระยะเวลาพิจารณาเอกสารของเจ้าหน้าที่ประกันสังคม บางคนเคยได้เงินเร็วสุดภายใน 7 วัน หรือภายในวันที่ 30 หรือ 31 ของเดือนที่ทำเรื่องเบิก โดยผู้ประกันตนสามารถเข้าไปเช็กสถานะการจ่ายเงินได้ที่ www.sso.go.th หรือโทร. 1506

  • ทำประกันสังคมไว้จะสามารถเข้าใช้บริการจากสถานพยาบาลไหนได้บ้าง
  • กรณีเจ็บป่วยฉุกเฉิน จำเป็นต้องเข้าสถานพยาบาลอื่นนอกเครือข่าย
  • การเบิกค่ารักษาพยาบาล สถานพยาบาลอื่น ภายใน 72 ชั่วโมง
  • วิธี เบิกค่ารักษาพยาบาล กับ ประกันสังคม แบบ New Normal

หากว่าด้วยเรื่องสิทธิประกันสังคมแต่ละมาตรานั้น คงมีหลาย ๆ เรื่อง ที่ยังเป็นประเด็นค้างคาใจของใครบางคน ว่าแท้จริงแล้วเราสามารถเบิกหรือใช้สิทธิ์ในเรื่องใดได้บ้าง ซึ่งจากบทความที่เราได้เขียนไปแล้วนั้นก็มีหลาย ๆ เรื่องที่ลงรายละเอียดไว้แล้ว ไม่ว่าจะเป็น รับเงินสงเคราะห์บุตร, สิทธิการเบิกเงินค่าคลอดบุตร, สิทธิเบิกค่าทำฟัน และสำหรับวันนี้จะเป็นในเรื่องของ “เบิกค่ารักษาพยาบาล” ค่ะ

ทำประกันสังคมไว้จะสามารถเข้าใช้บริการจากสถานพยาบาลไหนได้บ้าง

หากคุณเป็นผู้ประกันตน คุณสามารถเข้ารับการบริการอย่างการตรวจวินิจฉัยโรครวมถึงการรักษาตามมาตรฐานทางการแพทย์ ตามสถานพยาบาลต่าง ๆ ที่อยู่ในเครือข่ายตามสิทธิที่สามารถใช้ได้ได้ค่ะ โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย

นอกจากนี้หากสถานพยาบาลนั้น ๆ ไม่สามารถให้บริการได้ ก็จะรับผิดชอบโดยการส่งไปยังสถานพยาบาลอื่นที่มีเครื่องมือและศักยภาพทางการแพทย์ที่สูงกว่าโดยที่คุณไม่ต้องออกค่าใช้จ่ายใด ๆ

กรณีเจ็บป่วยฉุกเฉิน จำเป็นต้องเข้าสถานพยาบาลอื่นนอกเครือข่าย

ข้อมูลจาก สํานักงานประกันสังคม

บางคนอาจจะสงสัยว่าหากคุณเกิดเหตุฉุกเฉินแล้วจะต้องเข้าแล้วต้องรักษาตัวที่สถานพยาบาลอื่นที่ไม่ใช่ในเครือข่าย อย่างกระทันหัน โดยที่คุณอาจจะหมดสติ หรือไม่มีสิทธิ์เลือกสถานพยาบาลได้จะต้องทำอย่างไร

หากคุณเจ็บป่วยฉุกเฉินสามารถเข้ารักษาได้รักษาได้ทุกโรงพยาบาล โดยจะไม่มีการเสียค่าใช้จ่ายใด ๆ หากคุณมีอาหารเหล่านี้ หมดสติ ไม่รู้สึกตัว ไม่หาย, เหนื่อยขั้นรุนแรง หายใจเร็ว, เหงื่อแตก ตัวเย็น มีอาการร่วม, มีอาการเจ็บหน้าออกอย่างรุ่นแรง หรือเจ็บหน้าอกอย่างเฉียบพลัน, แขนขาอ่อนแรง พูดไม่ชัด ชักอย่างต่อเนื่องไม่หยุด มีอาการอื่นที่มีผลต่อการหายใจ ระบบไหลเวียนโลหิต และอาการที่เกี่ยวกับระบบสมอง ซึ่งส่งผลให้เป็นอันตรายต่อชีวิต

ซึ่งทางโรงพยาบาลที่ไม่ได้อยู่ในเครือข่ายหรือเป็นโรงพยาบาลเอกชนจะให้การรักษาจนพ้นขั้นวิกฤต ในระยะเวลาไม่เกิน 72 ชั่วโมง นับรวมวันหยุดด้วยโดยที่ไม่ต้องสำรองจ่าย และไม่มีการจ่ายส่วนเกิน เพราะประกันสังคมจะเป็นผู้จ่าย

แต่หากไม่เข้าข่ายขั้นวิกฤตจริง ๆ คุณจะต้องรีบแจ้งสถานพยาบาลตามสิทธิ์ที่คุณต้องการใช้ด้วยนะคะ โดยใช้แค่บัตรประจำตัวประชาชนใบเดียวเท่านั้น ไม่เช่นนั้นคุณจะต้องเป็นคนจ่ายค่ารักษาเองทั้งหมด

การเบิกค่ารักษาพยาบาล สถานพยาบาลอื่น ภายใน 72 ชั่วโมง

ข้อมูลจาก สํานักงานประกันสังคม

1. โรงพยาบาลของรัฐ

ผู้ป่วยนอก สามารถเบิกค่ารักษาพยาบาลได้เท่าที่จ่ายจริง ตามความจำเป็น

ผู้ป่วยใน สามารถเบิกค่ารักษาพยาบาลเท่าที่จ่ายจริง ตามความจำเป็น เบิกค่าอาหารและค่าห้องได้ไม่เกิน 700 บาท/วัน

2. โรงพยาบาลเอกชน

ผู้ป่วยนอก สามารถเบิกค่ารักษาพยาบาลได้ ไม่เกิน 1,000 บาท

ผู้ป่วยใน สามารถเบิกค่ารักษาพยาบาลได้ตามเงื่อนไขต่อไปนี้

  • กรณีที่ไม่ได้รักษาในห้อง ICU เบิกได้ไม่เกินวันละ 2,000 บาท
  • เบิกค่าอาหารและค่าห้องได้ไม่เกิน 700 บาท/วัน
  • เบิกค่าอาหาร ค่าห้อง และค่ารักษาพยาบาล กรณีรักษาในห้อง ICU ได้ไม่เกิน 4,500 บาท/วัน
  • ผ่าตัดใหญ่ เบิกค่ารักษาได้ไม่เกิน 8,000-16,000 บาท/ครั้ง (ซึ่งจะคิดตามระยะเวลาการผ่าตัดอีกที)
    • ผ่าตัดใหญ่ไม่เกิน 1 ชั่วโมง 8,000 บาท/ครั้ง
    • ผ่าตัดใหญ่เกิน 1 ชั่วโมง แต่ไม่เกิน 2 ชั่วโมง 12,000 บาท บาท/ครั้ง
    • ผ่าตัดใหญ่เกิน 2 ชั่วโมง 16,000 บาท/ครั้ง
  • ค่าฟื้นคืนชีพรวมค่ายาและอุปกรณ์ เบิกได้ไม่เกิน 4,000 บาท/ครั้ง
  • ค่าตรวจทางห้องปฏิบัติการและ / หรือ เอกซเรย์ เบิกได้ไม่เกิน 1,000 บาท/คน
  • ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ เบิกได้ไม่เกิน 300 บาท/คน
  • ตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อน ความถี่สูง เบิกได้ไม่เกิน 1,500 บาท/คน
  • ตรวจคลื่นสมอง เบิกได้ไม่เกิน 350 บาท/คน
  • ตรวจอัลตร้าซาวด์ เบิกได้ไม่เกิน 1,000 บาท/คน

วิธี เบิกค่ารักษาพยาบาล กับ ประกันสังคม แบบ New Normal

เนื่องจากตอนนี้หลาย ๆ องค์กรของรัฐ เริ่มมีการปรับใช้วิธีการบริการแบบออนไลน์กันมากขึ้นไม่ว่าจะเป็นการจองคิวทำพาสปอร์ตแบบใหม่, การพกใบขับขี่ดิจิตอล, การต่อใบขับขี่ออนไลน์, บริการออนไลน์กรมที่ดิน, การใช้งานแอปฯ กยศ., ผ่านแอปฯ FARMBOOKเป็นต้น

ดังนั้นรายการแบบฟอร์มต่อไปนี้จะเป็นการดาว์นเอกสารสำหรับใช้เบิกค่ารักษาต่าง ๆ และนำเอกสารที่ดาว์นโหลดมาปริ้น จากนั้นให้กรอกข้อมูล พร้อมลงลายมือชื่อเซ็นให้ถูกต้องเรียบร้อย

  • แบบฟอร์มของกองทุนเงินทดแทน
  • แบบฟอร์มขอรับประโยชน์ทดแทน

พร้อมแนบเอกสารที่ต้องใช้ดังต่อไปนี้:

  1. ใบรับรองแพทย์
  2. ใบเสร็จรับเงิน

โดยสามารถดำเนินการเรื่องได้ทั้งทางไปรษณีย์, โทรสาร (Fax), E-Mail หรือ ไลน์ของทางไปสำนักงานประกันสังคม ซึ่งแต่ละพื้นที่แตละจังหวัดนั้นก็จะใช้ช่องทางการติดต่อสื่อสารที่ไม่เหมือนกัน สามารถเช็กจากที่นี่ค่ะ

I am a graduate of Department of Computer Engineering Prince of Songkla University. I really enjoy writing and reviewing technology and women's products.

ยื่นเบิกค่ารักษาพยาบาลประกันสังคมกี่วันได้เงิน

คำตอบคือ ขึ้นอยู่กับระยะเวลาพิจารณาเอกสารของเจ้าหน้าที่ประกันสังคม บางคนได้เงินเร็วสุดใน 7 วัน หรือในวันที่ 30 หรือ 31 ของเดือนที่ทำเรื่องเบิก โดยผู้ประกันตนสามารถเข้าไปเช็คสถานะการจ่ายเงินได้ที่ www.sso.go.th หรือโทร. 1506.

เบิกค่ารักษาพยาบาลประกันสังคมต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง

สำรองเงินประกันสังคมไปแล้วจะเบิกคืน ใช้เอกสารอะไรบ้าง?.
แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน (สปส.2-01 ) ดาวน์โหลดได้ที่นี่.
ใบรับรองแพทย์ (ระบุอาการที่เกิดขึ้นโดยละเอียด.
ใบเสร็จรับเงิน (กรณีฉุกเฉินไม่เข้าโรงพยาบาลตามบัตรรับรองสิทธิฯ).
หนังสือรับรองจากนายจ้าง (กรณีเบิกเงินทดแทนการขาดรายได้).
สถิติวันลาจากบริษัทของผู้ยื่นคำขอ.

เบิกประกันสังคมย้อนหลังได้กี่วัน

สำหรับในกรณีนายจ้างหรือลูกจ้างจ่ายค่ารักษาพยาบาลไปก่อน สามารถนำใบเสร็จมาเบิกคืนได้ ภายใน 90 วัน นับตั้งแต่วันที่จ่าย แต่หากมีการทำการรักษาในสถานพยาบาลที่ทำความตกลงกับกองทุนเงินทดแทน ทางด้านสถานพยาบาลจะไปทำการเรียกเก็บเงินกับทางกองทุนโดยตรงเอง ซึ่งการจ่ายในส่วนของค่ารักษาพยาบาลนั้นจะจ่ายตามราคาประกาศของสถานพยาบาลที่ ...

เบิกค่ารักษาพยาบาลประกันสังคมได้ไหม

สามารถเบิกค่ารักษาพยาบาลทั่วไปได้ไม่เกินวันละ 2,000 บาท และค่าห้อง ค่าอาหาร ไม่เกินวันละ 700. สามารถเบิกค่ารักษาพยาบาล ค่าห้องและค่าอาหาร เมื่อรักษาในห้อง ICU ไม่เกินวันละ 4,500 บาท หากต้องผ่าตัดใหญ่ สามารถเบิกได้ไม่เกินครั้งละ 8,000-16,000 บาท ตามระยะเวลาการผ่าตัด ค่าฟื้นคืนชีพ เบิกได้ไม่เกิน 4,000 บาท

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก