โครงงาน ขยะใน โรงเรียน บทที่ 3

โครงงาน

เรื่อง  ขยะในชุมชน

เสนอ

คุณครูณัฎฐิกา  สิทธิจันทร์

จัดทำโดย

1.เด็กหญิงดารินทร์  ดาบสีพาย        เลขที่ 13

2.เด็กหญิงพิสมัย เทียมคำ              เลขที่ 14

3.เด็กหญิงยุพาวรรณ  จำปาคำ       เลขที่ 15

4.เด็กหญิงเสาวลักษณ์  ขำสว่างศรี   เลขที่ 20

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559

โรงเรียนหัวโทนวิทยา

อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 27

บทคัดย่อ

ขยะ เป็นสิ่งที่เกิดจากเราแต่ในปัจจุบันเริ่มมีปัญหาขยะล้นเมือง เนื่องจากพวกเรานั้นไม่แยกขยะทำให้ยากต่อการกำจัดและมีบางส่วนที่มักง่ายไม่ทิ้งขยะลงถัง

จากการศึกษาและค้นคว้าด้วยการทำโครงงานทดลองพบว่า  มีข้อมูลที่น่าสนใจ  คือ  ขยะบางประเภทสามารถนำมาใช้ซ้ำ รีไซเคิล หรือนำมาเพิ่มมูลค่าได้

โครงงานเรื่อง ขยะในชุมชน จุดมุ่งหมายของการศึกษาค้นคว้า  :  เพื่อเป็นการพัฒนาชุมชนในด้านหนึ่งรวมทั้งเป็นการสร้างนิสัยในการทิ้งขยะของคนในชุมชนและการใช้ประโยชน์จากขยะ เช่น การรีไซเคิล การแยกขาย การทำปุ๋ยหมัก ล้วนเป็นวิธีการกำจัดขยะที่ยั่งยืนที่สุด

กิตติกรรมประกาศ

ขอขอบพระคุณ  ครูณัฎฐิกา  สิทธิจันทร์ ที่กรุณาให้คำแนะนำในการจัดทำโครงงาน อำนวยความสะดวกจัดหาอุปกรณ์ อุทิศเวลา และเป็นที่ปรึกษาโครงงาน  โดยเฉพาะการนำเสนอที่ถูกต้อง

            สุดท้ายนี้ขอขอบใจเพื่อนนักเรียนทุกคนที่ให้ความร่วมมือ ร่วมแรง ร่วมใจ  ให้ข้อแนะนำเสนอแนะ  ทำให้ผลงานออกมาได้เป็นอย่างดี

                                                                                                     คณะผู้จัดทำ

สารบัญ

เรื่อง                                                                                                หน้า

บทคัดย่อ                                                                                                                                     

กิตติกรรมประกาศ                                                                                                           

บทที่1 บทนำ                                                                                             

   -ที่มาและความสำคัญของโครงงาน                                                                

   -วัตถุประสงค์ของการศึกษา                                                                        

   -สมมติฐานการศึกษา                                                                              

   -ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ                                                                        

บทที่2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง                                                                                                                                                       

   -ความหมายของขยะมูลฝอย                                                                                                                                           

บทที่3 วิธีการดำเนินโครงงาน                                                                                                                                                   

  -เครื่องมือและวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการศึกษา                                                        

 -ขั้นตอนการดำเนินงาน                                                                                                                          

บทที่4 ผลการศึกษา                                                                                                                                         

  -ผลการศึกษา                                                                                         

บทที่5 สรุปผลการศึกษา                                                                             

  -สรุปผลการศึกษา                                                                                    

บรรณานุกรม                                                                                                                                                                                                                  

บทที่1

บทนำ

ที่มาและความสำคัญของโครงงาน

        ในปัจจุบันคนเราคนต่างทั้งขยะกันโดยไม่คำนึงถึงการเกิดปัญหาตามมา เช่น ปัญหาขยะล้นโลก และในหมู่บ้านของเรานั้นทิ้งขยะไม่เป็นที่เป็นทางและไม่แยกขยะ จึงก่อให้เกิดปัญหาในชุมชน ซึ่งนำความสกปรก มาให้ชุมชน มีสัตว์ที่เป็นพาหะนำโรค หนู และ หนอน ซึ่งสัตว์เหล่านี้จะนำเชื้อโรคมาสู่คนได้ง่ายจะทำให้เป็นโรคต่างๆ ทั้งเรื้อรังและเฉียบพลันเหล่านี้เมื่อมีมากขึ้นก็จะทำให้เกิด ก๊าซมีเทน ซึ่งก๊าซนี้จะลอยตัวสู่ชั้นบรรยากาศขึ้นไปทำลายชั้นโอโซน หรือภาวะเรือนกระจกที่ทำให้ฤดูกาลบนโลกเปลี่ยนแปลงไป เช่น ฤดูร้อน แต่กับมีฝนตกหนักมากมีลูกเห็บตก ฤดูฝน กลับแห้งแล้ง ซึ่งในรังสี UVเกิดการปรับสภาพสมดุลไม่ทันทำให้โรคใหม่ๆเกิดทำให้ร่างกายอ่อนแอ ป่วยบ่อย ภูมิคุ้มกันของร่างกายลดลงทำให้เกิดมะเร็งผิวหนัง ซึ่งเป็นโรคนี้หาทางรักษายากและต้องใช้เงินเยอะ ซึ่งเป็นโรคที่ร้ายแรงมากมากทีเดียว

ส่วนในการแก้ไขปัญหาควรจะเริ่มจากการแยกขยะเพื่อรีไซเคิลลดการใช้ถุงพลาสติก การนำขยะที่นำกลับมาใช้ใหม่ ได้นำกลับมาใช้ใหม่ได้นำกลับมา ใช้อีกและนี่อาจเป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยลดขยะที่กำลังจะล้นโลกได้ และยังสามารถนำขยะที่ไม่สามารถนำกลับมารีไซเคิลได้ เช่น ผัก ผลไม้เน่า มาทำประโยชน์ เพื่อลดปริมาณขยะได้อีกโดยการหมักในการใช้กำจัดวัชพืชได้อีก นอกจากจะลดขยะเปียกได้แล้วยังลดการปล่อยก๊าซมีเทนที่ถูกปล่อยออกมาจากกระบวนการย่อยสลายของผัก ผลไม้เน่า ดังนั้นควรจะใช้วิธีนี้น่าจะดีที่สุด ซึ่งโอโซนที่อยู่ในชั้นบรรยากาศนี้มีหน้าที่กรองแสง UV จากดวงอาทิตย์มายังโลกให้น้อยลง เมื่อโอนโซนถูกทำลายความสามารถในการกรองรังสีก็มีน้อยลงจึงส่งผลให้เกิดภาวะโลกร้อน ในรังสีจะมีสารก่อมะเร็งค่อนข้างสูง เมื่อถูกสัมผัสกับผิวหนังจะรู้สึกแสบ ขยะในชุมชนนั้นถ้าหากเราแยกก่อนนำไปทิ้งเราสามารถ ทำให้ปริมาณขยะลดลงได้เท่าตัว แล้วหากนำขยะที่แยกได้มารีไซเคิลลดการผลิตพลาสติก หรือโฟมได้ซึ่งสารที่ใช้ผลิตโฟม เป็นสารสำคัญที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อน

วัตถุประสงค์ของการศึกษา

 -เพื่อรู้วิธีการจัดการขยะของแต่ล่ะชุมชน                                       

สมมติฐานการศึกษา

-สามารถนำขยะมาเพิ่มมูลค่า                                                                                 

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

-มีชุมชนมีความเป็นระเบียบมากขึ้นในด้านการจัดการขยะ

-เริ่มมีการคัดแยกขยะ

บทที่2

เอกสารที่เกี่ยวข้อง

ในปัจจุบันประเทศไทยมีแนวโน้มเกี่ยวกับปัญหาสิ่งแวดล้อมเพิ่มมากขึ้น ซึ่งมีผลโดยตรงต่อสุขภาพของมนุษย์

ทำให้มนุษย์ต้องประสบกับผลกระทบอันเกิดจากปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นพิษต่าง ๆ รณรงค์ ณ เชียงใหม่ (2525 : 55) ได้สรุปปัญหาสิ่งแวดล้อม ที่สำคัญคือ มลพิษทางน้ำมลพิษทางดิน มลพิษทางอากาศ และปัญหาขยะมูลฝอย โดยมีการปล่อยน้ำเสียและกากของเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมลงไปในแหล่งน้ำสาธารณะ ทำให้แหล่งน้ำสาธารณะสกปรกและเกิดสภาพเน่าเสีย สัตว์น้ำต่าง ๆ ต้องตายไปเป็นจำนวนมาก และเป็นการทำลายสุขภาพของประชาชนทั้งโดยทางตรง และทางอ้อม การทำลายพื้นที่ด้วยวิธีใด ๆ ก็ตามจะส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อม เช่น การใช้ประโยชน์ที่ดินไม่ถูกต้อง การทิ้งสิ่งขับถ่ายของมนุษย์และสัตว์ลงไปในดิน โดยขาดความระมัดระวังการทิ้งกากหรือของเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมลงในดิน การใช้สารเคมีทางการเกษตรทำให้สารพิษตกค้างอยู่ในดิน เป็นเหตุให้ดินเสื่อมความอุดมสมบูรณ์ อันมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

และสุขภาพของประชาชน เมื่อโรงงานอุตสาหกรรมได้เข้าไปตั้งในพื้นใดเพิ่มมากขึ้น มีการพัฒนาทางด้านการคมนาคม และการขนส่ง การใช้ยานพาหนะต่าง ๆ เพิ่มขึ้น ทำให้คุณภาพอากาศเปลี่ยนแปลงไปอยู่ในระดับที่อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพได้ รวมทั้งการนำสารเคมีมาใช้ในขบวนการผลิตต่าง ๆ ฝุ่นละอองเขม่าควันจากโรงงานอุตสาหกรรม

การฉีดพ่นยาทางการเกษตรตลอดจนในสารผสมอาหาร เมื่อร่างกายรับเอาสารเข้าไปสะสมทีละเล็กละน้อยจนมีปริมาณมากจะทำให้เกิดความผิดปกติในร่างกายและเป็นสาเหตุของการเกิดเซลล์มะเร็งหรืออาจไปลดภูมิต้านทานของร่างกายเป็นอันตรายต่อหน่วยสืบพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต ดังนั้น มลพิษต่างๆเหล่านี้เป็น ปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อความเป็นอยู่ และสุขภาพของมนุษย์ทั้งโดยทางตรง และทางอ้อม สำหรับปัญหาด้านขยะมูลฝอย ขยะเป็นตัวการสำคัญที่จะทำให้เกิดการระบาดของโรคเพราะขยะเป็นแหล่งเพาะเชื้อโรคต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งขยะที่เป็นอันตราย (Hazardouswaste) นอกจากนี้ขยะยังเป็นมลพิษที่สำคัญในเขตเมือง เนื่องจากการผลิตขยะจากชุมชนมีอัตราสูงในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบว่า อัตราการเกิดมูลฝอยเฉลี่ย 1.008 กิโลกรัม ต่อคนต่อวัน      วินัย วีระวัฒนานนท์ (2535 : 31-36) ได้กล่าวเพิ่มเติมถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อมนุษย์ที่สำคัญคือ ขยะมูลฝอย และสิ่งปฏิกูล นอกจากจะก่อให้เกิดความสกปรกแก่บ้านเมืองแล้ว ยังเป็นแหล่งแพร่เชื้อโรคด้วยความหมายของขยะมูลฝอย

จากการรวบรวมเอกสารที่เกี่ยวข้อง พบว่านักวิชาการหลายท่านได้ให้ความหมายของขยะมูลฝอยไว้ ดังนี้

พิชิต สกุลพราหมณ์ (2535 : 334) ได้ให้ความหมายว่า ขยะมูลฝอย หมายถึง บรรดา สิ่งของที่เสื่อมสภาพ ชำรุด หรือสภาพการใช้งาน ได้แก่ เศษสิ่งของ หรือเศษวัสดุต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากอาคาร ที่พักอาศัย สถานที่ทำการ โรงงานอุตสาหกรรม ตลาด ถนน   สำนักงานคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (2524 : 136-137) ได้ให้ความหมายของคำต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับขยะมูลฝอยไว้ ดังนี้

ขยะมูลฝอย หมายความถึง บรรดาสิ่งต่าง ๆ ซึ่งในขยะนั้นคนไม่ต้องการและทิ้งไป ทั้งนี้รวมตลอดถึงเศษผ้า เศษอาหาร มูลสัตว์ ซากสัตว์ เถ้า ฝุ่นละออง และเศษวัสดุสิ่งของที่เก็บกวาดจากเคหะสถาน อาคาร ถนน ตลาด ที่เลี้ยงสัตว์ โรงงานอุตสาหกรรม และที่อื่น ๆ

ขยะมูลฝอยเปียก หมายความถึง พวกเศษอาหาร พืชผัก เศษเนื้อสัตว์ และเศษของใหญ่ที่ได้จากการประกอบอาหารจากตลาด หรือเศษที่เหลือจากการรับประทานอาหารด้วยอินทรีย์วัตถุ ซึ่งมักเป็นพวกที่สลายตัวได้ง่าย ดังนั้นถ้ามูลฝอยเปียกถูกปล่อยทิ้งนาน เห็นควรจะเกิดการเน่าเสียและ

เกิดกลิ่นเหม็นรบกวนได้ง่าย โดยปกติแล้วมูลฝอยเปียกจะมีปริมาณความชื้นประมาณ 40-70% ของมูลฝอยทั้งหมดขยะมูลฝอยแห้ง หมายความถึง มูลฝอยที่ไม่เกิดการบูดเน่าได้ง่ายทั้งที่ติดไฟได้ และไม่ติดไฟ เช่น เศษกระดาษ เศษผ้า เศษแก้ว กระป๋อง ขวด ไม้ โลหะต่าง ๆ กิ่งไม้ รวมทั้งผง และฝุ่นละอองต่าง ๆ เป็นต้น

ขยะมูลฝอยที่ย่อยสลายได้ (Compostable) หมายความถึง สารอินทรีย์ในขยะมูลฝอยที่สามารถย่อยสลายได้ด้วยจุลินทรีย์ โดยใช้ปฏิกิริยาชีวเคมี เช่น เศษอาหาร เศษผลไม้ขยะมูลฝอยที่ไม่สามารถย่อยสลายได้ (Non Compostable) หมายความถึง สารอนินทรีย์หรือสารอินทรีย์ที่ย่อยสลายได้ยาก ในมูลฝอยที่ไม่สามารถย่อยสลายได้ด้วยจุลินทรีย์ โดยใช้ปฏิกิริยาชีวเคมี เช่น เศษโลหะ ถุงพลาสติก ฯลฯ

ขยะมูลฝอยที่เผาไหม้ได้ หมายความถึง มูลฝอยที่สามารถลุกไหม้ได้ เช่น เศษกระดาษเศษไม้

ขยะมูลฝอยอันตราย หมายความถึง มูลฝอยที่เป็นอันตรายต่อมนุษย์ สัตว์ และสิ่งแวดล้อมได้แก่ มูลฝอยจากโรงงานอุตสาหกรรม เช่น กากสารพิษ มูลฝอยจากโรงพยาบาล เช่น มูลฝอยติดเชื้อจากผู้ป่วย เข็มฉีดยา สำลี มูลฝอยจากบ้านเรือน และสถานที่ต่าง ๆ เช่น ถ่านไฟฉาย แบตเตอรี่หลอดไฟ กระป๋องสเปรย์ ยาฆ่าแมลง น้ำมันเครื่อง วัตถุมีคมต่าง ๆ ซึ่งทำให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพอนามัยของมนุษย์ สัตว์ และสิ่งแวดล้อม

ผู้วิจัยได้สรุป ความหมายของขยะมูลฝอยที่นำมาใช้ในการวิจัยครั้งนี้ว่า ขยะมูลฝอย หมายถึง วัสดุ สิ่งของที่เหลือทั้งจากการใช้งานตามแหล่งต่าง ๆ ได้แก่ เศษกระดาษ เศษวัสดุที่ห่อหุ้มสินค้า พลาสติก เศษแก้ว กระป๋อง เศษอาหาร และเศษวัสดุอื่นซึ่งแบ่งประเภทได้เป็น ขยะมูลฝอยเปียก ขยะมูลฝอยแห้ง และขยะมูลฝอยอันตราย

บทที่3

วิธีการดำเนินโครงงาน

3.1  อุปกรณ์ที่ใช้ในการศึกษา

1.กล้องถ่ายรูป (โทรศัพท์มือถือ)

2.สมุดจดบันทึกและปากกา

   วิธีการดำเนินงาน

1.กำหนดพื้นที่จะสำรวจ ให้สมาชิกแต่ละคนสำรวจบริเวณ ต่างๆ ของชุมชน

2.สำรวจสังเกตด้วยตัวเอง

3.บันทึกข้อมูล บันทึกภาพ

4.อภิปรายการทิ้งขยะของคนในชุมชน

5.สรุปผล

3.2ขั้นตอนการดำเนินโครงงาน

1.  ศึกษาการแยกประเภทขยะ

2.  ศึกษาจากเอกสารอ้างอิง  และคำบอกเล่าของคนในชุมชน

บทที่4

ผลการดำเนินงาน

4.1ผลการดำเนินงาน

1.ได้ทราบปัญหาของคนในชุมชน

2.ได้ทราบวิธีการกำจัดขยะ    

บทที่5

สรุป อภิปรายและข้อเสนอแนะ

5.1 สรุปผลการดำเนินงานโครงงาน

            จากการสำรวจและแจกแบบสอบถามพบว่าชุมชนส่วนมากจะมีเทศบาลมาจัดเก็บขยะเป็นหลายอาทิตย์และมีการนำมารีไซเคิล นำขยะมาเพิ่มมูลค่าโดยการทำผลิตภัณฑ์ เช่น กระเป๋าทักจากหลอดเป็นต้น แต่มีบางชุมชนที่เทศบาลละเลยการเก็บขยะ เก็บบ้างไม่เก็บบ้าง จนถังขยะล้น นานๆเข้าก็เริ่มมีหนอน และส่งกลิ่นเหม็น จนสร้างความไม่พอใจให้กับคนในชุมชน

ข้อเสนอแนะ: อยากให้คนในชุมชนทิ้งขยะลงถัง มีการแยกประเภทขยะ และจัดเก็บย่างสม่ำเสมอ

บรรณานุกรม

1.http://www.slideshare.net/chaipalat/5-15276606

2.https://www.facebook.com/pages/%E0%B9%82%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99-%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%82%E0%B8%A2%E0%B8%B0%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%8A%E0%B8%B8%E0%B8%A1%E0%B8%8A%E0%B8%99/128586830634853

3.http://www.pantown.com/group.php?display=content&id=20059&name=content68&area=3

4.https://www.google.co.th/search?newwindow=1&hl=th&biw=1366&bih=624&site=imghp&q=%E0%B9%82%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%995%E0%B8%9A%E0%B8%97&oq=%E0%B9%82%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%995&gs_l=serp.1.0.0l10.8566.13968.0.15580.9.7.0.2.2.0.107.669.5j2.7.0....0...1c.1.45.serp..0.9.676.5QoenEykrzY