จดทะเบียนนิติบุคคล ค่าใช้จ่าย

 ​      ปัจจุบันการจดทะเบียนจัดตั้งนิติบุคคลในนามบริษัทจำกัดต้องมีผู้เริ่มก่อตั้ง 3 คนขึ้นไป แต่อีกไม่นานนี้ผู้ประกอบการจะไม่ต้องยุ่งยากหาคนมาร่วมก่อตั้งบริษัทแล้ว เพราะถึงคุณจะทำธุรกิจคนเดียวก็สามารถจดทะเบียนนิติบุคคลจัดตั้งบริษัทได้ 

       กฎหมายฉบับสมบูรณ์เรื่องการจัดตั้งบริษัทจำกัดโดยบุคคลคนเดียวนั้นคาดว่าจะประกาศใช้ได้ทันภายในปี พ.ศ. 2560 นี้ โดยกฎหมายนี้จะช่วยส่งเสริมให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย อำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ประกอบการที่ประสงค์จะประกอบธุรกิจเพียงคนเดียวแบบไม่ต้องการจะยุ่งเกี่ยวกับบุคคลอื่นหรือไม่ต้องการผู้ร่วมทุนอื่น รวมถึงแก้ปัญหาในกรณีไม่สามารถหาผู้ร่วมลงทุนให้ครบตามจำนวนได้ ช่วยให้ผู้ประกอบการที่สนใจสามารถเริ่มต้นทำธุรกิจได้ง่ายขึ้น

       อย่างที่รู้กันว่าบุคคลธรรมดาที่ทำธุรกิจแต่ไม่ได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล เช่น คนที่ทำธุรกิจเล็กๆ หรือขายของออนไลน์ จะใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีแบบผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่จดทะเบียนนิติบุคคลไม่ได้ การมีกฎหมายฉบับนี้ออกมาจึงช่วยเปิดทางให้ผู้ประกอบการกลุ่มนี้เข้าสู่ระบบมากขึ้น โดยมีมาตรการภาษีมาเชิญชวนให้ไปจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล ดังนี้

1นิติบุคคลจ่ายภาษีถูกกว่า อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โดยคำนวณจากฐานเงินได้พึงประเมินสุทธิ เสียภาษีสูงสุดอยู่ที่ 35% (เงินได้พึงประเมินสุทธิตั้งแต่ 5 ล้านบาทขึ้นไป) แต่สำหรับอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลนั้นอยู่ในอัตรา 20% ของกำไรสุทธิเท่านั้น ทั้งนี้หากธุรกิจมีผลประกอบการขาดทุนทางภาษี ผู้ประกอบการที่เป็นนิติบุคคลสามารถนำผลขาดทุนดังกล่าวนั้นไปใช้เป็นรายจ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีถัดไปได้ถึง 5 รอบระยะเวลาบัญชี ในขณะที่ผู้ประกอบการที่เป็นบุคคลธรรมดาไม่สามารถทำเช่นนั้นได้ นอกจากนี้หากเป็นผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่จดทะเบียนนิติบุคคล คือมีทุนจดทะเบียนชำระแล้วไม่เกิน 5 ล้านบาท และมีรายได้ไม่เกิน 30 ล้านบาท ตั้งแต่ปี พ.ศ.2560 เป็นต้นไป ได้รับการยกเว้นและลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลดังต่อไปนี้

  • ด้รับยกเว้นภาษีจากกำไรสุทธิ 3 แสนบาทแรก
  • เสียภาษีในอัตรา 15% ของกำไรสุทธิเฉพาะส่วนที่เกิน 3 แสนบาทแต่ไม่เกิน 3 ล้านบาท
  • เสียภาษีในอัตรา 20% ของกำไรสุทธิเฉพาะส่วนที่เกิน 3 ล้านบาทขึ้นไป

2. ยกเว้นภาษีการโอนทรัพย์สิน จะได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ สำหรับบุคคลธรรมดาที่โอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินของตนเองไปเป็นกรรมสิทธิ์ของนิติบุคคล โดยจดทะเบียนนิติบุคคลตั้งแต่วันที่ 9 ส.ค. 2559 - 31 ธ.ค. 2560


3. ค่าใช้จ่ายลดหย่อนภาษีได้ 2 เท่า ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่จดทะเบียนนิติบุคคล มีทุนจดทะเบียนชำระแล้วไม่เกิน 5 ล้านบาท และมีรายได้ไม่เกิน 30 ล้านบาท สามารถนำค่าใช้จ่ายในการจดทะเบียนจัดตั้ง
บริษัท ค่าทำบัญชี และค่าสอบบัญชี มาเป็นค่าใช้จ่ายลดหย่อนภาษีได้ 2 เท่า เป็นเวลา 5 รอบระยะเวลาบัญชี หรือ 5 ปีภาษี 

4. ทำธุรกิจแต่ไม่เป็นนิติบุคคลต้องเสียภาษีเพิ่ม ลดอัตราการหักค่าใช้จ่ายแบบเหมาของบุคคลธรรมดาสำหรับเงินได้ตามมาตรา 40(7) และ 40(8) ลงเหลือ 60% จากเดิมที่หักค่าใช้จ่ายได้สูงสุด 85% นั่นก็แปลว่าบุคคลธรรมดาที่ทำธุรกิจแต่ไม่จดทะเบียนนิติบุคคลจะต้องเสียภาษีเพิ่มขึ้น!!! โดยมีผลสำหรับเงินได้ที่ได้รับตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.​ 2560

5. ลดค่าธรรมเนียมการโอนเหลือ 0.01% เป็นการลดค่าธรรมเนียมการโอนอสังหาริมทรัพย์และห้องชุดของบุคคลธรรมดาไปให้นิติบุคคลที่จดทะเบียนจัดตั้งใหม่ภายในปี 2560 จาก 2% ของราคาประเมิน เหลือเพียง 0.01% โดยมีผลถึงวันที่ 31 ธ.ค. 2560

6. โอนใบอนุญาตประกอบกิจการได้ กฎหมายฉบับนี้อนุญาตให้บุคคลธรรมดาสามารถโอนใบอนุญาตในการประกอบกิจการให้นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นใหม่ได้

       สำหรับผู้ประกอบการที่ทำธุรกิจในรูปแบบบุคคลธรรมดา ที่เดิมอาจจะเสียภาษีเงินได้ไม่ถูกต้องครบถ้วน เมื่อต้องการแปรสภาพธุรกิจเป็นนิติบุคคลก็อาจกังวลกับปัญหาใหม่ๆ ที่จะตามมา ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่ายนักสำหรับผู้ประกอบการที่ไม่รู้และไม่เข้าใจกฎหมายโดยเฉพาะกฎหมายภาษีที่มีความซับซ้อนและเข้าใจยาก ดังนั้นในการดำเนินการเปลี่ยนแปลงจึงต้องมีผู้เชี่ยวชาญคอยให้คำแนะนำปรึกษาเพื่อป้องกันปัญหาการถูกประเมินภาษีย้อนหลัง แล้วยังจะช่วยแนะนำให้ผู้ประกอบการใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีได้อย่างเต็มที่อีกด้วย​

บทความ

ค่าใช้จ่ายเมื่อเปิดบริษัทมีอะไรบ้าง

ค่าใช้จ่ายเมื่อเปิดบริษัท

ค่าใช้จ่าย เมื่อคุณเริ่มต้นจดทะเบียนบริษัท มีอะไรบ้าง สำหรับในบทความนี้ขอนำเสนอที่เป็นค่าใช้จ่ายที่ บางคนอาจจะยังงงๆ ว่าเราต้องจ่ายส่วนไหนบ้าง ซึ่งในบทความขออธิบายคร่าว ๆ ตั้งแต่เริ่ม จดทะเบียนบริษัท ค่าใช้จ่ายสำหรับการดำเนินธุรกิจต่าง ๆ

จดทะเบียนนิติบุคคล ค่าใช้จ่าย

ค่าใช้จ่ายเมื่อเปิดบริษัท

1. ค่าจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท ถ้าทุนจดทะเบียน 1 ล้านบาท ค่าใช้จ่ายประมาณ 10,000-15,000 บาท จ่ายครั้งเดียวตอนจดจัดตั้งบริษัทคะ ถ้าถามว่าค่าใช้จ่าย 10,000-15,000 บาท มาจากอะไรบ้าง สำหรับค่าใช้จ่ายส่วนนี้มาจากค่าธรรมเนียม ค่าจดทะเบียนบริษัท จ่ายให้กรมพัฒนาธุรกิจการค้า และค่าใช้จ่ายอีกส่วน เป็นค่าใช้จ่ายสำหรับค่าจ้าง จดทะเบียนบริษัท สำหรับคนที่เป็นเจ้าของไปดำเนินการจดทะเบียนบริษัทเอง ค่าใช้จ่ายอาจไม่ถึง 15,000 บาท เพราะลดค่าใช้จ่ายในส่วนค่าจ้างบริการจดทะเบียนบริษัทคะ
2. ค่าเช่าสำนักงานเพื่อดำเนินกิจการ ราคาขึ้นอยู่กับสถานที่ตั้ง ทำเล และขนาดของพื้นที่ ต้องจ่ายทุกเดือน รวมถึงค่าน้ำ ค่าไฟฟ้า ค่าโทรศัพท์ ค่าอินเทอร์เน็ต
3. ค่าจ้างทำบัญชีแบบรายเดือน ประมาณเดือนละ 1,500-5,000 บาท (ขึ้นอยู่กับปริมาณเอกสาร)  และถ้าจ้างแบบรายปี ประมาณปีละ 20,000 บาท หรือหากเปิดบริษัทมาแล้วไม่ได้ดำเนินการการใดๆ ก็จะต้องยื่นงบการเงินเช่นกันเรียกว่ายื่นงบเปล่า ค่าจ้างปิดงบเปล่าประมาณ 10,000-15,000 บาท
4. ค่าจ้างเงินเดือนพนักงานแต่ละเดือน และถ้าขึ้นทะเบียนประกันสังคมให้พนักงานจะต้องจ่ายค่าประกันสังคมให้พนักงานด้วย ตัวอย่างค่าจ้างพนักงานมารับโทรศัพท์ ทำงานเอกสาร เงินเดือนประมาณเดือนละ 12,000 -15,000 บาทต่อเดือน
5. ต้องยื่นภาษีและจ่ายภาษีต่างๆ เช่น ภาษีหัก ณ ที่จ่าย (ภงด.) ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ยื่นต่อสรรพากร กรณีถ้าไม่ได้จ้างสำนักงานบัญชี เจ้าของกิจการจะต้องมีความรู้ด้านบัญชี ภาษีในการยื่นภาษีแต่ละเดือน

6. ค่าวัสดุสิ้นเปลืองที่ต้องใช้ในสำนักงาน เช่น กระดาษ ปากกา หมึกพิมพ์ และอื่นๆ

ค่าใช้จ่ายต่างๆที่กล่าวมาข้างต้นนี้เป็นเพียงภาพรวมคร่าวๆ ที่จะเกิดขึ้นในรูปบริษัท สิ่งที่ต้องเตรียมตัวเตรียมใจไว้อีกอย่างหนึ่งก็คือเงินหมุนเวียนในกิจการ ซึ่งตรงนี้สำคัญมาก ลองสำรวจตัวเองดูกันว่าพร้อมหรือยัง ถ้าพร้อมแล้วก็ลุยกันเลยคะ

จดทะเบียนนิติบุคคล ค่าใช้จ่าย