การคืนเงิน ค่าธรรมเนียมศาล

วิธีและขั้นตอนดำเนินการทางศาล

ช่วงบ่ายมาขอตรวจกรรมสิทธิ์ในที่ดิน

กรณีบุคคลทั่วไปไม่สามารถขอตรวจสอบได้ เพราะข้อมูลได้รับความคุ้มครองตามพรบ.ข้อมูลข่าวสาร ยกเว้นโจทก์และทนายความ ที่ชนะคดี ซึ่งคดีถึงที่สุดแล้วเท่านั้น เพื่อประโยชน์ในการบังคับคดี อายัดนำออกขายทอดตลาด

การดำเนินการออกหมายบังคับคดี

มาดำเนินการ ยื่นคำขอรับเงินค่าธรรมเนียมศาลคืน

กรณีโจทก์และจำเลยสามารถตกลงกันได้ โดยทำสัญญาประนีประนอมยอมความในศาล

ศาลมีคำสั่งคืนค่าธรรมเนียม ประมาณ 7️ ใน 8

เอกสารประกอบการขอรับเงิน

1 สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน 2 ชุด

2 สำเนาหน้า Book Bank 2 ชุด

3 หนังสือมอบอำนาจ (ถ้ามี) ปิดอากรแสตมป์ + สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนผู้รับมอบอำนาจ

4 ใบแจ้งความประสงค์ในการโอนเงินเข้าบัญชีธนาคาร (โดยปกติ ศาลจะสั่งจ่ายเงินคืนเป็นเช็ค)

5 ต้นฉบับใบเสร็จรับเงิน

6 ใบสั่งคืนเงินค่าธรรมเนียมศาล 2 ชุด

รู้หรือไม่ว่า คู่สมรสชาวไทย-ต่างชาติ สามารถจดทะเบียนหย่ากันต่างที่ได้

โดยมีขั้นตอนยื่นคำร้องต่อสำนักงานทะเบียน ดังนี้

1 ให้คู่สมรสฝ่ายหนึ่งไปยื่นคำร้องที่สำนักงานเขตใดก็ได้ ระบุว่าต้องการหย่าต่างสำนักงานทะเบียน ใช้เอกสารประกอบดังนี้

1.1 บัตรประชาชน

1.2 ทะเบียนบ้าน

1.3 ใบสำคัญการสมรส

1.4 พยาน 2 คน

2 นายทะเบียนจะสอบสวนรายละเอียด เพื่อรวบรวมเอกสาร ส่งต่อไปยัง ที่ว่าการกรุงเทพมหานคร ➡️กระทรวงมหาดไทย➡️กระทรวงต่างประเทศ➡️สถานเอกอัครราชทูตไทยในประเทศของคู่สมรสอีกฝ่าย

3 ให้คู่สมรสอีกฝ่ายไปติดต่อยื่นคำร้อง ณ สถานเอกอัครราชทูตไทยในประเทศของตน ใช้เอกสารประกอบดังนี้

3.1 Passport พร้อมคำแปลภาษาไทย

3.2 ใบสำคัญการสมรส

4 นายทะเบียนจะออกใบสำคัญการหย่าให้ทั้ง 2 ฝ่าย

ระยะเวลาดำเนินการ 8 - 9 เดือ

คำแถลงขอรับเงินคืนไปจากศาล โดยวิธีการโอนผ่านบัญชีธนาคาร

คำแถลงขอรับเงินคืนไปจากศาล โดยวิธีการโอนผ่านบัญชีธนาคาร

   ข้อ 1. คดีนี้ศาลได้โปรดมีคำพิพากษาตามยอมแล้ว เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2560

   ด้วยศาลได้โปรดมีคำสั่งคืนค่าขึ้นศาลให้แก่โจทก์แล้ว เป็นเงินจำนวน 50,000 บาท (ห้าหมื่นบาทถ้วน) ปรากฎในสำนวนคดีของศาลแล้วนั้น

   ผู้ร้องเป็นผู้มีสิทธิขอรับเงินคืนไปจากศาล จึงขอรับเงินจำนวนดังกล่าวไปจากศาล โดยวิธีการโอนผ่านบัญชีธนาคารกรุงเทพ บัญชีเลขที่ 1234567890 ชื่อบัญชีนายสมใจ บุญดี รายละเอียดปรากฎตามสำเนาหน้าบัญชีเงินฝากของโจทก์ ขอศาลได้โปรดอนุญาต                               

         ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด

   ลงชื่อ                         โจทก์

คำแถลงฉบับนี้ ข้าพเจ้านายธนู กุลอ่อน ทนายโจทก์ เป็นผู้เรียงและพิมพ์ 

   ลงชื่อ                         ผู้เรียงและพิมพ์

การคืนเงิน ค่าธรรมเนียมศาล

การคืนเงิน ค่าธรรมเนียมศาล

Visitors: 113,235

จำหน่ายคดี ขอคืนค่าขั้นศาล

คำถาม การจำหน่ายคดี โจทก์สามารถขอคืนค่าธรรมเนียมศาลได้ไหม

ตอบ ได้ โดยศาลจะสั่งในรายงานกระบวนพิจารณา โจทก์จะต้องเขียนคำแถลงขอคืนค่าขั้นศาลเป็นกรณีพิเศษ พร้อมคำแถลงขอรับเงินคืนจากไปศาล ยื่นต่อศาล

อ้างอิงกฎหมาย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

มาตรา 151 ในกรณีที่ศาลมีคำสั่งไม่รับคำฟ้องหรือในกรณีที่มีการอุทธรณ์ หรือฎีกาหรือมีคำขอให้พิจารณาใหม่ ถ้าศาลไม่รับอุทธรณ์หรือฎีกาหรือคำขอให้พิจารณาใหม่ หรือศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกามีคำสั่งให้ยกอุทธรณ์หรือฎีกาโดยยังมิได้วินิจฉัยประเด็นแห่งอุทธรณ์หรือฎีกานั้น ให้ศาลมีคำสั่งให้คืนค่าขึ้นศาลทั้งหมด

   เมื่อได้มีการถอนคำฟ้อง หรือเมื่อศาลได้ตัดสินให้ยกคำฟ้องโดยไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะฟ้องคดีใหม่ หรือเมื่อคดีนั้นได้เสร็จเด็ดขาดลงโดยสัญญาหรือการประนีประนอมยอมความหรือการพิพากษาตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ ให้ศาลมีอำนาจที่จะสั่งคืนค่าขึ้นศาลทั้งหมด หรือบางส่วนแก่คู่ความซึ่งได้เสียไว้ได้ตามที่เห็นสมควร

   ในกรณีที่มีการทิ้งฟ้องหรือศาลสั่งจำหน่ายคดีในกรณีอื่น ให้ศาลมีอำนาจที่จะสั่งคืนค่าขึ้นศาลบางส่วนได้ตามที่เห็นสมควร

   ถ้าศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกามีคำสั่งให้ส่งสำนวนความคืนไปยังศาลล่างเพื่อตัดสินใหม่หรือเพื่อพิจารณาใหม่ทั้งหมดหรือแต่บางส่วนตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 243 ศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกามีอำนาจที่จะยกเว้นมิให้คู่ความต้องเสียค่าธรรมเนียมศาลในการดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่ หรือในการที่จะยื่นอุทธรณ์หรือฎีกาคัดค้านคำพิพากษาใหม่ของศาลล่างได้ตามที่เห็นสมควร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1242/2545

   การที่ศาลสั่งจำหน่ายคดีออกจากสารบบความมีประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 167 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้ศาลมีคำสั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมด้วย โดยมิได้กำหนดไว้ว่าจะให้ศาลสั่งคืนค่าฤชาธรรมเนียมให้แก่คู่ความทั้งหมดหรือไม่คืน หรือคืนแต่บางส่วน อันแสดงว่าในกรณีที่ศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดีออกจากสารบบความนั้นอยู่ในดุลพินิจของศาลที่จะสั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมตามที่เห็นสมควร ซึ่งต่างจากกรณีที่ศาลมีคำสั่งไม่รับคำฟ้องที่มาตรา 151 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้ศาลต้องมีคำสั่งให้คืนค่าธรรมเนียมศาลทั้งหมด หรือในกรณีที่มีการถอนคำฟ้องหรือได้มีการตัดสินให้ยกคำฟ้องโดยไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะฟ้องคดีใหม่หรือเมื่อคดีได้เสร็จเด็ดขาดลงโดยสัญญาหรือการประนีประนอมยอมความที่มาตรา 151 วรรคสอง บัญญัติให้ศาลมีอำนาจที่จะสั่งคืนค่าธรรมเนียมศาลทั้งหมดหรือบางส่วนแก่คู่ความได้

   โจทก์ยื่นฟ้องและจำเลยยื่นคำให้การจนถึงได้มีการนัดสืบพยานโจทก์แล้ว การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งจำหน่ายคดีโจทก์ออกจากสารบบความตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 25 เนื่องจากจำเลยถูกศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดไม่อาจถือได้ว่าศาลชั้นต้นได้ตรวจคำฟ้องของโจทก์แล้วมีเหตุให้มีคำสั่งไม่รับคำฟ้องโจทก์ตั้งแต่ต้นอันจะทำให้ศาลมีคำสั่งคืนค่าธรรมเนียมคือคืนค่าขึ้นศาลทั้งหมดให้แก่โจทก์ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 151 วรรคหนึ่งดังนั้น ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งจำหน่ายคดีโจทก์ออกจากสารบบความ โดยใช้ดุลพินิจให้ค่าฤชาธรรมเนียมระหว่างโจทก์และจำเลยเป็นพับจึงชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 167

Visitors: 113,235

ค่าธรรมเนียมศาล ขอคืนได้ไหม

คำถาม การจำหน่ายคดี โจทก์สามารถขอคืนค่าธรรมเนียมศาลได้ไหม ตอบ ได้ โดยศาลจะสั่งในรายงานกระบวนพิจารณา โจทก์จะต้องเขียนคำแถลงขอคืนค่าขั้นศาลเป็นกรณีพิเศษ พร้อมคำแถลงขอรับเงินคืนจากไปศาล ยื่นต่อศาล อ้างอิงกฎหมาย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

กรณีใดที่ศาลจะต้องคืนค่าขึ้นศาลทั้งหมด

เมื่อได้มีการถอนคำฟ้อง หรือเมื่อศาลได้ตัดสินให้ยกคำฟ้องโดยไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะฟ้องคดีใหม่ หรือเมื่อคดีนั้นได้เสร็จเด็ดขาดลงโดยสัญญาหรือการประนีประนอมยอมความหรือการพิพากษาตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ ให้ศาลมีอำนาจที่จะสั่งคืนค่าขึ้นศาลทั้งหมด หรือบางส่วนแก่คู่ความซึ่งได้เสียไว้ได้ตามที่เห็นสมควร

ค่าธรรมเนียม ศาลปกครอง ได้ คืน ไหม

1. ศาลมีคาพิพากษา ศาลมีอ านาจสั่งคืนค่าธรรมเนียม ศาลทั้งหมดหรือแต่บางส่วนของ การชนะคดี (มาตรา 72/1 แห่ง พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครอง และวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542) ศาลไม่มีค าสั่งคืนค่าธรรมเนียมศาล แต่ศาลมี อ านาจที่จะพิพากษาให้คู่ความฝ่ายที่ชนะคดีนั้น รับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวง หรือให้ คู่ความแต่ละฝ่ายรับผิด ...

ค่าธรรมเนียมศาล คิดยังไง

1. ค่าขึ้นศาลในคดีที่มีทุนทรัพย์โจทก์ต้องเสียอัตราร้อยละ 2 ของจำนวนทุนทรัพย์ แต่ไม่เกิน 200,000 บาท ซึ่งทุนทรัพย์ 10 ล้านบาท 1. สำหรับทุนทรัพย์พิพาทเกิน 50 ล้านบาท ส่วนที่เกินเสียอัตราร้อยละ 0.1. 1. สำหรับคดีมโนสาเร่ ทุนทรัพย์พิพาทไม่เกิน 300,000 บาท เสียค่าธรรมเนียมร้อยละ 2 แต่ไม่เกิน 1,000 บาท อยู่เขตอำนาจศาลแขวง