การเปลี่ยนแปลงของชุมชนชนบท


  1. Burapha University Research Report
  2. มหาวิทยาลัยบูรพา
  3. บทความวารสาร

กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3336

ชื่อเรื่อง:  การเปลี่ยนแปลงทางสังคมของชุมชนเขตพื้นที่สีเขียวอำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ
ชื่อเรื่องอื่นๆ:  Social changes of green area communites in Phrapradaeng district, Samutprakan province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: 
ศรีวรรณ ยอดนิล
ศรีพักตร์ ปั้นน้อย
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ:  การเปลี่ยนแปลงทางสังคม
พื้นที่สาธารณะ
วันที่เผยแพร่:  2558
บทคัดย่อ:  การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ผละกระทบและการปรับตัวของชุมชนเขตพื้นที่สีเขียว รวมถึงการกำหนดแนวทางการบริหารการจัดการชุมชนพื้นที่สีเขียวอำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนตุลาคม 2557- พฤษภาคม 2558 โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกและสนทนากลุ่มกับผู้นำท้องถิ่น ผู้นำหมู่บ้าน ผู้นำกลุ่มอนุรักษ์ ปราชญ์ชาวบ้าน อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ประชาน และคณะกรรมการกลุ่มรักษ์คุ้งบางกะเจ้า วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหาผลการวิจัย พบว่า 1. การเปลี่ยนแปลงทางสังคม วิถีชีวิตช่วงการประกาศใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 1-6 เปลี่ยนแปลงจากสังคมชนบทกลายเป็นสังคมกึ่งเมืองกึ่งชนบท อาชีพเกษตรกรรมลดลงเปลี่ยนแปลงเป็นอาชีพรับจ้างในภาคอุตสาหกรรม ประชาชนบางส่วนไม่มีมีพื้นที่ทำการเกษตรมีเพียงที่ดินเพื่ออยู่อาศัย ลักษณะครอบครัวเป็นครอบครัวเดี่ยว มีการย้ายถิ่นและแยกครอบครัวไปที่อื่น การตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนเปลี่ยนแปลงจากอยู่ริมแม่น้ำลำคลองเป้นอยู่ริมถนน การสัญจรทางน้ำเปลี่ยนเป็นการสัญจรทางบกสัมพันธภาพของครอบครัวค่อนข้างห่างวเหิน สัมพันธภาพของคนในชุมชนต่างคนต่างอยู่ ไม่สนิทนสมกัน ประชาชนมีโอกาสทางการศึกษา ศูนย์กลางทางการศึกษาเปลี่ยนจากวัดเป็นโรงเรียน ด้านประเพณีและวัฒนธรรมยังคงสืบต่อมา ภายหลังเกิดดครงการสวนกลางมหานคร วิถีชีวิตมีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นทั้งด้านสังคมเศรษฐกิจ วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อม มีการประสานความร่วมมือจากทุกภาคส่วนโดยเฉพาะภาคประชาชน 2. ผลกระทบการเปลี่ยนแปลงทางสังคมของชุมชนเขตพื้นที่สีเขียวผลกระทบเชิงบวก คือ 1) ด้านสุขภาพได้รับอากาศบริสุทธิ์ทำให้สุขภาพดี มีพื้นที่ออกกำลังกาย มีแหล่งพักผ่อนหย่อนใจ 2) ด้านเศรษฐกิจมีอาชีพเสริมเพิ่มรายได้ให้กับครอบครัว วิสาหกิจชุมชน 3) ด้านสังคม เกิดการรวมกลุ่มของคนในชุมชนทั้งด้านการพั?นากลุ่มเกษตรกรกลุ่มอาชีพ และกลุ่้มอนุรักษ์พื้นที่สีเขียว 4) ด้านวัฒนธรรม มีการรักษาวัฒนธรรมท้องถิ่นทั้งในด้านชีวิตความเป็นอยู่ ประเพณีที่สืบต่อกันมา ผลกระทบเชิงลบคือ 1) มีกฎหมายการห้ามสร้างอาคารที่มีความสูงเกิน 12 เมตร และการแบ่งพื้นที่ใช้ในการเกษตรกรรมร้อยละ 75 พื้นที่อยู่อาศัยร้อยละ 25 2) ด้านสิ่งแวดล้อม ปัญหาขยะมูลฝอย น้ำเสีย และ 3) กระแสทุนนิยมทำให้ที่ดินถูกขายให้กับนายทุนเป็นจำนวนมาก 3. การปรับตัวด้านร่างกาย ประชาชนมีวิถีชีวิตความเป้นอยู่กับธรรมชาติ ด้านอัตมโนทัศน์ประชาชนยอมรับการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ด้านบทบาทหน้าที่เกิดเครือข่ายความร่วมมือในการอนุรักษ์พื้นที่สีเขียว และด้านการพึ่งพามีการพึ่งพาตนเองมากกว่าการพึ่งพาจากผู้อื่น 4. แนวทางการบริหารจัดการชุมชนเขตพ้นที่สีเขียว ประกอบด้วย 1) การสรา้งความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคม 2) การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน 3) การเาริมสรา้งความเข้มแข็งของสถาบันครอบครัว 4) การพัฒนาประเพณีและวัฒนธรรม 5) การพัฒนาการศึกษา 6) การพัฒนาพื้นที่สีเขียว และ 7) การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
URI:  http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3336
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: บทความวารสาร

รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น

ไม่ว่าจะเป็นมโนทัศน์ “สังคมชาวนา” มโนทัศน์ “สังคมชนบท” หรือมโนทัศน์ “วัฒนธรรมชุมชน” จำเป็นจะต้องเก็บรวบรวมข้อมูลใหม่เพื่อวิเคราะห์สังคมชนบทจากการพิจารณาบริบททางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมที่เปลี่ยนแปลงอย่างละเอียดอ่อน แล้วเชื่อมโยงให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างความเปลี่ยนแปลงของบริบทดังกล่าวนี้กับความเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างความรู้สึกนึกคิดของชาวบ้าน ที่ทำให้ชาวบ้านออกมาเคลื่อนไหวทางการเมืองในหลายลักษณะเพื่อเปลี่ยนความสัมพันธ์เชิงอำนาจ ได้แก่ การเมืองท้องถิ่น การเมืองวัฒนธรรม การเมืองภาคประชาชน ตลอดจนการแสดงออกในเวทีการเมืองระดับชาติ ซึ่งทำให้ความขัดแย้งทางการเมืองในระดับชาติขยายตัวมากขึ้น

การศึกษาเพื่อเข้าใจความเปลี่ยนแปลงของ “ชนบท” ในมิติต่างๆ โดยจะมุ่งเน้นให้เห็นความเปลี่ยนแปลงของปฏิสัมพันธ์ระหว่างพื้นที่ที่เคยถูกเรียกว่าเป็น “ชนบท” กับพื้นที่ที่ถูกเคยถูกเรียกว่า “เมือง” เพื่อที่จะเข้าใจความเปลี่ยนแปลงทั้งหลายในส่วนที่ทับซ้อน/เชื่อมต่อกัน โดยเน้นให้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงหลายมิติหลายระดับที่เกิดขึ้นในพื้นที่ “ชนบท” ทั้งเจ็ดพื้นที่ท่ามกลางปฏิสัมพันธ์ระหว่างเมืองกับชนบทที่เปลี่ยนแปลงในแต่ละช่วงเวลา

การศึกษาปฏิสัมพันธ์ดังกล่าวอย่างเป็นประวัติศาสตร์จะทำให้เห็นความคลี่คลายและเปลี่ยนแปลงทางการเมืองที่มีการต่อสู้ต่อรองอย่างซับซ้อนมากขึ้นของคนแต่ละกลุ่มที่เติบโตและเสื่อมสลายลงภายใต้เงื่อนไขทางสังคมเศรษฐกิจและวัฒนธรรม และทำให้เห็นได้ว่าการเคลื่อนไหวทางการเมืองของคนแต่ละกลุ่มนั้นได้ส่งเสริมหรือขัดขวางการสร้างพื้นที่การต่อรองทางการเมืองของคนส่วนใหญ่หรือไม่ อย่างไร โดยที่ควรจะศึกษาอย่างน้องใน 4 มิติด้วยกัน

มิติแรก ได้แก่ ความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งแห่งที่ทางสังคมของคนกลุ่มต่างๆ ในชนบทอย่างเป็นประวัติศาสตร์ตั้งแต่ พ.ศ. 2520 เป็นต้นมา ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่มีการขยายตัวของรัฐและการขยายตัวของการผลิตเชิงพาณิชย์เข้าครอบคลุมพื้นที่ชนบทมากขึ้น อันเป็นจุดเปลี่ยนแปลงที่สำคัญยิ่งในพื้นที่ “ชนบท” ที่ทำให้ชนบทแตกต่างจากอดีตอย่างมาก และความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในชนบทที่เริ่มขึ้นในทศวรรษ 2520 นี้ยังคงดำเนินสืบต่อมาจนถึงปัจจุบัน

การศึกษาความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งแห่งที่ทางสังคมของคนในชนบทจะเน้นที่การทำให้ “เวลา” หรือ “ความเปลี่ยนแปลงของยุคสมัย” เป็นการคิดและเห็นพ้องต้องกันของคนในพื้นที่เอง เพื่อที่จะทำให้มองเห็นความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในชนบทอย่างมีความสัมพันธ์กับชีวิตที่เป็นจริงของผู้คน และเป็นการมองจากสายตาของคนในชนบทเอง ซึ่งนอกจากจะทำให้ความรู้ที่นักวิชาการสร้างขึ้นอิงฐานความเข้าใจตนเองของคนชนบทแล้วยังทำให้คนนอก เช่น ชนชั้นกลางในเมือง เข้าใจมุมมองของคนในชนบทเพิ่มขึ้นด้วย

มิติที่สอง ได้แก่ ความเปลี่ยนแปลงในการ “จัดตั้ง” ทางสังคม ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งแห่งที่ทางสังคมของคนในชนบทในแต่ละช่วงเวลา ย่อมนำมาซึ่งความเปลี่ยนแปลงในการ “จัดตั้ง” ทางสังคมเพื่อให้สอดคล้องไปกับวิถีชีวิตและปัญหาที่กลุ่มคนต่างๆ เผชิญภายใต้การเปลี่ยนแปลงสถานะและบทบาทของตนเองในแต่ละช่วงเวลา ซึ่งการศึกษาในเรื่องนี้จะแบ่งออกเป็น 2 ประเด็นย่อย คือ การเมืองเชิงสถาบัน และ การเมืองนอกสถาบัน

ประเด็นการเมืองเชิงสถาบัน จะศึกษาโดยมองผ่านความเปลี่ยนแปลงขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งความเปลี่ยนแปลงในองค์การบริหารส่วนตำบล ทั้งในแง่ของตัวบุคคลที่เข้ามาสู่ตำแหน่งต่างๆ ในองค์การบริหารส่วนตำบล และบทบาทในการกำหนด นโยบายและโครงการต่างๆ ขององค์การบริหารส่วนตำบล

การศึกษาการเมืองเชิงสถาบันนี้จะศึกษาความเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างอำนาจในท้องถิ่นโดยพิจารณาให้เห็นถึงความสัมพันธ์ลักษณะใหม่ที่ก่อกำเนิดขึ้นมาหลายมิติ โดยมุ่งทำความเข้าใจว่า ในเงื่อนไขที่เกิดสถาบันทางการเมืองแบบใหม่ในชนบทที่มีลักษณะเฉพาะอันเป็นผลมาจากโครงสร้างการเมืองระดับชาติ ประชาชนในท้องถิ่นเลือกที่จะสร้างสัมพันธ์กับนักการเมือง อบต.ในรูปแบบใด และประชาชนกับนักการเมืองท้องถิ่นสานสัมพันธ์กับนักการเมืองท้องถิ่นระดับชาติอย่างไร

ประเด็นการเมืองนอกสถาบัน จะศึกษาการรวมกลุ่มของชาวบ้านที่มีบทบาทในการแบ่งสรรและการจัดการทรัพยากรในรูปแบบต่างๆ เช่น กลุ่มฌาปนกิจสงเคราะห์ กลุ่มแม่บ้าน หรือ กลุ่มเครือข่ายใหม่ๆ ที่เกิดขึ้น ฯลฯ โดยเน้นบทบาทของชาวบ้านในการจัดตั้งองค์กรและการเคลื่อนไหวทางการเมือง แต่ก็จะคำนึงถึงความสัมพันธ์ระหว่างชาวบ้านกับคนภายนอก เช่น นักพัฒนาเอกชน นักวิชาการ สื่อมวลชน ฯลฯ ตลอดจนความสัมพันธ์ระหว่างชาวบ้านกับการเมืองเชิงสถาบันหรือการเมืองระดับชาติด้วย

การศึกษาการรวมกลุ่มชาวบ้าน จะพิจารณาทั้งกลุ่มที่เกิดขึ้นเองโดยมีเงื่อนไขทางสังคมและเศรษฐกิจเป็นแรงผลักดัน และกลุ่มชาวบ้านที่ได้รับการจัดตั้งโดยรัฐ เพื่อที่จะมองเห็นทางเลือกต่างๆ ของชาวบ้านในการสร้างอำนาจต่อรองหรือสร้างโอกาสในการเข้าถึงทรัพยากร และที่สำคัญจะช่วยให้เข้าใจถึงการสร้างช่องทางในการเชื่อมต่อกับการเมืองเชิงสถาบันของกลุ่มชาวบ้านได้เป็นอย่างดี

มิติที่สาม ได้แก่ ความเปลี่ยนแปลงในระบบการเมืองวัฒนธรรมและความรู้สึกนึกคิด กระบวนการสร้างวัฒนธรรมใหม่ที่ตอบสนองต่อความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งแห่งที่ของคนในชนบท โดยศึกษาผ่าน “สื่อ” ทางวัฒนธรรมทุกรูปแบบ เช่น เพลง วิทยุชุมชน การพบปะสนทนา (แหล่งที่พบปะ และเนื้อหาที่สื่อสารกันในวงเสวนา) ว่ามีความหมายระดับลึกและสัมพันธ์กันในเชิงการเมืองอย่างไร

หากมองว่าวัฒนธรรมคือระบบของความหมายที่ผูกพันชีวิตของคนไว้กับสังคม ความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจสังคมย่อมทำให้ผู้คนเกิดการให้ความหมายแก่ชีวิต และสังคมรอบตัวในวิถีทางใหม่ ซึ่งจะส่งผลทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในโครงสร้างอารมณ์ความรู้สึกนึกคิด การให้คุณค่าต่อสิ่งดี/เลว และนำมาสู่การสร้างสรรค์สรรพสิ่งทางวัฒนธรรมใหม่ เพื่อให้ตรงใจหรือตรงกับอารมณ์ความรู้สึกของตนเอง อาจกล่าวได้ว่าการเคลื่อนไหวทางการเมืองนั้น เป็นผลโดยตรงของโครงสร้างอารมณ์ความรู้สึกยิ่งเสียกว่าลักษณะทางภววิสัยของสังคม ทำให้อุดมการณ์ทางการเมืองและการปลุกเร้าอารมณ์ความรู้สึกมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการเคลื่อนไหวทางการเมืองของคนทุกกลุ่ม

มิติสุดท้าย ได้แก่ ความเปลี่ยนแปลงในการเมือง “ของ” ประชาชน การศึกษาเรื่องความเปลี่ยนแปลงในการเมือง “ของ” ประชาชน จะศึกษาผ่านการรวมกลุ่มและการแสดงออกทางการเมืองที่สามารถ/ไม่สามารถเข้าไปร่วมแบ่งสรรหรือใช้ประโยชน์จากทรัพยากรต่างๆ ทั้งในชุมชนและส่วนที่มาจากสถาบันทางการเมืองที่เป็นทางการในท้องถิ่นและในส่วนกลาง รวมไปถึงการเข้าร่วมทางการเมืองโดยตรงไม่ว่าจะเป็นการรวมกลุ่มเพื่อต่อต้านนโยบายบางอย่างของรัฐ เช่น กลุ่มที่สัมพันธ์อยู่กับนักพัฒนาเอกชน หรือการรวมกลุ่มเพื่อสนับสนุน/ต่อต้านรัฐบาลโดยรวม (คนเสื้อแดง คนเสื้อเหลือง)

การเชื่อมตนเองเข้ากับการเคลื่อนไหวการเมืองในระดับที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน ย่อมไม่ใช่ผลผลิตของปัจจัยทางสังคมเศรษฐกิจเพียงปัจจัยเดียวอย่างแน่นอน หากแต่เป็นผลรวมของการปะทะประสานกับความเปลี่ยนแปลงหลากหลายมิติที่เกิดขึ้นรอบตัว และกลั่นกรองมาสู่การสร้างความหมายร่วมทางการเมือง อันนำมาซึ่งการตัดสินใจที่จะเคลื่อนไหวที่สุ่มเสี่ยงต่อความปลอดภัยของชีวิต

การศึกษาทั้งสี่มิติของความเปลี่ยนแปลงในชนบทนี้ จะศึกษาโดยใช้แนวพินิจเชิงประวัติศาสตร์ (Historical approach) ซึ่งจะช่วยให้เข้าใจความเปลี่ยนแปลงของชนบทได้อย่างชัดเจนและละเอียดอ่อนมากขึ้น และจะศึกษาทั้งสี่มิติอย่างมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน เพื่อที่จะทำให้เข้าใจถึงพัฒนาการและปัญหาของประชาธิปไตยไทยอย่างกว้างขวาง ซับซ้อน และรอบด้าน ซึ่งจะทำให้สังคมไทยมองเห็นทางเลือกและทางออกจากความขัดแย้งทางการเมืองนี้ไปได้ในที่สุด