เลือดออกกระปริบกระปรอย ปวดท้องน้อย

• อาการเลือดออกผิดปกติและปวดหลังจากเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่

เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่สามารถพบได้ในร้อยละ 6-10 ของผู้หญิง เมื่อเป็นเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ จะทำให้มีบุตรยากและเกิดอาการปวดกระดูกเชิงกรานได้ง่าย

อายุเฉลี่ยที่ตรวจพบอาการเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ คือ 27 ปี แต่ก็เริ่มพบมากขึ้นในช่วงอายุ 10-20 ปี เช่นกัน เรายังไม่ทราบสาเหตุแน่ชัดของการเกิดเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่

แต่ตามปกติแล้วเยื่อบุโพรงมดลูกจะถูกขับออกจากร่างกายด้วยประจำเดือน ซึ่งมีความเป็นไปได้ที่เซลล์ของเยื่อบุโพรงมดลูกจะไปติดอยู่ตามอวัยวะในท้อง

ที่อยู่บริเวณรอบๆ มดลูก (รังไข่ ลำไส้ตรง กระเพาะปัสสาวะ) ทำให้เกิดเป็นอาการเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ได้ โดยอาการหลักๆ ของเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่

คือ มีเลือดออกผิดปกติและปวดท้องประจำเดือนอย่างรุนแรง ปวดท้องน้อย ปวดเอว รู้สึกเจ็บเวลามีเพศสัมพันธ์ รู้สึกเจ็บเวลาอุจจาระ คลื่นไส้ อาเจียน

ซึ่งยังไม่สามารถระบุสาเหตุที่แน่ชัดได้

แต่มีสมมุติฐานหลายอย่าง เช่น เป็นผลมาจากกรรมพันธุ์ การมีหรือไม่มีประสบการณ์คลอดบุตร โครงสร้างมดลูกผิดปกติ หรือมีสาเหตุมาจากระบบภูมิต้านทานของตนเอง

การมีเลือดออกผิดปกติและอาการปวดเอว เป็นสัญญาณเตือนของเนื้องอก

กรณีที่มีเลือดออกผิดปกติและมีอาการปวดเอวด้วยอาจเป็นไปได้ว่ามีสาเหตุมาจากเนื้องอก ดังตัวอย่างต่อไปนี้

• เนื้องอกในมดลูก (เนื้องอกชนิดดี)

เนื้องอกในมดลูกเป็นเนื้องอกชนิดดีชนิดหนึ่งซึ่งเกิดในมดลูก ส่วนใหญ่การรักษาจะไม่ผ่าตัดในทันที แต่เป็นการดูอาการ เนื้องอกในมดลูกพบได้มากในผู้หญิงที่อายุ 30-50 ปี

กล่าวกันว่าผู้หญิงที่เจริญเติบโตทางเพศเต็มที่แล้ว 4-5 คน จะมี 1 คน ที่ไม่แสดงอาการเมื่อมีเนื้องอกในระยะแรก แต่เมื่อเนื้องอกมีขนาดใหญ่ขึ้นอาการปวดประจำเดือนก็จะหนักขึ้น

และมีปริมาณประจำเดือนเพิ่มมากขึ้นหรือมีรอบเดือนยาวนานขึ้น หากส่งผลกระทบไปถึงอวัยวะโดยรอบก็จะทำให้มีอาการปัสสาวะบ่อย รู้สึกเจ็บเวลาปัสสาวะและอุจจาระปวดเอว เป็นต้น

และอาจเป็นสาเหตุของการมีบุตรยากและการแท้งบุตรได้ด้วยเช่นกัน จึงจำเป็นต้องระมัดระวัง

• มะเร็งปากมดลูก มะเร็งมดลูก (เนื้องอกที่เป็นเนื้อร้าย)

ในกรณีที่เนื้องอกเป็นเนื้อร้าย (มะเร็งปากมดลูก มะเร็งมดลูก) การตรวจพบให้เร็วและการรักษาโดยเร็วเป็นสิ่งที่สำคัญมาก มะเร็งปากมดลูกเป็นมะเร็งที่เกิดขึ้นบริเวณปากทางเข้ามดลูก

สาเหตุหลักมาจากการติดเชื้อ HPV (Human papilloma virus) จากการมีเพศสัมพันธ์ ในช่วงแรกจะไม่ค่อยมีอาการ แต่จะใช้เวลาหลายปีในการพัฒนาไปเป็นมะเร็ง

เมื่ออาการลุกลามขึ้นจะมีปริมาณตกขาว หรือระดูขาวเพิ่มมากขึ้นและเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล มีรอบเดือนนานขึ้น มีเลือดออกผิดปกติและมีเลือดออกเวลามีเพศสัมพันธ์

• มะเร็งมดลูก

คือ การที่เซลล์ของเยื่อบุโพรงมดลูกกลายเป็นมะเร็ง มีลักษณะพิเศษ คือ จะมีเลือดออกผิดปกติตั้งแต่ในระยะแรก ตกขาวหรือระดูขาวมีปริมาณเพิ่มมากขึ้นและเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล

ดังนั้นหากมีอาการเหล่านี้ควรเข้ารับการตรวจที่โรงพยาบาลทันที มะเร็งมดลูกมักพบในผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป อย่างไรก็ดี ระยะหลังมีผู้ที่อยู่ในช่วงอายุ 30 ปีป่วยเป็นโรคนี้เพิ่มขึ้นเช่นกัน

แม้ว่าจะเป็นมะเร็งปากมดลูกหรือมะเร็งมดลูก แต่หากสามารถตรวจพบได้ในระยะแรกก็จะมีความเป็นไปได้สูงที่จะสามารถรักษาได้ ดังนั้น แม้ว่าจะไม่มีอาการก็ตาม หากมีอายุเกิน 20 ปี

แนะนำให้เข้ารับการตรวจที่แผนกสูตินารี ปีละ1 ครั้ง

โดยทั่วไปแล้วผู้หญิงจะมีเลือดออกทางช่องคลอดทุกเดือน หรือที่เรียกว่าประจำเดือน แต่ในกรณีมีเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอดมาในช่วงที่ไม่ได้เป็นประจำเดือน เลือดออกกะปริบกะปรอย หรือมามากกว่าปกติในช่วงที่มีประจำเดือน อย่านิ่งนอนใจ นั่นอาจเป็นสัญญาณอันตรายหรือเสี่ยงโรคร้ายตามมาได้ เช่น เนื้องอกในมดลูก มะเร็งปากมดลูก เป็นต้น โดยสาเหตุของภาวะเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอดมีได้หลายอย่าง ซึ่งจะรู้ได้ก็ต่อเมื่อไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัย


เลือดออกผิดปกติเป็นได้อย่างไร?

เลือดออกผิดปกติทางช่องคลอด เป็นภาวะที่ร่างกายของผู้หญิงอาจจะมีเลือดไหลออกจากช่องคลอดกะปริบกะปรอย เลือดออกมาในช่วงไม่มีประจำเดือน หรือเลือดออกมาต่อเนื่องมากกว่าปกติในช่วงที่มีประจำเดือน เลือดออกทั้งที่ยังไม่ถึงวัยมีประจำเดือน หรืออยู่ในวัยหมดประจำเดือนไปแล้ว รวมทั้งเลือดออกระหว่างตั้งครรภ์ ภาวะที่เกิดขึ้นเหล่านี้อาจแสดงถึงปัญหาสุขภาพ ถือว่าร่างกายมีความผิดปกติ และอาจเป็นสัญญาณอันตรายหรือเสี่ยงโรคร้ายที่ตามมาได้

โดยสามารถแบ่งผู้ป่วยเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอด ได้ออกเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ยังไม่ควรจะมีประจำเดือน เช่น เด็ก หรือวัยรุ่นผู้หญิงที่ยังไม่มีประจำเดือน กับ กลุ่มผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน ในสองกลุ่มนี้ถ้ามีเลือดออกทางช่องคลอด ถือว่ามีความผิดปกติ และกลุ่มผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์ ที่มีเลือดประจำเดือนที่มีปริมาณมากกว่าปกติ ทั้งในแง่ของปริมาณ และระยะเวลาที่มีประจำเดือน รวมไปถึงการมีเลือดออกมานอกรอบประจำเดือน


สาเหตุของภาวะเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอด

การมีเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอดเกิดได้จากหลายสาเหตุ ได้แก่

  1. ความผิดปกติของฮอร์โมน เกิดขึ้นได้จากระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนไม่สมดุลกัน
  2. ภาวะแทรกซ้อนระหว่างการตั้งครรภ์ เช่น การตั้งครรภ์นอกมดลูก ภาวะรกเกาะต่ำ รกลอกตัวก่อนกำหนด การแท้งบุตร เป็นต้น
  3. การติดเชื้อบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ ซึ่งก่อให้เกิดการอักเสบและมีเลือดออกได้ สาเหตุของการติดเชื้อ เช่น โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ การสวนล้างช่องคลอด การติดเชื้อในอุ้งเชิงกราน เป็นต้น
  4. ความผิดปกติเกี่ยวกับมดลูก เช่น เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ในกล้ามเนื้อมดลูก เยื่อบุโพรงมดลูกอักเสบ การติดเชื้ออักเสบของปากมดลูก เป็นต้น
  5. เนื้องอกในมดลูก เป็นเนื้องอกที่เติบโตขึ้นอย่างผิดปกติในมดลูก แต่โดยส่วนใหญ่จะไม่กลายเป็นเนื้อร้ายหรือมะเร็ง อาจมีอาการปวดประจำเดือนร่วมด้วย หรือปวดหน่วง ๆ บริเวณท้องน้อย หรือปวดหลังบริเวณส่วนล่างเรื้อรัง
  6. มะเร็ง โดยผู้ป่วยมะเร็งที่อวัยวะบางส่วนของร่างกาย อาจส่งผลให้เกิดเลือดออกทางช่องคลอด เช่น มะเร็งปากมดลูก มะเร็งช่องคลอด มะเร็งมดลูก มะเร็งรังไข่ เป็นต้น

เลือดออกกระปริบกระปรอย ปวดท้องน้อย

เลือดออกผิดปกติทางช่องคลอดอย่างไร ควรมาพบแพทย์

หากมีภาวะเลือดออกจากช่องคลอดที่ไม่เข้ากับลักษณะของประจำเดือน เราควรจดบันทึกลักษณะของเลือดที่ออก ปริมาณ ระยะเวลา รวมถึงอาการอื่นที่มีร่วมด้วย โดยผู้หญิงที่มีเลือดออกทางช่องคลอดผิดปกติและมีอาการต่อไปนี้ร่วมด้วย ควรพบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัยสาเหตุและรับการรักษาทันที เช่น

  • ผู้หญิงที่ไม่มีประจำเดือน หรือวัยหมดประจำเดือนแต่มีเลือดออกทางช่องคลอด
  • ผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์ มีประจำเดือนปกติ แต่มีเลือดออกนอกรอบประจำเดือนด้วย หรือมีเลือดออกหลังมีเพศสัมพันธ์ และมีเลือดออกจากช่องคลอดเป็นลิ่มเลือดปริมาณมาก
  • มีประจำเดือนในปริมาณที่มากขึ้น หรือมีระยะเวลาของประจำเดือนนานขึ้นกว่าปกติ สังเกตได้จากการที่ใช้ผ้าอนามัยมากกว่า 4 แผ่นชุ่มๆ ต่อวัน หรือมีประจำเดือนในแต่ละรอบมากกว่า 7 วัน
  • ปวดบริเวณท้องหรืออุ้งเชิงกรานอย่างรุนแรงเฉียบพลัน โดยเฉพาะช่วงที่มีประจำเดือน
  • มีไข้ รู้สึกวิงเวียนศีรษะ หน้ามืด อ่อนเพลียจากภาวะโลหิตจาง

การตรวจวินิจฉัยภาวะเลือดออกผิดปกติ

ผู้ที่มีเลือดออกทางช่องคลอดผิดปกติควรพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยสาเหตุ โดยทั่วไปแพทย์จะซักถามประวัติผู้ป่วย ลักษณะของการมีเลือดออกทางช่องคลอด รวมทั้งอาการหรือประวัติเจ็บป่วยอื่นๆ และอาจมีการตรวจเพิ่มเติม ดังนี้

  1. เจาะเลือดตรวจฮอร์โมนที่อาจส่งผลต่อการมีเลือดออกผิดปกติ เช่น ไทรอยด์ ตรวจดูค่าการแข็งตัวของเลือดในกลุ่มที่มีประวัติโรคเลือดออกผิดปกติในครอบครัว
  2. การตรวจภายในหาความผิดปกติบริเวณช่องคลอด ปากมดลูก หรือ การตรวจอัลตราซาวด์เพื่อดูความผิดปกติภายในโพรงมดลูก ตัวมดลูก รังไข่ มีการประเมินดูความหนาของเยื่อบุโพรงมดลูก
  3. การส่องกล้องตรวจโพรงมดลูกด้วยเครื่องมือขนาดเล็ก (Office Hysteroscopy) เป็นวิธีการตรวจโดยใช้กล้องเล็กๆ สอดเข้าทางปากมดลูก ซึ่งสามารถเห็นความผิดปกติภายในโพรงมดลูก ผ่านหน้าจอแสดงผล ในกรณีที่ไม่สามารถวินิจฉัยได้จากการซักประวัติ ตรวจร่างกายตามปกติ การอัลตราซาวด์ และการเอกซเรย์ เช่น มีเลือดระดูผิดปกติ มีติ่งเนื้อหรือเนื้องอกเล็กๆ ในโพรงมดลูก พังผืด ความผิดปกติของรูปร่างของมดลูก มีเลือดออกทางช่องคลอดในวัยหมดระดู และวินิจฉัยภาวะมีบุตรยาก เป็นต้น

อาการเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอดรักษาอย่างไร?

การรักษาอาการเลือดออกทางช่องคลอดจะขึ้นอยู่กับแต่ละสาเหตุ ได้แก่

  1. การรักษาทั่วไป ได้แก่ การพักผ่อนให้เพียงพอ ให้ยาบำรุงเลือดในกรณีที่มีภาวะโลหิตจาง หรือการให้เลือดทดแทนถ้าซีดมาก
  2. การรักษาด้วยยาฮอร์โมนหรือยาคุมกำเนิด ในภาวะฮอร์โมนไม่สมดุลสำหรับวัยทองที่หมดประจำเดือน โดยแพทย์จะเป็นผู้พิจารณาถึงชนิดและขนาดของยาที่เหมาะสม
  3. การรักษาด้วยการผ่าตัด ในกรณีที่วินิจฉัยแล้วว่าเป็นเนื้องอกในมดลูกจำเป็นต้องได้รับการผ่าตัดเอาเนื้องอกนั้นออก รวมทั้งในรายที่เป็นมะเร็ง ก็จำเป็นต้องได้รับการผ่าตัด ร่วมกับการให้เคมีบำบัดและฉายแสงร่วมด้วย

หากมีภาวะเลือดออกทางช่องคลอดที่ไม่เข้ากับลักษณะประจำเดือน มีเลือดออกมากหรือกะปริดกะปรอย รวมทั้งมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วย ควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อหาสาเหตุและทำการรักษา เพื่อความปลอดภัยและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น