Smoke detector หลักการทํางาน

หลายครั้งที่เพลิงนั้นมีขนาดใหญ่เกินการควบคุมเนื่องจากการรู้ตัวช้าก่อนไฟลุกลามการติด Smoke Detector อุปกรณ์ตรวจจับควันไฟ จะช่วยให้เราได้รู้ตั้งแต่ก่อนที่จะเกิดไฟไหม้ อุปกรณ์ตรวจจับควัน Smoke Detector จะมีด้วยกันอยู่ 2 แบบ หลักๆ คือ 1. แบบ Ionization Smoke Detector 2. แบบ Photoelectric Smoke Detector Smoke Detector นั้นใช้หลักการทำงานง่าย ๆ แต่การออกแบบการใช้งาน ควรจะคำนึงถึง หลักบางประการ Smoke Detector ต้องทำงานได้เมื่อตรวจจับควันได้ แต่ควรลดการแจ้ง เตือนที่ผิดพลาดที่ไม่ได้เกิดจากควันจริงๆ ซึ่งอาจจะเกิดจากสาเหตุหลายประการ สำหรับ Ionization Smoke Detector ฝุ่น และคราบสกปรกที่สะสมบนสารแผ่รังสี จะทำให้ Smoke Detector ตรวจจับไวเกินไป ส่วนในแบบ Photoelectric Smoke Detector นั้น ฝุ่นที่เกาะตามผนังของห้อง Sensing Chamber อาจจะเพิ่มแสงสะท้อนสู่ Photosensitive Element ทำให้เกิดการแจ้งเตือนที่ผิดพลาดได้เช่นกัน กระแสไฟ กระเพื่อม หรือรังสีบางชนิดสามารถมีผลกระทบต่อวงจร ของ Smoke Detector ทั้ง สองแบบได้ และแปลความหมายเป็นควัน ซึ่งทำให้เกิดการแจ้งเตือนที่ผิดพลาดได้ ดังนั้น ค่าความไว ของตัว Smoke Detector ต้องอยู่ในระดับที่พอเหมาะ ตามที่ได้กำหนดไว้ โดยสถาบันรับรอง หรือ สถาบันทดสอบ ที่น่าเชื่อถือของโลก เช่นที่สถาบัน Loss Prevention Certification Board (LPCB) ของประเทศอังกฤษ หรือ Under Writer Laboratory (UL) ของ ประเทศสหรัฐอเมริกา (USA) เป็นต้น ซึ่งสถาบันเหล่านี้สามารถตรวจสอบ และทดสอบ Smoke Detector ในห้องทดสอบ Fire Test ได้ จำลองการเผาไหม้จริงจากเชื้อเพลิงหลายชนิด เพื่อทดสอบประสิทธิ ภาพการตรวจจับควันของอุปกรณ์ Smoke Detector นั้นๆ ทั้งนี้ไม่ว่า Smoke Detector จะออกแบบมาให้มีหลักการทำงานอย่างไรก็ตามที่สำคัญ คือ จะต้องสามารถตรวจจับควันได้ ตามมาตรฐาน และตามที่คุณสมบัติของระบบอุปกรณ์กำหนดได้ไว้

การพิจารณาเลือกใช้ Smoke Detector

คุณลักษณะเฉพาะของ Ionization Smoke Detector ทำให้เหมาะสำหรับการจับควันที่เกิด จากการเผาไหม้ที่เกิดเปลวไฟ อย่างรวดเร็ว ก่อให้เกิดอณูขนาดเล็ก ประมาณ 0.01 ถึง 0.3 ไมคอน (Micron) ส่วน Photoelectric Smoke Detector นั้น เหมาะสำหรับจับควันที่ เกิดจากการเผาไหม้อย่างช้าๆ โดยมีอณูที่ขนาด 0.3 ? 10 Micron ทั้งนี้ทั้งนั้น Smoke Detector ทั้ง 2 แบบสามารถจับควันที่เกิดจากการเผาไหม้ ทั้งสองได้เช่นเดียวกัน จะต่างกัน ก็ตรงที่เวลาตอบสนองต่อควันไฟแต่ละชนิดเท่านั้น การป้องกันเพลิงไหม้ในอาคารนั้น จะมี เชื้อเพลิงอยู่หลายชนิด จึงเป็นการยากที่จะบอกได้ว่า เมื่อเกิดเพลิงไหม้จะเกิดควันประเภทใด ออกมา โดยความจริงแล้วต้นกำเนิดเพลิงเดียวกันอาจจะก่อให้เกิดเพลิงไหม้ที่แตกต่างกัน ยกตัวอย่างเช่น ถ้าทิ้งก้นบุหรี่บน โซฟา หรือ เตียงนอน จะก่อให้เกิดไฟไหม้ที่ลามอย่างช้าๆ แต่ถ้าทิ้งก้นบุหรี่ลงไปบนกระดาษหนังสือพิมพ์ที่วางบนโซฟา หรือเตียงนอนจะทำให้เกิดเ พลิงไหม้โดยเกิดเปลวไฟขึ้นอย่างรวดเร็วได้

Smoke detector หลักการทํางาน

สถิติจากสมาคมป้องกันอัคคีภัยแห่งชาติ (National Fire Protection Association: NFPA) พบว่าการสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สินจากเหตุเพลิงไหม้ในอาคาร 38% ไม่มีระบบ Smoke Detector และ 21% พบว่าอาคารที่เกิดเพลิงไหม้แม้ว่าจะติดตั้งระบบ Smoke Detector แต่เมื่อเกิดเหตุเพลิงไหม้ระบบไม่ทำงาน

ความสำคัญของ Smoke Detector คือการตรวจจับอนุภาคควันไฟเมื่อเกิดเหตุเพลิงไหม้ ในขณะที่เปลวไฟเริ่มลุกไหม้บนเชื้อเพลิง ควันไฟจะเป็นสิ่งแรกที่จะลอยขึ้นสู่ที่สูงก่อน ซึ่งจะไปกระทบกับเครื่องตรวจจับควันไฟที่ถูกติดตั้งอยู่บนเพดาน

ทำให้การส่งสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้ (Signaling Equipment) เริ่มทำงานเพื่อแจ้งเตือนให้คนที่อยู่ภายในอาคารรับรู้เหตุการณ์ได้ทันที ส่งผลให้การอพยพออกจากอาคาร หรือการควบคุมเพลิงไม่ให้ลุกลามเป็นไปอย่างรวดเร็วและลดความสูญเสียลงได้

Smoke detector หลักการทํางาน

หลังจากที่ท่านได้ทำการติดตั้งอุปกรณ์ตรวจจับควันไฟหรือ Smoke Detector ในอาคารของท่านแล้ว บทความนี้จะกล่าวถึงวิธีการตรวจสอบความพร้อมในการทำงานของอุปกรณ์ตรวจจับควันไฟ เพื่อให้พร้อมใช้งานอยู่ตลอดเวลา และส่วนประกอบใดบ้างที่ต้องทำการทดสอบการทำงาน เพื่อตรวจดูว่าถึงเวลาที่จะต้องเปลี่ยนอุปกรณ์ใหม่แล้วหรือไม่

“ข้อควรรู้”

ระหว่าง Smoke Alarm และ Smoke Detector

Smoke Alarm เป็นอุปกรณ์ตรวจจับควันและมีตัวเปล่งสัญญาณเตือนภัยได้ในตัว เหมาะกับการติดตั้งในบ้านหรืออาคารพาณิชย์ที่มีความสูงไม่เกิน 3 ชั้น

Smoke Detector เป็นอุปกรณ์ตรวจจับควันที่ทำงานร่วมกันกับระบบ Alarm System หรือสัญญาณแจ้งเตือนเหตุเพลิงไหม้ เหมาะกับการติดตั้งในอาคารที่มีความสูงตั้งแต่ 3 ชั้นขึ้นไป

หลังจากการติดตั้งอุปกรณ์ตรวจจับควันไปแล้วทุก 1-2 ปี ควรมีการสำรวจความพร้อมของอุปกรณ์ว่ายังสามารถใช้งานได้หรือไม่ เนื่องจากปัจจัยทางสภาพแวดล้อม เช่น ฝุ่น ลม ความร้อน ความชื้น มีผลทำให้อุปกรณ์ตรวจจับควันเกิดความเสียหายหรือมีประสิทธิภาพในการทำงานลดลง

Smoke detector หลักการทํางาน

  1. ชิ้นส่วนสำคัญของอุปกรณ์ที่ติดตั้งยังอยู่ครบ เช่น หลอดไฟแสดงผล อุปกรณ์ต่อสัญญาณกับวงจรสัญญาณ
  2. ตรวจสอบว่ามีฝุ่นสะสมอยู่ภายในตัวตรวจจับหรือไม่ เนื่องจากการสะสมของฝุ่นจะส่งผลต่อการตรวจจับควันไฟให้ไม่สามารถทำงานได้ดี
  3. ตาข่ายป้องกันแมลงที่ติดตั้งบนกล่องครอบอุปกรณ์อยู่ในสภาพที่ยังใช้งานได้ดี และได้รับการทำความสะอาด
  4. ชิ้นส่วนโลหะของอุปกรณ์ไม่มีร่องรอยการผุกร่อน
  5. อุปกรณ์ยังคงติดตั้งอยู่อย่างมั่นคง น็อตที่ยึดอุปกรณ์ไม่หลุดหลวมและอยู่ในสภาพการใช้งานที่ปกติ

ทดสอบการทำงานของระบบ Smoke Detector

การทดสอบการทำงานของอุปกรณ์

อุปกรณ์ตรวจจับควันต้องทดสอบการทำงานภายใต้สภาวะการใช้งานที่ได้ออกแบบเอาไว้ ทั้งค่าความไวของการตรวจจับและการป้อนแรงดันไฟฟ้า สามารถทำได้โดยการปล่อยควันเข้าอุปกรณ์จับควัน เช่น ควันจากไส้ตะเกียง หรือเชือก ที่เมื่อติดไฟแล้วจะทำให้เกิดปริมาณควันได้เกินระดับที่กำหนดเอาไว้ หลังจากที่อนุภาคควันเข้าไปในอุปกรณ์แล้วระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้จะต้องทำงานไม่น้อยกว่า 4 นาที

นอกจากการตรวจสอบการทำงานของอุปกรณ์แล้ว ยังต้องตรวจสอบระบบการจ่ายกระแสไฟฟ้าจากแหล่งสำรองให้กับอุปกรณ์ด้วย โดยทำการตัดการจ่ายไฟหลักเพื่อดูว่าแหล่งจ่ายไฟสำรองสามารถส่งกระแสไฟฟ้าให้กับอุปกรณ์ตรวจจับควันหรือไม่

การประเมินผลความสามารถของแบตเตอรี่

ความสามารถของแบตเตอรี่ต้องมีกำลังการจ่ายไฟฟ้าให้กับอุปกรณ์ส่งสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้ โดยมีระยะเวลานานอย่างน้อย 1 ปี แบตเตอรี่ได้รับการตรวจคุมทางไฟฟ้าดังนี้

  1. เมื่อมีชิ้นส่วนสายไฟฟ้าเชื่อมต่อเกิดการหลุดหรือหลวม ที่ส่งผลต่อการลัดวงจรของระบบต้องแสดงสัญญาณขัดข้อง ซึ่งการแสดงสัญญาณขัดข้องของอุปกรณ์ต้องแสดงไม่น้อยกว่า 1 ครั้งต่อนาทีและต่อเนื่องอย่างน้อย 7 วัน โดยมีเสียงสัญญาณแตกต่างจากเสียงสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้
  2. ทำการทดสอบความผิดปกติของวงจรไฟฟ้าทีละอย่าง และแต่ละครั้งให้ทำการบันทึกผลไว้เพื่อแก้ไขให้ถูกต้องก่อนทำการทดสอบความผิดปกติอื่น
  3. กรณีที่ใช้แบตเตอรี่เป็นแหล่งจ่ายไฟฟ้าหลัก หากกำลังไฟของแบตเตอรี่ไม่สามารถส่งให้สัญญาณแจ้งเตือนเหตุเพลิงไหม้ได้ถึง 4 นาที อุปกรณ์ต้องส่งสัญญาณการขัดข้อง

วิธีทดสอบการตรวจจับควัน

การทดสอบความไวในการตรวจจับควันด้วยอุปกรณ์ทดสอบ ในการตรวจค่าการตรวจจับสูงสุดและต่ำสุดตามความสามารถของอุปกรณ์ภายใต้ความเร็วลม รวมถึงทิศทางของควันไฟตามค่าที่กำหนด เพื่อทำการทดสอบประสิทธิภาพการทำงานของอุปกรณ์ตรวจจับควันหลังจากการติดตั้งไปแล้ว โดยมีวิธีการดังนี้

  1. ทำการทดสอบภายใต้อุณหภูมิระหว่าง 20-26 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ที่ 30-70% และความดันอากาศ 93.3 กิโลปาสคาล
  2. การทดสอบด้วยละอองควันที่ใช้ในการทดสอบ ต้องทำการป้อนเข้ากล่องตรวจจับควันแบบต่อเนื่องจนกว่าอุปกรณ์จะแสดงสถานะตรวจจับได้หรือมีการแจ้งเหตุเกิดขึ้น โดยการทดสอบแต่ละครั้งต้องทำการระบายอากาศให้กล่องจนกว่าอุปกรณ์จะกลับไปแสดงสถานะปกติ และมีการไหลของอากาศอยู่ในระดับเสถียรไม่น้อยกว่า 30 วินาทีก่อนทำการทดสอบอีกครั้ง
  3. การทดสอบในห้องทดสอบ อุปกรณ์ตรวจจับควันต้องปรับค่าไว้ให้ต่ำที่สุด หลังจากที่จุดเชื้อเพลิงแล้วให้ทำการจับเวลา เมื่อเครื่องเริ่มส่งสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้ต้องต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 5 วินาที ซึ่งการประเมินผลการทดสอบคือ อุปกรณ์ตรวจจับควันแต่ละตัวต้องทำงานในช่วงความไวตามที่กำหนด

สรุป

หลังจากการตรวจสอบสภาพการใช้งานและการทดสอบการทำงานของระบบตรวจจับควันแล้ว พบว่าอุปกรณ์มีการชำรุดหรือไม่ผ่านเกณฑ์การทดสอบที่กล่าวถึงข้างต้น อุปกรณ์ Smoke Detector ควรได้รับการเปลี่ยนใหม่ เพื่อติดตั้งทดแทนอุปกรณ์เดิมที่ชำรุดหรือเสื่อมสภาพ

เนื่องจากการใช้งานอุปกรณ์ Smoke Detector ที่เสื่อมสภาพไปแล้ว อาจมีการทำงานที่ผิดพลาดได้ (False Alarm) ส่งผลให้ระบบแจ้งเตือนเหตุเพลิงไหม้ทำงานได้อย่างผิดปกติ และเมื่อเกิดเหตุเพลิงไหม้อุปกรณ์ตรวจจับควันก็อาจจะไม่ทำงานจนทำให้เกิดความเสียหายที่รุนแรงต่อชีวิตและทรัพย์สินได้

สำหรับท่านใดที่ยังมีคำถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับระบบ Smoke Detector หรือต้องการวางแผนติดตั้งระบบดับเพลิงในอาคารของคุณ ติดต่อเราได้ที่นี่ เรามีผู้เชี่ยวชาญด้านระบบดับเพลิงที่คอยให้คำปรึกษากับคุณอย่างเต็มที่

ติดตาม Harn Engineering Solutions

เรามีบทความดีๆ และเต็มเปี่ยมไปด้วยคุณภาพ ส่งตรงถึงอีเมลคุณทุกสัปดาห์

Smoke Detector มีหน้าที่อะไร

ความสำคัญของ Smoke Detector คือการตรวจจับอนุภาคควันไฟเมื่อเกิดเหตุเพลิงไหม้ ในขณะที่เปลวไฟเริ่มลุกไหม้บนเชื้อเพลิง ควันไฟจะเป็นสิ่งแรกที่จะลอยขึ้นสู่ที่สูงก่อน ซึ่งจะไปกระทบกับเครื่องตรวจจับควันไฟที่ถูกติดตั้งอยู่บนเพดาน

อุปกรณ์ตรวจจับควันคืออะไรมีคุณสมบัติในการทำงานอย่างไร

หลักการทำงาน โดยทั่วไป อุปกรณ์ตรวจจับควัน จะทำงานโดยอาศัย หลักการคือเมื่อมีอนุภาคควัน ลอยเข้าไปในอุปกรณ์ตรวจจับควัน อนุภาพควันจะเข้าไปกีดขวางวงจรไฟฟ้า หรือกีดขวางระบบแสงในวงจร หรือใช้อนุภาคควันในการหักเหแสงไปที่ตัวรับแสง

Photoelectric Smoke Detector คืออะไร

2.Photoelectric Smoke Detector เมื่อมีการเผาเพลิงเกิดขึ้น และควันลอยขึ้นไปในอากาศเข้าไปใน Smoke Detector ทำให้ควันเข้าไปบังแสงที่ส่องไปยังวัตถุไวแสงในตัวอุปกรณ์ตรวจจับควัน เมื่อความเข้มข้นของแสงลดลงจนถึงจุดที่กำหนดไว้ Smoke Detector จะส่งสัญญาณเตือนภัยทันที

อุปกรณ์ตรวจจับควัน (Smoke Detector) มีกี่ชนิด

อุปกรณ์ตรวจจับควัน Smoke Detector จะมีด้วยกันอยู่ 2 แบบ หลักๆ คือ 1. แบบ Ionization Smoke Detector. 2. แบบ Photoelectric Smoke Detector. โดยทั้ง 2 แบบนี้จะมี Sensing Chamber (ห้องจับควัน) ที่แตกต่างกัน มีหลักการทำงานที่ต่าง