งานวิจัย นวัตกรรมทาง การเงิน

นวัตกรรมทางการเงินช่วยลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาได้อย่างไร

นวัตกรรมทางการเงิน (Innovative Finance) คืออะไร

นวัตกรรมทางการเงินเป็นกลไกการระดมเงินทุนที่แตกต่างจากรูปแบบการเงินแบบดั้งเดิม โดยอำนวยให้เกิดการมีส่วนร่วมของผู้ที่มีความสนใจในการให้เงินทุนเพื่อการศึกษาที่หลากหลายมากขึ้น และสนับสนุนให้เกิดการสร้างสรรค์แนวคิดใหม่ๆ เพื่อการพัฒนา

NORRAG ได้สรุปจุดสังเกตนวัตกรรมทางการเงินด้วยคุณสมบัติ 3 ด้าน คือ 1) การพัฒนาผลิตภัณฑ์/วิธีการใหม่ๆ เพื่อใช้ในการสนับสนุนการแก้ไขปัญหาทางสังคมหรือเศรษฐกิจ 2) การประยุกต์ใช้เครื่องมือ/วิธีการในตลาดใหม่ โดยเฉพาะเครื่องมือที่ทดลองใช้แล้วและเป็นที่ยอมรับในภาคส่วนหรือประเทศอื่นๆ มาปรับใช้ เช่น การออกสลากกินแบ่งรัฐบาลเพื่อระดมทุนให้แก่ภาครัฐในประเทศที่ยังไม่เคยดำเนินการมาก่อน และ 3) ดึงดูดผู้มีส่วนร่วมหน้าใหม่ ซึ่งอาจรวมถึงกลุ่มนักลงทุนในตลาดทุน ภาคเอกชน หรือกลุ่มผู้บริจาคในระดับนานาประเทศ เป็นต้น

ประโยชน์ของนวัตกรรมทางการเงินมีอะไรบ้าง  

NORRAG กล่าวสรุปเพิ่มเติมถึงผลประโยชน์ของนวัตกรรมทางการเงินเพื่อการพัฒนาเป็น 3 ด้าน คือ 1) การระดมทรัพยากรเพิ่มเติม และอาจไม่สามารถเข้าถึงได้มาก่อน เช่น Apple ที่เป็นแบ่งส่วนกำไรจากการขายสินค้า Product Red เพื่อการกุศล2) มีตัวกลางในการระดมทุน ให้เกิดประสิทธิภาพมากขึ้น โดยลดค่าใช้จ่ายและกระจายความเสี่ยงระหว่างผู้มีส่วนร่วม 3) เพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการดำเนินโครงการ โดยการปรับปรุงตัวชี้วัดด้านประสิทธิภาพการทำงาน (Performance metrics) จัดระบบให้มีความโปร่งใสเพิ่มขึ้น รวมถึงการสร้างแรงจูงใจที่สอดคล้องตามเป้าหมายและวัตถุประสงค์โครงการ และการมีระบบประสานงานของผู้ส่วนร่วมทุกฝ่ายที่มีประสิทธิภาพ  

ทำไมต้องพัฒนานวัตกรรมทางการเงินทางการศึกษาเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา

ผลงานวิจัยพัฒนาระบบบัญชีรายจ่ายด้านการศึกษาแห่งชาติ (National Education Accounts: NEA) ชี้ว่า ในปี 2561 ภาครัฐเป็นผู้ลงทุนด้านการศึกษาในไทยมากที่สุดเป็นวงเงิน 618,427 ล้านบาท หรือ 76% ของการลงทุนทั้งหมด แต่การจัดสรรทรัพยากรเพื่อลดปัญหาความเหลื่อมล้ำในปีงบประมาณ 2561 มีเพียง 18,683 ล้านบาท หรือราว 3% ตลอดจนยังมีแนวโน้มการลงทุนที่ลดลงเมื่อเทียบกับปี 2559 ที่จำนวน 28,000 ล้านบาท

การจัดสรรงบประมาณเพื่อการแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาที่มีอยู่จำกัด  เมื่อเทียบขนาดของปัญหาของจำนวนนักเรียนที่ด้อยโอกาสจากเศรษฐฐานะของผู้ปกครองที่มีมากถึง 30% ในระบบการศึกษา อัตราการหลุดออกจากอัตราการศึกษาที่ปรับเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ตลอดจนความเหลื่อมล้ำทางคุณภาพการศึกษาระหว่างโรงเรียนในพื้นที่เมืองและชนบท สะท้อนให้เห็นว่า ในการขับเคลื่อนวาระด้านความเสมอภาคทางการศึกษายังต้องอาศัยข้อมูล ตัวชี้วัดที่ชัดเจนเพื่อประกอบการกำหนดนโยบาย โครงการและเครื่องมือที่มุ่งเน้นให้เกิดผลลัพธ์และการเปลี่ยนแปลงในกลุ่มเป้าหมาย  ตลอดจนการตระหนักถึงความสำคัญของการมีส่วนร่วมมือของทุกภาคส่วนในการแก้ไขปัญหาให้ได้โดยเร็วและยั่งยืน ซึ่งบางส่วนสามารถนำนวัตกรรมทางการเงินมาใช้เพื่อตอบสนองต่อความต้องการข้างต้นนี้ได้ 

ตัวอย่างของนวัตกรรมทางการเงินเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา

ทุนเสมอภาค (Conditional Cash Transfer: CCT) เพื่อการสนับสนุนค่าครองชีพ ค่าอาหาร และค่ากิจกรรมการพัฒนานักเรียนทุนเสมอภาค ให้แก่นักเรียนด้อยโอกาส (ด้านเศรษฐฐานะ) และมีผลการเข้าเรียนมากกว่า 80% ที่ กสศ. ร่วมกับ สพฐ. ได้ดำเนินการมาตั้งแต่ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 เป็นตัวอย่างของการประยุกต์ใช้เครื่องมือที่ได้มีผลการใช้งานที่ดีในต่างประเทศ (โครงการ Bolsa Familia ของบราซิล) โดยการสนับสนุนทุนจะขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพการทำงานหรืออัตราการเข้าเรียนของนักเรียน ซึ่งสอดคล้องตามเป้าหมายโครงการที่ต้องการให้นักเรียนกลุ่มเสี่ยงดังกล่าวคงอยู่ในระบบได้นานมากยิ่งขึ้น

นอกจากนี้ กสศ. ยังได้ศึกษาวิจัยถึงนวัตกรรมทางการเงินอื่นๆ และวิเคราะห์ถึงการปรับใช้การดำเนินภารกิจด้านความเสมอภาคทางการศึกษาอย่างต่อเนื่อง ตัวอย่างเช่น การลงทุนเพื่อผลลัพธ์ทางสังคม (Social Impact Investment) การระดมทุนจากฝูงชนผ่านคราวด์ฟันดิง (Crowdfunding) การค้ำประกัน (Guarantee) การแปลงหนี้เพื่อการพัฒนา (Debt for development swaps) และพันธบัตรเพื่อการศึกษา (Education Bond) เป็นต้น

อย่างไรก็ดี เนื่องจากบริบทของการดำเนินโครงการ/นวัตกรรมที่แตกต่างกัน การปรับใช้นวัตกรรมทางการเงินจึงต้องคำนึงถึงบริบทสภาพแวดล้อมของการทำงาน เพื่อให้นวัตกรรมสามารถตอบโจทย์ที่เจาะจงได้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการดึงดูดทรัพยากรจากภาคส่วนต่างๆ การปรับปรุงประสิทฺธิภาพการทำงาน หรือการหาวิธีการที่มุ่งเน้นประสิทธิผลของโครงการที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้น  

วิดีโอต่อไปนี้เป็นที่อธิบายถึงกลไกการทำงานของตัวอย่างนวัตกรรมทางการเงินเพื่อการศึกษาที่สามารถช่วยระดมทุนและตอบสนองความท้าทายด้านการศึกษา 3 ตัวอย่าง คือ Crowdfunding, Social Impact Investment และ Education Bond

equity lab Innovative Finance

ชื่อบทความ: นวัตกรรมทางการเงินที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจใช้บริการธนาคารพาณิชย์ ในยุคการระบาดของไวรัส COVID-19
Research Article: Financial Innovation Influencing Decision to Use the Commercial Banks in the era of COVID-19
ผู้เขียน/Author: จิตระวี ทองเถา | Jitravee Thongtao
Email:
สาขาวิชา/คณะ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสยาม กรุงเทพฯ 10160
Department/Faculty Graduate Schools, Siam University, Bangkok 10160
Published/แหล่งเผยแพร่

วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 (มกราคม – เมษายน 2564) | Journal of Multidisciplinary in Humanities and Social Science Vol. 4 No. 1 (January – April 2021)

การอ้างอิง/citation

จิตระวี ทองเถา. (2564). นวัตกรรมทางการเงินที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจใช้บริการธนาคารพาณิชย์ ในยุคการระบาดของไวรัส COVID-19. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 4(1), 214-224.


บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ในการศึกษาครั้งนี้ 1) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างนวัตกรรมทางการเงินกับการตัดสินใจใช้บริการธนาคารพาณิชย์ในยุคการระบาดของไวรัส COVID-19 และ 2) เพื่อศึกษานวัตกรรมทางการเงินที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจใช้บริการธนาคารพาณิชย์ในยุคการระบาดของไวรัส COVID-19 กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ใช้บริการธนาคารพาณิชย์ในกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน การศึกษาครั้งนี้ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ สถิติเชิงพรรณนา ค่าสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การหาความสัมพันธ์โดยใช้สถิติสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการสร้างสมการถดถอยเชิงเส้นแบบพหุคูณด้วยวิธีแบบเป็นขั้นตอน ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุ 31-40 ปี มีการศึกษาระดับปริญญาตรี มีอาชีพพนักงานเอกชนและเจ้าของธุรกิจ มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 25,001-35,000 บาท นวัตกรรมทางการเงินมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจใช้บริการธนาคารพาณิชย์ในกรุงเทพมหานครทั้งหมด 3 ปัจจัย ได้แก่ ระบบฐานข้อมูลขนาดใหญ่ ระบบนิเวศนวัตกรรม โครงสร้างพื้นฐานทางด้านเทคโนโลยี และผู้ประกอบการธุรกิจรายใหม่ และสมการถดถอยเชิงเส้นแบบพหุคูณ ได้แก่ ŷ = .546 + .194 (X2) + .145 (X3) + .186(X4): R2 = 0.667

คำสำคัญ: นวัตกรรมทางการเงิน, การตัดสินใจใช้บริการธนาคารพาณิชย์, ไวรัส COVID-19


ABSTRACT

This research aimed 1) to study the relationship of financial innovation and decision to use the commercial banks in the era of COVID-19 and 2) to study financial innovation influencing decision to use the commercial banks in the era of COVID-19. Samples consisted of people who used the commercial banks in Bangkok. Sampling was done of 400 customers. This study used the questionnaires and was the tools of collecting the data. The statistics were used by descriptive statistics, the percentage, average and standard deviation. The correlation was used to Pearson product correlation coefficient and a multiple linear regression with stepwise. The result of the study showed that most of the samples were female, 31-40 years of age, and completed a bachelor’s degree. Most of them were private companies’ employees and business owners with an average monthly income of 25,001–35,000 Baht. Financial innovation was influencing to using decision of the commercial banks in Bangkok with 4 factors included the big data, innovation ecosystem, technology infrastructure,and startup entrepreneur and a multiple linear regression equation: ŷ= .546 + .194 (X2) + .145 (X3) + .186(X4): R2= 0.667

Keywords: Financial Innovation, Decision to use Commercial banks, COVID-19.


นวัตกรรมทางการเงินที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจใช้บริการธนาคารพาณิชย์ ในยุคการระบาดของไวรัส COVID-19 Financial Innovation Influencing Decision to Use the Commercial Banks in the era of COVID-19

คำสืบค้นเพิ่มเติม: ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกใช้ mobile banking ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้ แอพพลิเคชั่น ธนาคาร ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจใช้บริการธุรกรรมทางการเงินผ่านสื่อออนไลน์ ปัจจัยที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของลูกค้าในการใช้บริการธนาคารออนไลน์ งานวิจัย ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจ วิจัยเรื่อง ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจ ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจ ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการบริการ

Graduate Schools, Siam University, Bangkok, Thailand