ปฏิเสธการรับสินค้า ผิดกฎหมาย

พ.ต.อ.กฤษณะ พัฒนเจริญ รอง โฆษก ตร. เตือนกรณี รับพัสดุเรียกเก็บเงินปลายทาง ทั้งๆ ที่ตนไม่ได้สั่งซื้อสินค้า โทษหนัก จำคุก ไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 60,000 บาท

พ.ต.อ.กฤษณะ พัฒนเจริญ รอง โฆษก ตร. และ โฆษก กองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บช.สอท.) กล่าวถึงกรณีที่มีการนำเสนอข่าว ผู้ใช้เฟซบุ๊กจำนวนหนึ่งได้รับพัสดุเรียกเก็บเงินปลายทาง ทั้งๆ ที่ตนไม่ได้สั่งซื้อสินค้าดังกล่าว ว่า

การกระทำในลักษณะดังกล่าวไม่ได้เป็นการกระทำความผิดในรูปแบบใหม่เเต่อย่างใด เเต่เป็นการกระทำความผิดที่มีมานานเเล้ว โดยมิจฉาชีพจะทำการบรรจุสินค้าที่มีราคาต่ำแล้วส่งไปยังผู้รับตามที่อยู่ต่างๆ จำนวนมาก เมื่อสินค้าไปถึงผู้รับ ผู้รับบางรายไม่ได้ตรวจสอบให้ดีเสียก่อน ยอมชำระเงินค่าสินค้าไป เพราะอาจจะเห็นว่าสินค้าไม่ได้ราคาสูงมาก และจำไม่ได้ว่าตน หรือคนในครอบครัวสั่งหรือไม่ เเต่เมื่อเปิดออกมาดูกลับพบว่าตนถูกหลอกลวงได้รับความเสียหาย

หากผู้รับหลงเชื่อว่าเป็นพัสดุของตนที่สั่งซื้อโดยมิได้ตรวจสอบและได้ชำระเงินค่าสินค้า การกระทำดังกล่าวผู้ส่งอาจจะเข้าข่ายมีความผิดฐานฉ้อโกง ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341 มีโทษจำคุก ไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ที่ผ่านมา พล.ต.อ.สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข ผบ.ตร. ได้ให้ความสำคัญ และตระหนักถึงภัยจากอาชญากรรมทางออนไลน์ จึงได้กำชับสั่งการให้ พล.ต.ท.กรไชย คล้ายคลึง ผู้บัญชาการ กองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บช.สอท.) ดำเนินการปราบปรามการกระทำความผิดทางเทคโนโลยีในทุกรูปแบบอย่างต่อเนื่อง รวมถึงวางมาตรการในการป้องกัน สร้างการรับรู้ให้กับประชาชน หรือผู้ใช้งานแพลตฟอร์มออนไลน์ไม่ให้ถูกลอกหลวงจากผู้ที่ฉวยโอกาสในการกระทำความผิด

รอง โฆษก ตร. และ โฆษก บช.สอท. กล่าวอีกว่าขอฝากประชาสัมพันธ์และเตือนไปยังพี่น้องประชาชน หากได้รับพัสดุในลักษณะดังกล่าวให้ทำการตรวจสอบให้ดีเสียก่อนว่าตน หรือบุคคลในครอบครัวได้สั่งสินค้าจริงๆ หรือไม่ ถ้าสั่งมา สินค้าที่สั่งมามีราคาเท่าใด พร้อมตรวจสอบว่ามีการระบุชื่อผู้ส่ง หรือแหล่งที่มาหรือไม่ หากระบุมาควรนำไปค้นหาในเว็บไซต์ก่อนว่ามีประวัติการหลอกลวงหรือไม่ หากเข้าข่ายมีพิรุธต้องสงสัย ให้ปฏิเสธการชำระเงินค่าสินค้านั้นไป อย่าได้หลงเชื่อเป็นอันขาด และควรถ่ายรูปกล่องพัสดุให้ครบทุกด้าน เพื่อเป็นพยานหลักฐานในการร้องทุกข์ดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิดตามกฎหมายต่อไป

  • เกาะติดข่าวที่นี่
  • Website : www.tnnthailand.com
  • Facebook : TNNONLINE
  • Facebook Live : TNN LIVE
  • Twitter : TNNONLINE
  • Line : @TNNONLINE
  • Youtube official : TNNONLINE
  • Instagram : TNN_ONLINE
  • Tiktok : @TNNONLINE

  • หน้าแรก

  • เกร็ดความรู้

  • เทคนิครับมือลูกค้าไม่รับของเก็บเงินปลายทาง

       เชื่อว่าทุกร้านค้าที่เปิดบริการส่งพัสดุแบบเก็บเงินปลายทาง ต้องเคยเจอประสบการณ์ส่ง COD แล้วลูกค้าไม่รับ พอเจอเยอะ ๆ เข้าก็กลายเป็นปัญหาใหญ่ที่ทำให้หลาย ๆ ร้านค้าตัดสินใจปิดบริการเก็บเงินปลายทาง แต่ก่อนจะไปถึงจุดนั้น เราพอจะมีวิธีแก้ไขปัญหานี้ยังไงได้บ้าง มาหาคำตอบไปพร้อม ๆ กันเลย

เก็บเงินปลายทาง ไม่รับของได้ไหม?

       หากอ่านรายละเอียดการให้บริการของ Marketplace บางราย จะพบว่าลูกค้าสามารถปฏิเสธไม่รับของได้ แต่อาจมีข้อกำหนดเพิ่มเติมว่าหากปฏิเสธไม่รับของครบ X ครั้ง จะถูกระงับการชำระเงินแบบเก็บเงินปลายทางชั่วคราวเป็นเวลา 30 วัน ซึ่งพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ส่วนใหญ่ เจอลูกค้าปฏิเสธไม่รับของครั้งแรกก็เกิดความเสียหายขึ้นแล้วทั้งภาระค่าจัดส่ง ค่าตีกลับ ไปจนการแบกรับความเสี่ยงที่สินค้าจะเกิดความเสียหายขณะขนส่ง ดังนั้นลูกค้าเอง หากไม่ได้มีความพร้อมในการรอรับสินค้าหรือชำระค่าสินค้าก็ไม่ควรสั่งสินค้า

ปฏิเสธการรับสินค้า ผิดกฎหมาย

เก็บเงินปลายทาง ลูกค้าไม่รับของ ทำไงดี?

สำหรับวิธีแก้ปัญหาเก็บปลายทางลูกค้าไม่รับของ พอจะมีเทคนิคในการรับมืออยู่บ้างดังนี้

  • แจ้งข้อตกลงการสั่งซื้อสินค้าแต่แรก

       อาจใช้วิธีการระบุเงื่อนไขการสั่งซื้อตั้งแต่ตอนตกลงซื้อขายให้ลูกค้าทราบแต่แรกว่าหากเลือกสั่งซื้อสินค้าแบบเก็บเงินปลายทาง จะต้องทำการชำระเงิน หากปฏิเสธจะถือว่ามีความผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 168 และ 458 ทันที 

ปฏิเสธการรับสินค้า ผิดกฎหมาย

  • เช็คประวัติลูกค้าก่อนทำการซื้อขาย

       ในบางแพลตฟอร์ม Marketplace บางแห่งจะมีระบบให้คะแนนทั้งผู้ขายและผู้ซื้อ ร้านค้าสามารถเข้าไปดูคะแนนของลูกค้าเบื้องต้นได้ว่าเครดิตการซื้อขายเป็นอย่างไรก่อนจะทำการตกลงซื้อขายสินค้าแบบเก็บเงินปลายทาง

ปฏิเสธการรับสินค้า ผิดกฎหมาย

  • นัดหมายเวลาจัดส่งสินค้าให้ลูกค้าทราบ

       เพื่อป้องกันการที่ลูกค้าอ้างว่าไม่รับของ เพราะไม่มีคนอยู่บ้าน ร้านค้าอาจทำการนัดแนะกับลูกค้าตั้งแต่ต้นว่าจะมีการจัดส่งสินค้าในวันไหน และคาดการณ์เวลาที่ลูกค้าจะได้รับสินค้า เพื่อเช็คว่าในวันดังกล่าวลูกค้าจะสะดวกรับสินค้าแบบเก็บเงินปลายทางด้วยตนเอง หรือเตรียมการให้ค้นอื่นรอรับของได้ทัน ก็จะช่วยลดโอกาสที่พัสดุจะถูกตีกลับไปได้พอสมควร


ปฏิเสธการรับสินค้า ผิดกฎหมาย

  • เลือกใช้บริการขนส่งที่รวดเร็ว และไว้วางใจได้

       การที่ร้านค้าสามารถจัดส่งสินค้าได้อย่างฉับไว ก็สามารถลดโอกาสที่สินค้าจะโดนปฏิเสธไปได้เช่นกัน เพราะหากขนส่งจัดส่งช้า ไม่ทันใจผู้ใช้งาน อาจทำให้ลูกค้าเปลี่ยนใจไปซื้ออีกเจ้าแทน และปฏิเสธที่จะรับสินค้าของเราได้


ปฏิเสธการรับสินค้า ผิดกฎหมาย

  • บวกกำไรพัสดุเก็บเงินปลายทางเพิ่ม

       อีกเทคนิคหนึ่งที่นิยมใช้กันในหมู่พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์คือการบวกกำไรเพิ่มเข้าไปในราคาขายสินค้าแบบเก็บเงินปลายทาง เพื่อทดแทนความเสียหายที่เกิดขึ้นในกรณีที่มีลูกค้าบางรายปฏิเสธไม่รับของ ร้านค้าก็จะยังสามารถนำส่วนต่างกำไรจากพัสดุเก็บเงินปลายทางที่จัดส่งสำเร็จ มาช่วยหักลบกับพัสดุที่โดนตีกลับแบบเฉลี่ย ๆ กันไป

ปฏิเสธการรับสินค้า ผิดกฎหมาย

  • แบนลูกค้าที่มีประวัติปฏิเสธไม่รับของ

       หากลองมาแล้วหลายวิธี เทคนิคสุดท้ายเพื่อจำกัดความเสียหายของธุรกิจ คือการเก็บประวัติลูกค้าและแบนลูกค้าที่เคยสั่งแล้วไม่ยอมรับของ เพื่อป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นในอนาคตนั่นเอง หากเป็นร้านค้าใน Marketplace อย่าง Shopee และ Lazada หรือ Facebook Page จะมีฟีเจอร์บล็อคลูกค้าที่มีประวัติไม่ดีได้ แต่หากเป็นช่องทางการขายอื่น ๆ อาจต้องพึ่งระบบจัดการร้านค้าที่มีการจัดเก็บข้อมูลลูกค้า จะได้ตามเช็คได้ง่าย

ปฏิเสธการรับสินค้า ผิดกฎหมาย

ขอขอบคุณแหล่งที่มา :  zortout