การประเมินโครงงานวิทยาศาสตร์

โครงงานเมื่อทำการศึกษา และปฏิบัติเรียบร้อยแล้วต้องมีการวัดและประเมินผล โดยต้องวัดให้ครอบคลุมกิจกรรมการทำงาน  ตั้งแต่การเตรียมก่อนลงมือทำกิจกรรม กระบวนการทำงานตามแผนที่วางไว้และผลสำเร็จของผลงานที่อาจอยู่ในรูปชิ้นงาน หรือทฤษฎีก็ได้ เพื่อหาข้อบกพร่อง  ปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นในระหว่างทำงาน จนถึงสิ้นสุดการปฏิบัติงาน การประเมินผลมักจะประเมินตามจุดประสงค์และการปฏิบัติงาน  จะต้องทำอย่างต่อเนื่อง  สม่ำเสมอและมีผลย้อนกลับต่อผู้ปฏิบัติงานคือ นำผลประเมินไปปรับปรุงและพัฒนาต่อไป ซึ่งกิจกรรมเหล่านี้ถือเป็นพฤติกรรมการเรียนรู้ที่ต้องการให้ผู้เรียน เปลี่ยนแปลง คือ พฤติกรรมการเรียนรู้ทั้ง 3 ด้าน คือ

1.  พุทธพิสัย   คือ การเปลี่ยนแปลงด้านความคิด

2.  จิตพิสัย     คือ การเปลี่ยนแปลงด้านเจตคติหรือจิตใจ

3.  ทักษะพิสัย คือ การเปลี่ยนแปลงทางด้านการทำงาน

ประโยชน์การประเมินโครงงาน

1.  ทำให้ทราบข้อบกพร่องและความสำเร็จของงาน

2.  ทำให้มีการปรับปรุงแก้ไขตลอดเวลาที่กำลังปฏิบัติงาน

3. ผู้ปฏิบัติงานมีความกระตือรือร้นที่จะทำงานด้วยควาตั้งใจ  เสียสละ  จริงใจ

4. ทำให้บุคคลอื่นทราบว่าโครงงานได้รับความสำเร็จหรือล้มเหลว ถ้าสำเร็จก็จะนำไปเป็นแบบอย่างต่อไป  ถ้าล้มเหลวก็จะทราบว่าเป็นเพราะเหตุใด และหาแนวทางแก้ไขปรับปรุงต่อไป

องค์ประกอบของเกณฑ์การประเมินผลงาน

1.  การวางแผนการทำโครงงาน

2.  วิธีการดำเนินงานโครงงาน

3.  สรุปผลการดำเนินโครงงาน

4.  การนำเสนอโครงงาน

แนวทางประเมินโครงงาน

1. ประเมินในหัวข้อต่างๆเช่น การแสดงออก  ความรู้ ความคิด ความสามารถ ทักษะคุณธรรม  จริยธรรม  ค่านิยม  กระบวนการเรียนรู้  กระบวนการทำงาน  ผลผลิต  แฟ้มสะสมงาน  ผลงานการทดสอบ

2.  ประเมินผลโดยให้ผู้สอน  ผู้เรียน ผู้ปกครอง  เพื่อน  ฯลฯ เป็นผู้ประเมิน

3.  ระยะเวลาในการประเมิน อาจประเมินเป็นระยะๆ เช่น ก่อนการทำโครงงาน(ขั้นเตรียมการ) ระหว่างทำโครงงาน หลังทำโครงงาน  โดยใช้วิธีการต่างๆประเมิน  เช่น  การสังเกต  สัมภาษณ์  ตรวจรายงาน  ตรวจผลงาน  ทดสอบ  จัดนิทรรศการแสดงผลงานฯลฯ

การประเมินโครงงานวิทยาศาสตร์

    คำชี้แจง ให้นักเรียนอ่านหัวเรื่อง ศึกษาสาระสำคัญ และจุดประสงค์การเรียนรู้การจัด นิทรรศการโครงงานวิทยาศาสตร์ ต่อไปนี้

   หัวเรื่อง           1. การจัดนิทรรศการโครงงานวิทยาศาสตร์
                             2. การทำแผงสำหรับแสดงโครงงานวิทยาศาสตร์
                             3. การประเมินโครงงานวิทยาศาสตร์

   สาระสำคัญ   การจัดนิทรรศการโครงงานวิทยาศาสตร์เป็นการรวบรวมผลงานต่างๆ มาแสดงไว้ในที่เดียวกัน เพื่อแสดงแนวคิดการกระทำ หรือผลงานให้ผู้ชมได้ศึกษาข้อมูลต่างๆ เป็นการกระตุ้นให้ประชาชนทั่วไปสนใจผลงานหรือสนใจในผลิตภัณฑ์ที่นำออกจำหน่าย การจัดนิทรรศการเป็นการรวบรวมผลงานที่แสดงแนวคิดที่เป็นรูปแบบที่สามารถจับต้อง ดูได้ สัมผัสได้
 การประเมินโครงงานวิทยาศาสตร์เป็นสิ่งที่มีความสำคัญและมีความจำเป็นอย่างหนึ่งที่อาจารย์ที่ปรึกษาจะต้องทำขึ้นเพื่อให้นักเรียนที่ทำโครงงานวิทยาศาสตร์ได้ทราบผลการจัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์ของตนเองว่าอยู่ในระดับใด ควรปรับปรุงแก้ไขอย่างไรบ้าง

    จุดประสงค์การเรียนรู้
                เมื่อนักเรียนศึกษาจบชุดฝึกที่ 5 แล้ว นักเรียนสามารถ
                1. อธิบายความหมายและความสำคัญของการจัดนิทรรศการโครงงานวิทยาศาสตร์ได้
                2. อธิบายข้อปฏิบัติในการจัดนิทรรศการโครงงานวิทยาศาสตร์ได้
                3. จัดทำแผงสำหรับแสดงโครงงานวิทยาศาสตร์ได้
                4. อธิบายส่วนประกอบของหัวข้อต่างๆ บนแผงโครงงานวิทยาศาสตร์ได้
                5. ประเมินผลโครงงานวิทยาศาสตร์ของตนเองและของเพื่อนได้

การประเมินโครงงานวิทยาศาสตร์

   สาระการเรียนรู้   การจัดนิทรรศการแสดงโครงงานวิทยาศาสตร์ ควรคำนึงถึงสิ่งต่างๆ ดังต่อไปนี้

  1. ความปลอดภัย
  2. ความเหมาะสมของเนื้อหาที่จัดแสดง
  3. การเขียนอธิบาย ควรใช้ข้อความที่กะทัดรัด ชัดเจน เข้าใจง่าย
  4. ใช้สีที่สดใส เพื่อดึงดูดผู้ชม
  5. ใช้ตารางและรูปภาพประกอบโดยจัดวางให้เหมาะสม
  6. กรณีที่เป็นสิ่งประดิษฐ์ ควรอยู่ในสภาพที่ทำงานได้อย่างสมบูรณ์

    คำชี้แจง     ให้นักเรียนตอบคำถามต่อไปนี้ (ข้อละ 2 คะแนน)

  1. การจัดนิทรรศการ หมายถึงอะไร

……………………………………………………………………………..............…………………….
……………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………
               2. การจัดนิทรรศการมีประโยชน์อย่างไรบ้าง
………………………………………………………………………………………..............………….
……………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………
                3. การจัดนิทรรศการโครงงานนั้น ควรคำนึงถึงสิ่งใดบ้าง
……………………………………………………………………………….............………………….
……………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………

การประเมินโครงงานวิทยาศาสตร์

       เนื้อหาสาระ

การประเมินโครงงานวิทยาศาสตร์

       การทำแผงสำหรับแสดงโครงงานวิทยาศาสตร์ให้ใช้ไม้อัดมีขนาดดังรูป
ติดบานพับมีห่วงรับและขอสับทำมุมฉากกับตัวแผ่นกลาง    ในการเขียนแผง ควรปฏิบัติดังนี้
       1. ต้องประกอบด้วย ชื่อโครงงาน ชื่อผู้จัดทำโครงงาน ชื่อที่ปรึกษา คำอธิบายย่อยๆ
ถึงเหตุจูงใจในการทำโครงงาน ความสำคัญของโครงงาน วิธีดำเนินการเลือกเฉพาะขั้นตอนที่สำคัญ 
ผลที่ได้จากการทดลอง อาจแสดงเป็นตาราง กราฟ หรือรูปภาพก็ได้     ประโยชน์ของโครงงาน สรุปผล เอกสารอ้าอิง
       2. จัดเนื้อที่ให้เหมาะสม ไม่แน่นจนเกินไปหรือน้อยจนเกินไป
       3. คำอธิบายกะทัดรัด ชัดเจน เข้าใจง่าย
       4. ใช้สีสันสดใส  เน้นจุดสำคัญ ดึงดูดความสนใจ
      5. อุปกรณ์ประเภทประดิษฐ์ควรอยู่ในสภาพที่ทำงานได้อย่างสมบูรณ์

    คำชี้แจง   ให้นักเรียนนำหัวข้อโครงงานวิทยาศาสตร์ที่อยู่หลังพยัญชนะ มาเติมลงหลังหมายเลข บนแผงโครงงานวิทยาศาสตร์ตามลำดับขั้นตอนการจัดทำแผงโครงงาน วิทยาศาสตร์ (ข้อละ 1 คะแนน)
               

การประเมินโครงงานวิทยาศาสตร์

                ก.วัตถุประสงค์
                ข.บทคัดย่อ
                ค.ที่ปรึกษา
                ง.ผู้จัดทำ
                จ.ที่มาและความสำคัญ
                ฉ.สรุปผล
                ช.ชื่อเรื่อง
                ซ.ข้อเสนอแนะ
                ฌ.สมมติฐาน
                ญ.ผลของการศึกษาค้นคว้า
                ฎ.ประโยชน์
                ฏ. โรงเรียน
                ฐ.ตัวแปรที่เกี่ยวข้อง
                ฑ.วิธีดำเนินการศึกษาค้นคว้า

การประเมินโครงงานวิทยาศาสตร์

     สาระการเรียนรู้  การประเมินโครงงานวิทยาศาสตร์เป็นสิ่งที่มีความสำคัญและมีความจำเป็นอย่างหนึ่งที่ครู
ที่ปรึกษาจะต้องทำขึ้นเพื่อให้นักเรียนที่ทำโครงงานวิทยาศาสตร์ได้ทราบผลการจัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์ของตนเองว่าอยู่ในระดับใด ควรปรับปรุงแก้ไขอย่างไรบ้าง

    คำชี้แจง  ให้นักเรียนฝึกประเมิน โครงงานวิทยาศาสตร์ของเพื่อนมา 1โครงงานพิจารณาให้คะแนนตามความเหมาะสม  ตามหัวข้อต่อไปนี้

แบบประเมินโครงงานวิทยาศาสตร์
เรื่อง.....................................................................................
สมาชิกในกลุ่ม     ........................................................................ชั้น.............
........................................................................ชั้น.............
........................................................................ชั้น.............

ประเด็นที่ประเมิน

การให้คะแนน

หมายเหตุ

0

1

2

3

1. ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
2. การกำหนดปัญหาและตั้งสมมุติฐาน
3. ข้อมูลและข้อเท็จจริงประกอบการทำโครงงาน
4. การออกแบบการทดลอง
5. อุปกรณ์และเครื่องมือที่ใช้ทดลอง
6. การดำเนินการทดลอง
7. การบันทึกข้อมูล
8. การจัดกระทำข้อมูล
9. การแปลความหมายของข้อมูลและการสรุปผล
    ของข้อมูล
10. การเขียนรายงาน

                     ลงชื่อ.........................................ผู้ประเมิน
                (................................................)

เกณฑ์การประเมิน
                        ระดับคุณภาพ                         คะแนน
                        มีความเหมาะสมดีมาก              4               
                        มีความเหมาะสมดี                     3
                        มีความเหมาะสมพอใช้              2                        
                        ควรปรับปรุง                               1    
เกณฑ์ผ่าน   รายกิจกรรม  2  คะแนนขึ้นไป  คะแนนรวม  30  คะแนนขึ้นไป