บทบาทหน้าที่ของผู้จัดการ hr ยุคใหม่

HR Business Partner หรือ HRBP คือ ตำแหน่งที่เริ่มได้รับการยอมรับมากขึ้นในปัจจุบันว่ามีบทบาทสำคัญต่อความสำเร็จของธุรกิจ บริษัทขนาดใหญ่หลายแห่งกำลังปรับปรุงแผนกทรัพยากรบุคคลด้วยการว่าจ้าง HRBP เข้ามาทำงานร่วมกับทีมผู้บริหารเพื่อวางแผนเชิงกลยุทธ์ด้านทรัพยากรบุคคลขององค์กรให้มีประสิทธิภาพ ทั้งในแง่ของการรักษาพนักงานที่มีศักยภาพและเพิ่มอัตราการมีส่วนร่วมของพนักงาน ไปจนถึงการสรรหาว่าจ้างบุคลากรใหม่ที่มีความสามารถให้สอดคล้องกับเป้าหมายและทิศทางการเติบโตของธุรกิจ ถ้าอยากรู้ว่า HRBP คือใคร มีหน้าที่สำคัญยังไง และจำเป็นต้องมีทักษะอะไรบ้าง ต้องอ่านบทความนี้

บทบาทหน้าที่ของผู้จัดการ hr ยุคใหม่

HRBP ย่อมาจาก Human Resources Business Partner คือ ผู้เชี่ยวชาญด้านทรัพยากรบุคคลที่มีความสามารถในการวางแผนเชิงกลยุทธ์ด้านบุคลากรขององค์กรให้สอดคล้องกับกลยุทธ์ทางธุรกิจ มักทำงานร่วมกับผู้บริหารระดับสูงอย่างใกล้ชิด

นั่นหมายความว่า HRBP ต้องมีความรู้ทางธุรกิจที่แข็งแกร่งทั้งเป้าหมายเชิงกลยุทธ์ในระยะสั้นและระยะยาวรวมทั้งเข้าใจภาพรวมของงาน HR อย่างครอบคลุม ไม่ว่าจะเป็นหลักการสรรหา การจัดการ และการสนับสนุนพนักงาน เพื่อตีความบทบาทที่ฝ่ายทรัพยากรบุคคลจะช่วยส่งเสริมให้องค์กรบรรลุเป้าหมายและขับเคลื่อนมูลค่าให้กับธุรกิจไปพร้อมๆ กัน

บทบาทหน้าที่ของ HRBPM

โดยทั่วไป HRBP จะได้รับมอบหมายบทบาทหน้าที่เชิงกลยุทธ์เพื่อพัฒนาและสร้างความเปลี่ยนแปลงด้านการบริหารและจัดการทรัพยากรบุคคลให้กับองค์กร จากข้อมูลของ Gartner ระบุว่า HRBP ที่มีความเชี่ยวชาญสูงจะสามารถปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานได้ถึง 22% ลดอัตราการลาออกและรักษาพนักงานให้อยู่กับองค์กรได้ถึง 24% ซึ่งจะช่วยเพิ่มรายได้ถึง 7% และสร้างผลกำไรได้ถึง 9%

บทบาทหน้าที่ของผู้จัดการ hr ยุคใหม่

ต่อไปนี้ คือ 5 บทบาทหน้าที่หลักของ HRBP ที่จะทำให้คุณเห็นภาพและเข้าใจการทำงานของตำแหน่งนี้มากขึ้น

  1. การวางแผนเชิงกลยุทธ์ด้าน HR ขององค์กร

    เป็นคนกำหนดวิสัยทัศน์เชิงกลยุทธ์ด้าน HR เช่น การระบุปัญหาที่อาจเกิดขึ้นตั้งแต่เนิ่นๆ พร้อมวางแผนแนวทางปฏิบัติของกระบวนการสรรหาและว่าจ้างให้มีประสิทธิภาพและราบรื่น นอกจากนี้ HRBP ยังต้องหาวิธีรักษาพนักงานที่ดีให้อยู่กับองค์กร ลดอัตราการลาออกเพื่อลดต้นทุนการจัดการทรัพยากรบุคคลขององค์กรให้คุ้มค่าและมีประสิทธิภาพสูงสุด

  2. การฝึกอบรมและพัฒนาบุคลากร

    เมื่อสรรหาพนักงานที่เหมาะสมเข้าสู่องค์กรแล้ว HRBP จำเป็นต้องวางแผนจัดการฝึกอบรมพัฒนาบุคลากรและวิชาชีพทั้งในระดับผู้จัดการและพนักงานทั่วไป เพราะสิ่งเหล่านี้ไม่เพียงแต่จะช่วยขับเคลื่อนประสิทธิภาพการทำงานเท่านั้น ยังจำเป็นต่อการเพิ่มขีดความสามารถในการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับองค์กรอีกด้วย

  3. สื่อสารและสร้างความร่วมมือกับผู้บริหารระดับสูง

    ในฐานะ HRBP มีหน้าที่ต้องติดต่อสื่อสารโดยตรงกับผู้บริหารระดับสูง เพื่อสร้างความร่วมมือในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการวางแผนและดำเนินงานด้านทรัพยากรบุคคล ซึ่งการนำเสนอมุมมองที่เฉียบแหลมพร้อมข้อมูลสนับสนุนที่เชื่อถือได้จะช่วยให้ทีมผู้บริหารระดับสูงสามารถตัดสินใจเรื่องที่สำคัญได้ง่ายและเป็นไปในทิศทางที่ถูกต้อง เช่น จำนวนและตำแหน่งของพนักงานที่ต้องสรรหาเพิ่มเติมเพื่อรองรับการขยายตัวของบริษัท หรือทักษะใดบ้างที่ขาดหายไปในทีมและจำเป็นต้องจัดฝึกอบรมเพื่อรักษาความได้เปรียบเหนือคู่แข่ง เป็นต้น

  4. รับมือกับการเปลี่ยนแปลงและความท้าทาย

    ปัจจุบัน โลกของเรามีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นมากมายในเวลาอันรวดเร็ว HRBP จึงมีบทบาทสำคัญในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงขององค์กรและความท้าทายที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะในยุคดิจิทัลที่ทุกองค์กรจำเป็นต้องปรับตัวและพิจารณาบทบาททางวิชาชีพใหม่ๆ เข้าไปในโครงสร้างด้านทรัพยากรบุคคลและกระบวนการทำงานต่างๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและสร้างแรงขับเคลื่อนที่สำคัญให้องค์กรก้าวทันทุกความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

  5. สร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับองค์กร

    อีกหนึ่งความรับผิดชอบของ HRBP คือ การสร้างภาพลักษณ์ที่ดีและให้ความสำคัญกับการวางรากฐานวัฒนธรรมองค์กรที่แข็งแกร่ง เพื่อรักษาพนักงานที่มีศักยภาพเอาไว้และใช้เป็นกลยุทธ์ดึงดูดผู้สมัครงานที่ดีที่สุดท่ามกลางตลาดแรงงานที่มีการแข่งขันสูงทั้งในปัจจุบันและอนาคต

ทักษะที่ HRBP ควรมี

เนื่องจาก HRBP เป็นตำแหน่งที่ต้องให้ความสำคัญกับการพัฒนาเชิงกลยุทธ์มากกว่างาน HR ทั่วไป จึงควรมีทักษะที่สำคัญ ดังต่อไปนี้

บทบาทหน้าที่ของผู้จัดการ hr ยุคใหม่
  1. ความเฉียบแหลมทางธุรกิจ

    HRBP ต้องมีความเข้าใจอย่างลึกซึ้งเกี่ยวกับหน้าที่และลำดับความสำคัญของธุรกิจโดยเน้นที่การจัดการความเสี่ยงหรือโอกาสทางธุรกิจ เพื่อประเมินความได้เปรียบในการแข่งขันของธุรกิจ คู่แข่ง ผลิตภัณฑ์ เทคโนโลยี และส่วนแบ่งการตลาด

  2. ความเป็นผู้นำเชิงกลยุทธ์

    คือ ทักษะการวางแผนเชิงกลยุทธ์เพื่อรับมือกับความเปลี่ยนแปลงในภาพรวมสำหรับองค์กร พร้อมกำหนดแนวทางการดำเนินงานให้บรรลุผลสำเร็จ ด้วยเหตุนี้ การรู้จักประเมินสถานการณ์และวางแผนเชิงกลยุทธ์ล่วงหน้าอย่างมีประสิทธิภาพจึงเป็นทักษะที่มีความสำคัญของผู้ที่ทำงานในตำแหน่ง HRBP

  3. ความเข้าใจการทำงานด้านทรัพยากรบุคคล (HR)

    HRBP ต้องมีความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการและขอบเขตงานด้านทรัพยากรบุคคล (HR) อย่างลึกซึ้งและรอบด้าน เพื่อวางแผนและให้คำแนะนำแก่ผู้บริหารโดยสามารถเชื่อมโยงแผนงานด้านทรัพยากรบุคคลให้สอดคล้องกับความท้าทายและเป้าหมายทางธุรกิจขององค์กร

  4. ทักษะการวิเคราะห์และนำเสนอข้อมูล

    ในฐานะที่เป็นผู้รับผิดชอบในการวิเคราะห์และสร้างแผนงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมายขององค์กร HRBP จึงต้องสามารถใช้แดชบอร์ดและจัดทำรายงานเพื่อวิเคราะห์ข้อมูลและนำเสนอข้อมูลเชิงลึกกับผู้บริหารเกี่ยวกับประเด็นสำคัญจากข้อมูลเหล่านั้นได้

  5. การจัดการผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

    เนื่องจาก HRBP ต้องทำงานเกี่ยวข้องกับผู้คนหลายระดับตั้งแต่พนักงานระดับปฏิบัติการไปจนถึงผู้บริหารระดับสูงภายในองค์กร ดังนั้น จึงจำเป็นต้องมีทักษะด้านการสื่อสารและการจัดการผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่ยอดเยี่ยม เพื่อรักษาความสัมพันธ์ที่ดีและสร้างแรงจูงใจให้พนักงานทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องอยากร่วมมือตามแผนปฏิบัติงานที่ HRBP ได้วางไว้

Summary

HR Business Partner หรือ HRBP มีหน้าที่รับผิดชอบทั้งการวางแผนพัฒนาด้านทรัพยากรบุคคลและเป้าหมายทางธุรกิจ เพื่อช่วยให้องค์กรเติบโตและเจริญรุ่งเรืองต่อไปในอนาคต โดยทำหน้าที่เป็นทั้งที่ปรึกษาให้กับผู้บริหารและเป็นผู้นำในการริเริ่มแผนงานใหม่ๆ ภายในองค์กร เพื่อลดอัตราการลาออก กระตุ้นการมีส่วนร่วมของพนักงาน และสร้างผลกำไรที่มากขึ้น ด้วยเหตุนี้ HRBP จึงถือเป็นตำแหน่งงานที่แต่ละองค์กรควรให้ความสำคัญ เพื่อเก็บเกี่ยวผลประโยชน์มากมายทั้งในด้านความสำเร็จทางธุรกิจและความพึงพอใจของพนักงานในระยะยาว

หากสนใจมอบสวัสดิการดีๆ ให้พนักงานในองค์กรของคุณทำงานได้อย่างมั่นใจและมีประสิทธิภาพด้วยแผนประกันสุขภาพและอุบัติเหตุกลุ่มสุดคุ้มของ Cigna อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ แผนประกันกลุ่มจากซิกน่า

ผู้จัดการทรัพยากรมนุษย์ยุคใหม่ควรมีบทบาทอย่างไรบ้าง

ประเด็นสำคัญ หนึ่งในหน้าที่สำคัญของฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ยุคใหม่ก็คือการสร้างความสุขและคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับบุคลากรในองค์กร บทบาทสำคัญอีกอย่างของฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ในยุคดิจิทัลนี้ก็คือการส่งเสริมให้พนักงานได้เกิดการพัฒนาศักยภาพทั้งในเรื่องของทักษะการทำงานและทักษะในด้านอื่นๆ

ผู้จัดการฝ่ายทรัพยากรมนุษย์มีหน้าที่อะไร

งานในฝ่ายบริหารจัดการทรัพยากรบุคคลจะทำหน้าที่คัดเลือก ตรวจสอบ สัมภาษณ์ และจัดสรรกำลังคนตามตำแหน่ง หน้าที่ที่ต้องการ (Recruitment) ต้องมีการวางกลยุทธ์ วางแผนกำลังคน การสร้างความสัมพันธ์กับทุกฝ่ายในองค์กรให้ทำงานอย่างราบรื่นและมีประสิทธิภาพสูงสุด (HR Planning) รวมทั้งการวางกลยุทธ์และออกแบบแผนพัฒนาบุคลากรร่วมกับทุกฝ่ายให้ ...

ตําแหน่งฝ่ายบุคคล มีอะไรบ้าง

รู้จักลักษณะงาน HR ด้านต่าง ๆ ในปัจจุบัน.
1. งานวางแผนกำลังคน / กลยุทธ์ / การบริหารบุคคล (HR planning) ... .
2. งานสรรหาและคัดสรรบุคลากร (Recruitment, Selection & Introduction) ... .
3. งานเอกสาร / ระบบข้อมูลเกี่ยวกับบุคลากร เช่น HRIS / Payroll (Personnel Administration) ... .
4. งานพัฒนาบุคลากร (Training & Development).

การบริหารทรัพยากรมนุษย์ในศตวรรษที่ 21 คืออะไร

Dessler (2006) ให้ความหมายว่า คือการเชื่อมโยงการบริหารทรัพยากรมนุษย์เข้ากับเป้าหมาย และวัตถุประสงค์ทางกลยุทธ์เพื่อยกระดับผลการดำเนินงานขององค์การให้ดีขึ้น พัฒนาวัฒนธรรม องค์การ เพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นและสร้างนวัตกรรม