ตัวอย่างสัญญาจ้างผลิตอาหาร

รูปแบบผลิตภัณฑ์

Show

https://76jd64.a2cdn1.secureserver.net/wp-content/themes/alphalab-child/videos/Alphalabs.mp4

เราเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านนวัตกรรมการผลิตซอฟเจลในประเทศนิวซีแลนด์

ด้วยวัตถุดิบจากธรรมชาติและพืชพันธุ์ ร่วมกับนวัตกรรมที่ทันสมัย สรรค์สร้างเป็นซอฟเจลชนิด Vegetarian

เราคัดเลือกโปรไบโอติกที่เหมาะสมกับกระบวนการผลิตขั้นสูงเพื่อให้แน่ใจว่าสินค้าที่ผลิตออกมามีคุณภาพสูง

เราผลิตด้วยนวัตกรรม Fully Automated High-Speedสำหรับสินค้าชนิดเม็ดและชนิดเม็ดแบบเคี้ยว

ด้วยเครื่องจักร Multi-lane machines สามารถผลิตบรรจุภัณฑ์ที่หลากหลายเพื่อตอบสนองทุกความต้องการของลูกค้า

เราได้รับการรับรองมาตราฐานจาก China CNCA และ MPI ด้วยสายการผลิตอันทันสมัยเรามีความเชี่ยวชาญในการผลิตนมผงสำหรับเด็ก

ด้วยความก้าวหน้าของนวัตกรรมการผลิต Nutraceutical Gummiesทำให้คงไว้ซึ่งคุณค่าทางสารอาหารและได้รสชาติที่อร่อย

ด้วยระบบ Ultra-high temperature instantaneous sterilization (UHT) และ AutomatedCIP ทำให้มั่นใจได้ว่าผลิตภัณฑ์เครื่องดื่ม มีความสะอาดและคุณภาพในทุกๆขวด

ด้วยเครื่องจักรที่ทันสมัย ทำให้คงไว้ซึ่งคุณค่าทางสารอาหารครบถ้วนโดยมีรสชาติและรสสัมผัสที่อร่อย

ในยุคที่การจ้างผลิตสินค้าเป็นไปอย่างทั่วไป ปัญหาย่อมเกิดขึ้นเรื่อย ๆ ดังนั้นการที่สัญญาเป็นหนังสือไว้ย่อมดีกว่าในการระงับขอพิพาทอย่างไม่มีหนังสืออ้างอิงตามกฎหมาย

DOWLOAD

f.a.q.

รวมข้อถาม – ตอบ เกี่ยวกับสัญญาว่าจ้างก่อสร้าง

คลิกที่หัวข้อเพื่อเลือกอ่าน

สัญญาว่าจ้างผลิตสินค้า หรือสัญญาว่าจ้างพัฒนาและผลิตสินค้า คือสัญญาซึ่งมีคู่สัญญา 2 ฝ่าย ได้แก่ ผู้จ้างผลิต ฝ่ายหนึ่ง และผู้รับจ้างผลิต อีกฝ่ายหนึ่ง โดยที่ ผู้จ้างผลิต ว่าจ้างให้ผู้รับจ้างผลิต ผลิตสินค้าต่างๆ (เช่น ผลิตภัณฑ์อาหาร เครื่องดื่ม เครื่องสำอาง ยา เสื้อผ้า) ตามคุณสมบัติและคุณลักษณะที่ผู้จ้างผลิตกำหนดโดยเฉพาะเจาะจง โดยที่ผู้จ้างผลิตตกลงจะชำระค่าจ้างเพื่อตอบแทนการผลิตและอาจรวมถึงค่าวัตถุดิบ วัสดุ อุปกรณ์ ในกรณีที่ผู้รับจ้างผลิตเป็นผู้จัดหาวัตถุดิบ วัสดุ และอุปกรณ์ และ/หรือค่าพัฒนาและออกแบบสินค้าในกรณีที่ผู้รับจ้างผลิตเป็นผู้พัฒนาและออกแบบสินค้านั้นด้วย  ซึ่งเป็นที่รู้จักกันว่า OEM หรือ (Origianl Equipment Manufacturer) 

เพราะในปัจจุบัน ผู้ประกอบการมักเลือกใช้การจ้างผลิตสินค้าแทนการดำเนินการผลิตสินค้าด้วยตนเอง เนื่องจากผู้ประกอบการสามารถ ลดต้นทุนในการซื้อเครื่องมือ เครื่องจักรในการผลิต รวมถึงการตั้งโรงงาน และสามารถนำเงินทุนดังกล่าวไปใช้ประโยชน์ในด้านอื่นๆ เช่น การตลาดและประชาสัมพันธ์ ลดระยะเวลาในการผลิตและได้รับสินค้ามีคุณภาพ เนื่องจากผู้รับจ้างผลิตมีความเชี่ยวชาญในการผลิตสินค้านั้นๆ อยู่แล้วและมีการผลิตเป็นประจำ มีความคล่องตัวในการผลิตสินค้า

ผู้จัดทำควรระบุรายละเอียดและข้อความสำคัญในสัญญาว่าจ้างผลิตสินค้า โดยละเอียดและครบถ้วน เช่น รายละเอียดของคู่สัญญา เช่น ชื่อ ที่อยู่ เพื่อการอ้างอิงที่ถูกต้อง รายละเอียดของสินค้าที่จ้างผลิต เช่น คุณสมบัติ คุณลักษณะเฉพาะ รวมถึง บรรจุภัณฑ์ วัตถุดิบ และวัสดุ จำนวนที่ผลิต ระยะเวลาสัญญา (กรณีว่าจ้างผลิตต่อเนื่อง) การส่งมอบและตรวจรับสินค้า และการรับประกันการผลิตและ/หรือตัวสินค้า รายละเอียดค่าตอบแทน เช่น อัตราค่าจ้าง ค่าบริการพัฒนา/ออกแบบ ค่าวัสดุอุปกรณ์ และกำหนดชำระ รายละเอียดกระบวนการผลิต (ถ้ามี) เช่น แผนการผลิต มาตรฐานการผลิต การตรวจสอบและควบคุมคุณภาพ รายละเอียดเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญา เช่น สูตร กรรมวิธี การออกแบบ และเครื่องหมายการค้าที่ใช้กับสินค้า รายละเอียดข้อตกลงอื่น (ถ้ามี) เช่น การทดสอบและสินค้าตัวอย่าง หน้าที่การจดแจ้งหรือขึ้นทะเบียนการผลิตสินค้ากับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (เช่น สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา)

เมื่อผู้จัดทำระบุรายละเอียดและข้อความสำคัญในสัญญาครบถ้วนแล้ว และผู้จัดทำควร จัดทำสัญญาว่าจ้างผลิตสินค้าเป็นลายลักษณ์อักษรและให้คู่สัญญาหรือตัวแทนผู้มีอำนาจของคู่สัญญา ลงนามในสัญญาดังกล่าวให้เรียบร้อย โดยอาจจัดทำคู่ฉบับของสัญญาอย่างน้อย 2 ฉบับ เพื่อให้คู่สัญญาแต่ละฝ่ายเก็บไว้ใช้อ้างอิงเป็นหลักฐานได้ฝ่ายละอย่างน้อย 1 ฉบับ และ คู่สัญญาแต่ละฝ่ายควรขอเอกสารแสดงตัวตนของคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งที่ลงนามรับรองสำเนาถูกต้องมาเก็บไว้ประกอบสัญญาฉบับที่ตนเองถือไว้ด้วย เช่น สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน เป็นต้น

ปรึกษาทนายความ หากคุณต้องการคำแนะนำส่วนบุคคลหรือความช่วยเหลือที่ตรงกับกรณีของคุณโดยเฉพาะ เราขอแนะนำให้คุณปรึกษาทนายความที่จะอุทิศเวลาในการทำงานให้กับคุณเป็นเวลา 30 นาที

การปรึกษาดังกล่าวจะเป็นไปในรูปแบบใด? ทนายความจะอุทิศเวลาการทำงานให้กับคุณเป็นเวลา 30 นาที คุณจะสามารถสนทนาแลกเปลี่ยนทางโทรศัพท์กับทนายความได้เป็นเวลา 30 นาที คุณถาม ทนายความตอบ

ทนายความจะติดต่อฉันเมื่อไหร่และทางใด? ทนายความจะโทรศัพท์ติดต่อคุณภายใน 24 ชม. วันทำการหลังจากที่ได้รับการสั่งซื้อจากคุณ

ทำไมต้อง 30 นาที แล้วถ้าหากฉันต้องการเวลามากกว่านั้นล่ะ? จากประสบการณ์ของเราแล้ว ระยะเวลา 30 นาทีนั้นเป็นเวลาที่เหมาะสมสำหรับการนัดพบครั้งแรกกับทนายความ หากน้อยกว่านั้นทนายความอาจจะมีเวลาไม่พอที่จะตอบคำถามของคุณทั้งหมด หากมากกว่านั้นกรณีของคุณอาจจำเป็นต้องมีการทำงานในเชิงลึกมากกว่า หลังจากหมดเวลา 30 นาทีไปแล้วคุณสามารถซักถามกับทนายความต่ออีกได้